ในข่าว Windows Terminal 1.0 ไมโครซอฟท์ประกาศว่าจะเรนเดอร์กราฟิกของแอพจากลินุกซ์ด้วย GPU ด้วย เบื้องหลังของมันคือสิ่งที่อาจจินตนาการไม่ถึงเมื่อหลายปีก่อนอย่าง DirectX บนลินุกซ์ (ในความหมายนี้คือลินุกซ์ที่ติดตั้งบน Windows Subsystem for Linux 2 หรือ WSL 2)
ไมโครซอฟท์อธิบายว่าพัฒนาเทคนิค GPU paravirtualization (GPU-PV) บนวินโดวส์มาหลายปีแล้ว และใช้งานในโปรแกรมฝั่งวินโดวส์หลายตัว เช่น Windows Defender Application Guard, Windows Sandbox และอีมูเลเตอร์ของ Hololens
NVIDIA ประกาศอัพเดต CUDA Toolkit 10.2 เป็นรุ่นสุดท้ายใน macOS นับเป็นจุดสิ้นสุดความสัมพันธ์ระหว่าง NVIDIA และสินค้าตระกูล Mac หลังจากแอปเปิลหยุดซัพอร์ตไดร์เวอร์ NVIDIA ไปตั้งแต่ macOS 10.14 Mojave
ซอฟต์แวร์จำนวนหนึ่งใช้ CUDA เพื่อเร่งความเร็วประมวลผล เช่น Adobe Premier หรือ After Effect แต่ก็ใช้งานได้ถึง macOS 10.13.6 เท่านั้น
แม้ชิป NVIDIA จะมีประสิทธิภาพสูงกว่า AMD ในช่วงหลัง ๆ แต่ NVIDIA และแอปเปิลก็เคยมีปัญหากันตั้งแต่สมัยชิป GeForce 6800M ตั้งแต่ปี 2007 ที่มีปัญหาความร้อนจนกระทั่งแอปเปิลต้องเปิดให้ซ่อมฟรีเป็นเวลาสองปี และตอนนี้คอมพิวเตอร์แอปเปิลก็ไม่มีชิป NVIDIA เป็นตัวเลือกแล้ว อย่างใน MacBook Pro รุ่น 16" ที่เปิดตัวล่าสุดก็ติดตั้งเป็น AMD Radeon Pro 5300M/5500M เท่านั้น
หลังจาก NVIDIA เปิดตัว CUDA 6 ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว วันนี้บริษัทก็เปิด CUDA Toolkit 6.0 รุ่น Release Candidate ให้คนทั่วไปทดสอบแล้ว
จุดเด่นของ CUDA 6 คือ Unified Memory หรือการมองหน่วยความจำของซีพียูกับจีพียูเป็นผืนเดียวกัน เพื่อให้ไม่ต้องคัดลอกข้อมูลข้ามพื้นที่แรมแต่ละส่วนทุกครั้ง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและปรับกระบวนการพัฒนาให้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้ CUDA 6 ยังรองรับการประมวลผลโดยใช้จีพียูสูงสุดถึง 8 ตัวต่อคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง ทำให้มีสมรรถนะในการคำนวณได้สูงถึง 9 teraflops ต่อเครื่อง
ผู้สนใจดาวน์โหลดได้ที่ CUDA Toolkit Pre-Production Downloads
NVIDIA เปิดตัวภาษา CUDA 6 สำหรับการเขียนโปรแกรมบน GPU ของตัวเองโดยมีความสามารถสำคัญคือ Unified Memory หรือการมองหน่วยความจำของซีพียูและจีพียูเป็นผืนเดียวกัน ทำให้สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ได้ง่ายขึ้น
การประมวลผลด้วยชิปกราฟิกเคยมีการแข่งขันกันอย่างหนักระหว่างเทคโนโลยี CUDA เป็นเป็นเทคโนโลยีของ NVIDIA และ OpenCL ที่มีผู้ผลิตหลายรายร่วมกัน แต่จนตอนนี้ CUDA ก็ยังรันได้เฉพาะบน x86 จนกระทั่งการเปิดตัวของชุดพัฒนารุ่น 5.5
CUDA 5.5 ในส่วนของ ARM จะใช้ได้เฉพาะรุ่น Ubuntu เท่านั้น โดยมีให้เลือกระหว่างการใช้ชุดพัฒนารุ่น x86 ธรรมดามาคอมไพล์ลง ARM หรือจะใช้ชุดพัฒนาบน Ubuntu สำหรับ ARMv7 ไปพัฒนาบน ARM เลยก็ได้เหมือนกัน
แม้ชุดพัฒนาจะรองรับการใช้งานบน ARM แล้วแต่ Tegra รุ่นที่รองรับ CUDA ก็ยังไม่มีออกมาเป็นทางการ ในแง่หนึ่งแล้ว การที่โลกหันมานิยม ARM มากขึ้นกลับทำให้เทคโนโลยีเฉพาะอย่าง CUDA ได้รับความนิยมน้อยลงแล้วหันไปอยู่กับ OpenCL ที่รองรับอยู่บนชิปจำนวนมากแล้ว
NVIDIA ได้เปิดตัว CARMA (CUDA on ARM development kit) ซึ่งเป็น CUDA เวอร์ชันที่สนับสนุนซีพียู ARM อย่างเป็นทางการ
การเปิดตัว CUDA บน ARM ครั้งนี้ก็สอดคล้องกับข่าวเก่าที่ได้มีการสร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ด้วยซีพียู ARM ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดการใช้พลังงานของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
สเปคคร่าวๆ สามารถดูได้ในที่มา ขณะที่รายละเอียดฉบับเต็มยังไม่เป็นที่เปิดเผย ส่วนชุดติดตั้งสำหรับนักพัฒนานั้นจะเปิดให้ดาวน์โหลดได้ในวงจำกัดในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2012 สำหรับท่านที่สนใจสามารถติดตามและลงชื่อรอได้ที่นี่
เทคโนโลยีการพัฒนาซอฟต์แวร์บน GPU นั้นทุกวันนี้มีสองค่ายใหญ่คือ CUDA ของ NVIDIA กับ OpenCL ที่ค่ายอื่นๆ เช่น อินเทล และเอเอ็มดี ใช้งานร่วมกัน ความเสียเปรียบอย่างหนึ่งของ CUDA คือมันเป็นเทคโนโลยีปิดของ NVIDIA เองทำให้ผู้ผลิตรายอื่นๆ ไม่สามารถเข้ามาใช้งานร่วมด้วยได้ และทาง NVIDIA ก็เลือกแก้ปัญหาด้วยการเปิดชั้นคอลไพลเลอร์ด้านล่างที่เป็น LLVM ออกมา
NVIDIA ประกาศความร่วมมือกับ Barcelona Supercomputing Center ในสเปน สร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์แนวใหม่ที่ไม่เคยมีใครคิดว่ามันจะเป็นไปได้ นั่นคือสร้างจากซีพียูตระกูล ARM
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องนี้จะใช้ Tegra 3 ที่เพิ่งเปิดตัวหมาดๆ ร่วมกับ GPU ของ NVIDIA เองเพื่อเร่งประสิทธิภาพในการประมวลผล โดยเขียนโปรแกรมได้ผ่าน CUDA ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของ NVIDIA เช่นกัน
จุดเด่นของคอมพิวเตอร์เครื่องนี้คือการลดพลังงานที่ใช้ในซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งคาดว่าจะลดลงได้ 40% เมื่อเทียบกับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทั่วไป (เป้าหมายของ Barcelona Supercomputing Center คือลดลงให้ได้ 15-30 เท่าของซูเปอร์คอมในปัจจุบัน)