ใครที่แชทบ่อยๆ น่าจะรู้จักกับ emoji ภาพขนาดย่อมๆ ที่มักใช้ประกอบบทสนทนา (ในแอพอย่าง WhatApps หรือ LINE ก็มีให้ใช้) และระบบดังกล่าวกำลังจะมีมาตรฐานร่วมแล้ว หลังจากที่เครือข่ายผู้ให้บริการมือถือสามค่ายในญี่ปุ่นอย่าง DoCoMo, KDDI และ eAccess ได้ประกาศร่วมกันว่าจะร่างมาตรฐานนี้ขึ้น ซึ่งจะทำให้ emoji จากระบบของค่ายหนึ่ง สามารถแสดงผลได้ในอีกค่ายหนึ่ง
แผนการณ์ขั้นต้นคือจะปรับโดยใช้ระบบของ DoCoMo เป็นพื้นฐาน และให้สองค่ายที่เหลือ (ซึ่งเล็กกว่า) เร่งทำตัว emoji ให้เท่ากับของ DoCoMo ซึ่งอยู่ที่ราวๆ 200 ตัว
ส่วนอีกเครือข่ายหนึ่งอย่าง SoftBank ที่ปฏิเสธเข้าร่วม ยกเหตุผลว่าระบบของตนเองนั้นสามารถใช้ได้กับของเครือข่ายอื่นอยู่แล้ว
การชี้อนาคตของ Nano SIM ดูเหมือนจะต้องรอไปอีกหน่อย หลังจากที่การลงมติเลือกมาตรฐานดังกล่าวไม่มีการโหวตเลือกเกิดขึ้น และมีการถกเถียงทางด้านกฏหมายแทน โดยทั้งสองฝั่งที่เสนอมาตรฐาน (แอปเปิล และโนเกีย) ต่างออกแบบหน้าตาของ Nano SIM อิงกับสิทธิบัตรที่ตัวเองถืออยู่ และจากการที่ไม่สามารถโหวตได้ในครั้งนี้มีผลทำให้ต้องเลื่อนการลงมติออกไปอย่างน้อย 30 วัน
เพิ่มเติมในส่วนของหน้าตา Nano SIM ของฝั่งโนเกียที่คล้ายกับ micro SD ที่ใช้ในปัจจุบันมาก ซึ่งอาจมีบางส่วนอยู่ในสิทธบัตรที่มีในครอบครองของบริษัทผลิตเมมโมรี่เช่น SanDisk, Toshiba และ Panasonic ได้
ส่วนรูปคร่าวๆ ของ Nano SIM ทั้งฝั่งแอปเปิล และโนเกียสามารถดูได้จากข่าวเก่าครับ
กระบวนการลงมติเลือกมาตรฐาน nano SIM ขององค์กรควบคุมมาตรฐานโทรคมนาคมยุโรป (ETSI) ได้เริ่มต้นแล้วซึ่งคาดว่าผลจะออกในไม่กี่วันข้างหน้า แต่ดูเหมือนวิวาทะจากฝ่ายตรงข้ามกับแอปเปิล ซึ่งนำโดยโนเกีย ที่มีผู้สนับสนุนคือโมโตโรลาและ RIM จะยังไม่จบ หลังจากที่แอปเปิลออกมาบอกว่าถ้าหาก ETSI เลือกมาตรฐานของแอปเปิลแล้วแอปเปิลจะไม่เก็บค่าธรรมเนียม
ต่อเนื่องจากข่าวที่หลายฝ่ายกังวลแอปเปิลเสนอออกแบบ nano SIM มาพร้อมถาดใส่ ซึ่งถ้าหากแอปเปิลชนะ อาจนำไปสู่การเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ที่ต้องการใช้งาน nano SIM ได้
ย้อนความเดิมก่อนว่าช่วงนี้ใกล้จะถึงกำหนดการที่องค์กรที่ควบคุมมาตรฐานโทรคมนาคมยุโรป (ETSI) จะนัดประชุมเพื่อโหวตมาตรฐานใหม่ของซิมการ์ดรุ่นต่อไปที่จะใช้ในอนาคต (ชื่ออย่างไม่เป็นทางการ nano SIM) โดยแบ่งเป็นสองฝ่ายคือแอปเปิล และกลุ่มพันธมิตรที่นำโดยโนเกีย ที่ทำแต้มนำไปก่อนแล้วด้วยการข่มว่าฝั่งตัวเองมีเทคโนโลยีที่เหนือกว่า ซึ่งจะทำให้ nano SIM นอกจากจะขนาดเล็กลงแล้ว ยังมีความสามารถในการรับสัญญาณได้ดีขึ้น รวมถึงราคาผลิตต่อหน่วยที่ต่ำลงอีกด้วย
หลายคนคงคุ้นชื่อกับซิมรุ่นใหม่ที่เล็กกว่า Micro SIM (ตอนนี้เรียก nano SIM ไปพลางๆ) หลังจากที่แอปเปิลได้เสนอมาตรฐานดังกล่าวไปยังหน่วยงานที่ดูแลมาตรฐานนี้อยู่อย่าง The European Telecommunications Standards Insti
WebKit กลายเป็นเอนจินแสดงผลเว็บยอดนิยมในปัจจุบัน เพราะมีผลิตภัณฑ์ยอดนิยมมากมายที่ใช้ WebKit เป็นเอนจินแสดงผล (สำหรับคนแถวนี้คงไม่ต้องระบุชื่อว่ามีอะไรบ้างนะครับ)
ผลคือนักพัฒนาเว็บจำนวนไม่น้อย เลือกจะรองรับฟีเจอร์ของ WebKit เพียงอย่างเดียวเท่านั้น (พวกคุณสมบัติที่ขึ้นต้นด้วย -webkit-*) ทำให้เริ่มเกิดสถานการณ์คล้ายๆ กับ IE6 ในอดีต
Daniel Glazman หนึ่งในคณะทำงานพัฒนามาตรฐาน CSS ของ W3C (ถ้าจำกันได้ เขาเป็นคนทำโปรแกรม Nvu ในอดีต) ออกมาบ่นเรื่องนี้ และได้รับเสียงสนับสนุนจากตัวแทนของ Mozilla, Opera, Microsoft อย่างเต็มที่
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่าแอปเปิลได้ยื่นร่างมาตรฐานของซิมการ์ดแบบใหม่ไปยัง The European Telecommunications Standards Institute (ETSI) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลมาตรฐานโทรคมนาคมของยุโรป
ตัวแทนของ ETSI ยืนยันว่าแอปเปิลเสนอร่างมาตรฐานเข้าไปจริง ส่วนการพัฒนาไปเป็นมาตรฐานของ ETSI ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเดินหน้าอย่างไร และกระบวนการทั้งหมดอาจใช้เวลามากกว่า 1 ปี ถ้าหากบริษัทต่างๆ ในอุตสาหกรรมมีความเห็นที่ขัดแย้งกัน
ส่วนตัวแทนจาก Orange เครือข่ายมือถือของฝรั่งเศสออกมาสนับสนุนร่างมาตรฐานของแอปเปิล โดยระบุว่าซิมการ์ดแบบใหม่จะเล็กกว่า Micro SIM ที่ใช้ใน iPad/iPhone รุ่นปัจจุบัน
มาตรฐาน Micro SIM ก็ถูกรับรองโดย ETSI เช่นกัน โดยออกเป็นมาตรฐานในปี 2003
W3C ออกมาตรฐานเว็บใหม่ Efficient XML Interchange (EXI) ซึ่งเป็นฟอร์แมตแบบย่อของ XML ที่บีบเค้นจนเหลือแต่ข้อมูลไบนารี
EXI ถูกออกแบบเพื่อการส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ประหยัดแบนด์วิธมากขึ้น ซึ่งการทดสอบบางชุดของ W3C เอง สามารถแปลงไฟล์ XML เป็น EXI ที่ขนาดเล็กลงถึง 100 เท่า! เมื่อเทียบกับการบีบอัดด้วย GZIP แล้วดีกว่ากันมากหลายช่วงตัว
W3C ใช้เวลา 7 ปีในการพัฒนา EXI โดยเป้าหมายของมันคืออุปกรณ์ฝังตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกล้องถ่ายรูป มือถือ หรือรถยนต์ หน้าตาของ EXI ต้องอธิบายเป็นไบนารีโค้ด คนที่สนใจดูได้จาก Efficient XML Interchange (EXI) Format 1.0
WebGL เป็นเทคโนโลยีการแสดงผล 3 มิติบนเว็บเบราว์เซอร์ผ่านจาวาสคริปต์ มีพื้นฐานมาจาก OpenGL ES และพัฒนาสเปกโดยองค์กรเดียวกัน (Khronos Group)
วันนี้สเปก WebGL 1.0 เสร็จสมบูรณ์แล้ว ซึ่งก็ได้รับการสนับสนุนจากผู้ผลิตเบราว์เซอร์ 4 รายใหญ่คือ Firefox, Chrome, Safari และ Opera อย่างไรก็ตามยังขาด IE จากฝั่งไมโครซอฟท์ เหตุเพราะ WebGL อยู่บนเทคโนโลยี OpenGL ซึ่งเป็นคู่แข่งกับ DirectX ของไมโครซอฟท์นั่นเอง
ช่วงหลังนี้องค์กรภาครัฐหลายแห่งของโลกตะวันตกหันมาสนใจเรื่องความเป็นส่วนตัว กับการ "ตามรอย" หรือ tracking บนเว็บ ซึ่งเบราว์เซอร์สามรายคือ IE, Firefox, Chrome ก็ออกมาขานรับด้วยดี
รายที่ก้าวหน้าที่สุดกลับเป็น IE9 ที่รวมเอาฟีเจอร์ Do Not Track มาด้วย (Firefox 4 ก็มีใน Beta 11 เป็นต้นไป) หลักการทำงานของมันคือส่งคำสั่งผ่าน HTTP Header ไปยังเว็บไซต์นั้นๆ ว่าผู้ใช้ไม่ต้องการให้ตามรอย
ล่าสุดไมโครซอฟท์ได้ยื่นสเปก Do Not Track ของฝั่งตัวเองไปยัง W3C เพื่อเสนอเป็น "มาตรฐานเว็บ" แล้ว
เมื่อครั้งที่ไมโครซอฟท์เปิดตัว IE9 RC ก็ชูจุดขายเรื่องการรองรับมาตรฐานเว็บที่เหนือกว่าคู่แข่งทุกราย
ล่าสุดฝั่ง Mozilla ออกมาตอบโต้ผ่าน infographic เปรียบเทียบการรองรับมาตรฐานเว็บระหว่าง IE9 กับ Firefox 4 ว่า Firefox รองรับมาตรฐานเว็บมากกว่า รองรับระบบปฏิบัติการมากกว่า มีฟีเจอร์เร่งความเร็วด้วยฮาร์ดแวร์เหมือนกัน (แถมมีบน Windows XP ที่ IE9 ไม่สนับสนุน)
ที่เจ็บก็คือการทดสอบข้อหนึ่ง Firefox 3.6 ยังได้คะแนนเยอะกว่า IE9 ด้วยซ้ำ และ Mozilla ยังอัดว่ามาตรฐานเว็บบางตัวอย่าง canvas, SVG ที่ IE9 ชูเป็นจุดขาย Firefox รองรับมา 5 ปีแล้ว
Philippe Le Hegaret ผู้นำคณะทำงาน HTML5 ของ W3C ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว CNET ว่ามาตรฐาน HTML5 จะเสร็จสมบูรณ์ประมาณไตรมาสที่สองของปี 2014
ร่างมาตรฐาน HTML5 เริ่มพัฒนาในปี 2007 และ Hegaret คาดว่าจะใช้เวลาทั้งหมด 7 ปี สาเหตุที่ต้องใช้เวลามากขนาดนี้เป็นเพราะความซับซ้อนของตัวเทคโนโลยีเอง และการต่อรองระหว่างองค์กรสมาชิกจำนวน 55 ราย ซึ่งทาง W3C ต้องการให้มาตรฐานรองรับความต้องการของทุกฝ่ายให้มากที่สุด
สถานะของ HTML5 ตอนนี้คือ W3C จะกำหนดรายการและขอบเขตของฟีเจอร์ทั้งหมดภายในเดือนพฤษภาคม 2011 จากนั้นจะเข้าสู่ช่วงปรับปรุงและแก้บั๊กต่อไป จากนั้นปลายปีจะออกร่างที่สอง รับความเห็นอีกครั้ง และเริ่มทดสอบกับเว็บเบราว์เซอร์ในไตรมาสที่สองของปี 2012
แม้ Wi-Fi จะพัฒนาขึ้นมายาวนาน แต่ในโทรศัพท์ทุกวันนี้เวลาที่เราต้องการส่งไฟล์หรือข้อมูลอื่นๆ ระหว่างกันในโทรศัพท์มือถือก็ยังต้องการ Bluetooth ที่มีมาตรฐานครบถ้วนให้ใช้งานได้มากกว่า เช่นการส่งข้อมูลไฟล์ระหว่างกันโดยตรง แต่ Wi-Fi Direct ก็จะมาช่วยอุดช่องโหว่นี้แล้ว
โดยหลักการแล้ว Wi-Fi Direct จะคล้ายกับการทำเครือข่าย Adhoc แบบเดิมๆ เพราะมีส่วนของ Device Discovery ไว้หาเครื่องรอบๆ โดยไม่ต้องเข้าร่วมเครือข่ายกันเสียก่อน และ Service Discovery ที่ใช้แจ้งว่าเครื่องปลายทางสามารถรับบริการอะไรได้บ้าง
เว็บไซต์ Technologizer ได้มีบทความวิจารณ์การเปิดตัว IE9 Beta ของไมโครซอฟท์ ซึ่งชวนพันธมิตรมากมายมาโชว์เว็บไซต์ที่ดึงพลังของ IE9 มาแสดง (ดูได้ใน Beauty of the Web) โดยเว็บทั้งหมดแสดงผลได้อย่างสวยงามบน IE9 แต่ถ้าเปิดด้วยเบราว์เซอร์ตัวอื่นก็จะมีปัญหาต่างกันออกไป เช่นเว็บของ BMW ช้ามากบน Safari/Chrome และดูบน Firefox ไม่ได้เลย
ทาง Technologizer เลยตั้งข้อสังเกตว่า ถ้า IE9 ได้รับความนิยม เราจะกลับสู่ยุค “Best Viewed With Internet Explorer” หรือเปล่า?
ZDNet มีสัมภาษณ์นักพัฒนาของไมโครซอฟท์ ซึ่งก็ได้คำตอบว่าไมโครซอฟท์สนับสนุนมาตรฐานเว็บ และการสนับสนุนฟีเจอร์เฉพาะเบราว์เซอร์นั้นเป็นหน้าที่ของนักพัฒนาเว็บเอง
มาตรฐาน WiMAX 2 หรือที่ใครหลายคนเคยได้ยินว่า IEEE 802.16m นั้น จะได้รับการพิจารณาครั้งสุดท้าย (finalized) โดย IEEE ในเดือนพฤศจิกายนนี้ หากมาตรฐาน WiMAX 2 ได้รับการรับรองแล้วฮาร์ดแวร์ก็น่าจะถูกผลิตขึ้นตลอดปีหน้า และผู้บริโภคน่าจะได้ใช้ในปีถัดไป (พ.ศ.2555)
ตามมาตรฐานดังกล่าว ความเร็วในการดาวน์โหลดจะสูงกว่า 100Mbps และได้รับความคาดหวังว่าความเร็วสูงสุดน่าจะถึง 1Gbps มาตรฐานนี้ยังสนับสนุนแบบย้อนหลัง (Backward Compatibility) กับมาตรฐาน WiMAX เดิม (IEEE 802.16e) อีกด้วย
Blognone เสนอข่าวเกี่ยวกับมาตรฐานที่ชาร์จโทรศัพท์มือถือมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมา (ข่าว 1, ข่าว 2, ข่าว 3, ข่าว 4, ข่าว 5) เล่าแบบสรุปคือ มีความพยายามผลักดันให้ Micro USB เป็นมาตรฐานของสายชาร์จมือถือ ซึ่งมีองค์กรระหว่างประเทศหลายรายมาช่วยดัน เช่น ITU, GSMA, CTIA
ภูมิภาคแรกที่ "ฝันเป็นจริง" ก่อนใครคือยุโรป โดยคณะกรรมการยุโรปเคาะแล้วว่ามือถือที่ขายในปี 2011 จะต้องใช้สายชาร์จแบบ Micro USB เหมือนกันหมด
International Telecommunication Union (ITU) หรือสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศได้ประกาศรับรอง Universal Charging Solution (UCS) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ตัวชาร์จไฟโทรศัพท์มือถือที่ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ต้นฉบับเขียน "energy efficient charger") เข้ากันได้ทุกยี่ห้อทุกรุ่น และยังช่วยลดขยะที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนตัวชาร์จเมื่อเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือด้วย
ปัญหาอย่างหนึ่งของโทรศัพท์มือถือในท้องตลาดคือ "มีพอร์ตเชื่อมต่อหลากหลายแบบเกินไป" เช่น ยี่ห้อหนึ่งใช้ช่องต่อหูฟังแบบ 3.5 มม. อีกยี่ห้อใช้ 2.5 มม. เป็นต้น (ขนาดยี่ห้อเดียวกันพอร์ตเชื่อมต่อยังไม่เหมือนกันเลย) เป็นที่น่าปวดหัวแก่ผู้ใช้งานอย่างมาก
CTIA หรือ International Association for the Wireless Telecommunications Industry องค์กรที่ดูแลกลุ่มอุตสาหกรรมการสื่อสารแบบไร้สายโดยไม่แสวงหาผลกำไร ได้ออกประกาศว่าภายในอีกสามปีข้างหน้า (พ.ศ. 2555) โทรศัพท์มือถือทุกเครื่องจะต้องใช้ช่องต่อหูฟังแบบ 3.5 มม. และช่องต่อโอนถ่ายข้อมูลและชาร์จไฟเป็น microUSB
หลังจากมาตรฐาน IEEE 802.11n ได้รับการรับรองแล้ว Wi-Fi Alliance ได้เปิดตัว Wi-Fi Certified program เพื่อเพิ่มการทดสอบฟีเจอร์เสริมที่เป็นที่นิยมในหมู่อุปกรณ์ Wi-Fi โดยเริ่มต้นจะมีห้องปฏิบัติการที่ใช้ทดสอบ 2 ที่ แต่จะเพิ่มเป็น 13 ที่ภายในไม่กี่สัปดาห์ที่จะถึง
สำหรับการรับรองเพิ่มเติมสำหรับความสามารถใหม่ๆ อาทิ
บริษัทมือถือยักษ์ของโลกหลายแห่ง ตกลงในแผนที่จะใช้ที่ชาร์จไฟที่เป็นสากล สามารถใช้ร่วมกันข้ามค่ายได้แล้ว กลุ่มสมาคม GSM (GSMA) กล่าว โดยบริษัทที่สนับสนุนแผนนี้ ประกอบด้วย โนเกีย โมโตโรล่า ซัมซุง โซนี่อีริกส์สัน แอลจี ทีโมไบล์ ออเรนจ์ 3 เอทีแอนด์ที และโวดาโฟน
กรรมการฝ่ายการตลาดของ GSMA ได้กล่าวว่า ข้อตกลงนี้ จะนำไปสู่การมีที่ชาร์จแบบเดียวที่ประหยัดพลังงานและใช้ได้กับโทรศัพท์มือถือทุกแบบ
คณะกรรมการยุโรปได้กดดันให้ผู้ผลิตมือถือผลิตที่ชาร์จที่ใช้มาตรฐานร่วมกัน โดยกรรมการคนหนึ่งได้พูดผ่านสถานีวิทยุของเยอรมนีก่อนหน้านี้ว่า ทั่วสหภาพยุโรปนั้นมีที่ชาร์จรูปแบบต่างๆ กันมากกว่าสามสิบแบบ
เพื่อใช้ในการวิจัยครั้งนี้ Opera ได้สร้างเครื่องมือชื่อ Metadata Analysis and Mining Application (MAMA) เพื่อทำการดึงเว็บมาทำดัชนีและวิเคราะห์เป็นจำนวนกว่า 3.5 ล้านหน้า
โดย HTML แท็กที่นิยมมากที่สุดคือ HEAD, TITLE, HTML, BODY, A, META, IMG และ TABLE ส่วนแท็กที่นิยมน้อยที่สุดคือ VAR, DEL และ BDO (น้อยจริงๆ ผมยังไม่รู้จักเลย) ในส่วนของ Rich Web Content เทคโนโลยีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายก็คือ Ajax ใช้กันประมาณ 3.2% และยังพบว่าเป็นจำนวนถึง 35% ที่ใช้ Adobe Flash หากดูเฉพาะในจีน ใช้ Flash กันมากถึง 67% ส่วน CSS ใช้กันมากถึง 80% โดยมากจะเป็นเรื่องของสีและฟอนต์ และ JavaScript นั้นพบถึง 75%
การเปลี่ยนแปลงสำคัญที่สุดของ IE8 คือสนับสนุนมาตรฐานเว็บอย่างจริงจัง (เสียที) ซึ่งทำให้นักพัฒนาเว็บจำนวนมากดีใจกันถ้วนหน้า แต่ว่าในอินทราเน็ตไม่นับครับ
CTO ของ Opera ได้เขียนจดหมายไปลง The Register บอกว่าไมโครซอฟท์นั้นไม่ทำตามที่พูดไว้ เนื่องจากว่าถ้าเปิด IE 8 Beta 2 กับเว็บไซต์ในอินทราเน็ต ไมโครซอฟท์ยังตั้งค่ารูปแบบการแสดงผลเป็นแบบ IE 6 ไว้ เพื่อความเข้ากันได้กับเว็บในอินทราเน็ตเดิม เขายังตั้งคำถามต่อว่าการตั้งค่าแบบนี้จะช่วยให้วงการเว็บมุ่งสู่มาตรฐานหรือไม่?
นอกจากนี้เขายังพูดถึงประเด็นไอคอน Compatibility view ซึ่งจะแสดงในโหมดมาตรฐาน เป็นไอคอนเอกสารโดนผ่าครึ่ง ซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้เข้าใจว่า โหมดมาตรฐานนั้นเป็นโหมดที่แย่ ได้
หลาย ๆ คนคงกำลังรอมาตรฐาน IEEE 802.11n ให้ได้รับการอนุมัติอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ในระหว่างนี้ IEEE ก็ได้อนุมัติมาตรฐาน IEEE 802.11r ซึ่งเป็นมาตรฐานเกี่ยวกับการใช้งานระหว่างเครือข่าย (Roaming) ของเครือข่ายแบบไร้สายตามมาตรฐาน IEEE 802.11 หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ Wi-Fi นั่นเอง
ECMA International และไมโครซอฟท์ สองผู้ผลักดัน OpenXML ได้ออกมายืนยันแล้วว่าร่างมาตรฐาน OpenXML ผ่านการโหวตตามกระบวนการของ ISO และ IEC ด้วยคะแนน 75% ซึ่งเกินจากเกณฑ์มาตรฐานที่ต้องการให้ P-member อย่างต่ำ 66.7% สนับสนุนร่างมาตรฐาน
ผลอย่างเป็นทางการต้องรออีกวันหนึ่ง
ที่มา:
- ECMA
- ไมโครซอฟท์
เรื่องนี้ลึกลับเกินกว่าจะแปลครับ!!! มีอะไรมากกว่าในข่าวอีกมาก
ถ้าผิดกติกาที่ไม่แปลข่าว ขอให้ admin ลบได้เลยนะครับ
ที่มา: zdnet