การไต่สวนคดี Epic Games ฟ้องกูเกิลเรื่อง Play Store เริ่มขึ้นแล้ว ทำให้เราได้เห็นข้อมูลเพิ่มเติมในชั้นศาลอย่าง Epic Games Store ยังไม่ทำกำไร
กูเกิลออกกฎใหม่ของ Google Play Store เพื่อป้องกันแอพคุณภาพแย่เข้ามารกในสโตร์ จนสร้างประสบการณ์ไม่ดีให้ผู้ใช้งาน
เมื่อกลางปีนี้ กูเกิลเพิ่งออกกฎการตรวจสอบตัวตนของนักพัฒนาบน Google Play ให้เข้มงวดขึ้น (ด้วยวิธีเรียกว่า D-U-N-S Number) ล่าสุดนโยบายนี้ถูกใช้กับนักพัฒนาที่ลงทะเบียนก่อนเดือนกันยายน 2023 ว่าต้องทยอยไปยืนยันตัวตนกันด้วย โดยกูเกิลยังใจดี เปิดให้นักพัฒนาระบุเส้นตายของวันยืนยันตัวตนที่เหมาะสมได้เอง แล้วไปยืนยันตัวตนให้ได้ตามที่สัญญาไว้
คดีดังระหว่าง Epic Games กับแอปเปิล กำลังอยู่ในชั้นศาลฎีกาสหรัฐ แต่ Epic Games ยังมีอีกคดีกับกูเกิลในลักษณะเดียวกัน ที่กระบวนการชั้นศาลยังตามหลังคดีกับแอปเปิลอยู่ และจะมีนัดไต่สวนกันในสัปดาห์หน้า
ล่าสุดกูเกิลออกมาตอบโต้ Epic Games ผ่านบล็อกของบริษัท โดยบอกว่าการฟ้องร้องกูเกิลผูกขาดช่องทางเผยแพร่เกมบน Android เป็นเรื่องไม่จริง และไม่สามารถนำคดีกับแอปเปิลมาเทียบเคียงได้ ปัจจัยสำคัญคือ Android อนุญาตให้มีสโตร์อื่นนอกจาก Google Play เช่น Samsung Galaxy Store และ Amazon Appstore รวมถึงอนุญาตให้ติดตั้งแอพเองได้ผ่าน sideloading
Google Play ประกาศนโยบายใหม่ 3 ข้อที่จะบังคับใช้เพิ่มเติมกับแอพในระบบ
KCC หรือ กสทช. ของเกาหลีใต้ ออกคำเตือนถึงกูเกิล และแอปเปิล ในประเด็นจำกัดไม่ให้นักพัฒนาแอปสามารถใช้ระบบจ่ายเงินอื่นนอกจากของแพลตฟอร์ม ระบุว่าทั้งสองบริษัทต้องแก้ไขให้เป็นไปตามข้อกำหนด มิฉะนั้นอาจถูกสั่งปรับเงิน
ก่อนหน้านี้เกาหลีใต้ได้ผ่านกฎหมาย ที่กำหนดให้นักพัฒนาต้องสามารถเลือกใช้ระบบจ่ายเงิน In-App กับผู้ให้บริการภายนอก นอกเหนือจากวิธีการของแพลตฟอร์มได้ด้วย
ฟีเจอร์ Fast Pair ของ Google นั้นเป็นฟีเจอร์พื้นฐานสำหรับการค้นหา และเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ครั้งแรกได้ง่ายขึ้น ซึ่ง Fast Pair ถือเป็นโค้ดส่วนหลักของโมดูลด้านการเชื่อมต่อใน AOSP ล่าสุดกลับพบว่าโค้ดที่เกี่ยวข้องกับฟีเจอร์ดังกล่าวถูกออกจาก AOSP โดย Google เป็นคนลบเอง แต่ฟีเจอร์นี้จะยังมีอยู่กับโทรศัพท์ Android ที่มี Google Play Services ติดมากับเครื่อง
Google Play ประกาศเปลี่ยนโยบายการส่งแอปขึ้นหน้าสโตร์โดยบังคับแอปที่ให้บริการเงินกู้จะต้องแสดงหลักฐานว่าได้รับอนุญาตภายในวันที่ 31 สิงหาคมนี้
แอปกู้เงินเป็นหมวดที่กูเกิลควบคุมเป็นพิเศษมาก่อนหน้านี้แล้ว โดยแต่ละชาติจะมีนโยบายต่างกันไป แต่กูเกิลมีเงื่อนไขกลางๆ เช่น ห้ามเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลเกินกำหนด, ห้ามโฆษณาเงินกู้โดยไม่แจ้งอัตราดอกเบี้ยหรือไม่แจ้งระยะเวลาจ่ายเงินคืน สำหรับประเทศไทยกูเกิลระบุว่าต้องส่งหลักฐานการได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย
แอปกู้เงินเป็นปัญหาในประเทศไทยมานาน แอปจำนวนหนึ่งเข้าข่ายหลอกลวงที่พยายามหลอกล่อให้เหยื่อโอนเงินไปก่อนจึงจะกู้เงินได้
เมื่อวานนี้ Google ได้ประกาศปรับเปลี่ยนนโยบาย โดยอนุญาตให้นักพัฒนาแอปพลิเคชันสามารถใส่สินทรัพย์ดิจิทัล เช่น NFT ลงในแอปพลิเคชันและเกมของตนภายใน Google Play ได้ พร้อมกำหนดให้นักพัฒนาต้องระบุให้ชัดเจนว่า แอปดังกล่าวมีองค์ประกอบของบล็อคเชน
เมื่อปีที่แล้ว รัฐสภายุโรปได้ประกาศผ่านกฎหมาย Digital Markets Act (DMA) ที่ควบคุมไม่ให้เกิดการผูกขาดอำนาจของแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งเปิดช่องให้ระบบปฏิบัติการสมาร์ทโฟนมีสโตร์เพิ่มขึ้น มากกว่าแค่ Play Store หรือ App Store
ล่าสุด The Verge รายงานว่า Meta วางแผนที่จะให้ผู้ใช้งานในสหภาพยุโรป สามารถดาวน์โหลดแอปผ่านโฆษณาบน Facebook ได้โดยตรง เพื่อแข่งกับเจ้าของแพลตฟอร์มรายใหญ่อย่าง Google และ Apple โดย Meta จะทดสอบบริการนี้บนระบบ Android กับนักพัฒนาจำนวนหนึ่งก่อน ภายในสิ้นปีนี้ และในช่วงแรก จะไม่มีการหักรายได้แอปที่เข้าร่วมโครงการนี้
รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังร่างกฎหมายบังคับให้เจ้าของแพลตฟอร์มอย่างแอปเปิลและกูเกิลต้องเปิดให้ผู้ให้บริการรายอื่นสามารถสร้างแอปสโตร์ขึ้นมาแข่งได้ หากคู่แข่งนั้นมีมาตรฐานความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวดีเพียงพอ
รัฐบาลญี่ปุ่นหวังว่าการเปิดให้มีการแข่งขันจะทำให้ราคาแอปรวมถูกลง เพราะทุกวันนี้เจ้าของแพลตฟอร์มนั้นคิดค่าบริการถึง 30%
สหภาพยุโรปมีกฎหมาย Digital Market Act (DMA) ที่บังคับให้แพลตฟอร์มขนาดใหญ่ จะถูกควบคุมการขายพ่วง หรือให้ความสำคัญกับสินค้าในบริษัทตัวเองเหนือกว่าบริษัทอื่นที่อยู่บนแพลตฟอร์ม โดยไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะแอปสโตร์บนโทรศัพท์เท่านั้น แต่รวมถึงบริการขนาดใหญ่อื่นๆ เช่น Google Search, Facebook, คลาวด์รายใหญ่, แอปแชตอย่าง WhatsApp ด้วย โดย DMA จะมีผลบังคับเดือนมีนาคมปี 2024
กูเกิลประกาศฟีเจอร์ใหม่ของ Android ชื่อ auto-archive เป็นการแบ็คอัพแอพที่นานๆ ใช้ทีขึ้นคลาวด์ของกูเกิล เพื่อประหยัดเนื้อที่ในเครื่อง
กูเกิลบอกว่าผู้ใช้มักลบ (uninstall) แอพเก่า หากต้องการติดตั้งแอพใหม่แล้วพื้นที่สตอเรจไม่พอ ซึ่งจะทำให้ข้อมูลทั้งหมดในแอพของผู้ใช้ถูกลบไปด้วย
ฟีเจอร์ auto-archive ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหานี้ โดยข้อมูลบางส่วนของแอพที่ไม่ค่อยได้ใช้จะถูกส่งขึ้นไปเก็บบนคลาวด์ของกูเกิลแทน แต่ยังคงไอคอนของแอพในเครื่องไว้ พร้อมแปะป้ายรูปก้อนเมฆเพื่อบอกว่าไฟล์อยู่ในคลาวด์ หากคลิกที่แอพก็จะโหลดข้อมูลกลับลงมาในเครื่องให้เหมือนเดิม
หน่วยงานกำกับดูแลการผูกขาดของเกาหลีใต้ Korea Fair Trade Commission (KFTC) ออกคำสั่งปรับกูเกิลเป็นเงิน 4.21 หมื่นล้านวอน (ประมาณ 1 พันล้านบาท) ในข้อหาพยายามผูกขาดตลาดแอปเกมในประเทศ
โดยข้อกล่าวหานี้มาจากช่วงปี 2016-2018 ระบุว่ากูเกิลพยายามกดดันบริษัทผู้พัฒนาและเผยแพร่เกม ให้นำเกมลงเฉพาะ Play Store เท่านั้น ไม่ให้นำไปลง One Store แพลตฟอร์มแอปบน Android ของกลุ่มบริษัทในเกาหลีใต้ ที่ร่วมลงทุนโดย 3 ผู้ให้บริการเครือข่าย SK Telecom, KT และ LG Uplus ร่วมด้วย Naver บริษัทอินเทอร์เน็ตรายใหญ่
Google Play ประกาศข้อบังคับใหม่ว่าแอพจะต้องเพิ่มช่องทางให้ผู้ใช้ขอลบข้อมูลในบัญชีของตัวเองได้ (ลบเฉพาะข้อมูลในแอพ แต่ไม่จำเป็นต้องลบตัวบัญชี เหมือนกับรีเซ็ตบัญชีใหม่)
กูเกิลบอกว่าข้อบังคับนี้จะช่วยให้ผู้ใช้สะดวกขึ้น คุ้มครองข้อมูลส่วนตัวมากกว่าเดิม แต่ก็บอกว่าต้องการให้เวลานักพัฒนาเตรียมตัวพัฒนาฟีเจอร์นี้ด้วยเช่นกัน เบื้องต้นกูเกิลจะขอให้นักพัฒนาตอบแบบสำรวจเรื่องฟีเจอร์ลบแอพภายในวันที่ 7 ธันวาคม 2023 จากนั้นจะเริ่มขึ้นป้าย data deletion ในสโตร์ช่วงต้นปี 2024 เป็นต้นไป
กูเกิลประกาศแบนแอป Pinduoduo แอปอีคอมเมิร์ชรายใหญ่จากประเทศจีนที่มีผู้ใช้ถึง 800 ล้านคน และบริษัทอยู่ในตลาดหุ้น NASDAQ สัญลักษณ์ PDD โดยกูเกิลระบุสาเหตุว่าแอปเวอร์ชั่นที่ใช้งานในประเทศจีนซึ่งอยู่นอก Google Play นั้นทำงานเหมือนมัลแวร์
แอป Pinduoduo เวอร์ชั่นนอก Google Play ถูกรายงานว่าเป็นมัลแวร์ โดย Kaspersky ระบุชื่อกลุ่มมัวแวร์เป็น Backdoor.AndroidOS.Pinduo.a โดยมีรายงานระบุว่าแอปมีพฤติกรรมน่าสงสัย พยายามดึงข้อมูลจากผู้ใช้เกินความจำเป็น และพยายามซ่อนตัวเอง
หลังจาก ChatGPT แชทบ็อตที่คุยโต้ตอบได้แบบมนุษย์ของ OpenAI ได้รับการพูดถึงมากในช่วงนี้ ปรากฎว่าทั้งใน App Store และ Play Store มีแอปที่เกี่ยวข้องกับ ChatGPT เกิดขึ้นหลายแอปที่อ้างว่าเป็นบริการเวอร์ชันพิเศษ ทั้งที่จริงแล้ว ChatGPT ให้บริการบนหน้าเว็บไซต์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และปัจจุบันทาง OpenAI ก็ยังไม่มีแอปออกมา
กูเกิลประกาศนโยบายว่าแพลตฟอร์มสมาร์ททีวี Android TV และ Google TV จะเริ่มบังคับใช้แพ็กเกจแอพแบบใหม่ Android App Bundle (.aab) มีผลตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2023 เป็นต้นไป
Android App Bundle (AAB) เป็นเทคนิคการแจกจ่ายไฟล์แอพแบบใหม่ที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2018 แนวคิดคือให้ Google Play Store ตัดสินใจเลือกแพ็กเกจที่จำเป็นต่ออุปกรณ์นั้นๆ ไม่จำเป็นต้องโหลดไฟล์ APK ไปทั้งก้อน (แล้วไม่ได้ใช้บางส่วนอยู่ดี) ผลคือประหยัดเนื้อที่สตอเรจมากขึ้น โดยเฉพาะกรณีของสมาร์ททีวีที่อาจมีสตอเรจเพียง 8GB ก็น่าจะช่วยให้ประหยัดเนื้อที่ได้เพิ่มขึ้นมากนั่นเอง
กูเกิลเปิดตัว Android 13 (Go edition) ระบบปฏิบัติการสำหรับมือถือสเปกต่ำ พร้อมประกาศว่ามีอุปกรณ์ใช้งาน Android Go จำนวน 250 ล้านเครื่องแล้ว (นับเป็น monthly active devices)
ของใหม่ใน Android 13 (Go edition) ได้แก่
กูเกิลอนุมัติให้ Truth Social แอปโซเชียลเน็ตเวิร์คของอดีตประธานาธิบดี Donald Trump ขึ้น Play Store แล้ว หลังจากแอปเปิลอนุมัติขึ้น App Store ไปตั้งแต่เมื่อต้นปี
ก่อนหน้านี้กูเกิลปฏิเสธให้ Truth Social ขึ้น Play Store โดยให้เหตุผลเรื่องแอปละเมิดข้อกำหนดมาตรฐานหลายอย่าง โดยเฉพาะประเด็นการควบคุมดูแลเนื้อหาที่รุนแรง หรืออาจผิดกฎหมาย เช่น ต้องมีระบบรายงานหากพบเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น
อย่างไรก็ตามช่วงที่ผ่านมา Truth Social ก็มีวิธีการลงแอปบน Android โดยใช้ apk หรือเผยแพร่ผ่าน Store อื่นที่อนุญาต
ที่มา: Axios
หน่วยงานป้องกันการผูกขาดทางการค้าของอินโดนีเซีย (KPPU) เปิดเผยว่ากำลังสอบสวน Google เรื่องการผูกขาดทางการค้าผ่านระบบชำระเงินของ Google Play
เจ้าหน้าที่ของอินโดนีเซียพบว่า ผู้พัฒนาแอปพลิเคชันบน Google Play ามจะต้องใช้บริการการชำระเงินของ Google ซึ่งเสียค่าธรรมเนียมบริการ 15-30% (มากกว่าระบบจ่ายเงินอื่น ๆ ในประเทศที่คิด 5%) รวมถึงผู้พัฒนาแอปไม่มีทางเลือกเพราะหากปฏิเสธจะถูก Google นำแอปออกจาก Google Play หรือไม่ให้อัปเดตแอปพลิเคชัน
ตามปกติแล้ว Google Play Store จะแสดงรีวิวแอปพลิเคชันแบบเดียวกันไม่ว่าผู้ใช้จะใช้สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตหรือสมาร์ททีวี
ล่าสุด Google ได้เปลี่ยนเป็นการแสดงรีวิวตามอุปกรณ์ที่ผู้ใช้กำลังใช้งานอยู่ (เช่น ถ้าผู้ใช้ใช้สมาร์ทโฟน ก็จะแสดงรีวิวจากผู้ใช้แอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนเช่นเดียวกัน)
ในหน้าการให้คะแนนและรีวิวแอปพลิเคชันใน Google Play จะมีข้อความกำกับว่า “Ratings and reviews are verified and are from people who use the same type of device that you use” ดังนั้น จำนวนของผู้รีวิวจะแตกต่างกับไปตามอุปกรณ์ที่ใช้ ทั้งนี้ Google Play จะยังคงแสดงคะแนนเฉลี่ยของแอปพลิเคชันเท่ากันในทุกอุปกรณ์ที่ใช้
แอปโซเชียลมีเดีย Parler ที่เป็นแอปที่ได้รับความนิยมจากผู้มีแนวคิดฝ่ายขวาได้กลับเข้าสู่ Google Play Store แล้ว หลังจากถูกแบนไปในเดือนมกราคมของปีที่แล้ว
Parler ถูกนำออกจาก Apple Store และ Google Play Store เนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มที่ไม่มีนโยบานกลั่นกรองเนื้อหาที่กระตุ้นให้เกิดความรุนแรง และกลายเป็นแพลตฟอร์มที่กลุ่มม็อบสนับสนุนโดนัล ทรัมป์ใช้ในการพูดคุยกันเพื่อรวมตัวบุกรัฐสภาสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม Parler ได้กลับเข้าสู่ Apple Store ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว
Parler ตกลงที่จะแก้ไขแอปพลิเคชันเพื่อจัดการกับเนื้อหาที่ยั่วยุให้เกิดความรุนแรงและสร้างระบบที่รายงานและบล็อกบัญชีผู้ใช้ที่เผยแพร่เนื้อหาไม่เหมาะสม
กูเกิลฉลอง 10 ปีร้าน Google Play Store ด้วยการเปิดตัวโลโก้ใหม่ที่ยังเป็นปุ่มสามเหลี่ยมเหมือนเดิม แต่ปรับสีให้เข้ากับโทนโลโก้ยุคใหม่ของกูเกิล ที่ใช้สีสันสดใส 4 สีตามสัญลักษณ์ของบริษัท เปลี่ยนจากของเดิมที่ใช้สีโทนฟ้า-เขียวอ่อน
สถิติอื่นที่กูเกิลเปิดเผยคือ ผู้ใช้งานจริง 2.5 พันล้านคนต่อเดือน จาก 190 ประเทศ, จ่ายเงินให้นักพัฒนาไปแล้ว 1.2 แสนล้านดอลลาร์
กูเกิลยังฉลอง 10 ปีของ Google Play โดยการแจกแต้ม Google Play Points เพิ่ม 10 เท่า หากซื้อแอพหรือเกมในช่วงนี้ (เมืองไทยก็อดเช่นเคยเพราะยังไม่รองรับ Play Points)
เราเห็นข่าวหน่วยงานภาครัฐทั่วโลกพยายามบี้แอปเปิลและกูเกิล ให้ปลดล็อคเรื่องการจ่ายเงินในร้านขายแอพของตัวเอง ตัวอย่างคือ กรณีของ App Store ในเกาหลีใต้ ที่ลดค่าธรรมเนียมเหลือ 26% หากใช้ระบบจ่ายเงินอื่น, กรณีของกูเกิลในเกาหลีใต้ หรือ กรณีของ App Store ในเนเธอร์แลนด์ แต่เฉพาะแอพหาคู่เดต
กูเกิลเปิดทดสอบ Google Play Games บน Windows เพิ่มอีก 2 ประเทศ ได้แก่ไทยและออสเตรเลีย หลังจากเปิดทดสอบใน 3 ประเทศเมื่อต้นปี
การเปิดทดสอบนี้ใช้ระบบ waitlist ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนผ่านหน้าเว็บไซต์ และดูรายชื่อเกมที่รองรับได้บนหน้าร้านค้า
ที่มา - 9to5Google
มีรายงานว่าแอปแชตยอดนิยมของเกาหลีใต้ KakaoTalk ถูกปฏิเสธการอัพเดตเวอร์ชันของแอปใน Play Store ของกูเกิล โดยกูเกิลให้เหตุผลว่าแอปทำผิดข้อกำหนดการใช้งาน ที่ห้ามแทรกลิงก์ไปจ่ายเงินผ่านแพลตฟอร์มภายนอก
ก่อนหน้านี้กูเกิลออกข้อกำหนดมีผลตั้งแต่ 1 มิถุนายน ว่าหากพบแอปใดมีลิงก์ให้ไปจ่ายเงินค่าบริการยังเว็บไซต์ภายนอก ที่ไม่ใช่ระบบจ่ายเงินของกูเกิล แอปจะถูกระงับการอัพเดตหรืออาจถูกถอดออกจาก Play Store