วันนี้ในงาน Google Playtime 2018 งานสรุปภาพรวมประจำปีของ Google Play ระบุว่าผู้ใช้ใหม่ที่จ่ายเงินมักนิยมการจ่ายเงินผ่านเครือข่ายโทรศัพท์หรือบัตรเติมเงินมากกว่า 80% ขณะที่การจ่ายแบบดั้งเดิมเช่นบัตรเครดิตนั้นคิดเป็น 20% เท่านั้น
กูเกิลไม่ได้เปิดเผยว่าผู้ใช้ที่จ่ายเงินในแอปทั้งหมดมีอัตราส่วนเป็นอย่างไร แต่สถิตินี้ก็แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้รายใหม่ๆ นิยมการจ่ายเงินที่ไม่ต้องผูกบัตรเครดิตอย่างมาก โดยตอนนี้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย กูเกิลสามารถตัดเงินผ่านผู้ให้บริการโทรศัพท์ได้ 25 เครือข่ายใน 7 ประเทศ และมีบัตรเติมเงินขายใน 4 ประเทศ
กูเกิลเคยประกาศเอาไว้ว่า จะเพิ่มข้อมูล metadata ลงในไฟล์ APK ของแอพบน Play Store เพื่อยืนยันว่าเป็นไฟล์ที่เคยเผยแพร่ผ่าน Play Store จริงๆ
ล่าสุดกูเกิลขยายผลจากข้อมูลนี้แล้ว โดยแอพที่แชร์ไฟล์แบบ P2P ผ่านโปรแกรมจำพวก SHAREit หรือ Google Files Go จะมีการแจ้งเตือนว่าเป็นไฟล์แอพแท้หรือไม่ แม้ว่าอุปกรณ์ที่ใช้งานจะไม่ได้เชื่อมต่อเน็ตก็ตาม
กูเกิลอธิบายว่าฟีเจอร์นี้ออกแบบมาเพื่อเพิ่มช่องทางการเผยแพร่แอพให้มากขึ้น โดยเฉพาะในประเทศที่การเชื่อมต่อเน็ตยังจำกัด (เช่น อินเดีย) แต่ก็ยังคงมาตรฐานด้านความปลอดภัยเอาไว้ โดยที่ทั้งนักพัฒนาและผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม
กูเกิลประกาศเริ่มใช้งานฟีเจอร์ใหม่สำหรับนักพัฒนาแอพบน Google Play Store ซึ่งหลายอย่างคือสิ่งที่ประกาศไว้ในงาน Google I/O 2018
กูเกิลประกาศปรับนโยบายของ Play Store ใหม่เพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ โดยแอพกลุ่มที่ต้องเข้าถึงข้อมูลการโทรศัพท์ (call log) และ SMS ของผู้ใช้งาน จะต้องเป็นแอพที่ผู้ใช้ตั้งค่าเป็นดีฟอลต์ในการโทร/ส่งข้อความเท่านั้น จึงจะมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้
นโยบายนี้มาจากแนวทางช่วงหลังของกูเกิลที่เข้มงวดเรื่องความปลอดภัยและข้อมูลส่วนบุคคลมากขึ้น การที่ผู้ใช้ระบุว่าแอพเหล่านี้เป็นดีฟอลต์ แปลว่าเชื่อมั่นในแอพดังกล่าวจริงๆ จึงยอมให้เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวได้ แถมยังช่วยป้องกันปัญหาดาวน์โหลดแอพด้านโทรศัพท์/SMS มา และเผลออนุญาตสิทธิการเข้าถึงไป จนเกิดปัญหาข้อมูลรั่วไหลได้
นโยบายนี้จะมีผลบังคับใช้ภายใน 90 วันหลังจากนี้
ร้านค้าแอพอย่าง App Stores, iTunes และ Google Play มีการเก็บค่าธรรมเนียมจากบริษัทที่มาลงขายแอพบนแพลตฟอร์ม แต่ใครจะยอมเสียค่าธรรมเนียมไปเรื่อยๆ ถ้าตัวเองสามารถเข้าถึงผู้ใช้ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาร้านค้าแอพก็ได้
ปฏิกิริยาต่อต้านร้านค้าแอพไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่กำลังสะสมจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ตามมาด้วยความพยายามหาช่องทางใหม่ในการเข้าถึงผู้ใช้งาน โดยเฉพาะบรรดาแอพเพื่อความบันเทิง ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ Fortnite for Android จะไม่มีให้โหลดผ่าน Google Play และ Netflix ก็กำลังทดสอบระบบจ่ายเงินที่ไม่ต้องผ่าน iTunes และยังมี Spotify ที่ยกเลิกการจ่ายเงินผ่าน iTunes ไปแล้ว
เกมดังแห่งยุคนี้หนีไม่พ้น Fortnite ที่มีให้เล่นบนเกือบทุกแพลตฟอร์ม ยกเว้น Android ที่กำลังจะออกในเร็วๆ นี้
ล่าสุด Epic Games ยืนยันข่าวลือในรอบหลายวันนี้ว่า Fortnite เวอร์ชัน Android จะไม่ลง Google Play Store แต่จะต้องดาวน์โหลดไฟล์จากเว็บไซต์ Fortnite มาติดตั้งกันเอง
Tim Sweeney ซีอีโอของ Epic Games ให้เหตุผลว่าบริษัทต้องการเชื่อมต่อกับผู้ใช้โดยตรงเท่าที่ทำได้ โดยเกม Fortnite บนพีซีก็ใช้วิธีดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ของ Epic Games เอง และไม่มีการเผยแพร่ผ่าน Steam เช่นกัน จะมีแต่บางแพลตฟอร์มที่ไม่มีทางเลือกจริงๆ อย่างคอนโซลหรือ iOS ที่ต้องผ่านระบบของเจ้าของแพลตฟอร์ม
เป็นข่าวดีสำหรับผู้ใช้งาน Android ในประเทศไทยมากๆ เพราะตอนนี้ Google เปิดขายบัตรของขวัญ Google Play ผ่านร้านสะดวกซื้อในประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว โดยจำหน่ายในราคาตั้งแต่ 300, 500, 1,000 และ 2,000 บาท ผ่านร้านสะดวกซื้อชื่อดังได้แก่ Family Mart, Tesco Lotus และ 7-Eleven (เฉพาะบางสาขา)
ผู้ใช้สามารถหยิบบัตรของขวัญจากในร้าน นำไปจ่ายเงินและนำรหัส 20 หลักหลังบัตร กรอกบน Google Play และใช้ซื้อภาพยนตร์ รายการทีวี หนังสือ นิตยสาร แอพ Android และเกมได้บน Google Play ทันที
Google ปรับปรุงนโยบายการรับแอพของ Play Store อีกครั้ง โดยมีการแบนแอพในหลายหมวดหมู่เพิ่มเติม โดยครั้งนี้มีส่วนที่น่าสนใจคือการแบนแอพสำหรับใช้เพื่อการขุดสกุลเงินคริปโต
ในนโยบายของ Google Play ระบุไว้ชัดเจนใต้หัวข้อเครื่องมือทางการเงินว่า Google จะไม่รับแอพที่มีการขุดสกุลเงินคริปโตบนเครื่อง แต่สำหรับแอพที่ใช้เพื่อการจัดการการขุดสกุลเงินคริปโต (แต่ไม่ได้ใช้พลังงานบนเครื่องขุด) จะยังคงเปิดให้ดาวน์โหลดทาง Google Play ต่อไป
Instagram ได้ปล่อยแอพชื่อว่า Instagram Lite ออกมาเงียบๆ บน Google Play Store โดยมีจุดประสงค์เพื่อผู้ใช้งานในประเทศที่ทรัพยากรอินเทอร์เน็ตและมือถือไม่เอื้ออำนวยเช่นเดียวกับแอพอื่นๆ ที่ปล่อยเวอร์ชัน Lite ออกมา เบื้องต้นเปิดให้ผู้ใช้เม็กซิโกโหลดได้เป็นประเทศแรก
สำหรับ Instagram Lite มีขนาดแอพอยู่ที่ 573 กิโลไบต์ น้อยกว่าแอพหลักที่มีขนาด 32 เมกะไบต์ ทำให้ผู้ใช้ที่มีมือถือรุ่นล่างๆ หรือมีพื้นที่บนโทรศัพท์น้อยสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย ฟีเจอร์ที่สามารถใช้งานบนแอพได้แก่ อัพโหลดรูปภาพ, ปรับแต่งภาพหรือใส่ฟิลเตอร์, เพิ่มและดู Stories ส่วนการอัพโหลดวิดีโอและ Direct Message ไม่สามารถใช้งานได้เพื่อประหยัดดาต้าและเนื้อที่ของมือถือ
โฆษกของ Instagram บอกว่า Instagram Lite ไม่ได้ถูกประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ เนื่องจากยังไม่เผยแพร่ให้คนทั่วโลกได้ใช้งาน เบื้องต้นได้เริ่มทดสอบในประเทศเม็กซิโกเป็นที่แรกในอาทิตย์นี้
ที่มา : Engadget
Google ประกาศเพิ่มหน้า Subscriptions Center ใน Play Store แล้วหลังประกาศในงาน Google I/O 2018 ที่ผ่านมา สำหรับการติดตามและยกเลิกสถานะสมาชิกของแอปต่างๆ ที่ผู้ใช้สมัครเอาไว้
Google ระบุว่าปัญหาที่ผ่านมาของการสมัคร subscription กับแอปใน Play Store คือการยกเลิกที่ยากและวุ่นวาย ซึ่ง Subscriptions Center จะเข้ามาแก้ปัญหาตรงนี้ นอกจากยกเลิกแล้วยังสามารถแก้ไขวิธีการจ่ายเงิน, ต่อสถานะสมาชิกหรือสมัครสมาชิกจากแอปที่ยกเลิกไปก่อนหน้านี้ก้ได้เช่นกัน
Subscriptions Center จะอยู่ในแถบ 3 ขีด (แถบแฮมเบอร์เกอร์) บริเวณซ้ายบนใต้ My Apps & Games และ My Notifications ครับ
กูเกิลประกาศเพิ่มข้อมูลลายเซ็นดิจิตอลในไฟล์ APK เพื่อยืนยันว่าไฟล์นี้เคยกระจายผ่าน Google Play แล้วจริง
แม้จะไม่ได้บอกรายละเอียดชัดเจน แต่ประกาศนี้ก็ระบุว่ากำลังเปิดทางให้นักพัฒนาเข้าถึงผู้ใช้ได้มากขึ้น อาศัยการส่งต่อ APK ในประเทศที่ค่าเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมีราคาแพง
แนวทางนี้เป็นแนวทางเดียวกับ YouTube Go ที่เปิดให้ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดวิดีโอลงเครื่องและแชร์ให้คนรอบข้างได้ อย่างไรก็ตามกูเกิลยังระบุถึง "ช่องทางอื่นๆ" ที่กูเกิลยินยอม จะสามารถใช้เป็นช่องทางส่งต่อไฟล์ APK โดยที่โทรศัพท์ปลายทางที่รับไฟล์ไปติดตั้งสามารถยืนยันได้ว่าไฟล์นี้ได้รับการตรวจสอบจาก Google Play แล้ว เหมือนกันกับไฟล์ที่โหลดจากสโตร์โดยตรง
Google ใส่ Safe Browsing เข้ามาใน WebView ตั้งแต่ Android Oreo ด้วยเอนจินต์เดียวกับที่ใช้บน Chrome ทำให้นักพัฒนาแอปสามารถเลือกเปิด Safe Browsing บน WebView ได้
แต่ล่าสุด Google ระบุว่า Safe Browsing จะเปิดเป็นค่าดีฟอลต์ใน WebView เวอร์ชัน 66 เท่ากับแอปบนแอนดรอยด์ที่มีการเชื่อมต่อเว็บจะถูกกรองผ่าน Safe Browsing ให้อัตโนมัติ อย่างไรก็ตามนักพัฒนาแอปยังสามารถปิดได้ผ่าน API และสามารถทดสอบ Safe Browsing บน WebView Beta ได้ด้วย URL chrome://safe-browsing/match?type=malware
Appfigures รายงานข้อมูลแอพประจำปี 2017 ทั้ง App Store และ Google Play โดยมีสถิติที่น่าสนใจหลายประการ
Appfigures พบว่าในปีที่ผ่านมานั้น App Store มีจำนวนแอพน้อยลง 5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า จาก 2.2 ล้านแอพเหลือเพียง 2.1 ล้านแอพ ส่วนฝั่ง Google Play เติบโตขึ้น 30% โดยมีจำนวนมากกว่า 3.6 ล้านแอพ ส่วนการปล่อยแอพใหม่นั้น Appfigures รายงานว่า App Store มีจำนวนแอพใหม่อยู่ที่ 755,000 แอพ ลดลงถึง 29% ในขณะที่ฝั่ง Google Play เพิ่มขึ้น
Google เริ่มบล็อคการล็อกอินและการใช้งานแอป Google ในหน้าขั้นตอนเซ็ตอัพตอนเปิดเครื่อง พร้อมแสดงข้อความ "Device is not certified by Google" บนอุปกรณ์ที่รันแอนดรอยด์ที่ไม่ได้รับการรับรองจาก Google
ผู้ใช้ที่จะถูกบล็อกลักษณะนี้คือต้องติดตั้งรอมแอนดรอยด์เถื่อน หรือซื้อสมาร์ทโฟนจากแบรนด์ที่ไม่ได้เป็นพาร์ทเนอร์กับ Google แต่ติดตั้ง Google Play และแอป Google มาโดยไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงไม่ได้ผ่านการทดสอบต่างๆ จาก Google ขณะเดียวกันเครื่องที่ปลดล็อค bootloader ก็มีสิทธิถูกบล็อกด้วยเช่นกัน
ที่มา - Android Police
ในงาน Google Developer Day ประจำปี 2018 ที่กำลังจัดอยู่นี้ Google ได้เปิดตัว Google Play Instant สำหรับเกม ระบบนี้ออกแบบมาเพื่อเชิญชวนให้ผู้ใช้ตกลงใจทดลองเล่นเกมได้ง่ายกว่าที่เคย
เมื่อผู้ใช้เปิดหน้าของเกมที่รองรับด้วย Google Play Instant ใน Google Play ผู้ใช้จะพบปุ่ม "ทดลอง" เพิ่มขึ้นมาอีกปุ่มข้างๆ กับปุ่ม "ติดตั้ง" หากผู้ใช้ต้องการลองเล่นเกมใดดูก่อน แทนที่จะต้องทำการดาวน์โหลดและติดตั้งเกมจริงๆ ผู้ใช้ก็สามารถทำได้ด้วยการกดปุ่ม"ทดลอง"
ทั้งประหยัดเวลา ประหยัดปริมาณข้อมูลที่ต้องดาวน์โหลด ระบบ Google Play Instant จึงน่าจะทำให้ผู้ใช้ตัดสินใจทดลองใช้แอพหรือเล่นเกมได้ง่ายกว่าเดิม
กูเกิลประกาศสถิติว่าในปี 2017 ทั้งปี ถอดแอพที่ทำผิดเงื่อนไขการใช้งานออกจาก Play Store มากถึง 700,000 ตัว เพิ่มขึ้นจากปี 2016 ถึง 70%
ระบบของ Play Store ต่างไปจาก App Store ของแอปเปิล เพราะฝั่งกูเกิลเน้นใช้ระบบอัตโนมัติช่วยตรวจสอบเป็นหลัก โดยกูเกิลบอกว่าอัลกอริทึมที่ใช้ตรวจสอบนั้นแม่นยำขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นผลให้ถอดแอพประสงค์ร้ายได้มากขึ้น
กูเกิลยังบอกว่าแอพที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม (abusive contents) จะถูกตรวจสอบได้ก่อนขึ้น Play Store เกือบหมด (ความแม่นยำ 99%) ส่วนแอพสายมัลแวร์ที่พยายามซ่อนตัวไม่ให้จับได้ แม้จะได้ขึ้น Store แต่ก็ถูกตามไปสอยร่วงในเวลาไม่นาน
Google เปิดตัว Audiobook บนบริการ Google Play ใน 45 ประเทศ รองรับ 9 ภาษา (ไม่ได้ระบุว่าประเทศไหนบ้าง แต่ไม่มีไทยแน่นอน) รองรับทั้งแอนดรอยด์, iOS และเว็บ ไม่มีระบบสมัครสมาชิก พร้อมสามารถพรีวิวออดิโอบุ๊คไปฟังก่อนได้ พร้อมรองรับ Family Library
แน่นอน Audiobook ทำงานร่วมกับ Google Assistant สามารถสั่งค้นหาชื่อหนังสือ, ผู้เขียน โดยเบื้องต้นรองรับเฉพาะภาษาอังกฤษบนลำโพงอัจฉริยะและสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ ก่อนจะตามมาใน Assistant บน Android Auto ในสหรัฐต่อไป
ที่มา - Google Blog
ข่าวสำคัญที่นักพัฒนาสาย Android ควรทราบ กูเกิลประกาศนโยบายใหม่สำหรับ Play Store หลายข้อ กำหนดเวอร์ชันของ API (ในที่นี้คือ targetSdkVersion) ในปี 2018, กำหนดว่าต้องเป็นแอพแบบ 64 บิตเท่านั้นในปี 2019, และบังคับให้ต้องมี metadata ด้านความปลอดภัย
Target API level ขั้นต่ำ
ช่วงสิ้นปีแบบนี้ก็เป็นเวลาที่ Google Play ประกาศผลแอพพลิเคชันแห่งปีที่ได้รับความนิยมสูงสุด รวมทุกประเภทตั้งแต่ เกมส์, ดนตรี, หนัง, รายการทีวี และหนังสือ ในปีนี้มีเพิ่มการแนะนำแอพจากบรรณาธิการในหมวดแอพที่ดีที่สุดและเกมส์ที่ดีที่สุดอีกด้วย โดยลำดับมีดังนี้
วันนี้ Google ได้ส่งอีเมลหานักพัฒนาในโปรแกรม Google Play Developer เรื่องการอัพเตดนโยบายใหม่ โดยหนึ่งในนั้นมีเรื่องของ Lockscreen Monetization ที่การห้ามแอปหาเงินผ่านโฆษณาบนหน้าล็อคสกรีน ถ้าไม่ใช่แอปล็อคหน้าจอ
กล่าวอย่างง่ายคือถ้าแอปนั้นๆ เป็นแอปล็อคหน้าจอ สามารถหาเงินจากโฆษณาที่ปรากฎบนหน้าล็อคสกรีนได้ แต่ถ้าเป็นแอปประเภทอื่นทาง Google จะไม่อนุญาต อย่างแอป VPN บางตัวที่หาเงินจากโฆษณาบนหน้าล็อคสกรีน
ที่มา - Android Police
UC Browser เบราว์เซอร์ยอดนิยมจากจีน (ที่ดันไปดังในอินเดียมากกว่า) ถูกกูเกิลถอดออกจาก Play Store ชั่วคราว ด้วยเหตุผลว่าทำผิดกฎเรื่องการโปรโมทให้ผู้ใช้เข้าใจผิดเพื่อติดตั้งแอพตัวนี้
ตอนนี้ไม่มีข้อมูลจากฝั่งกูเกิลว่ารายละเอียดเป็นอย่างไร แต่มีนักพัฒนารายหนึ่งที่อ้างว่าเป็นพนักงานของ UCWeb ระบุว่าโดนแบนเป็นเวลา 30 วัน ผู้ที่ยังต้องการใช้ UC Browser บน Android ยังสามารถดาวน์โหลด APK มาติดตั้งเองได้จาก UCWeb
UC Browser มียอดดาวน์โหลดบน Play Store สูงถึง 500 ล้านดาวน์โหลด เป็นผลงานของบริษัท UCWeb Inc. ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเครือ Alibaba
วันที่ผู้ใช้แอนดรอยด์จะมีแอปจัดการไฟล์ในเครื่องที่ออกโดย Google น่าจะใกล้เข้ามาแล้ว จากการค้นพบแอป Files Go บน Play Store แต่ทว่ายังไม่ถูกปล่อยให้ดาวน์โหลดอย่างเป็นทางการและอยู่ในโปรแกรม Early Access เท่านั้น
ฟีเจอร์ของ Files Go เบื้องต้นคือการค้นหาเอกสาร, การแนะนำการจัดการไฟล์เพื่อทำความสะอาดเครื่อง, การแชร์ไฟล์กับเครื่องอื่นขณะออฟไลน์ เป็นต้น ไม่รวมการก๊อปปี้ ย้ายและลบไฟล์ที่น่าจะเป็นฟีเจอร์พื้นฐาน โดย Files Go จะรองรับแอนดรอยด์ 5.0 ขึ้นไป ทว่าตอนนี้เมื่อเข้าไปใน URL ของแอปบน Play Store กลับไม่พบหน้านี้แล้ว คาดว่า Google น่าจะปล่อยให้ดาวน์โหลดกันเร็วๆ นี้
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาแอป "Update WhatsApp Messenger" ปรากฎตัวขึ้นมาใน Google Play โดยใช้ภาพจากแอป WhatsApp เองและยังปลอมชื่อผู้ผลิตเป็น "WhatsApp Inc." โดยใส่ช่องว่างหลอกไว้หลังชื่อผู้ผลิตทำให้มองไม่ออกว่าเป็นคนละผู้ผลิตกัน
สิ่งที่น่าตกใจคือแอปตัวมียอดดาวน์โหลดถึงหนึ่งล้านครั้ง ตัวแอปไม่ได้ขอสิทธิ์อะไรเป็นพิเศษนอกจากอินเทอร์เน็ตเท่านั้น และมีไว้แสดงโฆษณาบนเครื่องของเหยื่อที่ดาวน์โหลดมา
ผู้ผลิตรายนี้เริ่มส่งแอปขึ้น Google Play ตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยใช้ชื่อแอป "WhatsApp Business" และชื่อผู้ผลิตเป็น "Whasp. Business Inc." ก่อนจะปรับชื่อจนเหมือนบริษัทจริงในไม่กี่วันที่ผ่านมา
งาน Google Play Playtime เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อให้นักพัฒนาได้มีโอกาสพูดคุยกับทางกูเกิ้ลเกี่ยวกับเรื่องของแอปพลิเคชั่นและทิศทางต่างๆ Google Play โดยมีจัดขึ้นตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก โดยในโซนเอเซียแปซิฟิกก็จัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งทางกูเกิ้ลประเทศไทยก็ได้พาเราไปร่วมงานและเก็บบรรยากาศมาฝากกันครับ
ช่วงกลางปี Google ได้เปิดตัว Google Play Protect ทางแล็บ AV-TEST ซึ่งเป็นองค์กรอิสระด้านความปลอดภัยจากเยอมันได้ทดสอบความสามารถของฟีเจอร์นี้ และพบว่า Google Play Protect ล้มเหลวในการปกป้องผู้ใช้เพราะป้องกันมัลแวร์ได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาก
AV-TEST ได้ทดสอบระบบ โดยพบว่า Google Play Protect สามารถหยุดมัลแวร์ได้เพียง 65.8% ของมัลแวร์ใหม่ และ 79.2% ของมัลแวร์ที่มีอายุกว่า 4 สัปดาห์ ในขณะที่ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 95.7% และ 98.4% ตามลำดับ ทำให้ AV-TEST ให้คะแนนส่วนการป้องกันมัลแวร์ของ Google Play Protect ทั้งสิ้น 0 จาก 6 คะแนน