อินเทลร่วมมือกับไมครอน เปิดตัวเทคโนโลยีหน่วยความจำแบบใหม่ที่เรียกว่า 3D XPoint มาตั้งแต่ปี 2015 โดยโฆษณาว่ามันเร็วกว่าหน่วยความจำแบบ NAND ที่ใช้กันในปัจจุบันถึง 1,000 เท่า, ทนทานกว่ากัน 1,000 เท่า และจัดเรียงชิปหน่วยความจำได้หนาแน่นกว่า DRAM 10 เท่า
อินเทลตั้งเป้านำ 3D XPoint มาใช้ทำสตอเรจ SSD ความเร็วสูงภายใต้แบรนด์ Optane ที่วางตัวไว้เป็น "แคชความเร็วสูง" ที่อยู่ระหว่างแรมกับสตอเรจ หรือบางครั้งอาจมองว่ามันเป็นส่วนขยายของแรมก็ได้ ด้วยการที่มันทำงานได้เร็วมากๆ นั่นเอง
หลังจากโฆษณามานานและเลื่อนกำหนดวางขายมาหลายรอบ ในที่สุดผลิตภัณฑ์ตัวแรก Intel Optane SSD DC P4800X ก็เริ่มวางขายแล้ว
สำนักข่าว The Information รายงานว่า Apple ปลดอุปกรณ์เซิร์ฟเวอร์ที่ผลิตโดยบริษัท Supermicro ออกจากศูนย์ข้อมูลของตัวเอง และคืนอุปกรณ์ที่เพิ่งซื้อมาให้กับบริษัท เนื่องจากพบปัญหามัลแวร์ฝังตัวอยู่ในเฟิร์มแวร์ที่ติดตั้งบนเซิร์ฟเวอร์
Apple ตรวจพบปัญหาขณะกำลังพัฒนาระบบของ App Store โดยในรายงานบอกว่าเซิร์ฟเวอร์ที่จัดการคำสั่งจาก Siri ก็มีการใช้งานเซิร์ฟเวอร์ของบริษัท Supermicro ด้วย ในขณะที่แหล่งข่าวของ Ars Technica เผยว่าปัญหาดังกล่าวเกิดเฉพาะเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้งานในห้องปฏิบัติการออกแบบเท่านั้น
ในงานพบปะนักลงทุนของอินเทลเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นอกจากข่าวใหญ่อย่าง Core 8th Gen อินเทลยังเผยยุทธศาสตร์ในระยะยาวของบริษัท ที่ช่วยให้เรามองเห็นทิศทางว่าอินเทลจะมุ่งเน้นไปทางไหนในอนาคต
ภาพรวมของอินเทลคือกระจายธุรกิจไปยังธุรกิจใหม่ๆ ที่ไม่ใช่ซีพียูสำหรับพีซีไคลเอนต์มากขึ้น โดยอินเทลเรียกตัวเองว่าตอนนี้เราเป็น Data Company ที่จะเติบโตตามการบูมของปริมาณข้อมูลในอนาคต
Facebook ประกาศเตรียมก่อสร้างศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่ที่ประเทศเดนมาร์กที่เมือง Odense โดยเป็นศูนย์ข้อมูลแห่งที่สามของบริษัทที่ตั้งอยู่นอกสหรัฐฯ ตามหลังศูนย์ข้อมูล Lulea ประเทศสวีเดน และ Clonee ในประเทศไอร์แลนด์
Niall McEntegart หัวหน้าฝ่ายดำเนินการศูนย์ข้อมูลของ Facebook ได้กล่าวว่า ศูนย์ข้อมูล Odense นั้นจะเป็นศูนย์ข้อมูลที่ล้ำหน้าที่สุด และใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าที่สุดในโลก
เว็บไซต์ Data Center Knowledge สรุปภาพรวมของตลาดศูนย์ข้อมูล-คลาวด์ ประจำปี 2016 ดังนี้
Amazon ได้เปิดตัวศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่ของบริการ AWS แห่งใหม่ในยุโรป โดยก่อนหน้านี้ก็เพิ่งเปิดตัวศูนย์ข้อมูลในแคนาดาไป ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร โดยเป็นศูนย์ข้อมูลในยุโรปของ AWS แห่งที่สามถัดจาก Ireland และ Frankfurt เพื่อให้องค์กร, สตาร์ทอัพ และภาคส่วนต่าง ๆ ในสหราชอาณาจักรเข้ามาใช้บริการได้เพื่อลดค่าใช้จ่ายไอทีลง และลงทุนในส่วนใหม่ ๆ ได้เร็วขึ้น เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ และ IoT
ศูนย์ข้อมูลในลอนดอน ก็จะมีให้บริการหลักของ AWS ทุกอย่าง เช่น EC2, S3, RDS แต่ว่าระบบบางอย่าง เช่น Lambda และ machine learning ยังไม่มีให้ใช้ในศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่ในลอนดอน
Amazon ได้เปิดตัวศูนย์ข้อมูลใหม่ของบริการ AWS ในพื้นที่ประเทศแคนาดาอย่างเป็นทางการ และพร้อมให้บริการกับผู้ใช้แล้วในวันนี้ โดยตัวศูนย์ข้อมูลจะเรียกว่า Canada (Central) ตั้งอยู่ที่เมือง Montreal มีสองโซนที่แยกกัน โดยศูนย์ข้อมูลในแคนาดานี้เป็นศูนย์ข้อมูลแห่งที่ 6 ในอเมริกาเหนือ และแห่งที่ 15 ทั่วโลก และเท่ากับตอนนี้ AWS มีให้บริการแล้ว 40 โซนทั่วโลก
สำหรับ AWS ในแคนาดา ก็จะมีให้บริการหลายอย่าง ตั้งแต่ Elastic Compute Cloud (EC2), Simple Storage Service (S3) และ Relational Database Service (RDS)
Alibaba เตรียมใช้เซิร์ฟเวอร์ ARM ในศูนย์ข้อมูลของตัวเอง ถือเป็นก้าวสำคัญอีกก้าวของ ARM ในการเดินเข้าสู่ตลาดเซิร์ฟเวอร์ ที่อินเทลมีส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 90%
ศูนย์ข้อมูลของ Alibaba ใช้กับทั้งบริการอีคอมเมิร์ซของตัวเอง และบริการคลาวด์ Alibaba Cloud (หรือชื่อในจีนคือ Aliyun) ซึ่งเป็นคลาวด์ลักษณะเดียวกับ AWS
ความเชื่อมโยงของ ARM กับ Alibaba คือ SoftBank เจ้าของปัจจุบันของ ARM เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของ Alibaba ในปัจจุบัน
ในฐานะผู้นำและผู้บุกเบิกการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานทางไอที (IT Infrastructure) ของประเทศไทย ด้วยประสบการณ์เกือบสองทศวรรษ TCC Technology ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องความน่าเชื่อถือของบริการศูนย์ข้อมูล (Data Center) อันเปรียบได้กับแหล่งกำเนิดพลังงานสำคัญในโลกดิจิทอล กล่าวคือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศและแพลตฟอร์มดิจิตอลต่างๆ คลาวด์ (Cloud) ระบบทรัพยากรทางธุกิจ (ERP) รวมถึงการทำธุรกรรมผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)
ระบบรักษาความปลอดภัยเซิร์ฟเวอร์ที่เราเห็นกันบ่อยๆ คงเป็นไฟร์วอลล์หรือตัวป้องกันเน็ตเวิร์ค แต่ความปลอดภัยพื้นฐานที่สุดคือการรักษาความปลอดภัยการเข้าถึงตัวตู้เซิร์ฟเวอร์เอง ผู้ผลิตอย่าง Schneider Electric ก็เปิดตัว NetBotz ระบบมอนิเตอร์ตู้แร็คและการเข้าถึงตัวตู้
ตัว NetBotz เป็นเหมือน IoT gateway ที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับตู้เซิร์ฟเวอร์ มันรองรับเซ็นเซอร์แบบมีสายได้ 42 ตัวและเซ็นเซอร์ไร้สาย 47 ตัว ตั้งแต่ความชื้น, อุณหภูมิ, ของเหลว, การสัมผัสตัวตู้, ความสั่นไหว, ควันไฟ
นอกจากเซ็นเซอร์ยังมีระบบควบคุมการเข้าถึงตู้เป็นส่วนขยาย สามารถเปลี่ยนตัวล็อกประตูเพื่อควบคุมการเข้าถึงตัวตู้ด้วย RFID มีให้เลือกทั้งบัตรแบบ 125khz และบัตร MIFARE
ไมโครซอฟท์ประกาศตกลงเซ็นสัญญากับฟาร์มผลิตไฟฟ้าพลังงานลม 2 แห่ง เพื่อป้อนพลังงานให้กับศูนย์ข้อมูล Cheyenne ในรัฐไวโอมิงรวมกัน 237 เมกะวัตต์
ปัจจุบันไมโครซอฟท์ซื้อพลังงานสะอาดหมุนเวียนเพื่อป้อนให้กับศูนย์ข้อมูลแล้วใน 5 รัฐได้แก่เวอร์จิเนีย, เท็กซัส, ไวโอมิง, อิลลินอยส์และแคนซัส คิดเป็น 44% จากพลังงานทั้งหมดที่ป้อนให้กับศูนย์ข้อมูล โดยไมโครซอฟท์ตั้งเป้าจะเพิ่มให้ถึง 50% ภายในปี 2018 และเพิ่มขึ้นอีกเป็น 60% ภายใน 2020
ไมโครซอฟท์เผยผ่านเว็บบล็อก Microsoft Green ว่าบริษัทจะเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียนในศูนย์ข้อมูล เป็นจำนวน 50% ภายในปี 2018 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 60% ก่อนปี 2020
ปัจจุบันไมโครซอฟท์ใช้พลังงานหมุนเวียน อันประกอบไปด้วย พลังงานลม, พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำ อยู่ที่ 44% และเพิ่งเซ็นสัญญากับโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 20 เมกะวัตต์ ในมลรัฐเวอร์จิเนีย
ปัจจุบันทางภาครัฐของประเทศสหรัฐอเมริกากำลังผลักดันการผลิตและความเข้าถึงได้ของพลังงานหมุนเวียน และไมโครซอฟท์ก็รายงานผลการใช้พลังงานของแต่ละรัฐ, สัดส่วนแหล่งที่มาของพลังงานและปริมาณการผลิตคาร์บอน
Mark Zuckerberg ได้โพสต์ว่านับตั้งแต่เดือนหน้าเป็นต้นไป เจ้าตัวจะเริ่มโพสต์ภาพเทคโนโลยีล้ำสมัยที่ทางเฟซบุ๊กกำลังพัฒนาอยู่ทั่วโลก โดยภาพชุดแรกเป็นภาพของศูนย์ข้อมูลในเมือง Luleå ทางตอนเหนือขอสวีเดน ซึ่งอยู่ห่างจากขั้วโลกเหนือราว 112 กิโลเมตร
ศูนย์ข้อมูลที่เมือง Luleå มีขนาดเทียบเท่าสนามฟุตบอล 6 สนาม เปิดใช้งานครั้งแรกในปี 2013 และเป็นศูนย์ข้อมูลแห่งแรกของเฟซบุ๊กนอกสหรัฐ โดยซีอีโอเฟซบุ๊กระบุว่า ศูนย์ข้อมูลแห่งนี้ใช้พลังงานจากแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานน้ำที่ติดตั้งอยู่ใกล้ๆ และใช้ความเย็นตามธรรมชาติในการช่วยลดอุณหภูมิเซิร์ฟเวอร์ ทำให้ศูนย์ข้อมูลในเมือง Luleå ใช้พลังงานน้อยกว่าศูนย์ข้อมูลทั่วไปถึง 40%
ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ลูกค้าของธนาคาร ING ในโรมาเนียต้องเจอกับปัญหาบริการจ่ายบิลและเอทีเอ็มล่มไปนาน 10 ชั่วโมง ซึ่งมีสาเหตุมาจากฮาร์ดดิสก์เสียหายในระหว่างการทดสอบระบบป้องกันอัคคีภัยของศูนย์ข้อมูลใน Bucharest
การทดสอบระบบครั้งดังกล่าวมีการทดสอบระบบดับเพลิงอัตโนมัติด้วย โดยศูนย์ข้อมูลแห่งนี้ได้ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงอัตโนมัติแบบใช้ก๊าซเฉื่อย ซึ่งเป็นสารที่นิยมใช้สำหรับระบบดับเพลิงในศูนย์ข้อมูลและสถานที่ซึ่งมีอุปกรณ์ทางไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์กันโดยมาก เนื่องจากก๊าซเฉื่อยไม่ทำให้อุปกรณ์เสียหายเหมือนการใช้น้ำหรือสารเคมีแบบโฟมหรือแบบผง
Jay Parikh รองประธานผู้ดูแลฝ่ายวิศวกรรมของ Facebook ได้เปิดเผยข้อมูลว่าในปัจจุบัน Facebook ได้ทำการทดสอบซ้อมแผนการรับมือสถานการณ์วิกฤต โดยทีมวิศวกรได้ทดลองทำให้ศูนย์ข้อมูลของตนเองล่มกันจริงๆ เพื่อการทดสอบนี้
Parikh ได้กล่าวบรรยายถึงเรื่องนี้ในงานสัมมนา @Scale งานดังกล่าวเป็นงานที่รวบรวมเอาเจ้าหน้าที่ผู้สร้างและบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่รองรับผู้ใช้งานจำนวนมหาศาล ซึ่งมีเหล่าวิศวกรจากบริษัทใหญ่ๆ อาทิ Google, Airbnb, Dropbox, Spotify, Netflix และบริษัทอื่นอีกมาเข้าร่วมกันมากมาย
เราคงรู้กันดีว่าเทคโนโลยีฮาร์ดดิสก์ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว แต่บริษัทผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์รู้ตัวเรื่องนี้กันแค่ไหน และมีแผนปรับตัวอย่างไร
Western Digital บริษัทผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์รายใหญ่ที่สุดของโลก มีแผนรับมือเรื่องนี้ไว้แล้ว ในระยะสั้น บริษัทแสดงให้เห็นผ่านการซื้อ SanDisk เพื่อขยายมายังตลาดหน่วยความจำแบบแฟลช แต่ในระยะยาว WD ต้องการไปไกลกว่าการเป็นผู้ขายฮาร์ดแวร์สตอเรจ แต่ไปให้ถึงการวางโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ข้อมูลในอนาคตด้วย
Delta Air Lines สายการบินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ประสบปัญหาระบบไฟฟ้าของศูนย์ข้อมูล และไม่สามารถย้ายไปใช้ระบบสำรองได้ ส่งผลให้เที่ยวบินเกือบ 6,000 เที่ยวต้องล่าช้าหรือยกเลิก กระทบผู้โดยสารจำนวนมาก
เหตุการณ์เริ่มต้นในช่วง 2:30 น. ของเมื่อวานนี้ตามเวลาสหรัฐ ปัญหาศูนย์ข้อมูลหลักที่เมืองแอตแลนต้าใช้งานไม่ได้ทำให้เที่ยวบินของ Delta ทั่วโลกไม่สามารถออกบินได้ ตลอดทั้งวัน Delta ต้องยกเลิกเที่ยวบินไปแล้ว 740 เที่ยวบิน และมีเพียง 3,340 ที่สามารถกลับมาให้บริการได้ตามเส้นทางเดิม
Delta ชดเชยลูกค้าโดยให้เปลี่ยนตั๋วได้ฟรี 1 ครั้ง ถ้าไฟลท์ยกเลิกหรือล่าช้ามากก็สามารถขอคืนเงินได้เต็มจำนวน สำหรับลูกค้าที่เจอปัญหาเที่ยวบินล่าช้าเกิน 3 ชั่วโมง จะได้คูปองมูลค่า 200 ดอลลาร์เพิ่มด้วย
Salesforce ประกาศซื้อบริษัท Coolan สตาร์ตอัพที่ทำระบบปรับแต่งประสิทธิภาพของศูนย์ข้อมูล (data center optimization)
ความน่าสนใจของ Coolan อยู่ที่ผู้ก่อตั้ง Amir Michael เป็นอดีตวิศวกรสายฮาร์ดแวร์ของ Google และ Facebook รวมถึงเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งโครงการ Open Compute ที่เปิดสเปกฮาร์ดแวร์สำหรับศูนย์ข้อมูลของ Facebook ด้วย
ซอฟต์แวร์ของ Coolan จะอ่านค่าต่างๆ จากฮาร์ดแวร์ในศูนย์ข้อมูล และวิเคราะห์สภาพการทำงานได้ละเอียดระดับฮาร์ดแวร์แต่ละชิ้นของเซิร์ฟเวอร์แต่ละเครื่อง เพื่อให้องค์กรสามารถบริหารจัดการศูนย์ข้อมูลได้อย่างแม่นยำขึ้นกว่าเดิม
ทีมงาน Coolan จะเข้าไปช่วย Salesforce ปรับปรุงศูนย์ข้อมูลของตัวเอง ส่วนตัวของ Michael ก็จะยังมีบทบาทในโครงการ Open Compute ต่อไปด้วย
เมื่อคืนที่ผ่านมาตามเวลาในบ้านเรา เฟซบุ๊กได้เปิดศูนย์ข้อมูลในรัฐออริกอนให้ผู้สื่อข่าวได้เยี่ยมชมเป็นครั้งแรก ซึ่งนอกจากจะเต็มไปด้วยเซิร์ฟเวอร์แล้ว ศูนย์ข้อมูลแห่งนี้ยังเป็นแล็บ สำหรับทดสอบสมรรถภาพและการทำงานของแอพเฟซบุ๊กบนสมาร์ทโฟนรุ่นต่างๆ กว่า 2,000 เครื่องอีกด้วย เพื่อผู้ใช้ทั่วโลก ไม่ว่าจะใช้สมาร์ทโฟนเก่าแค่ไหน ยังคงมีประสบการณ์การใช้งานแอพที่ดีอยู่ตลอด
กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ ออกรายงานการใช้พลังงานในศูนย์ข้อมูลโดยรวม พบว่าการใช้พลังงานในศูนย์ข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และตามแนวดน้มแล้วมีความเป็นไปได้ว่าการใช้พลังงานในศูนย์ข้อมูลโดยรวมอาจจะลดลงจากการบริหารจัดการอย่างเป็นมืออาชีพ และการใช้คลาวด์ขนาดใหญ่
รายงานรวบรวมข้อมูลจากปี 2000 ถึง 2014 และพบว่าหลังจากช่วงปี 2007 เป็นต้นมา การใช้พลังงานในศูนย์ข้อมูลเพิ่มขึ้นช้าลงเรื่อยๆ และมีสามแนวทางที่อาจจะเพิ่มประสิทธิภาพของศูนย์ข้อมูลจนกระทั่งการใช้พลังงานลดลง ได้แก่
จากข่าวก่อนหน้านี้ว่า Dropbox ย้ายระบบจาก AWS มาใช้ศูนย์ข้อมูลของตนเอง ล่าสุด Dropbox เปิดเผยว่า Hewlett Packard Enterprise หรือ HPE คือพาร์ทเนอร์ที่ให้ความร่วมมือในการออกแบบและพัฒนาฮาร์ดแวร์เพื่อการนี้
Drew Houston ซีอีโอ Dropbox ระบุว่าการได้ร่วมมือกับ HPE นี้ เป็นประโยชน์ต่อ Dropbox ในการเข้าสู่ลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ เพราะมี HPE ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นในระบบการดูแลข้อมูล ซึ่งทาง HPE เองก็เป็นลูกค้าแบบองค์กรของ Dropbox ด้วย
Houston ยังเผยว่าในการออกแบบฮาร์ดแวร์สำหรับใช้งานนั้น ทาง HPE ได้ช่วยปรับเซิร์ฟเวอร์ให้สามารถบรรจุดิสก์ต่อเครื่องเพิ่มมากขึ้น เพราะ Dropbox ต้องการประหยัดต้นทุนให้มากที่สุด
Google ประกาศเปิดตัวโครงการ Data Center Mural Project ให้ศิลปินที่ได้รับเชิญจากทางบริษัท มาสร้างสรรค์งานศิลปะให้กับอาคารศูนย์ข้อมูล โดยจะอยู่ภายใต้โจทย์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและการใช้ผลิตภัณฑ์ของ Google เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะนี้
ปัจจุบันมีศูนย์ข้อมูลที่อยู่ในโครงการนี้ 4 แห่ง คือที่ Mayes County มลรัฐโอกลาโฮมา, St. Ghislain ที่ประเทศเบลเยียม, Dublin ประเทศไอร์แลนด์ และ Council Bluffs มลรัฐไอโอวา โดยวาดเสร็จไปแล้วสองแห่งคือที่ Mayes County ที่ออกแบบโดย Jenny Odell และ St. Ghislain ที่ออกแบบโดย Oli-B
Google ระบุว่าตั้งใจจะทำให้ครบศูนย์ข้อมูลทั้งหมด 11 แห่งทั่วโลก
Schneider Electric บริษัทผลิตอุปกรณ์ป้องกันทางไฟฟ้า จัดงานแสดงขั้นตอนการวางแผนทำ data center ตลอดจนการติดตั้งและนำไปใช้ รวมถึงการแก้ไขปัญหาด้วยระบบมอนิเตอร์อัจฉริยะ
ชื่อไทยฟังดูเหมือนซอสปรุงรส แต่เป็นเรื่องจริงจัง Western Digital เปิดตัวฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์สำหรับกลุ่มดาต้าเซ็นเตอร์ ใช้ฉลากสีทองครับ มาในมิติ 3.5 นิ้ว ต่อกับระบบด้วยพอร์ต SATA (6Gb/s) กับแคช 128MB จานหมุน 7,200 รอบต่อนาที ประกัน 5 ปี และมีค่า MTBF ที่ 2.5 ล้านชั่วโมง มีความจุลูกละ 4, 6 และ 8TB ตามลำดับ
The Register คาดการณ์ว่าไดรฟ์รุ่น 4TB จะใส่จาน 1TB 4 จานภายใน, 6TB มาแบบ 1.5TB 4 จาน, และรุ่น 8TB ใช้ดีไซน์เดียวกับไดรฟ์ HGST 8TB ที่ใส่ก๊าซฮีเลียม และมีจาน 1.142TB ซ้อนกัน 7 จานครับ ด้านราคา Anandtech ระบุว่าอยู่ที่ 309, 499 และ 629 เหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ
ที่มา - WD, The Register, Anandtech
Mesosphere สตาร์ตอัพด้านระบบปฏิบัติการ "คลัสเตอร์" สำหรับศูนย์ข้อมูล มีซอฟต์แวร์ชื่อ DC/OS ที่พัฒนาต่อมาจากโครงการโอเพนซอร์ส Apache Mesos ที่ถูกนำไปใช้งานในบริษัทใหญ่ๆ หลายราย (DC/OS ย่อมาจาก Datacenter Operating System)
วันนี้ Mesosphere ออกมาประกาศโอเพนซอร์สตัว DC/OS เรียบร้อยแล้ว ด้วยเหตุผลว่าอยากกระจายเทคโนโลยีนี้ออกไปในวงกว้างที่สุด โครงการ DC/OS ประกอบด้วยโครงการย่อยๆ หลายตัว เช่น ตัวจัดคิวงาน Apache Mesos, ตัวจัดการคลัสเตอร์ Marathon, ตัวติดตั้ง, อินเทอร์เฟซจัดการระบบ, ตัวจัดการแพ็กเกจซอฟต์แวร์ที่มารันบน DC/OS ฯลฯ ซึ่งโค้ดทั้งหมดจะถูกเปิดภายใต้สัญญาอนุญาต Apache 2.0