Fitbit เริ่มรีแบรนด์ตัวเองเป็น "Fitbit by Google" พร้อมประกาศแนวทางใหม่หลังเข้ามาเป็นบริษัทลูกของกูเกิลตั้งแต่ปี 2021
Rick Osterloh หัวหน้าทีมฮาร์ดแวร์ของกูเกิล ให้สัมภาษณ์ในโอกาสเปิดตัว Pixel Watch นาฬิกาสมาร์ทวอทช์รุ่นแรกของบริษัท เผยเบื้องหลังว่ากูเกิลอยากทำสมาร์ทวอทช์ของตัวเองมาก่อนหน้านี้ แต่ไม่สามารถทำได้จนซื้อกิจการ Fitbit (ประกาศซื้อปลายปี 2019 ซื้อเสร็จต้นปี 2021) เพื่อมาเติมเต็มในฝั่งสุขภาพและฟิตเนส ซึ่งเขามองว่าเป็นแอพที่สำคัญของนาฬิกายุคนี้
Google เปิดตัว Google Pixel Watch สมาร์ทวอร์ชรุ่นแรก ตัวนาฬิกามีลักษณะโค้งมน ไร้ขอบ ตัวเรือนทำจากสแตนเลส ใช้ระบบปฏิบัติการ Wear OS 3.5 ความจุ 32GB สามารถควบคุมผ่านแอปพลิเคชัน Google Home ได้
Google ได้ร่วมมือกับ FitBit ในการพัฒนาฟีเจอร์ด้านสุขภาพและการออกกำลังกาย Google เผยว่าเทคโนโลยีจาก Fitbit ทำให้ Pixel Watch สามารถวัดอัตราการเต้นของหัวใจได้อย่างแม่นยำทุก ๆ วินาที นอกจากนี้ยังมีโหมดออกกำลังกาย 40 โหมด มี GPS ในตัว และฟีเจอร์ Active Zone Minutes ที่ช่วยให้ออกกำลังกายได้ต่อเนื่อง รวมถึงรองรับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) ที่พอจะตรวจจับอาการหัวใจเต้นพลิ้ว (Atrial Fibrillation) ได้ตามสมัยนิยม
กูเกิลเริ่มซื้อกิจการ Fitbit ช่วงปลายปี 2019 และซื้อเสร็จต้นปี 2021 แต่หลังจากนั้น การหลอมรวมผลิตภัณฑ์ของทั้งสองฝั่งก็เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ปัจจุบันการใช้งาน Fitbit ยังต้องใช้บัญชี Fitbit Account เท่านั้น
ล่าสุด Fitbit ประกาศรีแบรนด์ตัวเองเป็น Fitbit by Google และขึ้นข้อความบนหน้า Help ว่าเตรียมจะเปิดให้ใช้บัญชี Google Account บนฮาร์ดแวร์ของ Fitbit ในปี 2023 แต่ยังไม่ระบุเวลาชัดเจน แสดงให้เห็นทิศทางของ Fitbit ที่จะเข้ามาใกล้กับบริษัทแม่มากขึ้น แม้ยังไม่บังคับย้ายข้อมูลจาก Fitbit Account ก็ตาม
Fitbit เปิดตัวสมาร์ทวอทช์และสมาร์ทแบนด์รุ่นใหม่ 3 รุ่น ได้แก่ Inspire 3, Versa 4 และ Sense 2 ซึ่งเป็นรุ่นอัพเกรดจากรุ่นก่อนหน้าที่ทั้งหมดเปิดตัวเมื่อปี 2020
โดยสมาร์ทวอทช์ Sense 2 ชูจุดขายด้านการตรวจจับข้อมูลสุขภาพ แบตเตอรี่อยู่ได้นาน 6 วัน รองรับการตรวจจับคลื่นหัวใจผิดปกติ ECG และอัลกอริทึม PPG, อัตราการเต้นหัวใจ, อุณหภูมิที่ผิวหนัง และฟีเจอร์ EDA ตรวจวัดระดับความเครียดจากการตอบสนองของร่างกาย ราคาขาย 299.95 ดอลลาร์
Fitbit อัพเดตข้อมูลในหน้าสนับสนุน โดยจะปิดการใช้งานโปรแกรมสำหรับเดสก์ทอป Fitbit Connect มีผลตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2022 เป็นต้นไป ซึ่งโปรแกรมนี้ใช้สำหรับการติดตั้ง Fitbit ครั้งแรก รวมทั้งการซิงก์ไฟล์เพลงไปที่อุปกรณ์
โดย Fitbit แนะนำให้ใช้การซิงก์ข้อมูลต่าง ๆ จากนี้ ผ่านแอปในสมาร์ทโฟนทั้ง Android และ iOS แทน
ส่วนที่อาจกระทบผู้ใช้งานมากที่สุดคือการตัดความสามารถซิงก์ไฟล์เพลงเพื่อฟังออฟไลน์บนอุปกรณ์ผ่านเดสก์ทอป โดย Fitbit บอกว่าให้เปลี่ยนมาใช้การซิงก์เพลงผ่านแอปที่รองรับ โดยตอนนี้มี 2 แอปคือ Deezer และ Pandora ส่วนไฟล์เพลงที่เคยซิงก์ไปก่อนหน้าจะยังฟังได้ต่อตามเดิม ส่วนคนที่ใช้งานแอปฟังเพลงอื่น อาจต้องรอจนกว่า Wear OS จะเข้ามาแทนที่
กูเกิลจับมือกับซัมซุง เปิดตัว Health Connect เป็นแพลตฟอร์มและ API สำหรับ Android ให้นักพัฒนาแอพสายสุขภาพ-ฟิตเนส สามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพที่เก็บไว้ในอุปกรณ์ Android ได้จากที่เดียว
แนวคิดเรื่องแพลตฟอร์มเก็บข้อมูลสุขภาพไม่ใช่เรื่องใหม่ และกูเกิลก็มี Google Fit ของตัวเองมานานแล้ว แต่ในโลก Android เดิมเป็นวิธีต่างคนต่างทำ แพลตฟอร์มของใครของมัน เช่น ซัมซุงมี Samsung Health ของตัวเอง หรือ Fitbit ในยุคก่อนโดนกูเกิลซื้อ
การมาถึงของ Health Connect เป็นความร่วมมือระหว่างผู้เล่นรายใหญ่บน Android คือ Samsung Health, Google Fit, Fitbit จะมาอยู่บนแพลตฟอร์มเดียวกัน และมีนักพัฒนาบางรายอย่าง MyFitnessPal, Leap Fitness, Withings ประกาศร่วมสนับสนุนแล้ว
Fitbit ประกาศเรียกคืนสินค้าสมาร์ทวอทช์รุ่น Ionic ที่วางขายช่วงปี 2017-2020 (ปัจจุบันเลิกทำแล้ว เปลี่ยนเป็น Fitbit Sense) หลังพบปัญหาความร้อนที่แบตเตอรี่ และอาจเผาไหม้ผิวหนังขณะสวมใส่ได้
Fitbit แนะนำให้ลูกค้าเลิกใช้อุปกรณ์เหล่านี้โดยทันที โดยจะคืนเงินให้เต็มจำนวนคือ 299 ดอลลาร์ (กระบวนการอาจแตกต่างตามแต่ละประเทศ ซึ่งในหน้าเว็บขอคืนเงินก็มีประเทศไทยให้เลือก) ลูกค้ายังจะได้ส่วนลดค่าซื้อสินค้าอื่นของ Fitbit เพิ่มเติมด้วย
Fitbit Charge 5 เปิดตัวแล้ว หน้าจอ AMOLED พร้อมฟีเจอร์ always on เป็นครั้งแรกที่สปอร์ตแบนด์ตระกูล Charge เป็นจอสี มาพร้อมมี GPS ในตัว แบตเตอรี่ใช้งานได้ยาวนาน 7 วัน และสมาชิก Fitbit Premium ฟรี 6 เดือน
Fitbit Charge 5 จะวัดอัตราการเต้นของหัวใจตลอดเวลา หากใส่นอน ตัวเครื่องจะติดตามการนอนหลับ แสดง Sleep Score คุณภาพการนอน ระยะเวลาที่อยู่ในการนอนหลับระดับต่างๆ และมีฟีเจอร์ Smart Wake ช่วยปลุกผู้ใช้ในช่วงที่เหมาะกับการตื่น ทุกเช้าระบบจะประเมินคะแนน Daily Readiness คะแนนความอ่อนล้าของร่างกาย เพื่อนำไปแนะนำการออกกำลังกายประจำวันว่าควรอยู่ในโซนใดกี่นาที
Fitbit แบรนด์ฟิตเนสแทรกเกอร์เจ้าดังที่ปัจจุบัน Google เป็นเจ้าของ ออกอัพเดตใหม่ Fitbit OS 5.2 ให้กับฟิตเนสแทรกเกอร์รุ่น Fitbit Sense และ Fitbit Versa 3 มีฟีเจอร์ต่างๆ ดังนี้
9to5Google ได้ดีคอมไฟล์แอป Fitbit บน Android พบฟีเจอร์ใหม่ในโค้ดที่ยังไม่มีให้ใช้งานในแอปเวอร์ชันปัจจุบัน นั่นคือระบบตรวจจับการนอนกรนและเสียงโดยรอบ ซึ่งใช้ไมโครโฟนใน Fitbit รุ่นที่รองรับ ทำการเก็บข้อมูลเสียงเมื่อผู้สวมใส่นอนหลับ
Fitbit ระบุว่าฟีเจอร์นี้แยกการทำงานเป็นสองส่วน คือ ตรวจระดับเสียงโดยรอบเวลานอนเพื่อให้ได้ค่าระดับเสียงฐาน จากนั้นจึงจับค่าเสียงอื่นที่เข้ามา และแยกแยะว่าเป็นเสียงของการนอนกรน แล้วคำนวณเพื่อรายงานว่าผู้ใช้งานนอนกรนเป็นระยะเวลานานเท่าใด เทียบกับระยะเวลานอนทั้งหมด ซึ่งมีข้อมูลว่าอัตราการนอนกรนสามารถสะท้อนภาวะสุขภาพได้
กูเกิลประกาศซื้อกิจการ Fitbit มาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2019 เวลาผ่านมาปีกว่า วันนี้กูเกิลประกาศว่ากระบวนการซื้อ Fitbit เสร็จสมบูรณ์แล้ว
เหตุผลที่กระบวนการซื้อกิจการล่าช้ามาขนาดนี้ คงเป็นเพราะหน่วยงานกำกับดูแลในหลายประเทศเริ่มเข้ามาจับตาการซื้อกิจการของบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ โดยกรณีของ Fitbit ถูกจับตาจาก EU ในประเด็นเรื่องการแชร์ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อไปใช้โฆษณา รวมถึงการผูกขาดด้วย
Fitbit สมาร์ทวอทช์สายฟิตเนส ออกรุ่นใหม่สองรุ่นคือ Firbit Sense และ Versa 3 กับสมาร์ทแบนด์เน้นการออกกำลังกาย Inspire 2
Fitbit Sense มาแทนตระกูล Fitbit Ionic เป็นรุ่นเรือธงใหม่ของ Fitbit หน้าจอ AMOLED พร้อมเซ็นเซอร์ตรวจจับแสงเพื่อปรับความสว่างหน้าจออัตโนมัติ มี GPS ในตัว มีไมค์และลำโพงไว้รับโทรศัทพ์ได้ผ่านการเชื่อมต่อ Bluetooth มีเซ็นเซอร์ EDA (elctro dermal activity) ใช้วัดความเครียดจากค่าความเหนี่ยวนำไฟฟ้าใต้ผิวหนังที่เกิดจากเหงื่อ มาพร้อมฟีเจอร์วัดความเครียดแบบใหม่ในแอป
การควบรวมกิจการ Fitbit ของ Google น่าจะยืดเยื้อไม่น้อย หลังจากไม่กี่วันที่ผ่านมา Google ให้คำมั่นกับคณะกรรมาธิการยุโรปว่าจะไม่ใช้ข้อมูลจาก Fitbit ด้านการโฆษณา แต่ดูเหมือนทาง EU จะต้องการมากกว่านั้น
Financial Times รายงานว่าคณะกรรมาธิการยุโรปต้องการบีบให้ Google สัญญา (น่าจะเป็นลายลักษณ์อักษรที่มีผลผูกมัดทางกฎหมาย) ว่าจะไม่นำข้อมูล Fitbit ไปส่งเสริมการโฆษณา รวมถึงต้องเปิดให้บริษัทภายนอก เข้าถึงข้อมูลได้เทียบเคียง Google (grant third parties equal access)
หลังจากประกาศเข้าซื้อกิจการไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว แต่กระบวนการยังไม่สิ้นสุดเพราะต้องรอการรับรองจากหลายประเทศ
ล่าสุด Google ยืนยันกับคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ว่าจะไม่ใช้ข้อมูลข้อมูลสุขภาพที่ได้จาก Fitbit ในการยิงโฆษณา ด้วยหวังว่าจะได้รับการรับรองการซื้อกิจการ Fitbit สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ที่ทาง EU ได้ส่งแบบสอบถาม 60 ข้อเกี่ยวกับผลกระทบจากการซื้อขายไปยัง Google เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา
โฆษกของ Google เผยว่า การซื้อขายในครั้งนี้ บริษัทให้ความสำคัญกับตัวอุปกรณ์มากกว่าข้อมูล และยินดีที่ได้ชี้แจงกับทางคณะกรรมาธิการยุโรป เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าทางบริษัทจะไม่ใช่ข้อมูลที่ได้จาก Fitbit เพื่อการโฆษณา
Fitbit เปิดตัวสายรัดข้อมือ Charge 4 โดยมาพร้อมกับฟีเจอร์ใหม่หลายอย่าง แต่จะยังคงลักษณะเหมือนกับ Charge 3
ฟีเจอร์ที่น่าสนใจของ Fitbit Charge 4 ได้แก่ GPS ในตัว, ระบบควบคุมเพลง Spotify รวมถึงฟีเจอร์อื่น ๆ ที่พบได้ในสมาร์ทวอชของ Fitbit เช่น Fitbit Pay, การแจ้งเตือนจากแอป, smart wake และเซนเซอร์ SpO2
ฟีเจอร์ที่เด่นที่สุดในรอบนี้คือ GPS เพราะผู้ใช้ FItbit Charge 4 ไม่ต้องนำโทรศัพท์มือถือไปใช้งานขณะออกกำลังกาย โดยข้อมูลการออกกำลังกายจะถูกบันทึกลงแอป และนำมาเปรียบเทียบกับผลการออกกำลังกายในครั้งต่อ ๆ ไป
Fitbit ผู้ผลิตอุปกรณ์สวมใส่สำหรับการออกกำลังกายเจ้าดัง ได้เปิดให้ผู้ใช้งานใช้ฟังก์ชั่นของ Fitbit Premium บริการแบบสมัครสมาชิกผ่านแอปของ Fitbit ที่เปิดตัวไปเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ได้ฟรีถึง 90 วัน จากเดิมที่มีช่วงทดลองใช้เพียง 7 วัน เพื่อให้ผู้ใช้งานได้ออกกำลังในช่วงกักตัวอยู่บ้าน
ข่าวเซอร์ไพรส์หนึ่งของวงการไอทีช่วงปลายปี 2019 คือ กูเกิลซื้อกิจการ Fitbit ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์แบบสวมใส่ได้ (wearable) ชื่อดัง
บทความนี้เป็นการวิเคราะห์เหตุผลว่าทำไมกูเกิลถึงต้องซื้อ Fitbit (และทำไม Fitbit ถึงต้องขายให้ใครสักคน) แต่ก็ยังมีความท้าทายอีกมาก เพราะทั้งกูเกิลและ Fitbit ต่างเป็นผู้เล่นอันดับรองๆ ในตลาด wearable ที่แข่งขันสูงมาก
Fitbit รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 3 ปี 2019 รายได้รวม 347.2 ล้านดอลลาร์ ลดลง 12% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน และขาดทุน 26.7 ล้านดอลลาร์ ในไตรมาสนี้บริษัทไม่มีการแถลงผลประกอบการกับนักวิเคราะห์เพื่อให้ข้อมูลในอนาคตเพิ่มเติม เนื่องจากอยู่ในขั้นตอนขายกิจการให้กูเกิล
ไตรมาสที่ผ่านมา Fitbit ขายอุปกรณ์ไปได้ 3.5 ล้านชิ้น โดยสมาร์ทวอทช์ทำเงินคิดเป็น 58% ของรายได้รวม ส่วนอุปกรณ์แทร็กเกอร์คิดเป็น 39% และมีรายได้ลดลงเนื่องจากไม่มีการออกรุ่นใหม่ในไตรมาสที่ผ่านมา และกลุ่ม Health Solution มีรายได้เพิ่มขึ้น 10%
เป็นข่าวต่อเนื่องจากที่กูเกิลประกาศซื้อกิจการ Fitbit โดย The Information ระบุว่า มีบริษัทหนึ่งได้เจรจาขอซื้อ Fitbit ก่อนกูเกิล แต่ปิดดีลไม่ได้ นั่นคือ Facebook
แหล่งข่าวบอกว่า Facebook เป็นผู้ติดต่อขอซื้อ Fitbit ก่อน แต่เสนอราคาไม่สูง โดยเสนอไปประมาณครึ่งหนึ่งของที่กูเกิลเสนอซื้อ (2,100 ล้านดอลลาร์) จึงไม่ใช่เรื่องยากที่ Fitbit จะตัดสินใจเลือกกูเกิล
ที่น่าสนใจคือ Facebook ทำไมจึงสนใจซื้อ Fitbit เนื่องจากไลน์สินค้านั้นดูไม่เข้ากับธุรกิจปัจจุบันนัก ถึงแม้อดีต Facebook จะเคยซื้อแอปออกกำลังกาย Moves แต่เวลาต่อมาก็ปิดตัวไป
กูเกิลประกาศว่าบริษัทได้ทำข้อตกลงเข้าซื้อ Fitbit โดยไม่ได้แจ้งมูลค่าการซื้อขาย ประกาศครั้งนี้ตรงตามข่าวลือเมื่อไม่กี่วันก่อน
ประกาศฝั่ง Fitbit แจ้งมูลค่าดีลครั้งนี้ไว้ที่ 2,100 ล้านดอลลาร์ โดยซื้อเป็นเงินสดที่ 7.35 ดอลลาร์ต่อหุ้น โดยคาดว่าจะควบรวมสำเร็จในปี 2020 โดยต้องรอการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นและหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง
ตามที่มีข่าวลือก่อนหน้านี้ว่า Fitbit อาจศึกษาแนวทางเพื่อขายกิจการ ล่าสุดสำนักข่าว Reuters อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องระบุว่า Alphabet บริษัทแม่ของกูเกิล ได้ยื่นข้อเสนอขอซื้อกิจการ Fitbit แล้ว แต่ดีลยังไม่ได้ข้อสรุป
ตัวแทนของกูเกิลและ Fitbit ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นต่อข่าวดังกล่าว
Fitbit ปัจจุบันยังเป็นบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะที่มีส่วนแบ่งการตลาดในระดับที่สูง แต่ในตลาดนี้ก็ถูกแย่งส่วนแบ่งและมีการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะจากผู้ผลิตสำคัญของจีนทั้ง Huawei และ Xiaomi
สำนักข่าว Reuters อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง เผยว่า Fitbit ได้เริ่มพูดคุยกับวาณิชธนกิจ Qatalyst Partners เพื่อศึกษาหาความเป็นไปได้ต่าง ๆ ทางธุรกิจ รวมทั้งแนวทางที่จะขายกิจการธุรกิจสายรัดข้อมือเพื่อสุขภาพและสมาร์ทวอทช์
Fitbit นั้นถือเป็นบริษัทที่ครองส่วนแบ่งได้สูงในกลุ่มสายรัดข้อมือเพื่อสุขภาพ แต่ทิศทางที่สมาร์ทวอทช์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ตลาดนี้เป็นของผู้เล่นรายใหญ่อย่างแอปเปิลและซัมซุง ขณะเดียวกันสายรัดข้อมูลเพื่อสุขภาพก็มีคู่แข่งจากบริษัทจีนเข้ามาแย่งส่วนแบ่งด้วย
แหล่งข่าวบอกว่า บริษัทหนึ่งที่คาดว่าจะนำเสนอเพื่อให้ซื้อกิจการคือ Alphabet บริษัทแม่ของกูเกิล แต่ยังไม่มีข้อสรุปใด ๆ ซึ่ง Qatalyst Partners จะใช้เวลาอีกหลายสัปดาห์ในการประเมินและสรุปแนวทาง
Fitbit เปิดตัว Fitbit Premium บริการแบบสมัครสมาชิกผ่านแอปของ Fitbit ที่ใช้ประโยชน์จากข้อมูลของผู้ใช้ผ่านอุปกรณ์ Fitbit ในการให้คำแนะนำปรึกษาด้านสุขภาพและการออกกำลัง ผ่านผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์และวิชาการ โดยเป็นการให้คำแนะนำแบบส่วนตัว เพื่อออกแบบให้ผู้ใช้ขยับร่างกายมากขึ้น นอนหลับสนิทขึ้น และมีโภชนาการที่ดี
ระบบให้คำแนะนำของ Fitbit Premium นั้น เป็นการใช้ข้อมูลที่รวบรวมมากว่า 10 ปี พร้อมกับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญของ Fitbit's Advisory Panel ซึ่งประกอบไปด้วยทั้งนักจิตวิทยา นักโภชนาการ นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ และอีกมากมาย
Fitbit ประกาศความร่วมมือกับคณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพของประเทศสิงคโปร์ (Singapore’s Health Promotion Board - HPB) เพื่อริเริ่มโครงการส่งเสริมให้สุขภาพของประชาชน โดยโครงการที่พัฒนาร่วมกันชื่อว่า Live Healthy SG
รายละเอียดโครงการนั้นจะเปิดให้ประชาชนสิงคโปร์ที่สนใจลงทะเบียน โดยต้องสมัครใช้บริการ Fitbit Premium เป็นเวลา 1 ปี (ค่าบริการ 10 ดอลลาร์ต่อเดือน) และจะได้รับสายรัดข้อมือแทร็กเกอร์ Fitbit Inspire HR ฟรี ซึ่ง Fitbit บอกว่าบริการ Fitbit Premium ลูกค้าจะได้รับคำแนะนำการดูแลสุขภาพที่ละเอียด รวมทั้งมีบริการโค้ชแนะนำตัวต่อตัวด้วย