Competition and Markets Authority
Competition and Markets Authority (CMA) หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของสหราชอาณาจักร ออกรายงานประเมินความเสี่ยงจากดีล Adobe ซื้อ Figma มูลค่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์ ว่าส่งผลกระทบต่อการแข่งขันในธุรกิจซอฟต์แวร์ด้านออกแบบ
ประเด็นนี้ไม่เกินความคาดหมายนัก เพราะ CMA ประกาศเริ่มสอบสวนดีลนี้ในเฟส 2 ตั้งแต่กลางปี ส่วนผลการสอบสวนคือ Adobe XD และ Figma เป็นคู่แข่งกันโดยตรงในตลาดซอฟต์แวร์ออกแบบผลิตภัณฑ์ โดย CMA พบว่า 80% ของนักออกแบบผลิตภัณฑ์ใช้ซอฟต์แวร์ของ Figma ดังนั้นการซื้อกิจการย่อมกระทบต่อการแข่งขันและนวัตกรรม เพราะมีตัวเลือกในตลาดน้อยลง
Competition and Markets Authority หรือ CMA หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของสหราชอาณาจักร ประกาศอนุมัติดีลไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard อย่างเป็นทางการแล้ว หลังก่อนหน้านี้แถลงว่าไม่ขัดขวางดีล ตามข้อเสนอใหม่ของไมโครซอฟท์ที่ขายสิทธิคลาวด์เกมมิ่งของ Activision Blizzard ให้ Ubisoft
มีรายงานว่าไมโครซอฟท์เตรียมประกาศ ว่าการเข้าซื้อกิจการ Activision Blizzard ได้เสร็จสมบูรณ์ ผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานกำกับดูแลทั้งหมด เร็วที่สุดภายในวันศุกร์หน้า 13 ตุลาคม 2023
แหล่งข่าวบอกว่าตอนนี้เหลือเพียงหน่วยงานเดียวที่ยังไม่ได้อนุมัติคือ CMA ของสหราชอาณาจักร แต่ไมโครซอฟท์คาดว่า CMA จะแจ้งคำตัดสินได้ช่วงตั้งแต่วันนี้จนถึงสัปดาห์หน้า ซึ่ง CMA เคยให้ความเห็นล่าสุดว่าไม่มีประเด็นติดขัด โดยไมโครซอฟท์จะต้องขายสิทธิ์เกมให้ Ubisoft ภายในประเทศ ตามที่เสนอมา
CMA หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของสหราชอาณาจักร ประกาศจะเริ่มทำการสอบสวนการแข่งขันในตลาดผู้ให้บริการพับลิกคลาวด์ในสหราชอาณาจักร ว่ามีลักษณะที่รายใหญ่มีอำนาจเหนือตลาดหรือไม่
การสอบสวนนี้เริ่มต้นจาก Ofcom หรือหน่วยงานแบบกสทช. ของสหราชอาณาจักร ได้ออกรายงานเกี่ยวกับตลาดคลาวด์ในประเทศ พบว่าผู้ให้บริการรายใหญ่ได้สร้างเงื่อนไขหลายอย่าง ที่ทำให้ผู้เล่นรายใหม่เข้าสู่ตลาดได้ยาก เช่น การคิดค่าธรรมเนียมย้ายข้อมูลออกที่สูง การให้ส่วนลดพิเศษ ตลอดจนข้อจำกัดทางเทคนิค ที่ทำให้การย้ายผู้ให้บริการคลาวด์หรือใช้หลายผู้ให้บริการพร้อมกันมีความยุ่งยากมาก
หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของสหราชอาณาจักรหรือ CMA อัพเดตความเห็นในดีลไมโครซอฟท์ ซื้อกิจการ Activision Blizzard ซึ่งล่าสุดไมโครซอฟท์เสนอขายสิทธิ์เกมของ Activision Blizzard บนแพลตฟอร์มคลาวเกมมิ่งทั้งหมดรวมถึงเกมในอนาคตให้ Ubisoft เป็นผู้ดูแลจัดการ โดยบอกว่าท่าทีดังกล่าวของไมโครซอฟท์ เป็นการแก้ไขปัญหาตรงตามที่ CMA แสดงความกังวล ซึ่งน่าจะทำให้ดีลนี้ผ่านการอนุมัติ โดย CMA จะเปิดการหารือเพิ่มเติมจนถึง 6 ตุลาคม
จากที่หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของสหราชอาณาจักร (Competition and Markets Authority - CMA) ตัดสินขัดขวางดีล Activision Blizzard ด้วยเหตุผลเรื่องการมีอำนาจในตลาดคลาวด์เกมมิ่ง
ล่าสุด Brad Smith ประธานไมโครซอฟท์เผยว่า บริษัทเตรียมขายสิทธิ์ของเกม Activision Blizzard บนแพลตฟอร์มคลาวด์สตรีมมิ่งทั้งหมด ทั้งเกมในปัจจุบันและที่จะออกในอนาคต ให้กับ Ubisoft โดยสิทธิ์นี้ไม่มีวันหมดอายุ
เท่ากับว่า หากดีลผ่าน เกมของ Activision Blizzard จะไม่ได้เป็นเอ็กคลูซีฟบน Xbox Cloud Gaming ขณะที่ Ubisoft จะจ่ายเป็นเงินก้อนให้ไมโครซอฟท์ บวกส่วนแบ่งรายได้จากชั่วโมงการเล่นผ่าน Ubisoft+
มีอัพเดตล่าสุดจาก CMA หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของสหราชอาณาจักร ซึ่งก่อนหน้านี้ตัดสินขัดขวางดีลไมโครซอฟท์ ซื้อกิจการ Activision Blizzard ด้วยเหตุผลเรื่องการมีอำนาจในตลาดคลาวด์เกมมิ่ง ต่อมามีรายงานว่าไมโครซอฟท์ยินยอมแก้ไขรายละเอียดการซื้อกิจการเพื่อให้ผ่านการอนุมัติ
หลังจากไมโครซอฟท์เอาตัวรอดจาก FTC กรณีควบรวม Activision Blizzard (แม้ FTC ยังมีสิทธิอุทธรณ์) อุปสรรคเดียวที่เหลืออยู่ของดีลนี้คือ CMA หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของสหราชอาณาจักร ที่ตัดสินใจว่าการควบรวมของไมโครซอฟท์ส่งผลต่อการแข่งขันในตลาดคลาวด์เกมมิ่ง (ส่วนคอนโซลไม่กระทบ) ซึ่งไมโครซอฟท์อยู่ระหว่างการยื่นอุทธรณ์
ล่าสุดไมโครซอฟท์ "ยอม" ปรับท่าทีแล้ว โดยระบุว่ายินดีปรับแก้บางส่วนในข้อเสนอซื้อกิจการ Activision Blizzard เพื่อคลายข้อกังวลของ CMA
หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของสหราชอาณาจักร (Competition and Markets Authority - CMA) ประกาศเริ่มดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติมในระยะที่ 2 ในดีลที่ Adobe ซื้อกิจการ Figma ซึ่งประกาศเมื่อปีที่แล้ว ว่าอาจส่งผลลดการแข่งขันอย่างมีนัยยะสำคัญในตลาดซอฟต์แวร์งานออกแบบ ที่ Adobe เป็นผู้นำตลาดอยู่แล้ว
CMA ระบุว่า Figma เป็นซอฟต์แวร์ที่โดดเด่นเรื่องงานออกแบบ UI และแย่งส่วนแบ่งตลาดจาก Adobe มาต่อเนื่อง ทั้งสองบริษัทต่างลงทุนพัฒนาผลิตภัณฑ์กันมาตลอด หากดีลควบรวมเกิดขึ้น ย่อมส่งผลกระทบสูงต่อตลาดรวมและคู่แข่งผู้พัฒนาซอฟต์แวร์รายอื่น
Bloomberg อ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวว่า Brad Smith ประธานบริษัทของไมโครซอฟท์จะเข้าพบ Jeremy Hunt รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหราชอาณาจักรในเร็วๆ นี้ จากกรณี CMA หน่วยงานการแข่งขันของสหราชอาณาจักรขวางดีล Activision Blizzard
ตามข่าวบอกว่า ทางเลือกหนึ่งของไมโครซอฟท์คือ ถอนธุรกิจของ Activision Blizzard ออกจากสหราชอาณาจักรไปเลย หากไม่สามารถผลักดันให้ CMA อนุมัติดีลนี้ผ่านได้
ที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ใช้วิธียกตัวอย่างกรณี EU อนุมัติดีล (แบบมีเงื่อนไข) เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นว่าทวีปยุโรปมีความเป็นมิตรต่อภาคธุรกิจมากกว่าสหราชอาณาจักร
ไมโครซอฟท์ยื่นอุทธรณ์ ขอให้หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของสหราชอาณาจักร (Competition and Markets Authority - CMA) กลับคำตัดสินที่ขัดขวางดีลควบรวมกิจการกับ Activision Blizzard โดยยังไม่มีข้อมูลว่าไมโครซอฟท์ให้เหตุผลใดประกอบคำอุทธรณ์นี้
ก่อนหน้านี้ CMA ออกคำตัดสินให้ขัดขวางดีลนี้ โดยบอกว่าจะทำให้ไมโครซอฟท์มีอำนาจในตลาดคลาวด์เกมมิ่งมากขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม CMA เคยให้ความเห็นก่อนหน้านี้ว่าดีลนี้ไม่กระทบกับตลาดเกมคอนโซล
จากกรณี CMA หน่วยงานกำกับดูแลสหราชอาณาจักร มีคำตัดสินขัดขวางดีล Microsoft-Activision โดยให้เหตุผลว่าการซื้อกิจการครั้งนี้จะทำให้ไมโครซอฟท์ผูกขาดตลาดคลาวด์เกมมิ่ง ซึ่งเป็นอีกประเด็นแยกจากการแข่งขันในวงการคอนโซล
ในคำตัดสินของ CMA มีเกร็ดเล็กๆ ที่น่าสนใจคือ CMA "ไม่เชื่อว่า" ไมโครซอฟท์และ Activision Blizzard จะสามารถพอร์ต Call of Duty ลงเครื่อง Nintendo Switch ได้ ซึ่งขัดกับมุมมองของไมโครซอฟท์ที่มั่นใจว่าทำได้ เพราะเอนจินปรับแต่งมาดีพอ (หยามกันสุดๆ)
หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของสหราชอาณาจักร (Competition and Markets Authority - CMA) ออกคำตัดสินการพิจารณาดีลไมโครซอฟท์ เสนอซื้อกิจการ Activision Blizzard ระบุว่า CMA จะขัดขวางดีลควบรวมกิจการดังกล่าว
CMA ให้เหตุผลโดยเน้นไปที่ธุรกิจคลาวด์เกมมิ่ง บอกว่าไมโครซอฟท์มีส่วนแบ่งตลาดนี้อยู่ 60-70% การได้เกมของ Activision เพิ่มเติมมาเป็นเอ็กคลูซีฟ จะยิ่งเพิ่มอำนาจในตลาดมากขึ้น อีกทั้งไมโครซอฟท์ก็มีบริการเชื่อมต่อครบทั้ง Xbox, ระบบปฏิบัติการ Windows บนพีซี และยังมีแพลตฟอร์มคลาวด์ Azure ด้วย
ก่อนหน้านี้ CMA ให้ความเห็นต่อดีลดังกล่าวในมุมของตลาดคอนโซล บอกว่าไม่กระทบการแข่งขัน
Competition and Markets Authority หรือ CMA หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของสหราชอาณาจักร ประกาศเปลี่ยนมุมมองต่อดีลไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard ว่า "ไม่กระทบการแข่งขันในตลาดคอนโซล" (the transaction will not result in a substantial lessening of competition in relation to console gaming in the UK)
CMA ออกรายงานเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ว่าดีลนี้ส่งผลกระทบต่อการแข่งขัน แต่ล่าสุดกลับลำเพราะได้ "ข้อมูลใหม่" จากไมโครซอฟท์ ทำให้มุมมองเปลี่ยนไป
ไมโครซอฟท์ส่งเอกสารให้ CMA หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของอังกฤษ ตอบโต้ประเด็นของโซนี่ที่กลัวไมโครซอฟท์ออก Call of Duty เวอร์ชันมีบั๊กให้ PlayStation
CMA เผยแพร่เอกสารนี้ต่อสาธารณะ โดยตัดเนื้อหาความลับบางส่วนออก แต่ก็ช่วยให้เราเห็นข้อตอบโต้ของไมโครซอฟท์ ที่ระบุว่าบริษัทต้องปฏิบัติตามคำสั่งของ CMA (ถ้าดีลได้รับการอนุมัติ) ที่จะต้องทำเกมเวอร์ชัน PS5 ให้ดี รองรับฟีเจอร์เฉพาะอย่าง haptic เพื่อสร้างยอดขายบน PS5 ให้เยอะที่สุดอยู่แล้ว (maximise sales) อีกทั้งการขายเกมบน PS5 โซนี่ก็จะได้ส่วนแบ่งอยู่แล้วเช่นกัน
เว็บไซต์ The Verge รายงานว่าในเอกสารที่โซนี่ส่งให้ CMA หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของสหราชอาณาจักร ในประเด็นไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard มี "ข้อกังวล" ของโซนี่หากไมโครซอฟท์ได้เป็นเจ้าของ Call of Duty ดังนี้
ถึงแม้เป็นสิ่งที่รู้ๆ กันอยู่ แต่เป็นครั้งแรกที่ไมโครซอฟท์ยอมรับว่าการนำเกมขึ้น Game Pass จะส่งผลให้ยอดขายเกมลดลงจริง
ข้อมูลนี้มาจากเอกสารที่ไมโครซอฟท์ส่งให้ CMA หน่วยงานกำกับดูแลด้านการแข่งขันของสหราชอาณาจักร ในกรณีดีล Activision Blizzard ในเอกสารฉบับเต็มบอกตัวเลขว่ายอดขายเกม (ตัวเกมหลักหรือ base game) ลดลงกี่เปอร์เซนต์ แต่ในเอกสารที่เผยแพร่ต่อสาธารณะได้เซ็นเซอร์ตัวเลขนี้ออก
Competition and Markets Authority (CMA) หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของสหราชอาณาจักร ออกรายงานสอบสวนกรณีไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard อย่างละเอียด (Phase II) หลังจากออกผลสอบสวนเบื้องต้น (Phase I investigation) เมื่อเดือนกันยายน 2022 ใช้เวลาทำงาน 5 เดือน
CMA ได้ข้อสรุปว่าการยอมให้ไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard อาจส่งผลกระทบต่อการแข่งขันในอุตสาหกรรมเกม ทั้งราคาเกมแพงขึ้น ตัวเลือกน้อยลง และนวัตกรรมน้อยลง
ไมโครซอฟท์ยื่นเอกสารต่อ CMA หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของสหราชอาณาจักร ในประเด็นเรื่อง Activision Blizzard ที่แกนกลางคือการเป็นเอ็กซ์คลูซีฟหรือไม่ของเกม Call of Duty
ประเด็นที่น่าสนใจคือไมโครซอฟท์อธิบายวิธีคิดของตัวเอง (พร้อมแผนภาพ) ว่าเกมแบบใดควรเป็นเอ็กซ์คลูซีฟ และเกมแบบใดควรลงแพลตฟอร์มคู่แข่งด้วย
วิธีคิดของไมโครซอฟท์แบ่งเกมเป็น 3 ระดับ ได้แก่
ไมโครซอฟท์เผยในเอกสารที่ส่งต่อ Competition and Markets Authority (CMA) หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของอังกฤษ จากกรณีซื้อ Activision Blizzard ระบุว่ากำลังทำ "ร้านขายเกม" ของตัวเองที่รองรับอุปกรณ์หลากหลายประเภท รวมถึงสมาร์ทโฟนด้วย
ไมโครซอฟท์บอกว่าต้องการขยาย Xbox Store ในปัจจุบันไปยังอุปกรณ์พกพา สร้างเป็น Xbox Mobile Platform เพื่อแข่งขันกับ Play Store และ App Store อย่างไรก็ตาม ไมโครซอฟท์ยอมรับว่าการแข่งขันกับสโตร์ 2 รายใหญ่ไม่ใช่เรื่องง่าย จำเป็นต้องรอให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยน ซึ่งการได้เกมดังๆ จาก Activision Blizzard มาเป็นจุดดึงดูดก็จะช่วยให้เกมเมอร์ยอมเล่นของใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้น
เมื่อเดือนพฤศจิกายน หน่วยงานด้านการแข่งขันและตลาดของอังกฤษ (Competition and Markets Authotiry หรือ CMA) ออกคำสั่งให้ Meta ต้องขายกิจการ Giphy แพลตฟอร์มแชร์ภาพ GIF ด้วยข้อหาว่าเป็นการผูกขาดการแข่งขัน
Meta ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลการแข่งขัน (Competition Appeal Tribunal หรือ CAT) ผลคือในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา CAT ตัดสินยืนตามแนวทางของ CMA จำนวน 5 ประเด็นจากทั้งหมด 6 ประเด็น โดยประเด็นที่เห็นว่า CAT ไม่มีน้ำหนักมากพอคือการแชร์ข้อมูลส่วนตัวของบุคคลที่สาม (the sharing of third-party confidential information)
Competition and Markets Authority (CMA) หน่วยงานกำกับดูแลด้านการแข่งขันของสหราชอาณาจักร ออกรายงานผลการสอบสวนดีลไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard ในระยะแรก (Phase 1 investigation) แสดงความ "กังวล" ว่าดีลนี้จะทำให้ระดับการแข่งขันในตลาดเกมลดลง
มุมมองของ CMA ระบุว่าหากไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard สำเร็จ อาจกีดกันไม่ให้คู่แข่งเข้าถึงเกมในเครือ Activision Blizzard ซึ่งได้รับความนิยมสูง หรืออาจยังให้ด้วยเงื่อนไขธุรกิจที่แย่กว่าเดิม
CMA ยังมองไปถึงการใช้อิทธิพลของไมโครซอฟท์ในตลาดคลาวด์ (Azure) และพีซี (Windows) ร่วมกับเกมของ Activision Blizzard ทำลายการแข่งขันในตลาดคลาวด์เกมมิ่งที่กำลังเติบโต
Competition and Markets Authority (CMA) หน่วยงานกำกับดูแลการค้าของสหราชอาณาจักร อนุมัติดีลการควบกิจการบริษัทซอฟต์แวร์ความปลอดภัย NortonLifeLock กับ Avast มูลค่า 8 พันล้านดอลลาร์ ที่ประกาศในเดือนสิงหาคม 2021
NortonLifeLock เคยซื้อกิจการ Avira มาก่อนเมื่อปี 2020 และมาซื้อ Avast อีกต่อหนึ่ง หากดีลนี้ผ่านก็จะกลายเป็นอาณาจักรซอฟต์แวร์ความปลอดภัยรายใหญ่ที่มีผู้ใช้รวมกันมากกว่า 500 ล้านคน
Competition and Markets Authority หรือ CMA หน่วยงานด้านการแข่งขันของสหราชอาณาจักร ประกาศเข้าสอบสวนดีลไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard อย่างเป็นทางการ เพื่อดูว่าสร้างการผูกขาดต่อธุรกิจหรือไม่
CMA ประกาศเริ่มสอบสวนอย่างเป็นทางการในวันนี้ (6 ก.ค.) โดยเปิดรับฟังความเห็นจากผู้เกี่ยวข้องภายในวันที่ 20 ก.ค. และกำหนดเส้นตายขั้นต้นเป็นวันที่ 1 ก.ย. ว่าจะตัดสินอย่างไร (อาจเลื่อนได้ถ้าจำเป็น)
ดีลไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard เป็นดีลใหญ่ที่มีมูลค่าถึง 6.9 หมื่นล้านดอลลาร์ และต้องผ่านกระบวนการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลในหลายๆ ประเทศ จึงจะสามารถเดินหน้าต่อได้
หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของสหราชอาณาจักร (Competition and Markets Authority หรือ CMA) ประกาศเริ่มการสอบสวนการผูกขาดโดยผู้เล่นสองราย (duopoly) ในตลาดเบราว์เซอร์บนโทรศัพท์มือถือ คือกูเกิลและแอปเปิล โดยเฉพาะประเด็นที่แอปเปิลบังคับห้ามผู้ผลิตเบราว์เซอร์ใช้เอนจินอื่นนอกจาก WebKit ที่มากับ iPhone เอง
CMA ระบุว่าการที่แอปเปิลบีบไม่ให้ผู้ผลิตรายอื่นใช้เอนจินของตัวเอง ทำให้ไม่สามารถแข่งกันกับแอปเปิลในแง่ของฟีเจอร์และประสิทธิภาพการทำงานได้ และไม่มีแรงจูงใจให้แอปเปิลลงทุนพัฒนาเอนจินให้ดีขึ้น และทำให้เว็บแอปพลิเคชั่นมีความสามารถจำกัด ลดการสร้างนวัตกรรมโดยรวม