ช่วงนี้ที่เมืองไทเป ไต้หวันได้มีจัดงาน Computex Taipei ขึ้นตั้งแต่วันที่ 5 -9 มิถุนายน 2007 พอดีมีเพื่อนไปงานนี้ ก็เลยถือโอกาสเก็บบรรยากาศของงานมาเล่าสู่กันฟัง มีทั้งบรรยากาศทั่วไปของงาน รูปอุปกรณ์ไฮเทคใหม่ๆ ที่หลายๆ เจ้าก็เอามาเปิดตัวกันในงานนี้ แถมยังมีรูปสาวงามหรือพริตตี้ให้ดูกันแบบสบายใจ งานนี้กะเอาให้เหมือนได้ไปเดินที่งานเองเลย ไม่ต้องเสียค่าเครื่องบิน ค่าที่พัก ไม่ต้องลางานเพื่อไปดูด้วยตัวเอง
หลังจากที่หลาย ๆ คนตั้งหน้าตั้งตารอคอยอัพเดทครั้งที่ใหญ่ที่สุดสำหรับเกมนี้ที่ได้เลื่อนการเปิดตัวเป็นเดือนกว่า ๆ แล้ว เมื่อวานทาง EA ได้ประกาศคอนเฟิร์มจากเว็บบอร์ดของเกมว่าเวอร์ชั่น 1.05 จะเปิดให้ดาวน์โหลดแล้ว
สาเหตุของการรอคอยอัพเดทตัวนี้เกิดจากปัญหาต่าง ๆ ที่มากมายในตัวเกมและการตัดสินใจที่ผิดพลาดหลาย ๆ อย่างของ EA เอง เช่น ระบบความสมดุลที่ไม่ได้ผลอย่างสิ้นเชิง (ฝ่ายหนึ่งได้เปรียบทางอากาศยานมากเกินไป ฝ่ายหนึ่งได้เปรียบทางรถถังมากเกินไป) ระบบการควบคุมที่สับสน (คีย์ลัดที่ไม่เหมือนเดิมจากภาคก่อน ๆ และการที่ EA ตัดสินใจเลิกระบบการคลิกเมาส์ปุ่มซ้ายเพื่อให้คำสั่ง ฯลฯ) รวมไปถึงข้อผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ อีกมากมายทั้งจากตัวเกมเองและตัว AI ของเกม
เปิดตัวกันไปเรียบร้อยสำหรับ Shrek The Third ผมยังไม่ได้ไปดูแต่ว่ากันว่าภาพสวยมาก ทาง DreamWorks ก็ได้ออกมาเปิดเผยเบื้องหลังความสำเร็จในครั้งนี้ด้วย ยังไงก็คงหนีไม่พ้นเครื่องมหาศาล เพราะหนังเรื่องนี้ทั้งเรื่องใช้เวลาลงแสงเงาประมาณ 30 ล้านชั่วโมง หรือมากกว่า 3000 ปีนั่นเอง (Shrek ใช้ 5 ล้านชั่วโมง และ Shrek 2 ใช้ 20 ล้านชั่วโมง) ลองมาดูทีละอย่างดีกว่า
แอปเปิลอัพเดต MacBook Pro ตามข่าวลือที่ออกมา น่าสนใจตรงที่ไม่ประกาศในงาน WWDC สัปดาห์หน้า อาจเป็นได้ว่าเก็บเวลาไว้ใช้ประกาศอย่างอื่น? (แค่ iPhone กับ Leopard อาจจะหมดเวลาแล้วก็ได้)
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือเปลี่ยนมาใช้ Centrino ตัวใหม่ซึ่งมีรหัสว่า Santa Rosa (ตัวก่อนหน้านี้คือ Napa) ซึ่งเจ้า Santa Rosa นี้ใช้ชิปเซ็ตตัวใหม่นามว่า 965 Express โดยปรับความเร็วของ Front Side Bus มาเป็น 800 MHz (จากเดิม 667 MHz) และ Intel PRO/Wireless 4965AGN ซึ่งสนับสนุน draft-n
จากข่าวเก่า Netscape กลับมาใช้ชื่อ Navigator ตอนนี้เบต้าแรกออกมาให้ลองแล้ว
Netscape Navigator 9 คือการเอา Firefox มาแปลงร่าง เพิ่มฟีเจอร์ที่ใช้กับ Netscape.com เข้ามาซะเยอะ ที่น่าสนใจมีดังนี้
รายการฟีเจอร์ฉบับเต็มอ่านได้ ที่นี่ ใครลองเล่นแล้วก็มาเล่าให้ฟังหน่อยว่าเป็นไงบ้าง
และแล้วหลังจากที่รอมานาน สำหรับคนที่มีปัญหาการตัดคำภาษาไทย ตอนนี้ firefox ได้ปล่อยตัว update ออกมาเพื่อให้คนไทยได้ใช้ feature นี้กันอย่างเป็นทางการ โดยจะอยู่ในชุด update ของ version 2.0.0.4 แต่ที่น่าแปลกใจคือใน release note กลับไม่บอกไว้ ซึ่งที่ผมทราบก็เพราะตัว update ของ ubuntu มันแจ้งว่ามี mozilla firefox support for Thai breaking line อยู่ด้วย ใครที่ยังไม่ได้ update ก็ให้กดไปที่ Help > Check for updates ที่มา : Mozilla
วันนี้ทาง microsoft.com ได้เพิ่ม new topic เข้าไปในส่วนของ hightlight แล้วล่ะครับ โดยการเปิดตัวครั้งนี้ได้ เป็นการนำเสนอ video นำเสนอ feature หลักๆ ของ Surface เอง และนำเสนอ การพัฒนาอย่างต่อเนื่องที่เริ่มต้นมาจาก ปี 2001 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งฟีเจอร์ดังกล่าวเป็นอะไรที่ผมว่าน่าจะเปลี่ยนโลกได้ทีเดียว เลยครับ ติดตามได้จาก ลิ้งค์ที่ให้ไว้นะครับ
การเข้าชมควรมี Adobe Flash Player ( หรือ Macromedia Flast Player ) เวอร์ชั่น 8 ขึ้นไปนะครับ
Microsoft Surface official web-site
หากเกินความคืบหน้า หมาเขียวจะเอามารายงานครับผม
ทิ้งช่วงจากเวอร์ชัน 1.0 หลายปี ตอนนี้ Camino 1.5 (เลขเวอร์ชันเดิม 1.1) ออกแล้ว
รายการฟีเจอร์ใหม่ ส่วนมากเป็นการตาม Firefox 2.0 ให้ทัน
หลังการเปิดตัว Foleo (ข่าว) ดูเหมือนว่าจะหลายเป็นจุดเริ่มต้นของสงคราม UMPC ที่หลายๆ คนรอมานานว่าจะเกิดขึ้น (แต่ไม่เกิดซักทีเพราะแพงจนไม่มีใครใช้) รอบนี้นอกจาก Foleo แล้ว คู่แข่งอีกสองเจ้าคือ VIA และ อินเทลต่างก็ทุ่มลงมาไม่น้อยหน้ากัน
ทาง VIA นั้นเชี่ยวชาญเรื่องของชิปสำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กอยู่แล้ว งานนี้จึงส่ง NanoBook ที่มาพร้อมกับจอภาพขนาด 7 นิ้ว และชิป VIA C7-M ส่วนน้ำหนักนั้นอยู่ที่ 850 กรัม (สเปค) สำหรับราคานั้นจะอยู่ที่ 600 ดอลลาร์เท่าๆ กับ Foleo
ซอฟต์แวร์จัดการคอนเทนต์ที่ได้คนทำเว็บน่าจะเคยได้ยินชื่อกันบ่อยๆ นอกจาก Joomla, Drupal และ Wordpress แล้ว อีกตัวก็น่าจะเป็น Movable Type ที่เป็นของบริษัท SixApart ซึ่งเคยได้รับความนิยมไม่แพ้ตัวอื่นๆ แต่เนื่องจากเหตุผลทางธุรกิจทำให้มีการเปลี่ยนสัญญาอนุญาตในเวอร์ชั่น 3 จำกัดการใช้งานแบบฟรีเอาไว้ ผลสุดท้ายคือซอฟต์แวร์อื่นๆ เช่น Wordpress กลับได้รับความนิยมขึ้นมาเป็นอย่างมาก
เพื่อทวงคืนความนิยม ทาง SixApart จึงตัดสินใจโอเพนซอร์ส Movable Type 4 ออกมาเป็น GPL เป็นที่เรียบร้อย ทำให้ต่อไปเราจะสามารถใช้งานซอฟต์แวร์ตัวนี้กันได้อย่างสะดวกใจโดยไม่ต้องกลัวว่าจะโดนตัดสิทธิการใช้งานอีก
ผลสำรวจของ HP และ Economist Intelligence Unit พบว่าโครงการไอทีในยุโรป ส่วนมากจะเสร็จไม่ทันกำหนด
สวีเดนเป็นประเทศที่เลทน้อยที่สุด ยังมีโครงการที่ทำทันน้อยกว่าครึ่ง (44% - แปลว่า 56% เลท) ส่วนประเทศอันดับบ๊วยในรายงานคือสเปน เสร็จทันแค่ 4% เท่านั้นเอง
สาเหตุสำคัญของการเลท 3 ประการได้แก่ การเปลี่ยนเป้าหมายโครงการ, การเอาท์ซอร์ส และการจัดการ
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายไอทีในยุโรปมีโอกาสจะโดนไล่ออกเนื่องจากงานไม่เสร็จ ต่ำกว่าอเมริกาและเอเชีย
ที่มา - BBC
หลังจากผู้ใช้ OpenOffice.org บน Mac OS X เป็นลูกเมียน้อยคนที่แปดมานาน เพราะต้องใช้ X11 ในการใช้งาน ทำให้หลายๆ คนรวมถึงผม ต้องหนีไปใช้ NeoOffice ที่กว่าจะ build ตามทันก็รอกันเงก
แต่ลูกเมียน้อยอย่างเราๆ ก็ได้เริ่มมีความหวังเมื่อซันประกาศให้ความร่วมมือในการพัฒนา OpenOffice.org ให้ใช้ได้บนแมคจริงๆ [ข่าวเก่า] จนในที่สุดความหวังก็ได้เป็นความจริงขึ้นมาอีกนิด เมื่อได้มีการปล่อย OpenOffice.org Native Aqua แบบ Developer Preview มาให้ลองใช้กันแล้ว
Beta Geek ไปลองกันได้
ที่มา - OpenOffice.org
Richard Stallman ได้เขียนบทความประกอบ GPLv3 ร่างฉบับสุดท้าย (ข่าวเก่า) โดยให้เหตุผลว่าทำไมเราควรย้ายจาก GPLv2 มาใช้ GPLv3
เหตุผลข้อแรกคือ GPLv3 ป้องกัน "การนำโอเพนซอร์สไปใช้ในผลิตภัณฑ์อื่น แล้วห้ามปรับปรุง" กรณีตัวอย่างที่ RMS ยกมาคือ TiVo ซึ่งใช้ลินุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องบันทึกรายการทีวี แต่รายการของ TiVo นั้นมี DRM ซึ่งป้องกันโดยการตรวจสอบว่าระบบนั้นเป็นเวอร์ชันของ TiVo หรือไม่ ถ้าไม่ใช่เครื่องจะไม่สามารถทำงานได้ (RMS เรียกวิธีแบบนี้ว่า tivoization) RMS บอกว่าไม่ได้ต่อต้าน DRM แต่ต้องการการันตีว่าเราจะมีสิทธิ์ในการเอา DRM ออกได้
กลับมาอีกครั้งกับโครงการเขียนโปรแกรมมาราธอนครั้งที่ 3 ซึ่งรอบนี้เราได้กระจายการจัดงานไปยังภูมิภาค โดยเจ้าภาพรายแรกที่ประเดิมก่อนเลยก็คือ ขอนแก่น โดยอีสานซอฟต์แวร์ปาร์คเป็นผู้ประสานงานอำนวยความสะดวกต่าง ๆ สำหรับการจัดงานครั้งนี้แม้ว่าจะเป็นการจัดงานในภูมิภาค แต่รับก็เปิดกว้างสำหรับทุกคนทุกภาคได้มีสิทธิ์เข้าร่วมเท่ากันครับ
วานนี้ (4 มิถุนายน 2550) Yahoo! ประกาศเปิดตัว Yahoo Search Marketing Commercial API Program ที่เปิดให้นักธุรกิจและนักพัฒนาสามารถเข้าไปใน Panama search marketing API ได้โดยตรง
ทาง Yahoo! ประกาศว่าจะเปิดให้ผู้โฆษณา นักพัฒนา ตัวแทนโฆษณา และผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี search marketing ของ Yahoo! ไปใช้ประโยชน์กับธุรกิจของตน หรือนำไปสร้าง search marketing tools และแอพพลิเคชั่นใหม่ ๆ ได้
ถ้าไม่นับ iPhone มือถืออีกตัวที่ได้รับความสนใจค่อนข้างเยอะคือ LG KE850 Prada ซึ่งมีระบบสัมผัสกับเค้าเหมือนกัน ถึงแม้จะไม่ขนาดมัลติทัชก็ตาม ที่สำคัญมันออกแล้วแถมไม่ต้องไปแย่งซื้อแบบ iPhone
KE850 นำชื่อแบรนด์ Prada มาใช้เพื่อจับตลาดบน (Acer ยังมี Ferrari เลยนี่) ตัวมือถือมีฟีเจอร์ตามมาตรฐาน กล้อง 2 ล้านพิกเซลใช้เลนส์ Schneider Kreuznach หน่วยความจำเป็น microSD ดูตามที่รีวิวเค้าบอกว่ากล้องค่อนข้างดี แต่โปรแกรมฟังเพลงฟีเจอร์ขาดไปเยอะ
ที่น่าสนใจคือระบบทัชสกรีนซึ่งสนับสนุนการ scroll และ drag and drop เข้าไปดูวิดีโอได้ตามลิงก์ รีวิวอันนี้สรุปคะแนนว่าเป็น "Recommend"
ที่มา - Mobileburn
ทางโครงการ GNU ได้ออก Emacs 22 ซึ่งทิ้งช่วงจาก Emacs 21 ถึงหกปี
ของใหม่ๆ ในเวอร์ชัน 22 ได้แก่การสนับสนุน GTK+, สามารถ drag and drop กับ X-Window ได้, เพิ่มโหมดใหม่ๆ อีกมากมาย, ปรับปรุงความสามารถของเวอร์ชันบนวินโดวส์และแมคให้ทัดเทียมยูนิกซ์ สำหรับผู้ใช้คนไทย Emacs 22 ได้รวมโมดูล Leim (สนับสนุนคีย์บอร์ดต่างชาติ) มาไว้ในตัว ไม่ต้องดาวน์โหลดแยกอีกต่อไป
แถวนี้มีแฟน Emacs บ้างพอสมควร นานๆ มีข่าวทีก็น่าจะแสดงตัวกันนิด
ที่มา - Linux.com
หลังการจับมือกับโนเวลล์จนเป็นเรื่องเป็นราว ไมโครซอฟท์ยังไม่หยุดการร่วมมือด้านสิทธิบัตรกับผู้ขายลินุกซ์ โดยล่าสุดได้ประกาศความสำเร็จในการตกลงกับทาง Xandros ที่จะทำความตกลงในรูปแบบที่แทบจะเหมือนกับที่ทำกับทางโนเวลล์ทุกประการ
ความร่วมมือหลักๆ ระหว่างไมโครซอฟท์กับ Xandros นั้นคือ การปรับปรุงระบบการดูแลระบบให้ทำงานเข้ากันได้, การตรวจสอบโปรโตคอลต่างๆ ให้ทำงานร่วมกัน, ความเข้ากันได้ของโปรแกรมเอกสารต่างๆ, การรับประกันสิทธิบัตรจากไมโครซอฟท์ และการสนับสนุนการขายจากไมโครซอฟท์
นอกจากประเด็นความรุนแรงที่เกมตกเป็นจำเลยในช่วงหลังมานี้ ด้านดีๆ ของเกมก็ถูกทำมาใช้อย่างต่อเนื่องด้วยเหมือนกัน หลังจากที่มีโรงเรียนในอังกฤษใช้เกมเต้นสอนพละกันไปแล้ว งานนี้กลุ่มผู้สนับสนุนการศึกษาประวัติศาสตร์แคนนาดาก็ร่วมมือกันสร้างเกม HistoriCanada ขึ้นมาโดยทำเป็นภาคเสริมของเกม Civilization III
ตัวเกมเริ่มที่ปี 1525 โดยจะอิงเหตุการณ์ต่างๆ ตามประวัติศาสตร์จริง พร้อมสารานุกรมที่ให้ความรู้แทรกเป็นระยะ แต่ตัวเกมก็ไม่ได้ปิดกั้นไม่ให้เล่นออกนอกประวัติศาสตร์แต่อย่างใด
เด็กในอนาคตอาจจะต้องอ่านหนังสือเคมี มานั่งทำ Fuel Cell ในเกม จะได้เพิ่มพลังปืนใน Half-Life ซักภาคก็ได้ใครจะรู้
ก่อนหน้านี้เวลาที่เราอ่านๆ เสปคกล้องกันเรื่องที่น่ารำคาญคือสเปคแต่ละเจ้านั้นไม่แน่ไม่นอนอย่างมาก ลำบากคนซื้อต้องไปนั่งเทียบเอาเองว่าอันไหนเป็นอันไหนค่าไหนเจ้าไหนวัดยังไง ให้สาวกแต่ละค่ายมานั่งเถียงกันเป็นที่วุ่นวาย แต่หลังจากนี้คงได้เวลาโลกสงบสุข เมื่อทาง CIPA (ไม่ใช่ SIPA บ้านเรา) เริ่มออกร่างมาตรฐานการเขียนสเปคกล้องดิจิตอล ครอบคลุมตั้งแต่เรื่องพื้นฐาน เช่นระยะโฟกัส ความไวแสง จำนวนพิกเซล และค่าอื่นๆ อีกจำนวนมาก เช่น ระบบกันภาพสั่นไหว ที่มาตรฐานระบุชัดเจนว่าต้องมีการแยกกันระหว่างระบบกันสั่นแบบออปติก กับระบบกันสั่นแบบการประมวลผลภาพเอาภายหลัง
แอปเปิลออกโฆษณา iPhone ใหม่อีก 3 ชุด ซึ่งระบุวันที่ชัดเจนว่า 29 มิถุนายนนี้
iPhone จะวางขายตามร้านของ Cingular/AT&T เท่านั้น (ขายพร้อมสัญญา) ไม่วางขายทั่วไป และด้วยความต้องการซื้อที่สูงมาก ทำให้ Cingular ต้องกระจายสินค้าให้ทั่วถึงทุกร้าน ซึ่งทำให้แต่ละร้านจะมี iPhone วางขายมากที่สุดก็ 40 เครื่องเท่านั้น
ที่มา - AppleInsider
Pocket PC รุ่นใหม่ๆ จะมีความสามารถใหม่เพิ่มขึ้นมา นั่นก็คือ Bluetooth Explorer หลายๆ คนอาจจะงง ไม่รู้ว่ามันคืออะไร ใช้อย่างไร เดี๋ยวผมสาธิตให้ดูครับ ว่าอะไรเป็นอะไร จะได้หายสงสัยและใช้ประโยชน์จากมันได้ซักที อ่านจบแล้วอาจจะบ่นกับตัวเองว่า "ทำไมเพิ่งรู้เนี่ย ความสามารถเจ๋งๆ แบบนี้ ทำไมไม่เห็นมีใครมาบอกเลย"
.
เราสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เปิดและเล่นไฟล์ที่อยู่ใน Pocket PC เสมือนเป็นโฟลเดอร์หนึ่งในเครื่องได้เลย จะดูรูป จะฟังเพลง จะแก้ไขไฟล์ยังไงก็ได้ ทำทั้งหมดได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์เลย ไม่ต้องมาแตะที่ Pocket PC เลยด้่วยซ้ำ มาดูขั้นตอนกัน
ปัญหาเรื้อรังของวงการอิเล็กทรอนิกส์คือเมโมรี่การ์ดมีหลายชนิดมาก แต่ละชนิดก็ทำงานร่วมกันไม่ได้ บรรดาผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในไต้หวัน 12 รายจึงรวมตัวกันผลักดันมาตรฐานใหม่ที่เรียกว่า miCard (Multiple Interface Card)
miCard นั้นออกแบบมาให้เสียบได้กับทั้ง USB และช่องของ MMC เดิม เพื่อลดปัญหาความยากในการนำไปใช้ ข้อดีอื่นๆ คือความเร็วในการถ่ายข้อมูลสูงถึง 480Mbit/sec (เท่ากับความเร็วสูงสุดของ USB 2.0) และจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต การ์ดรุ่นแรกจะมีความจุเริ่มต้นที่ 8GB และความจุสูงสุดน่าจะอยู่ที่ 2,048GB
วารสารวิชาการชื่อดังอย่าง Science และ Nature ประกาศในเว็บไซต์ของตัวเองว่า ไม่รับบทความวิชาการในรูปแบบ .docx ที่สร้างด้วย Word 2007
เหตุผลของทั้งคู่ก็คือ .docx เข้ากันไม่ได้กับระบบจัดการเอกสารแบบเดิมของวารสาร ซึ่งสนับสนุน .doc เดิมและ LaTeX ทาง Science บอกว่าให้แปลงกลับมาเป็น .doc ของ Word 2003 แทนก่อนส่ง แต่ถ้ามีสมการคณิตศาสตร์แล้วล่ะก็ Science จะไม่รับเลย เพราะตัวแปลงฟอร์แมตของ Word 2007 จะแปลงสมการออกมาเป็นภาพ ซึ่งไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ได้สะดวก
Science ให้เหตุผลว่าเป็นเพราะ OpenXML ไม่ยอมใช้รูปแบบสมการมาตรฐานอย่าง MathML (OpenDocument ใช้) เลยมีปัญหา นี่เป็นตัวอย่างที่ดีของการไม่ทำตามมาตรฐานที่มีอยู่แล้ว
FSF ปล่อยสัญญาอนุญาต GPLv3 ดราฟท์ที่สี่ออกมาแล้วในวันนี้ พร้อมกับระบุว่าดราฟท์นี้จะเป็นดราฟท์สุดท้ายก่อนที่จะปล่อยตัวจริงออกมาในช่วงสิ้นเดือนหน้า โดยข้อเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดในเวอร์ชั่นนี้คือความเข้ากันได้ระหว่าง GPLv3 กับ Apache License 2.0 ทำให้ซอฟท์แวร์ที่ใช้ GPLv3 จะสามารถรวมเอาโค้ดจากซอฟท์แวร์เสรีมาใช้งานได้มากขึ้นยิ่งกว่าเดิม