ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมาผู้ใช้นาฬิกาออกกำลังกายจำนวนมากรายงานความผิดปกติเหมือนๆ กัน คืออยู่ๆ นาฬิกาก็จับพิกัดผ่านดาวเทียมเช่น GPS ผิดพลาด ทำให้เส้นทางการออกกำลังกายดูแปลกประหลาด และหลายครั้งนาฬิกาก็ปรับพิกัดกลับไปถูกต้องได้เองเมื่อเวลาผ่านไปช่วงหนึ่ง
จุดร่วมของนาฬิกาหลากยี่ห้อเหล่านี้คือชิป GPS ของโซนี่ที่แบรนด์ดังแทบทั้งหมดใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น Garmin, Polar, หรือ Suunto แต่ยังไม่แน่ชัดนักว่าทำไมนาฬิกาเหล่านี้จึงผิดพลาดเหมือนๆ กันไปทั้งหมด เว็บ DC Rainmaker ระบุว่าความเป็นไปได้หนึ่งคือไฟล์ทำนายตำแหน่งดาวเทียมผิดพลาด หรืออาจจะเป็นเพราะปี 2020 มี 53 สัปดาห์ทำให้ซอฟต์แวร์ภายในคำนวณวันผิดไป
ขนส่งทางบกสิงคโปร์ (Land Transport Authority - LTA) ประกาศอัพเกรดระบบคิดค่าใช้ทางพิเศษและที่จอดรถจากเดิมคิดตามจุดเก็บค่าผ่านทางและสภาพจราจรมาเป็นระบบคิดค่าใช้งานตามจริงจากกล่องจ่ายค่าผ่านทางที่สามารถบันทึกตำแหน่งรถด้วยสัญญาณดาวเทียมนำทางเช่น GPS ได้ ในชื่อระบบ nexgen ERP
ระบบ ERP เดิมของสิงคโปร์เป็น RFID ที่เรียกเก็บค่าผ่านทางจากบัตรเครดิตที่เสียบอยู่กล่อง ERP ในรถคล้าย EasyPass/M-Pass ในไทย แต่กล่อง on-board unit (OBU) ของ nexgen ERP สามารถบันทึกพิกัดจากดาวเทียมนำทางได้ทำให้ทาง LTA สามารถกำหนดค่าผ่านทางได้อย่างละเอียด และจะได้รับข้อมูลสภาพการจราจรอย่างชัดเจน
มีผู้ใช้ Samsung Galaxy S8 และ Note 8 จำนวนหนึ่ง รายงานปัญหา GPS ไม่สามารถจับพิกัดได้เวลาใช้แอพนำทางตอนขับรถ (เช่น Google Maps) ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น กระทู้ Reddit หรือเว็บบอร์ด XDA
ผู้ใช้บางรายระบุว่าอาการนี้จะเกิดเฉพาะในโหมดนำทาง (navigation) เท่านั้น เมื่อสั่งหยุดนำทาง สัญญาณ GPS จะกลับมาเป็นปกติ ผู้ใช้อีกรายตั้งข้อสังเกตว่าอาการนี้เกิดขึ้นหลังติดตั้งแพตช์ความปลอดภัยรอบเดือนมิถุนายน 2020 แต่ก็ยังไม่มีการยืนยันว่าสาเหตุมาจากแพตช์ตัวนี้จริงๆ หรือไม่
ตอนนี้ซัมซุงยังไม่แถลงหรือกล่าวถึงปัญหานี้
หลังจากจีนปล่อยดาวเทียมระบุพิกัด BeiDou (เป่ยโตว แปลว่า ดาวไถ) ดวงสุดท้าย มีรัศมีทำงานครอบคลุมทั่วโลกแล้ว บริษัทแอปแชร์จักรยานต่างๆ ก็ออกมาขานรับ พร้อมใช้งานระบบระบุพิกัด BeiDou ของรัฐบาลจีนเพื่อเพิ่มความแม่นยำให้กับการระบุตำแหน่ง ร่วมกับระบบ GPS ที่รัฐบาลสหรัฐเป็นเจ้าของ
BeiDou (เป่ยโตว ไม่ใช่ ไป่ตู้) เป็นเครือข่ายดาวเทียมระบุพิกัดของประเทศจีน สร้างมาใช้ทดแทนระบบ GPS ที่เป็นเป็นระบบระบุพิกัดที่รัฐบาลสหรัฐเป็นเจ้าของ รัฐบาลจีนพยายามพัฒนาเครือข่ายดาวเทียมระบุพิกัดของตัวเองมาตั้งแต่ปี 1990 เพื่อให้ใช้งานได้แม้เกิดข้อพิพาทกับสหรัฐ และเป็นการขยายการครอบคลุมของเทคโนโลยีจีนไปทั่วโลกอีกด้วย
แอปเปิลเพิ่มข้อมูลในหน้าสนับสนุน โดยเป็นการแจ้งเตือนย้ำไปยังผู้ใช้ iPhone และ iPad รุ่นเก่าก่อนปี 2012 ที่สามารถอัพเดต iOS ได้สูงสุดคือ iOS 9 หรือ iOS 10 ให้อัพเดตเป็นเวอร์ชันล่าสุดคือ iOS 9.3.6 หรือ iOS 10.3.4 เนื่องจากหลังวันที่ 3 พฤศจิกายน 2019 (12am UTC) หากไม่อัพเดตซอฟต์แวร์ จะพบปัญหา GPS แสดงพิกัดผิดพลาด รวมทั้งวัน-เวลาจะไม่ถูกต้อง
โดยอุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ ได้แก่ iPhone 5, iPhone 4s, iPad 4th Gen (Wifi + Cellular), iPad mini 1st Gen, iPad 2 (Wi-Fi + Cellular รุ่น CDMA เท่านั้น) และ iPad 3rd Gen (Wi-Fi + Cellular)
ระบบดาวเทียมนำทาง Galileo ของสหภาพยุโรปล่มทั้งระบบตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมาหลังจากมีปัญหากับ "โครงสร้างพื้นฐานภาคพื้นดิน"
แหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวตน ระบุกับ BBC ว่าโครงสร้างที่เป็นต้นเหตุคือ ฐานปรับเวลาความแม่นยำสูงในอิตาลี
Galileo เพิ่งยิงครบเครือข่ายเมื่อปีที่แล้ว แต่ยังเปิดใช้งานไม่ครบ โดยตอนนี้มีดาวเทียมทำงานอยู่ 22 ดวง และทั้งโครงการยังอยู่ในช่วง "ทดสอบการทำงาน" ทำให้ยังไม่มีระบบใดพึ่งพา Galileo เต็มตัว และอุปกรณ์ส่วนมากที่รองรับก็มักรองรับระบบดาวเทียมนำทางอื่นๆ เช่น GPS หรือ Glonass ไปพร้อมกัน
ย้อนหลังไปวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2562 คุณฤภพ ชินวัตร ได้ live ผ่านเฟสบุคแฟนเพจของพรรคไทยรักษาชาติ และเปิดตัวเว็บ https://tsntalk.com/pm25 ซึ่งคนทั่วไปสามารถเข้าไปตรวจสอบค่าฝุ่นละอองขนาด pm2.5 ได้ด้วยการระบุพิกัดทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ที่ต้องการตรวจสอบค่าฝุ่นละออง
ต่อมาตำรวจศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิด เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีได้ตรวจพบว่าเมื่อระบุพิกัดบางพื้นที่ เว็บดังกล่าวกลับนำข้อมูลของพื้นที่ใกล้เคียงกับพิกัดที่ระบุไว้มาแสดงผลแทน ซึ่งถือเป็นข้อมูลเท็จ สร้างความสับสนให้ประชาชนตื่นตระหนก
ในช่วงสิบปีที่ผ่านมาฟีเจอร์ GPS ในโทรศัพท์จากที่เคยเป็นฟีเจอร์พิเศษในโทรศัพท์ราคาแพง กลายมาเป็นฟีเจอร์พื้นฐานที่โทรศัพท์ทุกตัวต้องมี บริการที่อิงกับตำแหน่งผู้ใช้ (location-based) ก็เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลัง จนล่าสุดสำนักงานวิทยาศาสตร์ของรัฐบาลอังกฤษ (Government Office of Science) ก็ออกรายงานระบุถึงความเสี่ยงที่สูงขึ้นเรื่อยๆ หากระบบดาวเทียมนำทางถูกโจมตีด้วยวิธีการต่างๆ
Broadcom เปิดตัวชิประบุตำแหน่งจากดาวเทียมรุ่นใหม่ที่มีความแม่นยำมากกว่า ใช้พลังงานน้อยกว่าและที่สำคัญคือสามารถใช้งานในเมืองหรือในตึกที่มีเหล็กและคอนกรีตบล็อคสัญญาณได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยอาศัยสัญญาณ L1 เดิมร่วมกับสัญญาณ L5 ที่มีความแม่นยำมากกว่า
ชิป BCM47755 มีความแม่นยำในการระบุตำแหน่งผิดพลาดไม่เกิน 30 เซนติเมตร ขณะที่อุปกรณ์ในปัจจุบันมีความผิดพลาดไม่เกิน 5 เมตร รวมถึงลดการรับสัญญาณที่เกิดจากการสะท้อนจากตัวตึกในเมืองที่ส่งผลให้การระบุตำแหน่งคลาดเคลื่อน และอาศัยแต่สัญญาณโดยตรงจากดาวเทียมเป็นหลัก ทำให้ได้ความแม่นยำเมื่อถูกใช้งานในเมืองมากขึ้น ไม่รวมการใช้พลังงานที่ลดลงราว 50%
ทางการมีคำสั่งให้ผู้ที่อยู่อาศัยในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ให้ติดตั้ง GPS บนรถยนต์ทุกคน เพื่อแก้ปัญหาและติดตามการก่ออาชญากรรม ที่พุ่งสูงขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยมีรถยนต์เป็นเครื่องมือ
อุปกรณ์ที่ทางการจีนแนะนำให้ติดตั้งคือ GPS ของบริษัท Beidou ของจีนเองและรถคันไหนที่ไม่ปฏิบัติตาม จะไม่ได้รับอนุญาตให้เติมน้ำมัน
ทางการจีนโจมตีว่ากลุ่มที่ลงมือส่วนใหญ่เป็นกลุ่มก่อการร้ายและกลุ่มแบ่งแยกดินแดนชาวมุสลิมในเขตปกครองตนเอง อย่างไรก็ตามปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่นี้ เป็นความขัดแย้งทางเชื้อชาติระหว่างชาวจีนฮั่นและชาวมุสลิมอุยกูร์ที่มีมาอย่างยาวนาน ส่วนหนึ่งเกิดจากการเข้ามาปกครองพื้นที่นี้ของจีนและบังคับใช้นโยบายกลืนเชื้อชาติ
ดูเหมือนว่า Verizon โอเปอเรเตอร์มือถือรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา กำลังอยู่ในช่วงช็อปปิ้งครั้งใหญ่ หลังจากซื้อกิจการ Yahoo ไปด้วยมูลค่า 4.8 พันล้านดอลลาร์ เมื่อไม่กี่วันก่อน วันนี้ Verizon ประกาศซื้อกิจการอีกรอบด้วยมูลค่า 2.4 พันล้านดอลลาร์
บริษัทที่ Verizon ไปซื้อคือ Fleetmatics ซึ่งทำระบบ GPS สำหรับติดตามยานพาหนะ (GPS fleet tracking) ปัจจุบันมีลูกค้าเป็นรถยนต์-รถบรรทุกกว่า 7 แสนคัน และนับเป็นองค์กรได้ 37,000 รายทั่วโลก แถมยังเป็นบริษัทมหาชน ขายหุ้นอยู่ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กด้วย
ก่อนหน้านี้กรมการขนส่งทางบกประกาศเปิดศูนย์บริหารจัดการเดินรถด้วยระบบ GPS (ข่าวเก่า) ซึ่งจะต้องอาศัยการเก็บรวบรวมข้อมูลตำแหน่งจากผู้ให้บริการติดตามตำแหน่ง โดยจะรวบรวมข้อมูลจากยานพาหนะที่ใช้บริการแล้วจึงค่อยส่งไปยังกรมขนส่ง
วันนี้ได้มีพูดคุยในกลุ่มสนทนาของผู้ให้บริการติดตามตำแหน่งว่า ได้รับการทักท้วงหลายราย ในส่วนของการละเมิดอนุสิทธิบัตร "เครื่องอ่านข้อมูลจากบัตรสมาร์ตการ์ดที่สามารถระบุตำแหน่งของเครื่องอ่านและเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างเซิร์ฟเวอร์ด้วยระบบจีพีอาร์เอสได้"
UPS บริษัทจัดส่งพัสดุและไปรษณีย์เอกชนรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ประกาศเปิดบริการติดตามพัสดุและไปรษณีย์ (tracking) ผ่านระบบ GPS สำหรับลูกค้าของตนเองอย่างเป็นทางการเมื่อวันพุธที่ผ่านมา โดยเรียกว่า Follow My Delivery
UPS ระบุว่าบริการนี้จะระบุตำแหน่งของพัสดุและไปรษณีย์จาก GPS ที่ติดอยู่ที่รถคนขับได้โดยตรง เมื่อสถานะของพัสดุหรือไปรษณีย์ชิ้นนั้นอยู่ในสถานะ "เพื่อการจัดส่ง" (out for delivery) ทำให้ลูกค้าทั้งผู้ส่งและผู้รับ ติดตามสถานะของการส่งได้ดีขึ้น รวมถึงรู้แน่นอนว่าสิ่งของดังกล่าวอยู่ที่ตำแหน่งใดแล้ว
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลอินเดียประกาศให้มือถือทุกเครื่องที่วางขายในประเทศตั้งแต่ 1 ม.ค. ปีหน้าเป็นต้นไป ต้องมีปุ่มที่ผู้ใช้กดครั้งเดียวสามารถโทรขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ (authority) ได้ทันที
สำหรับสมาร์ทโฟนที่ไม่สามารถเพิ่มปุ่มข้างต้นได้ ผู้ผลิตต้องเพิ่มฟังก์ชันดังกล่าวในปุ่มเปิด-ปิดเครื่อง โดยให้กดติดต่อกันสามครั้งเพื่อขอความช่วยเหลือ ส่วนฟีเจอร์โฟนนั้นให้เพิ่มลงปุ่ม 5 หรือ 9 แทน
การประกาศนี้มีขึ้นหลังรัฐบาลตั้งเบอร์ 112 เพื่อการติดต่อขอความช่วยเหลือเร่งด่วน ทั้งตำรวจ รถฉุกเฉิน และหน่วยดับเพลิง ได้จากที่เดียว
นอกจากนั้น รัฐบาลอินเดียยังบังคับให้มือถือทุกเครื่องที่วางขายตั้งแต่ 1 ม.ค. 2018 เป็นต้นไป ต้องมากับ GPS
ที่มา: Windows Central
ระบบบอกพิกัดด้วยดาวเทียม GPS หรือ Global Positioning System ถูกคิดค้นโดย The Aerospace Corp หน่วยงานวิจัยที่แยกตัวมาจากกองทัพอากาศสหรัฐ (ปัจจุบันมีสถานะเป็นบรรษัทอิสระที่ไม่หวังผลกำไร และได้ทุนสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐ) มาตั้งแต่ปี 1966
ล่าสุดมีเอกสารของ The Aerospace Corp เผยแพร่ต่อสาธารณะ ระบุว่ากำลังพัฒนาระบบบอกพิกัด (Positioning, Navigation, and Timing - PNT) แบบใหม่ภายใต้โค้ดเนมว่า Project Sextant
Project Sextant ไม่ใช่ GPS 2.0 ที่พัฒนาขึ้นจากของเดิม แต่ต้องการพัฒนาแนวทางใหม่ให้เหมาะกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เพราะตอนที่คิดระบบ GPS ขึ้นมา มุ่งใช้งานด้านการทหารเป็นหลัก อีกทั้งเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์-การสื่อสารยังไม่พัฒนาเท่ากับสมัยนี้
กรมการขนส่งทางบกประกาศเปิดศูนย์บริหารจัดการเดินรถด้วยระบบ GPS พร้อมแอพ DLT GPS ซึ่งเป็นแอพที่ผู้ใช้สามารถติดตามตำแหน่งรถยนต์โดยสารสาธารณะได้จากระบบ GPS ซึ่งตอนนี้มีติดตั้งในรถมากกว่า 46,000 คัน ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "มั่นใจทั่วไทย รถใช้ GPS"
เกี่ยวกับการติดตั้งอุปกรณ์ GPS ในรถนั้น นับตั้งแต่ 25 มกราคมเป็นต้นมา กรมการขนส่งทางบกได้กำหนดให้รถโดยสารสาธารณะ รถบรรทุกและรถพ่วง (10 ล้อขึ้นไป) ต้องติดตั้งระบบ GPS ก่อนจดทะเบียนใหม่ทุกคัน
เพื่อแก้ปัญหาการร้องเรียนผู้ขับขี่รถในแพลตฟอร์ม Uber ที่มีประเด็นเกี่ยวกับการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย หรือเร็วเกินไป ล่าสุด Uber ประกาศเริ่มทดลองเก็บข้อมูลจากสมาร์ทโฟนเพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวแล้ว
ในบล็อคของ Uber ระบุว่าในเร็ววันนี้ Uber จะเริ่มเก็บข้อมูลผ่านสมาร์ทโฟนเพื่อตรวจตราการขับขี่ โดยจะใช้ข้อมูลจาก gyrometer เพื่อวัดการเคลื่อนไหวเล็กๆ และใช้ GPS ร่วมกับ accelerometer เพื่อดูว่ารถหยุดบ่อยแค่ไหน ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อดูว่าผู้ขับขี่นั้นมีพฤติกรรมการขับขี่เป็นอย่างไร เบรกบ่อยไหม ขับรถเร็วหรือไม่ และใช้เป็นหนึ่งในเกณฑ์ตรวจสอบ เพื่อพูดคุยกับผู้ขับในการหาทางแก้ไขต่อไป
NavSpark เป็นบอร์ด GPS ราคาถูกจากไต้หวันที่ระดมทุนใน Indiegogo เมื่อปีที่แล้ว ตอนนี้ทางบริษัทออกรุ่นใหม่ชื่อว่า NavSpark-mini จุดขายสำคัญคือราคาถูกมาก เพียง 6 ดอลลาร์ต่อชุดเมื่อซื้อแพ็ก 6 ชุด
ตัวบอร์ดใช้ชิป Skytraq Venus828F เป็นซีพียู SPARC-V8 100MHz แรม 212KB หน่วยความจำแฟลช 1024KB
ข้อจำกัดคือบอร์ด USB เป็นบอร์ดแยก (แถมฟรีหนึ่งบอร์ดเมื่อซื้อแพ็ก 6 ชุด) และแต่ละบอร์ดต้องติดตั้งเสาอากาศเพิ่มเติม
ด้วยความนิยมของโดรนที่กว้างขวางขึ้น บีบให้บรรดาองค์กรต่างๆ เริ่มออกมาแสดงความกังวล และต้องการที่จะจำกัดการใช้งานของโดรนเพื่อความปลอดภัยต่างๆ ล่าสุด DJI หนึ่งในผู้ผลิตโดรนรายใหญ่ออกมาประกาศว่ากำลังทดสอบระบบสำหรับป้องกันไม่ให้โดรนบินไปล้ำเขตหวงห้ามแล้ว
ระบบควบคุมการบินของ DJI ตัวนี้เรียกว่า Geospatial Environment Online (GEO) ที่ทำงานร่วมกับ GPS เพื่อจำกัดไม่ให้โดรนบินเข้าไปในเขตหวงห้าม เว้นเสียแต่ว่าจะผูกโดรนตัวดังกล่าวเข้ากับบัญชียืนยันตัวตนของ DJI ซึ่งมีข้อมูลบัตรเครดิตอยู่ภายใน ทาง DJI จึงจะปลดระบบดังกล่าวให้เป็นการชั่วคราว
สำหรับคนที่อยากลองฟีเจอร์ใหม่ พึงระวังไว้ว่าระบบ GEO ยังเป็นรุ่นเบต้า ต้องอัพเดตทั้งฝั่งแอพสมาร์ทโฟน และเฟิร์มแวร์ตัวเครื่องเพื่อใช้ฟีเจอร์นี้
วิทยาลัยกองทัพเรือสหรัฐ (US Naval Academy) เตรียมนำวิชาการเดินเรือดาราศาสตร์ (celestial navigation) กลับมาสอนนักศึกษาอีกครั้ง หลังมีความกังวลว่าระบบนำทางด้วย GPS อาจถูกแฮ็กได้ในอนาคต
อาจารย์ของวิทยาลัยให้สัมภาษณ์ว่าเลิกสอนวิชาเดินเรือด้วยการดูดาว-วัตถุบนท้องฟ้าไปนานนับ 10 ปี ด้วยเหตุผลว่าใช้คอมพิวเตอร์ทำงานแทนได้หมด ปัญหาคือถ้าระบบคอมพิวเตอร์มีปัญหาก็ไม่มีอะไรสำรองไว้เลย ซึ่งในอนาคตมีความเป็นไปได้ว่า ระบบ GPS (ที่ดูแลโดยกองทัพอากาศของสหรัฐ) อาจต้องปิดชั่วคราวเพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูเข้ามาใช้งาน หรืออาจโดนสัญญาณ GPS ปลอมหลอกเอาได้
เริ่มเสริมทัพอีกแล้วสำหรับแอปเปิล หลังจากสำนักข่าว New York Times ยืนยันการเข้าซื้อ Coherant Navigation บริษัทหน้าใหม่ผู้พัฒนาระบบ GPS ความละเอียดสูง
Coherent Navigation เป็นผู้พัฒนาทั้งระบบ และฮาร์ดแวร์สำหรับนำทาง ด้วยความแม่นยำที่เหนือกว่ารายอื่นในตลาด คลาดเคลื่อนเพียง 3-5 เมตรเท่านั้น และมีผลงานร่วมกับบริษัทรายใหญ่อย่าง Boeing และ Iridium รวมถึงโครงการนำทางอัตโนมัติ และหุ่นยนต์มาก่อน
หลังการเข้าซื้อของแอปเปิล เว็บไซต์ของ Coherent Navigation ได้ปิดตัวลง และโดเมนเนมก็ชี้ไปยังเซิร์ฟเวอร์ของแอปเปิล รวมถึงมีรายงานว่าพนักงานบางส่วนได้เข้าไปทำงานกับแอปเปิลตั้งแต่เดือนมกราคมแล้ว
กลุ่มนักวิจัยของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเท็กซัสออกมาเผยผลงานวิจัยที่ได้รับเงินทุนจากซัมซุงด้วยการสร้างระบบระบุตำแหน่งผ่าน GPS สำหรับสมาร์ทโฟนที่เคลมว่าคลาดเคลื่อนในระดับเซนติเมตรเท่านั้น
แม้ว่า GPS ที่สามารถระบุตำแหน่งได้แม่นยำระดับเซนติเมตรจะไม่ใช่ของใหม่ (ใช้ทางการทหาร ภูมิศาสตร์ และทำแผนที่มานานแล้ว) แต่ตัวอุปกรณ์ที่ใช้นั้นขนาดใหญ่ และแพงเกินกว่าจะนำมาใช้ในสมาร์ทโฟน วิธีการที่นักวิจัยกลุ่มนี้ใช้คือการรวมข้อมูล GPS เข้ากับเสาสัญญาณที่มีในสมาร์ทโฟนอยู่แล้ว และจากการที่ได้ตำแหน่งแม่นยำระดับนั้น จึงทำให้สามารถบอกข้อมูลความเอียงแม่นยำระดับ 1 องศาด้วยกัน
ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกหรือ GPS ทำงานโดยถอดรหัสสัญญาณที่รับมาจากชุดของดาวเทียม GPS ที่โคจรอยู่รอบโลก ด้วยการเทียบสัญญาณที่ถูกส่งจากดาวเทียมหลายๆ ดวงที่โคจรอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกันออกไปเพื่อนำมาคำนวณหาพิกัดบนโลก
อย่างไรก็ตามการประมวลผลดังกล่าวใช้เวลาและกินพลังงานมาก (เป็นเหตุให้แบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือหมดเร็วเมื่อเราเปิดใช้แอพพลิเคชั่นที่ใช้การระบุตำแหน่งด้วย GPS) ไมโครซอฟท์จึงหาทางแก้ปัญหาข้างต้นด้วยแนวคิดใหม่ดังจะเห็นได้จากสิทธิบัตร Cloud-Offloaded GPS ที่นำเสนอวิธีการระบุตำแหน่งบนโลกโดยย้ายการคำนวณสัญญาณที่ได้รับจากดาวเทียมไปไว้บน cloud แทน
ที่ต่างประเทศมีกรณีตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีเพื่อคลี่คลายคดีปล้นจี้ เมื่อตำรวจ New York ไล่ตามจับคนร้ายที่ปล้นร้านยาโดยอาศัยข้อมูลตำแหน่งจากตัวส่งสัญญาณ GPS ที่อยู่ภายในขวดยาที่โดนปล้น
คนร้ายได้เข้าปล้นร้านยาชื่อ HealthSource Pharmacy และสั่งให้พนักงานร้านมอบเงินสดพร้อมยา OxyContin ให้กับเขา ซึ่งยาดังกล่าวมีราคาแพงมากถึงขนาดที่ว่าคนร้ายอาจขายต่อมันได้ในราคาสูงถึงเม็ดละ 80 ดอลลาร์
ทว่าขวดยา OxyContin ที่คนร้ายได้รับไปนั้นเป็นขวดปลอมที่ทำเลียนแบบ โดยนอกจากภายในจะไม่มียาของจริงแล้ว มันยังมีตัวส่งสัญญาณ GPS และนี่เองที่เป็นกุญแจให้ตำรวจสามารถตามล้อมจับคนร้ายได้ภายในเวลาไม่นานหลังเกิดการปล้น ก่อนเหตุการณ์จะจบลงด้วยการยิงปืนต่อสู้และเป็นฝ่ายคนร้ายที่โดนวิสามัญฆาตกรรม