เว็บไซต์รับข้อร้องเรียนของอังกฤษประสบปัญหาล่ม ไม่สามารถใช้บริการได้ชั่วคราว หลังจากที่มีผู้เสนอให้มีญัตติที่ขอให้รัฐสภาและรัฐบาล ยกเลิกกระบวนการ Brexit หรือการถอนตัวของประเทศอังกฤษ (สหราชอาณาจักร) ออกจากสหภาพยุโรป ด้วยการยกเลิกการใช้มาตรา 50 ของสนธิสัญญาสหภาพยุโรป และมีผู้ลงชื่อทะลุเกิน 1 ล้านคนแล้ว
คณะกรรมาธิการพิจารณาข้อร้องเรียน (Petitions Commitee) ของรัฐสภาและรัฐบาลอังกฤษ ระบุในทวิตว่า เว็บไซต์ประสบปัญหาการให้บริการ เนื่องจากมีการเข้าชมข้อร้องเรียนในประเด็นนี้เป็นจำนวนมาก ประมาณ 8 หมื่น - 1 แสนคน และมีผู้ลงชื่อกว่านาทีละเกือบ 2,000 ราย ซึ่งสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา ทำให้คณะกรรมาธิการ จำเป็นต้องพิจารณาเปลี่ยนแปลงเว็บไซต์ชั่วคราว เพื่อให้รองรับกับความเปลี่ยนแปลงนี้
ปัญหาของปัญญาประดิษฐ์และอคติของอัลกอริทึม มักถูกยกขึ้นมากล่าวในวงวิชาการ และเริ่มที่จะมีการถูกพูดถึงในวงสาธารณะทั่วไป (เช่น กรณีที่นักทฤษฎีสื่อออกมาเรียกร้อง) แต่การศึกษาในด้านนี้ก็ยังมีงานที่ปรากฎออกมาไม่ชัดเจนมากนัก
จุดนี้ทำให้มหาวิทยาลัย Stanford ประกาศเปิดตัว "สถาบันวิจัยปัญญาประดิษฐ์ที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง" หรือ Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) เพื่อศึกษาเรื่องนี้จริงจัง
ทวิตของทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนปัจจุบัน มักกลายเป็นข่าวอยู่บ่อยครั้ง และไม่วายถูกเอาไปล้อเลียนในรายการโชว์ต่างๆ ของอเมริกาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจสร้างสถานการณ์ชวนหัวร่อให้คนดูอยู่ได้บ้าง
แต่จะดีกว่าหรือไม่ ถ้าเราซื้อหุ้นตามทวิตของทรัมป์?
ความคิดนี้อาจจะดูบ้าบิ่นไปบ้าง แต่ไม่ใช่กับ Max Braun ผู้อำนวยการฝ่ายหุ่นยนต์ของ X บริษัทลูกของ Alphabet ที่แยกตัวออกมาจาก Google ซึ่งสร้างบอทแจ้งเตือนหุ้นที่เกี่ยวกับทวิตของทรัมป์เอาไว้ และตั้งแจ้งซื้อหรือขายเอาไว้ตามทวิตดังกล่าว
คำพังเพยโบราณที่ว่า "ความไม่แน่นอนคือความแน่นอน" ยังคงใช้ได้เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปัญหาของ Huawei และรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่กำลังคุกรุ่นอยู่ (มีเยอะมาก อ่านได้จากหมวด Huawei เป็นการเฉพาะ) ล่าสุด หนังสือพิมพ์ South China Morning Post รายงานว่า Richard Yu Chengdong หัวหน้าฝ่ายธุรกิจสมาร์ทโฟนของบริษัท Huawei ยืนยันกับหนังสือพิมพ์ Die Walt ระหว่างการสัมภาษณ์ว่า บริษัทกำลังสร้างระบบปฎิบัติการของตัวเอง กรณีที่ไม่สามารถใช้ระบบปฎิบัติการของผู้พัฒนาจากสหรัฐได้
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เรามักจะได้ยินข่าวและประเด็นปัญหาของเทคโนโลยีอยู่บ่อยครั้ง ตั้งแต่ความไม่เป็นกลางของอัลกอริทึม (algorithmic bias) ไปจนถึงข่าวปลอมบน Facebook และ YouTube เจอปัญหาวิดีโอสำหรับเด็กมีคลิปความรุนแรงแทรกอยู่ รวมถึงการเสพติดเทคโนโลยีต่างๆ จนทำให้หลายครั้ง เราก็มีภาพในด้านลบต่อเทคโนโลยีอยู่เรื่อยๆ
ล่าสุดที่งาน SXSW 2019 Douglas Rushkoff นักทฤษฎีสื่อสารมวลชนที่มีชื่อเสียงจากการสร้างแนวคิดเรื่อง viral media มองว่าสิ่งที่ควรทำในการต่อสู้กับด้านมืดของเทคโนโลยี คือการรวมตัวกันของมนุษยชาติในฐานะชุมชนร่วมกัน เพื่อสู้กับปัญหานี้
วันนี้เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ถือเป็นวันที่ระบบเว็บ (หรือ World Wide Web) ระบบเข้าถึงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตผ่านตัวเชื่อม (hyperlinks) ถือกำเนิดขึ้นโดย Tim Berners-Lee และกลายมาเป็นพื้นฐานสำคัญของอินเทอร์เน็ตในทุกวันนี้ ในโอกาสนี้ ตัวเขาได้ออกมาเขียนจดหมายฉบับหนึ่ง โดยระบุว่ายังมีความหวังว่ามนุษย์ จะสามารถทำให้เครือข่ายเว็บและอินเทอร์เน็ตดีกว่าที่เป็นอยู่ได้ แม้จะเจอปัญหาต่างๆ มากมายก็ตาม
ต่อจากข่าว Elizabeth Warren ผู้สมัคร ปธน. ปี 2020 เปิดนโยบายลดอิทธิพล Google, Facebook, Amazon
ฝั่งของ Facebook ก็ออกมาตรการตอบโต้ Warren ทันที ด้วยการแบนโฆษณาของ Warren บน Facebook โดยให้เหตุผลว่าโฆษณาทำผิดนโยบายของ Facebook เนื่องจากนำโลโก้ของบริษัทมาใช้
อย่างไรก็ตาม พอเรื่องนี้กลายเป็นข่าว ทาง Facebook ระบุว่าจะนำโฆษณากลับคืนมา เพื่อส่งเสริมให้เกิดการถกเถียงกันในประเด็นนี้
ส่วน Elizabeth Warren ก็โพสต์แสดงความเห็นเรื่องนี้ผ่าน Twitter บอกว่านี่เป็นสิ่งยืนยันว่าทำไมเธอจึงมองว่า Facebook มีอิทธิพลมากเกินไป เพราะ Facebook สามารถปิดกั้นการถกเถียงเกี่ยวเชิงนโยบายเกี่ยวกับ Facebook ได้ด้วย
จากข่าว Elizabeth Warren ผู้สมัคร ปธน. ปี 2020 เปิดนโยบายลดอิทธิพล Google, Facebook, Amazon ด้วยการจับแยกบริษัท ก็เกิดคำถามตามมาว่าเป้าหมายของ Warren มีเพียง 3 บริษัทนี้เท่านั้นหรือ
Warren ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมกับเว็บไซต์ The Verge ว่าเธอยังต้องการจับแยกบริษัทแอปเปิลด้วย โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง App Store ที่แอปเปิลเป็นเจ้าของสโตร์เอง และเข้ามาแข่งขันกับบริษัทอื่นๆ ในสโตร์ของตัวเองด้วย (ประเด็นเดียวกับที่ Amazon ขายสินค้าแบรนด์ Amazon Basics ในตลาดของตัวเองแข่งขับคู่ค้า)
เธอบอกว่าสุดท้ายแล้วแอปเปิลจะเลือกได้อย่างเดียวเท่านั้น ว่าจะเป็นผู้จัดการสโตร์ หรือจะเข้ามาแข่งขันในสโตร์ เพื่อความเป็นธรรมกับผู้เล่นรายอื่นในตลาด
Elizabeth Warren วุฒิสมาชิกสหรัฐอเมริกาจากพรรคเดโมแครต และผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในการเลือกตั้งปี 2020 ประกาศนโยบายว่าจะจับบริษัทไอทียักษ์ใหญ่อย่าง Google, Facebook, Amazon แยกเป็นบริษัทย่อยๆ เพื่อลดอิทธิพลของบริษัทเหล่านี้ลง เพื่อให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น
Warren บอกว่าบริษัทไอทีเหล่านี้มีอิทธิพลสูงเกินไปแล้ว ทั้งต่อเศรษฐกิจ สังคม และประชาธิปไตย บริษัทเหล่านี้พยายามจำกัดการแข่งขันจากคู่แข่งที่เล็กกว่าด้วยการทุ่มตลาดหรือไล่ซื้อกิจการ, นำข้อมูลส่วนตัวของประชาชนไปใช้หากำไร ส่งผลกระทบต่อธุรกิจรายเล็กและการสร้างนวัตกรรมโดยภาพรวม
Google แบนโฆษณาการเมืองทั้งหมดในแคนาดาก่อนที่จะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น โดยเหตุผลหลักๆ คือ แคนาดาผ่านกฎหมายเลือกตั้ง C-76 ที่เรียกร้องให้มีแพลตฟอร์มออนไลน์เก็บบันทึกการลงโฆษณาการเมืองทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการลงโฆษณาทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยบทลงโทษมีทั้งค่าปรับและจำคุก
เมื่อ Google เห็นว่ากฎใหม่นั้นมันท้าทายมากที่จะปฏิบัติตาม Google จึงเลือกแบนโฆษณาการเมืองทั้งหมดในแคนาดาไปเลย Colin McKay หัวหน้านโยบายสาธารณะของ Google แคนาดา ระบุว่าได้ตัดสินใจแล้วว่านี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับ Google ในการปฏิบัติตามกฎหมายเลือกตั้งแคนาดา ซึ่งถือเป็นเรื่องน่าเจ็บปวดสำหรับบริษัทเช่นกัน
ย้อนไปในปี 2014 ที่ พรรค BJP (Bharatiya Janata Party) ได้เป็นรัฐบาล ประเทศอินเดียมีนโยบายเปิดกว้างกับบริษัทเทคโนโลยีอย่างมาก พยายามดึงดูดต่างชาติให้มาลงทุนเต็มที่ นายกรัฐมนตรี Narendra Modi ก็เคยไปเยือนและพบผู้บริหารแทบจะทุกบริษัทในซิลิคอนวัลเล่ย์ Jeff Bezos ซีอีโอ Amazon เองยังเคยบอกว่าอินเดียเป็นตลาดที่ดีที่จะมาทำธุรกิจด้วย
ตัดภาพมาที่ปัจจุบัน ปี 2019 ที่กำลังก้าวเข้าสู่การเลือกตั้งทั่วไป เรียกได้ว่าอินเดียมีนโยบายต่อบริษัทต่างชาติเปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ
ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องคดีที่ รินดา พรศิริพิทักษ์ โพสต์เฟซบุ๊กเรื่องข่าวลือของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และภรรยาโอนเงินหลักหมื่นล้านไปยังธนาคารในสิงคโปร์ โดยการกระทำดังกล่าวถูกฟ้องในข้อหาผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์มาตรา 14(2) แต่ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้นว่าข้อความอาจจะกระทบกระเทือนต่อผู้ถูกพาดพิง แต่ยังไม่มีลักษณะกระทบต่อความมั่นคง
เหริน เจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้งหัวเว่ยให้สัมภาษณ์พิเศษกับ BBC ตอบคำถามในหลายประเด็นทั้งความพยายามของสหรัฐในการคว่ำบาตรหัวเว่ย และ การจับกุม Wanzhou Meng รองประธานหัวเว่ยและลูกสาว ความท้าทายที่หัวเว่ยต้องเจอแรงกดดันในเวลานี้ แต่เหริน เจิ้งเฟย ตอบอย่างมั่นใจว่า สหรัฐฯ ไม่มีทางบดขยี้เราได้
Facebook มีข่าวปลอมแพร่กระจายเยอะอาจเป็นเรื่องที่คนรู้กันอยู่แล้ว ล่าสุดฝ่ายกฎหมายของสภาอังกฤษออกรายงานอย่างเป็นทางการระบุชัดเจนว่า Facebook คือแหล่งแพร่กระขายข่าวปลอม ไม่ปฏิบัติตามกฎคุ้มครองข้อมูลส่วนตัว ถือเป็นนักเลงบนดิจิทัลหรือ digital ganster เลยก็ว่าได้
คณะกรรมการดิจิทัล, วัฒนธรรม, สื่อและการกีฬาของรัฐบาลอังกฤษ ออกรายงานที่ใช้เวลา 18 เดือนในการสืบสวนสถานการณ์ข่าวปลอมบน Facebook รวมทั้งติดตามความเคลื่อนไหวในการแก้ปัญหา พบว่า Facebook ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง และระบุด้วยว่าการบิดเบือนข้อมูลที่ไม่รู้ว่าคนทำเป็นใครและยังเจาะกลุ่มเป้าหมายชัดเจนนั้น เป็นอันตรายต่อประชาธิปไตย
ในขณะที่ไมโครซอฟท์และ Amazon พยายามโปรโมทเรื่องการใช้กฎหมายกำกับดูแลเทคโนโลยีจดจำใบหน้าไม่ให้ละเมิดสิทธิพลเมือง จีนกลับมีแนวทางที่แตกต่าง โดยเว็บไซต์ Financial Times รายงานว่ารัฐบาลจีนได้ทำสัญญากับบริษัทเทคโนโลยี SenseNets ใช้การจดจำใบหน้าจับตาดูกลุ่มมุสลิมอุยกูร์ในมณฑลซินเจียง
ที่ด่านอุรุมชี เมืองหลวงของเขตซินเจียง รัฐบาลจีนติดตั้งเครื่องมือสแกนใบหน้าอย่างแพร่หลายในหลายๆ สถานที่ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์กลางการขนส่งต่างๆ สถานีบริการน้ำมัน โรงแรม ธนาคาร และในเมืองอื่นๆ แม้แต่มีดทำครัวยังติด QR Code เพื่อจะได้รู้ข้อมูลคนซื้อว่าเป็นใคร
นักวิจัยด้านสื่อมหาวิทยาลัยฮ่องกง ทำการวิจัยประเด็นที่มีการเซนเซอร์มากที่สุดบน WeChat ในปี 2018 คือ พบว่าในบรรดาเนื้อหาที่ถูกเซนเซอร์มีประเด็น ประเด็นสงครามการค้า จีน-สหรัฐฯ, การแบนอุปกรณ์ ZTE และการจับกุมซีเอฟโอหัวเว่ย รวมอยู่ด้วย
อินเดียจัดประชุมว่าด้วยเรื่องสิทธิพลเมืองบนโซเชียลมีเดียเมื่อวันจันทร์ 11 ก.พ. ที่ผ่านมา โดยทวิตเตอร์ส่งคนอื่นมาแทนตัว Jack Dorsey ซีอีโอ และดูเหมือนจะทำให้อินเดียไม่พอใจ สภาอินเดียจึงเรียกตัวซีอีโอเข้าให้การอีกครั้งโดยกำหนดไทม์ไลน์ภายใน 25 ก.พ. นี้ Anurag Thakur ประธานคณะกรรมการรัฐสภาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) บอกว่า การที่ Dorsey ไม่ปรากฏตัว ถือเป็นการละเมิดสิทธิ์ของรัฐสภา
ในอินเดียตอนนี้ มีกรณีว่า ฝ่ายขวาของอินเดีย มีความเห็นว่าทวิตเตอร์มีความลำเอียง พยายามกดเสียงและเนื้อหาของฝ่ายขวาเอาไว้
Netflix ได้สิทธิ์ฉาย Knock Down the House สารคดีว่าด้วยนักการเมืองหญิงไฟแรงในสหรัฐฯ หนึ่งในนั้นมีสมาชิกสภาคองเกรสหญิงที่ได่รับการกล่าวถึงมากที่สุดคนหนึ่งอย่าง Alexandria Ocasio-Cortez หรือ AOC อีกด้วย
ถือเป็นดีลที่ดีของ Netflix อีกหนึ่งรายการ เพราะ Knock Down the House ได้รางวัล Festival Favorite Award ในงานเทศกาลภาพยนตร์ Sundance เทศกาลภาพยนตร์หนังนอกกระแสที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา โดย Knock Down the House ได้รับเสียงโหวตจากคนดูสูงสุดในบรรดาหนัง 121 เรื่องที่เข้าร่วม
เว็บไซต์ Deadline รายงานว่า Netflix ทุ่มเงินเพื่อให้ได้ดีลหนังสารคดีเรื่องนี้ถึง 10 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถ้าเป็นความจริง ถือเป็นดีลหนังซันแดนซ์ที่แพงที่สุดเท่าที่เคยมีมา
จอร์จ โซรอส มหาเศรษฐีของโลกพูดที่เวทีประชุม World Economic Forum ว่า การที่จีนใช้ AI ควบคุมคน และสี จิ้นผิง คือภัยคุกคามร้ายแรงของโลกเสรี
จอร์จ โซรอส บอกว่า ความก้าวหน้าของปัญญาประดิษฐ์นั้นสามารถก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อมนุษย์ได้ โดยเฉพาะเมื่อมันถูกใช้ในรัฐบาลระบอบเผด็จการ และในขณะที่จีนไม่ได้เป็นรัฐเผด็จการรัฐเดียวในโลก แต่จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจและก้าวหน้าที่สุดในด้านเทคโนโลยี สิ่งนี้ทำให้สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน เป็นคู่ต่อสู้ที่อันตรายที่สุดของโลกเสรี
แม้ประเทศเวียดนามจะมีการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและเปิดกว้างต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แต่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามยังคงเซ็นเซอร์สื่ออย่างเข้มงวด ล่าสุดรัฐบาลออกมาบอกว่า Facebook ละเมิดกฎหมายความปลอดภัยทางไซเบอร์ใหม่ของเวียดนามโดยอนุญาตให้ผู้ใช้โพสต์ความคิดเห็นต่อต้านรัฐบาล
สำนักข่าวเวียดนามอ้างคำพูดกระทรวงสารสนเทศและการสื่อสารเวียดนามบอกว่า Facebook ยังไม่มีการตอบกลับใดๆ จากการที่รัฐบาลร้องขอให้ Facebook ลบแฟนเพจที่กระตุ้นให้เกิดกิจกรรมที่นำไปสู่การต่อต้านรัฐบาล
กฎหมายความปลอดภัยทางไซเบอร์ใหม่เวียดนามที่มีผลบังคับใช้ 1 มกราคมที่ผ่านมามีข้อกำหนดให้บริษัทอินเทอร์เน็ตตั้งสำนักงาน และศูนย์จัดเก็บข้อมูลไว้ในประเทศ ทำให้เกิดความกังวลว่า ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานจะไม่ปลอดภัย และเจ้าหน้าที่รัฐบาลจะใช้อำนาจควบคุมบริษัทอินเทอร์เน็ต
บน Netflix มี Patriot Act With Hasan Minhaj เป็นรายการพูดถึงสังคมการเมืองและถ่ายทอดออกมาในฉบับทอล์คโชว์ โดยตอนหนึ่งในรายการมีพูดวิจารณ์ถึงนโยบายของ Mohammed bin Salman มกุฎราชกุมารของซาอุดิอาระเบีย ส่งผลให้รายการตอนดังกล่าวถูกแบนในประเทศตามคำขอของรัฐบาลซาอุดิอาระเบีย
รายงานจาก Senate Intelligence Commission เผยว่า รัสเซียนอกจากจะใช้ Facebook เป็นช่องทางเผยแพร่ข่าวปลอมให้กระทบการเลือกตั้งสหรัฐฯ แล้ว ยังใช้เกม โปเกมอน โก ด้วย โดยกลุ่มเป้าหมายคือผู้เล่นสัญชาติ แอฟริกัน-อเมริกัน
ไมโครซอฟท์ชี้ ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลจะต้องออกกฎหมายเพื่อกำกับดูแลเทคโนโลยีจดจำใบหน้า ที่เห็นได้ชัดว่าเริ่มจะถูกนำไปใช้ในทางที่แย่ลงโดยเฉพาะการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
ไมโครซอฟท์ชี้ว่าตอนนี้เทคโนโลยีกำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น และรัฐควรเริ่มมีกฎควบคุมภายในปี 2019 เพราะหากปล่อยให้มีการใช้ในทางไม่ดีไปอีกหลังจากนี้การกลับมากำกับดูแลก็จะยากแล้ว โดยข้อเสนอการกำกับดูแล ไมโครซอฟท์ระบุให้ทุกบริษัทมีความรับผิดชอบพื้นฐานร่วมกัน จะได้ไม่ต้องแข่งขันตามความต้องการตลาดไปเสียทุกอย่างเพื่อความอยู่รอดและมี 3 ประเด็นที่รัฐควรตระหนักและจัดการคือ
Twitter ยังคงเป็นแพลตฟอร์มทรงคุณภาพในการรับรู้ความเคลื่อนไหวของสังคมใกล้ตัวและสังคมโลกว่า ขณะนี้ คนในประเทศกำลังพูดถึงเรื่องอะไรกัน หรือเทรนด์ทั่วโลกขณะนี้คนกำลังสนใจอะไรอยู่ เว็บไซต์ Engadget ออกมาวิเคราะห์ Twitter ในปี 2018 ว่าเป็นแพลตฟอร์มแห่งแฟนคลับ K-Pop และในขณะเดียวกันก็เป็นพื้นที่แห่งการเคลื่อนไหวทางสังคมการเมืองด้วย
Google ยังเจอการประท้วงต่อเนื่องหลังเหตุการณ์ล่าสุดที่พนักงานออกมาประท้วงว่า Google ปกป้อง Andy Rubin แม้เขาจะทำผิดร้ายแรง ล่าสุดมาที่เรื่อง Dragonfly หรือบริการเสิชในจีนที่ทำโดย Google ซึ่งเป็นบริการค้นหาที่ Google ทำโดยยอมเซนเซอร์ข้อมูลตามแนวทางรัฐบาลจีน แม้จะยังไม่มีผู้บริหารคนไหนใน Google ออกมาพูดเรื่องนี้อย่างเป็นทางการ
กลุ่มพนักงาน Google ยังร่วมมือกับ Amnesty International ในการประท้วงครั้งนี้ด้วยเพราะบริการดังกล่าวกระทบสิทธิมนุษยชน กลุ่มผู้ประท้วงบอกว่า นี่ไม่เกี่ยวกับการที่บริการนี้ไปเปิดในจีน แต่จุดยืนคือ คัดค้านเทคโนโลยีที่กดขี่และเป็นภัยกับผู้คน ไม่ว่ามันจะไปเกิดขึ้นที่ไหนก็ตาม