ย้อนไปในปี 2020 Netflix ได้ยื่นฟ้อง SK Broadband ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ในเกาหลีใต้ เนื่องจาก SK Broadband ต้องการเก็บค่าบริการเพิ่มจาก Netflix เพราะใช้แบนด์วิธจำนวนมาก แต่ศาลได้ยกฟ้อง และทาง SK Broadband ก็ฟ้องกลับเพื่อให้ Netflix จ่ายเงินค่าใช้แบนด์วิธเพิ่มเติม ล่าสุดทั้งสองบริษัทได้ข้อตกลงร่วมกันแล้ว
Netflix ประกาศว่าทั้ง Netflix และ SK Broadband ได้ตกลงยุติคดีฟ้องร้องระหว่างกันทั้งหมด และลงนามข้อตกลงเป็นพาร์ตเนอร์เพื่อพัฒนาบริการร่วมกัน ซึ่ง Netflix ก็บอกว่าจะนำเทคโนโลยี AI ของทาง SK Telecom และ SK Broadband มาใช้ปรับปรุงบริการด้วย
ผู้บริหารเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในยุโรป 4 ค่ายใหญ่ คือ Vodafone, Telefonica, Orange, และ T-Mobile เรียกร้องสหภาพยุโรปให้แบนบริการ Private Relay ของแอปเปิล เนื่องจากกระทบต่อการจัดการเครือข่าย
บริการ Private Relay ของแอปเปิลเป็นบริการ VPN ที่ซ้อนสองชั้นทำให้ตรวจจับได้ยากว่าผู้ใช้กำลังเชื่อมต่อกับบริการใด หรือเชื่อมต่อจากเครือข่ายใด นอกจากนี้บริการ Private Relay ยังรวมอยู่ในแพ็กเกจ iCloud+ ซึ่งน่าจะมีคนใช้งานเป็นวงกว้าง เพราะต้องการบริการอื่นๆ เช่น การดูภาพกล้องวงจรปิด หรือการซ่อนอีเมล
SK Broadband ผู้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ในเกาหลีใต้ ได้ฟ้องร้อง Netflix เพื่อให้บริษัทช่วยจ่ายเงินต้นทุนทราฟิกอินเทอร์เน็ต และต้นทุนการดูแลรักษาที่เพิ่มสูงขึ้นมาก เนื่องจากมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตสำหรับดู Netflix มากขึ้น โดยศาลกรุงโซลให้ความเห็นที่รับการฟ้องร้องนี้ ว่ามีเหตุผลพอที่ Netflix ควรจ่ายเงินให้บริษัทบรอดแบนด์
เป็นอีกข่าวสารที่ต้องจับตามอง เมื่อศาลเกาหลีใต้ยกฟ้องคำฟ้องของ Netflix ที่กล่าวหา SK Broadband ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตว่าต้องการเก็บค่าบริการซ้อน (double billing) หลังจาก SK Broadband พยายามเรียกเก็บค่าบริการเพิ่มเติมจาก Netflix
เรื่องราวเริ่มต้นจาก SK Broadband ยื่นฟ้องไปยังคณะกรรมการการสื่อสารแห่งเกาหลีในเดือนพฤศจิกายน 2019 เนื่องจาก Netflix เป็นบริการใหญ่ ใช้แบนด์วิธมาก จึงต้องเสียค่าธรรมเนียมให้ผู้ให้บริการเครือข่ายบ้าง และ Netflix ก็ได้ยื่นฟ้องกลับในเดือนเมษายน 2020 บอกว่าตนไม่มีภาระผูกพันต้องจ่ายค่าธรรมเนียมนี้ และถือว่า SK Broadband เรียกเก็บเงินซ้ำซ้อน เพราะผู้ใช้งานได้จ่ายค่าธรรมเนียมการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าสู่ระบบแพลตฟอร์ม OTT แยกจากค่าสมัครสมาชิกอยู่แล้ว
ยุโรปมีกฎหมาย Net Neutrality เพื่อควบคุมความเป็นกลางทางอินเทอร์เน็ตมาตั้งแต่ปี 2016 และล่าสุดมีกลุ่มของ 45 องค์กร, บริษัท และบุคคลธรรมดา (ซึ่งมี EFF รวมอยู่ด้วย) ได้ยื่นจดหมายถึงเจ้าหน้าที่ EU เพื่อกล่าวโทษผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตตามกฎหมายนี้
ทางกลุ่มระบุว่า ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต 186 รายที่ทางกลุ่มได้ยื่นร้องเรียนต่อคณะกรรมการยุโรป ได้ปฏิบัติอย่างเป็นภัยต่อกฎหมายความเป็นกลางทางอินเทอร์เน็ตโดยใช้การตรวจสอบแพ็คเก็ตในระดับคอนเทนต์ของทราฟฟิกที่มากกว่าค่าที่จำเป็น ซึ่งตามกฎหมายแล้ว ผู้ให้บริการสามารถปรับทราฟฟิกให้ใช้งานทรัพยากรเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด แต่มีผู้ให้บริการบางรายใช้ระบบนี้เพื่อแยกคิดราคาและใช้เพื่อจัดลำดับความสำคัญของทราฟฟิก
Frontier Communications บริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายได้ขอให้พนักงานช่วยในการต่อต้านกฎควบคุมความเป็นกลางทางอินเทอร์เน็ตหรือ Net Neutrality ในรัฐแคลิฟอร์เนีย
กฎการควบคุม Net Neutrality ของสหรัฐฯ นั้นเพิ่งจะถูกยกเลิกโดย FCC ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการสื่อสารของสหพันธรัฐเมื่อปลายปีที่แล้ว ทำให้บางรัฐเตรียมออกกฎ Net Neutrality สำหรับใช้ภายในรัฐเอง ซึ่งแคลิฟอร์เนียคือหนึ่งในนั้น และตอนนี้กระบวนการออกกฎควบคุม Net Neutrality ของแคลิฟอร์เนียผ่านสภานิติบัญญัติมาแล้ว
กระทรวงการโทรคมนาคมแห่งอินเดียได้ผ่านกฎควบคุม Net Neutrality หรือกฎควบคุมความเป็นกลางทางอินเทอร์เน็ตอย่างเป็นทางการ โดยมีการระบุห้ามผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตปฏิบัติต่อทราฟฟิกบนอินเทอร์เน็ตอย่างไม่เท่าเทียม อย่างเช่นบล็อก, ลดแบนด์วิดท์, ให้แบนด์วิดท์เพิ่ม หรือไม่คิดปริมาณข้อมูลโดยแบ่งแยกตามเงื่อนไขต่าง ๆ
Burger King ทำโฆษณาอธิบาย Net Neutrality พร้อมกับชักชวนให้ผู้ชมร่วมกันลงชื่อสนับสนุนมาตรการกำกับดูแล Net Neutrality
โฆษณาแสดงการตั้งราคา Whopper แบบพิเศษ โดยลูกค้าสามารถเลือกจ่ายราคา 4.99 ดอลลาร์ตามปกติ หรือจ่ายแพงสุด 25.99 ดอลลาร์เพื่อให้ได้ Whopper แบบพิเศษ หลักการตั้งราคาอาจจะไม่ตรงกับ Net Neutrality ที่ป้องกันไม่ให้ ISP ไปเก็บเงินเว็บไซต์และบริการต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าเข้าเว็บได้เร็วกว่าคนอื่น แต่หลักการกว้างๆ ยังคงเหมือนกัน คือถ้าร้านสามารถจัดการราคาเพื่อกีดกันบริการใดเป็นพิเศษ (ในกรณีนี้คือ Whopper) ร้านจะทำเพื่อระบายสินค้าที่อยากระบาย เช่นแซนวิชที่ขายไม่ดีเท่า
โฆษณาระบุว่าลูกค้าในวิดีโอเป็นลูกค้าจริง แต่ราคาในโฆษณาหลอกขึ้นมาเพื่อสาธิตเท่านั้น
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคมที่ผ่านมา FCC ซึ่งเป็นหน่วยงานจัดการการสื่อสารและคลื่นความถี่ของสหรัฐอเมริกา ผ่านมาตรการยกเลิกการกำกับ Net Neutrality ด้วยคะแนนผลโหวต 3-2 คะแนน การยกเลิกมาตรการควบคุมนี้จะทำให้เกิดการย้ายหมวดหมู่ของผู้ให้บริการโครงข่ายอินเทอร์เน็ต จากที่อยู่ในหมวด 2 กลับไปไว้ในหมวด 1 เช่นเดิม
จากกรณีเหตุปะทะระหว่างกลุ่มนิยมคนขาวแบบสุดโต่งกับกลุ่มต้านการเหยียดผิวเกิดขึ้นที่ชาร์ล็อตต์วิลล์จนทำให้วงการไอทีออกตัวต่อต้านชัดเจน ทั้ง GoDaddy, Google, Discord, Facebook, Twitter, Apple, Spotify ฯลฯ พร้อมใจกันระงับการใช้งานเว็บนาซีใหม่ (neo-Nazi) หรือ Daily Stormer กันเต็มที่ แม้จะมีทนายความอาวุโสจาก EFF เคยให้สัมภาษณ์กับ The Verge ว่า GoDaddy มีสิทธิที่จะไม่ให้บริการโดเมนแก่เว็บใดๆ ก็ย่อมได้
ล่าสุด EFF (Electronic Frontier Foundation) ผู้สนับสนุนให้มีการบริการคอนเทนต์อย่างเป็นกลาง ชี้แจงผ่านบทความการต่อสู้กับนาซีใหม่และอนาคตของเสรีภาพในการแสดงออก พูดถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่ามีทั้งอารมณ์ ตรรกะ และการบิดการใช้กฎหมายผสมผสานกัน แต่ก็ต้องยอมรับว่าในอินเทอร์เน็ตสามารถใช้แทคติกใดๆ ก็ได้ที่ทำให้เสียงของเหล่า neo-Nazi เงียบลง ขณะเดียวกันฝั่งที่เราเห็นด้วยก็อาจจะได้รับผลกระทบในไม่ช้า
ดีเบตแบนคอนเทนต์ขวาจัดยังไม่จบ หลังจากเว็บ Daily Stormer ที่ถูกเรียกว่าเป็นของกลุ่มนาซีใหม่ (neo-Nazi) ถูกปิดโดย GoDaddy ขณะที่ Discord ก็ปิดเซิร์ฟเวอร์แอคเคาท์ของ alright.com ตามด้วย Crowdfunding ที่ทยอยต้านเว็บขวาจัด
Fast.com เว็บไซต์ที่ Netflix ออกแบบไว้เพื่อทดสอบความเร็วทางอินเทอร์เน็ต เพิ่งจะเปิดเผยออกมาว่า Verizon (ผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์) เริ่มจำกัดความเร็วของ Netflix แล้ว ขณะที่ผู้ใช้บริการ YouTube ก็รายงานแบบเดียวกัน ด้าน Verizon บอก กำลังใช้เทคโนโลยีเพื่อทำการทดลองหาค่าที่ดีสุดสำหรับการใช้วิดีโอ (video optimization)
Jimmy Wales ผู้ก่อตั้ง Wikipedia เป็นหนึ่งเสียงที่สนับสนุน Net Neutrality มาโดยตลอด เห็นได้จากโครงการ Wikipedia Zero ที่ผลักดันให้คนใช้ Wikipedia ผ่านทางสมาร์ทโฟนให้มากขึ้นโดยไม่เสียค่าบริการ ล่าสุด Wales ออกมายอมรับว่า Net Neutrality เป็นหัวข้อที่ซับซ้อนและยากต่อการทำความเข้าใจ
ประเด็น Net Neutrality กลับมาอีกครั้งหลัง TRAI (กสทช.ของอินเดีย) จัดทำเอกสารการปรึกษาเกี่ยวกับ Net Neutrality รวบรวมข้อมูลจากบรรดาผู้ถือผลประโยชน์ร่วมเพื่อค้นหาว่าหลักการสำคัญของ Net Neutrality ควรประกอบด้วยอะไรบ้าง
ด้าน Jimmy Wales ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว ET NOW ว่า "Net Neutrality เป็นสิ่งที่ผมใฝ่ฝัน แต่มันค่อนข้างซับซ้อน ขณะเดียวกันมันสำคัญมากที่จะให้คนยากจนเข้าถึงอินเทอร์เน็ต บางครั้งมันเป็นเรื่องกดดันและต้องระมัดระวัง ผมคิดว่าพื้นฐานสำคัญที่ต้องรักษาไว้เลยคือความเปิดกว้างและเสรีของอินเทอร์เน็ต"
เราอาจจะพอทราบว่า FCC หรือหน่วยงานด้านการสื่อสารของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ (ใกล้เคียงที่สุดในบ้านเราคือ กสทช.) ออกกฎเรื่องของ Net Neutrality ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน อย่างไรก็ตามพรรคริพับลิกัน ซึ่งค้านกฎนี้มาตลอดแต่ไม่สำเร็จ เตรียมที่จะออกมาตรการตอบโต้กับ FCC โดยใช้วิธีการเสนอร่างงบประมาณฉบับใหม่ (ฉบับปีหน้า) ซึ่งจะตัดงบประมาณของ FCC ลง รวมถึงกำหนดการบังคับใช้กฎ Net Neutrality ด้วย
Netflix เปิดตัวเว็บไซต์ทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ต Fast.com ชูจุดเด่นที่ใช้ง่ายไม่ซับซ้อน ไม่ต้องกดปุ่มใดๆ เข้าเว็บแล้วระบบจะทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ตให้ทันที
ข้อจำกัดของ Fast.com คือมันจะแสดงเฉพาะความเร็วฝั่งดาวน์โหลดเท่านั้น (เหตุเพราะกลุ่มเป้าหมายคือลูกค้า Netflix ที่เป็นคอนซูเมอร์) ไม่มีสถิติอื่นๆ อย่างความเร็วฝั่งอัพโหลด หรือ ping/latency มาให้ด้วย (มันมีไว้สำหรับตอบคำถามว่า "เน็ตเร็วเท่าไร" แค่นั้น)
กระบวนการทดสอบจะลองดาวน์โหลดข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ของ Netflix เองที่กระจายตัวอยู่ทั่วโลก สามารถใช้งานกับอุปกรณ์ใดก็ได้ที่มีเว็บเบราว์เซอร์
โครงการ Internet.org ของ Facebook ประสบปัญหาในอินเดีย หลัง TRAI (กสทช.อินเดีย) สั่งให้โอเปอเรเตอร์ Reliance Communications หยุดให้บริการเน็ตขั้นพื้นฐานฟรี Free Basics ที่ร่วมมือกับ Facebook
เหตุผลที่ TRAI สั่งหยุดบริการ Free Basics เป็นเรื่อง net neutrality เพราะยังไม่ชัดเจนว่าโอเปอเรเตอร์สามารถ "เลือกปฏิบัติ" ด้านราคาของเนื้อหาแต่ละแบบได้หรือไม่ (การให้บริการบางเว็บฟรี อาจถือเป็นการกีดกันคู่แข่งที่ไม่เข้าร่วมโครงการ) ดังนั้น TRAI จึงขอให้ Reliance หยุดพักไปก่อนจนกว่าจะได้ข้อยุติในเรื่องนี้
ศาลบราซิลมีคำสั่งให้บล็อคการเข้าถึง WhatsApp ทั่วประเทศ เป็นเวลา 48 ชั่วโมง เริ่มต้นตั้งแต่เที่ยงคืนวันที่ 17 ธันวาคม ตามเวลาท้องถิ่น โดยศาลระบุว่ามีบริษัทผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายหนึ่ง ร้องเรียนว่า WhatsApp มีการให้บริการโทรด้วยเสียงฟรี ซึ่งผิดกฎหมายของประเทศบราซิล ที่รัฐบาลต้องตรวจสอบการสนทนาผ่านเสียงได้ อีกทั้งการให้บริการฟรีของ WhatsApp ก็ส่งผลกระทบต่อรายได้ของบริษัทโทรคมนาคมด้วย
ศาลระบุว่าได้มีการร้องขอตรวจสอบไปที่ WhatsApp ถึงสองครั้ง แต่ไม่ได้รับคำตอบใดๆ กลับมา จึงมีคำสั่งให้บล็อก WhatsApp เป็นเวลา 48 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายละเอียดว่าทำไม WhatsApp จึงไม่ตอบโต้ และทำไมศาลจึงบล็อกการใช้งานแค่จำกัดช่วงเวลา
โครงการ Internet.org ของ Facebook ดูจะเริ่มมีปัญหาซะแล้ว เมื่อองค์กรรณรงค์สิทธิด้านดิจิทัล 67 รายจากหลายประเทศ เข้าชื่อกันเขียนจดหมายเปิดผนึกถึง Mark Zuckerberg ว่ามีปัญหาหลายอย่างกับโครงการนี้
ประเด็นขัดแย้งหลักของ Internet.org คือ Facebook ใช้วิธีจับมือกับผู้ให้บริการมือถือในบางประเทศ ทำดีลพิเศษให้ลูกค้าเข้าถึงเว็บไซต์ "บางแห่ง" ได้ฟรี ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เข้าข่ายคือ Facebook เอง, Wikipedia, BBC, Accuweather และเว็บท้องถิ่นบางแห่ง โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ใช้ต้องติดตั้งแอพ Internet.org ด้วย
การจำกัดการเข้าถึงเฉพาะบางเว็บ เป็นเหตุทำให้เว็บและสตาร์ตอัพท้องถิ่นบางราย (โดยเฉพาะจากอินเดีย) ไม่พอใจ และมองว่าเป็นประเด็นการกีดกันการแข่งขันและการเข้าถึงอย่างเท่าเทียม (net neutrality)
หลังจากที่เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา FCC ลงมติ 3-2 ให้บังคับใช้กฎตัวใหม่ที่จะบังคับใช้หลักเกณฑ์ Net Neutrality กับผู้ให้บริการโทรคมนาคมทุกรายในสหรัฐอเมริกา มาตอนนี้หลังจากที่หลักเกณฑ์ดังกล่าวประกาศใช้ในกิจจานุเบกษาของรัฐบาลกลาง (Federal Register) กลุ่มบริษัทผู้ให้บริการโทรคมนาคมซึ่งได้รับผลกระทบ ได้ดำเนินการฟ้องร้องทันที
แม้จะยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับการฟ้องร้องในครั้งนี้ รวมไปถึงว่ายื่นฟ้องที่ศาลในระดับใด แต่ที่ชัดเจนคือผู้ยื่นฟ้อง โดยเป็น USTelecom ซึ่งระบุว่าตัวเองเป็นตัวแทน (represents) บริษัทด้านโทรคมนาคมของสหรัฐฯ แต่ไม่เปิดเผยว่าเป็นตัวแทนของใครบ้าง ยื่นเรื่องฟ้องศาลให้ยกเลิกการบังคับใช้กฎดังกล่าวนี้
หลังจากที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้โหวตเพื่อบังคับให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ต้องให้บริการด้วยความเป็นกลาง (net neutrality) ล่าสุดสหภาพยุโรปกลับมีแผนที่จะทำตรงกันข้าม ด้วยการเสนอให้แบ่งการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเป็นแบบเร็วกับแบบช้า โดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสามารถเก็บเงินผู้ใช้หรือผู้ให้บริการทางด้านเนื้อหาเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้เร็วกว่าปรกติหากการกระทำดังกล่าวไม่ส่งผลเสียแก่ผู้ใช้รายอื่นที่ไม่ได้จ่ายเงินเพิ่ม
เมื่อคืนนี้ FCC หรือ กสทช. ของสหรัฐอเมริกา ลงมติสนับสนุนกฎเกณฑ์ net neutrality ห้ามผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) บล็อคหรือบีบความเร็วทราฟฟิกประเภทใดเป็นพิเศษ
ประเด็นเรื่อง net neutrality เป็นประเด็นถกเถียงในต่างประเทศมาหลายปีแล้ว ที่มาของเรื่องนี้คือ ISP มักต้องการบีบทราฟฟิกของผู้ให้บริการออนไลน์บางประเภท (เช่น Netflix หรือ YouTube) ให้ส่งข้อมูลได้ช้าลง และขายสิทธิการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงขึ้น (fast lane) ในแพ็กเกจที่ต้องจ่ายเพิ่ม
บริษัทสายไอทีอย่าง Netflix, Google, Facebook สนับสนุนนโยบาย net neutrality หรือทราฟฟิกทุกอย่างต้องถูกปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน ส่วนบรรดา ISP และผู้ให้บริการโทรศัพท์รายใหญ่ๆ อย่าง AT&T, Verizon ต่อต้านนโยบายนี้
Stephen Bye ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (CTO: Chief Technology Officer) ของ Sprint หนึ่งในผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของสหรัฐอเมริกา ออกมาระบุกับสำนักข่าว Reuters ว่านโยบายในการสร้างความเป็นกลางของอินเทอร์เน็ต (net neutrality) ของ FCC (กสทช. ของสหรัฐอเมริกา) เป็นสิ่งที่มีผลดีต่อผู้บริโภค และจะไม่ได้มีผลในการยับยั้งการลงทุนด้านระบบเครือข่ายของคู่แข่งแม้แต่น้อย
การประชุม Internet Governance Forum ครั้งที่ 9 ประจำปี 2014 ณ กรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี ได้เสร็จสิ้นลงแล้วในวันนี้ โดยตลอดการประชุมทั้ง 4 วันนี้ ประกอบด้วยตัวแทนจากทั้งภาควิชาการ อุตสาหกรรม หน่วยงานรัฐ หน่วยงานกำกับดูแลมาตรฐาน และผู้มีส่วนร่วม เข้าร่วมงานด้วยตัวเองและเข้าร่วมแบบทางไกล (remote participants) มากกว่า 3,500 คน
หัวข้อสำคัญที่ได้รับการเน้นเป็นพิเศษในการประชุมครั้งนี้ คือเรื่องของ Net neutrality ที่การถกเถียงระหว่างการรักษาความเป็นกลางของเครือข่ายที่เป็นหลักการสำคัญที่ต้องรักษาเอาไว้กับบริการฟรี (zero-ratings) ในฐานะช่องทางการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของผู้ที่มีรายได้น้อย โดยการถกเถียงนี้คาดว่าจะสานต่อไปในปีหน้า ณ การประชุม IGF 2015 ที่บราซิล
ที่เวทีการประชุม Internet Governance Forum 2014 ณ กรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี ในช่วงเช้ามีการสนทนาแลกเปลี่ยนกันในประเด็นเรื่องของความเป็นกลางของเครือข่าย (Net Neutrality) โดยมีตัวแทนจากทั้งภาคธุรกิจและเอกชนเข้าร่วมในการสนทนาแลกเปลี่ยนดังกล่าว
ในช่วงเช้าตามเวลาท้องถิ่นของตุรกีที่การประชุม Internet Governance Forum มีการสนทนาในหัวข้อเกี่ยวกับการรักษาความเป็นกลางของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Net neutrality) กับบริการฟรี (zero-ratings) ในฐานะช่องทางของการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสำหรับคนยากจน
Josh Levy ตัวแทนจาก Access ที่เป็นองค์กรรณรงค์ด้านสิทธิในอินเทอร์เน็ต ระบุว่า บริการฟรีเหล่านี้ทำให้หลักการของ Net Neutrality บิดเบือนไป เพราะให้สิทธิข้อมูลบางประเภทเหนือข้อมูลอื่นๆ โดยระบุว่า แนวทางของการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในหนึ่งพันล้านคนแรกทั่วโลกนั้น ไม่เคยมีบริการฟรีเหล่านี้อยู่ ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลที่การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสำหรับอีกหนึ่งพันล้านคนจะต้องมีบริการฟรีเหล่านี้ทำให้เข้าถึง