สารานุกรมเสรี
วิกิพีเดียเผยหัวข้อที่มียอดคนเข้าอ่านสูงสุดประจำปี 2020 โดยจำกัดเฉพาะหน้าเพจที่เป็นภาษาอังกฤษ พบว่า COVID-19 มาเป็นอันดับ 1 และมีหลายหัวข้อเกี่ยวกับโรคระบาดที่ติดโผ 7 ใน 25 รายการที่คนอ่านสูงสุด ได้ยอดคนอ่านเฉพาะเรื่อง COVID-19 รวมกัน 225 ล้านครั้ง ส่วนหัวข้อที่ได้รับความสนใจอื่นๆ มี การเลือกตั้งสหรัฐฯ, ประวัติของ Kamala Harris และ Joe Biden , การเสียชีวิตของนักบาสเกตบอล Kobe Bryant นักแสดงชาวอินเดีย Sushant Singh Rajput และนักแสดง Chadwick Boseman
หัวข้อทั้ง 25 รายการมีดังนี้ (ตัวเลขด้านหลังคือยอดคนเข้าอ่าน)
องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ร่วมกับ Wikimedia Foundation เจ้าของวิกิพีเดีย ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับ COVID-19 สามารถใช้งานอินโฟกราฟิก, ข้อมูลตัวอักษร, ภาพและวิดีโอ ออกไปได้ไม่ติดลิขสิทธิ์ เพราะอยู่ภายใต้เงื่อนไข Creative Commons Attribution-ShareAlike
วิกิพีเดียเตรียมจะปรับปรุงหน้าเว็บ ยกเครื่องใหม่ในรอบสิบปี และยังเผยโปรโตไทป์หน้าตาใหม่ในบล็อกด้วย มีฟีเจอร์ใหม่หลายอย่าง ที่ตั้งเป้าจะเปิดให้ใช้งานแบบครบถ้วนภายในปี 2021 ดังนี้
Facebook เริ่มทดสอบฟีเจอร์ใหม่ แสดงข้อมูลจาก Wikipedia ในช่องค้นหา คล้ายกับฟีเจอร์ Knowledge Panels ของ Google โดยเมื่อค้นหาข้อมูลต่างๆ จะมีแท็บปรากฏเพื่อให้ข้อมูลเบื้องต้นจากบทความใน Wikipedia พร้อมรูปภาพประกอบ
Facebook เพิ่มฟีเจอร์ดังกล่าวเพื่อป้องกันข่าวปลอมที่แพร่หลายอย่างมาก ก่อนหน้านี้ Facebook ก็ได้เพิ่มฟีเจอร์แปะป้ายว่าโพสต์ใดเป็นข่าวปลอม รวมไปถึง ให้บัญชีผู้ใช้ที่ได้รับความนิยมผิดปกติยืนยันตัวตน แต่ล่าสุดก็ถูก Joe Biden เรียกร้องกึ่งโจมตีให้แก้ข่าวปลอม โดยเฉพาะกรณีที่ยกเว้นโพสต์ของ Trump
Wikipedia ถือกำเนิดมาตั้งแต่ปี 2001 โดยใช้ซอฟต์แวร์ MediaWiki ที่เขียนขึ้นในยุคนั้น ซึ่งปัจจุบันก็มีหลายส่วนที่เริ่มล้าสมัยแล้ว
มูลนิธิ Wikimedia Foundation ในฐานะผู้ดูแลโครงการ Wikipedia จึงพยายาม "ยกเครื่อง" ซอฟต์แวร์ MediaWiki ให้ทันสมัยขึ้น หนึ่งในแผนการคือเปลี่ยนมาใช้เฟรมเวิร์คจาวาสคริปต์ตัวใหม่ๆ แทน jQuery ที่ใช้มานาน และเฟรมเวิร์คของตัวเองที่ชื่อ OOUI
คณะทำงานมีเกณฑ์การคัดเลือกเฟรมเวิร์คหลายข้อ เช่น ต้องนิยาม UI แบบ declarative, ตัว UI ต้องอัพเดตแบบ reactive (ตามการป้อนข้อมูลของผู้ใช้), เป็นโครงการโอเพนซอร์สที่มีชุมชนเหนียวแน่น, ประสิทธิภาพสูง, ยืดหยุ่นต่อการใช้งานหลายสถานการณ์
Wikipedia เว็บไซต์สารานุกรมฟรีและเสรีประกาศว่าตอนนี้ทางเว็บไซต์มีบทความเป็นภาษาอังกฤษมากกว่า 6 ล้านบทความแล้ว หลังจากก่อตั้งมาราว 19 ปี
สำหรับบทความที่หกล้านใน Wikipedia ภาษาอังกฤษนี้ คือบทความเกี่ยวกับ Maria Elise Turner Lauder ซึ่งเป็นครูในโรงเรียนแคนาดา, นักเขียนด้านการท่องเที่ยว และนักเขียนนวนิยายในศตวรรษที่ 19 เขียนโดย Rosie Stephenson-Goodknight ซึ่งเป็นผู้เขียนบทความให้ Wikipedia มาอย่างยาวนาน
ตุรกีได้เริ่มบล็อควิกิพีเดียเมื่อเกือบสามปีก่อน ล่าสุดตอนนี้วิกิพีเดียเริ่มกลับเข้ามาใช้งานได้อีกครั้งในตุรกี หลังจากศาลรัฐธรรมนูญในตุรกีกลับคำสั่งแบนเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา
การสั่งบล็อควิกิพีเดียเมื่อสามปีก่อน เกิดจากหน่วยงานด้านการสื่อสารทางไกลของตุรกีเป็นผู้สั่งบล็อคโดยอ้างเหตุผลด้านความมั่นคงต่อประเทศ แต่ศาลรัฐธรรมนูญระงับคำสั่งโดยระบุว่าการกระทำนี้ถือว่าไม่เป็นประชาธิปไตยและทำลายเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
Wikipedia ประกาศ 25 อันดับบทความยอดนิยมเฉพาะภาษาอังกฤษในปี 2019 ซึ่งรวบรวมสถิติโดยนักวิจัย Andrew G. West เพื่อสะท้อนว่าผู้อ่าน Wikipedia สนใจเนื้อหาเรื่องใดมากทึ่สุด
ผลการจัดอันดับพบว่า 16 ใน 25 อันดับ เป็นบทความด้านบันเทิงทั้ง ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ และวิดีโอเกม โดยมี Avengers: Endgame เป็นบทความยอดนิยมอันดับ 1 ด้วยจำนวนเพจวิวเกือบ 44 ล้านครั้ง
ทั้งนี้ผลการจัดอันดับดังกล่าวนับถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2019 ซึ่งจะมีการปรับปรุงข้อมูลอีกครั้งเมื่อครบปี และตัดบทความที่มีอัตราส่วนผู้เข้าชมผ่านมือถือน้อยกว่า 10% หรือมากกว่า 90% เนื่องจากมองว่าเป็นบอตหรือสแปม
25 อันดับบทความยอดนิยมเป็นดังนี้
กระทรวงเทคโนโลยีและไอทีของอินเดีย เสนอกฎหมายที่ระบุว่า แอปพลิเคชั่นตัวกลาง หรือผู้ให้บริการออนไลน์ใดๆ ที่มีผู้ใช้ 5 ล้านรายขึ้นไป ต้องจัดตั้งสำนักงานท้องถิ่นและมีผู้บริหารระดับสูงในประเทศที่สามารถรับผิดชอบต่อปัญหาทางกฎหมายได้ วัตถุประสงค์ของกฎหมายคือ ให้อินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่ปลอดภัย จึงต้องการคนกลางในการปิดการเข้าถึงเนื้อหาอันตราย ผิดกฎหมาย
ส่งผลให้วิกิมีเดียผู้ก่อตั้งวิกิพีเดียแสดงความกังวลว่าจะกระทบต่อเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร Amanda Keton ที่ปรึกษาทั่วไปของมูลนิธิวิกิมีเดียบอกว่า กฎหมายอินเดียที่เสนอมานี้อาจสร้างภาระทางการเงินสำหรับองค์กรวิกิมีเดียที่ไม่แสวงหาผลกำไร และปิดกั้นสิทธิการแสดงออกอย่างอิสระสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในอินเดีย การเสนอกฎใหม่ของอินเดียยังสร้างความกังวลให้บริษัทไอทีอื่นด้วย เช่น Mozilla, GitHub
Wikipedia ร่วมมือกับ Internet Archive แปลงลิงก์บน Wikipedia ที่อ้างอิงถึงหนังสือ ให้กลายเป็นลิงก์ในยังเว็บเก็บภาพแสกนหนังสือโดยตรง ทำให้ตรวจสอบได้ทันทีว่าอ้างอิงถูกต้องหรือไม่
ตอนนี้ทาง Internet Archive แสกนหนังสือแล้ว 50,000 เล่ม และความร่วมมือครั้งนี้ก็แปลงการอ้างอิงบน Wikipedia เป็นลิงก์ทั้งหมด 130,000 รายการ ผู้ใช้สามารถกดอ่านบางส่วนของหนังสือได้ทันที
ทาง Internet Archive ระบุว่าต้นทุนการแสกนหนังสืออยู่ที่เล่มละ 20 ดอลลาร์ และมีเป้าหมายที่จะแสกนหนังสือ 4 ล้านเล่มในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
ที่มา - Internet Archive
เมื่อคืนที่ผ่านมา Wikipedia ประกาศผ่าน Twitter ของโครงการว่าถูกโจมตีด้วยกระบวนการ DDoS จน server บางประเทศใช้งานไม่ได้ไประยะหนึ่งในช่วง 0100 - 0500 ตามเวลาในประเทศไทย
แม้จะยังไม่ทราบผู้โจมตีและสาเหตุที่โจมตีที่แท้จริง แต่มีกลุ่มคนอ้างตัวว่าทำไปเพราะต้องการทดลองศักยภาพของอุปกรณ์ IoT ที่อยู่ในความยึดครอง
เป็นแคมเปญโฆษณาที่อาจเรียกได้ว่า หาเหาใส่หัว พอสมควรกับกรณีแบรนด์เสื้อผ้าชื่อดัง The North Face ร่วมมือกับเอเจนซี่ Leo Burnett Tailor Made ทำแคมเปญให้แบรนด์ The North Face ติดอันดับค้นหาในอินเทอร์เน็ตด้วยการไปเปลี่ยนรูปสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในวิกิพีเดียให้เป็นรูปที่มีสัญลักษณ์ The North Face อยู่ในรูปด้วย แต่ก็ยังคงเป็นรูปที่มาจากสถานที่เดียวกัน
เช่น ถ้าผู้ใช้งานค้นหาสวิตเซอร์แลนด์ ผู้ใช้ก็จะเจอรูปสวิตเซอร์แลนด์ในวิกิพีเดีย แต่มีนางแบบนายแบบสวมใส่ผลิตภัณฑ์ของ The North Face อยู่ในนั้นด้วย ถือเป็นแคมเปญที่ทำให้แบรนด์มีคนเจอในหน้า Google โดยที่ไม่ต้องจ่ายอะไรเพิ่มเติมเลย
ประเทศจีนนั้นถือเป็นประเทศที่มีการควบคุมโลกออนไลน์อย่างเคร่งครัด และล่าสุดก็เป็นคราวของ Wikipedia ที่ Open Observatory of Network Interference รายงานว่าโดนสั่งบล็อคจากทางการจีนเรียบร้อยแล้วในทุกภาษาตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา จากเดิมที่บล็อคเวอร์ชันภาษาจีนตั้งแต่ปี 2015
ตอนนี้ยังไม่ทราบว่าทำไมจีนจึงตัดสินใจบล็อค Wikipedia ในภาษาอื่น ๆ ด้วย แต่ค่อนข้างแน่นอนว่าอาจเกี่ยวกับงานครบรอบ 30 ปีของการประท้วงจัตุรัสเทียนอันเหมิน ซึ่งโดยปกติจีนมักจะบล็อคหน้าเว็บอยู่แล้ว แต่หลังจาก Wikipedia เปลี่ยนไปใช้ HTTPS ก็ทำให้การบล็อคเป็นหน้าใช้ไม่ได้อีกต่อไป จึงสั่งบล็อคทั้งเว็บเพื่อป้องกันไม่ให้คอนเทนต์บางอย่างออกสู่สายตาประชาชน
Wikimedia Foundation องค์กรผู้ดูแลเว็บไซต์สารานุกรมเสรี Wikipedia ได้ระบุถึงการนำ machine learning มาใช้เพื่อประโยชน์ในการทำระบบการอ้างอิงของ Wikipedia
Wikimedia ระบุว่า กลไกสำคัญที่ทำให้ Wikipedia รักษาคุณภาพระดับสูงเอาไว้ได้นั่นก็คือ inline citation หรือการอ้างอิงในเนื้อหา ซึ่งการอ้างอิงเหล่านี้จะทำให้ผู้อ้างและผู้แก้ไขมั่นใจว่าข้อความในบทความนั้น ๆ สะท้อนแหล่งข้อความอย่างเที่ยงตรง ส่วนเนื้อหาอะไรที่ไม่มีแหล่งข้อมูลชัดเจน จะต้องถูกลบหรือมีการแปะว่า “ต้องการอ้างอิง”
ตอนนี้เว็บไซต์หลายแห่งทั่วยุโรป ได้แก่ Wikipedia, Twitch, PornHub, Reddit ได้ประท้วงกฎหมายด้านลิขสิทธิ์ใหม่ของสหภาพยุโรปซึ่งมีกำหนดการโหวตครั้งสุดท้ายในวันที่ 26 มีนาคมนี้
กฎหมายที่กำลังอยู่ในความสนใจนี้คือ EU Copyright Directive ซึ่งเป็นการอัพเดตกฎหมายด้านลิขสิทธิ์ให้เหมาะสมยุคอินเทอร์เน็ต แต่มีอยู่สองข้อที่ถูกมองว่าเป็นอันตราย ได้แก่
Wikimedia Foundation เจ้าของวิกิพีเดีย ประกาศความร่วมมือกับ Google ให้ผู้ใช้งาน, คนทำเนื้อหา สามารถแปลบทความในวิกิพีเดียโดยใช้ Google Translate ได้โดยตรง
Wikimedia บอกว่าปัจจุบันภาษาที่ใช้ในวิกิพีเดียคิดเป็นสัดส่วน 3% ของภาษาทั้งหมดที่ใช้กันในโลก ซึ่งมีถึงราวกว่า 7,000 ภาษา เป้าหมายของวิกิพีเดียคือการให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลได้ฟรีๆ นั้นยังอยู่อีกไกล Wikimedia จึงร่วมกับ Google นำ Google Translate เข้ามาใช้เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือการแปลให้แก่คนทำเนื้อหา โดยผนวกเอาเครื่องมือเข้ามาบนวิกิพีเดียโดยตรง ตามภาพด้านล่าง
Wikimedia Foundation ประกาศว่า Facebook ได้ร่วมบริจาคเงิน 1 ล้านดอลลาร์ ให้กองทุน Wikimedia Endowment ที่รับผิดชอบโครงการของ Wikipedia
Jimmy Wales ผู้ก่อตั้ง Wikipedia กล่าวว่ารู้สึกยินดี และถือเป็นการเริ่มต้นของความร่วมมือกับ Facebook ในระยะยาวเพื่ออนาคตของ Wikipedia เพื่อการเป็นแหล่งความรู้ฟรีสำหรับทุกคน
ก่อนหน้านี้ผู้บริหาร Wikimedia เคยออกมาเรียกร้องให้บริษัทไอทีรายใหญ่ช่วยกันบริจาคสนับสนุน Wikipedia และก็มี Amazon ที่ประกาศบริจาค 1 ล้านดอลลาร์ ไปเมื่อเดือนกันยายน
ที่มา: Wikimedia
Wikipedia นั้นเป็นแหล่งสารานุกรมออนไลน์ที่มักจะมีลิงก์อ้างอิงไปที่เว็บไซต์อื่น ๆ เสมอ แต่บ่อยครั้งที่เว็บไซต์ที่ Wikipedia อ้างถึงนั้นไม่มีตัวตนแล้วหรือลิงก์เสีย ซึ่ง Internet Archive ที่มีระบบเก็บข้อมูลเว็บไซต์ Wayback Machine ก็ได้เข้ามาช่วยแก้ปัญหานี้
Internet Archive ได้ร่วมกับชุมชน Wikipedia ทำบอทที่ชื่อว่า IABot รันบนเว็บไซต์ Wikipedia เพื่อค้นหาลิงก์เสีย ซึ่งเมื่อบอทเจอลิงก์เสียแล้วก็จะไปค้นใน Wayback Machine รวมถึง web archive อื่น ๆ และนำลิงก์ใหม่แปะลิงก์เข้าไปแทนลิงก์ที่เสียเหล่านั้น เพื่อทำให้ Wikipedia มีข้อมูลที่แม่นยำและตรวจสอบได้
เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา หัวหน้าฝ่ายรายได้ของ Wikimedia มูลนิธิที่ดูแล Wikipedia ออกมากล่าวว่าตอนนี้ Wikipedia ถูกนำไปใช้เป็นแหล่งข้อมูลบนผู้ช่วยอัจฉริยะหลายบริษัท ทั้ง Siri, Google Assistant, Cortana และ Alexa โดยที่ Apple, Google, Facebook, Microsoft ต่างก็มีการสนับสนุนเงินทุนหรือให้ของขวัญพนักงาน Wikimedia บ้าง แต่ Amazon ไม่ได้ให้การสนับสนุนใด ๆ เลย
จากประเด็นข้อเสนอกฎหมายปฏิรูปลิขสิทธิ์ในยุโรปเป็นที่ถกเถียงกันมาก เพราะกฎหมายเรียกร้องให้เว็บไซต์ต้องรับผิดชอบหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์เนื้อหาเกิดขึ้น และยังต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้แหล่งข้อมูลที่อ้างอิงมาด้วย จนเว็บไซต์ Wikipedia ขึ้นโลโก้สีดำเป็นการประท้วงเพราะตัวกฎหมายไปละเมิดสิทธิเสรีภาพทางข้อมูล
ล่าสุด ในการโหวตของสภายุโรปได้ปัดตกข้อเสนอกฎหมายดังกล่าวไปแล้ว โดยสมาชิกสภาระบุว่าต้องมีการอภิปรายเรื่องนี้ใหม่ และส่งข้อเสนอกฎหมายกลับไปยังคณะกรรมาธิการต่อไป
ถ้าใครเข้า Wikipedia ในภาษาอิตาลี สเปน โปแลนด์ จะไม่สามารถเข้าถึงเนื้อหาที่ต้องการค้นหาได้ จะปรากฎเป็นข้อความและโลโก้เว็บกลายเป็นสีดำ เพราะทางเว็บไซต์ประท้วงที่คณะกรรมการด้านกฎหมายของรัฐสภายุโรป สนับสนุนให้ปฏิรูปเรื่องลิขสิทธิ์เนื้อหาที่กระทบต่อเว็บไซต์และเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ต
ปัญหาข่าวปลอมบนโซเชียลมีเดียทำให้ความพยายามตรวจสอบข้อเท็จจริง และการทำฟีเจอร์ให้คนรวจสอบข่าวได้เป็นสิ่งจำเป็น และแน่นอนว่าแพลตฟอร์มที่คนรู้จักและใช้กันเป็นประจำอย่างวิกิพีเดียก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่คนใช้ตรวจสอบเนื้อหากัน YouTube เองก็แสดงลิงก์วิกิพีเดียใต้คลิปเนื้อหาสมคมคิด ให้ผู้รับข่าวสารได้รับข้อมูลอย่างเท่าเทียมด้วย
Wired เผยแพร่บทความของ Katherine Maher กรรมการบริหารของมูลนิธิวิกิมีเดีย เจ้าของวิกิพีเดีย ว่า Facebook และ Google ควรทำอะไรมากกว่านี้เพื่อสนับสนุนวิกิพีเดียในฐานะที่เป็นแหล่งตรวจสอบข้อมูล เธอบอกด้วยว่า ในแง่หนึ่ง ทีมงานวิกิพีเดียรู้สึกยินดีที่โซเชียลมีเดียตระหนักถึงคุณค่าของวิกิพีเดีย อย่างไรก็ตาม แม้วิกิพีเดียจะเป็นรูปแบบอาสา ให้คนเข้ามาสร้างและแก้ไขเนื้อหาได้ แต่การดำเนินการหลายอย่างใช้ทั้งแรงงาน และเวลา และทรัพยากรอื่นๆ
คดีลิขสิทธิ์ภาพ "ลิงเซลฟี่" ยังคงยืดเยื้ออยู่ โดยมีล่าสุดศาลอุทธรณ์สหรัฐฯ ให้ความเห็นในกรณีนี้ว่าตามกฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐฯ สัตว์ไม่มีสิทธิ์ในภาพถ่ายหรืองานต่าง ๆ ตามที่ PETA ยื่นอุทธรณ์ มนุษย์เท่านั้นที่สามารถอ้างสิทธิ์ได้
เรื่องลิขสิทธิ์ภาพลิงเซลฟี่ เริ่มต้นเมื่อช่างภาพนาม David Slater ไปเดินป่าในอินโดนีเซียเมื่อปี 2011 และถูกลิงกังดำที่ชื่อว่า Naruto ขโมยกล้องไปกดถ่ายภาพเป็นจำนวนหลายร้อยภาพ ซึ่งมี "ลิงเซลฟี่" อยู่ในนั้นด้วย เมื่อภาพแพร่ไปจนถึง Wikimedia Commons คลังภาพของ Wikipedia ทางชุมชนมีความเห็นว่าภาพถ่ายนี้ถูกกดถ่ายโดยลิงไม่ใช่เจ้าของภาพ David Slater ภาพนี้จึงควรเป็นสมบัติสาธารณะ
Wikipedia เพิ่มฟีเจอร์ใหม่สำหรับเว็บไซต์บนเดสก์ท็อป คือการพรีวิวหน้าเว็บเมื่อชี้ไปที่ลิงก์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลคร่าว ๆ เกี่ยวกับสิ่งที่สนใจได้ก่อนที่จะคลิกลิงก์
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อกำลังเข้าไปที่หน้า Andromeda Galaxy ซึ่งอาจจะเจอคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยอย่าง spiral galaxy ซึ่งผู้ใช้อาจจะต้องคลิกลิงก์เพื่อให้เข้าไปยังหน้า Wikipedia ที่อธิบายเรื่องนั้นโดยตรง แต่ด้วยฟีเจอร์ใหม่นี้ ผู้ใช้เพียงเอาเมาส์ชี้ไปที่ลิงก์ก็จะแสดงประโยคคร่าว ๆ พร้อมภาพประกอบ ซึ่งถ้าผู้ใช้สนใจเนื้อหานั้น ๆ สามารถคลิกเข้าไปอ่านต่อได้
Lisa Gruwell หัวหน้าฝ่ายรายได้ของมูลนิธิ Wikimedia กล่าวถึง Wikipedia ว่าเป็นเหมือนโซเชียลมีเดียที่มีการให้บริการข้อมูลที่ฟรี และมีอิสระในการเข้าถึงข้อมูลทั้งหมด แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องการการสนับสนุนทางด้านเนื้อหา และด้านอื่นๆ ด้วย เปรียบได้เหมือนเป็นการแลกเปลี่ยนกันทั้งสองฝ่าย
ในปัจจุบัน เราค้นพบว่า Wikipedia นั้นถูกนำไปใช้เป็นแหล่งข้อมูลอย่างมากผ่านทางผู้ช่วยอัจฉริยะเช่น Siri, Google Assistant หรือ Alexa โดย Wikipedia นั้นเหมือนจะเป็นแหล่งข้อมูลหลักเลยก็ว่าได้ แต่อย่างไรก็ตามทาง Wikipedia นั้นรู้สึกว่ากำลังถูกเอาเปรียบจากบริษัทบางรายที่นำข้อมูลจาก Wikipedia มาใช้ โดยไม่มีการสนับสนุนใดๆ เป็นการตอบแทนเลย