Nikkei Asia รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวใกล้ชิดว่า HP ยักษ์ใหญ่อันดับสองของวงการพีซี เตรียมย้ายฐานการผลิตส่วนหนึ่งมายังประเทศไทยและเม็กซิโก โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนกระจายความเสี่ยงจากฐานผลิตในจีน
ตามข่าวบอกว่า โน้ตบุ๊กภาคธุรกิจ (เช่น แบรนด์ Elitebook, Probook) จะย้ายไปผลิตในเม็กซิโก ส่วนโน้ตบุ๊กคอนซูเมอร์ (เช่น Envy, Pavilion) จะย้ายมาผลิตในไทย และ HP ยังมีแผนจะเปิดโรงงานในเวียดนามอีกแห่งด้วยปีหน้า คาดว่าสัดส่วนการผลิตโน้ตบุ๊กนอกประเทศจีนจะอยู่ราว 5 ล้านเครื่องต่อปี จากทั้งหมดที่ HP ขายได้ราว 55 ล้านเครื่องต่อปี
แอปเปิลยื่นเอกสารเพื่อขออนุมัติ Mac Pro รุ่นใหม่กับหน่วยงาน FCC ของอเมริกา โดยพบข้อมูลน่าสนใจของรายละเอียดสินค้าที่ตัวเครื่อง ระบุว่า
Designed by Apple in California. Product of Thailand. Final assembly in the USA.
ซึ่งแปลว่าชิ้นส่วนและการประกอบส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศไทย แต่งานประกอบขั้นสุดท้ายทำในสหรัฐอเมริกา แตกต่างจาก Mac Pro รุ่นก่อนหน้านี้ปี 2019 ไม่ได้ระบุชื่อประเทศไทย และแอปเปิลเองก็เคยบอกว่ากระบวนการประกอบและผลิตชิ้นส่วนส่วนใหญ่ ทำในอเมริกา
มีรายงานว่ารัฐบาลเวียดนามเปิดเผยว่าบริษัท Quanta Computer ของไต้หวัน วางแผนสร้างโรงงานใหม่ในเวียดนามตอนเหนือที่จังหวัดนามดิ่ญ ซึ่งจะเป็นโรงงานแห่งที่ 9 จากโรงงานทั่วโลกของบริษัท รายงานบอกว่าเงินลงทุนอยู่ที่ราว 120 ล้านดอลลาร์
ทั้งนี้ยังไม่มีรายละเอียดแผนการก่อสร้าง หรือกำหนดเปิดโรงงานในเวียดนาม รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่จะผลิตจากโรงงานแห่งนี้ อย่างไรก็ตาม Quanta Computer เป็นโรงงานผู้ผลิตโน้ตบุ๊กรายใหญ่ของโลก และมีแอปเปิลเป็นหนึ่งในลูกค้ารายสำคัญ จึงมีความเป็นไปได้ว่าแอปเปิลอาจเพิ่มฐานการผลิต MacBook ที่เวียดนามผ่านโรงงานแห่งนี้ (เพิ่มเติม: Quanta Computer มีโรงงานในประเทศไทยที่จังหวัดชลบุรี, อ้างอิง)
เว็บไซต์ Nikkei Asia รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า แอปเปิลกำลังเจรจากับบรรดาซัพพลายเออร์ เพื่อเตรียมตั้งสายการผลิต MacBook ในประเทศไทย ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์ย้ายฐานการผลิตบางส่วนออกจากจีน
ในรายงานไม่ได้ระบุชื่อซัพพลายเออร์ แต่บอกว่าเป็นโรงงานที่ตั้งอยู่ในประเทศอยู่แล้ว และมีการผลิต-ประกอบสินค้าให้กับแบรนด์อื่นด้วย โดยเปิดเผยว่าข้อเสนอแรกแอปเปิลต้องการให้ไปสร้างโรงงานผลิตที่เวียดนาม แต่ซัพพลายเออร์ดังกล่าวเสนอว่าน่าจะตั้งฐานการผลิตที่ไทย เนื่องจากมีพื้นที่และสถานที่อยู่แล้ว โดยคาดว่าจะก่อสร้างสายการผลิตได้เสร็จภายในปีนี้
VNExpress สื่อของเวียดนามรายงานว่า BOE Technology บริษัทผลิตชิ้นส่วนหน้าจอของจีน มีแผนสร้างโรงงานแห่งใหม่ 2 โรงงานในเวียดนาม โดยเงินลงทุนอาจสูงถึง 400 ล้านดอลลาร์
ปัจจุบันลูกค้ารายสำคัญของ BOE คือแอปเปิล ซัมซุง และ LG ซึ่ง BOE ผลิตทั้งชิ้นส่วนหน้าจอ OLED และ LCD มีข้อมูลคาดการณ์จากนักวิเคราะห์ Ming-chi Kuo ว่า BOE อาจเป็นซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนจอ iPhone รายใหญ่ที่สุดในปี 2024
แผนการขยายโรงงานออกมานอกจีนของ BOE เป็นไปตามท่าทีของบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ ที่เริ่มขยายการผลิตโดยลดการพึ่งพาจีนแห่งเดียว เช่นเดียวกับ Foxconn ที่เริ่มขยายการผลิตมายังประเทศอื่นมากขึ้น
Henan Daily สื่อท้องถิ่นในจีนรายงานว่าผู้บริหาร Foxconn ยืนยันว่าตอนนี้โรงงานในภาพรวม กลับมาที่กำลังการผลิตระดับ 90% ของกำลังการผลิตสูงสุดแล้ว ซึ่งถือว่ากลับมาสู่ภาวะที่ปกติ จากก่อนหน้านี้เกิดปัญหาการระบาดของโควิด 19 ทำให้ไม่สามารถผลิตได้เต็มกำลัง
ข้อมูลระบุว่าโรงงาน Foxconn ที่เจิ้งโจว ซึ่งเป็นฐานการผลิตหลักของ iPhone 14 Pro และ iPhone 14 Pro Max ตัวเลขล่าสุดมีพนักงานประมาณ 2 แสนคน และโรงงานพยายามเร่งกลับมาเดินการผลิต เพื่อให้มีสินค้าเพียงพอสำหรับเทศกาลตรุษจีน
ก่อนหน้านี้มีรายงานว่าผลจากการต้องปิดโรงงานช่วงปลายปี ทำให้ไม่สามารถผลิต iPhone ได้ตามที่ต้องการสำหรับขายช่วงปลายปีราว 6 ล้านเครื่อง
รายงานตัวเลขการผลิตรถยนต์ในจีนของเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เปิดเผยว่า Tesla ส่งมอบรถยนต์ที่ผลิตในประเทศจำนวน 100,291 คัน ซึ่งเป็นสถิติใหม่สูงสุดที่มากกว่า 1 แสนคันในเดือนเดียว เพิ่มขึ้น 90% เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายนปี 2021 และเพิ่มขึ้นถึง 40% เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม
อย่างไรก็ตามมีรายงานเพิ่มเติมว่าปัจจัยที่ทำให้ความต้องการ Tesla เพิ่มสูง ส่วนหนึ่งมาจากการทำโปรโมชันลดราคาแบบ referral และแผนคืนเงินผ่านบริษัทประกันภัย ขณะที่คำสั่งซื้อตอนนี้มีจำนวนลดลง อย่างไรก็ตามตัวแทนของ Tesla ได้ปฏิเสธข่าวดังกล่าว
ด้านผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ของจีน BYD ก็รายงานตัวเลขในเดือนเดียวกันที่ 230,427 คัน ซึ่งเป็นสถิติใหม่สูงสุดติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 แล้ว
CNBC อ้างแหล่งข่าวสองรายที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลอินเดีย เผยว่าแอปเปิลได้ติดต่อหารือ เพื่อศึกษาแนวทางย้ายฐานการผลิต iPad มาที่อินเดีย แต่ยังไม่มีข้อสรุปตอนนี้
ปัจจุบันแอปเปิลมีการผลิต iPhone 14 ที่เป็นรุ่นปัจจุบันบางส่วนในอินเดีย จากก่อนหน้านี้โรงงานในอินเดียจะเน้นการผลิต iPhone รุ่นเก่าเป็นหลัก ข่าวการย้ายฐานการผลิต iPad จากจีนมาที่อินเดียเพิ่มเติม จึงสะท้อนการเร่งเพิ่มสายการผลิตที่นี่ให้มากขึ้น
Wall Street Journal รายงานว่าแอปเปิลกำลังเริ่มย้ายซัพพลายเชนบางส่วนออกจากประเทศจีนให้เร็วขึ้นจากเดิม โดยจะย้ายไปอินเดียและเวียดนาม รวมถึงลดการพึ่งพาการจ้างโรงงานของ Foxconn ลงจากเดิม
เหตุผลเป็นเพราะนโยบาย zero-COVID ของรัฐบาลจีน ส่งผลกระทบต่อการผลิต iPhone เข้าเต็มๆ จากกรณีคนงานในโรงงาน Foxconn ประท้วงใหญ่
ก่อนหน้านี้แอปเปิลพยายามกระจายความเสี่ยงจากฐานการผลิตในจีนอยู่แล้วจากเรื่องสงครามการค้าจีน-สหรัฐ แต่พอมีการประท้วง zero-COVID ทำให้แอปเปิลต้องเร่งย้ายฐานให้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ก็ไม่ง่ายเพราะจีนมีจุดแข็งเรื่องเครือข่ายซัพพลายเออร์และวิศวกรการผลิต ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ไม่มีความพร้อมเท่า
Rick Tsai ซีอีโอ MediaTek ให้สัมภาษณ์เปิดเผยว่า สถานการณ์ความตึงเครียดของสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ ส่งผลให้ตอนนี้ลูกค้าบริษัทบางรายเริ่มหารือ ถึงความเป็นไปได้ในการสั่งซื้อชิปที่ผลิตนอกไต้หวันบ้างแล้ว
Tsai บอกว่าในทางปฏิบัติตอนนี้ แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะบอกว่า ให้ใช้ชิปที่ไม่ได้ผลิตจากไต้หวันทั้งหมด แต่ผู้ผลิตสินค้าบางรายเริ่มร้องขอให้กระจายแหล่งผลิตชิป ไม่ว่าจะเป็น อเมริกา เยอรมนี หรือในยุโรป ผสมเข้ามาบ้างแล้ว ทั้งนี้เขาบอกว่าการกระจายฐานการผลิตยังไม่มากนัก แต่เริ่มมีแล้ว
Ming-Chi Kuo นักวิเคราะห์สายแอปเปิลคนดัง โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ ให้ข้อมูลว่าแอปเปิลกำลังปรับยุทธศาสตร์ด้านซัพพลายเชน ให้พึ่งพาจีนน้อยลง
ตัวอย่างที่เห็นกันไปแล้วคือการผลิต iPhone ในอินเดีย ตอนนี้ 80% ของ iPhone ที่ผลิตในอินเดีย (โดยโรงงาน Foxconn) นำไปขายในอินเดียเอง แต่ในอนาคต เราอาจได้เห็นบริษัทใหญ่ๆ ของอินเดียอย่าง Tata Group ร่วมมือกับโรงงานรับจ้างผลิตอย่าง Pegatron หรือ Winstron เพื่อขยายการผลิต iPhone ในอินเดียให้มากขึ้น
ประเด็นถัดมาคือ Kuo บอกว่าแอปเปิลน่าจะย้ายฐานผลิต MacBook ซึ่งปัจจุบันผลิตในจีน 100% และเป้าหมายปลายทางน่าจะเป็นประเทศไทย อย่างไรก็ตาม Kuo ไม่ได้ให้ข้อมูลมากไปกว่านี้
The New York Times เขียนบทความพิเศษที่ชี้ว่า บริษัทเทคโนโลยีใหญ่หลายเจ้าเริ่มทยอยเคลื่อนย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศจีนแล้วโดยมีสาเหตุจากแรงกดดันด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนตั้งแต่สงครามการค้าสมัยประธานาธิบดี Donald Trump และกดดันมากขึ้นหลัง Nancy Pelosi เยือนไต้หวัน ไปจนถึงค่าแรงของจีนที่แพงมากขึ้น และกำแพงภาษีที่มีมาตั้งแต่สมัย Trump
นอกจากนี้ การหยุดชะงักของซัพพลายเชนจากมาตรการ Zero-Covid ที่ล็อคดาวน์ทั้งเมืองตั้งแต่ 2020 และปัจจุบันก็ยังมีอยู่เนืองๆ ทำให้โรงงานในจีนหลายแห่งถูกปิดยังทำให้บริษัทเทคโนโลยีกังวลว่าจะเกิดปัญหาด้านซัพพลายเชนอีกในอนาคต
อินเทล และ MediaTek ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ ในการผลิตชิปสำหรับอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยให้ Intel Foundry Services ส่วนธุรกิจรับจ้า
ผลิตชิปเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่ง MediaTek มองว่าจะช่วยให้บริษัทบริหารซัพพลายเชนได้ดีมากขึ้น จากการเพิ่มกำลังผลิตในอเมริกาและยุโรป
MediaTek เป็นผู้จัดส่งชิปให้กับสมาร์ทโฟนหลายราย โดยที่ผ่านมาใช้โรงงานของ TSMC ในการผลิตเป็นหลัก
ความร่วมมือนี้ เป็นไปตามแผนที่อินเทลประกาศไว้ในยุทธศาสตร์ IDM 2.0 นั่นคือการตั้งหน่วยธุรกิจ Intel Foundry Services หรือ IFS เพื่อรับจ้างผลิตชิปจากลูกค้าภายนอกในทุกสถาปัตยกรรม เนื่องจากมีโรงงานและเทคโนโลยีการผลิตรองรับอยู่แล้ว
มีรายงานจาก Nikkei Asia ว่าแอปเปิลได้เริ่มย้ายการผลิต iPad บางส่วน จากจีนไปที่เวียดนามแล้ว จากที่บริษัทเคยต้องการย้ายการผลิตมาตั้งแต่ต้นปี 2021 แต่ติดปัญหาซัพพลายเชน ซึ่งตอนนี้ปัญหาได้แก้ไขให้ดีขึ้นแล้ว
BYD เป็นบริษัทที่ถูกระบุว่าช่วยในการย้ายการผลิต iPad จากจีนไปเวียดนาม ทำให้ iPad เป็นสินค้าหลักตัวที่สองของแอปเปิลซึ่งมีการผลิตในเวียดนามต่อจาก AirPods
นักวิเคราะห์คาดว่าปัจจัยหนึ่งที่ทำให้แอปเปิลย้ายการผลิตบางส่วนออกจากจีน มาจากการสั่งล็อกดาวน์ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งกระทบต่อการผลิต
ที่มา: MacRumors
AIS เป็นโอเปอเรเตอร์รายแรกๆ ที่ลงทุนกับเครือข่าย 5G เริ่มต้นเจาะตลาดกลุ่มลูกค้าคอนซูเมอร์ เพื่อการใช้งานมือถือที่เร็วและลื่นไหล และชู 5G ว่าเป็นโอกาสสำคัญของเทคโนโลยีอื่นๆ อย่าง AR/VR, IoT, Smart City, Smart Transportation
แต่ในระยะหลังเราเห็นแล้วว่า 5G สามารถนำมาใช้กับกลุ่มธุรกิจองค์กรได้ด้วย Blognone ได้พูดคุยกับคุณธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหาร กลุ่มลูกค้าองค์กร AIS ถึงประเด็นโลกหลังจากนี้ว่า 5G จะมีบทบาทสำคัญอย่างไรต่อไป รวมถึงทิศทางของ AIS ในอนาคต
ที่ผ่านมา AIS ผลักดันการใช้งาน 5G ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing) ซึ่งเป็นภาคส่วนที่จะได้ผลประโยชน์จากการใช้เครือข่าย 5G มากที่สุด จากรายงานของ Author D. Little พบกรณีศึกษาการใช้งาน 5G ในอุตสาหกรรมการผลิตถึง 49% และมีการคาดการณ์ด้วยว่า 5G จะสร้างโอกาสทางธุรกิจสำหรับองค์กรทั่วโลกได้มากถึง 475 ล้านเหรียญภายในปี 2025
ไทยเองถือเป็นหนึ่งในฐานการผลิตสินค้าส่งออกสำคัญ และเพื่อให้ไทยยังสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก จำเป็นต้องปฏิวัติ ยกระดับวงการอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยี
และถือเป็นก้าวสำคัญเมื่อ AIS Business ลงนามความร่วมมือกับ Mitsubishi Electric และ TKK Corporation ร่วมกันนำเสนอโซลูชัน e-F@ctory บนเครือข่าย AIS 5G เพื่อนำมาใช้งานจริง
AIS Business ได้จัดงาน AIS Business Digital Future 2021 - Your Trusted Smart Digital Partner รูปแบบของ Virtual Conference ในหัวข้อ Connected Automotive & Ecosystems in Thailand โดยมีคุณสุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด มาพูดถึงการปรับตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างเป็นระบบ เพื่อต่อสู้กับ Disruption โดยใช้เทคโนโลยียุคดิจิทัลและ IoT หรือ Internet of Things ในการปรับปรุงธุรกิจจากผู้ผลิตรถยนต์ ไปสู่ผู้ให้บริการในการขับเคลื่อน
AIS Business จัดงาน AIS Business Digital Future 2021 - Your Trusted Smart Digital Partner งานสัมมนาออนไลน์ครั้งใหญ่ประจำปี พูดคุยเทรนด์เทคโนโลยีที่จำเป็นในภาคอุตสาหกรรม บทความที่แล้ว Blognone ได้สรุปส่วนหนึ่งจากงานสัมมนาในหัวข้อ 5G กับการเตรียมความพร้อมอุตสาหกรรมสู่ Smart Manufacturing 4.0
อีกหัวข้อยังคงเน้นเรื่อง 5G ในหัวข้อ Is 5G Ready for Smart Manufacturing: How does 5G Transform the Factory Automation มาเจาะรายละเอียดเพิ่มเติมว่า 5G มีส่วนช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมในด้านใดบ้าง และยกกรณีตัวอย่างเครือข่าย 5G ของ AIS ที่ใช้งานจริงแล้วในโรงงานไทยอย่าง Bosch, SNC Former
ผู้เข้าร่วมบรรยายในหัวข้อนี้คือ กรรณิกา ตันติการุณย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบสำหรับธุรกิจองค์กร AIS และ จรัญ สินสวัสดิ์มงคล ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาโครงข่ายอนาคต AIS
ในงาน AIS Business Digital Future 2021 ที่ผ่านทาง AIS Business ผู้นำโซลูชันดิจิทัล แก่กลุ่มองค์กรนำเสนอแนวคิด Your Trusted Smart Digital Partner โดยเปิดช่องทางให้พันธมิตรสำคัญของ AIS ทำงานร่วมกันกับธุรกิจต่างๆ จนก้าวขึ้นมาเป็นผู้ชนะในยุค Digital Transformation
และหนึ่งในหัวข้อที่พลาดไม่ได้ของงานคือหัวข้อ Enterprise 5G Private Network & Edge Computing การพูดคุยเพื่อหาคำตอบว่าความสามารถใหม่ๆ ของเครือข่าย 5G จะช่วยสนับสนุน Digital Transformation สำหรับภาคธุรกิจได้อย่างไร ผู้ร่วมเสวนาในหัวข้อนี้ ได้แก่ AIS ในฐานะผู้นำโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลไทย, Bosch Thailand บริษัทผู้ให้บริการโซลูชัน Industry 4.0 และ SNC Former จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าในเขตพื้นที่อีอีซี มาแลกเปลี่ยนกรณีศึกษาร่วมกัน
ในงาน AIS Business Digital Future 2021 ที่ผ่านทาง AIS Business ผู้นำโซลูชันดิจิทัล แก่กลุ่มองค์กรนำเสนอแนวคิด Your Trusted Smart Digital Partner โดยเปิดช่องทางให้พันธมิตรสำคัญของ AIS ทำงานร่วมกันกับธุรกิจต่างๆ จนก้าวขึ้นมาเป็นผู้ชนะในยุค Digital Transformation
และหนึ่งในหัวข้อที่พลาดไม่ได้ของงานคือหัวข้อ Enterprise 5G Private Network & Edge Computing การพูดคุยเพื่อหาคำตอบว่าความสามารถใหม่ๆ ของเครือข่าย 5G จะช่วยสนับสนุน Digital Transformation สำหรับภาคธุรกิจได้อย่างไร ผู้ร่วมเสวนาในหัวข้อนี้ ได้แก่ AIS ในฐานะผู้นำโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลไทย, Bosch Thailand บริษัทผู้ให้บริการโซลูชัน Industry 4.0 และ SNC Former จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าในเขตพื้นที่อีอีซี มาแลกเปลี่ยนกรณีศึกษาร่วมกัน
Apple มีกองทุน Advanced Manufacturing Fund เพื่อสนับสนุนการจ้างงานในอุตสาหกรรมการผลิตของสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ปี 2017 ล่าสุดประกาศให้ทุน 410 ล้านดอลลาร์กับบริษัท II-VI ผู้ผลิต vertical-cavity surface-emitting lasers (VCSELs) เลเซอร์ที่ใช้สำหรับสแกนพื้นผิว เบื้องหลังเทคโนโลยี Face ID, Memoji, Animoji, การถ่ายภาพพอร์เทรตเซลฟี่ และเลเซอร์ใน LiDAR scanner ของ iPhone
ต่อเนื่องจากข่าว อินเทลยุคใหม่ IDM 2.0 เปิดโรงงานรับจ้างผลิตชิปจากบริษัทข้างนอก ล่าสุด Pat Gelsinger ซีอีโออินเทลให้สัมภาษณ์ว่ากำลังเจรจากับบริษัทออกแบบชิปสำหรับรถยนต์หลายราย เพื่อนำชิปเหล่านี้มาผลิตที่โรงงานของอินเทลแล้ว
ตอนนี้ชิปสำหรับรถยนต์กำลังขาดตลาดอย่างหนัก แต่ตัวชิปเองไม่ได้ต้องการเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยสุดๆ จึงสามารถนำโรงงานเดิมมาปรับใช้ได้เร็ว โดย Gelsinger ไม่ได้ระบุว่าคุยกับบริษัทใดบ้าง แต่ตั้งเป้าว่าจะผลิตชิปสำหรับรถยนต์ให้ได้ภายใน 6-9 เดือน
รัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ยื่นของบประมาณปี 2022 ต่อรัฐสภา โดยส่วนหนึ่งในแผนมีงบประมาณเพื่อศึกษาการผลิตชิปในสหรัฐอเมริกา แก้ปัญหาชิปขาดตลาดและปัญหาเรื่องความมั่นคงด้วย
งบประมาณส่วนนี้ 150 ล้านดอลลาร์ อยู่ภายใต้กระทรวงพาณิชย์ (Department of Commerce) เพื่อย้ายฐานการผลิตกลับอเมริกา (a Future Made in America) โดยจะตั้งสถาบันนวัตกรรมการผลิต (Manufacturing Innovation Institutes หรือ MII) ขึ้นมาใหม่ 2 แห่ง ในแผนระบุว่า MII หนึ่งแห่งจะโฟกัสที่เรื่องการทำให้สหรัฐกลับมาเป็นผู้นำด้านการออกแบบและผลิตเซมิคอนดักเตอร์อีกครั้ง
ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดว่าสถาบัน MII แห่งนี้จะทำอะไรบ้าง และต้องรอรัฐสภาเห็นชอบแผนงบประมาณนี้ก่อนด้วย
Pat Gelsinger ซีอีโอใหม่ของอินเทล ออกมาแถลงทิศทางธุรกิจเป็นครั้งแรกหลังรับตำแหน่ง โดยใช้แนวคิดว่า "IDM 2.0" ปรับโมเดลใหม่เรื่องการผลิตชิปของอินเทล เตรียมเปิดรับงานจากลูกค้าภายนอกบริษัท (อ่านเรื่อง IDM ในบทความ เกิดอะไรขึ้นที่อินเทล ตอนที่ 2: ทำไมอินเทลไป 10 นาโนเมตรยาก แต่ TSMC ทำได้)
แผนการ IDM 2.0 ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
AWS เปิดบริการ Amazon Monitron บริการสำเร็จรูป (end-to-end) สำหรับโรงงานที่ต้องการตรวจสอบสถานะเครื่องจักรว่ายังทำงานได้ดีหรือต้องการการซ่อมบำรุงหรือไม่
ชุดเซ็นเซอร์ของ Monitron ประกอบไปด้วยเซ็นเซอร์ความสั่นไหว (vibration) และอุณหภูมิ ที่เชื่อมกับเกตเวย์ด้วย Bluetooth LE ส่งข้อมูลรายชั่วโมงทำให้เซ็นเซอร์สามารถทำงานด้วยแบตเตอรี่นานถึงสามปี ตัวเกตเวย์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อส่งต่อข้อมูลเข้า AWS อีกคร้ง โดยบริการนี้มีแอปบนโทรศัพท์มือถือมาด้วย ทำให้คนติดตั้งสามารถเซ็ตอัพทั้งระบบผ่านโทรศัพท์มือถือได้เอง