จากข่าวกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฟ้องแอปเปิลกับสำนักพิมพ์ทั้ง 7 ข้อหาสมคบกันกำหนดราคา e-book เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ตอนนี้ก็มีการเคลื่อนไหวจากอเมซอนแล้วครับ
อเมซอนส่งจดหมายแจ้งว่าจะคืนเงิน (บางส่วน) ให้คนที่ซื้อหนังสือจาก 3 สำนักพิมพ์อันได้แก่ HarperCollins, Simon & Schuster และ Hachette ในช่วงเวลาตั้งแต่ 1 เมษายน 2010 ถึง 21 พฤษภาคม 2012 ที่ผ่านมา โดยน่าจะได้รับเงินคืนเล่มละ 0.30 ถึง 1.32 ดอลลาร์ โดยจะเป็นเครดิตเงินคืนลงไปที่บัญชีอเมซอน ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องรอให้ศาลอนุมัติการระงับข้อพิพาทดังกล่าว ซึ่งรวมถึงการคืนเงินให้กับลูกค้า ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า
ผู้ที่ซื้อ e-book ของสำนักพิมพ์ HarperCollins Publishers, Hachette Book Group และ Simon & Schuster ในช่วงเดือนเมษายน 2553 ถึงพฤษภาคม 2555 จะได้รับเงินคืน 0.30-1.32 ดอลลาร์ แตกต่างกันไปตามรายการ e-book
การคืนเงินครั้งนี้เป็นผลจากคดีระหว่างสำนักพิมพ์หลายแห่งกับอัยการในหลายรัฐ ในความผิดฐานรวมหัวกันโก่งราคา e-book ซึ่งแม้เหล่าสำนักพิมพ์ทั้ง 3 แห่งข้างต้นจะยืนกรานว่าไม่ได้ทำอะไรผิด แต่ก็ยินดียุติคดีโดยลงขันกัน 69 ล้านดอลลาร์ เพื่อคืนเงินให้แก่ลูกค้าผู้ซื้อ e-book ในขณะที่ยังมีสำนักพิมพ์อีก 2 แห่ง รวมถึง Apple ตัดสินใจสู้คดีต่อไป
เมื่อสัปดาห์ก่อนกูเกิลประสบความสำเร็จในการประนีประนอมยอมความกับเหล่าสำนักพิมพ์ ในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ของโครงการห้องสมุดดิจิทัล
คดีนี้เริ่มจาก 7 ปีก่อน โดยเหล่าสำนักพิมพ์และกลุ่มผู้แต่งหนังสือรวมตัวกันฟ้องกูเกิลฐานละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยการเผยแพร่สำเนาหนังสือในรูปแบบสื่อดิจิทัล ก่อนที่ภายหลังจะแยกการพิจารณาคดีออกเป็น 2 ส่วน เป็นคดีระหว่างกูเกิลกับเหล่าสำนักพิมพ์ และคดีระหว่างกูเกิลกับกลุ่มผู้แต่งหนังสือ ซึ่งเป็นคดีในส่วนแรกนี้เองที่มีการตกลงยอมความกัน
เงื่อนไขของข้อตกลงที่ไม่เปิดเผยมูลค่านี้ระบุว่า กูเกิลจะทำสำเนาหนังสือหรือบทความในรูปแบบสื่อดิจิทัลโดยมีเนื้อหาไม่เกิน 20% ของหนังสือหรือบทความ และจะอนุญาตให้ผู้ใช้สั่งซื้อหนังสือทั้งเล่มได้
จากข่าว ไมโครซอฟท์ร่วมลงทุนใน Nook ที่แยกบริษัทมาจาก Barnes & Noble เมื่อเดือนเมษายน 2012 ตอนนี้กระบวนการทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้ว โดยกลุ่มธุรกิจ Nook ของ Barnes & Noble เดิมจะแยกออกมาเป็นบริษัทใหม่ชื่อ Nook Media LLC
Nook Media ได้รับเงินลงทุนจากไมโครซอฟท์มูลค่า 300 ล้านดอลลาร์ (เป็นเจ้าของประมาณ 17.6%) โดยธุรกิจของ Nook Media จะมีทั้งอีบุ๊กใต้แบรนด์ Nook และธุรกิจด้านตำราเรียนของ B&N ด้วย
ในโอกาสนี้ William Lynch ซีอีโอของ Barnes & Noble ก็ประกาศว่าเราจะได้เห็น Nook for Windows 8 ในอีกไม่ช้าแน่นอน
Barnes & Noble ที่เซ็นสัญญาร่วมมือด้านอีบุ๊กกับไมโครซอฟท์ ประกาศว่าจะออกแอพสำหรับอ่านอีบุ๊กบน Windows 8 ในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า
William Lynch ซีอีโอของ Barnes & Noble บอกว่าแอพตัวนี้ถือเป็นแอพอีบุ๊กที่ดีที่สุดบน Windows 8 เพราะมันใช้เทคโนโลยีแสดงผลหนังสือและนิตยสารของ Barnes & Noble ที่พัฒนามานาน
เขายังบอกอีกว่าทั้งสองบริษัทคุยกันอยู่เสมอว่าต้องการผลักดันตลาดอีบุ๊กอย่างไร เพราะ Barnes & Noble มีคลังเนื้อหาจำนวนมหาศาล และพยายามนำมันไปสู่ Windows 8 อย่างไรก็ตาม เขายังปฏิเสธไม่ตอบคำถามว่าเราจะได้เห็นแท็บเล็ต Windows 8 แปะตรา Barnes & Noble หรือเปล่า
บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรืออินทัชได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่าบริษัทได้เข้าซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนมูลค่า 57.48 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 25.03 ของบริษัท อุ๊คบี จำกัด (Ookbee) ซึ่งผู้ให้บริการและพัฒนาช่องทางการนำเสนอสิ่งพิมพ์แบบดิจิตอลและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
Ookbee ปัจจุบันให้บริการระบบเผยแพร่สื่อในรูปแบบดิจิตอลทั้งนิตยสาร หนังสือพิมพ์ ตลอดจนหนังสือให้กับสำนักพิมพ์ใหญ่ในไทยหลายแห่ง ทั้งเครือจีเอ็ม, อมรินทร์ และแกรมมี่ โดยมีบนหลายแพลตฟอร์มทั้ง iOS, Android และ BlackBerry ครับ
ฟีเจอร์ทั้งหมดนี้คนไทยไม่ได้ใช้ เพราะ Google Play Books ยังไม่เปิดบริการในประเทศไทยนะครับ (จริงๆ มีแค่ยุโรปบางประเทศและเกาหลี-ญี่ปุ่นเท่านั้นแหละ) แต่ผมเห็นว่าน่าสนใจดีเลยนำมาลงข่าวสักหน่อย
ตัวแอพ Google Play Books ออกอัพเดตใหม่โดยมีฟีเจอร์ที่น่าสนใจดังนี้
Wikipedia ภาคภาษาอังกฤษเพิ่มฟีเจอร์ที่คงถูกใจคออีบุ๊ก เพราะผู้ใช้งานสามารถ export บทความเป็นไฟล์ EPUB เพื่อนำไปอ่านบนอุปกรณ์สำหรับอ่านอีบุ๊กได้ตามชอบ
เป้าหมายของ Wikipedia คือการเผยแพร่บทความให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และไฟล์ EPUB ก็เหมาะสมกับงานนี้เพราะสามารถนำไปอ่านบนอุปกรณ์ที่ไม่ได้เชื่อมกับอินเทอร์เน็ตได้ด้วย
วิธีการใช้งานคือเข้าที่หน้า Book creator เลือกบทความที่ต้องการใส่หนังสือของเรา แล้วสั่งแปลงหนังสือเป็นฟอร์แมตที่รองรับ (นอกจาก EPUB แล้วยังแปลงเป็น PDF หรือ ODF ได้ด้วย)
ผู้เล่นในตลาดเครื่องอ่านอีบุ๊กอีกรายอย่าง Kobo เปิดตัวเครื่องอ่านรุ่นใหม่เพิ่มอีกสามซีรีส์รวด โดยแต่ละซีรีส์มีฟีเจอร์ต่างๆ กันไป ดังนี้ครับ
Kobo Mini
เริ่มต้นด้วยน้องเล็ก Kobo Mini เครื่องอ่านอีบุ๊กหน้าจอขนาด 5" น้ำหนักเพียง 134 กรัม ตัวเครื่องมีหน่วยความจำ 2GB และใช้ซีพียู 800MHz
Kobo บอกว่ารุ่นนี้อยู่ได้นานถึงสองสัปดาห์ (ปิด Wi-Fi) เปิดราคาที่ 79.99 ดอลลาร์สหรัฐฯ มีสองสี ขาว และดำ เปลี่ยนฝาหลังได้
Kobo Glo
เครื่องอ่านอีบุ๊กพร้อมหน้าจอมีไฟ ขนาด 6" ความละเอียด 1024x768 พิกเซล แสดงผลสีเทาได้ 16 ระดับ หน่วยความจำภายใน 2GB (ใส่ micro SD เพิ่มได้) ใช้ซีพียูของ Freescale ความถี่ 1GHz
เมื่อเดือนกรกฎาคม 2555 ทางเว็บไซต์ KindleOK.com ได้จัดทำการสำรวจผู้ใช้ และผู้ที่สนใจใช้ Kindle ในประเทศไทยจำนวนทั้งสิ้น 527 ผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถาม เพื่อคาดการณ์ และศึกษาพฤติกรรมวิธีการใช้งาน Kindle ในประเทศไทย และได้ข้อมูลต่างๆ มาดังนี้
Amazon.co.uk ระบุว่ายอดขายหนังสือในอังกฤษครึ่งปีแรก จำนวนอีบุ๊กแซงหน้าจำนวนหนังสือธรรมดาไปแล้ว 14% (หนังสือ 100 เล่มต่ออีบุ๊ก 114 เล่ม) โดยนับเฉพาะหนังสือที่เสียเงินซื้อเท่านั้น ไม่นับหนังสือฟรีใน Kindle
อย่างไรก็ตาม คาดว่าในช่วงวันหยุดยาว เช่น คริสต์มาส ผู้ซื้อจะมีแนวโน้มซื้อหนังสือธรรมดากันมากขึ้น ทำให้ปีนี้สัดส่วนรวมอาจจะไม่ต่างกันมาก หรือหนังสือธรรมดาอาจจะกลับมาแซงอีกครั้งในช่วงปลายปีก็เป็นไปได้ แต่แนวโน้มที่อีบุ๊กจะเข้ามาแทนที่หนังสือก็ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ทั่วโลก
ที่มา - The Register
ค่าย Barnes and Noble ปล่อยให้อเมซอนนำหน้าด้วยบริการในเว็บไปเสียนาน ตอนนี้ก็มาให้บริการเหมือนกันแล้วในชื่อ Nook for Web โดยรองรับ IE, โครม, ไฟร์ฟ็อกซ์, และซาฟารี ด้านความสามารถก็คล้ายกับ Kindle Reader คือ อ่านหนังสือต่อจากจุดที่อ่านค้างไว้ในเครื่องได้เลย
ข้อเสียสำคัญของ Nook สำหรับคนไทยคงเป็นเรื่องที่มันยังไม่ขายต่างประเทศจนทุกวันนี้ การซื้อหนังสือจากเมืองไทยก็ทำตรงๆ ไม่ได้นอกจากหาช่องทางพิเศษอื่นๆ
ที่มา - Nook
โซนี่เองบุกเบิกตลาดเครื่องอ่านอีบุ๊กมานาน แต่ช่วงหลังโดน Kindle/Nook แย่งความสนใจไปเกือบหมด ล่าสุดโซนี่ออกมาเปิดตัวร้านขายอีบุ๊ก Reader Store เวอร์ชันเว็บ จากเดิมที่มีเฉพาะบนแพลตฟอร์มของโซนี่เองเท่านั้น
อีบุ๊กของโซนี่จะติด DRM โดยใช้เทคโนโลยีของ Adobe ดังนั้นซื้อมาแล้วสามารถนำไปอ่านบนอุปกรณ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ของโซนี่ได้ด้วย (แต่ต้องรองรับ Adobe DRM ด้วยนะครับ)
นอกจากนี้โซนี่ยังอัพเดตแอพ Reader by Sony เวอร์ชันแอนดรอยด์ใหม่ ปรับหน้าตาให้สวยงามขึ้น รองรับการอ่านแนวนอน และปรับเสถียรภาพของแอพให้ดีขึ้น
ถ้าพูดถึงเครื่องอ่านอีบุ๊กในยุคนี้ คงเลี่ยงการพูดถึงเครื่องอ่านตระกูล Kindle ของ Amazon ที่เป็นผู้บุกเบิกการใช้จอภาพ E Ink ในวงกว้างได้ยาก
ข่าวขำๆ ของวงการอีบุ๊กครับ เรื่องมีอยู่ว่าเจ้าของเครื่องอ่าน Nook คนหนึ่งชื่อ Philip Howard ซื้อนิยายคลาสสิคชื่อดัง War and Peace เวอร์ชันที่ขายบน Nook มาอ่าน และเขาก็พบความผิดปกติในนิยายเวอร์ชันนี้คือมีคำว่า 'Nookd' อยู่หลายครั้งซึ่งทำให้ความหมายของประโยคเปลี่ยนไป
เขาเลยเทียบกับนิยายฉบับกระดาษและพบว่าตรงตำแหน่งที่เป็นคำว่า 'Nookd' คือคำว่า 'kindled' (ที่แปลว่า "จุดไฟ" หรือ "เร้าอารมณ์") ต่างหาก
สำหรับนักพัฒนาที่สนใจจะส่ง Metro Style Apps เข้าสู่ Windows Store ช่วงเวลานี้คงกำลังทดลองพัฒนาซอฟต์แวร์โดยเรียนรู้จาก Windows Dev Center กันเป็นส่วนส่วนใหญ่
สำหรับผู้ที่มองหาทางเลือกอื่นๆ วันนี้ผมมีหนังสือเกี่ยวกับการพัฒนา Metro Style Apps จากนักเขียนผู้คร่ำหวอดในการพัฒนาซอฟต์แวร์บน Windows ตั้งแต่เวอร์ชั่นแรกจนถึง Windows 8 มาแนะนำครับ หนังสือเล่มนี้คือ Programming Windows®, 6th Edition โดย Charles Petzold จาก Microsoft Press
Microsoft Press ได้เปิดให้ดาวน์โหลดอีบุ๊กเกี่ยวกับ Windows 7, Windows Phone 7 (เวอร์ชันเปิดตัวเมื่อปี 2010), Visual Studio 2010, Office 2010, Windows Server 2008 R2, SQL Server 2012, SQL Server 2008, Virtualization และ Office 365 ฟรี ทั้งในรูปไฟล์ PDF, Mobi (Kindle) และ epub ใครสนใจสามารถดูรายละเอียกของหนังสือเพิ่มเติมและดาวน์โหลดได้จากที่มาของข่าว
ที่มา: Microsoft Press Blog ผ่าน CodenameWindows
หนังสือนิยายชุด Harry Potter เปิดขายเวอร์ชันอีบุ๊กผ่านแพลตฟอร์ม Pottermore ของตัวเอง ไม่ต้องพึ่งใครที่ไหน แต่นั่นก็ทำให้แพลตฟอร์มเครื่องอ่านอีบุ๊กอย่าง Kindle หรือ Nook ไม่สามารถซื้อหนังสือเหล่านี้ได้โดยตรงไปด้วย (ต้องซื้อจาก Pottermore แล้วไปโหลดใส่กันเอง)
William Lynch ซีอีโอของ Barnes & Noble ให้สัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับ Fortune หลังข่าว ไมโครซอฟท์ร่วมลงทุนใน Nook ประเด็นที่น่าสนใจมีดังนี้
หลังจาก Microsoft ร่วมประกาศลงทุนกับ Nook ที่แยกบริษัทมาจาก Barnes & Noble ก็ทำให้เกิดคำถามที่ว่า Microsoft กับ Nook กำลังพัฒนาเครื่องอ่านอีบุ๊กร่วมกันอยู่หรือไม่
ข่าวนี้ต่อจาก Barnes & Noble พิจารณาแยก Nook ออกเป็นอีกบริษัท ล่าสุดมีความคืบหน้าแล้ว เพราะได้พาร์ทเนอร์เป็นยักษ์ใหญ่อย่างไมโครซอฟท์ มาร่วมลงขันเป็นเงิน 300 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นหุ้น 17.6%
เมื่อวันที่ 11 เมษายนที่ผ่านมากระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (DoJ) ได้ยื่นฟ้อง Apple และสำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ่ทั้ง 7 ราย อันได้แก่ Hachette, HarperCollins, Macmillan, Penguin, Simon & Schuster และ Georg von Holtzbrinck Publishing Group
เท่าที่อ่านในคำฟ้องมีประเด็นสำคัญๆ ที่สรุปได้มีดังนี้
รายงานนี้เป็นผลสำรวจกลุ่มนักอ่านหนังสือชาวอเมริกัน (ที่เป็นผู้ใหญ่) จัดทำโดย Pew Research Center พบว่านักอ่าน eBook จะอ่านหนังสือเฉลี่ย 24 เล่มในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา เทียบกับนักอ่านหนังสือธรรมดาทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ 17 เล่ม
แต่ก็ใช่ว่า eBook จะครองตลาดเพราะแท้จริงจากผลสำรวจเดือนธันวาคมปีที่แล้วยังมีนักอ่านหนังสือธรรมดาอยู่ถึง 72% เทียบกับนักอ่าน eBook ที่เป็นชนกลุ่มน้อยเพียง 17% เท่านั้น (อีก 11% เป็นกลุ่มที่ฟัง Audio Book)
รายงานยังให้ข้อมูลน่าสนใจถึงอัตราการเติบโตของจำนวนนักอ่านที่มีเครื่องอ่าน eBook ไว้ในครอบครองว่ามีถึง 19% จากกลุ่มตัวอย่างที่สำรวจในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ เทียบกับจำนวนเพียง 10% ในการสำรวจเดือนธันวาคมปีที่แล้ว
ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งนี้ นอกจากจะมีการขายหนังสือของค่ายต่างๆ ตามพิธีแล้ว ยังมีการเปิดตัวแพลตฟอร์ม e-book ออนไลน์อีกหนึ่งแห่งด้วยในชื่อ bookmoby (เข้าใจว่าก่อนหน้านี้มี ookbee เจ้าเดียว)
มารู้จักกับ bookmoby กันก่อน... bookmoby นั้นคือร้านขายหนังสือออนไลน์ที่ค่ายหนังสือ นักเขียน และผู้อ่านสามารถพูดคุยกันภายในสังคมนี้ได้ โดยคำว่า moby ในชื่อนั้นมาจากคำว่า My Own Book Yard หมายถึงพื้นที่หนังสือของคุณเอง
หลังจากปล่อยให้แอปเปิลรุกตลาดหนังสือเรียน เปิดตัว iBooks 2 ที่เน้นสื่อการเรียนการสอนแบบอิเล็กทรอนิกส์ยุคใหม่เต็มรูปแบบ มาวันนี้อเมซอนเริ่มไล่ตามในตลาดหนังสือเรียนบ้าง