หลังจากที่ประกาศตัวเว็บไซต์ Pottermore ว่าจะเปิดตัวในเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา หลังจากเลื่อนแล้วเลื่อนอีกจนในที่สุด Pottermore ก็เปิดตัวให้ใช้ซื้อหนังสือ Harry Potter ได้แล้วเมื่อวานนี้ ซึ่งมีทั้งฉบับอีบุ๊คและฉบับหนังสือเสียงวางจำหน่าย
สำหรับอีบุ๊ครองรับการใช้งานบนหลายแพลตฟอร์มเรียกว่าครอบจักรวาลเลยก็ว่าได้ ทั้ง Sony Reader Online, Kindle, Nook, iBook และ Google Play Book รวมถึงมีให้เลือกซื้อทั้งปกเวอร์ชั่นอังกฤษและอเมริกา โดยที่ฉบับอเมริกาจะถูกกว่าเล็กน้อย แต่ก็ตกเล่มละ 8 ถึง 11 เหรียญสหรัฐต่อเล่ม ซึ่งก็พอๆกับราคาขายปลีกฉบับปกอ่อน แต่ที่พิเศษหน่อยคือแบบยกทั้งชุดยังลดได้อีก 10 เปอร์เซนต์
การเข้ามาของ iBook เป็นเครื่องมือต่อรองชั้นดีให้กับสำนักพิมพ์ เพราะก่อนหน้านี้ตลาดอีบุ๊กแทบจะถูกครองโดยอเมซอนอย่างเบ็ดเสร็จ แต่ในตอนนี้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ กำลังเข้าเตรียมจะฟ้องแอปเปิลและสำนักพิมพ์ว่าร่วมมือกันขึ้นราคาในตลาด
ก่อนหน้านี้อเมซอนก็มีนโยบายขายหนังสือในราคาไม่เกิน 9.99 ดอลลาร์เท่านั้นเพื่อจูงใจให้คนมาอ่านอีบุ๊ก แต่หลังจากแอปเปิลเปิดตัว iBook แอปเปิลก็เปิดให้สำนักพิมพ์ตั้งราคาหนังสือได้เอง แต่ขณะเดียวกันก็เซ็นสัญญาว่าสำนักพิมพ์จะไม่ขายหนังสือที่อื่นในราคาที่ถูกกว่าที่ขายใน iBook สัญญาเช่นนี้ทำให้หนังสือที่ขายผ่านแอปเปิลมีราคาถูกที่สุดเสมอ แต่แอปเปิลยืนยันว่าบริษัทไม่ได้พยายามลดการแข่งขันแต่อย่างใด ตรงกันข้ามการที่แอปเปิลเข้ามาในตลาดนี้เป็นการเพิ่มการแข่งขันให้กับตลาด
ความนิยมในอีบุ๊กดูจะเป็นเรื่องน่ากลัวสำหรับสำนักพิมพ์ต่างๆ อย่างมาก นอกจากความนิยมในฝั่งผู้อ่านทั่วไปแล้ว ห้องสมุดใหม่ๆ ก็เริ่มสั่งหนังสือเป็นอีบุ๊กแทนด้วย โดยจะซื้อหนังสือในราคาที่แพงกว่าปรกติเพื่อให้สมาชิกห้องสมุดสามารถยืมออกไปได้ แต่สำนักพิมพ์ขนาดใหญ่อย่าง Random House ก็ตัดสินใจขึ้นลิขสิทธิ์ในหนังสือเหล่านี้เกือบเท่าตัว
ราคาหนังสือที่ห้องสมุดต้องจ่ายให้กับ Random House นั้นจะแบ่งเป็นหนังสือใหม่ อยู่ในช่วง 65-85 ดอลลาร์ หนังสือเก่าที่ออกฉบับปกอ่อนแล้วจะเหลือ 25-50 ดอลลาร์ ส่วนหนังสือเด็กนั้นจะอยู่ในช่วง 35-85 ดอลลาร์สำหรับหนังสือใหม่ และ 25-45 ดอลลาร์สำหรับหนังสือเก่า
หลังจากพ่ายแพ้ในตลาด Flash ตอนนี้ Adobe ก็หันไปหาตลาดใหม่นั่นคือตลาดเนื้อหาดิจิตอลที่น่าจะมากินตลาดสิ่งพิมพ์ที่ทำรายได้ให้ Adobe อยู่เป็นกอบเป็นกำในทุกวันนี้ โดยบุกทั้งตลาด eBook และตลาดโฆษณาไปพร้อมๆ กัน
ตลาด eBook นั้นสินค้าใหม่คือ Digital Publishing Suite มันคือการจัดจุด Adobe InDesign รวมมากับชุดเครื่องมือ Folio Producer ที่ช่วยสร้างหนังสือแบบไฟล์ .folio
สำหรับใช้ขายหนังสือผ่านช่องทางต่างๆ ทั้ง iPad, Android, และ Kindle Fire รวมถึงการกระจายสื่อภายในองค์กรเองด้วย โดยผ่านทาง Adobe Content Viewer ที่สามารถสร้างแอพพลิเคชั่นอ่านหนังสือในแบรนด์ของเจ้าของหนังสือเองได้
Nikkei หนังสือพิมพ์ใหญ่แดนปลาดิบ รายงานว่า อเมซอนพร้อมนำเครื่อง Kindle Touch มาขายในประเทศญี่ปุ่นในเดือนเมษายนนี้ เชื่อกันว่าราคาจะต่ำกว่า 20,000 เยน (ประมาณ 7,490 บาท)
ส่วนเรื่องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ทางอเมซอนจะจับมือกับ NTT DoCoMo ผู้ให้บริการมือถืออันดับหนึ่งของญี่ปุ่น ให้บริการ 3G กับเครื่องอ่านอีบุ๊กตระกูล Kindle ในรุ่นที่สามารถเชื่อมต่อ 3G ได้
ที่มา: The Verge
จากที่เขียนไว้เป็นเกร็ดเรื่องสำนักพิมพ์เพนกวินบุ๊คส์ในข่าวอเมซอนเปิดศึกดึงตัวนักเขียนขายอีบุ๊คกับอเมซอนเท่านั้นไว้เมื่อสองเดือนก่อน วันนี้มีความคืบหน้าแล้วครับว่า สำนักพิมพ์ชื่อดังอย่างเพนกวินบุ๊คส์ประกาศเพิ่มข้อจำกัดการให้บริการ OverDrive ว่าตั้งแต่วันที่ 10 ก.พ.นี้เป็นต้นไป สำนักพิมพ์จะไม่ขายสิทธิ์หนังสือและหนังสือเสียงของสำนักเพนกวินบุ๊คส์ให้กับบริการ OverDrive เพิ่มเติม และยังเพิ่มข้อจำกัดว่าหนังสือในเครือสำนักพิมพ์เพนกวินบุ๊คส์ที่ยังให้บริการอยู่สำหรับคินเดิลจะต้องดาวน์โหลดผ่านสาย USB เท่านั้น ซึ่งนั้นหมายความว่าในที่สุดจะไม่มีหนังสือและหนังสือเสียงของเพนกวินบุ๊คส์ให้บริการผ่านบริการ OverDrive ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งใ
นอกจากเปิดตัว iBooks 2 ที่รองรับหนังสือเรียนแล้วในวันนี้ แอปเปิลยังได้เปิดตัวแอพสำหรับคนที่อยากจะเขียนและขาย eBook ของตัวเอง iBooks Author ซึ่งผู้ใช้ Mac OS X สามารถดาวน์โหลดผ่านทาง Mac App Store ได้ฟรีแล้วตอนนี้
iBooks Author จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถสร้าง eBook ของตัวเองได้ด้วยการเลือกใช้ template ที่แอปเปิลมีให้อยู่แล้ว แล้วก็นำเนื้อหาต่าง ๆ รูปภาพ วีดีโอ ใส่เข้าไปเพิ่มได้ ที่น่าสนใจคือผู้ใช้เองสามารถที่จะสร้าง widget แบบมัลติทัชหรือจะใส่งาน Keynote ของตัวเองเข้าไปได้ด้วย เพื่อทำให้ eBook ของตัวเองสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้
ที่งานแถลงข่าวที่แอปเปิลจัดขึ้นในวันนี้ที่กรุงนิวยอร์ค แอปเปิลได้เปิดตัว iBooks 2 แอพอ่านหนังสือ eBook เวอร์ชั่นใหม่สำหรับอุปกรณ์ iOS โดยในเวอร์ชั่นนี้ตัวแอพจะรองรับหนังสือเรียนที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ (interactive) พร้อมกับได้ประกาศร่วมมือกับค่ายหนังสือดังหลายค่ายได้แก่ McGraw-Hill, Pearson และ Houghton Mifflin Harcourt
ข่าวลือล่าสุดก่อนงานแถลงข่าว แอปเปิลเชิญสื่อร่วมงานแถลงข่าวว่าด้วย "การศึกษา" วันที่ 19 มกราคม
เก็บตกผลิตภัณฑ์น่าสนใจในงาน CES 2012 ครับ หลายคนคงจำจอภาพ Mirasol ของบริษัท Qualcomm กันได้ และปีที่แล้วเราก็เห็นเครื่องอ่านอีบุ๊กตัวแรกที่ใช้จอตัวนี้ (Kyobo ของเกาหลีใต้) กันไปแล้ว
แอปเปิลได้ออกคำเชิญสื่อมวลชนมาร่วมงานแถลงข่าวในวันที่ 19 มกราคมนี้จากที่เคยลือมาก่อนหน้า โดยคำโปรยระบุว่าจะเป็นงานแถ
บริษัท Barnes & Noble รายงานผลประกอบการในช่วง 9 สัปดาห์ปลายปี โดยผลิตภัณฑ์ตระกูล Nook มียอดขายเพิ่มขึ้น 70% จากปีที่แล้ว (ไม่ระบุจำนวนเครื่อง) ส่วนยอดขายเนื้อหาดิจิทัลโต 113%
แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่าคือ Barnes & Noble แถลงว่ากำลังพิจารณาแยก Nook ออกเป็นอีกบริษัท โดยให้เหตุผลว่าธุรกิจดิจิทัลเติบโตอย่างก้าวกระโดด การแยกบริษัทออกมาอาจจะส่งเสริมศักยภาพของ Nook ได้มากกว่าการอยู่กับ Barnes & Noble ที่ธุรกิจหลักยังเป็นการค้าปลีกแบบออฟไลน์
บริษัทบอกว่า "จะพิจารณา" เรื่องนี้ร่วมกับพาร์ทเนอร์ แต่ยังไม่กำหนดระยะเวลาในการตัดสินใจ และอาจลงท้ายด้วยการไม่แยกบริษัทก็ได้
เมื่อวานมีรายงานว่าแอปเปิลกำลังเตรียมที่จะจัดงานแถลงข่าวพิเศษขึ้นปลายเดือนนี้ โดยงานในครั้งนี้จะไม่มีการเปิดตัวฮาร์ด
บริษัทไอทีต่างๆ ออกมาเผยความสำเร็จของยอดขายในช่วงคริสต์มาสกันยกใหญ่ คราวนี้เป็นคิวของ Amazon เจ้าพ่อแห่งร้านค้าปลีก ซึ่งมีผลิตภัณฑ์เด่นอย่าง Kindle ด้วย
จากข่าวลือเรื่องที่ว่าอเมซอนกำลังวางแผนซื้อตัวนักเขียนเมื่อสามเดือนก่อน มาบัดนี้ข่าวเป็นจริงแล้วครับ
อเมซอนเปิดตัวแคมเปญที่ชื่อว่า "KDP Select" โดยที่ผู้เขียนที่ร่วมโครงการนี้ต้องขายอีบุ๊คเล่มนั้นกับอเมซอนเท่านั้น สิ่งที่นักเขียนจะได้รับพิเศษนอกเหนือจากส่วนแบ่งรายได้ซึ่งสูงสุดถึง 70% (นับว่าสูงสุดในบรรดาสำนักพิมพ์ทั้งหลาย) นั้นก็คือส่วนแบ่งในเงินกองกลาง 500,000 เหรียญต่อเดือนทุกๆเดือนนับตั้งแต่เดือนธันวาคมปีนี้ไปถึงสิ้นปีหน้า ถ้าอีบุ๊คของนักเขียนถูกยืมมากครั้งก็จะได้ส่วนแบ่งจากเงินก้อนนี้มากขึ้นโดยตามสัดส่วนไป ส่วนสิทธิ์ในการตีพิมพ์เป็นเล่มนั้นตัวนักเขียนจะเลือกพิมพ์กับสำนักพิมพ์ไหนก็ได้
แนะนำหนังสือเล่มใหม่เกี่ยวกับสตีฟ จ็อบส์อีกเล่มหนึ่ง Letters to Steve: Inside the E-mail Inbox of Apple's Steve Jobs เขียนโดย Mark Milian คอลัมนิสต์ด้านไอทีของ CNN
หนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึงการตอบอีเมลแฟนๆ ของสตีฟ จ็อบส์ ซึ่งเป็นสิ่งแปลกประหลาดสำหรับบุคคลระดับซีอีโอ โดย Mark Milian ได้รวบรวมอีเมลของแฟนๆ จากที่ต่างๆ ที่อ้างว่าส่งไปคุยกับสตีฟ จ็อบส์ มาไว้ให้อ่านในหนังสือเล่มนี้ รวมถึงสัมภาษณ์คนที่เคยได้สนทนากับสตีฟ จ็อบส์ทางอีเมลว่าคิดอย่างไรด้วย
มีขายเฉพาะเวอร์ชันอีบุ๊กบน Kindle Store ราคา 4.99 ดอลลาร์ครับ บทสัมภาษณ์ผู้เขียนอ่านได้จาก Mashable
Kobo ผู้ผลิตเครื่องอ่านอีบุ๊กอีกราย (เพิ่งถูก Rakuten ซื้อกิจการไป) เด
บริษัท Rakuten ยักษ์ใหญ่ด้านอีคอมเมิร์ซของประเทศญี่ปุ่น (เพิ่งซื้อกิจการ Tarad.com ไปเมื่อไม่นานนี้) ประกาศการซื้อกิจการบริษัทอีบุ๊ก Kobo คิดเป็นมูลค่า 315 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
Kobo ถือเป็นบริษัทที่ทำเครื่องอ่านอีบุ๊ก-แพลตฟอร์มการจัดจำหน่ายอีบุ๊กอีกแห่งหนึ่ง ถึงแม้จะโด่งดังสู้รายใหญ่อย่าง Amazon และ Barnes & Noble ไม่ได้ แต่ก็มีฐานลูกค้าอยู่พอสมควร (Kobo ยังเป็นพันธมิตรกับร้านหนังสือ Borders ที่ไม่มีแพลตฟอร์มอีบุ๊กของตัวเอง เพียงแต่ Borders ล้มละลายไปแล้ว)
Barnes & Noble เปิดตัวแท็บเล็ต Nook รุ่นใหม่ และลดราคา Nook รุ่นเก่า ซึ่งตรงตามข่าวหลุดทุกประการ
เว็บไซต์ Engadget ได้เอกสารหลุดมาจาก Barnes & Noble ที่เตรียมตอบโต้คู่แข่งอย่าง Kindle Fire ด้วย Nook Tablet
หน้าตาของ Nook Tablet จะคล้ายๆ Nook Color ในปัจจุบัน ใช้หน้าจอ IPS ขนาด 7" 1024x600, ซีพียู OMAP4 1.2GHz ดูอัลคอร์, แรม 1GB, พื้นที่เก็บข้อมูล 16GB + Micro SD, Wi-Fi และแบตเตอรี่ทำงานได้ 8 ชั่วโมง
Barnes & Noble เรียกมันว่าเป็น Nook Color เวอร์ชันอัพเกรดให้รับชมมัลติมีเดียแบบ HD ได้ และตั้งราคาขายไว้ 249 ดอลลาร์ (แพงกว่า Kindle Fire ซึ่งขาย 199 ดอลลาร์) คาดว่าจะเปิดตัววันที่ 7 พฤศจิกายนนี้
อเมซอนประกาศโครงการ Kindle Owners’ Lending Library โดยอนุญาตให้ลูกค้าที่ซื้อบริการ Amazon Prime สามารถ 'ยืม' หนังสือได้ฟรี โดยมีโควต้าเดือนละหนึ่งเล่มและต้องโหลดผ่านทางเครื่องคินเดิลเท่านั้น สำหรับโปรแกรมคินเดิลบนอุปกรณ์อื่นๆ นั้นไม่สามารถใช้ฟีเจอร์ 'ยืมฟรี' ได้
นอกเหนือจากหนังสือแล้วหากผู้ใช้มีคินเดิลรุ่น Fire ที่กำลังจะส่งมอบ ถ้าสมัคร Prime ด้วยก็สามารถโหลดหนังและรายการทีวีต่างๆ ที่ร่วมโครงการกับอเมซอนมาดูบนเครื่องได้ฟรีๆ
หลังจากอเมซอนออก Kindle Fire สงครามราคาแท็บเล็ตก็รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดร้านขายอีบุ๊กอย่าง Kobo ก็ออก Kobo Vox มาบ้างแล้ว
ส่วนที่ต่างออกไปคือ Kobo ใช้ Android 2.3 รุ่นปรกติ มากับหน้าจอ AFFS+ ความละเอียด 1024x800 หน่วยความจำภายใน 8GB และใส่ microSD ได้
เริ่มส่งมอบปลายเดือนนี้ แต่ Kobo นั้นไม่สนใจทำตลาดนอกสหรัฐฯ นัก บ้านเราคงเอามาใช้งานยากสักหน่อย
น่าสนใจว่าสเปคของ Kindle Fire ซึ่งไม่ได้สูงอะไรนักแต่ทำราคาอีกช่วงหนึ่งที่คนซื้อกันได้ง่ายขึ้น โดยยอมลดสเปคลงมา เร็วๆ นี้เราคงเห็นแท็บเล็ตในย่านราคา 6,000-7,000 บาทในเร็ววันนี้
ที่มา - Kobo
สภาพความสัมพันธ์ระหว่างอเมซอนและสำนักพิมพ์นั้นเป็นความสัมพันธ์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกจากการที่อเมซอนครองตลาดอีบุ๊กอยู่เป็นส่วนใหญ่โดยที่สำนักพิมพ์ไม่มีศักยภาพในการทำตลาด และคู่แข่งรายอื่นๆ เช่น Barnes & Noble หรือ Apple iBook นั้นยังตามหลัง Kindle อยู่ห่าง ที่ผ่านมาอเมซอนพยายามกำหนดราคาอีบุ๊กไม่ให้สำนักพิมพ์กำหนดราคาด้วยตัวเอง แต่ก็จบลงด้วยการยอมแพ้ต่อสำนักพิมพ์ ในปีนี้สงครามรอบใหม่อาจจะกำลังเกิดขึ้นเมื่ออเมซอนกำลังเปลี่ยนตัวเองมาเป็นสำนักพิมพ์เสียเอง
หนังสือพิมพ์ The New York Times อ้างแหล่งข่าวภายใน ระบุว่าปีนี้อเมซอนกำลังพิมพ์หนังสือของตัวเองทั้งหมด 122 เล่มโดยขายทั้งรูปแบบอีบุ๊กและหนังสือปรกติ
นอกจากแท็บเล็ต Kindle Fire ที่เป็น "พระเอก" ของงานแถลงข่าว Amazon ครั้งนี้ เรายังได้เห็น Kindle รุ่นใหม่ที่หลายคนรอคอยอีก 2 รุ่น
Kindle 4
Amazon เรียกมันว่า "Kindle" เฉยๆ ไม่มีชื่อรุ่นห้อยท้าย (หรือ New Latest Generation Kindle ซึ่งตอนออก Kindle 3 ก็เรียกแบบนี้) แต่เพื่อป้องกันความสับสน ผมขอเรียกมันเป็น Kindle 4 ตามลำดับชั้นของมันนะครับ
หนังสือพิมพ์ Wall Street Journal รายงานข่าววงในว่า Amazon กำลังเจรจากับสำนักพิมพ์หลายราย เพื่อเปิดบริการเช่าอีบุ๊กแบบเหมาจ่ายรายปี
บริการนี้จะมีลักษณะเดียวกับการใช้เช่าวิดีโอ-ดีวีดีของบริษัท Netflix นั่นคือลูกค้าจ่ายค่าสมาชิกรายเดือนหรือรายปี โดยมีโควต้าในการยืมวิดีโอจำนวนหนึ่ง (เช่น 3-5 เรื่อง) กระบวนการคือลูกค้าเลือกวิดีโอผ่านหน้าเว็บ ได้รับวิดีโอทางไปรษณีย์ ดูจนจบแล้วส่งคืนทางไปรษณีย์ ก็จะได้โควต้าคืนกลับมาเพื่อวิดีโอเรื่องอื่นต่อไป
กรณีของ Amazon คาดว่ามันจะอยู่บนแพลตฟอร์มอีบุ๊ก Kindle ที่มีอยู่แล้ว โดยเปลี่ยนจากการส่งไปรษณีย์เป็นสิทธิในการโหลดอีบุ๊กมาอ่านแทน แต่ระบบการนับโควต้าน่าจะคล้ายๆ กัน