Generative AI ถูกนำมาสร้างสรรค์ผลงานทั้งในวงการศิลปะ, ภาพยนตร์ รวมไปถึงอุตสาหกรรมเพลง แต่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาอัลบั้มเพลงที่ถูกสร้างจาก AI ให้เลียนแบบเสียงของศิลปินชื่อดัง ที่มีชื่ออัลบั้มว่า UTOP-AI มีเพลงอยู่ในอัลบั้ม 16 เพลง ซึ่งรวมเสียงของศิลปินอย่าง Travis Scott, Drake, Baby Keem, และ Playboi Carti เป็นต้น ได้ถูกอัปโหลดขึ้น Youtube และ SoundCloud
ประเด็นศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานกับ AI สร้างเนื้อหาหรือ Generative AI ในมุมมองการถูกละเมิดลิขสิทธิ์เป็นเรื่องที่ถูกขยายผลไปในหลายวงการ ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเด็นดังกล่าวเกิดขึ้นในวงการเพลง เมื่อ AI สามารถเลียนแบบเสียงศิลปินไปได้ไกลมากขึ้น
เรื่องนี้เริ่มต้นเมื่อในโซเชียลแพลตฟอร์มต่าง ๆ มีการปล่อยเพลง Heart on My Sleeve ที่ร้องด้วยศิลปินที่สร้างเสียงขึ้นด้วย AI โดยอาศัยข้อมูลเสียงของ Drake และ The Weeknd ตอนนี้เพลงดังกล่าวถูกลบออกแล้วทั้งจากแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งต่าง ๆ และ TikTok แต่อาจพอหาฟังได้จากคลิปที่ยังไม่ได้ลบ โดยตัวเลขนั้นเพลงถูกสตรีมไปเกือบล้านครั้ง
ต่อจากข่าว Getty Images ยื่นฟ้องศาลอังกฤษ ต่อบริษัท Stability AI ข้อหานำภาพไปเทรน AI โดยไม่ขอลิขสิทธิ์ ล่าสุด Getty Images ฟ้องคดีแบบเดียวกันในสหรัฐอเมริกาด้วย
ในคำฟ้องของ Getty Images ระบุว่าบริษัท Stability AI ขโมยภาพ 12 ล้านภาพรวมถึงข้อความอธิบายภาพ (เพื่อนำไปสอน AI) จากเว็บไซต์ Getty Images และ iStock ไปใช้งานเทรนโมเดล Stable Diffusion โดยไม่ขออนุญาต
Getty Images ประกาศยื่นฟ้องบริษัท Stability AI ผู้สร้างโมเดล Stable Diffusion ต่อศาลลอนดอน ในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ภาพในสังกัดของ Getty Images นับล้านภาพ เพื่อนำไปใช้เทรนโมเดลของตัวเอง
Getty Images ยังแสดงจุดยืนว่าเทคโนโลยี AI มีอนาคตต่อวงการสร้างสรรค์ แต่ถ้าอยากได้ภาพไปเทรนก็มีแพ็กเกจเฉพาะงานลักษณะนี้ขายด้วย ซึ่ง Stablility AI ตั้งใจเพิกเฉยและนำภาพมาใช้โดยไม่มีลิขสิทธิ์
คดีนี้เป็นอีกคดีต่อเนื่องจาก กลุ่มนักวาดรวมตัวกันฟ้อง Stability AI ด้วยข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ภาพเช่นกัน
ที่มา - Getty Images
ศิลปินและนักวาดกลุ่มหนึ่ง ยื่นฟ้องบริษัทด้าน AI สายวาดภาพคือ Stability AI, DeviantArt, Midjourney ที่ใช้อัลกอริทึม Stable Diffusion สร้างภาพวาด ในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์
Stable Diffusion เป็นเอนจิน AI ของบริษัท Stability AI ออกมาในเดือนสิงหาคม 2022 โดยเรียนรู้จากภาพวาดนับล้านบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งศิลปินกลุ่มนี้บอกว่าละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะนำภาพไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้วาดก่อน
ผู้ฟ้องคดีนี้ประเมินว่า Stable Diffusion เรียนรู้จากภาพจำนวน 5 พันล้านภาพ หากคิดความเสียหายภาพละ 1 ดอลลาร์ มูลค่าจะสูงถึง 5 พันล้านดอลลาร์ และเชิญชวนให้ศิลปินคนอื่นๆ มาร่วมฟ้องแบบกลุ่ม (class-action) ด้วยกัน
Riot Games ฟ้องบริษัทเกมจีน NetEase ในข้อหาลอกหลายอย่างของเกม Valorant ไปใช้กับเกม Hyper Front ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นตัวละคร แผนที่ อาวุธ เป็นต้น
Hyper Front เป็นเกมยิงแบบ 5v5 เหมือน Valorant แต่มีเฉพาะบนมือถือ
Riot Games ยื่นฟ้องศาลในหลายประเทศ เช่น อังกฤษ เยอรมนี บราซิล สิงคโปร์ ฯลฯ ซึ่งคำฟ้องระบุว่าเคยติดต่อ NetEase ให้แก้ไขแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นคือการเปลี่ยนนิดๆ หน่อยๆ แต่ภาพรวมยังเป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเช่นเดิม ในคำฟ้องจึงขอให้ศาลสั่งปิดเกม Hyper Front ไปเลย
ระบบตรวจสอบและป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์และเพลงของ Twitter ใช้งานไม่ได้ ทำให้มีผู้ใช้จำนวนมากโพสต์เธรดภาพยนตร์ทั้งเรื่องลงบนแพลตฟอร์ม ซึ่ง The Verge คาดว่าที่ระบบใช้ไม่ได้ส่วนหนึ่งมาจากที่มีพนักงานลาออกจากบริษัทหลายร้อยคน
มีผู้ใช้รายหนึ่งโพสต์เธรดภาพยนตร์ Avatar (2009) ในวันที่ 17 พฤศจิกายน จนมาถึงวันที่ 19 พฤศจิกายน Twitter ก็ยังไม่ได้จัดการกับโพสต์ดังกล่าว รวมถึงมีผู้โพสต์ภาพยนตร์เรื่อง The Fast and the Furious: Tokyo Drift ด้วย ทั้งนี้ ขณะนี้ Avatar ได้ถูก Twitter ลบไปแล้วเพราะปัญหาด้านลิขสิทธิ์ ส่วนบัญชีที่โพสต์ The Fast and the Furious ถูกระงับชั่วคราวซึ่งไม่แน่ว่ามาจากเรื่องลิขสิทธิ์หรือไม่
Adrian Kwiatkowski แฮคเกอร์ชาวอังกฤษถูกตัดสินจำคุก 18 เดือน โดยยอมรับผิดใน 19 กระทงฐานขโมยทรัพย์สิน และละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา หลังจากแฮคเอาเพลงที่ยังไม่ปล่อยในขณะนั้นของ Ed Sheeran และเพลงของ Lil Uzi Vert แรปเปอร์อเมริกันอีก 12 เพลง นำไปขายในเว็บมืดเพื่อแลกกับเงินคริปโตมูลค่า 131,000 ปอนด์
อัยการสหราชอาณาจักรระบุว่า Kwiatkowski ได้แฮคบัญชีใช้งานของศิลปินที่ใช้สำหรับระบบเก็บข้อมูลบนคลาวด์ โดยจากการตรวจค้นหลังการจับกุม พบว่าแฮคเกอร์มีเพลงที่ยังไม่ปล่อยของศิลปิน 89 คนรวมกัน 1,263 เพลงอยู่ในครอบครอง ทั้งนี้ไม่มีการระบุชื่อว่าผู้ให้บริการคลาวด์ที่เกี่ยวข้องกับการแฮคครั้งนี้คือรายใด
OpenSea เว็บไซต์ซื้อขาย NFT รายใหญ่ของโลก ประกาศปรับปรุงระบบการตรวจสอบไฟล์ภาพที่ถูกทำสำเนาหรือดัดแปลงอย่างไม่ถูกต้องเพื่อมาทำ NFT (copyminting) รวมถึงระบบยืนยันตัวตนของผู้ใช้ที่ดีกว่าเดิม
ฝั่งการป้องกัน copyminting ใช้ทั้งซอฟต์แวร์ image recognition ไล่ตรวจภาพทั้งหมดในระบบ และเช็คได้ว่าเป็นภาพที่กลับด้าน หมุน หรือดัดแปลงแบบอื่นๆ กับใช้แรงคนช่วยตรวจสอบว่าถูกต้องแค่ไหน การตรวจสอบจะมีผลกับทั้งภาพเก่าในระบบ และภาพใหม่ที่ถูกส่งเข้ามา
DuckDuckGo เว็บไซต์เสิร์ชเอนจินเน้นความเป็นส่วนตัวได้ถอดเว็บไซต์ปล่อยคอนเทนต์ละเมิดลิขสิทธิ์รวมถึงเว็บไซต์ดาวน์โหลดวิดีโอจาก YouTube หลายเว็บออกจากผลการค้นหา
TorrentFreak รายงานว่า เว็บไซต์ที่ถูกถอดจากผลการค้นหา DuckDuckGo มีทั้ง The Pirate Bay, 1337x, Fmovies และ youtube-mp3 โดยทางเว็บไซต์ระบุว่า DuckDuckGo ถอดเว็บเหล่านี้ออกจากผลการค้นหาทุกประเทศ
นอกจาก DuckDuckGo แล้ว Google เองก็ต้องลบผลการค้นหาเว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธิ์เช่นกัน (แต่กรณี Google เป็นแค่บางประเทศ) และคาดกันว่า DuckDuckGo น่าจะโดนแจ้งเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์จึงทำให้ต้องนำเว็บไซต์กลุ่มนี้ออกจากผลการค้นหา
Wired UK มีบทความเล่าถึงปัญหาของ OpenSea แพลตฟอร์มซื้อขาย NFT ที่มาแรงที่สุดในตอนนี้ แต่การเติบโตที่รวดเร็วก็ตามมาซึ่งปัญหามากมาย ทั้งเรื่องชิ้นงานปลอม-ก๊อปปี้มา, พนักงานทุจริต และช่องโหว่ความปลอดภัย
Wired ชี้ว่าเหตุผลสำคัญเกิดจาก OpenSea เติบโตเร็วมาก เพราะเลือกแนวทางเร่งโตจากการเปิดให้สร้าง (mint) NFT ฟรี จนเจอปัญหาการสเกลทั้งโครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรคนไม่ทัน บริษัทเพิ่งมีผู้บริหารฝ่ายความปลอดภัย (Chief Security Officer) คนแรกเมื่อเดือนธันวาคม 2021 นี้เอง
Cent แพลตฟอร์มประมูล NFT (เคยเป็นที่ประกาศขาย NFT ข้อความทวีตแรกของโลก) ประกาศหยุดการทำธุรกรรมเกือบทั้งหมดชั่วคราว หลังเจอปัญหาว่างาน NFT ส่วนใหญ่เป็นของปลอม ของก๊อปปี้ ของละเมิดลิขสิทธิ์
Cameron Hejazi ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Cent ให้สัมภาษณ์กับ Reuters ว่านี่เป็นปัญหาระดับโครงสร้างของวงการ NFT เลยทีเดียว โดยปัญหาแบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ ขาย NFT ที่ก็อปปี้มา, นำเนื้อหาที่ไม่ใช่ของตัวเองมาทำ NFT, และขายชุดของ NFT ที่มีลักษณะคล้ายหลักทรัพย์
Hejazi บอกว่า Cent พยายามแบนบัญชีผู้ใช้ที่มีปัญหา แต่ก็เป็นเกมแมวไล่จับหนูไปเรื่อยๆ ไม่มีวันจบสิ้น แม้ว่า Cent เป็นแพลตฟอร์ม NFT รายเล็กที่มีผู้ใช้ราว 150,000 คนเท่านั้น
บริษัทสำนักพิมพ์การ์ตูนรายใหญ่ของญี่ปุ่นอย่าง โคดันชะ, ชูเอชะ, โชกะคุคัง และ คาโดคาวะ เตรียมรวมตัวกันฟ้องผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้ง Cloudflare ที่ศาลเขตโตเกียวในสัปดาห์นี้ ข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์โดยการโฮสต์เว็บไซต์ที่เปิดให้อ่านการ์ตูนเถื่อน มียอดวิวรวมกันกว่า 300 ล้านวิว และมีการ์ตูนกว่า 4,000 เรื่อง โดยจะเรียกร้องค่าเสียหายเป็นเงิน 400 ล้านเยน หรือราว 115.5 ล้านบาท
วงการงานศิลปะ NFT กำลังเจอบททดสอบสำคัญ เมื่อมีคนนำภาพชิ้นงานยอดนิยมอย่าง CryptoPunks หรือ Bored Ape Yacht Club (BAYC) ซึ่งปัจจุบันมีราคาแพงมากแล้ว ไปกลับด้านซ้าย-ขวา แล้วนำขึ้นมาขายใหม่บนแพลตฟอร์มซื้อขาย NFT ต่างๆ อย่าง OpenSea
กรณีของ CryptoPunks มีภาพล้อเลียนใช้ชื่อว่า CryptoPhunks (เติม h) ส่วน Bored Ape Yacht Club มีถึง 2 โครงการคือ Phunky Ape Yacht Club (PAYC) กับ PHAYC (ไม่มีชื่อเต็ม แต่ตั้งใจให้อ่านว่า เฟค)
สตรีมมิ่งของดิสนีย์นั้น นอกจากจะมี Disney+ แล้ว ยังมีอีกแบรนด์ด้วยคือ Star+ ซึ่งจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในละตินอเมริกา 31 สิงหาคมนี้ เป็นสตรีมมิ่งสแตนด์อะโลนฉายเนื้อหาจากค่าย ESPN และหนังซีรีส์การ์ตูนในเครือ Disney, FX, 20th Century Studios, National Geographic รวมถึงมีเนื้อหาออริจินัลของตัวเอง
อย่างไรก็ตาม ด้วยชื่อ Star+ ซึ่งไปคล้ายกับบริการสตรีมมิ่งในพื้นที่เดิมอย่าง Starz ทำให้บริษัท Starz ต้องมาฟ้องร้องดิสนีย์ว่าขโมยชื่อทางการค้าไปใช้ และจะสร้างความสับสนในกลุ่มลูกค้า
ต่อจากข่าวเมื่อเดือนที่แล้ว GitHub ปิดหน้าเว็บโครงการ youtube-dl สคริปต์สำหรับดาวน์โหลดวิดีโอออนไลน์ จากคำขอของสมาคมอุตสาหกรรมเพลงของสหรัฐอเมริกา (RIAA)
วันนี้ GitHub ประกาศปลดแบนโครงการ youtube-dl แล้ว หลังมูลนิธิ Electronic Frontier Foundation (EFF) เข้ามาช่วยสนับสนุน และชี้แจงว่า youtube-dl ไม่ได้ละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกา Digital Millennium Copyright Act (DMCA) ตามที่ RIAA กล่าวอ้าง
GitHub ปิด repository ของโปรแกรมคอมมานด์ไลน์ youtube-dl ที่ใช้ดาวน์โหลดไฟล์วิดีโอจาก YouTube ตามคำขอของสมาคมอุตสาหกรรมเพลงของสหรัฐอเมริกา (RIAA)
youtube-dl เป็นสคริปต์ภาษา Python ที่ใช้ดาวน์โหลดไฟล์วิดีโอจาก YouTube และเว็บฝากวิดีโออื่นๆ โดยถือเป็นโครงการยอดนิยมตัวหนึ่งบน GitHub มีคนให้ดาว 7.2 หมื่นครั้ง และถูก fork ออกไป 1.2 หมื่นครั้ง
เป็นคดีที่ลากยาวข้ามทศวรรษ คดีระหว่างออราเคิลกับกูเกิล ในประเด็น Android ละเมิดลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรของ Java เริ่มต้นในเดือนสิงหาคม 2010 และต่อสู้กันมาในหลายศาล ตอนนี้คดีเดินทางมาถึงศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกา (Supreme Court) แล้ว
ย้อนความแบบสั้นๆ คือ ศาลชั้นต้นตัดสินให้กูเกิลชนะในปี 2012 แต่ศาลอุทธรณ์ตัดสินให้ออราเคิลชนะในปี 2018 ทำให้กูเกิลยื่นเรื่องให้ศาลสูงสุดตัดสิน กำหนดเดิมคือศาลเริ่มไต่สวนครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2020 แต่เลื่อนมาเป็นเดือนตุลาคมเพราะสถานการณ์ COVID-19
ประเด็นหลักที่ต่อสู้กันยังเป็นเรื่อง API ของ Java ว่ามีลิขสิทธิ์หรือไม่ และถ้ามี การที่กูเกิลนำไปใช้งานกับ Android ถือเป็นการใช้งานที่เป็นธรรม (fair use) หรือไม่
Facebook เตรียมเพิ่มความสามารถใหม่ใน Rights Manager ผ่าน Creator Studio ปกป้องการละเมิดลิขสิทธิ์ สามารถมอนิเตอร์และแจ้งเจ้าของรูปภาพให้รู้ได้เมื่อรูปที่ตัวเองทำขึ้นถูกนำไปโพสต์ใหม่โดยเพจอื่นหรือบัญชีอื่น ทั้งบน Facebook และ Instagram
Twitter แบนข้อความทวีตของ Donald Trump อีกแล้ว โดยคราวนี้ด้วยเหตุผลว่าวิดีโอที่ Trump โพสต์นั้น "ละเมิดลิขสิทธิ์"
ในวิดีโอนี้ ทีมงานของ Trump นำคลิปข่าวจาก CNN ซึ่งเป็นไม้เบื่อไม้เมากันมานาน มาตัดต่อใหม่ ซึ่ง Twitter ซ่อนการแสดงผลของวิดีโอนี้ โดยขึ้นป้ายเตือนว่า "manipulated media" ไว้ใต้โพสต์ และข้อความแทนตัวคลิปวิดีโอว่าถูกปิดกั้น จากการแจ้งของเจ้าของลิขสิทธิ์
เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม Twitter เพิ่งขึ้นป้ายเตือนใต้โพสต์ และซ่อนโพสต์ของ Trump มาแล้วรอบหนึ่ง
กระทรวงโทรคมนาคมและศิลปะออสเตรเลีย (Department of Communications and the Arts) ออกรายงานการสำรวจการบริโภคเนื้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ประจำปี 2019 นับเป็นปีที่ 5 ที่กระทรวงสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคต่อเนื่องกัน และพบว่าอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์นั้นต่ำลงอย่างต่อเนื่อง
การสำรวจแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มเนื้อหา ได้แก่ เพลง, วิดีโอเกม, ภาพยนตร์, รายการโทรทัศน์ นอกจากนี้ปีนี้เป็นปีแรกที่แยกหมวดหมู่รายการกีฬาออกมา จึงยังไม่มีตัวเลขเปรียบเทียบ
YouTube ประกาศเพิ่มเครื่องมือใหม่สำหรับผู้ผลิตคอนเทนต์ เพื่อช่วยค้นหาว่าวิดีโอของตนถูกขโมยไปอัพโหลดซ้ำหรือไม่ เรียกว่า Copyright Match
โดย YouTube บอกว่าที่ผ่านมาเจ้าของคอนเทนต์อาจต้องค้นหาวิดีโอที่ถูกนำไปอัพโหลดซ้ำเอง และเครื่องมือที่ YouTube มีให้ก็ยังไม่สะดวกพอ จึงออกมาเป็น Copyright Match ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานคือ หลังจากมีการอัพโหลดวิดีโอตัวที่ถูกต้องเข้ามา YouTube จะสแกนวิดีโออื่นที่ถูกอัพโหลดว่าเหมือนหรือคล้ายกับวิดีโอที่มีอยู่หรือไม่ และแจ้งเตือนมายังเจ้าของคอนเทนต์ในแถบ Matches เพื่อให้ตัดสินใจดำเนินการต่อไป
จากกรณี AIS หยุดถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกบน AIS Play และ Playbox หลังโดน True ฟ้อง ล่าสุด AIS ออกมาชี้แจงเพิ่มเติมแล้วว่า กล่อง Playbox ที่ต่อกับทีวีจะกลับมาดูฟุตบอลโลก 2018 ได้ มีแค่แอพ AIS Play บนอุปกรณ์พกพาเท่านั้นที่ไม่สามารถดูได้ การเปลี่ยนแปลงจะมีผลตั้งแต่คืนนี้ (3 ก.ค. 2561) เป็นต้นไป
AIS ระบุว่าได้รับแจ้งจากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางในวันนี้ ทำให้บริษัทกลับมาถ่ายทอดฟุตบอลโลกบน Playbox ดังเดิม
ยอดสมาชิกผู้ใช้งาน Playbox ตอนนี้อยู่รปะมาณ 4 แสนราย ส่วนผู้ใช้แอพ AIS Play มีประมาณ 5 ล้านราย
ที่มา - AIS (PDF)
AIS ประกาศหยุดถ่ายทอดฟุตบอลโลก 2018 ผ่านกล่อง Playbox และแอพ AIS Play หลัง TrueVisions ยื่นฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศกลาง และศาลสั่งให้ AIS ต้องยุติการถ่ายทอดสด
การเปลี่ยนแปลงจะมีผลในเวลา 17.00 น. ของวันที่ 28 มิถุนายน 2018 (วันนี้)
PUBG Corp. บริษัทเจ้าของเกมดัง PlayerUnknown’s Battlegrounds ยื่นฟ้องบริษัทเกมจีน Netease Inc. ข้อหาก๊อปปี้แนวทางของเกมไปใช้กับเกมมือถือ Rules of Survival และ Knives Out
กระแสความนิยมของ PUBG ทำให้เกิดเกมเลียนแบบแนว Battle Royale ขึ้นมากมาย โดย PUBG มอบสิทธิให้ Tencent คู่แข่งของ Netease ทำเกม PUBG Mobile เวอร์ชันมือถือ
PUBG Corp. ระบุว่าถึงแม้มีเกมเลียนแบบตัวเองมากมาย แต่ Netease เลียนแบบมากเกือบทุกอย่าง ไม่ใช่เฉพาะแนวทางของเกม แต่รวมถึงไอเทมหลายอย่าง เช่น กระทะ ไก่ ด้วย การฟ้องครั้งนี้ PUBG Corp. ต้องการให้ Netease นำเกมออกจาก App Store และ Play Store รวมถึงเรียกค่าเสียหาย 150,000 ดอลลาร์ต่อชิ้นงานที่ละเมิดลิขสิทธิ์