เว็บไซต์ VentureBeat รายงานข่าวว่า Arvind Krishna ซีอีโอของ IBM ตอบคำถามในงานสัมมนา Think 2024 ของบริษัทเอง ที่เปิดตัวโมเดลปัญญาประดิษฐ์โอเพนซอร์ส Granite โดยเขาชี้ว่า Granite เป็นโมเดลปัญญาประดิษฐ์เพียงไม่กี่ตัว ที่ใช้สัญญาอนุญาตโอเพนซอร์สที่แท้จริง (กรณีนี้คือ Apache license)
Krishna ย้ำว่าสัญญาอนุญาตแบบเปิดอื่นๆ ที่บริษัทต่างๆ นิยมใช้งานนั้นไม่ใช่โอเพนซอร์ส เป็นแค่เทคนิคการตลาดเท่านั้น และยืนยันว่าการใช้สัญญาแบบโอเพนซอร์สแท้ๆ เท่านั้นถึงจะช่วยดึงให้นักพัฒนาภายนอกเข้าร่วมได้อย่างจริงจัง
ไอบีเอ็มประกาศซื้อกิจการ HashiCorp บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับดูแลจัดการคลาวด์ โดยไอบีเอ็มจะซื้อหุ้นทั้งหมดของ HashiCorp ที่ราคา 35 ดอลลาร์ต่อหุ้น เป็นเงินสด คิดเป็นมูลค่ากิจการ 6,400 ล้านดอลลาร์ ตามที่มีข่าวลือออกมาก่อนหน้านี้
HashiCorp มีผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์อย่างเช่น Terraform, Boundary, Consul, Nomad, Vault
Arvind Krishna ซีอีโอไอบีเอ็ม พูดถึงดีลซื้อกิจการนี้ว่า HashiCorp เป็นซอฟต์แวร์ที่จะเข้ามาเสริมกับบริการของไอบีเอ็ม ให้ลูกค้าสามารถบริหารจัดการ Infrastructure และแอพพลิเคชัน บนไฮบริดคลาวด์ ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นรองรับความต้องการในยุค AI ซึ่งผลิตภัณฑ์ของ HashiCorp รองรับทั้งการจัดการวงจรการใช้งาน และความปลอดภัย
OpenTofu โครงการที่แยกตัวออกมาจาก Terraform หลัง HashiCorp เปลี่ยนสัญญาอนุญาต ออกเวอร์ชั่น 1.7.0-alpha1 ที่นับเป็นเวอร์ชั่นแรกที่จะแยกสายจาก Terraform อย่างสมบูรณ์ โดยมีการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่เข้ามาที่อาจจะไม่เข้ากับ Terraform 1.7 อีกต่อไป
ก่อนหน้านี้ OpenTofu 1.6.0 เปิดตัวมาโดยระบุว่าเป็นตัวแทนแบบ drop-in จาก Terraform ได้ทันที ในเวอร์ชั่นนี้ทีมงานเพิ่มฟีเจอร์ใหม่สองอย่าง คือ state encryption ฟีเจอร์สำหรับการเข้ารหัสไฟล์ state, และ removed block ฟีเจอร์สำหรับการถอดทรัพยากรออกจากไฟล์ state แต่ยังปล่อยเอาไว้ในระบบที่รันจริง ไม่ได้ลบออกไปด้วย
OpenTofu โครงการโอเพนซอร์สที่ fork มาจาก Terraform ซอฟต์แวร์ Infrastructure as Code (IaC) หลังจาก HashiCorp เปลี่ยนสัญญาอนุญาต ประกาศออกเวอร์ชันแรกหลังแยกโครงการมา
OpenTofu เวอร์ชัน 1.6.0 ถือเป็นเวอร์ชันแรกที่ออกใต้ชื่อ OpenTofu โดยมันยังทำงานเข้ากันได้กับ Terraform 1.6 และทางโครงการ OpenTofu ก็ออกคู่มือช่วยแนะนำสำหรับคนที่อยากย้ายมาจาก Terraform ด้วย
บริษัท HashiCorp มีซอฟต์แวร์สำหรับนักพัฒนาชื่อดังหลายตัว เช่น Terraform, Vagrant, Nomad, Vault เดิมทีซอฟต์แวร์เหล่านี้เป็นโอเพนซอร์สที่ใช้ไลเซนส์เปิดกว้าง MPL แต่ไม่นานมานี้เพิ่งเปลี่ยนไลเซนส์ใหม่เป็น Business Source License ที่มีเงื่อนไขเข้มงวดกว่า ห้ามนำโค้ดไปทำธุรกิจแข่งกับ HashiCorp
การเปลี่ยนแปลงไลเซนส์ครั้งนี้ทำให้ชุมชนโอเพนซอร์สตัดสินใจ fork โครงการใหม่ โดยซอฟต์แวร์เรือธงอย่าง Terraform ถูกแยกมาเป็นโครงการใหม่ชื่อ OpenTofu (Tofu มาจากตัวอักษรย่อ TF ของ Terraform) และให้ Linux Foundation เป็นผู้ดูแล ใช้ไลเซนส์ MPL เหมือนของเดิม
ก่อนหน้านี้ HashiCorp ประกาศเปลี่ยนไลเซนส์โครงการที่ดูแลรวมถึง Terraform ทำให้กลุ่มบริษัทและชุมชนนักพัฒนาประกาศแยกโครงการออกมา โดยมีชื่อเรียกว่า OpenTF
ล่าสุดกลุ่ม OpenTF ได้ให้ Linux Foundation เป็นผู้ดูแลโครงการ พร้อมประกาศตั้งชื่อ fork ของ Terraform ใหม่ว่า OpenTofu โดยมีแผนให้ CNCF ดูแลโครงการด้วย
OpenTofu จะดำเนินงานต่อไปแบบโอเพนซอร์สภายใต้ไลเซนส์ MPLv2 โดยมีกลุ่มร่วมสนับสนุนหลักอาทิ Harness, Gruntwork, Spacelift, env0 ฯลฯ เพื่อให้มีนักพัฒนาโครงการแบบเต็มเวลาจำนวน 18 คน เป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี
OpenTF กลุ่มบริษัทและนักพัฒนาประกาศแยกสายการพัฒนาโครงการ Terraform โดยตัดที่เวอร์ชั่น 1.6.0-alpha ที่เป็นเวอร์ชั่นสุดท้ายที่ยังเป็นไลเซนส์แบบ MPL หลัง HashiCorp ประกาศเปลี่ยนไลเซนส์เป็น BUSL ซึ่งไม่นับเป็นโอเพนซอร์ส
ตอนนี้มี 4 บริษัทที่ประกาศสนับสนุนพนักงานเต็มเวลาเพื่อร่วมพัฒนา OpenTF ได้แก่ Spacelift, env0, Scalr, และ Sailorcloud รวมนักพัฒนาเต็มเวลา 14 คน คาดว่าจะมีบริษัทสนับสนุนเข้ามาเพิ่มอีกเท่าตัว ขณะที่โครงการ Terraform นั้นใช้นักพัฒนาประมาณ 5 คน
เป้าหมายของ OpenTF คือจะสร้างให้โครงการกลายเป็นโครงการของ CNCF เพื่อให้กลายเป็นโครงการของชุมชนอย่างแท้จริง
หลังจาก HashiCorp ประกาศเปลี่ยนไลเซนส์ของโครงการต่างๆ ที่บริษัทดูแล จากเดิมใช้ไลเซนส์ MPL 2.0 ที่ให้อิสระค่อนข้างมาก มาเป็น Business Source License (BUSL) ที่จำกัดการใช้งาน กลุ่ม OpenTF ที่เริ่มต้นด้วยบริษัทและโครงการต่างๆ รายล้อม Terraform ก็ออกมาเรียกร้องให้ HashiCorp ย้อนกลับไปใช้ MPL 2.0 หรือไลเซนส์เปิดแบบเดิม
OpenTF เตรียมแนวทางแยกโครงการหากเจรจากับ HashiCorp ไม่สำเร็จด้วยการแยกโครงการที่ดูแลโดยมูลนิธิกลาง แบบเดียวกับโครงการต่างๆ ภายใต้ Linux Foundation หรือ CNCF
HashiCorp ประกาศเปลี่ยนสัญญาอนุญาตการใช้งานซอฟต์แวร์ของบริษัท จากเดิมเป็น Mozilla Public License v2.0 (MPL 2.0) มาเป็น Business Source License (BUSL) แม้จะมีแนวทางเปิดซอร์สโค้ดให้แก้ไขดัดแปลงหรือแจกจ่ายได้ แต่ก็มีข้อจำกัดห้ามนำซอร์สโค้ดไปแข่งขันเชิงธุรกิจกับผู้พัฒนาหลัก คือ HashiCorp เอง แนวทางจำกัดการใช้งานเช่นนี้ทำให้ BUSL ไม่ถือเป็นโอเพนซอร์สตามนิยามของ Open Source Initiative (OSI)
CircleCI บริษัทซอฟต์แวร์ด้าน continuous integration (CI) สรุปสถิติการใช้งานของลูกค้าจำนวน 2 ล้านคน ให้เห็นกันว่าภาพรวมของวงการ software delivery ในปัจจุบันเป็นอย่างไร
สถิติหนึ่งที่น่าสนใจคือ ภาษาโปรแกรมยอดนิยมที่ถูกใช้งาน build ผ่านระบบ workflow ของ CircleCI ปรากฏว่าแชมป์เก่า JavaScript ถูกโค่นซะแล้ว กลายเป็น TypeScript ที่มาแรงจนแซงหน้าขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งแทน (JavaScript ตกเป็นที่ 2, อันดับ 3 Ruby, อันดับ 4 Python, อันดับ 5 Go)
CircleCI บอกว่าความนิยมของ TypeScript ที่เป็นการแก้ปัญหาของ JavaScript โดยเพิ่มแนวคิดเรื่องชนิดของตัวแปร (type) เป็นที่ชัดเจนอยู่แล้ว เพราะช่วยให้นักพัฒนาหาบั๊กได้ง่ายขึ้นตั้งแต่ตอนเขียน (ใช้ IDE ตรวจ) หรือตอนคอมไพล์ แทนที่จะเป็นตอนรัน
Terraform ซอฟต์แวร์ที่ใช้กำหนดคอนฟิกเซิร์ฟเวอร์ด้วยแนวคิด infrastructure as code ออกเวอร์ชัน 1.0 ถือเป็นก้าวสำคัญนับจากออกเวอร์ชันแรกในปี 2014
Terraform พัฒนาโดยบริษัท HashiCorp ในซานฟรานซิสโก (บริษัทชื่อญี่ปุ่น เพราะผู้ก่อตั้งเป็นลูกครึ่งญี่ปุ่น-สหรัฐ) ที่โด่งดังจากการสร้าง Vagrant ซอฟต์แวร์ด้าน virtualization มาก่อน
แนวคิดของ Terraform คือการเขียนคอนฟิกเป็นโค้ด (declarative configuration files) ที่เรียกว่าภาษา HashiCorp Configuration Language (HCL) เพื่อให้ซอฟต์แวร์อ่านไฟล์เหล่านี้ได้ ทำงานอัตโนมัติได้ ช่วยให้การจัดการเครื่องจำนวนมากๆ ง่ายขึ้น ลดความผิดพลาดของมนุษย์ลง (ซอฟต์แวร์ตัวอื่นๆ ในลักษณะเดียวกันคือ Chef, Puppet, Ansible เป็นต้น)