บริษัท Canonical ประกาศรายละเอียดการทำ Ubuntu Core เวอร์ชันเดสก์ท็อป ที่ใช้แพ็กเกจแบบ Snap ทั้งหมด
Canonical มีดิสโทร Ubuntu Core มาตั้งแต่ปี 2014 โดยมีแนวคิดว่าแอพถูกอย่างถูกรันในคอนเทนเนอร์ (Docker/LXC) เพื่อเป็น sandbox ที่ปลอดภัย อัพเกรดและย้อนคืนได้ง่าย แต่ช่วงแรกยังจำกัดการใช้งานเฉพาะอุปกรณ์ IoT ที่ต้องใช้วิธีอัพเดตอัตโนมัติ
Canonical เรียกระบบปฏิบัติการที่มีแนวคิดนี้ว่า immutable operating system มีคุณสมบัติทั้งหมด 4 ข้อคือ
Canonical เตรียมออกดิสโทร Ubnutu Desktop ที่ใช้แพ็กเกจแบบ Snap ล้วนๆ ในปีหน้า 2023 โดยแยกเป็นอีกเวอร์ชันจากดิสโทรเดิมที่ใช้ระบบแพ็กเกจแบบ .deb
ข้อมูลนี้มาจาก Oliver Grawert ทีมงานของ Canonical ที่ไปตอบคอมเมนต์ในเว็บ OMG Ubuntu
Canonical เปิดตัว Ubuntu 22.04 LTS เวอร์ชัน real-time สำหรับอุปกรณ์ฝังตัวภาคอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องมีการตอบสนองทันที
จุดต่างของ Real-time Ubuntu จาก Ubuntu เวอร์ชันปกติคือเปลี่ยนมาใช้เคอร์เนลลินุกซ์ 5.15 แบบเรียลไทม์ (real-time kernel) ที่ใช้แพตช์ PREEMPT_RT มีค่า latency ต่ำ (เริ่มทดสอบ Beta มาตั้งแต่ปีที่แล้ว) และปรับแต่งมาให้เหมาะกับชิปของ NVIDIA, Intel, MediaTek, AMD-Xilinx ที่ใช้กันแพร่หลายในภาคอุตสาหกรรม (รองรับทั้ง Arm และ x86)
ผู้ที่ต้องการใช้ real-time kernel จำเป็นต้องเสียเงินเป็นสมาชิก Ubuntu Pro หรือซื้อผ่าน App Store ของ Ubuntu ได้เช่นกัน
Ubuntu Pro เป็นบริการ subscription ของบริษัท Canonical ที่ขยายเวลาดูแลแพตช์ความปลอดภัยให้แพ็กเกจซอฟต์แวร์ต่างๆ ของระบบนานเป็น 10 ปี เทียบกับดิสโทร LTS เวอร์ชันฟรีที่ซัพพอร์ตนาน 5 ปี (รูปแบบคล้ายกับ RHEL subscription ของฝั่ง Red Hat) โดยมีราคาเริ่มต้นที่ 225 ดอลลาร์ต่อเซิร์ฟเวอร์ต่อปี
ล่าสุด Canonical ประกาศแจกฟรี Ubuntu Pro สำหรับผู้ใช้งานส่วนตัว (personal license) จำนวนไม่เกิน 5 เครื่อง เพื่อขยายฐานลูกค้าให้มาลองใช้งานกันมากขึ้น
Canonical ประกาศรองรับ Ubuntu บนชิป Apple M1 ผ่าน Multipass ซึ่งเป็นระบบจัดการ virtualization ของ Canonical เอง
ก่อนหน้านี้ เครื่องแมคที่เป็น Apple M1 ยังไม่รองรับลินุกซ์อย่างเต็มที่นัก และการรันผ่าน virtualization อย่าง VirtualBox/VMware ยังไม่สมบูรณ์มากพอ แนวทางของ Canonical คือสร้าง Multipass ซอฟต์แวร์จัดการ virtualization ที่ใช้ระบบของ OS เอง (KVM บนลินุกซ์, Hyper-V บนวินโดวส์, HyperKit บนแมค) แล้วจัดการเรื่องอิมเมจและการติดตั้งให้อัตโนมัติ ผู้ใช้ไม่ต้องยุ่งกับการคอนฟิก VM เอง
Canonical เปิดตัว Ubuntu Frame ระบบปฏิบัติการแบบคัสตอมสำหรับอุปกรณ์ kiosk จอสัมผัส หรือป้ายโฆษณาดิจิทัล
Ubuntu Frame เป็นการนำแกนของ Ubuntu Core มารวมกับโซลูชันการแสดงผลจอภาพข้ามเครื่องจากระยะไกล (graphic server) รองรับแอพหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ GTK 3/4, Qt 5/6, Flutter, Electron, SDL2 รวมถึง HTML5 และ Java
จุดเด่นของ Ubuntu Frame คือเป็นโซลูชันที่พร้อม จัดการเรื่องการแสดงผลและอินพุตมาให้แล้ว นักพัฒนามีหน้าที่แค่สร้างแอพไปรันเท่านั้น บวกด้วยฟีเจอร์ด้านความปลอดภัย การจัดการที่เป็นระบบแพ็กเกจ Snap รันอยู่ในคอนเทนเนอร์
Canonical ประกาศนโยบายซัพพอร์ต Ubuntu เวอร์ชัน LTS (Long-term Support) รุ่นเก่าที่ออกไปแล้ว จากเดิม 5 ปี ขยายสองเท่าเป็น 10 ปี (ระยะเวลาซัพพอร์ตสำหรับลูกค้าองค์กรเดิม 8 ปี ขยายเป็น 10 ปี)
การเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลกับ Ubuntu LTS สองรุ่นก่อนคือ 14.04 LTS (หมดระยะซัพพอร์ตปี 2019 ขยายเป็น 2024) และ 16.04 LTS (หมดระยะซัพพอร์ตปี 2021 ขยายเป็น 2026) ถือเป็นการปลุกชีพกลับคืนมาใหม่ ส่วน LTS รุ่นใหม่ๆ คือ 18.04 LTS และ 20.04 LTS ได้ระยะซัพพอร์ตนาน 10 ปีอยู่แล้ว จึงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
Canonical ประกาศว่า Ubuntu รองรับซีพียูสถาปัตยกรรม RISC-V ที่กำลังมาแรงในช่วงนี้ โดยเริ่มจากบอร์ดของ SiFive บริษัทของทีมผู้ก่อตั้ง RISC-V
Canonical บอกว่าสถาปัตยกรรม RISC-V ที่เป็นสถาปัตยกรรมเปิด มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ จึงร่วมมือกับทีม SiFive พอร์ต Ubuntu มารันบนบอร์ดเหล่านี้ ที่ผ่านมาบอร์ด RISC-V สามารถรันลินุกซ์ได้อยู่แล้ว แต่การสนับสนุนอย่างเป็นทางการ การันตีการแก้บั๊กและออกแพตช์ความปลอดภัย ถือเป็นปัจจัยสำคัญให้นักพัฒนาเลือกใช้ RISC-V ในการสร้างผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น
นอกจากข่าว Flutter ออกเวอร์ชัน 2.0 กูเกิลยังประกาศรายชื่อพันธมิตรชุดใหญ่มาพร้อมกัน และให้ตัวเลขว่าตอนนี้มีแอพและแพ็กเกจ Flutter รวมแล้วกว่า 150,000 รายการ
รายที่โดดเด่นที่สุดหนีไม่พ้นไมโครซอฟท์ ที่ประกาศเข้ามาช่วยพัฒนา Flutter โดยเฉพาะการนำมาใช้กับอุปกรณ์ 2 จออย่าง Surface Duo สิ่งที่ไมโครซอฟท์เข้ามาช่วยทำคือ MediaQuery หรือการให้แอพ Flutter สามารถสอบถามไปยังอุปกรณ์ที่รันว่ามีหน้าจอแบบไหน มีรอยบาก (cutout) หรือบานพับ (hinge) หรือไม่ สถานะตอนนั้นกางจอออกหรือพับอยู่ เพื่อให้วาด UI ได้ตรงจุด
Canonical ออก Ubuntu Core 20 ดิสโทรลินุกซ์สำหรับอุปกรณ์ฝังตัวและ IoT ที่ดัดแปลงมาจาก Ubuntu 20.04 LTS
จุดเด่นของ Ubuntu Core คือการปรับแต่งมาเพื่ออุปกรณ์ขนาดเล็ก ตัดส่วนที่ไม่จำเป็นเพื่อลดพื้นที่การโจมตี (minimal attack surface) มีฟีเจอร์ความปลอดภัยหลายอย่างตั้งแต่ secure boot, full disk encryption, secure device recovery และแอพทั้งหมดจะถูกรันแยก (isolated) เพื่อไม่ให้โจมตีมาถึง OS ได้
Canonical ยังระบุว่าทำงานร่วมกับผู้ผลิตชิปและบริษัทผู้ผลิตฮาร์ดแวร์หลายราย เพื่อการันตีว่ากระบวนการอัพเดตทั้งหมดจะราบรื่น
Ubuntu Core รองรับทั้งสถาปัตยกรรม ARM และ x86 โดยมีพาร์ทเนอร์เข้าร่วมหลายราย เช่น Bosch Rexroth, Dell, ABB, Rigado, Plus One Robotics, Jabil, Intel, Raspberry Pi
กูเกิลประกาศความร่วมมือกับ Canonical พัฒนาให้ Flutter รองรับการสร้างแอพบนลินุกซ์
หลังจากตีตลาดแอพมือถือมาได้พอสมควร ก้าวต่อไปของ Flutter คือการเขียนเว็บและแอพเดสก์ท็อป โดยเริ่มจาก macOS เป็นแพลตฟอร์มเดสก์ท็อปตัวแรก
ทีมงาน Flutter อธิบายกระบวนการซัพพอร์ตแอพเดสก์ท็อป ว่าเริ่มจากปรับเอนจินให้รองรับเมาส์และคีย์บอร์ด รวมถึงการขยายขนาดหน้าต่าง (ซึ่งบนมือถือไม่จำเป็นต้องทำ) จากนั้นจึงเก็บรายละเอียด ปรับคอมโพเนนต์บางตัวให้ UI เหมาะกับเดสก์ท็อป และเชื่อมกับฟีเจอร์หรือสไตล์เฉพาะของ OS
จากประเด็น Linux Mint ประกาศไม่ใช้แพ็กเกจ Snap ตาม Ubuntu ตัวแทนของบริษัท Canonical ก็ออกมาชี้แจงแล้วว่า Chromium เป็น Snap มาตั้งแต่ Ubuntu 19.10 แล้ว ไม่ใช่เพิ่งเปลี่ยนในเวอร์ชัน 20.04 LTS
ส่วนเหตุผลที่ทำแพ็กเกจ Chromium เป็น Snap เพียงอย่างเดียวเป็นเพราะ
Linux Mint เป็นดิสโทรลินุกซ์ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยตัวมันพัฒนาต่อมาจาก Ubuntu อีกทีหนึ่ง แต่ล่าสุดทีมพัฒนา Linux Mint ประกาศไม่ใช้ ระบบแพ็กเกจแบบ Snap ที่ Ubuntu พยายามผลักดันแล้ว
เมื่อพูดถึงคอนเทนเนอร์ เรามักนึกถึง Docker แต่ในตลาดก็ยังมีเทคโนโลยีคอนเทนเนอร์ตัวอื่นๆ เช่น LXC (Linux Containers) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ Docker ใช้ในช่วงแรกๆ ด้วย
โครงการ LXC พัฒนาต่อมาเป็น LXD ที่เพิ่มเครื่องมือและ API จัดการคอนเทนเนอร์แบบ LXC เข้ามา โครงการ LXC/LXD เป็นโอเพนซอร์ส ที่มีสปอนเซอร์หลักคือ Canonical บริษัทแม่ของ Ubuntu (LXD เป็นส่วนหนึ่งของ Ubuntu เวอร์ชัน LTS ทุกตัว)
Canonical บริษัทผู้อยู่เบื้องหลัง Ubuntu Linux เปิดตัวแพลตฟอร์มใหม่ชื่อว่า Anbox Cloud สำหรับการรัน Android บนคลาวด์ในภาคองค์กร
Anbox Cloud จะนำ Android มาเป็น guest OS สำหรับการรันแอปแบบคอนเทนเนอร์ ตัวอย่างการใช้งานก็มีตั้งแต่ cloud gaming, แอปสำหรับใช้งานในองค์กร, การทดสอบซอฟต์แวร์ และ virtualization อุปกรณ์มือถือ ซึ่ง Anbox Cloud สามารถใช้งานบน public cloud หรือ private cloud ก็ได้
ตัว Anbox Cloud ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ของ Canonical และรัน Android บนเคอร์เนล Ubuntu 18.04 LTS และใช้ LXD system container เป็นผู้ดูแลความปลอดภัยและ isolate ตัวคอนเทนเนอร์
เหตุการณ์นี้ต้องย้อนต้นเรื่องไปถึงปี 2012 ที่ Ubuntu 12.10 เริ่มพ่วงโฆษณาสินค้าจาก Amazon เข้ามาในระบบค้นหา เพื่อเป็นช่องทางสร้างรายได้ให้ Canonical อีกทางหนึ่ง
แน่นอนว่าผู้ใช้ย่อมคัดค้าน และ Canonical ยอมปรับให้สามารถปิดการส่งข้อมูลกลับไปยัง Amazon ได้ แต่ข้อตกลงนี้ยังคงอยู่ต่อมาอีกยาวนาน ในรูปแบบของไอคอน Amazon พรีโหลดมาที่ตัว launcher
เวลาผ่านมา 8 ปี ข้อตกลงระหว่าง Canonical กับ Amazon ดูเหมือนจะหมดอายุแล้ว เพราะใน Ubuntu เวอร์ชันถัดไป 20.04 Focal Fossa ถอดไอคอน Amazon ออกไปเรียบร้อยแล้ว (Canonical และ Amazon ไม่ได้แถลงการณ์ใดๆ ในเรื่องนี้)
Ubuntu ประกาศขาย Ubuntu Pro Images for AWS อิมเมจ Ubuntu รุ่น LTS 3 รุ่น ได้แก่ 14.04, 16.04, และ 18.04 โดยเพิ่มฟีเจอร์ความปลอดภัยเพิ่มเติม ได้แก่
Ubuntu 19.10 โค้ดเนม Eoan Ermine ได้ออกรุ่นจริงแล้ว โดยฟีเจอร์ใหม่ที่มาพร้อมกับอัพเดตครั้งนี้ได้แก่
Canonical บริษัทแม่ของ Ubuntu ประกาศข่าวเกี่ยวกับการซัพพอร์ต Kubernetes ชุดใหญ่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ของสำคัญคือ MicroK8s เป็นแพ็กเกจ Kubernetes ในฟอร์แมต Snap ที่ Ubuntu และดิสโทรอื่นๆ ใช้งาน ช่วยให้การติดตั้ง Kubernetes บนดิสโทรลินุกซ์ทำได้ง่ายเพียงแค่คำสั่งเดียว และอัพเดตอัตโนมัติเมื่อมีเวอร์ชันใหม่
นอกจากนี้ Canonical ยังประกาศซัพพอร์ต kubeadm เครื่องมือจัดการคลัสเตอร์ Kubernetes ให้ครอบคลุมถึงลูกค้าองค์กรที่จ่ายเงินซื้อผ่านบริการ Ubuntu Advantage
Ubuntu 18.10 โค้ดเนม Cosmic Cuttlefish ออกรุ่นจริงแล้ว ของใหม่มีดังนี้
Ubuntu 18.04 LTS โค้ดเนม "Bionic Beaver" ออกแล้ว เวอร์ชันนี้ถือเป็น LTS ตัวแรกที่เปลี่ยนกลับมาใช้ GNOME หลังการเปลี่ยนแปลงใน Ubuntu 17.10 เมื่อปีที่แล้ว
ของใหม่ใน Ubuntu 18.04 LTS
Mark Shuttleworth ซีอีโอของบริษัท Canonical ผู้พัฒนา Ubuntu ให้สัมภาษณ์กับ eWeek ว่ามีแผนจะนำบริษัทขายหุ้น IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ และเป็นเหตุผลหนึ่งที่เขาตัดสินใจยกเลิกระบบเดสก์ท็อป Unity
Shuttleworth บอกว่าการเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ จำเป็นต้องคำนึงว่าผลิตภัณฑ์ใดทำเงินบ้าง ซึ่ง Ubuntu ทำเงินในตลาดเซิร์ฟเวอร์และคลาวด์ มีรายได้เลี้ยงตัวเองอย่างยั่งยืน แต่ฝั่งเดสก์ท็อปโดยเฉพาะ Unity กลับไม่ทำเงิน ทางทีมบริหารจึงตัดสินใจหยุดกระบวนการพัฒนา
ปัญหาของบริษัท Canonical ผู้พัฒนา Ubuntu ดูจะรุนแรงกว่าที่เห็นในตอนแรก หลังจากประกาศยกเลิกการพัฒนา Unity และข่าวการปลดพนักงานเพื่อลดค่าใช้จ่าย ล่าสุดถึงกับต้องเปลี่ยนตัวซีอีโอเลยทีเดียว
Mark Shuttleworth ผู้ก่อตั้ง Ubuntu และบริษัท Canonical นั่งเป็นซีอีโอของบริษัทมาตั้งแต่ต้น แต่ในปี 2009 เขาประกาศลงจากตำแหน่งซีอีโอ เพื่อมารับงานดูแลผลิตภัณฑ์โดยตรง แล้วดัน Jane Silber ผู้บริหารอีกคนขึ้นมาเป็นซีอีโอแทน
หลังจาก Ubuntu เลิกใช้ Unity เว็บไซต์ The Register ก็รายงานข่าวว่าบริษัท Canonical ผู้พัฒนา Ubuntu เริ่มปลดพนักงานและเปิดโครงการที่ไม่ทำเงิน
ทีมที่ได้รับผลกระทบเข้าเต็มๆ ย่อมเป็นทีม Unity ที่ว่ากันว่าถูกปลดไปครึ่งทีม แต่ฝ่ายอื่นของ Canonical ก็โดนปลดด้วยเช่นกัน แหล่งข่าวของเว็บไซต์ The Register ระบุว่า Mark Shuttleworth ผู้ก่อตั้ง Canonical กำหนดสถานการณ์ด้านการเงินของบริษัทไว้ 3 ระดับ (best/neutral/worst) ถ้าบริษัทสามารถระดมทุนเพิ่มได้ตามเป้า ก็จะปลดพนักงานลง 30% แต่ถ้าสถานการณ์ย่ำแย่ ตัวเลขอาจสูงถึง 60%
Mark Shuttleworth ผู้ก่อตั้ง Canonical ประกาศหยุดการพัฒนา Unity ซึ่งเป็นเดสก์ท็อปของ Ubuntu ไว้ที่ Unity8 และ Ubuntu desktop จะเริ่มกลับไปใช้งาน GNOME อีกครั้งใน Ubuntu 18.04 LTS
Shuttleworth ให้ความเห็นว่า เขามอง Ubuntu Phone พลาด ในตอนแรกเขามองว่าถ้าผลิตภัณฑ์ที่รวมกันเป็นหนึ่ง (convergence) คืออนาคต การออกซอฟต์แวร์ฟรีจะช่วยทั้งฝั่งชุมชน และด้านอุตสาหกรรม แต่จริง ๆ แล้วพบว่าการออกซอฟต์แวร์ฟรี แทนที่จะเป็นนวัตกรรม กลับเป็นการเพิ่ม fragmentation ให้ตลาด และอุตสาหกรรมไม่สนความเป็นไปได้ แต่จะเลือกสิ่งที่ผู้ใช้รู้จักดี หรือพัฒนาแพลตฟอร์มขึ้นมาเอง ซึ่งเขายอมรับการตัดสินจากตลาดและชุมชนแล้วว่าอะไรควรจะเติบโต อะไรควรจะไป