Microchip ผู้ผลิตชิปตระกูล AVR ที่ใช้งาน เปิดตัวบอร์ดพัฒนา AVR-IoT WG บอร์ที่มีชิปเข้ารหัส ทำให้สามารถจัดการกุญแจเพื่อยืนยันตัวตนอุปกรณ์กับคลาวด์ภายนอก โดยตัวบอร์ดคอนฟิกให้เชื่อมต่อกับ Google Cloud IoT ไว้แล้ว ทำให้สามารถเซ็ตอัพเพื่อส่งค่าเซ็นเซอร์กลับไปยังคลาวด์ได้ทันที
ตัวไมโครคอนโทรลเลอร์เป็น ATmega4808 ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 20MHz หน่วยความจำแฟลช 48KB แรม 6KB โมดูล Wi-Fi เป็น ATWINC1510 และชิปเข้ารหัสเป็น ATECC608A เชื่อมต่อกับ Google IoT Core Cloud ด้วย MQTT และยืนยันตัวตนด้วย JWT
ราคาบอร์ดพัฒนา 29 ดอลลาร์ เริ่มสั่งได้แล้ววันนี้
ที่มา - Microchip
ARM เปิดตัวระบบปฎิบัติการใหม่ Mbed Linux OS ขยายไลน์จาก Mbed OS เดิม ไว้ใช้กับชิปที่พลังประมวลผลสูงขึ้นมา เช่น Cortex-A (เทียบกับ Mbed OS ที่ใช้กับ Cortex-M) แนวทางนี้ทำให้มันเป็นคู่แข่งกับ Azure Sphere โดยตรง
แม้จะเป็นลินุกซ์แต่ก็ถูกดัดแปลงอย่างหนัก โดยเน้นความต้องการของอุปกรณ์ IoT คือ ระบบปฎิบัติการต้องซัพพอร์ตระยะยาว ไม่จำกัดแค่ 3-5 ปีเหมือนเดสก์ทอปหรือเซิร์ฟเวอร์, การโจมตีทำได้ยากเพราะตัดส่วนที่ไม่จำเป็นออกทั้งหมด, มีกระบวนการอัพเดตจากระยะไกลและตรวจสอบสถานะของเครื่องได้
ค่ายซีพียูที่เป็นคู่แข่งกันมานานอย่าง ARM และ Intel ประกาศความร่วมมือในการพัฒนาระบบบจัดการอุปกรณ์ IoT ให้ทำงานร่วมกันได้ เพื่อรองรับอุปกรณ์ที่จะมีจำนวนมากขึ้นในอนาคต ที่จะอาศัยกุญแจในตัวฮาร์ดแวร์เพื่อยืนยันแทนการคอนฟิกอุปกรณ์ด้วยมือไปเรื่อยๆ
โดยความตกลงนี้ อินเทลจะใช้เทคโนโลยี Intel Secure Device Onboard (SDO) ของตัวเองสำหรับการยืนยันความเป็นเข้าของอุปกรณ์ เช่น ลูกค้าที่ซื้อหลอดไฟต่ออินเทอร์เน็ตมาจำนวนมากๆ สามารถอัพโหลดกุญแจของตัวเองเข้าไปในอุปกรณ์เพื่อแสดงความเป็นเข้าของ โดยกระบวนการเช่นนี้ใช้งานในระบบ IoT เป็นเรื่องปกติ แต่ Intel SDO สร้างกระบวนการเปลี่ยนมือความเป็นเจ้าของอุปกรณ์ที่ปลอดภัย และชัดเจนกว่า และสามารถทำงานได้กับแพลตฟอร์มหลากหลาย
รัฐแคลิฟอร์เนียร์ผ่านกฎหมายควบคุมอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (SB-327 Information privacy: connected devices.) ที่ควบคุมให้ผู้ผลิตต้องเพิ่มมาตรการความปลอดภัยเพิ่มเติมหากอุปกรณ์สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ โดยระบุว่าผู้ผลิตต้องเลือกระหว่างใช้รหัสผ่านเริ่มต้นไม่ซ้ำกันในอุปกรณ์แต่ละชิ้นที่ขายไป หรือตั้งให้ผู้ใช้ต้องตั้งรหัสผ่านเองเมื่อเปิดใช้งานครั้งแรก
กฎหมายนี้ยกเว้นให้กับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเฉพาะเน็ตเวิร์กภายใน (LAN) เท่านั้น หากเปิดทางให้ผู้ใช้เชื่อมต่อจากเน็ตเวิร์กภายนอกไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมจึงจะเข้าข่ายบังคับ และกฎหมายจะเริ่มบังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2020 ทำให้ผู้ผลิตมีเวลาปรับตัวประมาณ 15 เดือนนับจากนี้ไป
ไมโครซอฟท์เปิดตัวบอร์ด Azure Sphere บอร์ดแรก สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT เข้ากับคลาวด์ Azure โดยมีความปลอดภัยสูง โดยชื่อแบรนด์ Azure Sphere นี้อาจจะมีบอร์ดรุ่นอื่นๆ ที่ได้รับรองเข้าโครงการเพิ่มเข้ามาเรื่อยๆ แต่บอร์ดพัฒนารุ่นแรก คือ Azure Sphere MT3620 มีวางขายทั่วไปเป็นรุ่นแรก ผลิตโดย Seeed Studio
โครงการ Azure Sphere จะมีส่วนประกอบสามส่วน ได้แก่ ตัวซีพียูได้รับการรับรองจากโครงการ, ระบบปฎิบัติการ Azure Sphere OS ที่เป็นลินุกซ์, และบริการ Azure Sphere Security Service
Alibaba ประกาศในงานสัมมนาด้าน AI ในเซี่ยงไฮ้ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ว่าได้ตั้งบริษัทในเครือขึ้นมาใหม่ เพื่อดูแลด้านการออกแบบและผลิตชิปสำหรับ AI โดยเฉพาะ ซึ่งจะนำมาใช้ในการประมวลผลบนคลาวด์ และ IoT
แผนงานของ Alibaba ดังกล่าวยังสอดคล้องกับแนวทางที่รัฐบาลจีนพยายามผลักดันให้อุตสาหกรรมการผลิตชิปในจีนมีคุณภาพสูงมากขึ้น เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมใหม่อย่างยานยนต์ไร้คนขับ, AI และระบบสุขภาพ
Jack Ma ผู้ก่อตั้ง Alibaba กล่าวว่า จีนต้องมีเทคโนโลยีหลักที่ควบคุมได้เองทั้งหมด ตัวอย่างเช่นธุรกิจการผลิตชิป ซึ่งต้องลดการพึ่งพาการนำเข้าจากอเมริกา
ซัมซุงเปิดตัวอุปกรณ์สำหรับติดตามสิ่งของหรือสัตว์เลี้ยงบนแพลตฟอร์ม SmartThings ในชื่อพื้นๆ ว่า SmartThings Tracker ที่เชื่อมต่อกับระบบติดตาม GPS ผ่าน eMTC หรือ LTE-M
SmartThings Tracker มีขนาดเล็ก พกพาง่าย เชื่อมต่อกับแอป SmartThings ทั้งบนแอนดรอยด์และ iOS สามารถส่งอัพเดตโลเคชันได้แบบเรียลไทม์ ด้วยการกดปุ่มพาวเวอร์ 2 ครั้ง จะมีการแจ้งเตือนที่แอป SmartThings ที่เชื่อมเอาไว้ ซึ่งจะสามารถติดตามตำแหน่งแบบเรียลไทม์ได้ต่อเนื่อง 10 นาที
การถาโถมเข้ามาของเทคโนโลยีไม่ว่าจะ AI, Big Data, IoT หรือ Cloud ล้วนส่งผลกระทบต่อธุรกิจในทุกภาคส่วนและกระทบในหลายๆ มิติ ไปจนถึงปัญหาว่าเทคโนโลยีไหนที่องค์กรควรเลือก เพื่อให้ตอบโจทย์หรือต่อยอดทางธุรกิจได้ดีที่สุด
AIS ในฐานะที่เป็นโอเปอเรเตอร์เบอร์ 1 ของไทยก็เผชิญกับปัญหานี้เช่นกัน ทว่าภายในงาน Blognone Tomorrow ที่ผ่านมา AIS ได้แสดงให้เห็นให้เห็นถึงวิสัยทัศน์และการปรับตัวเข้าหากระแส Digital Disruption และสามารถต่อยอดทางธุรกิจ ด้วยการเปิดให้บริการแพลตฟอร์ม NB-IoT ได้เป็นเจ้าแรกของไทย
AIS มองเห็นอะไรจาก IoT และทำอะไรไปแล้วบ้าง บทความนี้สรุปจากเวที Blognone Tomorrow มาให้ครับ
ทีมวิจัย Talos ของซิสโก้รายงานถึงช่องโหว่ของ Samsung SmartThings Hub รวม 20 รายการ ที่สามารถเจาะต่อๆ กันเป็นสายโซ่จนกระทั่งควบคุมอุปกรณ์ในบ้านได้ทั้งหมด
ทาง Talos รายงานการใช้ช่องโหว่เป็นชุดที่น่าสนใจไว้ 3 ชุด เช่นการรันโค้ดผ่านช่องโหว่ของ SQL ในตัวฮับ, การทำให้ตัวฮับแครชจนใช้งานไม่ได้, หรือการเข้าไปอ่านข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต
รายงานนี้ปล่อยหลังจากทางซัมซุงแก้ไขช่องโหว่ทั้งหมดแล้วในเฟิร์มแวร์เวอร์ชั่น 0.22.13 โดยเวอร์ชั่นที่พบช่องโหว่ทั้ง 20 รายการเป็น 0.20.17 ที่ออกเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ผู้ใช้ส่วนมากควรได้รับอัพเดตโดนอัตโนมัติ
ทรูมูฟ เอช เตรียมนำเครือข่ายสู่ 5G ที่ให้ความเร็วได้สูงถึงระดับกิกะบิต ประกาศลงทุน 57,000 ล้านบาทด้านโครงข่าย เตรียมความพร้อมสู่ยุค 5G
กูเกิลเปิดตัวชิป Edge TPU สำหรับการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ในอุปกรณ์ IoT ขนาดเล็กเช่นกล้องวงจรปิด สำหรับการตรวจจับการจราจรโดยไม่ต้องส่งภาพกลับไปยังศูนย์กลาง
สำหรับฝั่งซอฟต์แวร์ Cloud IoT Edge เป็นชุดซอฟต์แวร์ที่สามารถรันได้บน Android Things หรือลินุกซ์อื่นๆ โดยมันมาพร้อมกับ Edge ML รันไทม์สำหรับรัน TensorFlow Lite มันสามารถรันบนซีพียู หรือเร่งความเร็วด้วยกราฟิกหรือ TPU ก็ได้
ตัวชิปจะมาพร้อมกับบอร์ดจาก NXP ให้สั่งได้ภายในเดือนตุลาคมนี้
ที่มา - Google Blog
T-Mobile ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในสหรัฐฯ ประกาศให้บริการเครือข่าย NB-IoT ทั่วประเทศ กับคลื่น LTE band 2/4/12 ที่ T-Mobile ใช้อยู่เดิม โดยคิดค่าบริการปีละ 200 บาท (6 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ส่งข้อมูลได้ไม่เกิน 12MB ต่อปี
การแข่งขันมาตรฐาน IoT ที่ใช้งานได้ในระยะไกล เช่น การให้บริการติดตามรถส่งสินค้า หรือสถานีตรวจอากาศ ตลอดจนการใช้งานกับบริการแชร์จักรยาน ในช่วงหลัง NB-IoT ได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ จากการที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือลงมาให้บริการกันจำนวนมาก ในไทยเองก็มี AIS และ True ให้บริการแล้ว ขณะที่มาตรฐานอื่นเช่น Sigfox ยังไม่สามารถขยายโครงข่ายได้มากนัก
SoftBank เปิดตัวบริการใหม่ชื่อ BLUU Smart Parking เพื่อให้ผู้ขับรถยนต์ส่วนตัว มีความสะดวกในการค้นหาหรือจองที่จอดรถล่วงหน้าในญี่ปุ่น
ปัจจุบันที่จอดรถสาธารณะในญี่ปุ่น ใช้ระบบตัวล็อกและตู้จ่ายเงินค่าจอด แต่ที่จอดรถของแอป BLUU นี้ ใช้กล้องทำงานร่วมกับเซ็นเซอร์เพื่อตรวจจับรถเข้าและออก ซึ่ง SoftBank บอกว่าต้นทุนต่ำกว่าระบบจอดรถแบบเดิม อีกทั้งยังใช้วิธีตัดเงินผ่านแอปในสมาร์ทโฟนเลย
เมื่อเดือนมิถุนายน ไมโครซอฟท์เปิดตัว Windows IoT Core Services บริการซัพพอร์ตและอัพเดตนาน 10 ปีสำหรับระบบปฏิบัติการ Windows IoT Core เพื่อการันตีว่าอุปกรณ์ Windows IoT จะได้แพตช์ความปลอดภัยและแก้บั๊กรุ่นใหม่ที่สุดเสมอ
วันนี้ไมโครซอฟท์เปิดให้ทดสอบบริการตัวนี้แบบ public preview พร้อมเปิดเผยราคาแล้ว
แทนที่อุปกรณ์ Smart Home จะช่วยให้ผู้ใช้รู้สึกปลอดภัยมากขึ้น แต่กลับให้ผลตรงกันข้าม มีรายงานจาก The New York Times เผยเทรนด์ใหม่ที่น่ากังวลสำหรับอุปกรณ์ Smart Home ในบ้าน คือนอกจากจะถูกแฮ็กเข้าได้อย่างง่ายดายแล้ว คนร้ายยังมักใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในการกลั่นแกล้งคนในบ้านให้รู้สึกกลัว ตกใจด้วย และที่สำคัญคนร้ายไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นคนในบ้านเอง
The New York Times ได้สัมภาษณ์เหยื่อ (ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง) และทนายความของเหยื่อจำนวนกว่า 30 รายที่โดนละเมิดในครอบครัว ตัวอย่างเช่น รหัสผ่านหน้าประตูถูกเปลี่ยนไปทุกวัน, ม่าน ไฟ เปิดเองโดยที่เจ้าของไม่ได้สั่งเปิด กริ่งประตูดังขึ้นเองโดยที่ไม่มีใครมาหา, ลำโพงเปิดเพลงเองด้วยเสียงดัง เป็นต้น
KT ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือของเกาหลี ร่วมมือกับ Recon Hi-Tech ผู้ผลิตจักรยาน เปิดตัว Air i จักรยานไฟฟ้าเชื่อมต่อเครือข่าย IoT ใช้ป้องกันการสูญหายหรือถูกขโมย
Air i จะติดตั้งเทคโนโลยี IoT เชื่อมต่อ LTE-M จาก KT เพื่อระบุตำแหน่งของจักรยานได้แบบเรียลไทม์ พร้อมการควบคุมจากระยะไกล ส่วนฟังก์ชันอื่นๆ ยังไม่ชัดเจนว่าทำอะไรได้อีกบ้าง
KT และ Recon Hi-Tech ยังมีบริการ “Finding a Lost Bike” ที่คอยตรวจสอบตำแหน่งล่าสุดของจักรยาน นอกจากนี้ยังสนับสนุนบริการ “Remote Power Control” สั่งให้มอเตอร์หยุดทำงานเมื่อจักรยานถูกขโมย
ทีมวิจัยของบริษัท VDOO ผู้ผลิตระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยในคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก รายงานถึงช่องโหว่ของซอฟต์แวร์ในกล้องวงจรปิด Axis จำนวน 7 รายการ ส่งผลให้แฮกเกอร์สามารถเข้ายึดกล้องผ่านเครือข่าย เข้าควบคุมซอฟต์แวร์ได้ทั้งหมดรวมถึงการดูภาพวงจรปิด
การเข้ายึดกล้องใช้ช่องโหว่ซ้อนกัน ได้แก่
Pen Test Partners ทีมวิจัยที่เคยรายงานช่องโหว่อุปกรณ์ Z-Wave รายงานถึงการทดสอบกุญแจล็อกบ้าน Tapplock Smart Lock ที่ปลดล็อกได้ทั้งจากโทรศัพท์มือถือและลายนิ้วมือ พบว่ามันไม่ปลอดภัยอย่างมาก
หลังจาก Amazon เสร็จสิ้นกระบวนการเข้าซื้อ Ring บริษัทผู้ผลิตกริ่งประตูอัจฉริยะเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ล่าสุด Ring ได้เปิดตัว Ring Alarm ชุดอุปกรณ์เตือนภัยภายในบ้าน ที่สามารถควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมดจากทุกที่ด้วยปลายนิ้ว
งาน Computex 2018 ที่ไต้หวันครั้งนี้มีคอนเซปต์หลักๆ คือฮาร์ดแวร์เกมมิ่ง และ Internet of Things โดยเฉพาะกลุ่ม Smart Home โดยปีนี้ยกให้ 1 ฮอลล์เต็มๆ ในการจัดแสดงงาน IoT โดยเฉพาะ บริษัทแทบทั้งหมดเป็นสัญชาติไต้หวัน แสดงให้เห็นว่าไต้หวันตื่นตัวเต็มที่มากๆ เรื่อง IoT
หนึ่งในสถานที่จัดงาน Computex 2018 คือ TWTC (Taipei World Trade Center)
มีโซนแยกเฉพาะสำหรับ IoT คือโซน SmartTex รวมเอาบริษัทที่ส่วนใหญ่ทำ IoT มารวมตัวกันถึง 145 แห่ง แม้จะมีบริษัทมากมายมาร่วมโชว์สินค้ามากมาย แต่จุดร่วมกันของอุปกรณ์กลุ่ม Smart Home ซึ่งอนาคตจะเป็นสิ่งที่มีทุกบ้าน และไปไกลกว่าแค่กล้องวงจรปิดธรรมดา ได้แก่
AIS จับมือ PropertyPerfect, Samsung และ Mobike นำนวัตกรรม IoT ให้บริการแบบครบวงจรในโครงการที่อยู่อาศัยจาก PropertyPerfect ภายใต้เครือข่าย NB-IoT ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักในการพัฒนาโครงการ นับเป็นครั้งแรกในวงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Windows IoT Core ให้ใช้งานได้ฟรีมาตั้งแต่ปี 2015 ตอนนี้ก็หันมาเปิดตัวบริการเสียเงินแล้วในชื่อ Windows 10 IoT Core Services ชูธงอัพเดตความปลอดภัยยาวนานถึง 10 ปี
แม้จะมีรุ่นเสียเงินแล้ว แต่ Windows IoT Core ยังคงฟรีต่อไป และมีอัพเดตให้ต่อเนื่อง แต่เป็นอัพเดตแบบเปลี่ยนแปลงฟีเจอร์ไปเรื่อยๆ ทุกครึ่งปี (Semi-Annual Channel - SAC)
ทุกวันนี้ผู้ใช้ในประเทศไทยคงได้ใช้งานเครือข่าย 3G/4G กันเป็นปกติแล้ว แต่ทาง Ericson ผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์โครงข่ายโทรศัพท์มือถือก็ออกมานำเสนอนวัตกรรม 5G และเครือข่าย IoT ที่มาพร้อมกับ 5G เพื่อแสดงความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในอนาคต
ทีมวิจัยจาก Pen Test Partners รายงานถึงการโจมตีโปรโตคอล Z-Wave ที่มักใช้งานในอุปกรณ์ IoT หลากหลายยี่ห้อ ช่องโหว่ทำให้แฮกเกอร์สามารถเข้าควบคุมอุปกรณ์ IoT ในบ้าน ไม่ว่าจะเป็น หลอดไฟ, ล็อกประตู, หรือแม้แต่สัญญาณกันขโมย
การโจมตีครั้งนี้อาศัยการลดการเข้ารหัสจากกระบวนการแบบ S2 ที่ความปลอดภัยสูงไปสู่การเข้ารหัสแบบเก่ากว่าคือ S0 ที่เคยมีรายงานการโจมตีตั้งแต่ปี 2013 สาเหตุจากแพ็กเก็ตส่งข้อมูลว่าตัวควบคุมอุปกรณ์รองรับการเข้ารหัสแบบใดบ้างนั้น ไม่มีการเข้ารหัสหรือการยืนยันความถูกต้องของแพ็กเก็ตแต่อย่างใด เมื่อแฮกเกอร์สามารถดักแพ็กเก็ตจากตัวควบคุมที่ส่งไปยังอุปกรณ์ปลายทางแล้วส่งแพ็กเก็ตปลอมไปแทนที่ ก็สามารถบังคับให้อุปกรณ์เชื่อมต่อกับตัวควบคุมในรูปแบบการเข้ารหัส S0 ที่แฮกได้ง่ายได้