มีดราม่าข้อมูลส่วนตัว Facebook ระลอกใหม่โดย New York Times รายงานว่าในอดีต Facebook เปิดโอกาสให้ผู้ลิตอุปกรณ์อย่างน้อย 60 ราย เข้าถึงข้อมูลผู้ใช้ Facebook ทั้งข้อมูลเพื่อน รูปภาพ สถานะความสัมพันธ์ต่างๆ และยังเข้าถึงข้อมูลเพื่อนของเพื่อนได้ด้วย คำนวณออกมาแล้วมีถึงหลักแสนราย
ที่สำคัญคือมีนักข่าวไปเจอว่าตอนนี้ก็ยังคงเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวได้ผ่านแอพพลิเคชั่นของ Blackberry ส่งผลให้เกิดความสงสัยอีกครั้ง เพราะสถานการณ์ Facebook และ Cambridge Analytica เพิ่งจะผ่านพ้นไปได้ไม่นาน
Facebook ประกาศนโยบายใหม่ของเว็บและแอพที่ใช้บริการ Facebook Login ว่าจะบังคับเชื่อมต่อผ่าน HTTPS แล้ว
แอพใหม่ที่ใช้งาน Facebook Login หลังเดือนมีนาคม 2018 ถูกบังคับใช้ HTTPS มาตั้งแต่ต้น ส่วนแอพเก่าจะมีเวลาถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2018 ก่อนจะโดนบังคับเปลี่ยนเป็น HTTPS (หากยังไม่เปลี่ยนหลังเส้นตาย การเชื่อมต่อผ่าน HTTP จะใช้งานไม่ได้อีก)
สำหรับแอพเก่าที่ต้องการเปลี่ยนเป็น HTTPS ก่อนหน้านั้น สามารถตั้งค่า Enforce HTTPS ได้จากหน้า Settings ของ Facebook Login
การใช้งานผ่าน HTTP จะยังทำได้เพียงกรณีเดียวคือเชื่อมต่อบน localhost และตั้งค่าแอพเป็นโหมด development
ผู้ใช้ Facebook คนไทยหลายคนคงเริ่มได้รับการแจ้งเตือนจาก Facebook อธิบายวิธีการใช้งานข้อมูลของทุกคนกันบ้างแล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ Facebook ประกาศจะทำเพื่อให้สอดคล้องตามกฎ GDPR อย่างไรก็ตามมีข้อมูลหลายหน้า Blognone จึงสรุปมาให้เข้าใจกันได้ง่ายขึ้น
เริ่มจากส่วนแรก Facebook อธิบายถึงวิธีการใช้ข้อมูลของทุกคน ว่าเอาไปใช้อย่างไร แบ่งเป็น 3 หัวข้อ คือข้อมูลที่ Facebook เอาไปใช้ในการขายโฆษณา, Face Recognition และ อัพเดตนโยบายความเป็นส่วนตัว
เฟซบุ๊กมีบั๊กทำให้โพสของผู้ใช้จำนวนหนึ่งถูกตั้งเป็นสาธารณะ (public) ทำให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถเห็นโพสได้ แม้จะตั้งจำกัดเอาไว้แค่เพื่อน หรือเฉพาะกลุ่มก็ตาม โดยกระทบในช่วงเวลา 10 วันในเดือนพฤษภาคม กระทบผู้ใช้รวม 14 ล้านคน
เฟซบุ๊กระบุว่าได้แก้ไขบั๊กนี้ไปแล้ว แต่ก็จะแจ้งเตือนผู้ใช้ที่ได้รับผลกระทบรายคน นอกจากนี้จะเปิดให้ตรวจสอบว่ามีโพสใดบ้างที่ได้รับผลกระทบจากบั๊กนี้เพื่อให้มั่นใจว่าสถานะโพสเหล่านั้นถูกต้องแล้ว
Erin Egan ผู้บริหารฝ่ายข้อมูลส่วนบุคคลออกมาขอโทษต่อเหตุการณ์ครั้งนี้
ที่มา - Strait Times
เฟซบุ๊กเริ่มอนุญาตให้ผู้ใช้อัพโหลดวิดีโอที่มีเพลงติดลิขสิทธิ์จากค่ายดังหลายค่ายที่เฟซบุ๊กไปทำสัญญาไว้ เมื่อผู้ใช้อัพโหลดวิดีโอที่มีเพลงติดลิขสิทธิ์และเข้าข่ายที่ทำสัญญาไว้ เฟซบุ๊กจะแจ้งเตือนว่าเป็นเพลงที่ได้ทำสัญญาไว้หรือหากไม่ต้องการให้ส่วนแบ่งกับค่ายเพลงก็สามารถเลือกปิดเพลงได้
แม้จะจ่ายส่วนแบ่งให้กับค่ายเพลงเมื่อมีผู้ใช้อัพโหลด แต่เฟซบุ๊กยังคงไม่ให้เลือกใช้เพลงติดลิขสิทธิ์เหล่านี้เป็นเพลงประกอบวิดีโอด้วยตัวเอง โดยก่อนหน้านี้เฟซบุ๊กมีฟีเจอร์ Sound Collection ให้ผู้ใช้สามารถเลือกเพลงประกอบวิดีโอได้ แต่ก็มักเป็นเพลงที่ไม่ดังนัก
จากที่ก่อนหน้านี้ Facebook ทดลองการใช้งานปุ่ม down vote เพื่ออำนวยความสะดวกในการรายงานความเห็นที่ไม่เหมาะสมในบางเพจ และไม่ได้แสดงผลเป็นจำนวน down vote นั้น
ล่าสุด Facebook ปรับปรุงรูปแบบการใช้งาน down vote ใหม่ ครั้งนี้ผู้ใช้ไม่จำเป็นจะต้องกดรายงานความเห็นแล้ว (แต่หากต้องการก็ยังสามารถรายงานใน hamburger menu ได้ตามปกติ) และจำนวนความเห็นทั้งที่กด up vote และ down vote จะแสดงข้างปุ่มเป็นสีน้ำเงินและแดงตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ไม่สามารถดูรายชื่อผู้กด vote ได้ ต่างกับการกด reaction ที่รายงานชื่อแยกตามปุ่มที่กำหนดด้วย
Facebook ประกาศเตรียมเลิกแสดงเนื้อหาส่วน Trending ซึ่งเป็นกล่องอยู่ด้านมุมบนขวาของ News Feed ที่คอยแสดงว่าข่าวหรือหัวข้อใดกำลังเป็นที่นิยม หลังจากที่ทดสอบฟีเจอร์นี้มาตั้งแต่ปี 2014
แม้ว่าฟีเจอร์ Trending จะเปิดใช้งานมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว แต่ฟีเจอร์นี้ก็ยังคงจำกัดเฉพาะ 5 ประเทศ มีการคลิกข่าวไปยังสำนักข่าวเฉลี่ยเพียง 1.5% เท่านั้น และจากการสำรวจของ Facebook พบว่าฟีเจอร์นี้มีประโยชน์น้อยลงทุกที ดังนั้น Facebook จึงตัดสินใจปิดฟีเจอร์นี้ในสัปดาห์หน้ารวมถึงผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และพาร์ทเนอร์รายอื่นที่ใช้ Trends API ทั้งหมด
Sheryl Sandberg ซีโอโอ Facebook ขึ้นเวทีให้สัมภาษณ์ในงาน Code Conference โดยมีช่วงหนึ่งเป็นคำถามเรื่องที่ Tim Cook ซีอีโอแอปเปิล เคยบอกว่าข้อมูลส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ และแอปเปิลจะไม่ทำธุรกิจโดยนำลูกค้าเป็นสินค้าแบบนี้ ซึ่งเป็นการโจมตี Facebook โดยตรง
Sandberg บอกว่าทั้งเธอเองและ Mark Zuckerberg ซีอีโอ Facebook ไม่แปลกใจที่ Tim Cook จะพูดแบบนั้น เพราะแอปเปิลขายสินค้า และทำธุรกิจในแบบของแอปเปิล มันก็ทำให้แอปเปิลเชื่อในแนวทางเช่นนั้น แต่ Facebook เป็นธุรกิจที่พึ่งพาโฆษณา เพราะต้องการให้สินค้า (Facebook) เข้าถึงคนได้ทั่วโลก เชื่อมต่อคนได้ทั้งโลก รูปแบบธุรกิจจึงต้องเป็นเช่นนี้ เธอจึงไม่เห็นด้วยกับ Tim Cook
กลุ่มนักเคลื่อนไหว เช่น None Of Your Business (NOYB), Privacy International เริ่มออกมาเคลื่อนไหวด้วยการฟ้อง Google และ Facebook ในข้อหาประเด็นความเป็นส่วนตัวของข้อมูล และเป็นการเคลื่อนไหวทันทีหลังจากกฎคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล GDPR มีผลบังคับใช้ในวันที่ 25 พ.ค.
ก่อนหน้านี้มีข่าวว่า Facebook กำลังตั้งทีมออกแบบชิป FPGA สำหรับงานด้าน AI เพื่อใช้กันเองภายใน ล่าสุด Yan LeCun หัวหน้าฝ่าย AI ของ Facebook ให้สัมภาษณ์ในงาน Viva Technology ที่ปารีส บอกว่าชิป AI นี้ จะนำมาใช้วิเคราะห์และคัดกรองเนื้อหาวิดีโอ Live ที่ไม่เหมาะสม เช่น การฆ่าตัวตาย หรือการฆาตกรรม ที่ต้องจัดการเนื้อหาเหล่านี้อย่างรวดเร็วที่สุด
LeCun บอกว่าความต้องการนี้ทำให้ Facebook ต้องการชิปที่ออกแบบเอง เพื่อให้ประหยัดพลังงานมากที่สุด เราเห็นเทรนด์บริษัทใหญ่อย่าง ซัมซุง, อินเทล, NVidia ลงมาทำชิป AI แต่จากนี้เราจะเห็นหลายบริษัทลงมาออกแบบชิปเอง เพื่อแก้ปัญหาให้เฉพาะเจาะจงความต้องการของตนมากขึ้น
Facebook เพิ่มฟีเจอร์สำหรับกลุ่ม 4 อย่าง ที่เด่นๆ คือให้แอดมินหรือผู้ดูแลกลุ่ม เลือกสมาชิกที่จะสามารถโพสต์เนื้อหาลงกลุ่มได้โดยอัตโนมัติ โดยผู้ดูแลไม่ต้องมาคอยขึ้นโพสต์ให้ และในลบโพสต์ออกจากกลุ่ม ระบบจะแสดงรายการกฎข้อห้ามเป็นข้อๆ เพื่อให้ผู้ดูแลระบุว่า เนื้อหาที่ลบออกไปนั้น ละเมิดกฎข้อไหน และแชร์ให้ผู้ดูแลกลุ่มคนอื่นรู้ได้ด้วย
ส่วนอีกสองฟีเจอร์ที่ Facebook เพิ่มมาใหม่คือ Admin support ช่องทางให้ผู้ดูแลกลุ่มถามข้อสงสัยมายังทีม Facebook หรือรายงานปัญหา แต่ยังจำกัดเฉพาะภาษาอังกฤษ และสเปน
Facebook ยังเพิ่มช่องทางเรียนรู้สำหรับผู้ดูแลกลุ่ม มีเดโม่และเคล็ดลับการพัฒนากลุ่มให้เติบโต
Facebook ร่วมมือกับ Morgan Neville นักทำหนังสารคดี ทำวิดีโอตีแผ่การต่อสู้กับข่าวปลอมของ Facebook ในชื่อว่า Facing Facts
วิดีโอตัวนี้เป็นเสมือนอีกหนึ่งวิธีที่ Facebook อยากจะสื่อสารออกไปให้สังคมรู้ว่า Facebook มีปัญหาข่าวปลอม,รับรู้และพยายามแก้ไขมัน ซึ่ง Facebook เคยบอกสังคมไปแล้วไม่ว่าจะผ่านทางคำพูดของผู้บริหาร การให้การในสภา ตีพิมพ์เป็นโฆษณาขอโทษในหนังสือพิมพ์หัวใหญ่ เพียงแต่คราวนี้มาในรูปแบบวิดีโอสารคดี โดยมีตัวละครเป็นทีมงานที่รับผิดชอบส่วนงาน News Feed โดยเฉพาะ
Facebook ประกาศเพิ่มหมวดหมู่ใหม่ใน Marketplace มีผลกับผู้ใช้ในอเมริกาวันนี้ โดยสามารถค้นหาช่างฝีมือในการซ่อมแซม, ปรับปรุง และดูแลบ้านได้ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง Facebook กับพาร์ทเนอร์ อาทิ Handy, HomeAdvisor และ Porch
Facebook บอกว่ามีผู้ใช้งานจำนวนเป็นล้านคน ที่มักโพสต์ถามหาให้แนะนำช่างซ่อมแซมบ้านดีๆ ตลอดจนแม่บ้าน, งานท่อประปา หรือถามหาผู้รับเหมา จึงเป็นที่มาของการสร้างพื้นที่รวมครบในการค้นหาช่างฝีมือดังกล่าว และมีการจัดอันดับ, เรทติ้ง, รีวิว และพื้นที่ให้บริการ
ยังไม่มีกำหนดว่าบริการนี้จะเปิดใช้ในไทยเมื่อใด
ที่มา: Facebook
Facebook ประกาศปรับปรุงขั้นตอนการยืนยันตัวตนสองปัจจัย (Two-Factor Authentication) จากเดิมที่ต้องผูกบัญชีกับเบอร์โทรศัพท์มือถือ เพื่อใช้รับ sms ยืนยันตัวตนขั้นตอนสุดท้าย มาเป็นสามารถเลือกไม่ใส่เบอร์โทรศัพท์มือถือก็ได้ มีรายละเอียดดังนี้
Facebook ขอให้ผู้ใช้ในสหราชอาณาจักรส่งภาพลับส่วนตัวให้ Facebook ตรวจสอบเพื่อป้องกันเหตุการณ์ Revenge Porn หรือการแก้แค้นด้วยรูปภาพ ซึ่งมักเกิดขึ้นในกรณีที่คนรักเก่าพยายามทำลายชื่อเสียงของอีกฝ่าย
โดยผู้ใช้ที่มีความกังวลว่าอาจมีภาพหลุดสามารถติดต่อสายด่วนขอความช่วยเหลือ จากนั้นจะได้รับลิงก์ให้อัปโหลดภาพเหล่านั้นส่งให้ Facebook ภาพเหล่านั้นจะถูกเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและจะสร้างลายนิ้วมือดิจิทัลสำหรับแต่ละภาพเก็บไว้ในฐานข้อมูล เมื่อระบบตรวจสอบเจอภาพที่มีข้อมูลตรงกันถูกอัปโหลดก็จะบล็อคก่อนที่จะถูกเผยแพร่ออกไป
Mark Zuckerberg เข้าให้การเรื่องข้อมูลหลุดอีกครั้ง คราวนี้ให้การต่อหน้าสภายุโรปที่กรุงบรัสเซลส์ แม้ก่อนหน้านี้จะปฏิเสธไป และเช่นกันกับครั้งที่แล้ว คือ Zuckerberg โดนยิงคำถามมากมาย
เฟซบุ๊กโชว์เทคโนโลยีไร้สายความเร็วสูง Terragraph ในงาน F8 ตั้งแต่ปี 2016 ซึ่งถูกตั้งเป้าเอาไว้แทนที่การลากสายเคเบิลหรือสายไฟเบอร์ไปตามอาคารต่างๆ ล่าสุดเฟซบุ๊กจับมือกับ Qualcomm เตรียมทดสอบ Terragraph ในปี 2019 นี้
Jesse Burke ผู้จัดการเจ้าหน้าที่ด้านการตลาดของ Qualcomm ระบุว่าทางเฟซบุ๊กจะใช้เทคโนโลยี V-band (60GHz) ของ Qualcomm บนอุปกรณ์มาตรฐาน 802.11ay ที่สามารถทำความเร็วระดับ 20-30 Gbps โดยปัญหาเดียวของมาตรฐาน 802.11ay คือระยะทางของคลื่นค่อนข้างสั้นที่ 10-30 เมตรเท่านั้น ทำให้อาจต้องติดเซลล์รับสัญญาณถี่ๆ หรือเป็นเครือข่าย Mesh
ช่วงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา Mike Schroepfer ซีทีโอของ Facebook เข้าให้การต่อสภาอังกฤษเรื่องข่าวปลอมและข้อมูลหลุด ผลปรากฏว่าสภาอังกฤษไม่พอใจในคำตอบที่ Schroepfer ที่มีให้ เตรียมเรียกซีอีโอ Mark Zuckerberg มาให้การต่อ แต่ก็ถูกปฏิเสธไป
ล่าสุด Facebook ยอมตกลงจะไปให้การต่อสภายุโรปแล้ว คาดว่าการให้การจะมีขึ้นสัปดาห์หน้าที่กรุงบรัสเซลส์ โดยในบรรดาข้อมูลหลุดทั้งหมด 87 ล้านบัญชี คาดว่ามีคนยุโรปได้รับผลกระทบประมาณ 2.7 ล้านราย และเป็นคนอังกฤษที่ได้รับผลกระทบประมาณกว่าล้านราย
แม้ Cambridge Analytica คู่กรณีของ Facebook ครั้งนี้จะปิดตัวลงไปแล้ว แต่ฝั่งรัฐบาลอังกฤษก็ยังคงให้ความสนใจและยังสอบสวนวิธีที่บริษัทได้ข้อมูลจากผู้ใช้ Facebook นับล้านไปได้อย่างไร
ก่อนหน้านี้ Facebook ได้ส่งตัวซีทีโอ Mike Schroepfer ไปให้การต่อสภาวัฒนธรรม, สื่อ และกีฬาของสหราชอาณาจักรเรื่องข่าวปลอมและข้อมูลหลุด แต่ทางสภาไม่พอใจในการให้คำตอบของซีทีโอ จึงเตรียมเรียกซีอีโอ Mark Zuckerberg มาให้การต่อ
ล่าสุด Facebook ยืนยันแล้วว่า Zuckerberg ยังไม่มีแผนไปให้การต่อสภาสหราชอาณาจักร โดย Rebecca Stimson หัวหน้าฝ่ายนโยบายสาธารณะของ Facebook เผยว่า Zuckerberg นั้นไม่มีแผนการเข้าพบสภาหรือเดินทางไปยังสหราชอาณาจักรในตอนนี้ และส่งจดหมายตอบกลับไปยังสภาแม้จะเลยกำหนดมาแล้ว 3 วันก็ตามที
จอห์น แวกเนอร์ กรรมการผู้จัดการ และชวดี วงศ์พยัต หัวหน้าฝ่ายธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ของ Facebook ประเทศไทย ประกาศเปิดสำนักงานที่ประเทศไทยและเพิ่มการลงทุนในไทยผ่านโปรแกรมการอบรมทักษะต่างๆ เช่น
Facebook ออกรายงานการจัดการบัญชีปลอม สแปม เป็นครั้งแรก โดยในไตรมาสแรกของปี 2018 Facebook เผยว่าได้ลบไป 583 ล้านบัญชีปลอม นำสแปมออก 837 ล้านชิ้น
Facebook ยังเผยรายละเอียดการจัดการเนื้อหาไม่ดีอื่นๆ ดังนี้
Facebook เปิดตัวพอร์ทัลสำหรับเยาวชน (Youth Portal) เพื่อให้ข้อมูลและคำแนะนำการใช้งาน Facebook สำหรับเยาวชน รวมทั้งการจัดการความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยในการใช้งาน
เนื้อหาภายในแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นวิธีการใช้งาน Facebook พื้นฐาน ซึ่งหลายคนอาจทราบอยู่แล้ว (โปรไฟล์, การตั้งรหัสผ่าน, การลบ, ซ่อน, unfriend ฯลฯ) รวมทั้งอธิบายเกี่ยวกับนโยบายข้อมูลของ Facebook ว่ามีการนำข้อมูลของเราไปใช้ทำอะไรบ้าง
เนื้อหาอีกส่วนเป็นการให้คำแนะนำหลักการใช้งาน Facebook ซึ่งระบุเลยว่าเพื่อสนับสนุนให้คน Gen Z ใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างคำแนะนำ เช่น อย่าบอกรหัสผ่านกับคนอื่น, หากพบเนื้อหาที่รบกวนใจให้รายงานเนื้อหาต่อ Facebook, จงชื่นชมและยินดีกับเนื้อหาของผู้อื่น ฯลฯ
ช่วงวันที่ 11 พ.ค. ที่ผ่านมา นักข่าว BuzzFeed จับภาพหน้าจอ Facebook ที่เป็นเพจ พบว่ามีการแสดงข้อมูลว่า เพจก่อตั้งเมื่อไร ผู้ดูแลเพจมีกี่ราย ผู้ดูแลเพจอาศัยอยู่ที่ไหน มีประวัติการเปลี่ยนชื่อเพจหรือไม่
เมื่อนักข่าวสอบถามไปยัง Facebook ได้รับคำตอบจาก Alex Himel รองประธานฝ่าย Local ของ Facebook ว่า เป็นฟีเจอร์ในอนาคตที่จะเปิดให้ใช้อยู่แล้ว แต่เกิดอุบัติเหตุเล็กน้อยทำให้เผลอปล่อยออกไปให้ผู้ใช้ฝั่งแคนาดากับไอร์แลนด์
ฟีเจอร์นี้น่าสนใจตรงที่ ถ้าเปิดให้ใช้จริง ตามเพจการเมืองต่างๆ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ จะสามารถเห็นได้เลยว่ามีผู้ดูแลกี่คน และแต่ละคนอยู่ในสหรัฐฯ หรือไม่ หรือมาจากประเทศอื่น นักข่าว BuzzFeed ลองไปสำรวจตามเพจต่างๆ เช่น Infowars (เพจขวาจัด) มีหนึ่งในแอดมินอยู่ที่สวิสเซอร์แลนด์ และเพจ Black Lives Matter ก็มีแอดมินบางคนอยู่ในฟิลิปปินส์ เป็นต้น
ไม่เพียงคนทั่วไปที่รู้สึกว่าตัวเองกำลังเสพติดการใช้มือถือ ใช้อินเทอร์เน็ตมากไปรึเปล่า เพราะ Sameer Samat ผู้ดูและ Android P ใน Google ก็รู้สึกอย่างนั้นเช่นกัน และเขาก็ทดลองกับตัวเองด้วยว่าหากลองอยู่ห่างจากมือถือสัก 3 วัน 7 วัน จะเป็นอย่างไร ปรากฏว่ามันทำให้เขารู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น และนี่คือสิ่งที่เขาพูดตอนเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ของ Android P ที่ช่วยให้ผู้ใช้ลดการเสพติดการใช้มือถือ บนเวที Google I/O
Facebook ออกอัพเดต Messenger Platform เวอร์ชันใหม่ 2.4 โดยจะเน้นไปที่ความสามารถด้านการปรับแต่งฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่อิสระมากยิ่งขึ้น ดังนี้