การประมวลผลด้วยชิปกราฟิกเคยมีการแข่งขันกันอย่างหนักระหว่างเทคโนโลยี CUDA เป็นเป็นเทคโนโลยีของ NVIDIA และ OpenCL ที่มีผู้ผลิตหลายรายร่วมกัน แต่จนตอนนี้ CUDA ก็ยังรันได้เฉพาะบน x86 จนกระทั่งการเปิดตัวของชุดพัฒนารุ่น 5.5
CUDA 5.5 ในส่วนของ ARM จะใช้ได้เฉพาะรุ่น Ubuntu เท่านั้น โดยมีให้เลือกระหว่างการใช้ชุดพัฒนารุ่น x86 ธรรมดามาคอมไพล์ลง ARM หรือจะใช้ชุดพัฒนาบน Ubuntu สำหรับ ARMv7 ไปพัฒนาบน ARM เลยก็ได้เหมือนกัน
แม้ชุดพัฒนาจะรองรับการใช้งานบน ARM แล้วแต่ Tegra รุ่นที่รองรับ CUDA ก็ยังไม่มีออกมาเป็นทางการ ในแง่หนึ่งแล้ว การที่โลกหันมานิยม ARM มากขึ้นกลับทำให้เทคโนโลยีเฉพาะอย่าง CUDA ได้รับความนิยมน้อยลงแล้วหันไปอยู่กับ OpenCL ที่รองรับอยู่บนชิปจำนวนมากแล้ว
เอเอ็มดีประกาศแผนสำหรับปีหน้ายืนยันอย่างเป็นทางการว่าจะผลิตซีพียู ARM Cortex-A57 ที่ใช้ชื่อรหัสว่า Seattle ในปีหน้า
Seattle จะเป็น ARM ที่รองรับแรมถึง 128GB พร้อมชุดคำสั่งเสริมสำหรับการบีบอัดและการเข้ารหัส บนตัวชิปจะมีอีเธอร์เน็ตแบบ 10GbE มาในตัว พร้อมกับระบบเชื่อมต่อ Freedom Fabric ช่วงเวลาวางตลาดคือครึ่งแรกของปี 2014
Berlin เป็น APU สำหรับองค์กร เปลี่ยนคอร์ใหม่เป็น Streamroller (จากตอนนี้เป็น Bulldozer) เป็นชิปตัวแรกที่รองรับสถาปัตยกรรม HSA ทำให้การเขียนโปรแกรมบน GPU ง่ายเหมือนกับการเขียนบนซีพียู เวลาวางจำหน่ายคือครึ่งแรกของปีหน้าเช่นกัน
ABI Research ที่เราเห็นรายงานการตลาดอยู่เนืองๆ ออกรายงานการทดสอบประสิทธิภาพของซีพียูสำหรับตลาดโมบาย โดยทดสอบเครื่องห้ารุ่นได้แก่ Lenovo K900, Samsung Nexus 10, Samsung Galaxy S4 i9500, Samsung Galaxy S4 i377 และ Asus Nexus 7 พบว่าเครื่อง K900 ทำประสิทธิภาพได้ดีพอๆ กับ S4 i377 ขณะที่ส่วนซีพียูกินพลังงานน้อยกว่า
แม้ว่า ARM จะเปิดชิปไลน์ใหม่ที่ที่ใช้สถาปัตยกรรม ARMv8 ในตระกูล Cortex-A50 ไปตั้งแต่ปลายปีก่อน แต่ ARM ก็ยังไม่ได้ทิ้งรุ่นปัจจุบันอย่าง ARMv7 ไปทั้งหมด และออกมาเปิดตัวชิปรุ่นกลางระหว่าง Cortex-A15 และ Cortex-A7 ในชื่อรุ่น Cortex-A12 แล้ว
ตัว Cortex-A12 ถูกออกแบบมาจับอุปกรณ์รุ่นกลางๆ โดยเฉพาะ คุณสมบัติเด่นคือกินไฟน้อยกว่า Cortex-A9 (รุ่นเคยท็อปที่ถูกใช้กับอุปกรณ์รุ่นกลางๆ ในตอนนี้) ถึง 40% ในประสิทธิภาพที่เท่ากัน และจับกับ Cortex-A7 เพื่อทำงานแบบ big.LITTLE processing ได้อีกด้วย
หลังจากที่ไมโครซอฟท์เปิดตัว Windows RT ก็มีเสียงวิจารณ์ออกมาในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะความแตกต่างที่ทำให้รันได้เฉพาะแอปแบบเมโทรเท่านั้น
ปัญหาไม่ได้อยู่ที่มันถูกจัดอยู่ในประเภทแท็บเล็ต แต่อยู่ตรงที่หน้าตามันเหมือนกับ Windows 8 อย่างกับแกะ จนการใช้งานชวนให้อยากเรียกโปรแกรมที่คุ้นเคยขึ้นมาใช้มากกว่าเวลาใช้แท็บเล็ตอื่น ๆ
Jimmy Pike ผู้บริหารฝ่ายศูนย์ข้อมูลของ Dell ให้ความเห็นต่อกระแสเซิร์ฟเวอร์สาย ARM ที่กำลังเริ่มมาแรงว่าคงต้องรอซีพียู ARM สถาปัตยกรรม 64 บิท (ARMv8 หรือ Cortex-A50) วางตลาดอย่างจริงจังเสียก่อน เราน่าจะเริ่มเห็นเซิร์ฟเวอร์ ARM วางขายในปีหน้า และกว่าจะเริ่มขายในจำนวนมากก็อาจต้องรอถึงปลายปี 2014 หรือต้นปี 2015
Pike บอกว่าการผลักดัน ARM ในโลกของเซิร์ฟเวอร์จำเป็นต้องให้ฝั่งซอฟต์แวร์สนับสนุนด้วย นอกเหนือจากซอฟต์แวร์ฝั่งลินุกซ์พื้นฐานอย่างสาย LAMP ที่รองรับอยู่แล้ว ก็ยังต้องมีระบบการบริหารจัดการ แพกเกจซอฟต์แวร์ด้านอื่นๆ รวมถึงระบบ BIOS กลางสำหรับเซิร์ฟเวอร์ ARM ทุกยี่ห้อใช้ร่วมกัน ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้มีในโลกของ x86 มานานมากแล้ว
ชิป Cortex-A57 นั้นเป็นชิปรุ่นแรกที่เป็นสถาปัตยกรรม ARMv8 หรือ ARM รุ่น 64 บิต ก่อนหน้านี้ทาง ARM เปิดตัวชิปรุ่นนี้ว่าพร้อมผลิต แต่ก็ยังไม่มีการผลิตจริง จนกระทั่งวันนี้ ชิปล็อตแรกก็ออกมาจากโรงงานของ TSMC แล้ว
ARM Holdings ประกาศว่าซีอีโอ Warren East จะเกษียณอายุในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ หลังจากดำรงตำแหน่งนี้มา 12 ปีและทำงานกับบริษัทมา 19 ปี
ซีอีโอคนใหม่เป็นคนในคือ Simon Segars ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานบริษัท (president) อยู่แล้ว เขาทำงานกับ ARM มาตั้งแต่ปี 1991 ผ่านงานสำคัญๆ ด้านวิศวกรรม เซลส์ และพัฒนาธุรกิจมาครบแล้ว แถมยังอายุแค่ 45 ปี ดำรงตำแหน่งซีอีโอต่อไปได้อีกนาน
Simon Segars ให้สัมภาษณ์ยกย่องผลงานของ Warren East ที่นำพา ARM ยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้ในยุคแห่งอุปกรณ์พกพา เขายืนยันว่า ARM จะทำหน้าที่ออกแบบชิปเพื่อขายสิทธิการใช้งานต่อไปดังเดิม ไม่ลงมาลุยตลาดผลิตฮาร์ดแวร์เองหรือร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นพิเศษ เพราะจุดแข็งของบริษัทอยู่ที่ความเป็นอิสระนั่นเอง
กลายเป็นข่าวลือสะท้านวงการเมื่อแหล่งข่าววงในออกมาเผยว่าแอปเปิลเคยคุยตกลงกับอินเทลให้ผลิตชิป ARM กับอุปกรณ์ของแอปเปิลเมื่อช่วงปีที่ผ่านมา
จากรายละเอียดที่ออกมาสัญญาที่แอปเปิลตกลงกับอินเทลนั้นไม่ได้ต่างกับที่ซัมซุงทำให้ในปัจจุบัน โดยเหตุผลของแอปเปิลนั่นคือการลดการพึ่งพิงซัมซุงอย่างที่เคยมีข่าวมานั่นเอง ซึ่งตรงจุดนี้โรงงานผลิตชิปของอินเทลน่าจะทดแทนได้อย่างไร้รอยต่อ เมื่อเทียบกับคู่แข่งรายอื่น
Freescale Semiconductor เปิดตัว Kinetis KL02 ชิป ARM ขนาดเล็กเพียง 1.9x2 มิลลิเมต รถือเป็นชิปตระกูล ARM ขนาดเล็กที่สุดในโลก
KL02 มีอุปกรณ์ครบครัน ตั้งแต่หน่วยประมวลผลแบบ 32 บิต, แรม 4k, แฟลชรอม 32k, ตัวแปลงแอนะล็อกเป็นดิจิทัล 12 บิต และตัวรับสัญญาณ UART
ขนาดที่เล็กมากๆ ของ KL02 ทำให้มันเหมาะมากกับการเป็นหน่วยประมวลผลแบบฝังตัวบนอุปกรณ์ชนิดต่างๆ เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านี้เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ (Internet of Things)
KL02 ยังไม่วางขายปลีก แต่รับทำเป็นออเดอร์พิเศษจาก "ลูกค้ารายหนึ่ง" เท่านั้น
ที่มา - Wired
มีรายงานจากหนังสือพิมพ์ Korea Times ของเกาหลีว่า LG Optimus G2 ที่มีแผนจะเปิดตัวตั้งแต่ตอนต้นปี แต่ก็เงียบหายตลอดเวลานั้น แท้จริงแล้วนั้น LG เป็นฝ่ายที่ยังไม่ต้องการเปิดตัวครับ แต่กลับกัน LG กำลังพัฒนาหน่วยประมวลผลของตัวเองเพื่อใช้งานใน Optimus G2 นั่นเองครับ โดยในตอนนี้มีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า LG Odin
ตามรายงานระบุว่าหน่วยประมวลผล LG Odin นี้จะมีหน่วยประมวลผลทั้งหมด 8 คอร์ โดยแบ่งเป็น Cortex-A15 จำนวน 4 คอร์ สำหรับใช้ในงานประมวลผลหลักๆ และมีหน่วยประมวลผลรองที่ใช้ Cortex-A7 อีก 4 คอร์ สำหรับใช้ในงานประมวลผลรองที่ไม่ต้องการพลังงานที่สูงมาก ทั้งหมดนี้จะถูกผลิตภายใต้เทคโนโลยีการผลิตที่ 28 นาโนเมตรครับ
โลกที่เข้าสู่ยุคโมบายเป็นแรงสำคัญผลักให้ ARM มีรายได้เพิ่มอย่างมากในปีนี้ รายงานผลประกอบการไตรมาสที่สี่ และทั้งปี 2012 ระบุตัวเลขกำไรประจำไตรมาสไว้ 80 ล้านดอลลาร์ จากรายได้ 262.8 ล้านดอลลาร์ รายได้เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว 21% ขณะที่กำไรเพิ่มขึ้น 16%
โดยรวมทั้งปี ARM มีกำไร 276.5 ล้านดอลลาร์จากรายได้ 913.1 ล้านดอลลาร์ รายได้เพิ่มขึ้น 16% ขณะที่กำไรเพิ่มขึ้น 20%
ARM ระบุว่าในไตรมาสเดียวมีการลงนามซื้อสิทธิ์การใช้ซีพียูเพิ่มเติม 36 ราย ในจำนวนนี้เป็นการซื้อ "สถาปัตยกรรม" ARMv8 จำนวนสองราย, ซื้อสิทธิ์การผลิตซีพียู ARMv8 จำนวนหกราย, และซื้อสิทธิการผลิต ARM Cortex-A15 จำนวนสามราย และในจำนวน 36 รายนี้ มี 6 รายที่เป็นลูกค้ารายใหม่
โครงการ Raspberry Pi เคยระบุว่าจะมีคอมพิวเตอร์ราคาถูกออกมาสองรุ่น คือ รุ่น A ราคา 25 ดอลลลาร์ และรุ่น B ราคา 35 ดอลลาร์ ที่ผ่านมามีเฉพาะรุ่น B ออกขายก่อน และวันนี้รุ่น A ก็เริ่มวางขายในยุโรปแล้ว
ความต่างของทั้งสองรุ่น คือ รุ่น A จะมีแรมเหลือ 256 MB (รุ่น B มี 512 MB), ตัดพอร์ตอีเธอร์เน็ตออก, และลดพอร์ต USB เหลือพอร์ตเดียว ทำให้มันอาจจะเหมาะกับงานเฉพาะอย่างเช่นการรัน XBMC เพื่อต่อกับโทรทัศน์ หรือการใช้เป็นเราท์เตอร์ (เราท์เตอร์ตามบ้านทุกวันนี้มีแรมไม่เกิน 64 MB)
ช่วงแรกนี้รุ่น A จะเปิดขายเฉพาะยุโรป และทีมงานระบุว่าจะรีบขยายการส่งออกไปทั่วโลกเร็วๆ นี้
ที่มา - Raspberry Pi
ความขายดีของ Chromebook รุ่น ARM กลับเป็นอุปสรรค์ให้เทคโนโลยีสำคัญ คือ Native Client กลับใช้งานไม่ได้ แต่ใน Native Client SDK รุ่นล่าสุดทางกูเกิลก็ปรับให้รองรับสถาปัตยกรรม ARM แล้ว โดยเพิ่มตัวเลือกในไฟล์ manifest จากเดิมรองรับ x86-32 และ x86-64 ให้รองรับ ARM ด้วยอีกสถาปัตยกรรมหนึ่ง
ในช่วงนี้มีกระแสพูดคุยเกี่ยวกับ Exynos 5 Octa กันมาก ตัว Exynos 5 Octa นั้นเป็น SoC (system on a chip) ในรูปแบบ big.LITTLE ที่มีคอร์ของ Cortex-A15 และ Cortex-A7 อยู่ภายในอย่างละสี่คอร์ เรื่องหนึ่งที่ถกเถียงกัน (หรืออาจจะเข้าใจไปในทางเดียวกันโดยมิได้นัดหมาย) ก็คือคอร์ทั้งแปดของหน่วยประมวลผลแบบ big.LITTLE นั้นสามารถใช้งานได้ทีละสี่คอร์หรือว่าได้ทั้งแปดคอร์กันแน่?
ถ้าใครใจร้อนขอสรุปตรงนี้ว่าในทางฮาร์ดแวร์นั้นทั้งแปดคอร์สามารถทำงานได้พร้อมกันทั้งหมด แต่...
ปัญหาในขณะนี้คือระบบปฏิบัติการยังอาจจะไม่สามารถดึงประสิทธิภาพทั้งด้านความเร็วในการประมวลผลและการประหยัดพลังงานออกมาพร้อมๆ กันได้อย่างเต็มที่
VIA บุกตลาดคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วในตระกูล Raspberry Pi มาตั้งแต่ APC 8750 แต่ข้อเสียคือมันใช้ซีพียูเพียง ARM 11 800 MHz ตอนนี้เครื่องรุ่นที่สองก็ออกมาแล้วในชื่อ APC Rock ที่ใช้ชิป Cortex-A9 ที่ผลิตด้วย VIA เอง
APC Rock ให้แรมมา 512 MB และหน่วยความจำแฟลชขนาด 4 GB ใช้ไฟ 9V กินพลังงาน 13.5 วัตต์ ราคา 79 ดอลลาร์
ข้อดีของมันคงเป็นพอร์ตเชื่อมต่อให้ให้มาค่อนข้างเยอะ โดยเฉพาะว่ามีพอร์ต VGA ที่ Raspberry Pi ไม่มี อีกส่วนคงมี "กล่องกระดาษ" ที่ทำมาพอดีกันไว้วางคอมพิวเตอร์ทั้งเครื่องไปกับหนังสือได้ (ดูท้ายข่าว)
สั่งได้แล้ววันนี้ ค่าส่งมาไทย 16 ดอลลาร์ (ไม่รวมภาษี) ส่วนรุ่นพร้อมกล่องยังต้องรอถึงเดือนมีนาคม
โครงการ Open Compute เป็นโครงการที่เริ่มจากเฟซบุ๊กเปิดพิมพ์เขียวของเมนบอร์ดและอุปกรณ์ต่างๆ ในศูนย์ข้อมูลของตัวเองให้แก่สาธารณะ เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าที่ทำงานร่วมกับอุปกรณ์เหล่านี้ได้ ปีนี้โครงการ Open Compute ก็สามารถรวบรวมผู้ผลิตทั้งหลายมารวมตัวออกบูตงานประชุมของตัวเองได้แล้ว
เรื่องสำคัญที่สุดคงเป็นชิป X-Gene โดยบริษัท Applied Micro ชิป ARMv8 ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 2.5 GHz 8 คอร์ ผลิตที่เทคโนโลยี 40 นาโนเมตร รองรับแรมได้ 256 GB จะเริ่มส่งมอบภายในปีนี้ และภายในปลายปีนี้จะออกรุ่นที่สอง ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 3 GHz และใช้กระบวนการผลิต 28 นาโนเมตร
ในที่สุดซีพียูบนมือถือก็มาถึงแปดคอร์จนได้ เมื่อซัมซุงเปิดตัวชิปซีรีส์ Exynos 5 Octa ที่มาพร้อมกับซีพียู ARM Cortex-A15 ควอดคอร์ ร่วมกับ Cortex-A7 ควอดคอร์ เพื่อการประมวลผลแบบ big.LITTLE ที่ใช้ซีพียูตัวเบาประมวลผลงานทั่วไปเพื่อแบตเตอรี่ที่ยาวนานขึ้น
จากตัวเลขที่ซัมซุงเผยบนเวที Exynos Octa จะกินไฟต่ำกว่า Exynos 5 Dual สูงสุดถึง 70% เมื่อใช้งานในรูปแบบเดียวกัน และเมื่อเทียบประสิทธิภาพสูงสุดก็เหนือกว่า Exynos 5 Dual ที่ใช้ใน Nexus 10 (และ Chromebook) ที่ผู้ได้สัมผัสต่างก็ยอมรับในความแรงของชิปตัวนี้ไปแล้ว
Huawei เป็นอีกบริษัทที่มีหน่วยพัฒนาชิปของตัวเองคือ HiSilicon ซึ่งเดิมทีตั้งขึ้นมาเพื่อพัฒนาชิปสำหรับเราเตอร์ แต่ปัจจุบันก็ขยับขยายมาทำชิปสำหรับอุปกรณ์พกพาด้วย มือถือของ Huawei ในปัจจุบันอย่างตระกูล Ascend ก็ใช้ชิป HiSilicon K3V2 แบบควอดคอร์
แต่นั่นเป็นเรื่องของปี 2012 เพราะปี 2013 เราเห็นบริษัทซีพียูสาย ARM เกือบทุกแห่งเริ่มผลิตชิปสถาปัตยกรรม Cortex-A15 กันแล้ว (หลังจากที่ประกาศว่าจะเริ่มทำในปี 2012) ทาง HiSilicon ย่อมไม่ตกกระแสนี้กับเขาด้วย
เจ้าพ่อชิปสื่อสาร Broadcom เตรียมขยายอาณาเขตมายังชิปประมวลผลบนอุปกรณ์พกพา โดยประกาศเซ็นสัญญาซื้อสิทธิการใช้งาน ARMv7 (32 บิต เช่น Cortex-A9/A15 ในปัจจุบัน) และ ARMv8 (64 บิต เช่น Cortex-A50) จากบริษัท ARM Limited เป็นที่เรียบร้อย
เป้าหมายของ Broadcom นั้นชัดเจนว่าต้องการขยายธุรกิจชิปสื่อสารของตัวเอง มาเป็น SoC หรือหน่วยประมวลผลครบวงจรบนแผ่นซิลิคอน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วประกอบด้วยซีพียู จีพียู และชิปสื่อสาร
หลังจากผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยเปิดเผยช่องโหว่ของ Windows RT ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งแอพแบบเดสก์ท็อป ไม่ใช่แอพ Windows Store ได้ โฆษกของไมโครซอฟท์ได้ชี้แจงว่าบริษัทขอชื่นชมในความพยายามเปิดเผยช่องโหว่นี้และจดบันทึกไว้ แต่การรันแอพแบบเดสก์ท็อปเป็นเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้ใช้ทั่วไปยากที่จะทำตามได้ เขายังก็บอกเป็นนัยว่าบริษัทจะอุดช่องโหว่นี้ในอนาคต
ใครจะทำหรือปรับแต่งแอพแบบเดสก์ท็อปให้รันบน ARM ในลักษณะ homebrew คงต้องรีบกันหน่อย
ที่มา: The Verge
ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยชื่อ C. L. Rokr (@clrokr) เปิดเผยช่องโหว่ของ Windows RT ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งโปรแกรม (แบบเดสก์ท็อป ไม่ใช่ Metro app จาก Windows Store) ได้อย่างอิสระ
Rokr ระบุว่า Windows RT สามารถรันโปรแกรมเดสก์ท็อปที่เขียนด้วย Win32 ได้อยู่แล้ว แต่ไมโครซอฟท์ป้องกันการติดตั้งโปรแกรมของผู้ใช้ไว้ในระดับของเคอร์เนลและ UEFI Secure Boot ซึ่งช่องโหว่ที่เขาค้นพบจะข้ามขั้นตอนการตรวจสอบของไมโครซอฟท์ไป และช่วยให้ผู้ใช้ติดตั้งโปรแกรมเดสก์ท็อปได้ตามต้องการ
อย่างไรก็ตาม ช่องโหว่นี้ยังห่างไกลกับการรันโปรแกรมพีซีเต็มรูปแบบบน Windows RT เพราะโปรแกรมเดสก์ท็อปที่คอมไพล์เป็น ARM มีไม่เยอะนัก และการเจาะช่องโหว่นี้ต้องทำใหม่ทุกครั้งเมื่อบูตเครื่อง
การรองรับ ARMv8 หรือชื่อในกลุ่มซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สว่า AArch64 เริ่มไล่มาตั้งแต่เคอร์เนล จนตอนนี้ทาง GNU ก็ออก glibc (GNU C Library) รุ่น 2.17 ที่รองรับ AArch64 ออกมาแล้ว
glibc เป็นไลบรารีพื้นฐานสำหรับซอฟต์แวร์ที่เขียนด้วยภาษาซีแทบทั้งหมด มันเป็นส่วนขยายเพิ่มเติมมาจาก API ที่ถูกกำหนดไว้ในมาตรฐาน POSIX การย้ายแอพพลิเคชันที่เขียนด้วยภาษาที่ต้องคอมไพล์ก่อนใช้งาน (เช่นภาษาซี) ไปยังสถาปัตยกรรมใหม่ จำเป็นต้องรอให้เคอร์เนลและไลบรารีพื้นฐานเหล่านี้ถูกพอร์ตไปก่อน แอพพลิเคชันจึงสามารถพอร์ตไปได้ง่ายขึ้น
ถัดจาก Allwinner A31 คู่แข่งสายจีนเหมือนกันอย่าง Rockchip ก็ออกชิป 4 คอร์ออกมาติดๆ กันในทันที โดย RK3188 เป็นชิปตัวแรกในตลาดจีนที่ใช้เทคโนโลยีการผลิต 28 นาโนเมตร (Allwinner A31 ไม่ระบุเทคโนโลยีการผลิต) และรองรับ LTE
RK3188 ใช้แกนกลางเป็น Cortex-A9 ที่ทาง Rockchip ระบุว่าเร็วกว่า Cortex-A7 ที่ Allwinner ถึง 37% ที่สัญญาณนาฬิกาเท่ากันเพราะ A9 decode คำสั่งได้ 2 คำสั่งต่อสัญญาณนาฬิกาในทุกคำสั่ง ขณะที่ A7 สามารถทำได้ 2 คำสั่งเพียงบางคำสั่งเท่านั้น
ชื่อบริษัทผู้ผลิตชิปที่เพิ่งเป็นที่รู้จักอย่าง Allwinner กลับมาอีกครั้งด้วยชิปรุ่นใหม่ล่าสุด คือ Allwinner A31 ที่แกนกลางเป็น Cortex-A7 และชิปกราฟิกเป็น PowerVR SGX544 แบบ 8 คอร์