Tavis Ormandy นักวิจัยความปลอดภัยของกูเกิล เปิดเผยช่องโหว่ Zenbleed ของซีพียูตระกูล AMD Zen 2 ทุกรุ่น ตั้งแต่ Ryzen, Ryzen Pro, Threadripper, EPYC (ในข่าวไม่ได้ระบุถึงแต่มีโอกาสโดนด้วยคือ PS5, Xbox Series และ Steam Deck ที่เป็นแกน Zen 2 ทั้งหมด)
AMD ประกาศวางขายซีพียูกลุ่มเซิร์ฟเวอร์ EPYC Gen 4 เพิ่มเติม หลังจากวางขาย EPYC "Genoa" สำหรับเซิร์ฟเวอร์ทั่วไป มาตั้งแต่ปลายปี 2022
ซีพียู EPYC มีทั้งหมด 4 กลุ่มตามที่ AMD ประกาศไว้ตอนกลางปี 2022 โดยมี Genoa ขายเป็นกลุ่มแรก ส่วนประกาศรอบนี้เป็นการวางขายซีพียูเพิ่มเติมอีก 2 กลุ่มคือ "Bergamo" สำหรับตลาดเซิร์ฟเวอร์ cloud native ที่อัดจำนวนคอร์สูงๆ และ "Genoa-X" สำหรับงานที่ต้องการหน่วยความจำ L3 มากๆ
AMD เริ่มวางตลาด EPYC รุ่นที่ 4 “Genoa” ตามแผนการที่ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ ที่ประกาศออกมามีทั้งหมด 18 รุ่น จำนวนคอร์สูงสุด 96 คอร์ ทำให้ประสิทธิภาพรวมสูงกว่า EPYC รุ่นที่ 3 ที่มีจำนวนคอร์สูงสุด 64 คอร์ถึงระดับเท่าตัว
สถาปัตยกรรม Zen 4 เป็นการปรับปรุงจาก Zen 3 แต่ปรับปรุงส่วนย่อยๆ ไปอีกหลายอย่างจนสามารถรับคำสั่งต่อสัญญาณนาฬิกา (IPC) ได้เพิ่มขึ้น 14% โดยส่วนประกอบภายในเพิ่มขึ้น เช่น Op Cache, Instruction Retire Queue, INT/FP register file, micro-op cache
AMD ประกาศแผนการออกซีพียูเซิร์ฟเวอร์ Epyc รุ่นที่สี่ เริ่มไตรมาส 4/2022 และต่อเนื่องตลอดปี 2023 จากนั้นจะเป็น Epyc รุ่นที่ห้า "Turin" ที่จะตามมาในปี 2024
4th Gen Epyc ประกอบด้วยซีพียูทั้งหมด 4 รุ่นย่อย ได้แก่
นักวิเคราะห์การเงินจากบริษัทหลักทรัพย์ Mizuho Securities อ้างข้อมูลจากบริษัทเซิร์ฟเวอร์ Inspur Systems ว่า AMD ขึ้นราคาซีพียูเซิร์ฟเวอร์ Epyc อีก 10-30% สำหรับลูกค้าในช่วงหลังๆ
เมื่อเจอปัจจัยซีพียูขาดแคลน ทำให้ลูกค้าไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องยอมรับราคาใหม่นี้ (take it or leave it) ไม่อย่างนั้นไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าจะสั่งซื้อซีพียูได้อีกเมื่อไร
นอกจากนี้ Inspur Systems ยังประเมินว่าซีพียูคู่แข่ง Xeon Sapphire Rapids ของอินเทล จะเลื่อนวันส่งมอบจริงเป็นไตรมาส 3 ของปีนี้ ทำให้ Eypc Milan ของ AMD ครองตลาดช่วงครึ่งแรกของปีได้ยาวๆ เลย
โฆษกของ AMD ปฏิเสธไม่แสดงความเห็นต่อข่าวการขึ้นราคาครั้งนี้
AMD ประกาศข่าวได้ลูกค้ารายสำคัญคือ Meta (Facebook เดิม) สั่งซื้อซีพียู EPYC เพื่อใช้ในศูนย์ข้อมูลของตัวเอง โดยจะเริ่มจาก EPYC Gen 3 (Milan) ที่เปิดตัวเมื่อช่วงต้นปี 2021 ส่วนรายละเอียดจะแถลงเพิ่มเติมในสัปดาห์นี้
ที่ผ่านมา AMD ได้บริษัทคลาวด์ขนาดใหญ่ (hyperscale) เป็นลูกค้า EPYC หลายราย เช่น Azure, Google Cloud, Cloudflare ซึ่งกรณีของ Cloudflare เปลี่ยนเซิร์ฟเวอร์เป็นรุ่นใหม่ที่ใช้แต่ EPYC Milan ล้วนๆ ด้วย
เอเอ็มดีเปิดตัวซีพียูตระกูล EPYC สำหรับเซิร์ฟเวอร์ในชื่อรหัส Milan-X ภายในเป็นคอร์ Zen 3 สูงสุด 64 คอร์ แต่ความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือแพ็กเกจแบบใหม่ที่เชื่อมต่อระหว่างชิปได้มากขึ้น ส่งผลให้เอเอ็มดีใส่แคชลงไปได้ใหญ่ขึ้น ทำให้ Milan-X มีแคชสูงสุด ถึง 804MB ต่อซ็อกเก็ต
Milan-X ยังใช้งานกับเมนพอร์ตที่ใช้ซ็อกเก็ต SP3 ได้แต่ต้องอัพเดตเฟิร์มแวร์ใหม่เสียก่อน
เอเอ็มดีระบุว่าจะเริ่มส่งมอบชิป Milan-X ภายในไตรมาสแรกของปี 2022 แต่ตอนนี้ Azure จะเริ่มเปิดเครื่อง HBv3 ให้ทดสอบกันก่อนในวงปิด และคาดว่าจะเปิดให้คนทั่วไปใช้งานเร็วๆ นี้
ที่มา - YouTube: AMD
Cloudflare ประกาศอัพเกรดเซิร์ฟเวอร์ชุดใหม่ตามรอบการอัพเกรด 12-18 เดือน หลังจากก่อนหน้านี้ใช้เซิร์ฟเวอร์ AMD เป็นตัวประมวลผลหลัก และใช้เซิร์ฟเวอร์อินเทลในสตอเรจ แต่รอบนี้ก็หันไปใช้ AMD EPYC Milan เต็มรูปแบบ
เงื่อนไขสำคัญของ Cloudflare คืออัตราการใช้พลังงานต่อ request และที่ผ่านมาก็ทดสอบเซิร์ฟเวอร์ Arm ไปพร้อมกัน แต่รอบนี้ก็ยังตัดสินใจใช้ x86 ต่อไป ในการทดสอบทาง Cloudflare ใช้ทั้ง Intel Ice Lake และ AMD Milan และพบว่าพลังประมวลผลเพียวๆ ของ Ice Lake นั้นสูงกว่า แต่เซิร์ฟเวอร์โดยรวมกลับกินพลังงานสูงขึ้นนับร้อยวัตต์ จึงตัดอินเทลออกจากตัวเลือก
Google Cloud Compute ออก VM ชนิดใหม่ชื่อ Tau ที่ออกแบบมาสำหรับงาน scale-out โดยเฉพาะ
ที่ผ่านมา โลกของคลาวด์มี VM อยู่สองกลุ่มใหญ่ๆ คือ General Purpose รันงานทั่วไป มีสมดุลระหว่างสเปกและราคา กับ Workload-optimized สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น เน้นซีพียู เน้นแรม เน้นจีพียู ตามชนิดของงาน
Tau VM ถือเป็น VM ชนิดใหม่ในกลุ่ม General Purpose คือรันงานชนิดใดก็ได้ แต่ออกแบบมาสำหรับเวิร์คโหลดยุคใหม่ๆ ที่ขยายตัวด้วยวิธี scale-out (เพิ่มจำนวนเครื่อง) แทนการ scale-up (อัพเกรดเครื่อง) แบบเวิร์คโหลดในอดีต
AMD เปิดตัวซีพียู EPYC รุ่นที่ 3 (ชื่อรหัส Milan) สำหรับเซิร์ฟเวอร์ รหัสตระกูล 7003 โดยปรับมาใช้คอร์ Zen 3 จำนวนคอร์ต่อซ็อกเก็ตสูงสุด 64 คอร์เท่ากับรุ่นที่ 2 แต่อัตราการรันคำสั่งต่อสัญญาณนาฬิกา (instructions per clock - IPC) สูงขึ้นถึง 19% และฟีเจอร์เข้ารหัสข้อมูลในซีพียู Secure Encrypted Virtualization-Secure Nested Paging (SEV-SNP) สำหรับการแยกข้อมูลของ virtual machine ออกจากเครื่องหลักชัดเจนขึ้นอีกขั้นหลังจากก่อนหน้านี้ซีพียู EPYC มักใช้ให้บริการคลาวด์แบบเข้ารหัสแรมอยู่ก่อนแล้ว
Cloudflare รายงานถึงประสิทธิภาพของเซิร์ฟเวอร์รุ่นที่ 10 หรือ Gen X ที่ประกาศตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ตอนนี้เซิร์ฟเวอร์เหล่านี้ก็ถูกนำไปใช้งานจริงมาระยะหนึ่งแล้ว โดยสเปคของ Gen X ได้แก่
VMware ออกอัพเดต vSphere รุ่น 7.0U1 ที่ขยายขนาด VM ที่รองรับสูงสุดไปถึงซีพียู 768 คอร์ แรม 24TB และจำนวนเครื่องในคลัสเตอร์สูงสุดเป็น 96 เครื่อง แต่ฟีเจอร์หนึ่งที่เพิ่มมาคือการรองรับชุดคำสั่ง SEV-ES ของซีพียู AMD EPYC ทำให้สามารถเข้ารหัสแรมใน VM ได้
ชุดคำสั่ง SEV-ES ใส่มาใน AMD EPYC 2 และก่อนหน้านี้มีการใช้งานในศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ เช่น Cloudflare และ Confidential VM ของ Google Cloud การที่ VMware รองรับชุดคำสั่งนี้ทำให้องค์กรที่ยังสร้างศูนย์ข้อมูลของตัวเองสามารถเข้ารหัสแรมได้ด้วย
ในงานแถลงผลประกอบการไตรมาส 2/2020 ของ AMD บริษัทยืนยันว่ากำหนดเปิดตัวผลิตภัณฑ์ทุกอย่างยังเป็นไปตามแผน โดยปีนี้เราจะได้เห็น ซีพียูแกน Zen 3, SoC คัสตอมสำหรับ Xbox Series X และ PS5, จีพียูสถาปัตยกรรม RDNA2
Google Cloud เปิดให้บริการเซิร์ฟเวอร์แบบใหม่ Confidential VM ที่เข้ารหัสข้อมูลตลอดเวลาแม้ขณะประมวลผลและข้อมูลอยู่ในหน่วยความจำ โดยใช้ฟีเจอร์ Secure Encrypted Virtualization (SEV) ของซีพียู AMD EPYC รุ่นที่สอง
SEV เป็นฟีเจอร์ที่ทำให้ VM แต่ละเครื่องสร้างกุญแจเข้ารหัสหน่วยความจำของตัวเองเพื่อให้มั่นใจว่าคนดูแลฮาร์ดแวร์อย่างกูเกิลเองหรือผู้ใช้อื่นที่แชร์เครื่องกันจะไม่สามารถอ่านหน่วยความจำข้ามเครื่องเสมือนได้
AMD เคยเป็นเจ้าแห่งโลกซูเปอร์คอมพิวเตอร์อยู่พักหนึ่ง โดยซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Cray Titan ที่ใช้ซีพียู Opteron เคยครองแชมป์ของ TOP500 ช่วงปี 2012 แต่พอ AMD เข้าสู่ "ยุคมืด" ทำให้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่นหลังๆ แทบไม่มีเครื่องที่อันดับสูงๆ ใช้ซีพียู AMD เลย
เมื่อ AMD "คัมแบ็ค" กลับมาด้วยซีพียูสถาปัตยกรรม Zen สิ่งที่ต้องจับตาคืออันดับของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียู EPYC ว่าจะไต่กลับเข้ามาเมื่อไร
ในการประกาศผล TOP500 รอบล่าสุด (กลางปี 2020) ในที่สุด AMD ก็สามารถกลับคืนสู่ TOP 10 ของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่แรงที่สุดในโลกได้แล้ว ที่น่าตื่นเต้นกว่าก็คือ คอมพิวเตอร์เครื่องนี้คือ Selene ของคู่แค้น NVIDIA ที่เลือกใช้ซีพียู EPYC จาก AMD
จากข่าวลือว่า AMD อาจเลื่อนการเปิดตัว Ryzen 4000 ไปปีหน้าเพราะไม่มีคู่แข่งสมน้ำสมเนื้อ โฆษกของ AMD ออกมาปฏิเสธข่าวนี้แล้ว โดยบอกว่าซีพียูที่ใช้แกน Zen 3 จะยังวางขายตามกำหนดเดิมภายในปี 2020
เว็บไซต์ ExtremeTech ชี้ประเด็นว่า AMD ใช้คำว่า "Zen 3" โดยไม่อ้างอิงชื่อผลิตภัณฑ์เจาะจง จึงอาจตีความได้ว่าซีพียู Zen 3 จะมาจริงๆ ภายในปีนี้ แต่หมายถึง Epyc Gen 3 โค้ดเนม Milan ที่เคยประกาศตัวไปแล้วว่าออกปี 2020 แทน Ryzen 4000 (โค้ดเนม Vermeer) อย่างที่เราเข้าใจกัน
Nested Virtualization เป็นการรัน OS ซ้อนใน OS อีกที แนวคิดนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ และมีใน Windows 10 มาตั้งแต่ปี 2015 แต่ยังจำกัดเฉพาะซีพียูฝั่งอินเทลที่มี VT-x เท่านั้น (ตัวอย่างการใช้งานคือ รันอีมูเลเตอร์มือถือ Android ใน VM)
ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศรองรับ Nested Virtualization กับซีพียูฝั่ง AMD เรียบร้อยแล้ว ทั้ง Ryzen และ Epyc โดยเริ่มตั้งแต่ Ryzen รุ่นแรกขึ้นไป ฟีเจอร์นี้เริ่มใช้กับ Windows 10 Insider Build 19636 ขึ้นไป
ถ้ายังจำกันได้ เมื่อกลางเดือนนี้ NVIDIA เปิดตัวจีพียูใหม่ Ampere โดยเริ่มจากจีพียูเซิร์ฟเวอร์รุ่น A100 ที่เปิดตัวพร้อมเซิร์ฟเวอร์ DGX-A100 ที่ประกอบด้วยการ์ด A100 จำนวน 8 ใบ คู่กับซีพียู AMD Epyc 7742
ประเด็นนี้สร้างความสงสัยให้หลายๆ คนว่าทำไม NVIDIA ถึงเลือกใช้ซีพียูจากคู่แข่งจาก AMD ในเซิร์ฟเวอร์รุ่นท็อปของตัวเอง และถ้าย้อนดูเซิร์ฟเวอร์ DGX รุ่นก่อนๆ ก็เลือกใช้ Intel Xeon มาโดยตลอดด้วย
นอกจากจีพียู Navi 2X และซีพียู Ryzen รุ่นที่ 4 AMD ยังมีสินค้าฝั่งเซิร์ฟเวอร์คือ ซีพียูตระกูล Eypc และจีพียู Radeon Instinct ที่ประกาศแผนการออกรุ่นใหม่ดังนี้
Cloudflare ประกาศเริ่มติดตั้งเซิร์ฟเวอร์รุ่นที่สิบ หรือ Gen X โดยจุดสำคัญคือมันจะเป็นเซิร์ฟเวอร์รุ่นแรกที่ไม่ใช้ชิ้นส่วนอินเทลเลย ไม่ว่าจะเป็นซีพียู, แรม, สตอเรจ, หรือเน็ตเวิร์ค โดยเฉพาะตัวซีพียูนั้นเลือก AMD EPYC 7642
ก่อนการตัดสินใจครั้งนี้ ทาง Cloudflare ทดสอบซีพียูหลายรุ่นโดยเน้นประสิทธิภาพของจำนวน request ที่รับได้เทียบกับอัตราการกินพลังงาน จึงเลือก AMD EPYC 7642 ที่มี 48 คอร์ 96 เธรดเท่าๆ กับ Intel Xeon Platinum 6162 ที่ใช้ในเซิร์ฟเวอร์รุ่นที่ 9 แบบสองซ็อกเก็ตและมีคอร์รวมเท่ากัน แต่ AMD มีความได้เปรียบที่แคช L3 ขนาดใหญ่มาก (256MB) ทำให้อัตรา cache miss ต่ำลง และอัตราสัญญาณนาฬิกาพื้นฐานก็สูงกว่า ทำให้การรับโหลดสูงๆ ต่อเนื่องยาวนานได้ประสิทธิภาพมากกว่า
Forrest Norrod ผู้บริหารฝั่งเซิร์ฟเวอร์ของ AMD ไปพูดที่งานของธนาคาร Barclays พูดถึงการแข่งขันระหว่าง AMD กับอินเทล ที่รอบปีนี้ AMD ทำผลงานได้ดีมาก
เขาบอกว่าซีพียูฝั่งเซิร์ฟเวอร์ของ AMD แพ้อินเทลมาโดยตลอด โดยเฉพาะงานประมวลผลเธร็ดเดียวหรือเธร็ดน้อยๆ ปัญหานี้ถูกแก้ไขใน EPYC Rome ที่ปรับปรุงเรื่อง instruction per clock (IPC) จนทำให้ประสิทธิภาพต่อเธร็ดของ Rome ดีกว่าแล้ว
เมื่อบวกกับแต้มต่อของ AMD ในเรื่องกระบวนการผลิตที่เริ่มเหนือกว่าอินเทล (7 นาโนเมตร vs 10 นาโนเมตร) ตอนแรก AMD มองว่าทำได้เสมอกับอินเทลก็ดีใจแล้ว แต่ไม่เคยคิดฝันเลยว่าจะสามารถแซงหน้าอินเทลได้ (We didn't dream that we would be ahead)
ปี 2019 ถือเป็นปีที่ AMD ทำผลงานได้ดีเยี่ยม ทั้งตลาดซีพียูสำหรับคอนซูเมอร์ (Ryzen/Threadripper) และซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์ (Epyc)
Ruth Cotter ผู้บริหารของ AMD ไปพูดที่งาน UBS Global Tech Conference โดยเผยว่าตอนนี้ AMD มีส่วนแบ่งตลาดซีพียูเซิร์ฟเวอร์ประมาณ 7% และต้องการดันส่วนแบ่งตลาดให้ถึง 10% ภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2020
ในอดีตยุค Opteron รุ่งเรือง AMD เคยมีส่วนแบ่งตลาดเซิร์ฟเวอร์สูงถึง 26% ช่วงราวปี 2005-2006 แต่หลังจากนั้นก็มีส่วนแบ่งลดลงเรื่อยๆ ก่อนจะเริ่มกลับมาสร้างโมเมนตัมได้อีกครั้งในยุคนี้
เดือนที่แล้ว AMD เปิดตัวซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์ EPYC Gen 2 โดยซีพียูตัวที่แรงที่สุดคือ EPYC 7742 มาพร้อม 64 คอร์ 128 เธร็ด, คล็อค 2.25GHz อัดไปได้ถึง 3.4GHz อัตราการใช้พลังงาน TDP 225 วัตต์
ล่าสุด AMD เปิดตัว EPYC ที่แรงกว่านั้นอีกชั้นคือ EPYC 7H12 ที่ยังเป็น 64 คอร์ 128 เธร็ดเท่าเดิม แต่เพิ่มคล็อคฐานให้สูงขึ้นเป็น 2.6 (คล็อคสูงสุดลดลงเหลือ 3.3GHz) และเพิ่ม TDP เป็น 280 วัตต์
AMD ระบุว่า EPYC 7H12 ออกแบบมาสำหรับงานประมวลผลสมรรถนะสูง (HPC) เท่านั้น และต้องใช้ระบบระบายความร้อนด้วยของเหลวถึงจะเอาอยู่ ผลคือ EPYC 7H12 สามารถให้ประสิทธิภาพดีขึ้นกว่า EPYC 7742 อีก 11% (วัดจากเบนช์มาร์ค LINPACK)
ในขณะโลกกำลังตื่นเต้นกับ AMD Ryzen Gen 3 ที่โดดเด่นในแง่ประสิทธิภาพต่อราคา AMD ยังมีซีพียูอีกตัวรออยู่คือ ซีพียูเซิร์ฟเวอร์ EPYC Gen 2 รหัส "Rome" ที่เปิดตัวมาสักพัก และเริ่มวางขายแล้ววันนี้
EPYC Gen 2 ใช้สถาปัตยกรรม Zen 2 บนกระบวนการผลิต 7 นาโนเมตร โดยมีจำนวนคอร์ให้เลือกตั้งแต่ 8-64 คอร์ ขยายขนาดแคช L3 ให้มากขึ้น เบนช์มาร์คของ AMD เองระบุว่า AMD EPYC 7742 รุ่นท็อปสุด มีประสิทธิภาพสูงกว่า EPYC รุ่นแรก 7601 ประมาณ 2 เท่า
เก็บตกข่าว AMD ที่เหลือจากงาน CES 2019 นอกจาก Ryzen Mobile Gen 2, Ryzen Desktop Gen 3, Radeon VII ยังมีซีพียูเซิร์ฟเวอร์ EPYC รุ่นที่สองรหัส "Rome"
AMD เคยโชว์ EPYC "Rome" มารอบหนึ่งแล้วเมื่อปลายปีก่อน มันเป็นการอัพเกรดใหญ่ของ EPYC รุ่นแรก มาใช้สถาปัตยกรรม Zen 2 และกระบวนการผลิตขนาด 7 นาโนเมตร เช่นเดียวกับ Ryzen Gen 3 ที่จะออกช่วงกลางปีนี้ โดยบริษัทระบุว่ามีประสิทธิภาพต่อซ็อคเก็ตดีขึ้น 2 เท่า, ประสิทธิภาพการประมวลผลทศนิยมดีขึ้น 4 เท่า และยังใช้ซ็อคเก็ตแบบเดียวกับรุ่นก่อน