ศาลยุติธรรมยุโรปหรือ The Court of Justice of the European Union (CJEU) ชี้ เว็บไซต์ที่ฝังปุ่มโชว์จำนวนไลค์จากโซเชียลมีเดียไว้ ต้องขอความยินยอมจากผู้ใช้งานก่อน เพราะถือว่าเป็นการถ่ายข้อมูลไลค์จากที่หนึ่งไปยังหน่วยงานภายนอก
CJEU ทำหน้าที่ตีความกฎหมายและทำให้แน่ใจว่า กฎหมายมีการนำไปใช้ในทางเดียวกันทุกประเทศในสหภาพยุโรป
ปลั๊กอินยอดไลค์ในเว็บไซต์ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการโปรโมทเว็บไซต์ หรือสินค้าขอตัวเองว่าได้รับความนิยมขนาดไหนในโซเชียลมีเดีย แต่เรื่องมันเกิดขึ้นจากการที่ผู้บริโภคชาวเยอรมันฟ้องร้องเว็บไซต์ Fashion ID ผู้ค้าปลีกแฟชั่นออนไลน์ฐานการละเมิดกฎการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลผ่านการใช้ปุ่มปลั๊กอินยอดไลค์บนเว็บไซต์ โดยศาลชี้ว่ากรณีนี้ เป็นการรับผิดชอบร่วมกันระหว่างโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์นั้นๆ
Chrome 76 ออกรุ่นเสถียร ของใหม่ในรุ่นนี้คือ
คำเตือน: มีการเปิดเผยเนื้อหา
Netflix มีหนังสารคดีใหม่เรื่อง The Great Hack ว่าด้วยการขโมยข้อมูลส่วนบุคคลจากโซเชียลมีเดียของบริษัท Cambridge Analytica และหาประโยชน์จากข้อมูลนั้นให้ฝ่ายการเมืองช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปี 2016
The Great Hack นำเสนอการสืบสวนเจาะลึกบริษัท Cambridge Analytica โดยตรง เปิดโปงวิธีการใช้ข้อมูลและวิธีการใช้โซเชียลเป็นช่องทางในการควบคุมความคิดทางการเมืองของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง นอกจากนี้หนังยังเปิดเผยความจริงที่น่าตกใจหลายอย่าง Blognone เห็นว่าเรื่องนี้น่าสนใจและควรเขียนแนะนำเป็นอย่างยิ่ง
The Guardian รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่เป็นอดีตพนักงานสัญญาจ้างของแอปเปิล เปิดเผยว่าพวกเขาถูกมอบหมายให้ทำหน้าฟังเสียงบันทึก จากผู้ใช้งาน Siri โดยมีวัตถุประสงค์คือให้แยกแยะว่า ข้อความที่ส่งเข้ามานั้น เป็นคำสั่งรูปแบบปกติ หรือเป็นคำสั่งที่ผิดพลาดจนเกิดการเรียกใช้ Siri ขึ้นมา จึงเท่ากับมีการใช้คนฟังเสียงจริงในกระบวนการปรับปรุงผลิตภัณฑ์
ตัวแทนของแอปเปิลชี้แจงว่า มีการนำคำสั่ง Siri จำนวนเล็กน้อย มาฟังวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงทั้ง Siri และ Dictation โดยคำสั่งที่นำมาไม่มีการผูกข้อมูลเข้ากับ Apple ID กระบวนการฟังและวิเคราะห์ถูกทำในพื้นที่ควบคุม มีการตรวจสอบอย่างเข้มงวดโดยแอปเปิล และจำนวนคำสั่งที่นำมาวิเคราะห์มีน้อยกว่า 1%
ตั้งแต่เดือนมีนาคมปี 2018 ที่ FTC ได้ทำการสืบสวนคดีที่ Facebook ทำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานรั่วไหลโดยมีสาเหตุเริ่มต้นมาจากบริษัทวิจัยข้อมูล Cambridge Analytica โดยกระทบถึง 89 ล้านราย (อ่านบทความย้อนหลังได้ ที่นี่) ล่าสุด FTC ออกมาประกาศผลการสืบคดีอย่างเป็นทางการแล้วว่า Facebook ต้องจ่ายค่าปรับ 5 พันล้านดอลลาร์ หรือราว 150,000 ล้านบาท และ Facebook ต้องตั้งคณะกรรมการดูแลเรื่องการจัดการข้อมูลในบริษัทด้วย
กูเกิลประกาศแก้ฟีเจอร์ใน Chrome เพื่อต่อต้านการตรวจจับการเข้าเว็บด้วยโหมด Incognito ที่หลายเว็บอาจขึ้นแจ้งเตือนได้ว่าผู้ใช้กำลังใช้โหมดนี้อยู่ โดยเริ่มต้นที่ Chrome 76 ที่มีกำหนดปล่อยสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้
ที่ผ่านมาเว็บมักอาศัยการตรวจจับ FileSystem API ที่ในโหมด Incognito จะไม่สามารถเรียกใช้ได้ ทำให้เว็บรู้ว่าผู้ใช้กำลังเข้าเว็บด้วยโหมดนี้ แต่การปรับพฤติกรรม API ใหม่จะทำให้เว็บไม่สามารถตรวจจับได้อีกต่อไป
ทางกูเกิลตระหนักว่าการปรับพฤติกรรมเช่นนี้จะกระทบกับโมเดลรายได้ของบางสำนักข่าวที่อาศัยการนับจำนวนบทความที่อ่านฟรีต่อเดือน แต่ยืนยันว่าโหมด Incognito ต้องรักษาความเป็นส่วนตัวผู้ใช้ โดยจะหาทางออกอื่นๆ ที่จะช่วยให้สำนักข่าวสามารถจำกัดการอ่านฟรีได้ต่อไป
FaceApp แอปแต่งรูปใบหน้ากลับมาเป็นไวรัลอีกครั้ง โดยมีผู้นำมาแต่งใบหน้าให้ดูแก่ขึ้นแล้วแชร์ตามสื่อออนไลน์ต่าง ๆ อย่างไรก็ตามทุกครั้งที่มีแอปแต่งภาพแนวนี้ ก็จะมีคนทักท้วงและแชร์ข้อมูลต่อกันไปว่าผู้พัฒนาอาจเก็บภาพของเราไว้ และสามารถนำไปใช้งานต่อได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
นอกจากนี้ยังมีผู้ทดสอบและอ้างว่าแอป FaceApp เมื่อเราอนุญาตให้เข้าถึงอัลบั้มรูป แอปจะอัปโหลดรูปทั้งหมดในเครื่องของเราไปยังเซิร์ฟเวอร์ผู้พัฒนา ทำให้เป็นประเด็นมากโดยเฉพาะในสื่ออเมริกาเรื่องความเป็นส่วนตัว
โดยทาง FaceApp ก็ได้ออกมาชี้แจงในแต่ประเด็นที่ถูกตั้งคำถามไว้ดังนี้
หน่วยงานด้านการปกป้องข้อมูล (HBDI) ของรัฐ Hesse ทางตอนกลางของเยอรมนี (มีเมืองหลักคือ Frankfurt am Main) ประกาศสั่งห้ามไม่ให้โรงเรียนของรัฐใช้งาน Office 365 โดยให้เหตุผลว่ากังวลถึงความเป็นส่วนตัวของข้อมูลครูและนักเรียน
ถึงแม้ไมโครซอฟท์จะมีเซิร์ฟเวอร์อยู่ในยุโรปที่อยู่ภายใต้ GDPR แต่ทางหน่วยงานก็กังวลว่าข้อมูลดังกล่าวยังคงถูกส่งกลับสหรัฐ ตั้งแต่ข้อมูลสาเหตุความผิดปกติของตัวแอป ไปจนถึงเนื้อหาในเอกสาร ที่ถูกใช้ในเครื่องมือตรวจสอบคำผิดและแปลข้อความ ซึ่งละเมิด GDPR โดย Ronellenfitsch ระบุด้วยว่าไม่ใช่แค่ไมโครซอฟท์เท่านั้น แต่โซลูชันคลาวด์ของ Google และ Apple ก็เข้าข่ายนี้เหมือนกัน
Wall Street Journal (WSJ) อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวตน ระบุว่ากรรมการการค้าสหรัฐฯ (Federal Trade Commission - FTC) ได้ข้อตกลงนอกศาลกับเฟซบุ๊ก ให้จ่ายค่าปรับ 5,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 150,000 ล้านบาท จากความล้มเหลวในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้หลายครั้ง ทั้งคดี Cambridge Analytica และคดีการทำข้อมูลหลุดครั้งต่อๆ มา
ทางโฆษก FTC ไม่ให้ความเห็นต่อข่าวนี้ โดยรายงานของ WSJ ระบุว่ากรรมการเสียงแตกทำให้ต้องลงคะแนนเห็นชอบต่อการตกลงกับเฟซบุ๊ก เสียงอนุมัติข้อตกลงชนะไปด้วยคะแนน 3 ต่อ 2 และได้ส่งสำนวนไปให้กระทรวงยุติธรรมตรวจสอบอยู่
ก่อนหน้านี้เฟซบุ๊กเคยกันเงินไว้เป็นค่าปรับ จำนวน 3,000 ล้านดอลลาร์ โดยปีที่แล้วเฟซบุ๊กมี "กำไร" ทั้งหมด 22,000 ล้านดอลลาร์
VRT NWS องค์กรข่าวในเบลเยี่ยมเผยว่าได้ฟังข้อมูลการสนทนาระหว่างคนกับผู้ช่วยอัจฉริยะ Google Assistant เป็นหลักพันไฟล์ โดยได้รับมาจาก subcontractor ของ Google อีกที และยังยืนยันด้วยว่ามีข้อมูลอ่อนไหวด้วย ทำให้สังคมสงสัยว่าข้อมูลการสนทนาพวกนี้มีพนักงานหรือคนใน Google เข้าถึงได้ด้วยหรือ และข้อมูลที่พนักงานได้ฟังมีอะไรบ้าง
เรียกได้ว่าเดินสายออกสื่ออย่างต่อเนื่องสำหรับ Ren Zhengfei ผู้ก่อตั้ง Huawei จากที่ก่อนหน้านี้แทบไม่มีใครได้เห็นตัวเขาเลย ซึ่งล่าสุดก็ได้ให้สัมภาษณ์กับ Financial Times ในประเด็นที่ว่าด้วยการรักษาข้อมูลผู้ใช้จากรัฐบาลจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อกล่าวหาหลักที่ Huawei ถูกโจมตี
Ren บอกว่าบริษัทมีแอปเปิลเป็นแบบอย่าง ในการรักษาความเป็นส่วนตัวและรักษาข้อมูลผู้ใช้งานจากคำขอของรัฐบาล และยืนยันอีกครั้งว่าไม่เคยส่งมอบข้อมูลผู้ใช้ให้รัฐบาลจีน หากเคยทำจริงรัฐบาลสหรัฐก็คงมีหลักฐานมาเล่นงานแล้ว และลูกค้าของ Huawei กว่า 170 ประเทศก็คงเลิกทำธุรกิจด้วยแล้ว ซึ่งหากเกิดกรณีเช่นนั้นขึ้น บริษัทจะหาเงินมาจากไหน
สมาคมผู้ประกอบการ ISP ในสหราชอาณาจักรประกาศเสนอรายชื่อฮีโร่และวายร้าย (Hero and Villain) แห่งอินเทอร์เน็ต เรื่องน่าประหลาดใจคือทางสมาคมระบุว่า Mozilla ผู้พัฒนาเบราว์เซอร์ไฟร์ฟอกซ์นั้นเป็นหนึ่งในวายร้ายอินเทอร์เน็ต
การเสนอชื่อครั้งนี้พิจารณาฝั่งฮีโร่จากการช่วยให้อินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่ที่น่าเชื่อถือ, พัมนาวงการบรอดแบนด์ในสหราชอาณาจักร, และทำงานเพื่อแก้ไขประเด็นการกำกับอินเทอร์เน็ตระดับโลก ขณะที่ฝั่งวายร้ายนั้นเป็นผู้สร้างผลกระทบกับการป้องผู้ใช้, สมดุลระหว่างเสรีภาพการแสดงออกและการปกป้องลิขสิทธิ์, และสร้างผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานอุปกรณ์สื่อสาร
TikTok กำลังถูกคณะกรรมการข้อมูลอังกฤษสืบสวนถึงวิธีการที่บริษัทนำข้อมูลผู้เยาว์ไปใช้ หลังก่อนหน้านี้ TikTok ถูก FTC ของอเมริกาสั่งปรับ 5.7 ล้านดอลลาร์ ข้อหาเก็บข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
มีการสืบสวนจาก Guardian ระบุว่ารัฐบาลจีนติดตามข้อมูลนักท่องเที่ยวจากการที่เจ้าหน้าที่เขตแดน Kyrgyzstan ซึ่งเป็นเขตก่อนจะข้ามไปซินเจียง ให้นักท่องเที่ยวติดตั้งแอพซึ่งจะสามารถติดตามข้อมูลอีเมล อุปกรณ์ที่ใช้ ข้อความ รายชื่อข้อมูลติดต่อ โดยที่เจ้าของเครื่องก็ไม่รู้ตัว
โดยเจ้าหน้าที่จะขอโทรศัพท์และรหัสเข้าเครื่องมาจากนักท่องเที่ยว จากนั้นก็นำเครื่องแยกไปอีกห้องหนึ่ง และโทรศัพท์ก็กลับมาพร้อมกับมีการติดตั้งแอพดังกล่าวไว้แล้ว และพบแต่เครื่องแอนดรอยด์ที่โดนลักษณะนี้
ในงาน WWDC ที่ผ่านมา นอกจากการประกาศฮาร์ดแวร์หลายตัว ระบบปฎิบัติการ iPadOS และ iOS13 แล้ว ยังมีฟีเจอร์หนึ่งที่ได้รับความสนใจพอสมควรคือฟีเจอร์ Find My ที่แอปเปิลระบุว่าจะสามารถค้นหาตำแหน่งอุปกรณ์ได้ แม้ไม่ได้ออนไลน์ก็ตามที
ข้อมูลของโปรโตคอล Find My ยังไม่มากนัก โดยในงานแอปเปิลบอกเพียงว่าตัวแอปจะรักษาความเป็นส่วนตัวผู้ใช้อย่างเต็มที่แต่ไม่ได้บอกข้อมูลเพิ่มเติมนัก ทาง WIRED ได้สัมภาษณ์ Craig Federighi เพิ่มเติมถึงโปรโตคอลของ Find My ทำให้มีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
เวลาเข้าเว็บไซต์อื่นๆ มักจะเจอการให้กด notification เพื่อรับข่าวสารจากเว็บไซต์นั้นต่อ ถ้ากดรับก็จะมี notification แจ้งเวลามีข่าวใหม่มาตลอดเวลา ซึ่งบางครั้งอาจสร้างความรำคาญ คนส่วนใหญ่จึงไม่กดรับกัน
ขณะที่บางเว็บไซต์อาจพยายามให้คนรับการแจ้งเตือนมากกว่าปกติ โดยอาจจะถึงกับไม่ยอมให้อ่านเนื้อหาหากไม่ตอบรับ
มีการสืบสวนเผยแพร่โดยเว็บไซต์ Billboard พบว่า Spotify เผยข้อมูลผู้ใช้แก่ค่ายเพลงเยอะเกินจำเป็นผ่านฟังก์ชั่น pre-save ที่เปิดโอกาสให้แฟนเพลงใช้ฟีเจอร์นี้บน Spotify เพื่อเข้าถึงเพลงใหม่และอัลบั้มใหม่ของศิลปินก่อนที่เพลงนั้นจะปล่อยอย่างเป็นทางการ เรียกได้ว่าเป็นฟีเจอร์ที่แฟนๆ จะได้ฟังเพลงใหม่ก่อนใคร และช่วยเพิ่มยอดสตรีมให้ค่ายเพลงด้วย
กูเกิลประกาศเปิดบริการ DNS over HTTPS (DoH) ผ่านทางเซิร์ฟเวอร์ dns.google โดยเปิดบริการทั้งการคิวรีแบบ rfc8484 และ JSON
dns.google เป็นโดเมนของกูเกิลเองที่เมื่อ resolve ออกมาแล้วจะได้ไอพี 8.8.8.8 และ 8.8.4.4 ซึ่งเป็นไอพีสำหรับบริการ Google Public DNS ที่กูเกิลเปิดบริการตั้งแต่สิบปีที่แล้ว
เซิร์ฟเวอร์ dns.google จะเข้าถึงผ่านทาง point-of-presences (PoPs) ของกูเกิลทั่วโลก ทำให้การเชื่อมต่อควรจะเร็วมาก
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ผู้ใช้ Pantip ชื่อว่า "พิเศษไม่ใส่ผักโรย" รายงานถึงการล็อกอินแอป Samsung Galaxy Gift ที่ตัวเครื่องถูก factory reset มาแล้ว แต่เมื่อล็อกอินด้วยอุปกรณ์ กลับแสดงข้อมูลส่วนตัวของเจ้าของเก่ามาทั้งหมด
ทางซัมซุงเข้ามารับทราบปัญหานี้ และระบุว่าปัญหานี้ไม่กระทบกับผู้ที่ล็อกอินด้วยเฟซบุ๊กหรือ Samsung Account แต่อย่างใด พร้อมกับระบุว่าจะอัพเดตแอปในวันศุกร์ที่ 28 มิถุนายนนี้เพื่อไม่ให้แสดงข้อมูลส่วนบุคคลจากการล็อกอินด้วยตัวอุปกรณ์อีก
ระหว่างรอการอัพเดตแอป ระหว่างนี้ใครจะขายเครื่อง ควรทดสอบให้แน่ใจเสียก่อนว่าการล็อกอินแอปไม่ได้แสดงข้อมูลสำคัญ หรือหากแอปออกอัพเดตมาแล้วก็ควรทดสอบก่อนมอบเครื่องให้คนอื่น
เดือนพฤษภาคมที่ผานมา Google เปิดตัวฟีเจอร์เพื่อความเป็นส่วนตัวใหม่ เพิ่มช่องทางให้ผู้ใช้งานลบประวัติพิกัดสถานที่ที่เคยไป และกิจกรรมต่างๆ บนออนไลน์ได้อัตโนมัติและง่ายขึ้น โดยสามารถเลือกได้ว่าให้ระบบลบเองอัตโนมัติหลังจากผ่านไป 3 เดือน หรือ 18 เดือน
วันนี้ผู้ใช้งานทั้งระบบแอนดรอยด์และ iOS สามารถใช้งานฟีเจอร์นี้ได้แล้ว Blognone จึงทำฮาวทูสั้นๆ มาฝาก
WeTransfer บริการส่งไฟล์ขนาดใหญ่ออกประกาศแจ้งเตือนผู้ใช้ว่าระหว่างวันที่ 16-17 มิถุนายนที่ผ่านมาระบบมีปัญหาทำให้ส่งอีเมลถึงผู้ใช้ผิดคน ส่งผลให้อีเมลแจ้งการส่งไฟล์ถูกส่งไปยังบุคคลอื่น
ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลว่าผู้ใช้ที่ได้รับผลกระทบมีมากน้อยเพียงใด แต่ทาง WeTransfer ระบุว่าอยู่ระหว่างการแจ้งเตือนผู้ใช้ที่ได้รับผลกระทบ และแจ้งหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องแล้ว
รายงานไม่พูดถึงข้อมูลอื่นที่หลุดออกไป แต่ระบุว่าได้ล็อกเอาท์ผู้ใช้บางส่วนและบังคับให้ตั้งรหัสผ่านใหม่เพื่อความปลอดภัย แสดงว่าระหว่างมีปัญหาอาจมีการเข้ายึดบัญชีกันด้วย
ทาง WeTransfer ระบุว่าตอนนี้อยู่ระหว่างการสอบสวนและจะแจ้งรายละเอียดเพิ่มเติมภายหลัง
เวลาเปิดพิกัดในมือถือแล้วโพสต์บน Twitter ระบบจะแสดงพิกัดมาให้อัตโนมัติ ทำให้รู้ได้ว่าผู้ใช้กำลังโพสต์ข้อความนี้ที่ไหน ถ้าใครไม่อยากให้รู้ก็ต้องปิดการแสดงพิกัดในมือถือเสีย
ล่าสุด Twitter ออกมาบอกว่ามีคนใช้ฟีเจอร์นี้น้อยมาก จึงจะลบออกเพื่อให้ผู้ใช้งานใช้งานง่ายขึ้น แต่ผู้ใช้ยังสามารถติดแท็กโลเคชั่นตัวเองได้ผ่านกล้องถ่ายรูปในแอพ และทางเลือกอื่น เช่นจะมีข้อความแสดงว่า Tweet with a location ผู้ใช้ก็สามารถมาเปิดโหมดนี้ได้
The Washington Post รายงานว่า FTC หรือคณะกรรมการการค้าแห่งสหรัฐฯ กำลังอยู่ระหว่างสืบสวน YouTube หลังจากถูกกล่าวหาว่าทางเว็บไซต์มีการละเมิดความเป็นส่วนตัวเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี และกำลังอยู่ในขั้นตอนการสืบสวนท้ายๆ ที่อาจนำไปสู่การระบุความผิด, ปรับ และบังคับให้ YouTube เปลี่ยนกฎและนโยบายเพื่อยกระดับคุ้มครองข้อมูลเด็ก
ในการฟ้องร้องระบุว่า YouTube ล้มเหลวในการปกป้องความเป็นส่วนตัวเด็ก ผิดกฎคุ้มครองเด็ก COPPA ที่ห้ามเก็บข้อมูลเด็กและใช้เด็กเป็นกลุ่มเป้าหมายในการทำโฆษณา โดยสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นคือ YouTube จะถูกบังคับให้ปรับเปลี่ยนกฎคุ้มครองเด็กให้รัดกุมกว่าเดิม
Dan Salmon นักศึกษาวิทยาการคอมพิวเตอร์ได้ทดลองเก็บข้อมูลธุรกรรมบน Venmo แอปจ่ายและโอนเงินบนมือถือที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในสหรัฐฯ ซึ่งจุดเด่นที่อันตรายของแอปคือแชร์ข้อมูลธุรกรรมต่าง ๆ ลงโซเชียลเป็นค่าเริ่มต้น โดย Salmon หวังว่าจะทำให้คนใช้ตระหนักมากยิ่งขึ้นว่าการปล่อยธุรกรรมออกสู่สาธารณะนั้นอันตรายอย่างไร
Salmon ได้ข้อมูลธุรกรรมมาทั้งหมด 7 ล้านรายการ โดยใช้เวลาดาวน์โหลดข้อมูลทั้งหมดติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งเมื่อปีก่อนก็เคยมีนักวิจัยด้านความเป็นส่วนตัวทดลองทำแบบนี้และได้ข้อมูลธุรกรรมออกมานับร้อยล้านรายการ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า แม้เวลาจะผ่านไป 1 ปี แต่ผู้ใช้ก็ยังไม่ได้ตระหนักเรื่องนี้มากนัก
มาถึงวันนี้เราอาจลืม Flash กันไปแล้ว และผู้ผลิตเบราว์เซอร์ทุกรายก็ประกาศแผนการหยุดซัพพอร์ต Flash มาได้สักระยะหนึ่ง กูเกิลเคยประกาศว่าจะหยุดซัพพอร์ต Flash อย่างสมบูรณ์ในช่วงสิ้นปี 2020 โดยค่อยๆ เปลี่ยนผ่านเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้ใช้
ล่าสุดใน Chrome 76 Beta ตอนนี้เปลี่ยนค่าการเล่น Flash เป็น "ปิดโดยดีฟอลต์" (Ask First) ซึ่งหมายความว่าเว็บไซต์ที่มี Flash จะต้องถามผู้ใช้ก่อนเสมอว่าอนุญาตให้เล่น Flash หรือไม่ และถึงแม้ผู้ใช้อนุญาตให้เว็บไซต์นั้นเล่น Flash อัตโนมัติ ค่าจะจำเฉพาะถึงแค่ปิดเบราว์เซอร์เท่านั้น หากเปิดเบราว์เซอร์ขึ้นมาใหม่ ก็ต้องมากดอนุญาตใหม่เสมอ