Tags:
Node Thumbnail

เดือนที่แล้วมีข่าวที่ยังไม่ยืนยันออกมาว่า กูเกิลร่วมลงทุนในบริษัทอวกาศ SpaceX ของ Elon Musk ล่าสุดกูเกิลยืนยันข้อมูลนี้ในเอกสารที่ยื่นกับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์สหรัฐ (SEC) แล้ว

SpaceX เพิ่งระดมทุนรอบล่าสุดไป 1,000 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นหุ้น 10% ของบริษัท โดยบริษัทที่เข้ามาลงทุนคือกูเกิล 900 ล้านดอลลาร์ และบริษัทลงทุน Fidelity อีก 100 ล้านดอลลาร์

SpaceX เป็นบริษัทด้านจรวด-ดาวเทียมของ Elon Musk หนึ่งในผู้ก่อตั้ง PayPal ผู้ที่สนใจข่าวของบริษัทนี้ตามอ่านได้จาก Jusci ครับ

Tags:
Node Thumbnail

เมื่อไม่กี่วันก่อน SpaceX เพิ่งประกาศแผนให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ที่จะใช้เงินลงทุนมากถึง 10,000 ล้านเหรียญ ตอนนี้เริ่มมีรายละเอียดเพิ่มเติมแล้วว่าเงินก้อนนี้มาจากไหน หลังจากเว็บไซต์ The Information ออกมาเผยว่ากูเกิลนั่นเองที่อาจเป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ของโครงการนี้

Tags:
Node Thumbnail

นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีเสนอแนวคิดว่าจะสร้างดาวเทียมใช้เอง โดยมีเหตุผลด้านความมั่นคง จากทุกวันนี้ที่หลายกระทรวงเช่าดาวเทียมเอกชนใช้งานประมาณปีละ 7,000 ล้านบาท และงบประมาณสร้างดาวเทียมก็ใช้เงิน 7,000-8,000 ล้านบาท แต่ไม่รวมค่าดำเนินการ

ตอนนี้ยังการสร้างดาวเทียมเองคงเป็นแค่แนวคิด เพราะในความเป็นจริงงบประมาณที่แต่ละกระทรวงใช้ก็ใช้งานต่างกันไป ทั้งดาวเทียมสื่อสารและดาวเทียมสำรวจทรัพยากรแบบต่างๆ

ตอนนี้เรื่องจะส่งไปยังคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติให้ศึกษารายละเอียดต่อไป

ที่มา - Thai Post

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

เมื่อช่วงเช้าวันที่ 7 มกราคม 2557 เวลา 05.06 น. บริษัท สเปซ เอ็กซพลอเรชั่น เทคโนโลยี (SPACE X) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ปล่อยดาวเทียมไทยคม 6 (Thaicom 6) ขึ้นสู่อวกาศเรียบร้อยแล้ว โดยดาวเทียมไทยคม 6 นี้มีน้ำหนัก 3,000 กิโลกรัม ผลิตโดย บริษัท ออบิทอล ไซเอนส์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศสหรัฐอเมริกา

โดยดาวเทียมไทยคม 6 ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจร ณ ตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก (เป็นตำแหน่งเดียวกันกับดาวเทียมไทยคม 5) ประกอบด้วยย่านความถี่ Ku-Band จำนวน 8 ทรานสพอนเดอร์ มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมประเทศไทย และประเทศในภูมิภาคอินโดจีน และย่านความถี่ C-Band จำนวน 18 ทรานสพอนเดอร์ ที่ครอบคลุมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทวีปแอฟริกา มีระยะเวลาในการทำภารกิจบนอวกาศนาน 14 ปี

Tags:
Node Thumbnail

Eugene Kaspersky ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย (ตามนามสกุลก็คงรู้ว่าจากบริษัทอะไร) เปิดเผยข้อมูลว่าสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) เคยประสบปัญหาไวรัสคอมพิวเตอร์ไปเยือน โดยสาเหตุมาจากนักบินอวกาศรัสเซียนำ USB drive ที่ติดไวรัสจากโลกขึ้นไปใช้งาน

Kaspersky ไม่ได้บอกว่าเหตุการณ์ไวรัสระบาดบนสถานีอวกาศนานาชาติเกิดขึ้นเมื่อไร แต่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นก่อนเดือนพฤษภาคมปีนี้ เพราะเป็นช่วงที่คอมพิวเตอร์ทั้งหมดบนสถานีอวกาศถูกเปลี่ยนเป็นลินุกซ์ (ก่อนหน้านี้เป็น Windows XP)

ผลกระทบของไวรัสบนสถานีอวกาศน่าจะมีแค่คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กที่นำไปใช้บนอวกาศเท่านั้น ส่วนระบบควบคุมของสถานีอวกาศ (SCADA) เป็นลินุกซ์มาก่อนแล้ว

Tags:
Node Thumbnail

PayPal เริ่มคิดการณ์ไกลวางแผนสร้าง PayPal Galactic ระบบการทำธุรกรรมจากบุคคลที่อยู่นอกโลก เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมท่องอวกาศ

PayPal เริ่มพัฒนาระบบการจ่ายเงินและทำธุรกรรมสำหรับมนุษย์ที่อยู่บนอวกาศ โดยชี้ตัวอย่างว่า แม้แต่นักบินอวกาศในปัจจุบันก็มีความต้องการใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อบริการต่างๆ เช่น การซื้อเพลง, ภาพยนตร์ หรืออีบุ๊ก ไว้เพื่อความบันเทิงในช่วงปฏิบัติงานอยู่บนสถานีอวกาศเป็นระยะเวลานานๆ ยังไม่นับรวมถึงอุตสาหกรรมท่องอวกาศที่มีแนวโน้มจะขยายตัวใหญ่ขึ้นอีกในอนาคต

Tags:
Node Thumbnail

หมายเหตุ: ข่าวนี้หมายถึงพีซีบนสถานีอวกาศนานาชาติ ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ระบบควบคุมสถานีอวกาศนานาชาตินะครับ

NASA ประกาศเปลี่ยนระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์พีซีบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) จากวินโดวส์มาเป็นลินุกซ์ โดยให้เหตุผลด้านเสถียรภาพและความน่าเชื่อถือ รวมถึงความสามารถในการแก้ไขและควบคุมระบบจากระยะไกล

นักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติจะได้ใช้พีซีที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Debian 6 และยังไม่มีแผนจะเปลี่ยนเป็น Debian 7 ที่เพิ่งออกเมื่อสัปดาห์ก่อน

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

หลังจากยาน Mars Curiosity ลงจอดบนดาวอังคารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทางนาซ่าก็ให้ข่าวว่าซอฟต์แวร์บนตัวยานจะต้องได้รับการอัพเกรดก่อนจึงเริ่มทดลองทางวิทยาศาสตร์ต่อไปได้

คอมพิวเตอร์บนตัวยาน เป็น PowerPC 750 200MHz แรม 256MB และหน่วยความจำแฟลช 2GB พร้อม EEPROM สำรองอีก 256KB ส่วนการเชื่อมต่อกับโลกนั้นใช้คลื่น X-band (7-8Ghz) ส่งตรงมายังโลกด้วยความเร็ว 160-800bps ขึ้นกับจานที่ใช้ขณะนั้น ส่วนอีกทางคือการส่งไปยังดาวเทียม Mars orbiters ด้วยคลื่น UHF ความเร็วสูงใช้อัพโหลดภาพความละเอียดสูงกลับสู่โลก โดยไม่ระบุความเร็วสูงสุด แต่คาดว่าจะดาวน์โหลดข้อมูลได้วันละ 250 เมกกะบิต

Tags:
Node Thumbnail

เราเคยเห็น Nexus S ขึ้นสู่ขอบอวกาศกันมาแล้ว งวดนี้ Raspberry Pi ขอบ้าง โดยผู้ส่งบอลลูนคือ Dave Akerman ผู้ชื่นชอบการส่งบอลลูนระดับสูง (high-altitude balloon) และคราวนี้เขาก็สามารถส่งบอลลูนขึ้นไปได้สูงถึงเกือบ 40 กิโลเมตรเลยทีเดียว

แต่เนื่องจาก Raspberry Pi นั้นไม่ได้มาพร้อมกับอุปกรณ์อย่างเช่นกล้องถ่ายรูป GPS หรือแม้กระทั่งแบตเตอรี่ จึงต้องมีการติดตั้งเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกกันพอสมควร ถ้าใครแถวนี้สนใจส่งบอลลูนไปเก็บภาพเล่นบ้าง สามารถศึกษารายละเอียดเทคนิคต่างๆ ได้จากบล็อกส่วนตัวของเขาครับ

Tags:
Node Thumbnail

หลายคนอาจจำข่าว Nexus S ออกนอกโลก บินไปกับกระสวยอวกาศเที่ยวสุดท้าย เมื่อเดือนกรกฎาคมกันได้ เวลาผ่านมาสองเดือน กูเกิลเพิ่งปล่อยวิดีโอของ Nexus S ในอวกาศมาให้ดูกัน

Tags:
Node Thumbnail

Nexus S เคยถูกส่งขึ้นไปถึงขอบอวกาศกับบอลลูนฮีเลียมมาแล้วรอบหนึ่ง แต่สุดท้ายก็ได้ขึ้นไปในอวกาศจริงๆ สักที เพราะ Nexus S เป็นหนึ่งในผู้โดยสารของกระสวยอวกาศแอตแลนติสในการเดินทางครั้งสุดท้ายก่อนสั่งลา

ภารกิจของ Nexus S กับการท่องอวกาศครั้งนี้คือช่วยการทดลองควบคุมดาวเทียมด้วยโทรศัพท์มือถือ (โครงการ SPHERES อ่านรายละเอียดใน JuSci) การทดลองครั้งนี้ทำให้ Nexus S กลายเป็นมือถือเชิงพาณิชย์รุ่นแรกที่ NASA รับรองให้ออกไปท่องอวกาศ และใช้งานบนสถานีอวกาศนานาชาติได้

Tags:
Node Thumbnail

เมื่อปลายปีก่อนเราได้เห็นกูเกิลได้ส่ง Nexus S ขึ้นไปยังขอบอวกาศมาแล้ว และดูท่าทางเทรนด์นี้จะฮิตน่าดู เพราะล่าสุดซัมซุงมีแผนจะโปรโมตโทรศัพท์รุ่นใหม่ Galaxy S II ที่จะเปิดตัวในญี่ปุ่นเร็วๆ นี้ด้วยการพาเจ้า Galaxy S II ไปทัวร์อวกาศบนความสูงจากพื้นดินกว่า 98,000 ฟุต ด้วยการบินไปกับบอลลูน

บินแล้วไม่บินเปล่า เพราะงานนี้มีถ่ายทอดสดผ่าน Ustream ด้วยในวันที่ 15 กรกฎาคมนี้ พร้อมทั้งสามารถร่วมส่งข้อความ และทวีตขึ้นไปบนหน้าจอ Galaxy S II ระหว่างการเดินทางอีกด้วย ส่วนใครที่สนใจโครงการนี้ สามารถดูคลิปโปรโมตได้ที่ท้ายข่าว ส่วนเว็บหลักของโครงการคลิกที่นี่เลย มีให้ลองเลื่อนดูความสูงด้วย

Tags:
Node Thumbnail

ไม่นานมานี้เราได้เห็นข่าวที่กูเกิลส่งโทรศัพท์มือถือ Nexus S สู่ขอบอวกาศไป คราวนี้ทีมวิศวกรจากสหราชอาณาจักรเตรียมที่จะส่งโทรศัพท์มือถือขึ้นไปบ้าง แต่เป็นความสูงระดับหลายร้อยกิโลเมตรเลยทีเดียว

ทีมวิศวกรที่ Surrey Satellite Technology Limited (SSTL) จะส่งโทรศัพท์มือถือขึ้นไปเพื่อทดลองว่า โทรศัพท์จะสามารถทำงานได้ในสภาพแวดล้อมอวกาศหรือไม่ โดยจะใช้โทรศัพท์แอนดรอยด์ แต่ยังไม่ระบุว่าจะเป็นรุ่นใด

โทรศัพท์ที่ส่งขึ้นไปนั้นจะไม่มีการแก้ไขตัวฮาร์ดแวร์ใดๆ แต่จะใส่ในเคสป้องกันการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็วและการแผ่รังสี

Tags:
Node Thumbnail

ทีม Google Mobile ที่ทำ Android ทดลองเล่นๆ ด้วยการส่ง Nexus S ขึ้นไปสู่ขอบอวกาศจำนวน 7 ชุดด้วยบอลลูนฮีเลียมขนาดใหญ่ พร้อมกับกล้องถ่ายภาพ, Nexus S, และตุ๊กตา Android

บอลลูนลูกที่ขึ้นไปสูงที่สุดก่อนจะระเบิดแตกออกขึ้นไปสูงถึง 107,375 ฟุต หรือประมาณ 30 กิโลเมตร ส่วน GPS ในเครื่อง Nexus S นั้นทำงานได้ที่ความสูง 60,000 ฟุตเท่านั้น แต่ตัวเครื่องทำงานได้แม้อุณภูมิจะติดลบ 50 องศาเซลเซียสไปแล้ว

ดูแล้ววีดีโอชุดนี้จะเป็นการตลาดของ Nexus S มากกว่า แต่วีดีโอก็ดูเล่นๆ เอาบันเทิงได้ไม่น้อย (วีดีโออยู่ท้ายข่าว)

ที่มา - Google Mobile Blog

Tags:
Node Thumbnail

Douglas H. Wheelock นักบินอวกาศของ NASA และเป็นผู้บัญชาการคนปัจจุบันของสถานีอวกาศนานาชาติ ได้ถ่ายภาพจากบนสถานีอวกาศนานาชาติ แล้วเผยแพร่ใน Twitter ให้โลกได้รับรู้

ผู้สนใจสามารถติดตามเขาได้ที่ @Astro_Wheels เข้าใจว่า "ขอภาพ" ได้ด้วย เช่น ภาพของประเทศไอร์แลนด์ยามค่ำคืน

Wheelock มีความสนใจเทคโนโลยีอย่างมาก นอกจากทวีตจากอวกาศแล้ว เขายังเคย "เช็คอิน" สถานีอวกาศนานาชาติในบริการ Foursquare อีกด้วย (ข่าว)

Tags:
Node Thumbnail

ภารกิจแรกของการส่งยานสำรวจ CO2 ของนาซ่าล้มเหลวเหตุจากจรวดทำงานผิดปกติ
เจ้าหน้าที่กล่าวว่าปัญหาเกิดจากเปลือก(fairing)ที่หุ้มดาวเทียมตรงหัวจรวดล้มเหลวในการแยกตัว หากผลการตรวจสอบได้รับการยืนยันเราคงจะสูญเสียภารกิจนี้ไป

No Description

ยานสำรวจคาร์บอนในระดับวงโคจร หรือ Orbiting Carbon Observatory (OCO) มีจุดมุ่งหมายที่จะชี้ตำแหน่งหลักบนผิวโลกว่าที่ใดที่ปล่อย หรือดูดซับคาร์บอน

Tags:
Node Thumbnail

หลายคนอาจจะรู้ว่าการออกแบบอินเทอร์เน็ตนั้นมีเป้าหมายว่าจะสร้างเครือข่ายที่ทนทานต่อสงครามนิวเคลียร์ ซึ่งแม้เอาเข้าจริงแล้วหลายรายงานจะระบุว่ามันทนไม่ได้จริงๆ ก็ตามแต่อินเทอร์เน็ตก็ทำงานได้ค่อนข้างน่าเชื่อถือตลอดเวลาหลายปีมานี้

แต่กับอวกาศนั้นโจทย์จะต่างกันออกไป เพราะการเชื่อมต่อข้ามดวงดาวนั้นมีเงื่อนไขต่างกันหลายอย่างเช่น การสื่อสารออกแบบขาดช่วงไปเป็นชั่วโมง, วัน, หรือกระทั่งเดือน ก่อนที่จะกลับมาติดต่อกันได้ใหม่ อีกทั้งดีเลย์ในการติดต่อก็สูงมาก เช่นดาวอังคารนั้นใช้เวลาส่งข้อมูลถึงโลกอยู่ในช่วง 3.5 ถึง 20 นาที

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

กระสวยอวกาศที่เราเห็นใช้กันอยู่ทุกวันนี้นั้นเริ่มโครงการกันมาตั้งแต่ช่วงปี 1970 ในชื่อโครงการ Space Transportation System (STS) จนกระทั่งขึ้นสู่อวกาศครั้งแรกในปี 1981 จนถึงวันนี้ก็เกือบสามสิบปีแล้วที่กระสวยอวกาศทำงานในภารกิจต่างๆ จำนวนมาก และโครงการนี้ก็กำลังจะถึงจุดสิ้นสุดลง โดยนาซ่าได้ออกประกาศล่วงหน้าว่าภารกิจนับจากวันนี้ไปถึงปี 2010 นั้นจะมีอีกสิบภารกิจที่จะทำในช่วงสองปีข้างหน้า

Tags:
Node Thumbnail

100 ปีหลังเหตุการณ์การระเบิดที่ทุ่ง Tunguska ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าโลกยังไม่มีการเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับหายนะดังกล่าว

การระเบิดที่ทุ่ง Tunguska กินอาณาบริเวณ 2,000 ตารางกิโลเมตร มีความรุนแรงเทียบเท่าระเบิดปรมาณูที่ Hiroshima 200 ลูก ซึ่งอาจมีผู้เสียชีวิตหลายล้านคน หากการระเบิดนี้เกิดในเมืองใหญ่

ทฤษฎีหนึ่งที่อธิบายเหตุการณ์นี้คือ เกิดจากอุกกาบาตชนโลก หรือระเบิดขณะอยู่ในอากาศเหนือพื้นที่ดังกล่าว

Tags:
Node Thumbnail

เมื่อพูดถึงการพยากรณ์อากาศ เราคงคิดถึงฝนตกหรือแดดออกกันเป็นหลัก แต่ความจริงแล้วสภาพภูมิอากาศในอวกาศก็มีผลต่อชีวิตของเราไม่น้อย โดยเฉพาะลมสุริยะ (Solar Wind) ที่มีผลต่อการผลิตกระแสไฟฟ้าและเคยเป็นต้นเหตุให้ไฟดับในแคนาดากว่าเก้าชั่วโมงในปี 1989 สร้างความเสียหายมูลค่ามหาศาล ตอนนี้นาซ่าจึงเริ่มโครงการ Solar Shield ที่จะวิจัยสร้างโมเดลในคอมพิวเตอร์เพื่อพยากรณ์สภาพลมสุริยะ

โครงการนี้อาศัยข้อมูลดิบจากดาวเทียม SOHO และโครงการ Advanced Composition Explorer (ACE) และมีเป้าหมายที่จะพยากรณ์ในสองระดับคือระยะยาวหนึ่งถึงสองวัน และระยะสั้นประมาณครึ่งชั่วโมง

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

บ้านเรามีบริการจัดงานแต่งงานใต้ทะเลกันมาหลายปี และทั่วโลกก็มีตลาดใหม่สำหรับการจัดงานแต่งงานในแบบที่ไม่ซ้ำใครกันเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ แต่ล่าสุดบริษัท First Advantage จากประเทศญี่ปุ่นก็ประกาศรับจัดงานแต่งงานบนอวกาศกันแล้ว โดยใช้เทคโนโลยีจรวดของบริษัทในสหรัฐฯ และยิงขึ้นจากฐานปล่อยจรวดส่วนตัวที่เมืองโอกลาโฮมา

แต่ถ้าใครกำลังทำงานเก็บเงินไปขอแฟนแต่งงานบนอวกาศจริงๆ อาจจะต้องพิจารณาดีๆ เพราะงานนี้จรวดที่ใช้นั้นเป็นจรวดขนาดเล็กที่ขึ้นไปได้เพียง 100 กิโลเมตรเท่านั้น ไม่ได้ไปโคจรรอบโลกแต่อย่างใด แต่คู่บ่าวสาวก็จะมีเวลาสามนาทีในสภาวะไร้น้ำหนัก พอที่จะกล่าวคำปฏิญาณและใช้เวลาดูวิวกันก่อนที่จรวดจะตกกลับลงมาตามแรงโน้มถ่วงโลก

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

นักวิทยาศาสตร์ของ NASA ประกาศว่ายานฟินิกซ์ (Mars Phoenix Lander) ขุดพบน้ำแข็งบนดาวอังคาร โดยยานฟินิกซ์จะเก็บตัวอย่างของน้ำแข็งเพื่อทำการวิเคราะห์ต่อไป

ก่อนหน้านี้ ยานฟินิกซ์ได้ถ่ายภาพวัตถุสีขาวขนาดเล็กชิ้นหนึ่งที่พบในหลุมที่ขุดไว้ ยานฟินิกซ์ได้ถ่ายภาพวัตถุชิ้นนี้ในอีก 4 วันถัดมาและพบว่ามันได้ระเหิดหายไป

ปีเตอร์ สมิธ หัวหน้าทีมสอบสวนของโครงการฟินิกซ์กล่าวว่า "มันต้องเป็นน้ำแข็งอย่างแน่นอน ก้อนวัตถุเหล่านี้หายไปภายในเวลาไม่กี่วัน นี่คือหลักฐานที่ประจักษ์ชัดที่สุดว่ามันคือน้ำแข็ง มีบางคนตั้งคำถามว่ามันอาจเป็นเกลือ แต่เกลือไม่อาจเป็นเช่นนี้ได้"

การค้นพบครั้งนี้ช่วยยืนยันสมมติฐานที่ว่ามีน้ำแข็งอยู่ใต้พื้นผิวของดาวอังคาร

Tags:
Node Thumbnail

เชื่อว่าทุกคนคงจำข่าวสมาคมนักดาราศาสตร์นานาชาติ (IAU - International Astronomical Union) ลงมติปลดดาวพลูโตออกจากดาวเคราะห์ และถูกลดชั้นเป็นดาวเคราะห์แคระ (dwarf planet) กันได้แม่น (เพราะต้องเปลี่ยนความรู้ที่เคยเรียนมากันหมด)

เหตุผลที่ดาวพลูโตถูกปลดเป็นเรื่องของระยะทาง ซึ่ง IAU บอกว่า "ดาวเคราะห์" นั้นต้องอยู่ไม่ห่างจากดวงอาทิตย์มากจนเกินไป ทาง IAU จึงต้องคิดศัพท์ใหม่มาเรียก ซึ่งชื่อแรกที่เสนอ pluton (พลูตัน) ไม่ผ่านเพราะไปชนกับคำศัพท์ด้านธรณีวิทยา ระหว่างนี้จึงใช้คำว่า transneptunian dwarf planet ไปพลางๆ ก่อน

Tags:
Node Thumbnail

หลังจากที่ได้ลงจอดบนพื้นดาวอังคารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตอนนี้ Mars Phoenix Lander สามารถส่ง tweets มายังแฟน ๆ ชาว twitter ที่สนใจติดตามข่าวสารได้แบบทันต่อเหตุการณ์ โดยผู้ที่สนใจสามารถติดตาม Mars Phoenix Lander ได้ที่ twitter.com/MarsPhoenix

ที่จริงแล้ว ผลงาน tweets ของ Mars Phoenix Lander ที่ส่งมาเหมือนกับเป็นการเล่าเรื่องราวแบบบุคคลที่ 1 นี้ เป็นของ Veronica Mcgregor หนึ่งในสมาชิกของ Jet Propulsion Laboratory (JPL) ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานของ NASA ที่เป็นผู้ออกแบบ Mars Phoenix Lander นี่เอง (ไม่ได้ส่งมาจากดาวอังคารจริง ๆ)

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ทางการจีนยิงดาวเทียมพยากรณ์อากาศ Fengyun-3 ขึ้นสู่วงโคจรแล้วโดยดาวเทียมใหม่นี้ติดตั้งเซ็นเซอร์สามมิติสำหรับการตรวจสภาพชั้นบรรยากาศและอากาศ โดยในช่วงแรกนี้ดาวเทียมดวงนี้จะถูกใช้เพื่อพยากรณ์อากาศบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยจะช่วยอำนวยความสะดวกในการก่อสร้างซ่อมแซมอาคารด้วยการพยากรณ์อากาศ

Pages