ทีม Google Mobile ที่ทำ Android ทดลองเล่นๆ ด้วยการส่ง Nexus S ขึ้นไปสู่ขอบอวกาศจำนวน 7 ชุดด้วยบอลลูนฮีเลียมขนาดใหญ่ พร้อมกับกล้องถ่ายภาพ, Nexus S, และตุ๊กตา Android
บอลลูนลูกที่ขึ้นไปสูงที่สุดก่อนจะระเบิดแตกออกขึ้นไปสูงถึง 107,375 ฟุต หรือประมาณ 30 กิโลเมตร ส่วน GPS ในเครื่อง Nexus S นั้นทำงานได้ที่ความสูง 60,000 ฟุตเท่านั้น แต่ตัวเครื่องทำงานได้แม้อุณภูมิจะติดลบ 50 องศาเซลเซียสไปแล้ว
ดูแล้ววีดีโอชุดนี้จะเป็นการตลาดของ Nexus S มากกว่า แต่วีดีโอก็ดูเล่นๆ เอาบันเทิงได้ไม่น้อย (วีดีโออยู่ท้ายข่าว)
ที่มา - Google Mobile Blog
Comments
คลิปแรกตอน 0.53 นี่ อุบัติเหตุสยอง
เจ้าหุ่นกระป๋อง T-T
ขนาดเน็ตบุ๊กยังเป็นซังซอง
ตกแถวไหนเนี่ยครับ จะวิ่งไปเก็บ
ขอบอวกาศสวยดีจัง
ก่อนหน้านี้ เคยมีครอบครัวนึงส่ง iPhone ไปแบบนี้เหมือนกันครับ เมื่อสามเดือนที่แล้ว
แล้วเค้าไปทำกล้องที่ถ่ายลงมาไง
GPS ไงครับ
มีการทดลองทางวทิยาศาสตร์ที่ส่งบอลลูนตรวจอากาศ พร้อมกับของ อุปกรณ์ตรวจวัดต่าง ๆ พืช หรือแมลงขึ้นไปที่ชอบอวกาศอยู่บ่อย ๆ
เห็นข่าวิทย์วันก่อน เขาทดสองส่งแมลงสาบขึ้นไป ระดับบนี้แมลงสาบตายนะ ผมเห็นแล้วผมยังอยากลองทำเลย
Jusci - Google Plus - Twitter
หุ่นน่ารัก :D
iPAtS
เท่มากๆๆ
WE ARE THE 99%
เพดานบินสูงสุดของเครื่องบิน SR71 (Black Bird) เลยนะครับนั่น ตรงนี้ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจแล้วครับ อากาศเบาบางมาก (แต่ไม่รู้จริงๆว่าขอบเขตที่เรียกว่า “อวกาศ” เริ่มจากความสูงที่เท่าไหร่จากพื้นโลก?
http://en.wikipedia.org/wiki/Outer_space
หุ่นกระป๋องฆ่าตัวตาย
เห็นแล้วนึกถึง Clip เก้าอี้ที่เบาและแพงที่สุดในโลก(หรือเปล่า ??)
โดนเชือกสะบัดซะกระเด็น โชคดีเน้ออ..~
แล้วเค้าไปเก็บเอาคลิป VDO มายังไงกัน ?? อย่าบอกนะว่าตามไปเก็บ
+1 อยากรู้เหมือนกัน
ตามเก็บซากแล้วเอา microSD ออกมาครับ ส่วนสภาพเครื่องจะเป็นยังไงนี่ไม่รู้เหมือนกัน
lewcpe.com, @wasonliw
เหมือน NEXUS S จะไม่มี microSD :)
ใส่ netbook ไปด้วยอีกเครื่อง Nexus S ถ่ายแล้วไปเก็บไว้ใน netbook แล้วค่อยไปเก็บซาก netbook อีกที
a link
ถ้าเครื่องไม่พังนี่ เจ๋งมากเลย จะซื้อไปทำดาวเทียมส่วนตัว
อ่านแหล่งข่าวมาแล้วครับ เครื่องรอดตายด้วย สุดยอด
http://picasaweb.google.com/116887554964117158278/AndroidInSpace#5553418634489560754
ส่วนวิธีตามเก็บก็ง่ายมาก เนื่องจากเครื่องไม่ตาย เปิด latitude ไว้ก็หาเจอเลย
ตามไปเก็บทันมั้ยเนี่ย
มาทดสอบในเมืองไทยบ้างสิ ตกมาหลังคาบ้านใครเอาไปเลย :D
ของคนไทยก็มีทำปล่อยบอลลูนครับ พึ่งปล่อยไปเอง
http://tsrlab.com
http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X10047473/X10047473.html
น่าจะส่ง angry bird ขึ้นไปด้วย
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
อ๋าาาาาาาาาา~~~~~~~า
ใจหายวูบตอนน้องแอนดรอยด์น้อยตัวเขียวโดนเชือกดีดกระเด็น
น่าสงสารแท้
ในใจมันคงร้องตะโกนตอนหลุดออกจากกล่องว่า
"เกี่ยวอะไรกะตรูเนี่ยะ~~~~~~~ย"
30km โลกช่างบางกระจิ๋วริ๋วดีแท้
น่าสงสานน้องถังขยะจังเรยครับ กระเด็นปิ้ว~ ไปรอเก็บดีกว่าอิอิ
กว่าจะถึงพื้นคงระเหยเป็นไอหมดแล้ว
แล้วเค้าส่งข้อมูลลงมายังไงครับ สูงขนาดนั้น เห็นทีมงานดูข้อมูล gps แบบ real time ได้
twitter.com/djnoly
เห็นแว๊บๆ สาย data link เป็นของ Moto ?
สรุปแล้ว เมื่อดูจากกรณีอื่นๆที่ส่งบอลลูนขึ้นไป คือขากลับเค้ามีร่มกางเพื่อชะลอความเร็วลงสู่พื้นครับ ถ้าแบตมือถือยังไม่หมด ระหว่างกลับสู่ชั้นบรรยากาศที่ระดับที่สามารถส่งสัญญาณเข้าเสาเครือข่ายได้ ฝั่งพื้นดินจะได้รับข้อมูลพิกัด GPS กลับมาทำให้สามารถติดตามตำแหน่งลงสู่พื้นดินได้ครับ แถมยังมีติดสัญญาณไฟ LED ไว้สำหรับค้นหาได้ง่ายยามกลางคืนด้วย แล้วก็ค่อยไปตามเก็บเอานะครับ
เมื่อได้ดูเทียบกับโครงการอื่นๆที่เคยส่งบอลลูนกันมา พบกว่าการใช้โทรศัพท์แอนดรอยด์ (หรือ Smart Phone อื่นๆที่มี GPS) เป็นทางเลือกที่คุ้้มค่ามากเมื่อเทียบกับระบบอื่นๆที่ต้องประกอบระบบ GPS และระบบส่งสัญญาณวิทยุกันขึ้นมาเอง เพราะทุกอย่างทั้งระบบกล้อง, วิทยุ(ผ่านเครือข่ายมือถือ), GPS และซอฟท์แวร์ ที่สามารถควบคุมระบบเก็บข้อมูลอื่นๆนั้นเบ็ดเสร็จอยู่ในโทรศัพท์เรียบร้อยแล้ว ง่ายกว่าวิธีเดิมๆเยอะเลย