Tags:
Node Thumbnail

ระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์มีความซับซ้อนอย่างมาก ข้อมูลที่เรามีเกี่ยวกับการทำงานและการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันยังไม่เพียงพอและกระจัดกระจาย เริ่มต้นปีใหม่ 2024 นี้ทีมนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยที่นำโดย ดร. Hans Keirstead ผู้เชี่ยวชาญด้านสเต็มเซลล์ จึงได้ริเริ่มโครงการขนาดยักษ์ Human Immunome Project (HIP) เพื่อที่จะทำการทดลองเก็บตัวอย่างและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ที่ละเอียดที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา

Tags:
Node Thumbnail

XTX Markets บริษัทเทรดหุ้นประกาศตั้งกองทุนรางวัล Artificial Intelligence Mathematical Olympiad Prize (AI-MO Prize) มอบเงิน 10 ล้านดอลลาร์ให้กับผู้ที่สร้างปัญญาประดิษฐ์ที่ชิงเหรียญทองโอลิมปิกวิชาการสาขาคณิตศาสตร์ได้สำเร็จ

ปัญญาประดิษฐ์ที่จะได้รางวัลต้องรับโจทย์รูปแบบเดียวกับผู้เข้าแข่งขันปกติ และส่งคำตอบเป็นข้อความที่อ่านโดยกรรมการตรวจข้อสอบตามเกณฑ์คณิตศาสตร์โอลิมปิกตามปกติ

รางวัล AI-MO ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของคณิตศาสตร์โอลิมปิกโดยตรง แต่จะร่วมมือกับผู้จัดการแข่งขันแต่ละรอบ โดยการแข่งครั้งแรกที่จะชิงรางวัลนี้คือการแข่งที่เมือง Bath ในอังกฤษ กลางปี 2024 นี้

ที่มา - AI-MO Prize

Tags:
Node Thumbnail

กูเกิลประกาศร่วมโครงการ Brain Research Through Advancing Innovative Neurotechnologies (BRAIN) ของ NIH หน่วยงานวิจัยด้านสุขภาพของสหรัฐฯ โดยจะทำแผนที่สมองหนูเฉพาะส่วนฮิปโปแคมปัสขนาดประมาณ 2-3% ของสมองทั้งก้อน รวมปริมาณนิวรอนที่จะวิเคราะห์อยู่ที่ระดับ 1 ล้านนิวรอน

Tags:
Node Thumbnail

เมื่อวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา มีงานประกาศรางวัล Ig Nobel ประจำปี 2023 ถึงงานวิจัยหัวข้อต่างๆ ที่สร้างความขบขันให้กับวงการ โดยหัวข้องานวิจัยที่ได้รับรางวัลนั้นมีหลากหลาย แต่มีหัวข้อหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับไอทึโดยตรงคือสาขาสาธารณสุข ที่ Seung-min Park นักวิจัยชาวเกาหลีใต้ที่ได้พัฒนา Stanford Toilet อุปกรณ์เสริมโถส้วมที่เต็มไปด้วยเซ็นเซอร์ต่างๆ รวมถึงกล้องถ่ายภาพเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพจากอุจจาระ

Tags:
Node Thumbnail

เว็บข่าว Semafor รายงานว่า Eric Schmidt อดีตซีอีโอของกูเกิล กำลังก่อตั้งองค์กรแห่งใหม่ที่พยายามแก้ปัญหาใหญ่ๆ ด้านวิทยาศาสตร์ด้วย AI

องค์กรแห่งนี้ยังไม่มีชื่อ แต่วางโครงสร้างองค์กรคล้าย OpenAI คือเป็นองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร แต่รวมดาวเด่นด้านวิทยาศาสตร์และ AI เข้ามาแก้ปัญหาที่ท้าทาย โดยเงินสนับสนุนช่วงแรกจะมาจากเงินส่วนตัวของเขาเอง จุดเด่นขององค์กรแห่งนี้มีทั้งค่าตอบแทนที่สมน้ำสมเนื้อ และทรัพยากรให้นักวิทยาศาสตร์ใช้งาน โดยเฉพาะพลังประมวลผลที่หาได้ยากในโลกวิชาการ

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

หลังจากทีมวิจัยจากบริษัท Q-Centre ระบุว่าสาร LK-99 (CuO25P6Pb9) เป็นตัวนำยิ่งยวด (superconductor) ที่อุณหภูมิห้อง ตอนนี้ห้องวิจัยจำนวนมากก็รายงานผลการสังเคราะห์ของตัวเอง และทดสอบคุณสมบัติของสารนี้ พบว่ามันไม่ใช่ตัวนำยิ่งยวดแต่อย่างใด

รายงานที่น่าเชื่อถือที่สุดตอนนี้มาจาก Max Planck Institute for Solid State Research ที่สังเคราะห์สารนี้ออกมาได้ แต่ก็พบว่าสารนี้มีความต้านทาน และมีความเป็นแม่เหล็กอ่อนๆ ขณะที่ทีมวิจัยอื่นๆ ก็พบผลแบบเดียวกัน

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

มหากาพย์สาร LK-99 (CuO25P6Pb9) ที่อาจจะเป็นตัวนำยิ่งยวดดูมีเค้าลางยิ่งขึ้น หลังห้องวิจัยหลายแห่งพยายามทำซ้ำรายงานวิจัยของ Quantum Energy Research Centre และพบว่า LK-99 มีคุณสมบัติของตัวนำยิ่งยวดจริงในบางสภาวะ ล่าสุดทีมวิจัยจาก Huazhong University of Science and Technology (HUST) ก็พบ Meissner effect ของ LK-99 ที่อุณหภูมิห้อง (340K) บ่งชี้ว่า LK-99 อาจจะเป็นตัวนำยิ่งยวดที่อุณหภูมิห้องได้จริงๆ

เนื่องจากปริมาณ LK-99 ที่สังเคราะห์ได้ในตอนนี้ยังมีปริมาณน้อยมากๆ ในรายงานนี้ HUST สังเคราะห์ออกมาได้เพียงขนาดเท่าเม็ดฝุ่นเท่านั้น จึงยังไม่สามารถวัดค่าความต้านทานได้โดยตรง

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

หลังจากทีมวิจัยจากเกาหลีรายงานถึงสาร LK-99 (CuO25P6Pb9) ว่ามีมีคุณสมบัติตัวนำยิ่งยวด (superconductor) ที่อุณหภูมิห้อง จนมีห้องวิจัยหลายแห่งทั่วโลกกำลังพยายามทำซ้ำ ล่าสุดทีมวิจัยจาก Southeast University ในเมืองหนานจิงประเทศจีนออกมายืนยันว่า LK-99 มีความต้านทานเป็นศูนย์จริงที่อุณหภูมิ 100K (-173 องศาเซลเซียส)

แม้ว่าจะมีความต้านทานเป็นศูนย์แต่ก็ยังไม่ครบคุณสมบัติของการเป็นเหนี่ยวนำยิ่งยวด โดยทีมวิจัยไม่พบ Meissner effect หรือการปล่อยสนามแม่เหล็กออกมา

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

สัปดาห์ที่ผ่านมาทีมวิจัยจากบริษัท Quantum Energy Research Centre ตีพิมพ์รายงานวิจัยแบบไม่ผ่านการตรวจทาน (peer review) ระบุว่าสาร LK-99 (CuO25P6Pb9) มีคุณสมบัติตัวนำยิ่งยวด (superconductor) ที่อุณหภูมิห้อง หาก LK-99 มีคุณสมบัติตามที่อ้างจริงก็นับว่าเป็นความก้าวหน้าของวงการวัสดุศาสตร์อย่างมาก และทางทีมวิจัยระบุว่าจะใช้ LK-99 ในการพัฒนาคอมพิวเตอร์ควอนตัม

Tags:
Node Thumbnail

John Goodenough นักวิทยาศาสตร์ผู้ร่วมพัฒนาแบตเตอรีลิเธียมไอออน (Li-ion) จนได้รับรางวัลโนเบลเมื่อปี 2019 และยังเป็นหนึ่งผู้พัฒนาระบบหน่วยความจำคอมพิวเตอร์ เสียชีวิตด้วยวัย 100 ปี 11 เดือน

Goodenough จบปริญญาเอกในปีสาขาฟิสิกส์ในปี 1952 และทำงานที่ Lincoln Laboratory ใน MIT วิจัยหน่วยความจำแม่เหล็ก (random access magnetic memory) อยู่นาน 24 ปี จนได้ Goodenough–Kanamori rules จากนั้นเขาไปทำงานเป็นหัวหน้า Inorganic Chemistry Laboratory ที่ออกซ์ฟอร์ด มีผลงานที่ทำให้แบตเตอรีลิเธียมไอออนสามารถใช้งานได้จริงในอุตสาหกรรม

Tags:
Node Thumbnail

นับเป็นเรื่องสะเทือนวงการการศึกษา เมื่อบทเรียนต่าง ๆ รวมถึงบทเรียนที่เป็นที่รู้จักกันดีอย่าง “ตารางธาตุ” และ “ทฤษฎีวิวัฒนาการ” กลับถูกถอนจากหลักสูตรของนักเรียนในประเทศอินเดีย
ช่วงต้นปีนี้ สภาวิจัยและฝึกอบรมทางการศึกษาแห่งชาติ (NCERT) ซึ่งเป็นหน่วยงานสาธารณะที่พัฒนาหลักสูตรและตำราเรียนของโรงเรียนอินเดีย ได้ถอน “ตารางธาตุ” ออกจากบทเรียนของชั้นเรียนปีที่ 10 ซึ่งเป็นชั้นปีสุดท้ายที่บังคับเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจะมีเพียงนักเรียนส่วนน้อยที่เลือกเรียนวิชาเคมีในชั้นปีที่ 11 และ 12 เท่านั้นที่จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับตารางธาตุ (โดยชั้นเรียนปีที่10-12 นั้นเทียบเท่ากับชั้นมัธยมศึกษาปีที่4-6ในไทย)

Tags:
Node Thumbnail

NASA ประกาศเลือกบริษัท Blue Origin ของ Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Amazon เป็นผู้พัฒนายานอวกาศลงจอดดวงจันทร์ (Human Landing System หรือ HLS) ลำใหม่ในภารกิจ Artemis V ที่มีกำหนดไปดวงจันทร์ปี 2029

เมื่อปี 2021 บริษัท Blue Origin เคยมีดราม่ากับ NASA หลังจาก NASA คัดเลือกยานลงจอดดวงจันทร์ของ SpaceX เอาชนะข้อเสนอของ Blue Origin จนเป็นผลให้ภารกิจ Artemis ต้องล่าช้าไป 1 ปีจากคดีฟ้องร้อง

Tags:
Node Thumbnail

โลโก้ของ Google Search หรือที่เรียกว่า Doodle วันนี้ เป็นภาพของ จันตรี ศิริบุญรอด บิดาแห่งนิยายวิทยาศาสตร์ไทย ที่เสียชีวิตไปตั้งแต่ พ.ศ. 2511 โดยจันตรีเกิดวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2460 หากมีชีวิตอยู่ถึงวันนี้จะมีอายุครบ 109 ปี

ทายาทของจันตรี ประมาณว่าผลงานทั้งหมดของเขามีประมาณ 300 ชิ้น โดยเรื่องที่มีชื่อเสียงได้แก่ ผู้ดับดวงอาทิตย์ และ ผู้พบแผ่นดิน ซึ่งได้รับการคัดเลือกให้อยู่ในชุด 88 หนังสือดีวิทยาศาสตร์ไทย

Tags:
Node Thumbnail

กระทรวงพลังงานของสหรัฐอเมริกา (DoE) ได้ประกาศความสำเร็จครั้งใหญ่ในเทคโนโลยีนิวเคลียร์ฟิวชั่น โดยสามารถสร้างปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นซึ่งให้พลังงานสูงกว่าพลังงานที่ใช้ก่อให้เกิดปฏิกิริยา (Net Energy Gain) ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก เปิดทางไปสู่ความเป็นไปได้ในการสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชั่นเชิงพาณิชย์ในอนาคต

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ที่ประชุมของหน่วยงานมาตรฐานชั่งตวงนานาชาติ (International Bureau of Weights and Measures หรือ BIPM) ที่มีตัวแทนจากหลายประเทศเข้าร่วม ลงมติยกเลิก "อธิกวินาที" (leap second) โดยจะมีผลในปี 2035

leap second เป็นการเพิ่ม "วินาทีพิเศษ" เข้ามาอีก 1 วินาทีต่อปี (เฉพาะแค่บางปี) เพื่อปรับให้การนับเวลาตาม atomic time (ที่คงตัวเสมอ เช่น ใช้ใน GPS) ตรงกับเวลาตามการหมุนของโลก (UTC time ที่อาจไม่คงตัว เพราะโลกหมุนเร็วช้าไม่เท่ากัน) แนวคิดนี้เริ่มใช้งานในปี 1972 และที่ผ่านมามีวินาทีพิเศษถูกเพิ่มเข้ามาแล้ว 27 ครั้ง โดยครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2016

Tags:
Node Thumbnail

วุฒิสภาของประเทศเม็กซิโก โหวตเห็นชอบกฎหมายยกเลิกระบบเวลาแบบชดเชยแสงอาทิตย์ (daylight saving time หรือ DST) ทำให้ไม่ต้องปรับนาฬิกาในฤดูหนาวอีกต่อไป

กฎหมายฉบับนี้ยังมีข้อยกเว้นให้เมืองที่อยู่ติดชายแดนสหรัฐอเมริกา (ที่ยังมี daylight saving time) ยังคงระบบเวลาแบบเดิมไว้ได้ เพื่อให้เข้ากันได้กับสหรัฐ

Tags:
Node Thumbnail

ทีมวิจัยจาก Oregon Health & Science University (OHSU) รายงานความสำเร็จในการศึกษากระบวนการแปลงเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้าในหูชั้นใน โดยอาศัยการศึกษาจากหนอนตัวกลม Caenorhabditis elegans ที่มีโครงสร้างการแปลงแรงกระทำเป็นสัญญาณ (mechanosensory) คล้ายมนุษย์ ทำให้คาดได้ว่าโครงสร้างระดับโปรตีนในหูมนุษย์ก็จะมีรูปแบบคล้ายกัน

การศึกษาอาศัยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนศึกษาโครงสร้างของโปรตีน transmembrane channel-like protein 1 (TMC-1) ที่ประกบคู่กันสองชุด และโปรตีนอื่นๆ ที่ประกอบขึ้นมาเป็นเซ็นเซอร์สามารถควบคุมการไหลของไอออนตามเสียงได้

Tags:
Node Thumbnail

เชื่อว่าเกือบทุกคนรู้จักภาพยนตร์เรื่อง Jurassic Park ภาคแรกกันดี กับเรื่องราวการคืนชีพให้ไดโนเสาร์โดยอาศัยเทคนิคการตัดต่อพันธุกรรมเข้าช่วย ในตอนนั้นแนวคิดนี้ดูล้ำยุคไปมากจนหลายคนคงยากจะจินตนาการว่าจะมีใครพยายามทำสิ่งที่ใกล้เคียงกันให้เกิดขึ้นได้จริง

แต่ตอนนี้มีคนกลุ่มหนึ่งประกาศตัวด้วยเป้าหมายยิ่งใหญ่ที่จะคืนชีพให้สิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปแล้วด้วยเทคโนโลยีด้านพันธุกรรมศาสตร์คล้ายคลึงกับสิ่งที่เห็นจากภาพยนตร์ พวกเขาคือ Colossal บริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพจากสหรัฐอเมริกา และโครงการแรกคือการคืนชีพให้เสือแทสมาเนียที่สูญพันธุ์ไปแล้ว

Tags:
Node Thumbnail

ทีมวิจัยจาก Wyss Center for Bio and Neuroengineering ในสวิตเซอร์แลนด์ประกาศความสำเร็จในการเชื่อมต่อสมองเข้ากับคอมพิวเตอร์ (brain-computer interface - BCI) จนทำให้ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ ALS ระดับไม่สามารถขยับร่างกายใดๆ (completely locked-in) สามารถสื่อสารกับโลกภายนอกได้อีกครั้ง

ที่ผ่านมาผู้ป่วย ALS ที่ยังสามารถสื่อสารได้บ้าง มักต้องอาศัยกล้ามเนื้อบางส่วน เช่น การกระพริบตา หรือขยับลูกตา แต่เมื่อผู้ป่วยมีอาการหนักขึ้นเรื่อยๆ การสื่อสารเช่นนั้นก็ไม่สามารถทำได้อีกต่อไป

Tags:
Node Thumbnail

โปรแกรมจัดการการอ้างอิงงานวิจัยฟรี Zotero ออกเวอร์ชั่น 6 ฟีเจอร์สำคัญคือสามารถอ่าน PDF ได้ในตัวแทนที่จะจัดการการอ้างอิงอย่างเดียว พร้อมกับการไฮไลต์ หรือการจดโน้ตลงงานวิจัยเพิ่มเติม

ทาง Zotero ยังออกแอป iOS ออกมาพร้อมกัน ทำให้สามารถอ่านและไฮไลต์งานวิจัยบนโทรศัพท์หรือแท็บเล็ต และซิงก์กลับมายังเวอร์ชั่นเดสก์ทอป ตัวบริการซิงก์มีพื้นที่ให้ฟรี 300MB และซื้อเพิ่มได้

นอกจากการอ่าน PDF แล้วยังมีฟีเจอร์ย่อยๆ เช่น จดโน้ตโดยอ้างอิงข้อความในงานวิจัย, ใส่ภาพในโน้ต, copy แบบ Markdown, หรือการตรวจคำผิดในภาษาอื่นนอกจากภาษาอังกฤษ

ที่มา - Zotero

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

เครื่องยนต์ EmDrive ได้สร้างข้อถกเถียงกันในวงการวิทยาศาสตร์เนื่องจากมันละเมิดกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 ของนิวตัน จึงมีทีมวิจัยจากเยอรมันพยายามพิสูจน์แนวคิดเครื่องยนต์ประเภทนี้ ซึ่งในปี 2018 จากการทดลองเบื้องต้นคาดว่าแรงขับที่เกิดขึ้นอาจมาจากปฏิกิริยาระหว่างสายเคเบิลที่ไม่มีฉนวนป้องกันกับสนามแม่เหล็กโลก มาวันนี้ได้ข้อสรุปชัดเจนแล้วว่าเกิดจาก "ตาชั่งเพี้ยน" ครับ

ทีมวิจัยเดิมซึ่งนำโดย ศ.ดร. Martin Tajmar แห่ง Technische Universität Dresden ประเทศเยอรมนี ได้ทดลองสร้าง EmDrive ตามผังต้นแบบของ NASA และสามารถสร้างแรงขับในระดับเดียวกับที่ตรวจวัดได้ตามงานวิจัยดั้งเดิม

Tags:
Node Thumbnail

Richard Godfrey วิศวกรการบินชาวอังกฤษ สมาชิกของกลุ่ม MH370 Independent Group กลุ่มอิสระที่ค้นหาจุดตกของเครื่องบิน Malaysian Airlines เที่ยวบิน MH370 ที่สูญหายไปเมื่อปี 2014 ได้เสนอผลการวิเคราะห์หาจุดตกของ MH370 ที่เชื่อว่าแม่นยำกว่าเดิม และสอดคล้องกับหลักฐานบ่งชี้อื่นๆ

การวิเคราะห์ของ Godfrey ใช้ข้อมูล 4 ชุดประกอบกัน ได้แก่

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

มหาวิทยาลัยบราวน์รายงานถึง Manfred Steiner ชายวัย 89 ปีที่สอบจบปริญญาเอกฟิสิกส์สำเร็จเมื่อวันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมาในหัวข้อ "Corrections to the Geometrical Interpretation of Bosonization" โดย Steiner ระบุว่าเขาอยากเป็นนักฟิสิกส์มาตั้งแต่เด็ก แต่ครอบครัวอยากให้เป็นหมอ

Steiner ได้ปริญญาเอกแพทย์ศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเวียนนาตั้งแต่ปี 1955 และหลังจากนั้นก็ได้ปริญญาเอกใบที่สองสาขาชีวเคมีจาก MIT ในปี 1967 และหลังจากนั้น Steiner ก็ทำงานเป็นนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยบราวน์จนเกษียณปี 2000

Tags:
Node Thumbnail

รางวัล Ig Nobel มอบรางวัลให้กับนักวิจัยทั่วโลกจากแง่มุมความขำขันของงานวิจัย มีนี้มีงานวิจัยที่ได้รับรางวัล 10 สาขาวิชา ได้แก่

Tags:
Node Thumbnail

NASA ประกาศเลือก SpaceX เป็นบริษัทผู้พัฒนายานอวกาศส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ ภายใต้โครงการ Artemis ที่ตั้งเป้าส่งมนุษย์ไปเยือนดวงจันทร์อีกรอบ (เลือกตั้งชื่อ Artemis ให้สอดคล้องกับโครงการ Apollo ในอดีต)

โครงการ Artemis จะพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศใหม่หมดเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การไปดาวอังคาร ตั้งแต่ฐานยิงจรวด จรวด ยานอวกาศ ไปจนถึงชุดอวกาศ ตามแผนของ NASA จะแบ่งออกเป็น 3 เฟสคือ Artemis I ทดสอบยิงจรวดที่ไม่มีมนุษย์ ภายในปี 2021, Artemis II ยิงจรวดที่มีมนุษย์ภายในปี 2023 และ Artemis III ส่งมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์จริงๆ ในปี 2024 โดยกำหนดว่าจะมีผู้หญิงไปเหยียบดวงจันทร์เป็นครั้งแรกด้วย

Pages