CNN เปิดตัวการนำเสนอข่าวสารรูปแบบ VR และวิดีโอ 360 องศาในชื่อว่า CNNVR ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวทำไลฟ์สตรีมเหตุการณ์สำคัญควบคู่ไปกับข่าวสารรายสัปดาห์
คอนเทนต์แรกของ CNNVR คือ แข่งวิ่งวัวกระทิงที่ Pamplona สเปน เป็นวีดีโอ 360 องศา ความยาวกว่าห้านาที
CNN ใช้เทคโนโลยี VR มาระยะหนึ่งแล้ว โดยร่วมมือกับบริษัท NextVR ในการถ่ายทอดสดการดีเบตช่วงก่อนเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในปี 2015
สำนักพิมพ์ New York Times ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์ชื่อดังในสหรัฐฯ ประกาศปรับเปลี่ยนรูปแบบหนังสือพิมพ์ใหม่ โดยจะเอาข้อความจาก Twitter ของผู้รายงานข่าว และเรื่องราวออนไลน์อื่น ๆ มาลงด้วย
NYT ได้ปรับปรุงหน้า A2 และ A3 ของหนังสือพิมพ์ใหม่ ซึ่งแต่เดิมทั้งสองหน้านี้จะเป็นหน้าสรุปข่าวโดยย่อและหัวข้อข่าวตามลำดับได้ถูกย้ายออกไปอยู่หน้าอื่น แทนที่ด้วยข้อความจากโซเชียลมีเดีย, ใจความสำคัญของเรื่องราวต่าง ๆ, คำพูดเด็ดที่ทางสำนักข่าวจะเลือกมาให้ประจำวัน และอื่น ๆ
Facebook มีการอัพเดทฟีเจอร์แก้ปัญหาข่าวปลอมอยู่เป็นระยะ ล่าสุดปรับอัลกอริทึมลดความสำคัญข่าวปลอม และเมื่อช่วงสัปดาห์ที่แล้วนี่เองที่ Facebook ปรับปรุงอีกครั้ง ข่าวไหนที่มีแนวโน้มจะเป็นข่าวปลอม ระบบจะปักหมุดข่าวนั้นว่าได้รับการโต้แย้งหรือ Disputed
รัสเซียเป็นประเทศที่มีการควบคุมสื่อค่อนข้างเข้มข้น ถูกจัดให้อยู่ในพื้นที่สีแดง คือค่อนข้างไม่มีเสรีภาพสื่อ ล่าสุดรัฐบาลรัสเซียออกมาประกาศว่าทางรัฐบาลทำเว็บไซต์ตรวจสอบข่าวปลอมของตัวเอง ที่จะแปะตรายางใหญ่หน้าข่าวนั้นว่าเป็นข่าวปลอม
เว็บไซต์ จะติดตามเฉพาะข่าวจากสำนักข่าวสหรัฐฯ เท่านั้น เช่น New York Times, Bloomberg, the Telegraph, NBC News และ the Santa Monica Observer นอกจากเว็บตรวจข่าวปลอมแล้ว รัฐบาลยังมีเว็บไซต์เชิงข่าวของตัวเองอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ในเว็บไซต์ไม่มีอธิบายว่าเพราะเหตุใดข่าวนี้จึงเชื่อไม่ได้ แปะแค่ตรายางเท่านั้น ตัวอย่างข่าวที่ทางเว็บระบุว่าปลอมคือข่าวของ Bloomberg ที่พาดหัวว่ารัสเซียเกี่ยวข้องการแฮกข้อมูลของนักการเมืองฝรั่งเศส และเนื้อหาในข่าวระบุว่าโฆษกในรัสเซียปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว การที่รัฐบาลแปะตรายางว่าข่าวนี้ปลอมทำให้สับสนว่าปฏิเสธอะไรระหว่างมีส่วนเกี่ยวข้องเรื่องแฮกข้อมูล หรือปฏิเสธว่าสิ่งที่โฆษกรัสเซียพูดว่าไม่จริง
ในการรับมือข่าวปลอมแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม นอกจากที่ Facebook ออกเครื่องมือระงับข่าวปลอม รีพอร์ทเจาะจงมากขึ้นแล้ว ยังออกโครงการ Facebook Journalism Project เป็นโปรเจคต์พัฒนาเครื่องไม้เครื่องมือให้เว็บข่าวใช้งาน Facebook หลากหลายและสะดวกมากขึ้น
Thomas Oppermann สมาชิกพรรค SPD ของเยอรมันเผยว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องใช้กฎหมายจัดการกับปัญหาข่าวปลอมใน Facebook ถ้ามีข่าวปลอมปรากฏบนหน้าฟีด แล้ว Facebook ไม่ลบออกภายใน 24 ชั่วโมง จะลงโทษปรับ 5 แสนยูโรต่อ 1 ข่าว
นอกจากนี้กฎหมายดังกล่าวมีแผนจะประกาศใช้ให้เร็วที่สุด สำนักข่าวเยอรมัน Deutsche Welle รายงานว่า มีแผนจะบังคับใช้ก่อนการเลือกตั้งปีหน้า และจะเริ่มอภิปรายกันหลังวันหยุดคริสต์มาสนี้
มีฝ่ายโต้แย้งเรื่องการผลักดันกฎหมายนี้เหมือนกัน คือสมาคมสำนักพิมพ์หนังสือพิมพ์ของเยอรมันหรือ BDZV (Germany’s federal association of newspaper publishers) แย้งว่า Facebook ไม่ใช่สำนักข่าว เป็นเพียงแพลตฟอร์มกลางในการนำเสนอข่าว ไม่ใช่ฟันเฟืองเครื่องมือที่สร้างหรือเขียนข่าวขึ้นมา
Facebook เผยมีการอัพเดตความเคลื่อนไหวเพื่อระงับยับยั้งข่าวปลอมที่เป็นปัญหามาตั้งแต่หลังเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ หลายฝ่ายเรียกร้องให้ Facebook ทำอะไรสักอย่าง ล่าสุดมีการอัพเดตแล้ว ผู้ใช้จะสามารถรีพอร์ทสิ่งที่คิดว่าน่าจะเป็นเรื่องปลอมได้ง่ายขึ้น และมีการร่วมมือกับบริษัท third party ในการตรวจสอบเนื้อหาข่าว
ผู้ใช้ Facebook กลุ่มหนึ่งสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงบนนิวส์ฟีด เป็นแถบแดงคาดไว้บนลิงค์ข่าว แถบนั้นเขียนว่า "This website is not a reliable news source. Reason: Classification Pending" หรือเว็บไซต์นี้ไม่ได้มาจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ โดยในตอนแรกคิดว่า Facebook สร้างฟีเจอร์นี้ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาข่าวปลอมที่มีอยู่มากมายบนนิวส์ฟีด แต่นักข่าว Techcrunh ไปสืบมาพบว่าฟีเจอร์ดังกล่าว Facebook ไม่ได้ทำ แต่เป็นปลั๊กอิน
แถบแดงคาดเหนือลิงค์ข่าวหลายแหล่ง มีเว็บไซต์หนึ่งชื่อว่า occupydemocrats.com ขึ้นชื่อเรื่องข่าวปลอม และข่าวนั้นเป็นข่าวทหารปลดประจำการเตรียมคั้งกองกำลังตรงที่มีกลุ่มประท้วงท่อน้ำที่ดาโกต้า ลักษณะของแถบแดงยังม่แค่ปรากฏบนข่าวนั้นๆ แต่ปรากฏในทุกข่างที่มาจากแหล่งข่าวไม่น่าเชื่อถือ
AppNexus ผู้ให้บริการและควบคุมโฆษณาบนแพลตฟอร์มดิจิทัลรายใหญ่ ออกแถลงการณ์ต่อต้านเว็บไซต์ Breitbart News เนื่องจากตัวเว็บไซต์มีเนื้อหารุนแรง เหยียดชาติพันธุ์และเต็มไปด้วย Hate Speech
สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยชื่อ Breitbart News ต้องบอกว่ากำลังเป็นที่จับตามอง เพราะ Steve Bannon ว่าที่มือขวาของโดนัลด์ ทรัมป์ ด้านยุทธศาสตร์ เป็นอดีตประธานกรรมการบริหารของ Breitbart News ด้วย
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดเผยผลวิจัยว่า วัยรุ่นอเมริกันส่วนใหญ่ 82% แยกไม่ออกว่าคอนเทนต์ไหนบนโซเชียลออนไลน์เป็นข่าว คอนเทนต์ไหนเป็นเนื้อหาโฆษณา
นักวิจัยทำการสำรวจวัยรุ่นอเมริกัน 7,804 คน ทั้งที่กำลังศึกษาอยู่ในช่วงชั้นต่างๆ ทั้งมิดเดิลสคูล-ไฮสคูล ให้ผู้ให้การสำรวจประเมินความน่าเชื่อถือของคอนเทนต์ต่างๆ บนทวิตเตอร์ ประเมินว่ารูปภาพที่เห็นนี้น่าเชื่อถือหรือไม่ รวมถึงประเมินคอมเมนต์ใต้ข่าวหรือคอนเทนต์นั้นๆ และแน่นอนว่าคณะวิจัยแทรกคอนเทนต์โฆษณาและข่าวที่ชวนให้เข้าใจผิดเข้าไปด้วย
ประเด็นข่าวปลอมบน Facebook เป็นสาเหตุหนึ่งช่วยให้โดนัลด์ ทรัมป์ ได้เป็นประธานาธิบดีหรือไม่นั้นยังเป็นเรื่องถกเถียงกันในวงการสื่อ ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นสาเหตุหนึ่งจริงหรือไม่ แต่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ก็หยิบประเด็นนี้มาพูดในงานประชุมกับสื่อที่กรุงเบอร์ลินกับแองเจลา แมเคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมัน
โอบามาระบุว่า ในยุคนี้มีข่าวที่ข้อมูลผิดมากบน Facebook และมีมาเรื่อยๆ แม้ดูภายนอกจะมีลักษณะเหมือนเป็นข่าว การเปิดเข้าหน้า Facebook ไม่ต่างกับการเปิดโทรทัศน์ เราไม่รู้ว่าเราต้องปกป้องอะไร เราไม่รู้ว่าเราสู้กับอะไร
สถานการณ์ยังไม่ผ่านพ้นสำหรับ Facebook ที่ต้องรับแรงวิจารณ์เรื่องข่าวปลอมที่ Facebook ปล่อยให้มีที่ยืนบนหน้าฟีด นำมาสู่ชัยชนะของโดนัลด์ ทรัมป์
แม้ Mark Zuckerberg ออกมายืนยันว่าพื้นที่เนื้อหาข่าวบนฟีด 99% เป็นเนื้อหาจริง-ข่าวจริง ส่วนข่าวปลอมนั้นมี ไม่ปฏิเสธ แต่ไม่มีพลังพอที่จะพลิกโผการเลือกตั้ง
ล่าสุดมีข่าวว่าบรรดาพนักงานใน Facebook ตั้งทีมทำงานต่อต้านข่าวปลอมอย่างลับๆ รวมถึงทบทวนบทบาทหน้าที่ของ Facebook เองว่าควรทำอย่างไร และ Facebook มีเครื่องมือกำจัดข่าวปลอมที่เพียงพอจริงหรือไม่
Pew Research สำนักวิจัยสื่อชี้ คนอายุน้อย หรือช่วงอายุระหว่าง 18-29 ปีในสหรัฐฯ จำนวน 42% นิยมเสพข่าวผ่านตัวอักษร (จากออนไลน์) มากกว่าดูคลิปข่าว รองลงมา 38% ชอบดูข่าว และ 19% จะใช้การฟังข่าว
ส่วนคนช่วงอายุ 30-49 ปี อ่านข่าวจากออนไลน์ 40% ดูข่าว 39% ฟังข่าว 20% คนช่วงอายุ 50 - 64 อ่านข่าว 29% ดูข่าวมากถึง 52% และฟังข่าว 17% ส่วนคนอายุ 65 ปีขึ้นไป อ่านข่าวเพียง 27% ดูข่าวมากถึง 58% และฟังข่าว 10%
Facebook และ Twitter เป็นบริษัทล่าสุดที่เข้าร่วมกลุ่ม First Draft Coalition ตั้งขึ้นในเดือนมิถุนายน 2015 เป็นกลุ่มด้านการข่าวและเนื้อหาที่ออกสู่เว็บไซต์ข่าวต่างๆ และโซเชียลมีเดีย และจะเปิดแพลตฟอร์มให้สมาชิกกลุ่มสามารถตรวจสอบเนื้อหาที่น่าสงสัยได้ประมาณเดือนตุลาคมนี้
ด้าน Facebook มีผู้ใช้เป็นพันล้านคนทั่วโลก และมีเสียงวิจารณ์ว่าเป็นแหล่งแพร่ข่าวปลอมมากที่สุดแห่งหนึ่ง ส่วน Twitter มีผู้ใช้กว่าร้อยล้านคน และเป็นแพลตฟอร์มสำคัญในการเผยแพร่ข่าวสั้นที่เร็วที่สุด
กูเกิลยังเดินหน้าผลักดันบริการของตัวเองให้รองรับ AMP ต่อไป บริการตัวล่าสุดคือ Google Play Newsstand แอพอ่านข่าวในซีรีส์ Google Play รองรับการแสดงผลข่าวสารจากฟอร์แมต AMP แทน RSS Feed แบบเดิมแล้ว
ข้อดีของการแสดงเนื้อหาแบบ AMP คือควบคุมฟอร์แมตการแสดงผลได้ดีขึ้น เหมาะสำหรับหน้าจอมือถือมากขึ้นกว่า RSS Feed ที่มีแต่ text และทำอะไรไม่ได้มากนัก สำหรับเว็บเพจที่อยากแสดงผลเนื้อหาในระบบ Newsstand เป็น AMP แทน Feed ก็สามารถปรับแต่งในหน้า Google Play Newsstand Producer ได้เลย
สำหรับคนที่อยากติดตาม Blognone ใน Google Play Newsstand ก็ตามลิงก์
Lumi คือแอพพลิเคชั่นข่าวที่สามารถเปิดใช้ได้โดยไม่ต้องลงทะเบียน ที่น่าสนใจคือ ตัวแอพจะแสดงเฉพาะข่าวที่ผู้ใช้สนใจเท่านั้น อิงตามพฤติกรรมของผู้ใช้งาน วิธีการคล้ายกับแอพนัดเดต Tinder ที่คัดเฉพาะคนที่เราสนใจ
ตอนแรกที่เข้าใช้แอพ จะแสดงเฉพาะข่าวเฮดไลน์ใหญ่ หลังจากนั้นแอพจะเสนอตัวเลือกว่าผู้ใช้อยากให้แอพเรียนรู้ความสนใจข่าวสารจากที่ไหน ระหว่าง Facebook หรือ Twitter ของผู้ใช้เอง ถ้าเราสนใจข่าวนั้นให้ปัดขวาเพื่ออ่าน หรือไม่ก็ปัดซ้ายเพื่อข้ามข่าวนั้น
Lumi ทีมงานประมาณ 10 คน โดย 3 ใน 10 เป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ผู้ร่วมก่อตั้งคือเจ้าของ Last.fm บริษัทเพลงที่ CBS ซื้อไปเมื่อปี 2007
เมื่อปี 2013 ทาง Google เปิดตัวโครงการ Project Shield ด้วยเป้าหมายเพื่อช่วยเว็บไซต์ในการเอาตัวรอดจากการโจมตี DDoS ซึ่งแรกเริ่มใช้ระบบการเชิญให้ผู้พัฒนาเว็บไซต์บางเว็บเท่านั้นให้เข้าใช้บริการได้ แต่ตอนนี้ Google เปิดให้เว็บไซต์ข่าวโดยทั่วไปสมัครขอใช้งาน Project Shield กันได้ฟรีแล้ว
ไมโครซอฟท์ออกแอพอ่านข่าวตัวใหม่ชื่อ News Pro บนระบบปฏิบัติการ iOS แอพตัวนี้เป็นผลจากโครงการ Microsoft Garage ที่เปิดให้พนักงานสร้างแอพตามใจชอบ
รูปแบบของมันคือดึงข่าวจาก Bing News มาแสดง แต่มีลูกเล่นคือผู้ใช้สามารถเลือกข่าวที่ตรงกับความสนใจของตัวเอง รวมถึงใช้ข้อมูลจากบัญชี Facebook/LinkedIn เพื่อให้แอพเลือกข่าวได้แม่นยำขึ้น การใช้งาน News Pro จะคล้ายกับแอพพวก Flipboard ผู้ใช้สามารถเลือกหัวข้อข่าวที่สนใจในตอนแรก
สำหรับสาวกไมโครซอฟท์พันธุ์แท้ที่ใช้ Windows Phone ก็ไม่ต้องเสียใจไป เพราะมีหน้าเว็บให้ใช้แทนได้ครับ
Reddit เว็บไซต์ชุมชนออนไลน์ชื่อดัง เปิดตัวเว็บไซต์ใหม่ในชื่อ Upvoted เว็บรวบรวมข่าวสาร และบทความเด่นจาก Reddit นำมาเรียบเรียง และนำเสนอในรูปแบบของเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ โดยกองบรรณาธิการภายใน
ทิศทางของ Upvoted เรียกได้ว่าต่างจาก Reddit อย่างมาก ตั้งแต่หน้าตาที่เหมือนกับเว็บไซต์ข่าวมากกว่า และทุกข่าว-บทความถูกควบคุมโดยทีมงานของ Reddit เนื้อหาจะมีตั้งแต่รีโพสต์น่าสนใจ ข่าวสารจากภายนอก ไปจนถึงการสัมภาษณ์-ลงรายละเอียดจากโพสต์ที่น่าสนใจของ Reddit มานำเสนอใน Upvoted ซึ่งคาดว่าจะมีบทความราว 10-20 ชิ้นต่อวันในช่วงแรก
อาจใกล้หมดยุคของการอ่านหนังสือพิมพ์ในร้านกาแฟ เมื่อ Starbucks ประกาศความร่วมมือกับหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ The New York Times โดยแจกบทความสรุปข่าวประจำวัน-ประจำสัปดาห์ให้กับสมาชิก My Starbucks Rewards อ่านกันฟรีๆ (ปัจจุบัน NYT คิดเงินค่าอ่านบทความ) ผ่านแอพ Starbucks บนอุปกรณ์พกพา
ข้อตกลงนี้จะเริ่มมีผลในครึ่งแรกของปี 2016 โดย Starbucks จะแจกบทความสรุปข่าว daily/weekend briefings พร้อมทั้งบทความบางชิ้นที่คัดเลือกมาแจกสมาชิก ในทางกลับกัน ถ้าสมาชิก Starbucks ตัดสินใจจ่ายเงินสมัครหนังสือพิมพ์ (ได้ทั้งฉบับกระดาษหรือดิจิทัล) ก็จะได้แต้มสะสมในระบบของ Starbucks เพิ่มด้วย
เมื่อมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น ก็จะมีผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นถ่ายและอัพวิดีโอลง YouTube ทำให้ทุกวันนี้ YouTube กลายเป็นช่องทางหลักในการแชร์ข่าวสารผ่านวิดีโอ เช่น แผ่นดินไหวในประเทศเนปาล และข่าวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกของเรา บางครั้งอาจทำให้เนื้อหาของข่าวถูกบิดเบือนไป จึงเปิดตัว Newswire เพื่อเป็นช่องทางใหม่ในการนำเสนอข่าว
ปัจจุบันคนยุคดิจิทัลต้องเผชิญหน้ากับคอนเทนต์ต่างๆ อย่างมหาศาลบนโลกโซเขียลเน็ตเวิร์ค โดยเฉพาะสงคราม News Feed ที่ทุกคนจะเห็นคอนเทนต์ต่างๆมากมาย ทั้งคอนเทนต์ที่มีคุณภาพและด้อยคุณภาพ อีกทั้ง Facebook ได้ลดความสำคัญในการแสดงผลคอนเทนต์จากแฟนเพจลง มีผลให้ผู้ใช้อาจพลาดคอนเทนต์ดีๆเหล่านั้นได้ ซึ่งสาเหตุเหล่านี้เอง ทำให้เกิดไอเดียและแรงบันดาลใจในการพัฒนาแอพพลิเคชัน MYPAGE ขึ้น
ปัจจุบันมีนักลงทุนสนใจเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์กันมากขึ้น ผมจึงพัฒนา Thai Stock Watch ขึ้นมา ซึ่งแอพนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับนักลงทุนเพราะ Thai Stock Watch ได้รวบรวมข้อมูลวิดีโอจากงาน Oppday ไว้ที่เดียว ช่วยให้นักลงทุนประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูลบริษัทจดทะเบียน และช่วยให้นักลงทุนได้ฟังข้อมูลที่น่าเชื่อถือจากฝ่ายผู้บริหารของบริษัท ช่วยให้เห็นแนวโน้มบริษัท และความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ทำให้นักลงทุนสามารถคาดการณ์แนวโน้มของกิจการล่วงหน้า
ถ้ายังจำกันได้ เมื่อต้นปีที่แล้ว ยาฮูในยุคของ Marissa Mayer เข้าซื้อกิจการแอพสรุปข่าว Summly โดยประเด็นข่าวไปอยู่ที่ผู้ก่อตั้ง Summly ที่อายุเพียง 17 ปี
เวลาผ่านมาเกือบ 1 ปี ผลลัพธ์ของการซื้อ Summly กลายร่างมาเป็นแอพตัวใหม่ชื่อ Yahoo News Digest (ตอนนี้ยังมีเฉพาะบน iPhone) กลุ่มเป้าหมายของมันคือคนที่อยากติดตามข่าวสารแต่ไม่อยากอ่านอะไรยาวๆ
พอดีผมเป็นคนชอบอ่านข่าวคนนึงครับ เวลาว่างๆ ก็มักเอา iPhone เปิดข่าวต่างๆ ขึ้นมาอ่าน ซึ่งสมัยก่อนผมอ่านข่าวจากพวก RSS feed ครับ เช่น MobileRSS หลังจากนั้นมาเจอแอพ Flipboard ผมชอบมาก เวลาอ่านข่าวมันรู้สึกลื่นมือมากๆ
ตอนนั้นผมเลยหาแอพอ่านข่าวในไทยที่คล้ายๆ Flipboard แต่หาไม่เจอเลยครับ เลยตั้งใจว่า งั้นเขียนเองก็ได้ คงไม่น่ายากเท่าไร เพราะคิดว่าคงต้องตัดคุณสมบัติบางอย่างของ Flipboard ออกไปบ้าง
สรุป มันเป็นแอพที่ยากมาก ยากตรงที่ทำให้มันลื่นมือนี่แหละครับ ปกติผมทำแอพใช้เวลาทำประมาณ 3-4 เดือน แต่แอพนี้ผมใช้เวลาทำ 7 เดือน (ผมทำแอพเวลาว่างๆ ครับเพราะทำงานประจำด้วย เลยอาจดูนานกว่าปกติ )