Intel Core
อินเทล ให้ข้อมูลกับ The Verge ว่าปัญหาซีพียู 13th/14th Gen Raptor Lake ไม่เสถียร ตอนนี้แก้ได้ทั้งหมดแล้ว หลังจากอัพเดต microcode ครบทั้ง 3 ตัวตามแผน
อินเทลเผยผลการสอบสวนอย่างละเอียด ว่าค้นเจอสาเหตุของ ปัญหาซีพียู Core 13th/14th Gen Raptor Lake ทำงานไม่เสถียร แล้ว
อินเทลเรียกปัญหานี้ว่า Vmin Shift Instability อาการคือแผงวงจรคล็อค (clock tree circuit) ที่เสี่ยงต่อการไม่เสถียร หากศักย์ไฟฟ้าและอุณหภูมิเกินปกติ โดยอินเทลบอกว่ามี 4 สถานการณ์ที่อาจทำให้เกิดปัญหาขึ้น
Dongyu E-sports ร้านอีสปอร์ตคาเฟ่ในเมือง Yueyang ของประเทศจีน เพิ่งเปิดตัวโดยอาศัยจุดขายว่ามีคอมพิวเตอร์ระดับไฮเอนด์สุดแรง ขุมพลัง Intel Core i9-14900K, GeForce RTX 4090D, หน้าจอมอนิเตอร์ 540Hz ให้เกมเมอร์ที่ต้องการสมรรถนะสูงสุดมาเช่าเล่นกัน ผลคือคาเฟ่แบรนด์นี้ (มีทั้งหมด 6 สาขา) ได้รับความนิยมอย่างสูง ช่วงวันหยุดเสาร์อาทิตย์มีคนใช้งาน 100% แม้แต่ตอนตีสองจนถึงเช้ายังมีอัตราเข้าใช้งานถึง 80%
PC Gamer รายงานว่าผู้ผลิตเมนบอร์ดบางราย เช่น MSI และ Asus เริ่มปล่อยอัพเดต BIOS ที่มี microcode แก้ปัญหาซีพียู Intel Core 13th/14th Gen ให้ลูกค้าแล้ว
เมนบอร์ดเหล่านี้ใช้ชิปเซ็ต Intel ซีรีส์ 600 และ 700 โดยเป็น BIOS เวอร์ชัน 0x129 ที่ใหม่กว่าเวอร์ชัน 0x125 ที่เคยออกมาก่อนหน้านี้
รายชื่อเมนบอร์ดที่ประกาศบนหน้าเว็บของ MSI แล้วคือ
อินเทลประกาศยืดระยะเวลารับประกันซีพียู Core 13th/14th Gen ให้เพิ่มอีก 2 ปี สำหรับซีพียูกลุ่มที่ขายเป็นกล่องแยก ซึ่งปกติแล้วมีระยะเวลารับประกัน 3 ปี (ขยายเพิ่มเป็น 5 ปี)
ซีพียูกลุ่มนี้ของอินเทลเจอปัญหาทำงานไม่เสถียร ซึ่งอินเทลประกาศว่าจะแก้ผ่าน microcode เพื่อป้องกันปัญหาศักย์ไฟฟ้าเกิน แต่ซีพียูที่เกิดปัญหาไปแล้ว แพตช์ microcode ช่วยอะไรไม่ได้ จึงเป็นที่มาของประกาศยืดระยะเวลารับประกันในครั้งนี้
การยืดระยะเวลารับประกันครั้งนี้มีผลเฉพาะซีพียูแบบขายแยกเป็นกล่อง ส่วนซีพียูที่มาพร้อมเครื่องพีซีแบรนด์ อินเทลบอกว่าให้ติดต่อฝ่ายซัพพอร์ตของแต่ละแบรนด์โดยตรง
เว็บไซต์ The Verge ได้รับคำยืนยันจากอินเทลว่า กรณีซีพียู Core 13th/14th Gen ไม่เสถียร ซึ่งอินเทลประกาศแก้ผ่าน microcode หากซีพียูตัวนั้นเคยเกิดปัญหาไปแล้ว ก็จบกันเลย การอัพเดตแพตช์ซอฟต์แวร์ช่วยอะไรไม่ได้แล้ว
โฆษกของอินเทลบอกกับ The Verge ว่าแพตช์ตัวนี้จะช่วย "ป้องกัน" ปัญหาไม่ให้เกิด แต่ไม่สามารถ "เยียวยา" ปัญหาที่เคยเกิดไปก่อนแล้ว อินเทลยังบอกว่าปัญหาศักย์ไฟฟ้าเยอะเกินไปเป็นแค่ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ซีพียูไม่เสถียร แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย ซึ่งอาจรวมถึงข้อบกพร่องในการผลิต ที่อินเทลแก้ไขไปก่อนแล้ว (แปลว่าซีพียูที่พัง คือเฉพาะบางล็อตที่มีปัญหา?)
ก่อนหน้านี้มีรายงานว่าซีพียู Core 13th/14th Gen (ซีรีส์ Raptor Lake) ของอินเทลมีปัญหาทำงานไม่เสถียร ซึ่งมีทฤษฎีต่างๆ มากมายสันนิษฐานว่าเกิดจากอะไรกันแน่
ล่าสุดอินเทลออกมาแถลงอย่างเป็นทางการ ยอมรับว่าซีพียูบางตัวในกลุ่ม Core 13th/14th Gen มีปัญหาเสถียรภาพจริงๆ โดยเกิดจากศักย์ไฟฟ้า (operating voltage) สูงเกินไปในบางกรณี และสาเหตุมาจากอัลกอริทึมใน microcode ในซีพียูทำงานไม่ถูกต้องในการกำหนดศักย์ไฟฟ้าของซีพียู
อินเทลบอกว่าแก้ปัญหานี้โดยออกแพตช์แก้ไข microcode โดยจะออกในช่วงกลางเดือนสิงหาคมนี้
ที่มา - Intel
อินเทลออกซีพียูเดสก์ท็อป Core 14th Gen Raptor Lake มาใหม่แบบเงียบๆ โดยเป็นรุ่นรหัสห้อยท้าย E ที่ตัดคอร์เล็ก E-Core ออก เหลือแต่เพียงคอร์ประสิทธิภาพสูง P-Core เท่านั้น
อินเทลระบุว่าซีพียูกลุ่ม E เหล่านี้ตั้งใจทำมาเพื่อตลาดอุปกรณ์ฝังตัว (Embedded) และไม่วางขายสำหรับลูกค้าทั่วไป มีทั้งหมด 9 รุ่น รุ่นใหญ่สุด i9-14901KE มี P-Core จำนวน 8 คอร์ TDP 125W ไปจนถึงรุ่นเล็กสุด 6 คอร์ TDP 45W
อินเทลเปิดตัว Core 14th Gen i9-14900KS ซีพียูเดสก์ท็อปตัวแรงที่สุดในตอนนี้ จุดเด่นคือมาพร้อมคล็อค 6.2GHz ตั้งแต่โรงงาน
คล็อค 6.2GHz ถือเป็นการอัพเกรดขึ้นจากรุ่นพี่เจ็นก่อนหน้า Core i9-13900KS ที่มีคล็อค 6.0GHz ส่วนสเปกอื่นๆ เหมือนกับ Core i9-14900K (รุ่นไม่มี S) ที่เปิดตัวในเดือนตุลาคม 2023 นั่นคือ 24 คอร์, 32 เธร็ด, แคช L3 36MB
อินเทลเปิดตัวซีพียู Core Ultra (Meteor Lake) และ Core 14th Gen (Raptor Lake Refresh) เวอร์ชัน vPro สำหรับลูกค้าองค์กร โดยเป็นซีพียูเดิมที่เคยเปิดตัวไปแล้วทั้งหมด แค่ออกเวอร์ชัน vPro เพิ่มเข้ามา
ซีพียูกลุ่ม vPro มีฟีเจอร์ด้านบริหารจัดการและความปลอดภัย เพิ่มเข้ามาจากซีพียูฝั่งคอนซูเมอร์ ตัวอย่างคือฟีเจอร์ Thread Detection Technology ที่เปิดให้บริษัทซอฟต์แวร์ความปลอดภัยมาเรียกใช้งานอีกต่อหนึ่ง รอบนี้ vPro เพิ่มของใหม่อีกจำนวนหนึ่งคือ
อินเทลเปิดตัวซีพียู Core 14th Gen (Raptor Lake Refresh) ฝั่งเดสก์ท็อปเพิ่มอีก 18 รุ่นย่อย เพิ่มเติมจากชุดแรกในเดือนตุลาคม 2023 ที่ออกมาเฉพาะรุ่นท็อปรหัส K/KF เน้นโอเวอร์คล็อค โดยรอบนี้ออกซีพียูกระแสหลัก (mainstream) สำหรับผู้ใช้ทั่วไป กลุ่มที่ไม่ได้ต้องการโอเวอร์คล็อค
ซีพียูแบ่งเป็น 3 กลุ่มได้แก่
อินเทลเปิดตัวซีพียูโน้ตบุ๊กระดับล่างแบรนด์ Core (ไม่ใช่ Core Ultra) Series 1 โดยใช้สถาปัตยกรรม Meteor Lake (มีผสม P+E Core) เปิดตัวเฉพาะชิปรหัส U กินไฟต่ำ 15-55 วัตต์ เน้นจับกลุ่มโน้ตบุ๊กสายบางเบา (thin-and-light) ราคาถูกกว่ากลุ่ม Core Ultra ที่มีชิปรหัส U ด้วยเช่นกัน
Core Series-1 ใช้ระบบเลขรุ่น 3 หลักแบบเดียวกับ Core Ultra มีให้เลือก 3 รุ่นย่อยคือ
อินเทลเปิดตัวซีพียู Core 14th Gen (Raptor Lake Refresh) สำหรับโน้ตบุ๊ก หลังจากเปิดตัว Core 14th Gen เวอร์ชันเดสก์ท็อปชุดแรกไปตั้งแต่เดือนตุลาคม 2023 โดยสินค้ากลุ่มนี้ยังใช้กระบวนการผลิต Intel 7 เท่ากับ Core 13th Gen (Raptor Lake) เดิม
อินเทลเปิดตัวซีพียูโน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ Core Ultra หรือโค้ดเนม Meteor Lake ที่เคยประกาศข่าวไว้ก่อนหน้านี้ นอกจากการปรับแบรนด์ใหม่ครั้งใหญ่ในรอบหลายปี ยังใส่ชิป NPU สำหรับเร่งการประมวลผล AI และเป็นชิปรุ่นแรกที่ใช้กระบวนการ Intel 4 (EUV) รุ่นใหม่ล่าสุดของอินเทลด้วย
Core Ultra ยังใช้เลขห้อยหลัง 5, 7, 9 แบบเดียวกับที่เราคุ้นเคย และมีตัวอักษรห้อยบอกการใช้พลังงานคือ H (28 วัตต์หรือสูงกว่า) ใช้จีพียู Arc กับ U (15 วัตต์หรือต่ำกว่า) ใช้จีพียู Intel Graphics สิ่งที่เปลี่ยนแปลงคือเลขประจำรุ่นซีพียูลดลงมาเหลือ 3 หลัก แทนระบบเลข 4 หลักแบบเดิม
อินเทลเปิดตัวซีพียู Intel Core 14th Generation สำหรับเดสก์ท็อป โค้ดเนม Raptor Lake-S Refresh ตามข่าวที่หลุดมาก่อนหน้านี้ โดยซีพียูกลุ่มนี้ยังนับ Gen ตามระบบเดิม ต่างจากซีพียูโน้ตบุ๊กที่เปลี่ยนไปใช้แบรนด์ใหม่ Core Ultra แทนแล้ว
ซีพียูชุดแรกมีทั้งหมด 6 รุ่นย่อย โดยแบ่งเป็นรุ่น K ที่มีจีพียู UHD 770 และ KF ที่ไม่มีจีพียู ได้แก่
อินเทลเผยรายละเอียดของซีพียูโน้ตบุ๊กรุ่นถัดไป รหัส Meteor Lake หรือชื่อแบรนด์ใหม่ Intel Core Ultra ว่าจะเริ่มวางขาย 14 ธันวาคม 2023
ข้อมูลหลายอย่างของ Meteor Lake เป็นสิ่งที่เคยประกาศมาก่อนแล้ว แต่อาจมีรายละเอียดเพิ่มเติมบ้าง เช่น
มีเอกสารหลุดของ MSI ให้ข้อมูลของซีพียู Intel 14th Gen Core "Raptor Lake-S Refresh" สำหรับเดสก์ท็อป ที่จะเปิดตัวในเดือนกันยายนนี้ ประเด็นคือ ประสิทธิภาพของ 14th Gen ดีขึ้นจาก 13th Gen เฉลี่ยเพียง 3% เท่านั้น ด้วยเหตุผลว่าเป็นแกน Raptor Lake ตัวเดียวกัน และใช้กระบวนการผลิต 10nm (Intel 7) เหมือนกัน
ตารางของ MSI ให้ข้อมูลว่าเราจะได้เห็น 14th Gen Core อย่างน้อย 3 รุ่นย่อยในชุดแรกคือ Core i5-14600K, Core i7-14700K, Core i9-14900K
ซีพียูบางรุ่นย่อย เช่น Core i7-14700K มีได้อัพเกรดคอร์เพิ่ม คือ 8P+12E เทียบกับรุ่นเดียวกันตัวก่อน Core i7-13700K ที่ใช้ 8P+8E ทำให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 17% จากจำนวน E-core ที่เพิ่มขึ้น
เมื่อไม่กี่วันมานี้ อินเทลเพิ่งประกาศทิศทางใหม่ของซีพียูแบรนด์ Core ว่าจะเลิกนับเจนในชื่อเรียกแล้ว (แต่ยังไม่ในเลขรุ่น) โดยจะเริ่มใช้ในซีพียูโค้ดเนม Meteor Lake ที่จะเปิดตัวภายในปีนี้
แต่ล่าสุดมีข่าวลือมาจากช่องไอทีจีน Golden Pig Upgrade บนแพลตฟอร์ม Bilibili ว่าอินเทลจะยังออกซีพียู 14th Gen มาด้วยเช่นกัน โดยจะเป็นซีพียูแกน Raptor Lake Refresh ที่อัพเดตจาก 13th Gen Raptor Lake ที่วางขายในปัจจุบัน
มีรายงานว่าอินเทลอาจเปลี่ยนคำเรียกรุ่นซีพียู มีผลตั้งแต่ซีพียู Meteor Lake (14th Gen) เป็นต้นไป จากเดิมอินเทลเรียกรุ่นซีพียูกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไปเป็น Core i3, i5, i7 และ i9 ที่คุ้นเคย โดยจะเปลี่ยนเป็น Core Ultra แทน
รายงานดังกล่าวมาจากข้อมูลผลทดสอบซีพียูใหม่ของอินเทลซึ่งระบุชื่อรุ่นว่า Core Ultra 5 1003H ซึ่งเปลี่ยนจากคำว่า i5 เป็น Ultra 5 แทน
ถึงแม้ข่าวดังกล่าวยังเป็นการคาดเดาไม่มีคำยืนยัน แต่หลังรายงานนี้ออกมา Bernard Fernandes หัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กรของอินเทลก็ออกมาทวีตเองว่าอินเทลกำลังรีแบรนด์ซีพียูตระกูล Meteor Lake เพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ โดยรายละเอียดทั้งหมดจะออกมาในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า เรื่องนี้ก็น่าจะมีน้ำหนักมากขึ้นนั่นเอง
อินเทลเปิดตัว Core i9-13900KS ซีพียูเดสก์ท็อปตัวแรงที่สุด (รหัส KS) ของ 13th Gen Raptor Lake โดยมีคล็อค 6GHz มาให้ตั้งแต่แรก ไม่ต้องโอเวอร์คล็อคเพิ่ม
อินเทลชูว่า Core i9-13900KS คือซีพียูเดสก์ท็อปที่แรงที่สุดในโลกตอนนี้ มี 24 คอร์ (8P+16E), 32 เธร็ด, อัตราการใช้พลังงานเบื้องต้น 150W, แคช L3 36MB, PCIe จำนวน 20 เลน (5.0x16 + 4.0x4) ราคาขาย 699 ดอลลาร์
สเปกของ 13900KS เหมือนกับรุ่นรองท็อป 13900K (ไม่มี S) ทุกอย่าง ยกเว้นคล็อคที่สูงขึ้น 200MHz แลกมาด้วยอัตราการใช้พลังงานเพิ่มจาก 125W เป็น 150W และขึ้นราคาจาก 589 ดอลลาร์เป็น 699 ดอลลาร์
อินเทลเปิดตัวซีพียูซีรีส์ใหม่ N-Series สำหรับพีซีราคาถูก เน้นประหยัดไฟ เพื่อมาแทนแบรนด์ Pentium/Celeron ของเดิมที่ยกเลิกใช้แล้ว
ซีพียู N-Series มีแบ่งเป็น 2 แบรนด์คือ Core i3 และ Intel Processor มีเฉพาะ E-core (Gracemont) ตัวกินไฟต่ำอย่างเดียว ไม่มี P-core แบบใน Raptor Lake รุ่นใหญ่ แต่ยังมีฟีเจอร์รุ่นใหม่ๆ อย่างการรองรับแรม DDR5, Wi-Fi 6E, Bluetooth 5.2, ตัวถอดรหัสวิดีโอ AV1, ใช้กระบวนการผลิต Intel 7
ซีพียูที่เปิดตัวมีทั้งหมด 4 รุ่นย่อยคือ
นอกจาก 13th Gen Core Mobile สำหรับโน้ตบุ๊ก อินเทลยังเปิดตัวซีพียู 13th Gen Core Desktop เพิ่มเติมจากรุ่นใหญ่รหัส K (125-150W) ที่เปิดตัวไปเมื่อเดือนกันยายน 2022
ซีพียูเดสก์ท็อปใหม่รอบนี้คือกลุ่มกินไฟ 65W เป็นรุ่นปกติที่ไม่มีรหัสอักษรห้อยท้าย (เช่น Core i9-13900 รุ่นสูงสุดของกลุ่ม 65W 24 คอร์ 8P+16E) และรุ่นห้อยท้าย F ที่ไม่มีจีพียูในตัว (เช่น Core i9-13900F) รวม 10 รุ่นย่อย กับกลุ่มกินไฟ 35W รหัสห้อยท้าย T (เช่น Core i9-13900T) รวม 6 รุ่นย่อย
อินเทลเปิดตัวซีพียูโน้ตบุ๊ก 13th Gen Intel Core โค้ดเนม Raptor Lake ตามรอบการเปิดตัวประจำปี โดยรอบนี้เปิดตัวรวดเดียวทั้งซีรีส์ U (15W), P (28W), H (45W), HX ที่ประสิทธิภาพสูงกว่า H แต่ก็ต้องแลกด้วยการกินไฟเพิ่มเป็น 55W สำหรับตลาดเกมมิ่งและเวิร์คสเตชัน
ซีพียูที่เปิดตัวคราวนี้มีทั้งหมด 32 รุ่นย่อย โดยซีรีส์ HX มีทั้งหมด 9 รุ่นย่อย (core i9, i7, i5 อย่างละสาม) ซีพียูรุ่นเรือธงคือ Core i9-13980HX ที่อินเทลคุยว่าเป็นซีพียูโน้ตบุ๊กที่แรงที่สุดในตลาด มี 24 คอร์ (สูตร 8P+16E) และอัดคล็อกขึ้นไปสูงสุดที่ 5.6GHz ส่วน Core i9-13950HX และ i9-1300HX ใช้คอร์จำนวนเท่ากัน แต่ลดระดับของคล็อคลงมา
สัปดาห์ที่ผ่านมา สื่อฮาร์ดแวร์หลายรายออกรีวิว Intel Core 13th Gen "Raptor Lake" ซึ่งรอบนี้ออกมาชนกับ AMD Ryzen 7000 พอดี ทำให้เราได้เห็นการเปรียบเทียบกันตรงๆ ของซีพียูเดสก์ท็อปจากทั้งสองค่าย
รีวิวที่ออกมา ส่วนใหญ่เป็นของ Core i9-13900K รุ่นบนสุด และ Intel Core i5-13600K ซีพียูระดับกลาง แล้วนำไปรันเบนช์มาร์คเทียบกับ Ryzen 9 7950X และ Ryzen 5 7600K ที่ถือว่าอยู่ในระดับเดียวกัน
อินเทลเปิดตัวซีพียู Intel Core รุ่นที่ 13 สำหรับกลุ่มเดสก์ทอป ชื่อรหัส Raptor Lake สามารถใช้งานกับชิปเซ็ต Intel 600 เดิมหรือใช้ชิปเซ็ตใหม่ Intel 700 ก็ได้ โดยรวมแล้วนับว่าคล้ายกับ Intel Core รุ่นที่ 12 ที่เปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว ยังไม่หักดิบบังคับใช้แรม DDR5 แต่อย่างใด และเทคโนโลยีการผลิตยังเป็น Intel 7 เหมือนเดิม
ซีพียูยังคงแบ่งเป็น 6 รุ่น มีรุ่นมาพร้อมส่วนกราฟิกเป็นตระกูล K ใช้ Intel UHD 770 เช่นเดิม ส่วนตระกูล KF ไม่มีส่วนกราฟิกในตัว