โครงการ Tailwind เฟรมเวิร์ค CSS ยอดนิยมออกรุ่น 4.0 Beta 1 เบต้าแรกที่น่าจะแสดงให้เห็นว่าตัวจริงมีฟีเจอร์อะไรบ้าง โดยความเปลี่ยนแปลงมี 4 ด้านหลัก ได้แก่
กูเกิลเริ่มปล่อย Chrome 109 โดยมีฟีเจอร์สำคัญ 3 รายการ ได้แก่
lh
(line-height) ระบุความสูงของบรรทัดปัจจุบัน ทำให้สามารถสร้างกรอบพอดีกับจำนวนบรรทัดได้ หรือตัวเลือก hyphenate-limit-chars
สำหรับกำหนดตัวขีดคั่นคำFirefox แก้บั๊กหมายเลข 290125 ที่เปิดมาตั้งแต่ปี 2005 เป็นบั๊ก CSS เรนเดอร์โดยไม่สนใจค่า line-height
ในตัวอักษรตัวแรก :first-letter
โดยไม่ว่าจะกำหนดความสูงของบรรทัดเป็นอย่างไรขนาด box ของ CSS รอบตัวอักษรแรกก็จะใหญ่เท่าเดิม แต่เบราว์เซอร์อื่นๆ เช่น Opera 7.5 และ Safari 1 ในยุคนั้นแสดงผลตามค่า line-height
เว็บเบราว์เซอร์ Opera ออกฟีเจอร์ใหม่ชื่อ Lucid Mode ช่วยให้ภาพของวิดีโอที่ชมผ่านเว็บคมชัดขึ้น ภาพเบลอน้อยลง ใช้ได้กับวิดีโอทุกประเภทบนเบราว์เซอร์ ไม่ว่าจะเป็น YouTube, Instagram, Twitter, Facebook, TikTok รวมถึงวิดีโอแบบโฮสต์เอง
วิธีการใช้งาน Lucid Mode จะมีปุ่มให้เปิดใช้งานในหน้าตั้งค่าแบบ Easy Setup จากนั้น Opera จะปรับฟิลเตอร์ความคมชัดของภาพให้ดีขึ้นอัตโนมัติ (เทคนิคเบื้องหลังคือการใส่ CSS sharpening filter กับ element ที่เป็นภาพหรือวิดีโอ โดยใช้พลังจีพียูเข้าช่วยหากรองรับ)
ที่มา - Opera
แอปเปิล, ไมโครซอฟท์, กูเกิล, มอซิลล่า ผู้ผลิตเบราว์เซอร์หลัก พร้อมกับ Igalia และ Bocoup รวมสนับสนุนการสร้างชุดทดสอบ Interop 2022 สำหรับการทดสอบการทำงานฟีเจอร์ CSS ยุคใหม่ 15 ชุด
ฟีเจอร์ CSS นั้นก้าวหน้าไปมากในช่วงหลัง มีฟีเจอร์เพื่อการรองรับหน้าจอที่ซับซ้อน หรือการจัดการสีชั้นสูง ตลอดจนสามารถคำนวณค่าจากใน CSS ตัวอย่างเช่น viewport units ที่แสดงความกว้างและสูงของหน้าจอ
ปี 2021 ที่ผ่านมาก็เคยมีความร่วมมือแบบเดียวกันนี้ในชื่อชุดทดสอบ Compat 2021 โดยเบราว์เซอร์ต่างๆ ก็ปรับปรุงจนกระทั่งทำคะแนนได้เกิน 90 ทุกตัว สำหรับ Interop 2022 ตอนนี้เบราว์เซอร์ทำคะแนนเริ่มต้นได้ประมาณ 70 คะแนน
อุปกรณ์แบบ 2 จอ Dual Screen กำลังจะออกมาถล่มตลาดในปีนี้ ในฝั่งของนักพัฒนาแอพก็ต้องเตรียมปรับแอพตาม ซึ่งไมโครซอฟท์ออก SDK สำหรับ Android มาให้แล้ว และจะออก SDK ของ Windows 10X ตามมาในเดือนหน้า
แพลตฟอร์มแอพตัวที่ 3 ที่ไมโครซอฟท์ผลักดันเช่นกันคือ เว็บแอพ ซึ่งไมโครซอฟท์พยายามเสนอมาตรฐานเว็บให้รองรับจอ Dual Screen ผ่านคุณสมบัติใหม่ของ CSS
ข้อเสนอของไมโครซอฟท์อ่านได้จาก GitHub แนวคิดของมันคือเสนอฟีเจอร์ให้กับ CSS 2 อย่างคือ
Ruslan Habalov วิศวกรความปลอดภัยของกูเกิลรายงานถึงการโจมตีเบราว์เซอร์ ด้วยการอ่านค่าใน iframe ที่เป็นเนื้อหาของเว็บอื่น เช่น เฟซบุ๊กที่ปกติแล้ว แม้เราจะเห็นชื่อผู้ใช้ในเฟซบุ๊กของเราเองผู้ตามเว็บต่างๆ ที่ฝังกล่องเฟซบุ๊กเอาไว้ (ด้านขวาของ Blognone) แต่ตัวเว็บหลักจะไม่สามารถอ่านค่าในกล่องเฟซบุ๊กได้
การโจมตีนี้อาศัยข้อมูลรอบข้าง (side-channel) โดยอาศัยการสังเกตเวลาเรนเดอร์ iframe เหล่านี้ เมื่อ iframe เหล่านี้ถูกดัดแปลงสีด้วยฟีเจอร์ Blend Mode ของ CSS3
Google ได้ออกอัพเดต Chrome 57 ทั้งบน Windows, Mac และ Linux โดยฟีเจอร์สำคัญในรอบนี้ ได้แก่
ฟีเจอร์อย่างหนึ่งของ CSS3 ที่นักออกแบบเว็บควรให้ความสนใจคือ CSS3 Regions ที่ช่วยให้เว็บมีหน้าตาคล้ายสิ่งพิมพ์มากขึ้น โดยนักออกแบบสามารถกำหนด "พื้นที่" ในการแสดงผลข้อความที่ต่อเนื่องกันได้ (เช่น กำหนดพื้นที่เป็นรูปทรงต่างๆ ที่ไม่ใช่สี่เหลี่ยม หรือ กำหนดพื้นที่ที่ไม่ต่อเนื่องกัน แต่ให้ข้อความไหลต่อกัน ภาพตัวอย่างท้ายข่าว)
CSS3 Regions เป็นข้อเสนอของค่าย Adobe เพื่อเป็นมาตรฐานเว็บในอนาคต อย่างไรก็ตาม เบราว์เซอร์ที่รองรับ CSS3 Regions ยังมีเพียงเบราว์เซอร์สาย WebKit เท่านั้น (IE กับ Firefox ยังไม่สนใจ)
วันนี้ถ้าใครเข้าไปเยี่ยมชม GitHub คงเห็นความเปลี่ยนแปลงในไอคอนต่างๆ ที่ดูคมชัดและใหญ่ขึ้น ไม่ต้องแปลกใจครับ ทาง GitHub ประกาศว่าเป็นการเปลี่ยนมาใช้ไอคอนใหม่ที่ชื่อ Octicons
การเปลี่ยนครั้งนี้เป็นการสร้างฟอนต์ขึ้นมาใหม่ 1 ชุด และใช้ CSS3 เข้าไปตกแต่งเพื่อนำมาใช้งานแทนไอคอนเดิมที่เป็นรูปภาพ ทำให้นอกจากจะได้ความเร็วในการโหลดแล้ว เมื่อซูมดูภาพในขนาดใหญ่ขึ้น ก็ยังคงเห็นไอคอนเนียนสวยงามด้วยครับ
สนใจชมฟอนต์ Octicons ได้ที่นี่ โดยไอคอนแต่ละอันนั้น มีทั้งขนาดเล็ก (สำหรับช่วงความละเอียด 16px - 32px) และขนาดใหญ่ให้เลือกใช้ครับ
ที่มา: GitHub Blog
ความพ่ายแพ้ของ Flash ที่แพ้ให้กับ HTML5 ทำให้อโดบีหันหัวกลับมาเป็นผู้พัฒนามาตรฐาน HTML5 รายใหญ่เสียเอง โดยความพยายามของอโดบีในตอนนี้คือการเสนอมาตรฐาน CSS ให้สามารถจัดหน้าได้เหมือนการจัดหน้าในนิตยสาร
ความสามารถที่ว่าคือการเรียงข้อความที่เป็นชุดเดียวกัน ให้ไหลไปตามบล็อคต่างๆ ในหน้าเว็บ เหมือนที่นิตยสารมีหลายคอลัมน์ทำให้ผู้อ่านสามารถกวาดสายตาไปตามคอลัมน์แคบๆ ได้ง่ายขึ้น โดยมาตรฐานนี้เกิดจากการแฮกภายในของอโดบีเองเมื่อปีที่แล้ว และเสนอเป็นมาตรฐาน CSS Regions ต่อมาจึงถูกแตกออกเป็นสามมาตรฐาน ได้แก่
Firefox 11 ออกแล้ว ของใหม่ในรุ่นนี้ได้แก่
WebKit กลายเป็นเอนจินแสดงผลเว็บยอดนิยมในปัจจุบัน เพราะมีผลิตภัณฑ์ยอดนิยมมากมายที่ใช้ WebKit เป็นเอนจินแสดงผล (สำหรับคนแถวนี้คงไม่ต้องระบุชื่อว่ามีอะไรบ้างนะครับ)
ผลคือนักพัฒนาเว็บจำนวนไม่น้อย เลือกจะรองรับฟีเจอร์ของ WebKit เพียงอย่างเดียวเท่านั้น (พวกคุณสมบัติที่ขึ้นต้นด้วย -webkit-*) ทำให้เริ่มเกิดสถานการณ์คล้ายๆ กับ IE6 ในอดีต
Daniel Glazman หนึ่งในคณะทำงานพัฒนามาตรฐาน CSS ของ W3C (ถ้าจำกันได้ เขาเป็นคนทำโปรแกรม Nvu ในอดีต) ออกมาบ่นเรื่องนี้ และได้รับเสียงสนับสนุนจากตัวแทนของ Mozilla, Opera, Microsoft อย่างเต็มที่
ร่างมาตรฐาน CSS3 จะต่างไปจาก CSS1 และ CSS2 เพราะจะแยก "โมดูล" ออกเป็นส่วนๆ ซึ่งมีระดับความก้าวหน้าของมาตรฐานไม่เท่ากัน (ปัจจุบันมีโมดูลจำนวนหลายสิบตัว ดูสถานะได้จาก CSS current work)
ข่าวนี้จะพูดถึงโมดูลตัวหนึ่งชื่อ CSS3 Regions Module ซึ่งเสนอโดย Adobe ครับ
CSS3 Regions จะกำหนดการไหลของข้อความ (text flow) ไปยังพื้นที่ต่างๆ ที่เรากำหนดไว้ ซึ่งจะช่วยให้การออกแบบสิ่งพิมพ์บนเว็บทำได้หลากหลายมากขึ้น และข้อความเว็บจะคล้ายกับข้อความบนหน้านิตยสารมากขึ้น (ดูภาพประกอบ)
จาก รายงานการประชุม CMS-Mission ทำให้วันเสาร์ที่ 27 มิ.ย. นี้ จะมี งานเสวนาในเรื่อง CMS และ CSS ที่ Nectec Academy ชั้น 22 อาคารมหานครยิบซั่ม ถ. ศรีอยุธยา ซึ่งจะเป็นการพูดคุยของคนทำเว็บกลุ่มหนึ่ง เกี่ยวกับ CMS นิดหน่อย (เพราะพูดไปเยอะแล้ว) และเกี่ยวกับ CSS มากหน่อย (เพราะยังไม่มีการคุยกันเรื่องนี้เท่าไหร่)
ซึ่งทีมที่เคยคุยกันว่าจะมาก็มี
@pornprom @imenn @joomlacorner @sugree @phisite @everysundays @opensource2day @warong @bordin @krajung @ipatttt
หลายคนที่อ่านข่าวในเว็บนี้และ Codenone กันประจำคงได้ยินชื่อเฟรมเวิร์คที่ได้รับความนิยมสูงๆ เช่น Ruby on Rails หรือ Django กันมาแล้วโดยเฟรมเวิร์คเหล่านั้นโดยหลักๆ แล้วจะใช้งานสำหรับงานในฝั่งเซิร์ฟเวอร์เป็นหลัก ส่วนงานในฝั่งไคลเอนท์นั้นเราคงได้ยินชื่อของเฟรมเวิร์คจาวาสคริปต์จำนวนมาก เช่น jQuery, Prototype.js, mootools และอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก แต่กับ CSS ซึ่งเป็นงานที่ค่อนข้างน่าปวดหัวอีกอย่างหนึ่งนั้น กลับไม่ค่อยมีตัวช่วยในการทำงานออกมามากนัก จะมีบ้างคือ YUI จาก Yahoo!
เกิดคดีขึ้นในประเทศฟินแลนด์เมื่อนาย Mikko Rauhala ได้สร้างเว็บที่อนุญาตให้มีการเผยแพร่โปรแกรมเพื่อการทำสำเนา DVD ผลคือถูกฟ้องว่าทำผิดกฏหมายลิขสิทธิของฟินแลนด์ที่ไม่อนุญาตให้มีการเผยแพร่วิธีการเจาะระบบป้องกันการทำสำเนาที่ยังได้ผลอยู่ (ในที่นี้คือ CSS)
หลังจากคดีเริ่มมาตั้งแต่ปี 2005 ตอนนี้ศาลชั้นต้นก็มีคำพิพากษาออกมาแล้วว่า CSS นั้นถือว่าเป็นการป้องกันที่ไม่มีผลอีกต่อไป เนื่องจากเป็นที่รู้กันทั่วไปแล้วว่าจะทำสำเนาแผ่น DVD ที่ป้องกันไว้ด้วย CSS ได้อย่างไรมาตั้งแต่ปี 1999 แต่คดีนี้ก็ยังมีโอกาสสำหรับผู้ฟ้องที่จะอุทธรณ์ได้ในอีกเจ็ดวันข้างหน้า
ที่น่าสนใจคือ AACS ของ HD DVD และ Blu-ray นั้นจะอยู่รอดไปอีกนานแค่ไหนก่อนที่จะเข้าข่ายแบบเดียวกัน
วันที่ 17 ธันวาคม 1996 ทาง W3C ได้เผยแพร่ CSS level 1 Recommendation นับเวลามาถึงปี 2006 จึงได้เวลาฉลองครบรอบสิบปีให้ CSS ซักที
อ่าน
หลังจากเราพูดถึงเรื่องของการทดสอบ ACID2 กันมาพักใหญ่ๆ สำหรับ CSS2 ที่บราวเซอร์จำนวนมากเริ่มจะผ่านการทดสอบกันไปแล้ว (ยกเว้น You know who....) ตอนนี้ก็เข้าสู่ช่วงการทดสอบการรองรับ CSS3 กันแล้ว โดยทางเว็บ CSS3.info ได้ออกชุดทดสอบจำนวน 578 กรณีเพื่อทดสอบความเข้ากันได้กับ CSS3 เฉพาะในส่วนของ Selector ซึ่งจะซับซ้อนขึ้นมาก
ผลการทดสอบคือ Konqueror นั้นทำได้ดีที่สุด โดยยังมีส่วนที่รองรับไม่สมบูรณ์เพียง 6 หมวดจาก 43 หมวด ส่วนที่สองคือ Fiefox 1.5 ที่ตามมาห่างๆ ด้วยมีหมวดที่ไม่รองรับอยู่ 7 หมวด และหมวดที่มีบั๊กอีก 10 หมวด