บริษัทระบบจ่ายเงิน Square เคยเปิดบริการโอนเงินระหว่างเพื่อน Square Cash ตั้งแต่ปี 2013 มาถึงปีนี้ Square ขยายบริการดังกล่าวเป็น Square Cash for Businesses ที่ช่วยให้องค์กรธุรกิจรับการจ่ายเงินได้ง่าย
วิธีการคือผู้ใช้ Square ที่ต้องการรับเงินจะต้องสร้างบัญชี $Cashtag บนเว็บไซต์ cash.me (เข้าได้เฉพาะในสหรัฐ) รูปแบบจะคล้ายการใช้ @ นำหน้าบัญชีทวิตเตอร์ แต่เปลี่ยนมาเป็นตัว $ นำหน้าชื่อแทน
วันนี้มีรายงานข่าวลือของกูเกิลออกมาสองข่าวในเวลาไล่เลี่ยกัน คือการทดสอบบริการจ่ายใบเสร็จในจีเมลที่ใช้ชื่อรหัสว่า Pony Express และบริการถ่ายทอดสดเกม YouTube Live
บริการ Pony Express เปิดให้ผู้ใช้ผูกบัตรเครดิตเข้ากับจีเมลหรือ Inbox ที่เป็นแอพตัวใหม่ หลังจากนั้นลูกค้าที่รับใบเสร็จทางอีเมลอยู่แล้วจะสามารถสั่งจ่ายใบเสร็จได้โดยตรง บริการนี้ยังสามารถสั่งหารค่าใช้จ่ายในใบเสร็จไปยังอีเมลอื่นๆ ได้ เช่น การแชร์ห้องพักก็สามารถหารค่าน้ำค่าไฟกันได้
ยังไม่แน่ชัดว่าชื่อ Pony Express เป็นชื่อจริงหรือเป็นเพียงชื่อรหัสสำหรับทดสอบเท่านั้น แต่ในแถบเอเชียบริการนี้จะคล้ายๆ กับ LINE Pay พอสมควร
บัตรเครดิต Visa เตรียมเลิกระบุหมายเลขบัตรเครดิต 16 หลักของลูกค้าในการจ่ายเงินออนไลน์หรือผ่านอุปกรณ์พกพา ด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัยในกรณีข้อมูลบัตรเครดิตโดนแฮ็ก
ทางออกของ Visa คือใช้รหัส token แบบใช้ครั้งเดียวแทน บริการนี้ใช้ชื่อว่า Visa Token Service (VTS) โดยเริ่มใช้มาตั้งแต่ปีที่แล้วกับ Apple Pay บริษัทระบุว่าตอนนี้มีสถาบันการเงินกว่า 500 แห่งเริ่มรองรับระบบ VTS ของตัวเองแล้ว และในปี 2015 นี้เราจะเห็นผู้ผลิตฮาร์ดแวร์อีกหลายรายเริ่มใช้ระบบ VTS กับแพลตฟอร์มจ่ายเงินผ่านอุปกรณ์พกพาของตัวเอง
วิธีการป้องกันปัญหา "บัตรเครดิตถูกใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาต" คือการเช็คต้นทางการรูดบัตรว่ามาจากสถานที่แปลกๆ ที่ผู้ใช้รายนั้นไม่เคยไป (เช่น บัตรเครดิตประเทศไทยที่ไม่เคยใช้งานนอกประเทศมาก่อน ถูกใช้ในยุโรปตะวันออกหรืออเมริกาใต้) อย่างไรก็ตาม วิธีการแบบนี้ก็ส่งผลกระทบในกรณีเจ้าของบัตรไปต่างประเทศ แล้วไม่สามารถรูดบัตรได้ เนื่องจากระบบไม่สามารถแยกแยะได้ว่าเป็นเจ้าของบัตรตัวจริงหรือไม่
ถึงตอนนี้ ‘ชาวเน็ต’ อย่างเรา คงจะคุ้นเคยกับการช้อปปิ้งออนไลน์ เริ่มคุ้นชินกับการจับจ่ายสินค้าและบริการ ผ่านตัวกลางรายต่างๆ อันเป็นผู้เล่นในอุตสาหกรรมที่เราคุ้น-ชินตา ทั้ง PayPal, 2C2P หรือระบบตัดบัตรเครดิตหลากหลายเจ้า
ทว่า ผู้ประกอบการที่อาจไม่ได้มีแค่การจำหน่ายสินค้าแบบจับต้องได้ แต่เป็นการขายในโมเดลอื่นๆ อาจยังผวากับการผูกตัวเองเข้ากับบริการตัวกลางเหล่านั้น ทั้งความยุ่งยากในการผูกเว็บไซต์ตัวเองกับระบบตัดบัตร, การจมอยู่ในวังวนโค้ดนับพันบรรทัดเพียงแค่อยากได้ระบบจ่ายเงินแบบทันสมัย หรือแม้กระทั่งการเรียกเก็บค่าคอมมิชชั่นสุดโหด “Stripe” จึงถือกำเนิดขึ้นด้วยไอเดียง่ายๆ ที่ขอนำเสนอในครั้งนี้
Alibaba ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซของประเทศจีนเข้ามารุกในประเทศไทยอย่างเป็นทางการด้วยการนำสองแพลตฟอร์มสำหรับอีคอมเมิร์ซมาเปิดให้บริการในประเทศไทยได้แก่ Thai One Mall ในเครือ Tmall และ Alipay เครื่องมือจ่ายเงินออนไลน์ยอดนิยมของประเทศจีน
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิลเตรียมนำเสนองานวิจัยในงาน CCS 2014 แสดงช่องโหว่ของบัตรเครดิตแบบไม่ต้องสัมผัส (contactless) ทำให้สามารถตัดเงินได้โดยที่ผู้ใช้ไม่ได้ยืนยันก่อน
ปกติแล้วระบบบัตรเครดิตในสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) จะอนุญาตให้จ่ายเงินต่อเมื่อมีการยืนยันด้วยหมายเลขรหัสผ่าน แต่สำหรับจำนวนเงินน้อยๆ เช่นต่ำกว่า 20 ปอนด์จะสามารถตัดเงินได้เลยหากบัตรอยู่ใกล้เครื่องอ่าน ช่องโหว่ที่ทีมงานนำเสนอระบุว่าระบบของวีซ่ายอมให้ตัดเงินได้สูงสุดถึง 999,999.99 หากเป็นเงินตราต่างประเทศ ทำให้ผู้ร้ายสามารถตัดเงินได้เกือบล้านดอลลาร์ในครั้งเดียว
หลังจากที่ Microsoft Band เปิดตัวไปแล้ว และชูเรื่องสุขภาพเป็นหลัก แต่อีกหนึ่งจุดขายสำคัญคือ การจ่ายเงินผ่าน Microsoft Band โดยไมโครซอฟท์ดีลกับร้านกาแฟชื่อดังอย่าง Starbucks เพื่อให้รองรับระบบการจ่ายเงินค่ากาแฟผ่าน Microsoft Band ได้ทันที
สำหรับขั้นตอนการใช้งาน Microsoft Band ในการจ่ายเงินใน Starbucks ง่าย ๆ คือเปิดแอพ Microsoft Health แล้วเข้าไปที่ "Manage Tiles" แล้วกด Starbucks กด "Add Card" แล้วใส่รหัสบัตร 16 หลัก แล้วกดบันทึก แค่นั้นก็เรียบร้อย
Tim Cook ไปเยือนประเทศจีนเป็นเวลา 4 วัน โดยพบผู้นำระดับสูงของรัฐบาลจีนและเยี่ยมชมโรงงานของ Foxconn ที่ผลิตสินค้าให้แอปเปิล
เขาให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Xinhua ของจีนว่านอกจาก iPhone ที่ทำยอดขายได้สวยในประเทศจีนแล้ว เขายังต้องการนำ Apple Pay บุกตลาดจีนด้วย โดยเขาเชื่อว่ามีคนจีนจำนวนมากอยากใช้บริการนี้ อย่างไรก็ตาม เขาก็ยอมรับว่าต้องเข้าใจพฤติกรรมของผู้เล่นในตลาดจีน ทั้งบริษัทบัตรเครดิต ธนาคาร และร้านค้าอีกพอสมควรก่อนจะผลักดันให้ Apple Pay ประสบความสำเร็จได้
PrivateFly เว็บไซต์สำหรับการจองบริการเช่าเหมาลำเครื่องบินส่วนตัว ประกาศว่าจะรองรับการชำระเงินจากลูกค้าเป็นสกุลเงินอิเล็กทรอนิกส์ Bitcoin ตามเสียงเรียกร้องของลูกค้า โดยระบุว่าเป็นเว็บไซต์เช่าเหมาลำเครื่องบินส่วนตัวแห่งแรกของโลกที่รับสกุลเงินดังกล่าว
การรับชำระเงินด้วยสกุลเงิน Bitcoin ทำให้ลูกค้าของทางบริษัทสามารถจองเครื่องบินส่วนตัวได้ทันทีโดยไม่ต้องลงนามในเอกสารหรือขอยืนยันจากทางธนาคารให้ยุ่งยากแบบในปัจจุบัน (เพราะยอดเงินในการชำระสูงมาก) โดยทางผู้บริหารของ PrivateFly ระบุว่า การรับชำระเงินเป็นสกุล Bitcoin นั้น จะถูกแลกเป็นสกุลเงินยูโรหรือปอนด์สเตอร์ลิงของอังกฤษโดยทันที ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุดและเป็นวิธีการที่ทั่วโลกใช้กันเมื่อจะต้องรับชำระเป็น Bitcoin
MasterCard จับมือกับบริษัท Zwipe (อ่านเหมือน Swipe) ทำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีตัวอ่านลายนิ้วมือในตัว (รูดนิ้วบนบัตรได้เลย)
ตัวบัตรนี้เป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ฝังชิปตามมาตรฐาน EMV และจ่ายเงินได้แบบ contactless แค่เพิ่มตัวอ่านลายนิ้วมือเข้ามายืนยันตัวตนแทนการกดรหัส PIN โดยเทคโนโลยีอ่านลายนิ้วมือของ Zwipe ก้าวหน้าตรงที่ไม่ต้องใช้งานแบตเตอรี่เลย และใช้วิธีดึงพลังงานจากเครื่องอ่านบัตรมาใช้แทน
PayPal เคยประกาศไว้ว่าจะรับการจ่ายเงินด้วย Bitcoin วันนี้ทำได้แล้วอย่างเป็นทางการครับ
การจ่าย Bitcoin เข้า PayPal จะยังรองรับเฉพาะการซื้อสินค้าดิจิทัลเท่านั้น (เช่น เกม เพลง อีบุ๊ก) โดยยังใช้ได้กับผู้ขายสินค้าที่จดทะเบียนในอเมริกาเหนือ และจำกัดเฉพาะผู้ขายที่มีสินค้าพร้อมส่งมอบแล้วด้วย (ยังไม่รองรับการสั่งซื้อล่วงหน้า เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกค้าเสียเงินฟรี)
งานนี้ PayPal ไม่ได้รับเงิน Bitcoin โดยตรง แต่ใช้วิธีจับมือกับผู้รับแลกเปลี่ยน Bitcoin สามรายคือ BitPay, Coinbase, GoCoin แทน ซึ่งทั้งสามรายนี้จะเข้ามาเป็นตัวเลือกการจ่ายเงินผ่านโครงการ PayPal Payments Hub ให้ผู้ขายสินค้าเลือกใช้บริการอีกทีหนึ่ง
ข่าวนี้แยก 2 ประเด็นครับ จริงหนึ่งกับลืออีกหนึ่ง
เริ่มจากข่าวจริงก่อน บริษัท Square ที่ทำธุรกิจระบบจ่ายเงินด้วยอุปกรณ์พกพาสำหรับร้านค้า ระดมทุนเพิ่มอีก 100 ล้านดอลลาร์ (นับเป็นการระดมทุนรอบที่ห้าหรือ Series E) ทำให้มูลค่าบริษัทตามราคาหุ้นรอบล่าสุดอยู่ที่ 6 พันล้านดอลลาร์เข้าไปแล้ว อย่างไรก็ตาม Square ไม่ได้เปิดเผยชื่อนักลงทุนรอบล่าสุด แต่วงในว่ากันว่าเป็น GIC บริษัทลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ (อีกบริษัทที่ไม่ใช่เทมาเสก) ครับ - Fortune
ระบบขายเกมและซอฟต์แวร์ Steam เตรียมรองรับสกุลเงินบาทไทยในการซื้อขายเกมในวันที่ 16 กันยายนนี้ เพิ่มเติมจากสกุลเงินที่รองรับอยู่แล้วในปัจจุบัน ได้แก่ USD (เหรียญสหรัฐฯ), GBP (ปอนด์อังกฤษ), RUB (รูเบิลรัสเซีย), BRL (รีลบราซิล) และ EUR (ยูโร)
หากผู้ใช้มีเงินสกุลอื่นอยู่ในบัญชี Steam wallet เงินนั้นจะถูกแปลงค่าเป็นเงินบาทด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่แปลงค่า คาดว่าราคาของเกมที่เป็นเงินบาทจะถูกตั้งขึ้นใหม่เหมือนอย่างใน Origin ไม่ได้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนไปตามวัน ซึ่งอาจทำให้เกมถูกลงหรือแพงขึ้นเมื่อเทียบกับราคาในเหรียญสหรัฐฯ (ตัวอย่างเปรียบเทียบราคาเกมในสกุลเงินต่างๆ)
ที่มา - จดหมายข่าว
Dear Steam User,
หน่วยธุรกิจ Braintree ของ PayPal (ข่าวเก่า) ประกาศความร่วมมือกับ Coinbase เว็บไซต์รับแลกเงินสกุล Bitcoin รายใหญ่ เพื่อทำแพลตฟอร์มสำหรับแอพมือถือให้รองรับการจ่ายเงินด้วย Bitcoin ได้ด้วย
ผลิตภัณฑ์หลักของ Braintree คือแพลตฟอร์ม One Touch ที่เอาไว้ให้แอพมือถือที่ต้องการมีระบบจ่ายเงินภายในแอพ (ทั้งซื้อสินค้าจริงและสินค้าเสมือน) นำไปเรียกใช้งานอีกต่อหนึ่ง (ดูคลิปประกอบท้ายข่าว) การจับมือร่วมกับ Coinbase จึงทำให้อนาคตของ One Touch จะรองรับ Bitcoin เพิ่มอีกทางหนึ่ง
ธุรกิจจ่ายเงินสำหรับบริการค้าปลีกผ่านโทรศัพท์มือถือเคยถูกครองตลาดด้วย Square ที่ทำเครื่องอ่านบัตรเครดิตติดตั้งกับไอโฟนมาก่อน แต่ตอนนี้บริการรับจ่ายเงินหลายรายก็เริ่มมีบริการแบบเดียวกัน รายล่าสุดที่เข้ามาในตลาดนี้คืออเมซอนที่เปิดตัว Local Registers
เครื่องอ่านบัตรเครดิตของอเมซอนมีราคา 10 ดอลลาร์พร้อมค่าส่งฟรีโดยร้านค้าจะได้รับเครดิตค่าบริการ 10 ดอลลาร์คืนในบัญชี
อเมซอนเปิดตัวแอพพลิเคชั่น Amazon Wallet ที่ไม่ได้มีฟังก์ชั่นจ่ายเงิน แต่กลับเป็นแอพพลิเคชั่นเก็บบัตรส่งเสริมการขาย บัตรเงินสดของขวัญ และบัตรสมาชิก เพื่อลดปริมาณบัตรในกระเป๋าสตางค์แบบเดียวกับที่ในไทยมีการใช้งานมาแล้วสักพักหนึ่ง
ฟีเจอร์ที่ขาดไปคือการจ่ายเงินระหว่างผู้ใช้ แม้ว่าหน้าเว็บ Wallet จะเปิดให้จัดการบัตรทั้งหมดรวมกับบัตรเครดิตที่ผูกกับบัญชีอเมซอนเอาไว้ในหน้าเดียวกัน
ก่อนหน้านี้อเมซอนเริ่มเปิดบริการจ่ายเงินค่าสินค้าบนเว็บผ่านอเมซอน ที่บ้านเราจะเห็นกันบ่อยๆ สักหน่อยคงเป็นหน้าเว็บ Humble Bundle ที่จ่ายได้ทั้งบัตรเครดิต, Paypal, และอเมซอน
Visa เปิดบริการใหม่ Visa Checkout ระบบจ่ายเงินออนไลน์ (ลักษณะเดียวกับ PayPal) ที่ช่วยให้เราจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิตได้ง่ายขึ้น
Visa บอกว่ากระบวนการจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิตบนเว็บยังยุ่งยากเกินไป (ต้องกรอกข้อมูลบัตรเครดิตทุกครั้ง) Visa จึงร่วมมือกับคู่ค้าและสถาบันการเงินต่างๆ ทำระบบ Visa Checkout ที่ช่วยเก็บข้อมูลบัตรเครดิตของเราไว้บนเว็บไซต์ของ Visa เอง กรอกข้อมูลบัตรเพียงครั้งเดียว จากนั้นเมื่อพบร้านค้าที่มีโลโก้ Visa Checkout ก็กดที่ปุ่มนั้นเพื่อล็อกอินเข้าระบบของ Visa และจ่ายเงินได้ทันที (ข้อมูลทุกอย่างเก็บอยู่ที่ Visa ไม่ได้เก็บที่เว็บไซต์ของผู้ขาย)
Square บริษัทระบบจ่ายเงินสำหรับร้านค้าของ Jack Dorsey หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Twitter เปิดตัวบริการใหม่ Square Feedback ที่ช่วยให้ร้านค้ารับมือกับเสียงบ่นของลูกค้าได้ง่ายขึ้น
ระบบจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ของ Square รองรับการออกใบเสร็จรับเงินให้ลูกค้าผ่านอีเมลหรือ SMS อยู่แล้ว แนวคิดของ Square Feedback คือการเพิ่มปุ่ม "ถามความเห็น" ของลูกค้าในใบเสร็จเวอร์ชันอีเมลหรือ SMS และลูกค้าสามารถแสดงความเห็นทั้งชมและบ่นกลับไปยังร้านค้าได้
ฝั่งของร้านค้าเองเมื่อได้รับความเห็นจากลูกค้าก็สามารถชี้แจงหรืออธิบายไปยังลูกค้าคนนั้นได้โดยตรง รวมถึงสามารถเก็บสถิติเสียงตอบรับของลูกค้าเพื่อดูภาพรวมของการให้บริการได้ด้วย
เวลาเจอแอพพลิเคชั่นถูกใจบน Google Play แล้วอยากได้แอพนั้นใจจะขาดแต่ไม่มีบัตรเครดิต หรือมีบัตรเครดิตแต่ไม่อยากเข้าไปซื้อไม่ไว้ใจ สำหรับลูกค้า AIS ตอนนี้มีบริการ AIS mPAY MasterCard ที่นับว่าสะดวกที่สุดเท่าที่มีมา
บริการ AIS mPAY MasterCard เปลี่ยนมือถือเป็นบัตร MasterCard เพื่อใช้ช้อปออนไลน์ได้ง่าย ๆ แบบไม่คิดค่าธรรมเนียมการใช้บัตร สมัครใช้งานบัตรได้ฟรี บน mPAY Application ใน Google play และ iTunes
ที่ผ่านมา การจ่ายค่าบริการของ Uber จะจ่ายผ่านบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือ PayPal อย่างไรก็ดี Uber มองว่าในหลายๆ ประเทศที่ไปเปิดให้บริการ Uber สูญเสียโอกาสที่จะให้บริการลูกค้าที่ไม่มีบัตรเครดิตไป จึงตัดสินใจจะเปิดให้จ่ายค่าบริการเป็นเงินสดได้ แต่จะพิจารณาเป็นรายประเทศไป ไม่ใช่ทุกประเทศ
Mike Brown ผู้จัดการทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Uber ให้สัมภาษณ์กับ The Next Web ว่า Uber ตัดสินใจที่จะปรับตัวเข้าหาลูกค้า โดยประเมินจากแต่ละประเทศที่ไปเปิดให้บริการ เพื่อทำให้ทุกคนสามารถใช้บริการ Uber ได้
ที่มา - The Next Web
Brian Krebs บล็อกเกอร์ด้านความปลอดภัยคนดัง เผยข้อมูลในแวดวงความปลอดภัยของสหรัฐว่ามีการขโมยข้อมูลบัตรเครดิตครั้งใหญ่อีกครั้ง โดยต้นทางมาจากกรมการขนส่งทางบกของรัฐแคลิฟอร์เนีย (Department of Motor Vehicles, California) ข้อมูลที่ถูกขโมยมีทั้งตัวเลขบนบัตร วันหมดอายุ และรหัส 3 ตัวด้านหลังบัตร
Krebs บอกว่าบริษัท MasterCard ได้ส่งข้อมูลเตือนธนาคารและสถาบันการเงินหลายแห่งให้ระวังข้อมูลบัตรเครดิตที่ถูกขโมย (ดังนั้นควรระวังการจ่ายเงินที่ใช้แต่ข้อมูลบนบัตร และไม่เห็นตัวบัตร) ส่วนเหตุการณ์แฮ็กบัตรเครดิตน่าจะอยู่ระหว่างเดือนสิงหาคม 2013 ถึงเดือนมกราคม 2014
สำหรับเจ้า Tiny POS นี้ มีหน้าที่คือเป็นผู้ช่วยมือหนึ่งให้กับร้านค้าขนาดเล็ก กลาง หรือธุรกิจ SME มีระบบการจัดการข้อมูลการขายสินค้าที่ใช้งานง่าย รวดเร็ว พกพาไปได้ทุกที่ ไม่ต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต เพื่อให้คุณได้โฟกัสกับธุรกิจของคุณได้มากที่สุด
การใช้งานบัตรเครดิตตามร้านค้าต่างๆ แบ่งออกเป็น 2 ระบบใหญ่ๆ คือ ใช้แถบแม่เหล็กที่อยู่ด้านหลังของบัตร (รูดบัตร) และการใช้ชิปที่ฝังอยู่บนบัตร (เสียบบัตรแล้วกด PIN code)
ระบบในยุโรปนั้นใช้แบบ PIN code กันมานานแล้ว แต่ในสหรัฐอเมริกา (รวมถึงประเทศไทย) ยังใช้ระบบแถบแม่เหล็กอยู่ ระบบแถบแม่เหล็กมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยที่ถูกปลอมแปลงง่ายกว่าระบบ PIN มาก ซึ่งผู้ให้บริการบัตรเครดิตรายใหญ่ทั้ง Visa และ MasterCard ก็ประกาศให้ร้านค้าในอเมริกาเปลี่ยนไปใช้ระบบ PIN ในเดือนตุลาคม 2015
John Donahoe ซีอีโอ eBay เปิดเผยในการรายงานผลประกอบการ eBay ไตรมาสล่าสุดว่า Carl Icahn นักลงทุนรายใหญ่ซึ่งตอนนี้ก็เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน eBay ได้ยื่นข้อเสนอให้ eBay แยก PayPal ออกไปเป็นอีกบริษัทเพื่อเพิ่มมูลค่ากับผู้ถือหุ้น
โดย Donahoe บอกว่าเขาไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้เพราะอีคอมเมิร์ซกับระบบจ่ายเงินนั้นเป็นการพึ่งพิงร่วมกันจนเกิดประโยชน์สูงสุด และ PayPal ก็เป็นระบบจ่ายเงินที่เติบโตได้ดีกว่าคู่แข่งเพราะมี eBay หนุนหลัง นอกจากนี้ PayPal ยังได้ประโยชน์จากข้อมูลของ eBay ด้วย เขาจึงไม่เข้าใจว่าจะแยกบริษัทเพื่อให้ PayPal มีข้อมูลในมือที่ลดลงไปทำไม
eBay ซื้อกิจการ PayPal ไปเมื่อปี 2002 และตอนนี้ตัวธุรกิจ PayPal ก็สร้างรายได้ให้คิดเป็น 40% ของรายได้รวม eBay