วิดีโอแบบ AV1 ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ และปลายปีนี้ เราจะเห็นจีพียูที่มีตัวถอดรหัส AV1 ที่ระดับฮาร์ดแวร์ออกวางขาย ทั้ง GeForce RTX 30, Intel Xe และ Radeon RX 6000
ไมโครซอฟท์ถือเป็นสมาชิกก่อตั้งของกลุ่ม Alliance for Open Media (AOMedia) ผู้พัฒนา AV1 จึงไม่น่าแปลกใจที่ไมโครซอฟท์ออกมารับลูกเรื่องนี้ ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศว่า Windows 10 จะรองรับการถอดรหัส AV1 ที่ระดับฮาร์ดแวร์ หากใช้งานบนจีพียูที่รองรับ (ทั้ง 3 ยี่ห้อข้างต้น)
ตอนนี้เรายังไม่รู้อะไรมากนักเกี่ยวกับ AMD Radeon RX 6000 Series นอกจากการใช้สถาปัตยกรรม RDNA 2, รองรับ ray tracing และภาพตัวการ์ดที่ AMD นำมาโชว์ ก่อนงานแถลงข่าว 28 ตุลาคม
แต่จากแพตช์ล่าสุดในไดรเวอร์จีพียูโอเพนซอร์ส ก็พบข้อมูลชัดเจนว่า Radeon RX 6000 (โค้ดเนมในไฟล์คือ Sienna Cichlid) มีตัวถอดรหัสไฟล์วิดีโอแบบ AV1 เช่นเดียวกับคู่แข่ง GeForce RTX ซีรีส์ 30 ที่เปิดตัวไปแล้ว
เราเริ่มเห็นฮาร์ดแวร์ที่รองรับตัวเข้ารหัสวิดีโอ AV1 ออกสู่ตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ (เช่น MediaTek Dimensity 1000) ฝั่งของจีพียูก็มี NVIDIA ประกาศว่า GeForce RTX ซีรีส์ 30 สถาปัตยกรรม Ampere รองรับ AV1 แล้วเช่นกัน
นอกจากการใช้ฮาร์ดแวร์เร่งความเร็วการถอดรหัส AV1 ตามปกติแล้ว NVIDIA ระบุว่าการรองรับ AV1 จะช่วยปิดช่องว่างเรื่องการถ่ายทอดเกม เพราะสตรีมเมอร์มักเล่นเกมที่ความละเอียด 1440p @ 144 FPS แต่การถ่ายทอดสดยังเป็น 720p/1080p @ 60 FPS ซะเป็นส่วนใหญ่ การที่จีพียูรองรับ codec รุ่นใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ก็ช่วยผลักดันวงการสตรีมเกมไปได้อีก ซึ่ง GeForce RTX ซีรีส์ 30 สามารถดันไปได้ถึงการสตรีม 8K HDR ด้วยซ้ำ
สงครามฟอร์แมตวิดีโอกลับมาร้อนแรงอีกครั้ง โดยสถาบัน Fraunhofer HHI ในเยอรมนี (ซึ่งเป็นผู้พัฒนา codec สำคัญๆ ของโลกมาตั้งแต่ยุค MP3) เปิดตัว H.266 หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ Versatile Video Coding (VVC)
จากเลขชื่อ H.266 หลายคนคงเดากันได้ว่ามันคือตัวเข้ารหัสวิดีโอที่สืบทอดต่อจาก H.264/AVC และ H.265/HEVC สิ่งที่พัฒนาขึ้นจากเดิมคือความสามารถในการบีบอัดวิดีโอเพิ่มขึ้นเท่าตัวจาก H.265 (แปลว่าคุณภาพเท่ากัน ขนาดไฟล์เหลือครึ่งเดียว)
เราเห็นตัวเข้ารหัส/ถอดรหัสวิดีโอแบบใหม่ AV1 เปิดตัวในช่วงต้นปี 2018 โดยชูจุดเด่นเรื่องการบีบอัดที่ดีขึ้นกว่าเดิม 30% และในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาก็มีบริการวิดีโอออนไลน์ดังๆ หลายราย เช่น Netflix, YouTube, Facebook ทยอยใช้งาน AV1 กับวิดีโอของตัวเอง
แอปเปิลออก ProRes RAW เวอร์ชันบน Windows ซึ่งตอนนี้มีสถานะเป็นเบต้า ทำให้ผู้ใช้ Windows สามารถเปิดดูไฟล์วิดีโอที่เป็น ProRes RAW และ ProRes RAW HQ ได้
ทั้งนี้แอปเปิลระบุว่าการเปิดไฟล์ ProRes RAW บน Windows ต้องทำผ่านโปรแกรมที่รองรับ ซึ่งตอนนี้มี 4 โปรแกรมได้แก่ Adobe After Effects, Adobe Media Encocder, Adobe Premiere และ Adobe Premiere Rush
ProRes RAW เป็นรูปแบบไฟล์วิดีโอของแอปเปิล ซึ่งแอปเปิลบอกว่ามีจุดเด่นคือนำคุณภาพและเวิร์กโฟลว์ของ RAW ควบคู่กับประสิทธิภาพของ ProRes ทั้งยังมีขนาดเล็กกว่าไฟล์แบบ ProRes 4444
Apple ProRes RAW for Windows สามารถดาวน์โหลดได้ที่หน้าสนับสนุนของแอปเปิล
Netflix เพิ่งประกาศเริ่มใช้ตัวเข้ารหัสวิดีโอ AV1 ไปเมื่อเร็วๆ นี้ ล่าสุดบริษัทประกาศแล้วว่าจะเริ่มสตรีมวิดีโอที่เป็น AV1 โดยเริ่มจากแอพ Android ก่อนเป็นแพลตฟอร์มแรก
Netflix บอกว่า AV1 มีประสิทธิภาพมากกว่า VP9 ถึงประมาณ 20% จึงเหมาะกับการใช้งานบนอุปกรณ์พกพามากที่สุด เพราะมีทั้งเรื่องการเชื่อมต่อที่ไม่เสถียร และข้อจำกัดเรื่องแพ็กเกจข้อมูลของผู้ใช้ (อ่านบทความ รู้จัก AV1 มาตรฐานบีบอัดวิดีโอ 4K ตัวใหม่ท้าชน HEVC บีบอัดข้อมูลดีกว่าคู่แข่ง 30% ประกอบ)
เราเห็นมาตรฐานการบีบอัดวิดีโอ AV1 ออกสู่ตลาดมาตั้งแต่ปี 2018 และเริ่มมีผู้ใช้งานเป็นบริษัทใหญ่ๆ อย่าง YouTube หรือ Facebook
ข้อดีของ AV1 คือบีบอัดวิดีโอได้มากขึ้น (อาจสูงถึง 60% เมื่อเทียบกับ codec รุ่นก่อนอย่าง H.264 AVC) แต่ก็มีข้อเสียคือต้องใช้เวลาบีบอัดนานขึ้น ซึ่งปัญหาข้อนี้จะค่อยๆ ถูกแก้ไขเมื่อซอฟต์แวร์เข้ารหัสวิดีโอ (encoder) ถูกปรับแต่งให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ
บริษัทยักษ์ใหญ่รายล่าสุดที่ประกาศใช้ AV1 คือ Netflix ที่ร่วมมือกับอินเทล พัฒนาซอฟต์แวร์ encoder ประสิทธิภาพสูงชื่อ SVT-AV1 ร่วมกันมาตั้งแต่ปีที่แล้ว (SVT-AV1 เปิดซอร์สโค้ดบน GitHub)
AV1 เป็นมาตรฐานการบีบอัดไฟล์วิดีโอแบบใหม่ พัฒนาโดยกลุ่ม Alliance for Open Media (AOMedia) ซึ่งมีสมาชิกเป็นบริษัทไอทียักษ์ใหญ่มากมาย เช่น Amazon, Apple, Facebook, Google, Microsoft ฯลฯ
ตัว AV1 แท้จริงแล้วเป็นสเปกบนกระดาษ ที่ซอฟต์แวร์ตัวใดจะนำไปใช้งานก็ได้ ในตอนแรกทางกลุ่ม AOM ก็สร้างซอฟต์แวร์เข้ารหัส-ถอดรหัสวิดีโอ AV1 ขึ้นมาในชื่อว่า libaom เพื่อเป็นต้นแบบของการใช้งาน
ล่าสุด ฝั่งของชุมชนซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สคือ VideoLAN, VLC, FFmpeg ก็ร่วมมือกันสร้างซอฟต์แวร์ตัวใหม่ชื่อ dav1d (อ่านว่า "เดวิด") ที่คุยว่ามันถอดรหัสวิดีโอได้เร็วกว่า libaom ถึง 100-400%
YouTube เริ่มทดสอบตัวเข้ารหัสวิดีโอแบบ AV1 ที่พัฒนาโดยกลุ่ม AOMedia ซึ่งมีกูเกิลและบริษัทไอทีจำนวนมากเป็นสมาชิกร่วมก่อตั้ง
การทดสอบเบื้องต้นยังมีวิดีโอเพียงไม่กี่คลิปที่เข้ารหัสแบบ AV1 (Playlist) และจำเป็นต้องใช้กับเบราว์เซอร์ Chrome 70 Beta หรือ Firefox 63 Nightly ขึ้นไป โดยต้องเปิดแฟลก media.av1.enabled ในเบราว์เซอร์ด้วย
เดือนที่แล้วเราเพิ่งเห็น AV1 ตัวเข้ารหัสวิดีโออันใหม่ที่มาท้าชน HEVC/H.265 โดยมีบริษัทไอทียักษ์ใหญ่จำนวนมากให้การสนับสนุน
ล่าสุดเริ่มมีเบนช์มาร์คของ AV1 ออกมาบ้างแล้ว รอบนี้มาจาก Facebook ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่ม AOMedia ผู้พัฒนา AV1
วิศวกรของ Facebook ลองทดสอบ AV1 เทียบกับตัวเข้ารหัสแบบโอเพนซอร์สที่นิยมคือ x264 (สำหรับ H.264/AVC) และ libvpx-vp9 (สำหรับ VP9 ของกูเกิล ที่เป็นสมาชิก AOMedia เช่นกัน) โดยจำลองสถานการณ์ใช้งานวิดีโอบน Facebook ที่พบเจอทั่วไป นำวิดีโอยอดนิยม 400 คลิปบน Facebook ทั้งแบบวิดีโอความละเอียดปกติ (SD) และวิดีโอความละเอียดสูง (HD) มาทดสอบเปรียบเทียบกัน
กลุ่มมาตรฐานอุตสาหกรรม Alliance for Open Media (AOMedia) ประกาศออกสเปกการเข้ารหัสวิดีโอความละเอียดสูง 4K UHD ตัวใหม่ชื่อว่า AV1 (ย่อมาจาก AOMedia Video Codec 1.0)
จุดเด่นของ AV1 คือใช้เทคโนโลยีบีบอัดข้อมูลแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพดีกว่าคู่แข่งถึง 30% โดยที่ยังคงฟีเจอร์สำคัญๆ ของการแสดงผลภาพยุคใหม่ไว้ครบถ้วน ด้วยจุดเด่นนี้มันจึงเหมาะกับการใช้ทำวิดีโอสตรีมมิ่งที่จะกินปริมาณทราฟฟิกอินเทอร์เน็ตมากขึ้นเรื่อยๆ
มาตรฐานการเข้ารหัสวิดีโอ H.265 หรือ HEVC เป็นมาตรฐานที่ถูกพัฒนาขึ้นให้เหนือกว่า H.264 เดิม (ข่าวเก่า) อย่างไรก็ตาม ค่าใช้งาน HEVC กลับแพงกว่า H.264 มาก จนบริษัทไอทีหลายแห่งหาทางออกด้วยการตั้ง Alliance for Open Media ขึ้นมาทดแทน (บริษัทที่เข้าร่วมมีผู้พัฒนาเบราว์เซอร์ 3 รายใหญ่คือ Google, Microsoft, Mozilla ด้วย)
ผู้ผลิตเบราว์เซอร์ 3 รายใหญ่คือ Mozilla, Google, Microsoft ร่วมกับบริษัทไอทีอีกหลายราย ได้แก่ Amazon, Intel, Cisco, Netflix ประกาศตั้งกลุ่ม Alliance for Open Media พัฒนา codec วิดีโอยุคถัดไปที่ไม่มีปัญหาเรื่องค่าใช้สิทธิบัตร
ปัญหานี้เกิดจาก codec รุ่นหน้า H.265 มีค่าใช้งานแพงกว่า H.264 ในปัจจุบันมาก จนเป็นเหตุให้ Cisco ออกมาประกาศโครงการ Thor เพื่อเป็นทางเลือกใหม่เมื่อไม่นานมานี้
ฝั่งของ Google มีโครงการ VP9/VP10 ของตัวเอง และ Mozilla ก็มีโครงการแบบเดียวกันชื่อ Daala สุดท้ายทุกฝ่ายจึงมารวมกลุ่มกันเป็น Alliance for Open Media เพื่อพัฒนา codec ร่วมกัน
Cisco เปิดตัว Thor โครงการซอฟต์แวร์เข้ารหัส-ถอดรหัสวิดีโอ (video codec) สำหรับอนาคต ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาสิทธิบัตรของ H.265 มีราคาแพงเกินไป
Cisco บอกว่า H.265 มีสิทธิบัตรอยู่เบื้องหลังเป็นจำนวนมาก ใครก็ตามที่นำ H.265 ไปใช้งานต้องจ่ายเงินแพงกว่าการใช้ H.264 ถึง 16 เท่า (แม้จะใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ให้ลูกค้าใช้ฟรีก็ตาม) และในวงการเองก็มีทางเลือกไม่มากนัก นอกจาก H.265 มีเพียง VP9 ของกูเกิลที่เป็นเทคโนโลยีเฉพาะของกูเกิลเอง (proprietary)
ไมโครซอฟท์ประกาศของใหม่ในตระกูล Azure หลายอย่างดังนี้
กำเนิดมาตรฐานใหม่สำหรับภาพนิ่งบนโลกออนไลน์อีกหนึ่งสกุลแล้วในชื่อสกุล BPG (Better Portable Graphics) ซึ่งทำมาเพื่อทดแทน JPEG โดยเฉพาะ
BPG เป็นโครงการโอเพนซอร์สจากฝีมือของ Fabrice Bellard ที่พัฒนาบนโครงการเข้ารหัสวิดีโอ x265 (มีพื้นฐานมาจาก H.265) รองรับการเข้ารหัสสีแบบ 14 บิต เข้ารหัสแบบ lossless, มี EXIF และฟีเจอร์มาตรฐานอย่างการลดสีเหลื่อม เทียบกับ JPEG ที่เข้ารหัสสีแบบ 8 บิตแล้วจึงเหนือกว่ามาก แถมยังใช้พื้นที่น้อยกว่าถึงเท่าตัวด้วยกัน
หลังจาก Windows 10 รุ่นทดสอบ 9901 หลุดสู่โลกอินเทอร์เน็ตก็มีการขุดคุ้ยว่ามีอะไรอยู่ในรุ่นทดสอบดังกล่าวบ้าง ดังนี้
ท้ายสุด Gabriel Aul หัวหน้าทีม Data and Fundamentals ของ Operating Systems Group ไมโครซอฟท์ เตือนว่าผู้ที่ติดตั้งรุ่นทดสอบ 9901 จะไม่สามารถอัพเกรดไปเป็นรุ่นทดสอบใหม่ในอนาคตได้เนื่องจากมีบั๊ก หากจะอัพเกรดหลังจากนี้ต้องใช้ไฟล์ ISO อย่างเดียว - @GabeAul
Mozilla ออก Firefox 33 ทั้งบนเดสก์ท็อปและ Android ของใหม่ได้แก่
เว็บไซต์ GigaOm มีเรื่องราวเบื้องหลังฟอร์แมตรูปภาพ WebP ที่กูเกิลพยายามผลักดัน โดยมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
ไฟร์ฟอกซ์รุ่น 33 เตรียมรองรับ H.264 ผ่านโครงการ OpenH264 ที่ทางซิสโก้ดูแลและจ่ายค่าสิทธิบัตรให้ โดยตอนนี้ยังไม่สามารถเปิดใช้งานได้ แต่หากใครใช้รุ่น Nighty ตอนนี้ก็จะเห็นคอนฟิกนี้ให้เลือกแล้ว
กระบวนการเปิดใช้งาน H.264 ในตอนนี้ผู้ใช้จะต้องเปิดคอนฟิก media.peerconnection.video.h264_enabled
แล้วจะสามารถเลือกปลั๊กอิน OpenH264 ขึ้นมาใช้งานได้ ตัวปลั๊กอินจะดาวน์โหลดจากทางซิสโก้โดยตรง แต่ตอนนี้ยังไม่สามารถดาวน์โหลดได้ ทำให้ยังทดสอบการใช้งานไม่ได้
แนวทางนี้เป็นไปตามที่ไฟร์ฟอกซ์ประกาศไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว
Mozilla ออก Firefox 28 ทั้งบนพีซีและแอนดรอยด์ ของใหม่ที่สำคัญได้แก่
Mozilla เปิดตัว mozjpeg 1.0 ตัวเข้ารหัสภาพสกุล JPEG ใหม่ที่สามารถลดขนาดของไฟล์ภาพลงได้อีก และยังสามารถทำงานได้กับตัวเข้ารหัสส่วนใหญ่ที่ใช้กันในปัจจุบัน
Josh Aas ผู้อยู่เบื้องหลังโครงการนี้บอกว่า ถึงตัวเข้ารหัส mozjpeg แม้จะไม่ได้เป็นการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในวงการบีบอัดภาพ แต่ก็เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของ JPEG มากขึ้นไปอีก ส่วนถ้าในอนาคตมีฟอร์แมตใหม่ที่ดีกว่ามาก ก็อาจตัดสินใจเปลี่ยนไปรองรับอีกที
ไดรเวอร์กราฟิกโอเพนซอร์สของลินุกซ์มีปัญหาเรื่องการรองรับฟีเจอร์ไม่เท่ากับไดรเวอร์ปิดของผู้ผลิตเองเสมอ แต่ความร่วมมือจากผู้ผลิตที่ส่งแพตซ์เข้ามาก็ช่วยให้กระบวนการพัฒนาเร็วขึ้นมาก ตอนนี้ค้ายเอเอ็มดีก็ส่งโค้ดเข้าโครงการ Mesa ที่เป็นไดรเวอร์โอเพนซอร์สสำหรับชิปเอเอ็มดี
โค้ดใหม่จะช่วยให้ Mesa รองรับฮาร์ดแวร์ VCE2 บนชิปรุ่นใหม่ๆ ตั้งแต่ Sea Island, Kabini ขึ้นมา โดยมีโค้ดบางส่วนถูกคอมไพล์เป็นไบนารีมาแล้ว
VCE2 เป็นตัวเข้ารหัส H.264 ความเร็วสูง ใช้งานเช่นระบบแสดงภาพไร้สาย ที่ต้องเข้ารหัสให้รวดเร็วเพื่อส่งข้อมูลไปแสดงบนจอภาพ