ปัญหาแท็ก <video>
ที่ไม่สามารถหาตัวถอดรหัสร่วมกันได้ทุกเบราเซอร์เป็นปัญหาเรื้อรังมาตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นแท็กนี้โดยก่อนหน้านี้มีเพียง Opera และ Firefox ที่ไม่ยอมรับ H.264 เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่แพงเกินไปส่วนผู้ผลิตรายอื่นๆ (รวมถึงกูเกิล) นั้นต่างมีสิทธิเข้าใช้งาน H.264 ทั้งสิ้น แต่การตัดสินใจของโครงการ Chromium/Chrome ที่จะไม่รับ H.264 ก็เพิ่มพันธมิตรเข้ามาอีกราย
บนเวที CES 2011 นอกจากที่ไมโครซอฟท์ประกาศความสำเร็จของ Kinect กับยอดขาย 8 ล้านเครื่องแล้ว ไมโครซอฟท์ยังประกาศฟีเจอร์ใหม่ของ Kinect อีก 2 อย่าง
อย่างแรก Avatar Kinect ใช้กล้องของ Kinect จับความเคลื่อนไหวแล้วมาทำเป็นคาแรกเตอร์ประจำตัว ที่ไม่ธรรมดาคือมันจับความเคลื่อนไหวได้ถึงระดับส่วนต่างๆ ของใบหน้า (เช่น การยักคิ้ว) รวมไปถึงการขยับนิ้วมือ นอกจากนี้ยังใช้ avatar ประจำตัวสนทนากับเพื่อนๆ avatar ด้วยกันได้ด้วย
ในการเปิดตัวฟีเจอร์นี้ สตีฟ บัลเมอร์ได้ส่ง avatar ของตัวเองขึ้นเวทีทำหน้าที่แทน เรียกเสียงฮือฮาได้ไม่น้อย
เป็นซีรีส์วิดีโอโปรโมตของ RIM (คราวก่อน: RIM โชว์เบราว์เซอร์ของ PlayBook เร็วกว่า iPad) คราวนี้โชว์การเล่นวิดีโอผ่านเว็บเบราว์เซอร์ของ PlayBook ทั้งวิดีโอที่เป็น Flash และ HTML5
นอกจากนี้ RIM ยังโชว์การเล่นเกม Flash บน Facebook ผ่านเบราว์เซอร์ และเล่น Facebook ในโหมดปกติให้ดูอีกเล็กน้อย
ที่มา - Insider BlackBerry
ภาวะถดถอยของ Yahoo! ผลักให้ Yahoo! ต้องลดขนาดตัวเองไปโฟกัสกับบริการที่ทำเงินได้มากขึ้น หลังจากปลดพนักงานไปแล้วก็ได้เวลาของการปิดบริการ Yahoo! Video ลง
Yahoo! Video จะปิดรับการอัพโหลดทั้งหมดนับแต่วันนี้ไป และข้อมูลทั้งตัววีดีโอ, รายการคะแนนโหวต, รายการเล่นวีดีโอ ทั้งหมดไม่สามารถเข้าถึงได้อีกหลังวันที่ 15 มีนาคม 2554 ที่จะถึงนี้
Yahoo! จะเปิดให้ดาวน์โหลดซอฟต์แวร์สำหรับดึงวีดีโอทั้งหมดกลับลงเครื่องได้ และแนะนำให้ผู้ใช้อัพโหลดวีดีโอกลับขึ้นไปยัง Flickr ที่ Yahoo! เป็นเจ้าของอยู่เช่นกัน
ที่มา - TechCrunch
แม้จะยังซื้อ Groupon ไม่สำเร็จ แต่วันนี้กูเกิลประกาศการซื้อกิจการ 2 บริษัทรวด
บริษัทแรกชื่อ Widevine ให้บริการเผยแพร่วิดีโอออนไลน์แก่บริษัทขนาดใหญ่อื่นๆ บริษัทนี้มีเทคโนโลยีด้าน DRM (ดูภาพประกอบ) และการปรับปรุงวิดีโอให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ปลายทาง กูเกิลสัญญาว่าจะดูแลลูกค้าเดิม (และลูกค้าใหม่) ของ Widevine อย่างดี แต่ก็บอกว่าจะนำเทคโนโลยีของ Widevine ไปใช้ต่อ
นอกจาก Apple TV และ Google TV ซึ่งผลิตโดยบริษัทยักษ์ใหญ่แห่งโลกไอทีแล้ว อุปกรณ์ต่อพ่วงกับทีวีเพื่อดูวิดีโอออนไลน์อีกตัวหนึ่งที่กระแสมาแรงมากคือ Boxee Box
Boxee เป็นซอฟต์แวร์ตระกูล Media Center PC (บางที่เรียก Home Theater PC) ที่พัฒนาต่อจาก XBMC และได้รับความนิยมมาก เนื่องจากหน้าตาสดใส ใช้ง่าย และมีฟีเจอร์ใหม่ๆ ทั้ง social network และ app ของตัวเอง
Boxee สามารถติดตั้งบนคอมพิวเตอร์เพื่อเปลี่ยนมันเป็น Media Center ได้เลย แต่ถ้าอยากซื้ออุปกรณ์สำเร็จรูป ทาง Boxee ก็จับมือกับ D-Link ออกผลิตภัณฑ์ Boxee Box ออกมาเช่นกัน
การแชร์ข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตกับความมั่นคงอาจไปด้วยกันลำบาก หน่วยงานด้านความมั่นคงในปัจจุบันต้องเลือกระหว่างการยอมให้ทหารโพสต์ข้อมูลหรือวิดีโอบน social network แล้วเสี่ยงกับข้อมูลสำคัญรั่วไหล หรือไม่ก็สั่งห้ามใช้งาน social network ไปเลย
แต่ทางออกของกระทรวงกลาโหมสหรัฐกลับเป็นทางเลือกที่สาม นั่นคือสร้างเว็บไซต์ social network ลักษณะเดียวกับพวก YouTube แต่ทำงานอยู่หลังไฟร์วอลล์ของกระทรวงกลาโหมเอง ซึ่งช่วยแก้ปัญหาเรื่องความมั่นคงไปได้ระดับหนึ่ง แต่ก็ยังใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตได้
โครงการ WebM นำเสนอความคืบหน้าหลังเปิดตัวโครงการมาได้ 5 เดือน (สไลด์เป็น PDF)
เมื่อไม่นานมานี้ YouTube ได้เปิดตัว YouTube Leanback ซึ่งเป็นโหมดการแสดงผลสำหรับจอทีวี (อยู่ใน Google TV ด้วย)
ล่าสุด YouTube ได้ออกโปรแกรม YouTube Remote บน Android สำหรับควบคุม Leanback ผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยใช้ได้กับทั้งการดูวิดีโอบนพีซีและ Google TV เพียงแต่ผู้ใช้จะต้องล็อกอิน YouTube ด้วยบัญชีเดียวกันทั้งบนพีซี-ทีวีกับบนมือถือ
ผมไม่แน่ใจว่าฟีเจอร์นี้ใช้เทคนิค Cloud to Device Messaging (C2DM) หรือเปล่า ทางกูเกิลไม่ได้ระบุไว้ ตอนนี้โปรแกรมรีโมทมีบน Market แล้ว แต่ยังใช้ได้เฉพาะในสหรัฐเท่านั้น กูเกิลสัญญาว่าจะขยายไปยังประเทศอื่นๆ โดยเร็ว
หนึ่งในประกาศของแอปเปิลเมื่อคืนที่ผ่านมา คือการลดราคา "เช่า" รายการทีวี จากเดิมตอนละ 2.99 ดอลลาร์ลงมาเหลือ 99 เซนต์ โดยใช้ดูกับ Apple TV ได้ หรือจะดูผ่านคอมด้วย iTunes ก็ได้
คู่แข่งในวงการอย่าง Amazon ซึ่งมีบริการ Video on Demand ก็ไม่หวั่น โดยเพิ่มบริการดูทีวีในราคา 99 เซนต์เท่ากัน แต่เหนือกว่าตรงที่เป็น "ซื้อขาด" ไม่ใช่เช่าแบบของแอปเปิล
YouTube เชิญชวนผู้ใช้ทุกคนร่วมส่งคลิปที่แสดงถึงชีวิตประจำวันของตัวเอง ในวันที่ 24 กรกฎาคม (วันเสาร์นี้ วันเดียวเท่านั้น) คลิปนี้จะถูกนำไปตัดต่อเป็นสารคดีชื่อ "Life in a Day" ซึ่งเป็นโครงการทดลองสร้างภาพยนตร์โดยเปิดให้คนจำนวนมากคนเป็นคนถ่ายคลิปแทนการถ่ายแบบดั้งเดิม
ผู้กำกับของ Life in a Day คือ Ridley Scott (ผู้กำกับ Alien และ Gladiator) และ Kevin Macdonald (ผู้กำกับ The Last King of Scotland) หนังจะเสร็จและฉายครั้งแรกในเทศกาล Sundance เดือนมกราคม 2011
ถ้าเกิดว่าส่งคลิปเข้าร่วมแล้วคลิปถูกเลือกใช้ในหนัง เราจะมีชื่ออยู่ในเครดิต และผู้โชคดี 20 คนจะได้รับเชิญไปรอบปฐมฤกษ์ที่ Sundance ด้วย
คงไม่มีข้อกังขาใดๆ ว่ายักษ์ใหญ่ที่เคยเซ็ตเทร็นด์ให้กับโลกอิเล็กทรอนิกส์อย่างโซนี่ หมดอิทธิพลลงไปมากในช่วงหลังๆ ซึ่งแผนการกอบกู้โซนี่ของ Sir Howard Stinger ประธานบริษัทก็คือ ใช้ PS3 เป็นศูนย์กลางความบันเทิงในบ้าน แล้วเชื่อมกับสื่อดิจิทัลที่โซนี่มีอยู่ในมือไม่น้อย
อันนี้เป็นคนละเรื่องกับสงคราม codec ระหว่าง H.264 กับ WebM นะครับ แต่เป็นการเปรียบเทียบระหว่าง Flash embed กับ HTML5 <video>
YouTube ออกมาแสดงความเห็นผ่านบล็อกว่าถึงแม้ HTML5 <video> จะได้รับความนิยมมากขึ้น แต่เทียบกับ Flash embed แล้ว มันยังสู้ไม่ได้ในหลายๆ เรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องที่ YouTube จำเป็นต้องใช้ (คล้ายกับข่าว Hulu บอก HTML5 ยังไม่พร้อมสำหรับใช้งานจริง)
ประเด็นของ YouTube
บริษัท Sonic Solutions ผู้พัฒนาโซลูชั่นสำหรับการตระเตรียมและบันทึกคอนเทนต์ลงซีดี ดีวีดี แผ่นบลูเรย์ ได้เข้าซื้อบริษัท DivX เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
การเข้าซื้อ DivX นั้นเพื่อให้ Sonic มีโซลูชั่นที่ดีสำหรับร้านค้าปลีก บริการออนไลน์ และผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือที่ต้องการจะแจกจ่ายคอนเทนต์วีดีโอผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นพันธกิจล่าสุดขององค์การที่ต้องการจะรุกตลาดวีดีโอออนไลน์
ที่มา: Engadget
Hulu บริการทีวีออนไลน์ที่สถานีทีวีในสหรัฐลงขันกันสร้างขึ้น และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก (เมืองไทยใช้ไม่ได้ครับ) ได้เปิดตัว Hulu Player รุ่นใหม่ที่มีฟีเจอร์เพิ่มขึ้น เช่น adaptive bitrate, volume normalization ฯลฯ
แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่มุมมองของ Hulu ที่มีต่อ HTML5 ในฐานะผู้ให้บริการวิดีโอรายใหญ่ของสหรัฐ (น่าจะเป็นรองแค่ YouTube นะครับ) ทาง Eugene Wei รองประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์ของ Hulu ระบุว่าความสามารถของ HTML5 ในปัจจุบันยังไม่พอต่อความต้องการของบริษัท เพราะ Hulu ไม่ได้มีแค่วิดีโอ แต่ยังต้องมีเรื่องโฆษณา ปรับคุณภาพของวิดีโอให้เหมาะกับเครือข่าย การทำบัฟเฟอร์ ฯลฯ ซึ่งปัจจุบัน Flash นั้นทำได้
หลังจาก iPad 3G วางจำหน่าย ก็เริ่มมีรายงานจากผู้ใช้จำนวนมากว่า โปรแกรมดูวิดีโอผ่านอินเทอร์เน็ตหลายตัวที่เคยใช้ได้ดีบน Wi-Fi กลับมีปัญหาเมื่อต้องใช้บนเครือข่าย 3G เช่น วิดีโอมีคุณภาพต่ำลง หรือบางกรณีคือใช้งานไม่ได้เลย
ในกรณีที่ใช้งานไม่ได้มีโปรแกรมเดียวคือ ABC Player ซึ่งภายหลังมีคนหาคำตอบมาได้ว่า ABC เป็นฝ่ายเลือกที่จะไม่รองรับ 3G เอง ด้วยเหตุผลทางเทคนิคและทางธุรกิจ
ส่วนเรื่องคุณภาพของวิดีโอต่ำลงนั้น มีคนคาดการณ์ว่าเป็นเพราะ AT&T ได้จำกัดการโหลดวิดีโอไม่ให้กินแบนด์วิธมากเกินไป แต่เมื่อทางเว็บไซต์ TechCrunch สอบถามไปยัง AT&T กลับได้รับคำตอบว่า "นี่เป็นเรื่องของแอปเปิล" ก็ต้องรอแอปเปิลมาแถลงไขต่อไปครับ
จากกรณี HTML5 vs Flash ทางเว็บไซต์ Encoding.com ซึ่งให้บริการแปลงวิดีโอขึ้นเว็บกับบริษัทและเว็บใหญ่ๆ หลายราย ได้เปิดเผยสถิติของ codec ชนิดต่างๆ ที่บริษัทเคยทำให้ แม้ว่าจะไม่ใช่สถิติของเว็บทั้งหมด แต่ทาง Encoding.com คาดการณ์ว่ามันสะท้อนสัดส่วนจริงของวิดีโอบนอินเทอร์เน็ตได้
ต้องย้ำก่อน (แฟนบอยแอปเปิลจะมาโมเม) ว่า สถิตินี้หมายถึง codec เพียงอย่างเดียวนะครับ วิดีโอแบบ H.264 สามารถใช้ได้ทั้ง Flash และ HTML5 ส่วนการจะเลือกแสดงผลด้วยอะไรนั้นขึ้นกับทางเว็บที่ให้บริการครับ
หากมองกระแสวิดีโอออนไลน์ที่ผ่านมา จะพบว่ากระแสนั้นเอนเอียงไปทางวิดีโอแบบ HTML5 มากขึ้น เนื่องจากการเป็นแพลตฟอร์มเปิดของตัว HTML5 นั่นเอง Brightcove ที่ถูกใช้โดยหลายๆบริษัทนั้น จากที่เคยเป็นแพลตฟอร์มวิดีโอสำหรับ Flash อย่างเดียว ก็ได้เพิ่มการสนับสนุนวิดีโอแบบ HTML5 ซึ่ง SublimeVideo ของบริษัท Jilion ก็เป็นอีกผู้เล่นหนึ่งในกระแสนั้น
Brightcove บริษัทให้บริการวิดีโอออนไลน์ชื่อดัง ประกาศสนับสนุน HTML5 Video แล้ว โดยลูกค้าของบริษัทกว่า 1,000 รายจะสามารถนำความสามารถนี้ไปใช้ได้ทันทีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
โดยลูกค้าสองรายแรกที่ประกาศจะไปใช้ HTML5 Video ของ Brightcove คือ The New York Times และ Time Inc ซึ่งไม่แน่ใจว่าเป็นผลจากการเดินสายพบนักข่าวของสตีฟ จ็อบส์หรือเปล่า โดย Brightcove โฆษณาว่าระบบจะมีความสามารถแทบจะเหมือนกับ flash ทุกประการ คือแทรกโฆษณา, ทำ playlist, สนับสนุน H.264, ตรวจสอบผู้ใช้อัตโนมัติว่าควรจะใช้ flash หรือ HTML5 และแน่นอน สามารถเล่นบน iPad ได้
YouTube เปิดบริการทำซับไตเติลอัตโนมัติ (ต้นฉบับเรียกว่า auto-caption) หลักการทำงานคือใช้อัลกอริทึม speech-to-text จาก Google Voice Search เข้าช่วย
YouTube จะเพิ่มปุ่ม "request processing" ให้เจ้าของวิดีโอกดเพื่อขอทำซับไตเติลอัตโนมัติ จากนั้นเจ้าของวิดีโอจะได้ไฟล์ซับไตเติลเพื่อตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง YouTube เริ่มมีฟีเจอร์นี้ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว แต่ตอนนี้เปิดให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถใช้งานได้
แน่นอนว่ายังใช้ได้เฉพาะกับเสียงภาษาอังกฤษเท่านั้น และ YouTube เตือนว่าควรเป็นเสียงที่คมชัดพอสมควรด้วย
ที่มา - YouTube
Veoh เว็บไซต์วิดีโอออนไลน์ชื่อดังอีกแห่ง ไม่สามารถฝ่าฟันธุรกิจที่คนเข้าเยอะแต่สร้างรายได้ได้น้อย ยื่นขอล้มละลายต่อศาลสหรัฐแล้ว
Veoh ก่อตั้งเมื่อปี 2005 ในช่วงที่วิดีโอออนไลน์เริ่มบูม บริษัทถือเป็นดาวรุ่งในช่วงนั้น และสามารถหาเงินจากนักลงทุนได้ถึง 70 ล้านดอลลาร์ แต่เมื่อเวลาผ่านไป บริษัทไม่สามารถสร้างรายได้มาชดเชยกับรายจ่ายได้ ไม่สามารถหาผู้ซื้อกิจการแบบกรณี Google/YouTube ได้ และเจอคดีฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์จาก Universal Music Group (แม้ว่าสุดท้ายจะชนะคดี) ก็ถึงเวลาต้องลา
ถัดจาก Dailymotion และ YouTube เว็บวิดีโอออนไลน์รายใหญ่อีกเจ้าคือ Vimeo ได้ประกาศรองรับวิดีโอผ่านแท็ก <video> แล้ว
Vimeo เลือกใช้ H.264 เช่นเดียวกับ YouTube นั่นแปลว่าดูได้เฉพาะ Chrome กับ Safari เท่านั้นในตอนนี้ ทางบริษัทบอกว่าวิดีโอกว่า 90% บนเว็บสามารถดูผ่าน <video> ได้แล้ว
ที่มา - CNET
เว็บไซต์ YouTube เริ่มทดลองเปิดบริการเช่าวิดีโอออนไลน์แล้ว เริ่มด้วยภาพยนตร์ห้าเรื่องจากเทศกาลภาพยนตร์ซันแดนซ์ปี 2009 และ 2010 โดยเปิดบริการช่วงวันที่ 22 ถึง 31 มกราคมนี้ เฉพาะในสหรัฐเท่านั้น
ภาพยนตร์ทั้งห้าได้แก่ The Cove, Bass Ackwards, One Too Many Mornings, Homewrecker และ Children of Invention โดยราคาเช่าอยู่ที่ 3.99 ดอลลาร์สหรัฐ สามารถดูได้ภายใน 48 ชั่วโมง
หลังจากรอบนี้ เว็บไซต์จะชวนพาร์ตเนอร์จากอุตสาหกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากภาพยนตร์อิสระ มาร่วมใช้บริการนี้ด้วย
นักวิเคราะห์มองว่า นี่เป็นก้าวสำคัญของ YouTube ที่จะเข้าสู่ธุรกิจแบบ pay-per-view ซึ่งจะทำให้เว็บไซต์กลายเป็นคู่แข่งของ iTunes Amazon.com และ Xbox Live
เรียกได้ว่าเข้าสู่ยุคที่ผู้เล่นเกมอาจต้องเสียเงินเพิ่มแล้วจริงๆ หลังจากโซนี่ประกาศจะเปิดบริการพรีเมี่ยมแบบต้องเสียเงินเป็นสมาชิกในปีหน้า และเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมานินเทนโดก็เปิดบริการดาวน์โหลดวีดีโอแบบเสียเงินในประเทศญี่ปุ่น ภายใต้ชื่อ "Theater no Ma" ซึ่งอัพเกรดมาจากบริการโฆษณาผ่านทาง Wii ในชื่อ "Wii no Ma" โดยวีดีโอคอนเทนต์จะมีทั้งภาพยนตร์ อะนิเมะ (anime) และคอนเทนต์อื่นๆ รวมถึงคอนเทนต์จาก Walt Disney และ Sesame Workshop และนอกจากนั้นบางคอนเทนต์ยังสามารถโอนถ่ายลงเครื่องเล่นเกมพกพา DSi ได้อีกด้วย
บริษัทวิจัยการตลาด Nielsen ได้เปิดผลสำรวจเว็บไซต์ที่มีผู้ชมวีดีโอมากที่สุด 10 อันดับในสหรัฐฯ ประจำเดือนตุลาคม อันดับหนึ่งนั้นเป็นยูทูปอย่างไม่ต้องสงสัย ส่วนอันดับสองก็เป็น Hulu แต่ที่น่าฉงนสักหน่อยคงเป็นอันดับสาม คือ "เฟสบุ๊ก" นั่นเอง โดยมีผู้ชมวีดีโอ (unique viewer) ถึง 31.5 ล้านคน รวมจำนวนการสตรีมวีดีโอสูงถึง 217 ล้านครั้ง ซึ่งขยับจากเดือนที่แล้วที่อยู่แค่อันดับ 10 เท่านั้น!