ข่าวดีส่งท้ายปี HandBrake โปรแกรมเข้ารหัสวิดีโอยอดนิยมอีกตัว รองรับการเข้ารหัสวิดีโอแบบ AV1 ที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในเวอร์ชันล่าสุด Handbrake 1.6.0
ตอนนี้การเข้ารหัส AV1 ของ HandBrake ยังรองรับเฉพาะการเข้ารหัสด้วยซอฟต์แวร์ (SVT-AV1) และการเข้ารหัสด้วยฮาร์ดแวร์อินเทล (Intel QSV AV1 ที่ใช้ใน Intel Arc) ที่ผลักดันเรื่อง AV1 มาก่อนใคร ส่วนจีพียูของค่าย NVIDIA และ AMD ที่เริ่มรองรับ AV1 แล้วด้วยกัน ยังไม่รองรับในเวอร์ชันนี้
ของใหม่อีกอย่างที่น่าสนใจคือการเริ่มถอดการเข้ารหัสแบบ VP8 ที่ล้าสมัยแล้ว ปรับสถานะเป็น deprecated, รองรับการเข้ารหัสวิดีโอ VP9 แบบ 10-bit เป็นต้น
OBS Studio ซอฟต์แวร์บันทึกและสตรีมวิดีโอชื่อดัง ออกเวอร์ชัน 29 Beta มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญคือรองรับการเข้ารหัสวิดีโอแบบ AV1 ด้วยจีพียู Intel Arc และ AMD Radeon 7000 แล้ว
ก่อนหน้านี้ OBS Studio รองรับการเข้ารหัส AV1 ด้วยจีพียู NVIDIA (GeForce RTX 40 Series) แล้ว เท่ากับว่าตอนนี้ OBS Studio รองรับการเข้ารหัส AV1 ด้วยจีพียูครบทั้งสามค่ายเรียบร้อยแล้ว
นอกจาก AV1 แล้ว OBS Studio 29 Beta ยังรองรับการเข้ารหัสวิดีโอแบบ HEVC (H.265) บนจีพียู Intel Arc เพิ่มอีกอย่างด้วย
Qualcomm เปิดตัว Snapdragon 8 Gen 2 ชิปเรือธงรุ่นใหม่ประจำปี
ช่วงหลังๆ Qualcomm ไม่ค่อยเผยรายละเอียดสเปกซีพียู-จีพียูแล้ว รอบนี้บอกแค่ว่าซีพียู Kryo สัญญาณนาฬิกาสูงสุด 3.2GHz ประหยัดพลังงานเพิ่มขึ้น 40% (เทียบกับ 8 Gen 1) และจีพียู Adreno ประสิทธิภาพดีขึ้น 25% รองรับ Vulkan 1.3
เมื่อคืนนี้ AMD เปิดตัวจีพียู Radeon RX 7000 Series ที่ใช้สถาปัตยกรรม RDNA 3 ตามสัญญา โดยเปิดตัวการ์ดรุ่นท็อปสุดออกมา 2 ตัวคือ Radeon RX 7900 XTX และ Radeon RX 7900 XT (ตามธรรมเนียมปฏิบัติคือ ผ่านไปสักพักใหญ่ๆ ถึงจะออกรุ่นอัพเกรดที่แรงขึ้นเป็น X950 ตามมา)
Cloudflare ประกาศรองรับการเข้ารหัสไฟล์วิดีโอแบบ AV1 แบบเรียลไทม์ เท่ากับว่าเราสามารถถ่ายทอดวิดีโอแบบไลฟ์เป็นไฟล์อะไรก็ได้ ส่งขึ้นบริการสตรีมวิดีโอ Cloudflare Stream แล้วปลายทางจะได้เป็น AV1 ถ้าอุปกรณ์รองรับ
Cloudflare บอกว่าไฟล์วิดีโอแบบ AV1 มีข้อดีตรงที่ใช้แบนด์วิดท์น้อยกว่า H.264 ถึง 46% ช่วยให้โหลดเร็วขึ้น ประหยัดปริมาณเน็ต และตอนนี้อุปกรณ์สมาร์ทโฟนจำนวนมากก็รองรับการถอดรหัส AV1 ที่ระดับฮาร์ดแวร์ (decoder) ทำให้ไม่เปลืองพลังซีพียูและแบตเตอรี่เลย
NVIDIA เปิดตัวจีพียู GeForce RTX ซีรีส์ 40 ตามนัดหมาย ใช้โค้ดเนม Ada Lovelace ตรงตามข่าวลือก่อนหน้านี้ และถือเป็นครั้งแรกที่ NVIDIA ใช้โค้ดเนมทั้งชื่อ-นามสกุลของนักวิทยาศาสตร์ จากเดิมที่ใช้แต่นามสกุลอย่างเดียว
GeForce RTX ซีรีส์ 40 ยังคงสถาปัตยกรรมหน่วยประมวลผล 3 ชนิด แบบเดียวกับที่ใช้มาตั้งแต่ซีรีส์ 20 ได้แก่
อินเทลเปิดตัวจีพียู Intel Arc รุ่นแรก A-Series สำหรับคอนซูเมอร์มาตั้งแต่เดือนมีนาคม แต่ประสบปัญหาสินค้าวางจำหน่ายล่าช้า จนตอนนี้ก็ยังไม่สามารถขายได้ในวงกว้าง
แต่ดูท่าอินเทลไม่สนใจเรื่องการวางขายแต่อย่างใด และเดินหน้าเปิดตัว Intel Arc Pro A-Series สำหรับกลุ่มคนทำงานสายกราฟิกและเวิร์คสเตชันต่อทันที
อินเทลเพิ่งเปิดตัวจีพียู Intel Arc โดยเริ่มจาก Arc 3 สำหรับโน้ตบุ๊ก และยังไม่มีผลทดสอบประสิทธิภาพกราฟิกจากสำนักที่เป็นกลางออกมา
ระหว่างที่กำลังรอผลกัน อินเทลก็อาศัยจังหวะนี้โชว์ฟีเจอร์ของ Arc ในฐานะจีพียูตัวแรกที่สามารถเข้ารหัส (encoding) และถอดรหัส (decoding) วิดีโอแบบ AV1 ได้ในตัว (จีพียู NVIDIA/AMD สามารถถอดรหัสได้อย่างเดียว) ทำให้งานตัดต่อวิดีโอ หรือสตรีมวิดีโอมีประสิทธิภาพมากขึ้น
dav1d ซอฟต์แวร์ถอดรหัสวิดีโอ AV1 ของกลุ่ม VideoLAN ที่เปิดตัวในปี 2018 ออกเวอร์ชัน 1.0 แล้ว
dav1d (ชื่อย่อมาจาก av1 + decoder) เป็นไลบรารีโอเพนซอร์สที่ใช้ถอดรหัสวิดีโอแบบ AV1 ที่ผลักดันโดยกูเกิลและกลุ่ม AOpen Media ปัจจุบันเริ่มใช้งานแล้วทั้งบน YouTube และ Netflix
ทีมพัฒนา dav1d บอกว่าตอนนี้มันเป็นไลบรารีที่ถอด AV1 ได้เร็วที่สุดในท้องตลาด รองรับทั้งสถาปัตยกรรม x86 และ ARM รวมถึงสามารถใช้ชุดคำสั่งเฉพาะทางอย่าง SSE3, AVX2, AVX-512 เพื่อเร่งความเร็วการถอดรหัสไฟล์วิดีโอได้แล้ว
โลกวิดีโอกำลังหมุนไปยังตัวเข้ารหัสไฟล์แบบ AV1 ที่ผลักดันโดยกูเกิล โดยเริ่มใช้งานแล้วบนแพลตฟอร์มวิดีโอยอดนิยมทั้ง YouTube, Facebook และ Netflix
อินเทลเปิดตัวจีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์ชื่อ Arctic Sound-M เน้นใช้แปลงไฟล์วิดีโอสำหรับทำสตรีมมิ่ง รองรับการเข้ารหัส AV1 ที่ระดับฮาร์ดแวร์
อินเทลบอกว่าตลาดวิดีโอออนไลน์ใหญ่มาก ทราฟฟิก 80% ของอินเทอร์เน็ตคือวิดีโอ จึงออก Arctic Sound-M มาเพื่องานนี้โดยเฉพาะ ตัวจีพียูถูกออกแบบมาให้ทำงานกับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สายวิดีโอ เช่น FFmpeg, GStreamer, OpenVINO (ผ่าน oneAPI ของอินเทลเอง) แต่ก็ยังสามารถนำไปใช้งานสตรีมเกม หรือให้บริการ virtual desktop infrastructure (VDI) ได้ด้วย
Arctic Sound-M จะเริ่มส่งสินค้าจริงในช่วงกลางปี 2022
วิดีโอแบบ AV1 ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ และปลายปีนี้ เราจะเห็นจีพียูที่มีตัวถอดรหัส AV1 ที่ระดับฮาร์ดแวร์ออกวางขาย ทั้ง GeForce RTX 30, Intel Xe และ Radeon RX 6000
ไมโครซอฟท์ถือเป็นสมาชิกก่อตั้งของกลุ่ม Alliance for Open Media (AOMedia) ผู้พัฒนา AV1 จึงไม่น่าแปลกใจที่ไมโครซอฟท์ออกมารับลูกเรื่องนี้ ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศว่า Windows 10 จะรองรับการถอดรหัส AV1 ที่ระดับฮาร์ดแวร์ หากใช้งานบนจีพียูที่รองรับ (ทั้ง 3 ยี่ห้อข้างต้น)
GIMP ออกเวอร์ชัน 2.10.22 ซึ่งเป็นรุ่นอัพเดตย่อยต่อจาก 2.10.20 ที่เพิ่งออกไม่นานนี้
ของใหม่ในเวอร์ชันนี้ได้แก่
ตอนนี้เรายังไม่รู้อะไรมากนักเกี่ยวกับ AMD Radeon RX 6000 Series นอกจากการใช้สถาปัตยกรรม RDNA 2, รองรับ ray tracing และภาพตัวการ์ดที่ AMD นำมาโชว์ ก่อนงานแถลงข่าว 28 ตุลาคม
แต่จากแพตช์ล่าสุดในไดรเวอร์จีพียูโอเพนซอร์ส ก็พบข้อมูลชัดเจนว่า Radeon RX 6000 (โค้ดเนมในไฟล์คือ Sienna Cichlid) มีตัวถอดรหัสไฟล์วิดีโอแบบ AV1 เช่นเดียวกับคู่แข่ง GeForce RTX ซีรีส์ 30 ที่เปิดตัวไปแล้ว
เราเริ่มเห็นฮาร์ดแวร์ที่รองรับตัวเข้ารหัสวิดีโอ AV1 ออกสู่ตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ (เช่น MediaTek Dimensity 1000) ฝั่งของจีพียูก็มี NVIDIA ประกาศว่า GeForce RTX ซีรีส์ 30 สถาปัตยกรรม Ampere รองรับ AV1 แล้วเช่นกัน
นอกจากการใช้ฮาร์ดแวร์เร่งความเร็วการถอดรหัส AV1 ตามปกติแล้ว NVIDIA ระบุว่าการรองรับ AV1 จะช่วยปิดช่องว่างเรื่องการถ่ายทอดเกม เพราะสตรีมเมอร์มักเล่นเกมที่ความละเอียด 1440p @ 144 FPS แต่การถ่ายทอดสดยังเป็น 720p/1080p @ 60 FPS ซะเป็นส่วนใหญ่ การที่จีพียูรองรับ codec รุ่นใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ก็ช่วยผลักดันวงการสตรีมเกมไปได้อีก ซึ่ง GeForce RTX ซีรีส์ 30 สามารถดันไปได้ถึงการสตรีม 8K HDR ด้วยซ้ำ
เราเห็นตัวเข้ารหัส/ถอดรหัสวิดีโอแบบใหม่ AV1 เปิดตัวในช่วงต้นปี 2018 โดยชูจุดเด่นเรื่องการบีบอัดที่ดีขึ้นกว่าเดิม 30% และในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาก็มีบริการวิดีโอออนไลน์ดังๆ หลายราย เช่น Netflix, YouTube, Facebook ทยอยใช้งาน AV1 กับวิดีโอของตัวเอง
Google Duo แอพวิดีโอคอลล์ของกูเกิล เผยสถิติว่ามีผู้ใช้งานส่ง video message เพิ่มขึ้น 180% (บางภูมิภาคโตถึง 800%) และมีผู้ใช้ใหม่สัปดาห์ละ 10 ล้านคน
Duo ยังประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ 2 อย่างที่สำคัญคือ
Netflix เพิ่งประกาศเริ่มใช้ตัวเข้ารหัสวิดีโอ AV1 ไปเมื่อเร็วๆ นี้ ล่าสุดบริษัทประกาศแล้วว่าจะเริ่มสตรีมวิดีโอที่เป็น AV1 โดยเริ่มจากแอพ Android ก่อนเป็นแพลตฟอร์มแรก
Netflix บอกว่า AV1 มีประสิทธิภาพมากกว่า VP9 ถึงประมาณ 20% จึงเหมาะกับการใช้งานบนอุปกรณ์พกพามากที่สุด เพราะมีทั้งเรื่องการเชื่อมต่อที่ไม่เสถียร และข้อจำกัดเรื่องแพ็กเกจข้อมูลของผู้ใช้ (อ่านบทความ รู้จัก AV1 มาตรฐานบีบอัดวิดีโอ 4K ตัวใหม่ท้าชน HEVC บีบอัดข้อมูลดีกว่าคู่แข่ง 30% ประกอบ)
เราเห็นมาตรฐานการบีบอัดวิดีโอ AV1 ออกสู่ตลาดมาตั้งแต่ปี 2018 และเริ่มมีผู้ใช้งานเป็นบริษัทใหญ่ๆ อย่าง YouTube หรือ Facebook
ข้อดีของ AV1 คือบีบอัดวิดีโอได้มากขึ้น (อาจสูงถึง 60% เมื่อเทียบกับ codec รุ่นก่อนอย่าง H.264 AVC) แต่ก็มีข้อเสียคือต้องใช้เวลาบีบอัดนานขึ้น ซึ่งปัญหาข้อนี้จะค่อยๆ ถูกแก้ไขเมื่อซอฟต์แวร์เข้ารหัสวิดีโอ (encoder) ถูกปรับแต่งให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ
บริษัทยักษ์ใหญ่รายล่าสุดที่ประกาศใช้ AV1 คือ Netflix ที่ร่วมมือกับอินเทล พัฒนาซอฟต์แวร์ encoder ประสิทธิภาพสูงชื่อ SVT-AV1 ร่วมกันมาตั้งแต่ปีที่แล้ว (SVT-AV1 เปิดซอร์สโค้ดบน GitHub)
AV1 เป็นมาตรฐานการบีบอัดไฟล์วิดีโอแบบใหม่ พัฒนาโดยกลุ่ม Alliance for Open Media (AOMedia) ซึ่งมีสมาชิกเป็นบริษัทไอทียักษ์ใหญ่มากมาย เช่น Amazon, Apple, Facebook, Google, Microsoft ฯลฯ
ตัว AV1 แท้จริงแล้วเป็นสเปกบนกระดาษ ที่ซอฟต์แวร์ตัวใดจะนำไปใช้งานก็ได้ ในตอนแรกทางกลุ่ม AOM ก็สร้างซอฟต์แวร์เข้ารหัส-ถอดรหัสวิดีโอ AV1 ขึ้นมาในชื่อว่า libaom เพื่อเป็นต้นแบบของการใช้งาน
ล่าสุด ฝั่งของชุมชนซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สคือ VideoLAN, VLC, FFmpeg ก็ร่วมมือกันสร้างซอฟต์แวร์ตัวใหม่ชื่อ dav1d (อ่านว่า "เดวิด") ที่คุยว่ามันถอดรหัสวิดีโอได้เร็วกว่า libaom ถึง 100-400%
กูเกิลออก Chrome 70 Stable สำหรับเดสก์ท็อป มีฟีเจอร์ใหม่หลายอย่าง การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ เพิ่มตัวเลือกปิดการใช้งาน Chrome sign-in หรือการล็อกอินเข้า Chrome ด้วยบัญชีกูเกิล หลังเริ่มบังคับใช้งานใน Chrome 69 และโดนวิจารณ์อย่างหนัก
Chrome 70 มีสถานะการล็อกอินที่ตัวเบราว์เซอร์ 3 แบบ (ตามภาพ) คือ
YouTube เริ่มทดสอบตัวเข้ารหัสวิดีโอแบบ AV1 ที่พัฒนาโดยกลุ่ม AOMedia ซึ่งมีกูเกิลและบริษัทไอทีจำนวนมากเป็นสมาชิกร่วมก่อตั้ง
การทดสอบเบื้องต้นยังมีวิดีโอเพียงไม่กี่คลิปที่เข้ารหัสแบบ AV1 (Playlist) และจำเป็นต้องใช้กับเบราว์เซอร์ Chrome 70 Beta หรือ Firefox 63 Nightly ขึ้นไป โดยต้องเปิดแฟลก media.av1.enabled ในเบราว์เซอร์ด้วย
เดือนที่แล้วเราเพิ่งเห็น AV1 ตัวเข้ารหัสวิดีโออันใหม่ที่มาท้าชน HEVC/H.265 โดยมีบริษัทไอทียักษ์ใหญ่จำนวนมากให้การสนับสนุน
ล่าสุดเริ่มมีเบนช์มาร์คของ AV1 ออกมาบ้างแล้ว รอบนี้มาจาก Facebook ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่ม AOMedia ผู้พัฒนา AV1
วิศวกรของ Facebook ลองทดสอบ AV1 เทียบกับตัวเข้ารหัสแบบโอเพนซอร์สที่นิยมคือ x264 (สำหรับ H.264/AVC) และ libvpx-vp9 (สำหรับ VP9 ของกูเกิล ที่เป็นสมาชิก AOMedia เช่นกัน) โดยจำลองสถานการณ์ใช้งานวิดีโอบน Facebook ที่พบเจอทั่วไป นำวิดีโอยอดนิยม 400 คลิปบน Facebook ทั้งแบบวิดีโอความละเอียดปกติ (SD) และวิดีโอความละเอียดสูง (HD) มาทดสอบเปรียบเทียบกัน
กลุ่มมาตรฐานอุตสาหกรรม Alliance for Open Media (AOMedia) ประกาศออกสเปกการเข้ารหัสวิดีโอความละเอียดสูง 4K UHD ตัวใหม่ชื่อว่า AV1 (ย่อมาจาก AOMedia Video Codec 1.0)
จุดเด่นของ AV1 คือใช้เทคโนโลยีบีบอัดข้อมูลแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพดีกว่าคู่แข่งถึง 30% โดยที่ยังคงฟีเจอร์สำคัญๆ ของการแสดงผลภาพยุคใหม่ไว้ครบถ้วน ด้วยจุดเด่นนี้มันจึงเหมาะกับการใช้ทำวิดีโอสตรีมมิ่งที่จะกินปริมาณทราฟฟิกอินเทอร์เน็ตมากขึ้นเรื่อยๆ