Tags:
Node Thumbnail

หลัง Red Hat ซื้อกิจการ CoreOS ในปี 2018 ก็ประกาศยุบรวมดิสโทร CoreOS Container Linux เข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Fedora โดยจะใช้แทน Fedora Atomic Host ที่เลิกทำไปเพราะทับซ้อนกัน

เวลาผ่านมาประมาณปีครึ่ง Fedora CoreOS ทำเสร็จเรียบร้อย เข้าสถานะพรีวิวให้คนทั่วไปทดสอบได้แล้ว

Fedora CoreOS เป็นดิสโทรลินุกซ์ขนาดเบาที่ออกแบบมาเพื่อรันในคอนเทนเนอร์ และมีฟีเจอร์ด้านบริหารจัดการ คอนฟิก อัพเดต เพื่อให้ง่ายต่อการดูแล VM จำนวนมากๆ ตัวอย่างฟีเจอร์เหล่านี้คือการอัพเดตตัว OS เวอร์ชันใหม่อัตโนมัติ ติดตั้งและรีบูตเองให้เสร็จสรรพ ลดภาระการดูแลของแอดมินลง

Tags:
Node Thumbnail

หลายคนอาจลืมกันไปแล้วว่า Oracle ก็ทำดิสโทรลินุกซ์ด้วย โดยใช้ชื่อว่า Oracle Linux ซึ่งแท้จริงแล้วมันคือการนำเอาซอร์สโค้ดของ Red Hat Enterprise Linux (RHEL) มาดัดแปลงเป็นเวอร์ชันของตัวเอง (ลักษณะเดียวกับ CentOS) โดยรักษาความเข้ากันได้ของไบนารี แต่เกทับด้วยการออกอัพเดตให้ฟรี (RHEL ต้องเสียค่า subscription)

หลังจาก RHEL 8 ออกตัวจริงในเดือนพฤษภาคม ฝั่งของ Oracle Linux ก็ออกเวอร์ชัน 8 ตามมาด้วย ฟีเจอร์ใหม่ส่วนใหญ่คล้ายกัน เช่น Application Streams หรือการอนุญาตให้ติดตั้งแพ็กเกจซอฟต์แวร์หลายเวอร์ชันได้พร้อมกัน (แยกจากแพ็กเกจหลักของระบบ), Yum และ RPM เวอร์ชันใหม่, เปิดใช้ TLS 1.3 เป็นดีฟอลต์

Tags:
Node Thumbnail

ปัจจุบัน Debian ออกเวอร์ชันใหญ่ทุก 2 ปี โดยออกในช่วงกลางปีของปีที่เป็นเลขคี่ รุ่นที่แล้วคือ Debian 9.0 Stretch ล่าสุดคือ Debian 10.0 "Buster" (ชื่อหมาของพระเอก Toy Story ที่เป็นหมาจริงๆ ไม่ใช่ตุ๊กตา)

ของใหม่ใน Debian 10

Tags:
Node Thumbnail

ไมโครซอฟท์ส่งใบสมัครเข้าวงเมลลิ่งลิสต์ oss-security ในฐานะผู้ผลิตลิุนกซ์ดิสโทร โดยเมลนี้จะทำให้ไมโครซอฟท์เข้าถึงรายงานช่องโหว่ความปลอดภัยได้ล่วงหน้าก่อนที่จะมีการเปิดเผยช่องโหว่ต่อสาธารณะ

โดยปกติแล้ว สมาชิกของ oss-security จะเป็นผู้ผลิตลินุกซ์ดิสโทรที่มีผู้ใช้มากเพียงพอ, เป็นผู้สร้างดิสโทรหลักของตัวเอง, มีประวัติการรับและแก้ไขปัญหาช่องโหว่ความปลอดภัยที่สม่ำเสมอ

ไมโครซอฟท์ระบุว่าตัวเองมีลินุกซ์ในความดูแลถึง 3 กลุ่ม ได้แก่ Azure Sphere ที่เป็นลินุกซ์สำหรับ IoT, WSL2 ลินุกซ์ที่รันเคียงอยู่กับวินโดวส์, และกลุ่มคลาวด์คือ Azure HDInsight / Azure Kubernetes Service

Tags:
Node Thumbnail

หลังจาก Ubuntu ยอมถอยเรื่องการซัพพอร์ตไลบรารี 32 บิต ล่าสุด Valve ก็ออกมาตอบรับแล้วว่าจะซัพพอร์ต Ubuntu ต่อไป

Valve อธิบายว่าต้องใช้ไลบรารี 32 บิตกับทั้งตัว Steam client และเกมอีกจำนวนมากที่รองรับเฉพาะ 32 บิตเท่านั้น สำหรับคนที่สงสัยว่าทำไม Valve ไม่ทำ Steam client แบบ 64 บิตล้วนๆ คำตอบคือทำได้ในทางเทคนิค แต่จะทำให้เกมจำนวนมากใช้งานไม่ได้ ซึ่งขัดแย้งกับหลักการของ Valve ที่พยายามทำให้คนที่ซื้อเกมไปแล้ว สามารถเล่นเกมของตัวเองให้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้

Tags:
Node Thumbnail

ต่อเนื่องจากประเด็น Ubuntu 19.10 หยุดซัพพอร์ตสถาปัตยกรรม x86 แบบ 32 บิต (i386) จนเป็นเหตุให้ Steam เตรียมเปลี่ยนดิสโทรที่ซัพพอร์ตเวอร์ชันลินุกซ์

ล่าสุด Canonical ยอมถอยแล้ว โดย Ubuntu อีก 2 เวอร์ชันถัดไปคือ 19.10 และ 20.04 LTS จะยังซัพพอร์ต 32 บิต โดยออกแพ็กเกจซอฟต์แวร์ 32 บิต "บางส่วน" เพื่อรองรับซอฟต์แวร์เก่าที่ยังใช้งานอยู่ ส่วนกระบวนการคัดเลือกว่าจะมีแพ็กเกจอะไรบ้างนั้น เป็นกระบวนการของชุมชนในการหารือกันต่อไป และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม

Tags:
Node Thumbnail

จากประเด็น Ubuntu 19.10 หยุดซัพพอร์ตสถาปัตยกรรม x86 แบบ 32 บิต (i386)

Pierre-Loup Griffais นักพัฒนาของ Valve ประกาศผ่านทวิตเตอร์ว่า Steam จะไม่ซัพพอร์ต Ubuntu 19.10 เป็นต้นไป รวมถึง Valve จะไม่แนะนำให้ลูกค้า Steam ใช้งานด้วย โดยทางออกของ Valve จะหันไปโฟกัสที่การทำงานบนลินุกซ์ดิสโทรอื่นแทน

สาเหตุของปัญหาเกิดจากเกมจำนวนมากคอมไพล์มาเป็น 32 บิต (โดยเฉพาะเกมที่เก่าหน่อย) และจะไม่ได้รับการอัพเดตใดๆ อีกแล้ว เกมเหล่านี้จำเป็นต้องเรียกใช้ไลบรารี 32 บิตด้วย การที่ Ubuntu จะหยุดซัพพอร์ตไลบรารี 32 บิต (บนระบบปฏิบัติการ 64 บิต) จึงทำให้เกมเหล่านี้ใช้งานไม่ได้ตามไปด้วย จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม Valve จึงต้องหยุดซัพพอร์ต Ubuntu เช่นกัน

Tags:
Node Thumbnail

Ubuntu ประกาศหยุดซัพพอร์ตสถาปัตยกรรมซีพียู x86 แบบ 32 บิต (i386) โดยจะมีผลตั้งแต่เวอร์ชันหน้า 19.10 “Eoan Ermine” ที่จะออกในเดือนตุลาคมนี้

ทีมงาน Ubuntu บอกว่าเตรียมตัวเรื่องหยุดซัพพอร์ต i386 มาตั้งแต่ปี 2018 และตอนนี้ถึงเวลาที่เหมาะสมแล้ว จากนี้ไป Ubuntu จะไม่ออกแพ็กเกจซอฟต์แวร์ที่เป็น 32 บิตอีก ส่วนผู้ที่ใช้ Ubuntu เวอร์ชันเก่า เช่น 18.04 LTS แบบ 32 บิต ก็จะไม่สามารถอัพเกรดเป็น Ubuntu เวอร์ชันใหม่ได้อีกเช่นกัน (แต่ 18.04 LTS ยังสามารถใช้ได้จนถึงหมดระยะซัพพอร์ตปี 2023)

Ubuntu ให้สถิติว่าตอนนี้มีผู้ใช้แบบ 32 บิตอยู่ไม่ถึง 1% ของผู้ใช้ทั้งหมด

Tags:
Node Thumbnail

เมื่องาน BUILD 2019 ที่ผ่านมาไมโครซอฟท์เปิดตัว WSL 2 ที่เป็นเคอร์เนลลินุกซ์เต็มรันเคียงข้างเคอร์เนลวินโดวส์ ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมดีขึ้นและยังสามารถรัน Docker ได้ ตอนนี้ทางฝั่ง Docker เองก็ตอบรับความพยายามนี้โดยประกาศจะออก Docker Desktop ที่ใช้ WSL 2 จากเดิมที่ใช้ VM รันบน Hyper-V

Docker Desktop รุ่นใหม่นี้ จะรัน dockerd และ Kubernetes อยู่บน WSL 2 แต่มี dockerd, docker proxy รันอยู่ฝั่งวินโดวส์ด้วย

Tags:
Node Thumbnail

ทีมวิจัยความปลอดภัยไซเบอร์ของ Netflix เปิดเผยช่องโหว่เคอร์เนลลินุกซ์และ FreeBSD 4 รายการที่เกี่ยวข้องกับฟีเจอร์ minimum segmentation size (MSS) และ TCP Selective Acknowledgement (SACK) ในโปรโตคอล TCP

ช่องโหว่ที่ร้ายแรงที่สุดคือ CVE-2019-11477 หรือ SACK Panic ที่คนร้ายสามารถเปิดการเชื่อมต่อด้วยค่า MSS ระดับต่ำสุด และยิง SACK ด้วยลำดับที่ออกแบบมาเฉพาะทำให้เคอร์เนลลินุกซ์ panic ไปได้ทันที ช่องโหว่นี้กระทบเคอร์เนลลินุกซ์ตั้งแต่เวอร์ชั่น 2.6.29 ที่ออกตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา

ทางแก้คือการแพตช์เคอร์เนล หรือปิดฟีเจอร์ SACK ผ่านทาง /proc/sys/net/ipv4/tcp_sack

Tags:
Node Thumbnail

มีคนตาดีไปเห็นว่า ในบรรดา ThinkPad P Series ที่เพิ่งเปิดตัวปีนี้ สามารถเลือกใส่ระบบปฏิบัติการลินุกซ์มาได้ตั้งแต่โรงงาน โดยเลือกได้ว่าจะเป็น Ubuntu 18.04 LTS (พรีโหลดมาให้จากโรงงาน) หรือถ้าต้องการ Red Hat Linux ก็รองรับอย่างเป็นทางการ (certified)

ThinkPad ที่เข้าข่ายคือ P1 Gen 2, P53, P73, P53s, P43s แต่เนื่องจากตอนนี้บนหน้าเว็บของ Lenovo US ยังไม่เปิดให้สั่งซื้อ จึงไม่สามารถดูราคาได้ว่าถ้าเลือกระบบปฏิบัติการเป็นลินุกซ์ ราคาจะแตกต่างจากวินโดวส์หรือไม่

Tags:
Node Thumbnail

ไมโครซอฟท์ออก Windows 10 Insider Preview Build 18917 ซึ่งเป็นรุ่นทดสอบของ Windows 10 20H1 ที่จะออกในปีหน้า

ของใหม่ที่สำคัญคือ Windows Subsystem for Linux 2 ที่ประกาศตอนงาน Build 2019 ถูกผนวกเข้ามาใน Insider แล้ว

จุดเด่นของ WSL2 เหนือ WSL1 คือมันใช้เคอร์เนลลินุกซ์ตัวเต็ม แล้วรันอยู่ใน VM ขนาดเบา (lightweight) ที่ทำงานได้เร็วและกินทรัพยากรน้อย ผลคือมันเข้ากันได้กับลินุกซ์เต็มรูปแบบ (รัน Docker ได้, ใช้ระบบไฟล์เสมือนได้) และมีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่ารุ่นแรกถึง 20 เท่า

Tags:
Node Thumbnail

ปัญหาสำคัญอันหนึ่งของโลกลินุกซ์คือไดรเวอร์จีพียู โดยเฉพาะฝั่ง NVIDIA เป็นไดรเวอร์ที่ไม่โอเพนซอร์ส ทำให้ดิสโทรลินุกซ์หลายค่ายตัดสินใจไม่รวมไดรเวอร์มากับไฟล์ ISO ด้วย ถึงแม้ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดไดรเวอร์มาติดตั้งเองในภายหลัง แต่ประสบการณ์ใช้งานตั้งแต่แรกก็ไม่ดีนัก (ปกติแล้วดิสโทรส่วนใหญ่จะติดตั้งไดรเวอร์ Nouveau เวอร์ชันโอเพนซอร์สมาให้แทน แต่ประสิทธิภาพและฟีเจอร์เทียบกับเวอร์ชันของ NVIDIA ไม่ได้)

ล่าสุดโครงการ Ubuntu ปรับนโยบายเรื่องนี้ใหม่ ตั้งแต่ Ubuntu 19.10 เวอร์ชันหน้าเป็นต้นไป จะรวมไดรเวอร์ NVIDIA มาให้ในไฟล์ ISO เลย โดยมีเหตุผลว่าต้องการให้ผู้ใช้ติดตั้งไดรเวอร์ได้แม้ไม่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และทาง NVIDIA ก็อนุญาตให้ Ubuntu แจกจ่ายไฟล์ไดรเวอร์แล้ว

Tags:
Node Thumbnail

ตอนนี้รัฐบาลเกาหลีใต้โดยกระทรวงมหาดไทยและความปลอดภัยได้เริ่มร่างแผนการเปลี่ยนคอมพิวเตอร์ของรัฐบาลจาก Windows ไปใช้ Linux ซึ่งทางหน่วยงานจะทดสอบการใช้งาน Linux บนเครื่องพีซี หากไม่มีปัญหาสำคัญด้านความปลอดภัยหรือความเข้ากันได้ ก็จะทยอยให้หน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ใช้งานต่อไป

การที่รัฐบาลเกาหลีใต้เริ่มแผนการใช้งาน Linux ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกนัก เนื่องจาก Windows 7 กำลังจะหมดซัพพอร์ตทางเทคนิคแบบฟรีในเดือนมกราคมปีหน้า ซึ่งหากจะจ่ายเงินเพื่อต่ออายุซัพพอร์ตให้เครื่องจำนวนมากจะมีค่าใช้จ่ายสูง

Tags:
Node Thumbnail

Red Hat เปิดตัว Red Hat Enterprise Linux 8 (RHEL8) ตัวจริงในงาน Red Hat Summit วันนี้ หลังจากออกรุ่นเบต้ามาตั้งแต่ปลายปี 2018 ที่สำคัญคือ Red Hat ประกาศปล่อยอิมเมจสำหรับทำคอนเทนเนอร์ให้ใช้งานได้ฟรี ในชื่อ Universal Base Image (UBI)

RHEL8 ปรับการคอนฟิกและมอนิเตอร์มาใช้เว็บคอนโซลเป็นหลัก ตัวเคอร์เนลใช้ลินุกซ์ 4.18 ที่ออกมาเมื่อเดือนสิงหาคม 2018, OpenSSL 1.1.1 รองรับ TLS 1.3 สามารถใช้งานเป็น guest บน OpenShift 4, Red Hat OpenStack Platform 15, และ Red Hat Virtualization 4.3 ได้ทันที

Tags:
Node Thumbnail

ไมโครซอฟต์เปิดตัว WSL 2 โดยเพิ่มฟีเจอร์ให้รัน Docker ได้ ตอนนี้ Developer Blog ก็แจงรายละเอียดเพิ่มเติมว่าไมโครเปลี่ยนแนวทางจากการจำลอง systemcall ของลินุกซ์มาเป็นการรวมเคอร์เนลทั้งก้อนเข้ามาในวินโดวส์

เนื่องจากเคอร์เนลลินุกซ์ใช้สัญญาอนุญาตแบบ GPL ทำให้ไมโครซอฟท์ต้องเปิดแพตช์ทั้งหมดที่แก้ไขไป โดยไมโครซอฟท์หวังว่าแพตช์เหล่านี้จะได้เข้าไปในเคอร์เนลสายหลักในที่สุด

Tags:
Node Thumbnail

ไมโครซอฟท์ประกาศอัพเดต Windows Terminal และ Windows Subsystem for Linux 2 พร้อมกัน

Windows Terminal เวอร์ชั่นใหม่อัพเดตใหญ่คือการรองรับการปรับธีมสีแบบเดียวกับ VS Code, รองรับส่วนขยาย (ยังไม่มีข้อมูลว่าส่วนขยายทำอะไรได้บ้าง), และยังมีแท็บทำให้เปิดหลาย terminal ได้ในวินโดวส์เดียว สำหรับฟีเจอร์ย่อย เช่น รองรับ unicode ภาษาแถบเอเชียตะวันออก, รองรับอีโมจิ, รองรับการรวมตัวอักษร (ligatures) ตอนนี้เป็นเวอร์ชั่นพรีวิวให้เลือกใช้

Windows Subsystem for Linux 2 (WSL 2) อัพเดตเคอร์เนลเป็นเวอร์ชั่น 4.19 ทำให้กระบวนการบูตเร็วขึ้น, การใช้หน่วยความจำมีประสิทธิภาพสูงขึ้น, I/O ประสิทธิภาพดีขึ้น แต่ที่สำคัญคือรองรับการรัน Docker ได้ในตัวแล้ว

Tags:
Node Thumbnail

Fedora ออกเวอร์ชัน 30 การเปลี่ยนแปลงสำคัญในเวอร์ชันนี้ได้แก่

  • ควบรวมเอา Fedora Cloud และ Fedora Server เป็นเวอร์ชันเดียวคือ Fedora Server
  • เนื่องจาก Red Hat ซื้อบริษัท CoreOS และประกาศเปลี่ยนเอาดิสโทร CoreOS มาใช้แทน Fedora Atomic Host ทำให้ต้องรออีกสักระยะหนึ่งถึงจะออก Fedora CoreOS 30
  • ส่วน Fedora Workstation สำหรับเดสก์ท็อปยังเป็นเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แค่อัพเดตเวอร์ชัน GNOME เป็น 3.32 ตามรอบปกติทุก 6 เดือน

เวอร์ชันของซอฟต์แวร์ที่อัพเดตใน Fedora 30 ได้แก่ GCC 9, Bash 5.0, PHP 7.3

ผู้ที่รัน Fedora รุ่นก่อนๆ อยู่แล้วสามารถอัพเกรดได้จากคำสั่ง

Tags:
Node Thumbnail

ไมโครซอฟท์ประกาศโอเพนซอร์ส PowerShell ในปี 2016 และออกเวอร์ชันแมค-ลินุกซ์ไปพร้อมๆ กัน

PowerShell เวอร์ชันโอเพนซอร์สใช้ชื่อว่า PowerShell Core และเริ่มออกเวอร์ชันแรกคือ 6.0 เมื่อต้นปีนี้ (Windows PowerShell รุ่นที่แถมมากับ Windows 10 ยังเป็นเวอร์ชัน 5.1) ส่วนเวอร์ชันล่าสุดคือ 6.2 เพิ่งออกเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

ล่าสุดไมโครซอฟท์เปิดเผยว่า หลังจากโอเพนซอร์สเป็นต้นมา จำนวนผู้ใช้ PowerShell ก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะบนลินุกซ์ (สีส้มในภาพ) ที่นำหน้าผู้ใช้บนวินโดวส์ไปไกลแล้ว ส่วนเวอร์ชันวินโดวส์ก็มีผู้ใช้เพิ่มขึ้นเช่นกัน แม้จะไม่โตแบบก้าวกระโดดเหมือนลินุกซ์ก็ตาม

Tags:
Node Thumbnail

Visual Studio Code มีเวอร์ชันลินุกซ์มานานแล้ว โดยมีแพ็กเกจให้เลือกหลากหลายทั้ง .deb, .rpm ที่ใช้กันทั่วไป หรือแพ็กเกจแปลกๆ หน่อยอย่าง AUR (Arch Linux) หรือ Nix (NixOS)

ล่าสุดไมโครซอฟท์ออกแพ็กเกจแบบ Snap ที่เริ่มพัฒนาโดย Ubuntu และปัจจุบันมีหลายดิสโทรนำไปใช้งาน จุดเด่นของแพ็กเกจ Snap คือแยกแอพขาดจากตัวระบบปฏิบัติการ ติดตั้งง่าย ลบออกง่าย ไม่ติด dependency และอัพเดตจากต้นทางได้เลย

Tags:
Node Thumbnail

กูเกิลอธิบายเบื้องหลังของ Stadia บริการเกมสตรีมมิ่งผ่านคลาวด์ว่า เกมที่ประมวลผลบนเซิร์ฟเวอร์ ใช้ฮาร์ดแวร์รุ่นพิเศษจาก AMD และรันระบบปฏิบัติการลินุกซ์

ข้อมูลที่กูเกิลเผยในงานคือ ฮาร์ดแวร์หนึ่งตัวใช้ซีพียู x86 รุ่นปรับแต่งพิเศษ (Custom x86 Processor) ไม่ระบุยี่ห้อ สัญญาณนาฬิกา 2.7GHz, Hyperthreaded และรองรับชุดคำสั่ง AVX 2, แรม 16GB

ส่วนจีพียูเป็น AMD Radeon รุ่นที่ใช้ในศูนย์ข้อมูล ปรับแต่งพิเศษให้กูเกิลโดยเฉพาะ ตัวจีพียูใช้แรมแบบ HBM2 ECC, หน่วยประมวลผล 56 compute unit และมีสมรรถนะรวม 10.7 TFLOPS ซึ่งเทียบกับจีพียูของ Xbox One X (ที่ทำโดย AMD เหมือนกัน) แล้วมีสมรรถนะเพียง 6 TFLOPS, ส่วน PS4 Pro คือ 4.2 TFLOPS

Tags:
Node Thumbnail

เคอร์เนลลินุกซ์ออกเวอร์ชัน 5.0 แล้ว การขยับเลขเวอร์ชันครั้งนี้ไม่ได้มีความหมายอะไรเป็นพิเศษ เพราะเคอร์เนลใช้วิธีการออกรุ่นตามระยะเวลา แทนการอิงกับฟีเจอร์ใหญ่ๆ มานานแล้ว

คราวนี้ไลนัส ให้เหตุผลยาวขึ้นอีกนิดว่าเลขเวอร์ชันของเคอร์เนลสาย 4.x (รุ่นล่าสุดขณะที่เขียนข่าวคือ 4.20) ชักเยอะจนเขาหมดนิ้วจะนับแล้วทั้งนิ้วมือและนิ้วเท้า (the 4.x numbers started getting big enough that I ran out of fingers and toes) เลยตัดสินใจขึ้นเวอร์ชันใหม่เป็น 5.0 แทน และกระบวนการพัฒนาเคอร์เนล 5.1 ก็เริ่มต้นตามปกติ

เคอร์เนลเวอร์ชัน 4.0 ออกเมื่อปี 2015 โดยขยับเลขขึ้นมาจากเคอร์เนล 3.19 ด้วยเหตุผลคล้ายๆ กัน

Tags:
Node Thumbnail

ไมโครซอฟท์ประกาศฟีเจอร์ใหม่ของ ‎Windows Subsystem for Linux (WSL) บน Windows 10 โดยเราสามารถเข้าถึงไฟล์บนลินุกซ์ได้จาก File Explorer หรือ Command-Line โดยตรง

วิธีการง่ายๆ คือเมื่อเข้าไปในลินุกซ์บน WSL แล้วสามารถสั่ง "explorer.exe ." สิ่งที่ได้มาคือ File Explorer ที่เปิดไดเทคทอรี home ของผู้ใช้คนนั้น จากนั้นเราสามารถจัดการไฟล์ได้เหมือนกับเป็นไฟล์บน Windows ปกติ ทำได้แม้กระทั่งคลิกขวาที่ text file แล้วเปิดด้วย VS Code หรือ editor ตัวอื่นๆ

ส่วนการเรียกใช้งานจากคอมมานด์ไลน์บน Windows (เช่น PowerShell) ก็สามารถเรียกได้จากพาธ \wsl${distro name}\ (distro name คือชื่อดิสโทรของเราบน WSL)

Tags:
Node Thumbnail

หนึ่งปีหลังการเปิดเผยช่องโหว่ Spectre และ Meltdown เคอร์เนลใหม่ๆ มีแนวทางป้องกันปัญหากันหมดแล้ว แม้กระบวนการป้องกันจะทำให้ประสิทธิภาพเครื่องลดลงก็ตาม แต่ช่วงปีที่ผ่านมาลินุกซ์ก็เพิ่มทางเลือกสำหรับปิดกระบวนการป้องกันเหล่านี้เพิ่มเติม และโค้ดล่าสุดก็เปิดให้ปรับแนวทางการปิดระบบป้องกันอย่างละเอียดขึ้น

ออปชั่น PR_SPEC_DISABLE_NOEXEC ถูกเพิ่มเข้าเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมันเปิดทางเลือกให้ผู้ดูแลระบบ สามารถเปิดปิดฟีเจอร์ Speculative Store Bypass Disable (SSBD) ของซีพียูได้อย่างละเอียด โดยเปิดให้โปรเซสลูกสามารถยกเลิก SSBD แยกจากโปรเซสแม่ได้

Pages