เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารบางแห่งของสิงคโปร์ได้ปิดบัญชีของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับ cryptocurrency บ้างแล้ว
เรื่องนี้ถูกเปิดเผยโดย ACCESS สมาคมอุตสาหกรรม cryptocurrency และ blockchain ของสิงคโปร์ ที่ระบุว่ามีบริษัทประมาณ 10 แห่งมีปัญหาถูกปิดบัญชีธนาคาร โดยที่ธนาคารไม่ได้อธิบายเหตุผลที่ชัดเจน
ตัวอย่างบริษัทที่โดนปิดบัญชีคือ CoinHako ที่ให้บริการกระเป๋าเงินสำหรับ cryptocurrency ระบุว่าบัญชีที่เปิดกับธนาคาร DBS ถูกปิดโดยไม่ทราบสาเหตุ ส่วน DBS ปฏิเสธไม่ให้ความเห็นต่อกรณีนี้
เมื่อวานนี้ ธนาคารกสิกรไทย (KBank) นำโดยคุณสมคิด จิรานันตรัตน์ รองประธาน กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยีกรุ๊ป (KBTG) พบปะสื่อมวลชนเพื่อเล่าแผนการและยุทธศาสตร์ด้านดิจิทัลของธนาคาร
หัวหอกด้านดิจิทัลของธนาคารกสิกรไทยคือแอพ K Plus ที่ปัจจุบันมีผู้ใช้งาน 6.5 ล้านคน มากที่สุดในบรรดาแอพของธนาคารไทยทุกราย ซึ่งทางธนาคารก็ตั้งเป้าว่าปีนี้ต้องมีผู้ใช้ 8 ล้านคน และในอนาคตจะเป็นแอพที่มีผู้ใช้แตะหลัก 10 ล้านคนได้สำเร็จ
ด้วยฐานผู้ใช้งานที่ใหญ่ระดับนี้ ธนาคารจึงมองว่า K Plus เปลี่ยนจาก "ช่องทาง" (channel) มาเป็น "แพลตฟอร์ม" (platform) และนี่คือประเด็นหลักของการให้สัมภาษณ์ครั้งนี้
Nikkei Asian Review รายงานว่าธนาคารญี่ปุ่นหลายรายกำลังร่วมมือกันพัฒนา "J Coin" สกุลเงินดิจิทัลที่จะนำมาใช้แทนเงินเยน
ตอนนี้ยังมีรายละเอียดของ J Coin ไม่เยอะนัก รู้เพียงว่าโครงการนี้นำโดยธนาคารยักษ์ใหญ่ Mizuho Financial Group และ Japan Post Bank ที่จะตั้งบริษัทขึ้นมาดูแล J Coin โดยเฉพาะ
J Coin อาจเป็นสกุลเงินแบบ cryptocurrency (คาดกันว่าจะพัฒนาบนเทคโนโลยีของโครงการ Hyperledger ที่ Mizuho เป็นสมาชิก) แต่ความต่างของมันกับเงินตระกูล crypto อื่นๆ ในปัจจุบันคือ J Coin จะผูกมูลค่าเงินกับเงินเยนแบบตายตัว
วันนี้ Blognone มีโอกาสพูดคุยกับทีมงานของ KBTG บริษัทด้านเทคโนโลยีของธนาคารกสิกรไทย เพื่อรับฟังแผนงานด้านไอทีของธนาคารในอนาคต ประเด็นหนึ่งที่ได้สอบถามกับ KBTG คือแอพ K PLUS ต้องเชื่อมต่อผ่าน cellular ทำให้ไม่สะดวกเวลาใช้งานผ่าน Wi-Fi หรือไปใช้งานในต่างประเทศ
คำตอบของ KBTG คือเรื่องนี้กำลังแก้ไขและจะเห็นการเปลี่ยนแปลงช่วงเดือนตุลาคม โดย K PLUS จะอนุญาตให้ใช้งานผ่านเครือข่าย Wi-Fi แต่ผู้ใช้ต้องเป็นคนเปิดใช้เอง (เช่น กดเปิดใช้งานก่อนเดินทางไปต่างประเทศ) และจะใช้งาน Wi-Fi ได้ในระยะเวลาหนึ่ง (ไม่ใช่ตลอดไป) เพื่อรักษาความปลอดภัย แต่ถ้าต้องการใช้งานต่อก็สามารถกดเปิดใช้ได้อีกเรื่อยๆ
ประเด็นอื่นของแอพ K PLUS มีดังนี้
ประเทศเม็กซิโกได้เสนอร่างกฎหมายใหม่ เพื่อการกำกับดูแลในภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการเงินโดยเฉพาะ รวมถึงเงินสกุลเงินคริปโตอย่าง Bitcoin ด้วย
Enrique Pena Nieto ประธานาธิบดีเม็กซิโกเตรียมจะนำเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวให้กับวุฒิสภาก่อน 20 กันยายนนี้ โดยจุดมุ่งหมายคือเพื่อรับรองความมั่นคงทางการเงินและต่อต้านการฟอกเงินและการจัดหาเงินทุนของเหล่าหัวรุนแรง ซึ่งจะทำให้เม็กซิโกเป็นหนึ่งในประเทศที่มีกฎหมายกำกับดูแลด้านนี้อย่างจริงจัง
เทศบาลเมือง Chiasso ทางตอนใต้ของสวิตเซอร์แลนด์ ประกาศเริ่มรับการจ่ายภาษีเป็นสกุลเงิน Bitcoin ในปีหน้า 2018
สวิตเซอร์แลนด์ถือเป็นประเทศที่มีสตาร์ตอัพฟินเทค และหน่วยงานด้าน cryptocurrency เข้าไปตั้งสำนักงานกันมาก เนื่องจากมีความพร้อมด้านกฎหมายทางการเงิน ตัวอย่างที่สำคัญคือมูลนิธิ Ethereum Foundation ก็ตั้งอยู่ที่เมือง Zug ทางตอนกลางของสวิตเซอร์แลนด์
Chiasso เป็นอีกเมืองที่กำลังได้รับความนิยมตีคู่มากับ Zug และการจ่ายภาษีด้วย Bitcoin ถือเป็นอีกมาตรการสำหรับดึงดูดบริษัทด้านฟินเทค การจ่ายภาษีด้วย Bitcoin จะยังรองรับที่มูลค่าสูงสุด 250 ฟรังค์สวิส หรือประมาณ 8,700 บาท
ธนาคารไทยพาณิชย์ ตั้งบริษัทลูก SCB Abacus (เอสซีบี อบาคัส) เพื่อทำงานด้าน AI และ Big Data มาสนับสนุนธุรกิจในเครือให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เป้าหมายของ SCB Abacus จะเน้นให้บริการเฉพาะบริษัทภายในเครือไทยพาณิชย์เป็นหลัก ตัวอย่างโครงการที่ SCB Abacus จะเข้ามามีบทบาทสนับสนุนธุรกิจของไทยพาณิชย์ ได้แก่พัฒนาระบบ Recommendation Engine ช่วยแนะนำบริการในแอพ SCB Easy, นำ AI มาช่วยออกแบบผลิตภัณฑ์ด้านประกันภัยที่เหมาะสมกับลูกค้าเป็นรายบุคคล โดยใช้อุปกรณ์ IoT มาช่วยเก็บข้อมูล, นำ AI มาช่วยคาดเดาปัญหาที่ลูกค้าจะโทรเข้ามายังคอลล์เซ็นเตอร์ เพื่อโอนสายไปยังผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง เป็นต้น
คณะกรรมการหลักทรัพย์ (Securities Commission) ของมาเลเซีย ออกมาเตือนนักลงทุนให้ระวังการลงทุนผ่าน ICO (initial coin offering) ที่กำลังร้อนแรงอยู่ในตอนนี้
คณะกรรมการเตือนว่าการระดมทุนผ่าน ICO มีความเสี่ยงหลายประการ ทั้งผู้ดำเนินโครงการไม่อยู่ในมาเลเซีย, ตรวจสอบการหลอกลวงได้ยาก, ถ้าสูญเงินไปอาจต้องพึ่งพากฎหมายต่างประเทศ ไม่มีความคุ้มครองตามกฎหมายของมาเลเซีย
คณะกรรมการยังแนะนำว่านักลงทุนควรหาที่ปรึกษาด้านกฎหมาย และเข้าใจกระบวนการทำงานของ ICO พร้อมทั้งประเมินความเสี่ยงก่อนจ่ายเงิน
ความเคลื่อนไหวของร่าง พ.ร.บ. ฟินเทค (ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมการประกอบธุรกิจด้วยเทคโนโลยีทางการเงิน) ขณะนี้คือกำลังอยู่ระหว่างรับฟังความเห็น ผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
Square เตรียมขอใบอนุญาตจาก Federal Deposit Insurance Corporation เพื่อให้บริการในด้านเงินกู้ยืม โดยทางบริษัทจะขอไลเซนส์ประเภท Industrial Loan Company หรือ ILC ซึ่งทำให้บริษัทสามารถให้บริการธนาคารได้เกือบเหมือนกับธนาคารแบบดั้งเดิม โดยไม่จำเป็นต้องทำตามกฎหมาย Bank Holding Company Act และไม่ต้องถูกควบคุมโดย Federal Reserve Board ในลักษณะเดียวกับธนาคารทั่ว ๆ ไป (แต่ก็ยังคงต้องอยู่ภายใต้การกำกับจากรัฐและ Federal Deposit Insurance Corporation)
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. จัดการแข่งขันสตาร์ทอัพฟินเทคหรือ Fintech Challenge เป็นครั้งที่สองแล้ว และรอบชิงหรือวัน Demo Day จะจัดขึ้นวันที่ 27 กันยายนที่โรงละครเคแบงค์สยามพิฆเนศ ทีมสตาร์ทอัพที่เข้ารอบมีสิบทีม แบ่งเป็น 5 กลุ่มดังนี้
คุณทิพยสุดา ถาวรามร รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. มองเรื่อง ICO หรือ การเปิดระดมทุนบน blockchain ว่า มีคนให้ความสนใจมาก และยังไม่มีกฎควบคุมอย่างแน่ชัด การระดมทุนสามารถทำได้กว้างขวาง และเป็นช่องทางที่โตเร็ว การระดมทุนอาจแซงหน้าปริมาณการระดมทุนจาก Venture Capital ไปแล้ว
คุณทิพยสุดา ระบุว่า "ในฐานะที่เราเป็นผู้กำกับดูแลคงจะอยู่เฉยไม่ได้ เป็นโจทย์ท้าทาย ก.ล.ต. ว่าเราควรจะมีท่าทีต่อ ICO อย่างไร แนวคิดเบื้องต้นคือคงจะดูแลให้อยู่ในสายตา และจะไม่ปฏิเสธว่า สิ่งนี้ไม่เกี่ยวกับเรา เพราะอนาคต ICO อาจมีความสัมพันธ์ต่อบริการฟินเทค"
เมื่อวานนี้นอกจากงานแถลงข่าว SCB ที่ประกาศตัวเป็น Lifestyle Banking และ KBank ประกาศบริการ K Plus Shop จ่ายเงินด้วย QR Code ฝั่งของผู้ให้บริการจ่ายเงินรายใหญ่ True Money ก็มีงานแถลงข่าวไปในทิศทางเดียวกัน
True Money เลือกใช้คำว่า "Fin Life" (Financial Life) เพื่อแสดงให้เห็นว่าตัวเองจะเป็นมากกว่าแค่ "กระเป๋าเงิน" แต่จะขยายให้ครอบคลุมบริการทางการเงินในชีวิตประจำวันอื่นๆ ด้วย เช่น
หลังจากที่ฝั่ง SCB เพิ่งเปิดบริการกดเงินจากตู้ ATM ไม่ต้องใช้บัตร ผ่านแอพ SCB Easy ไป ในโอกาสที่ทางธนาคารออมสินเองก็เพิ่งเปิดบริการแบบเดียวกันไปเมื่อช่วงต้นปี และหลายคนน่าจะไม่เคยได้ลองใช้ (เพราะไม่มีบัญชีออมสิน และเพราะ MyMo มันดันคิดค่าธรรมเนียมรายเดือน) เนื่องจากขั้นตอนการใช้งานของ SCB Easy และ MyMo ต่างกันในระดับที่แทบไม่มีอะไรเหมือนกันผมเลยเอามาให้เทียบกันดูครับ จากการที่ผมใช้งานค่อนข้างบ่อยมากเพราะมันเร็วกว่าการยืนกดที่ตู้ ATM จากการที่เรากดไว้ก่อนถึงตู้ได้ ระดับที่เดินเข้าตู้พร้อมกับอีกคนนึงที่ใช้บัตรธรรมดา เขากดรหัสผ่านของบัตรเสร็จผมก็หยิบเงินเดินออกจากตู้แล้วครับ
ฟีเจอร์ใหม่ของแอพ SCB Easy เวอร์ชันใหม่ คือ "กดเงินไม่ใช้บัตร" หรือการรับรหัสจากแอพไปกดเงินสดที่ตู้ ATM ของธนาคารไทยพาณิชย์ ได้โดยไม่ต้องมีบัตร ATM
ฟีเจอร์นี้สามารถใช้งานได้วันนี้ (20 สิงหาคม 2560) เป็นวันแรก เพราะต้องรอให้ตู้ ATM ของธนาคารอัพเดตซอฟต์แวร์ก่อน ผมมีโอกาสผ่านตู้ ATM พอดีจึงได้ทดสอบฟีเจอร์นี้ว่าเป็นอย่างไร
dtac Accelerate ศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพจากดีแทค เปิดตัวโครงการ Global Expansion Track คัดสตาร์ทอัพไทยเข้าโครงการคือ T2P สตาร์ทอัพฟินเทคทำบริการบัตรเติมเงินเพื่อทำธุรกรรมออนไลน์ และสิ่งที่ T2P จะได้รับคือ
กลุ่มพันธมิตร Enterprise Ethereum Alliance (EEA) เพิ่งก่อตั้งเมื่อเดือนมีนาคม 2017 โดยมีไมโครซอฟท์และอินเทลเป็นแกนนำ และมีธนาคารรายใหญ่ของโลกอย่าง JP Morgan และ Santander เข้าร่วมเป็นสมาชิกก่อตั้ง
เวลาผ่านมาอีกไม่กี่เดือน กลุ่ม Enterprise Ethereum Alliance ประกาศรายชื่อสมาชิกใหม่เพิ่มอีกชุดใหญ่ จนตอนนี้ EEA มีสมาชิกเกิน 150 องค์กรแล้ว ถือเป็นกลุ่มผลักดันเทคโนโลยี blockchain รายใหญ่ที่สุดของโลกในทันที
สมาชิกชุดใหม่มีทั้งบริษัทไอที (Cisco) ธนาคาร (Scotiabank) บริษัทบัตรเครดิต (Mastercard) มหาวิทยาลัย และสตาร์ตอัพด้าน blockchain อีกจำนวนมาก (รายชื่อสมาชิกทั้งหมด)
ธนาคารไทยพาณิชย์เปิดตัวเป็นผู้นำนวัตกรรมทางการเงินเข้าทดสอบผ่าน Regulatory Sandbox ของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามที่มีการประกาศเมื่อวานนี้ โดยไม่เปิดเผยชื่อผู้เข้าร่วม
บริการของธนาคารไทยพาณิชย์จะเปิดให้ผู้ที่อยู่ในญี่ปุ่นสามารถโอนเงินเยนผ่านตู้เอทีเอ็มของบริษัท SBI Remit หรือโอนผ่านที่ทำงานไปรษณีย์ญี่ปุ่น เข้ามายังบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์เป็นสกุลบาทได้ภายในเวลาเพียง 20 นาที
มีคนไทยอาศัยในญี่ปุ่นตอนนี้ประมาณ 40,000 คนและมีการโอนเงินเยนมายังประเทศไทยประมาณปีละหนึ่งหมื่นล้านบาท หลังจากนี้ทางธนาคารมีแผนจะเพิ่มบริการเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ให้ครบทุกภูมิภาค เช่น อเมริกาเหนือ, ยุโรป, และเอเชียแปซิฟิก
ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศรับอีกสามบริษัทเข้าทดสอบนวัตกรรมทางการเงิน (regulatory sandbox) โดยมีสองบริษัทเป็นผู้ให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศด้วยเทคโนโลยี blockchain ทั้งการโอนภาคธุรกิจและการโอนเงินระหว่างเอกชน
อีกหนึ่งบริษัทที่ได้รับอนุญาตพร้อมกับคือการยืนยันตัวตนด้วยม่านตาแทนที่การใช้ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน
ตอนนี้มีบริษัทร่วมโครงการ regulatory sandbox แล้วสี่บริษัท โดยบริษัทแรกที่ได้เข้าโครงการไปเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาคือ KBTG ของธนาคารกสิกรไทย
ที่มา - ธนาคารแห่งประเทศไทย
มาสเตอร์การ์ดได้เปิด Innovation Labs ในสิงคโปร์มาตั้งแต่ปี 2012 เพื่อพัฒนานวัตกรรมด้านการเงิน ก่อนที่สุดสัปดาห์ที่ผ่านมาจะประกาศขยายบทบาทของ Innovation Labs ในการผลักดันเทคโนโลยีด้านการเงินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
เทคโนโลยีที่มาสเตอร์การ์ดกำลังพัฒนาและผลักดันมีทั้งหุ่นยนต์, ปัญญาประดิษฐ์ (แชทบอท), ตู้ขายของอัตโนมัติ, ระบบรับรองตัวเองด้วยไบโมเมตริกและเทคโนโลยี Contactless ซึ่งไฮไลท์ที่มาสเตอร์นำมาโชว์คือ แชทบอทบน Messenger, หุ่นยนต์ Pepper และตู้ขายของอัตโนมัติ Qkr! with Masterpass
Mastercard Kai แชทบอทบน Messenger สำหรับการสอบถามข้อมูลอย่างวงเงินที่เหลือและรอบบิล พร้อมเปิดให้ธนาคารพันธมิตรที่สนใจ นำไปใช้งาน
สมาคมธนาคารไทย เผยสถิติของระบบ PromptPay ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม 2560 ดังนี้
ช่วงครึ่งหลังของปี PromptPay จะเพิ่มบริการใหม่ 2 ตัวคือ
CFA หรือ Chartered Financial Analyst ซึ่งเป็นการทดสอบวัดมาตรฐานวิชาชีพด้านการเงินและการลงทุนสากล เตรียมเพิ่มหัวข้อในแบบทดสอบด้าน AI, ระบบตัดสินใจลงทุนอัตโนมัติ และการจัดการข้อมูลที่ไม่เป็นโครงสร้าง (Unstructured data) โดยจะเริ่มในปี 2019
ตัวแทนของ CFA กล่าวว่า สาเหตุที่เพิ่มหัวข้อดังกล่าว เนื่องจาก FinTech จะมีบทบาทมากขึ้นในแวดวงการเงินการลงทุน โดยผู้ทดสอบไม่ถึงกับต้องเขียนโปรแกรมได้ แต่ต้องสามารถแยกแยะความต่างของการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเป็นโครงสร้าง กับแบบไม่มีโครงสร้าง ตลอดจนเข้าใจการลงทุนแบบอัลกอริทึม
CFA เป็นการทดสอบมาตรฐานในกลุ่มวิชาชีพการเงินการลงทุน โดยการจัดสอบในปีนี้มีผู้สมัครราว 190,000 คนทั่วโลก
สตาร์ทอัพ Current จากแมรี่แลนด์ ทำบัตรเดบิตวีซ่าสำหรับเยาวชน ให้ผู้ปกครองคุมการใช้จ่ายผ่านแอพได้ รับโอนเงินผ่านแอพจากบัญชีของผู้ปกครอง ติดตามความถี่การใช้จ่ายผ่านบัตร และที่สำคัญต้องได้รับอนุมัติจากผู้ปกครองผ่านแอพพลิเคชั่นก่อนถึงจะจ่ายเงินผ่านบัตรได้ ทีนี้พ่อแม่ไม่ต้องเค้นคำตอบจากลูกอีกต่อไปว่าเอาเงินไปใช้อะไรหมด
ธนาคารรายใหญ่ของสหรัฐฯ JPMorgan Chase ได้ออกจากกลุ่ม R3 ซึ่งเป็นกลุ่มที่พัฒนาเทคโนโลยี blockchain มาตรฐานกลางสำหรับนำมาใช้กับธุรกิจธนาคารและสถาบันการเงินแล้ว
ก่อนหน้า JPMorgan Chase นั้นก็มีสถาบันการเงินรายใหญ่หลายแห่งที่ถอนตัวจาก R3 อย่าง Goldman Sachs, Banco Santander, Morgan Stanley และ National Australian Bank แต่สถาบันการเงินเหล่านี้ก็ยังมีส่วนร่วมในสตาร์ทอัพ blockchain อื่น ๆ
JPMorgan Chase นั้นปัจจุบันยังเป็นสมาชิกของกลุ่ม blockchain อื่น ๆ อย่างเช่น Enterprise Ethereum Alliance ซึ่งตั้งขึ้นมาภายหลัง รวมถึงมีการลงทุนในสตาร์ทอัพ Axoni กับ Digital Asset Holdings และยังมีส่วนร่วมพัฒนา Hyperledger Project ซึ่งเป็นโครงการนำโดย The Linux Foundation อีกด้วย
สัปดาห์ที่แล้ว ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ร่วมกับ Digital Ventures บริษัท VC ลูกของ SCB ได้จัดงานเสวนา Faster Future FinTech Forum โดยมีสตาร์ทอัพทั้งหมด 10 สตาร์ทอัพจากโครงการ Digital Ventures Accelerator ที่ผ่านการคัดเลือกมา pitch โชว์ภายในงาน ซึ่งมีทั้งสตาร์ทอัพที่เป็น FinTech และไม่ใช่ FinTech เลยเก็บมาฝากกันครับ