Tags:
Node Thumbnail

ความเคลื่อนไหวของร่าง พ.ร.บ. ฟินเทค (ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมการประกอบธุรกิจด้วยเทคโนโลยีทางการเงิน) ขณะนี้คือกำลังอยู่ระหว่างรับฟังความเห็น ผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

หลักการและเหตุผลของร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้คือ เทคโนโลยีการเงินเปลี่ยนเร็ว ไทยควรเปิดรับและฉกฉวยโอกาสในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีทางการเงินอย่างเต็มที่ รวมถึงการดำเนินการให้กฎหมายและกฎเกณฑ์ต่างๆ ให้มีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะรองรับนวัตกรรม และ โมเดลธุรกิจใหม่ๆ เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถเปลี่ยนแปลง ปรับตัว และก้าวข้ามข้อจำกัดต่างๆ ได้ และสาเหตุหลักที่ต้องร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ขึ้นมาคือ กฎหมายที่ยังไม่สอดคล้องกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน เป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจและการทำธุรกรรมด้วยวิธีการทางดิจิทัลและยังเพิ่มต้นทุนทางเศรษฐกิจโดยไม่จำเป็น

No Description
ภาพจาก Pexels

ตัว พ.ร.บ. สามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

ผู้ที่เข้าข่ายเป็นผู้ให้บริการการเงิน

  • สถาบันการเงิน
  • ผู้ประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  • ผู้ประกอบธุรกิจประกันชีวิต และประกันวินาศภัย
  • ผู้ประกอบธุรกิจการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
  • ผู้ได้รับอนุญาตให้ทดลองนวัตกรรม หรือ Regulatory Sandbox

พ.ร.บ. ฉบับนี้กำหนดให้มี คณะกรรมการส่งเสริมการประกอบธุรกิจด้วยเทคโนโลยีทางการเงิน ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ จัดทำแผนส่งเสริมการประกอบธุรกิจด้วยเทคโนโลยีทางการเงิน

  • นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นรองประธานกรรมการ
  • กรรมการโดยตำแหน่ง 7 คน คือ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, ปลัดกระทรวงการคลัง, ปลัดกระทรวงพาณิชย์, ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย, เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์, เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย, ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่เกิน 5 คน นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านเทคโนโลยีและด้านการเงินอย่างน้อยด้านละ 1 คน หรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจด้วยเทคโนโลยีทางการเงิน (วาระ 4 ปี)

การทำธุรกรรมต่อไปนี้ หากทำด้วยรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ถือว่าชอบด้วยกฎหมาย เทียบเท่าได้กับการทำธุรกรรมในระบบปกติ

  • ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน
  • ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินของรัฐ
  • ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชำระเงิน
  • ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คณะกรรมการกำกับตลาดทุน หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  • ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจประกันชีวิต
  • ธุรกรรมเกี่ยวกับหลักทรัพย์
  • การมอบฉันทะให้บุคคลอื่นเข้าประชุมและออกเสียงแทนผู้ถือหลักทรัพย์
  • การประชุมและการออกเสียงลงคะแนนผู้ถือหุ้น
  • ธุรกรรมเกี่ยวกับการเงินการลงทุนอื่นที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

ใน พ.ร.บ. ยังรับรองเรื่องการแสดงตัวตน หรือ KYC (Know Your Customer กระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของบุคคล) สามารถทำด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือแบบ non face to face ได้ แม้จะไม่ได้ไปแสดงตัวตนด้วยตัวเองต่อหน้าผู้ให้บริการทางการเงิน

ด้านความเป็นส่วนตัวและการกำหนดบทลงโทษ เนื้อหาระบุว่าห้ามผู้ให้บริการการเงินเปิดเผยข้อมูลแก่ผู้อื่น หรือนำไปใช้โดยผิดวัตถุประสงค์ และหากข้อมูลนั้นมีการปกปิดตัวตนเบื้องต้น แต่ผู้ให้บริการการเงินและเจ้าหหน้าที่รัฐ ไม่ได้ปกปิดตัวตนเข้าของข้อมูลจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นระบุตัวตนของเจ้าของได้ ก็จะได้รับโทษ

ในการฝ่าฝืนข้อบังคับเรื่องความเป็นส่วนตัวข้อมูลกำหนดโทษสูงสุดคือ จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 3 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ตัวร่าง พ.ร.บ. ฟินเทค ยังอยู่ระหว่างรับฟังความเห็น สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภ เปิดให้เข้าไปแสดงความเห็นผ่านออนไลน์ที่ questionnaire.senate.go.th โดยมีระยะเวลารับฟังความเห็น 15 วัน คือ 30 ส.ค. - 14 ก.ย. 2560

Get latest news from Blognone

Comments

By: Jirawat
Android
on 11 September 2017 - 16:39 #1006769
Jirawat's picture

งานเข้า

By: bucks on 12 September 2017 - 18:31 #1006990

ธนาคารจะปิดสาขาเยอะขึ้นมั้ยเเนี่ย

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 12 September 2017 - 19:30 #1007000
panurat2000's picture

และเจ้าหหน้าที่รัฐ ไม่ได้ปกปิดตัวตนเข้าของข้อมูล

เจ้าหหน้าที่ => เจ้าหน้าที่

เข้าของ => เจ้าของ

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภ เปิดให้เข้าไปแสดงความเห็น

วุฒิสภ => วุฒิสภา