ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดตัวบริการ PromptBiz บริการชำระเงินสำหรับภาคธุรกิจ ที่ทำให้สามารถดำเนินธุรกิจโดยไม่ต้องมีกระดาษได้ ตั้งแต่การวางใบแจ้งหนี้ไปจนถึงการชำระเงิน ล่าช้าจากที่เคยประกาศไว้ว่าจะเปิดบริการเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยบริการนี้มีสองส่วน คือ
ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานถึงการพัฒนามาตรการเพื่อป้องกันการทุจริตทางการเงิน หรือที่มักเรียกกันว่าแอปดูดเงิน โดยพบว่าช่วงต้นปีที่ผ่านมา มูลค่าความเสียหายค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ จนเหลือ 116 ล้านบาทในเดือนเมษายนที่ผ่านมา แต่พอมาถึงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนก็กลับมียอดความเสียหายเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากคนร้ายอาศัยเทคนิคใหม่ๆ
แนวทางใหม่ของคนร้าย เช่น การหลอกลวงด้วยบทใหม่ๆ ที่แนบเนียนขึ้น มีการปลอมตัวเป็นหน่วยงานราชการ, บริษัทขนาดใหญ่, หรือญาติพี่น้อง กระบวนการส่ง SMS นั้นอาศัยแนวทางสร้างเสาสัญญาณโทรศัพท์ปลอมเพื่อส่ง SMS ได้โดยไม่ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ตลอดจนแอปดูดเงินเวอร์ชั่นใหม่ๆ มีความสามาถหลบการตรวจจับโดยธนาคาร
วันนี้ช่วงบ่ายที่ผ่านมาระบบโอนเงินข้ามธนาคารของประเทศไทยเกิดเหตุล่มเป็นเวลานาน ทางธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาระบุว่าเหตุการณ์ครั้งนี้กินเวลานาน 3 ชั่วโมง ระหว่าง 14.00-17.00 น. โดยสาเหตุเกิดจาก “ความขัดข้องของระบบสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์”
เหตุการณ์ครั้งนี้นับเป็นเหตุการณ์ระบบมีปัญหาเป็นวงกว้างที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ในช่วงปีที่ผ่านมา ปัญหามักเกิดเป็นรายธนาคาร
ทางสมาคมธนาคารไทยระบุว่าในกรณีที่ต้นทางโอนเงินออกสำเร็จแต่ปลายทางไม่ได้รับเงินนั้นจะปรับปรุงยอดภายในวันที่ 2 กรกฎาคม เวลา 19.00 น.
ที่มา - แถลงธนาคารแห่งประเทศไทย
ท่ามกลางกระแสข่าวการหลอกโอนเงินด้วยวิธีต่างๆ ของมิจฉาชีพที่เรียกติดปากว่า "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" ซึ่งทางธนาคารแห่งประเทศไทยมีการออกมาตรการ ไปบ้างแล้ว
ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศมาตรการชุดใหญ่ให้ธนาคารนำไปบังคับใช้อย่างเป็นทางการดังนี้
มาตรการป้องกัน
น.ส.สิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุถึงการอัพเดตแอปธนาคารหลายแห่งในช่วงนี้ที่เริ่มตรวจสอบแอปที่ใช้สิทธิ Accessibility และหากพบแล้วจะไม่ยอมให้ใช้งาน ว่าต้องมีเงื่อนไขที่ไม่กระทบผู้ใช้ทั่วไป
การติดตั้งโปรแกรมบนแอนดรอยด์จากนอกสโตร์ผ่านไฟล์ APK และแอปมุ่งร้ายอาศัยสิทธิ์ Accessibility เพื่อควบคุมเครื่องของเหยื่อนับเป็นแนวทางที่คนร้ายใช้งานอย่างต่อเนื่องในช่วงหลังจนเป็นที่เรียกกันว่าแอปดูดเงิน
คุณสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่าทางธนาคารแห่งประเทศไทยเตรียมให้ธนาคารยืนยันตัวตนผู้ใช้เพิ่มเติม หากการใช้งานเข้าข่าย เช่น โอนเงินเป็นจำนวนมาก, โอนเงินความถี่สูง, มีการปรับเพิ่มวงเงิน โดยแอปธนาคารต้องยืนยันตัวตนลูกค้าผ่านมาตรการ biometric อีกครั้ง
ทุกวันนี้แอปธนาคารหลายแห่งแม้จะมีการกำหนดวงเงินในการทำธุรกรรมแบบต่างๆ แต่ก็สามารถปรับเปลี่ยนวงเงินได้โดยใช้ PIN สำหรับเข้าแอปธนาคารและ SMS เพื่อยืนยันตัวตนเท่านั้น ทำให้กรณีแอปดูดเงินต่างๆ นั้นไม่สามารถใช้วงเงินในแอปเพื่อป้องกันคนร้ายได้ เพราะหากคนร้ายหลอกเหยื่อให้ติดตั้งแอปสำเร็จก็สามารถอ่าน SMS เพื่อนำ OTP ไปขยายวงเงินได้อยู่ดี
ธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทยแถลงข่าวถึงกรณีที่มีเหยื่อถูกโจมตีเพื่อดูดเงินออกจากบัญชีจำนวนมาก พบว่ากรณีดังกล่าวไม่ได้เกิดจากสายชาร์จปลอมแต่อย่างใด แต่เหยื่อถูกหลอกให้ติดตั้งมัลแวร์
ทั้งสองหน่วยงานแนะนำประชาชนให้ป้องกันตัวเอง และลดความเสียหาย 5 ข้อ ได้แก่
ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดรับฟังความเห็นแนวทางการอนุญาตให้จัดตั้งธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) โดยเริ่มรับฟังความเห็นตั้งแต่วันนี้จนถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ และน่าจะเริ่มรับสมัครได้ภายในปีนี้ แต่ต้องผ่านกระบวนการคัดเลือกและเตรียมความพร้อม โดยน่าจะเปิดบริการได้จริงกลางปี 2025 เบื้องต้นคาดว่าจะเสนอชื่อต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไม่เกิน 3 ราย
ธนาคารไร้สาขานับเป็นแนวทางที่ธนาคารกลางหลายชาติทั่วโลกอนุญาตให้เปิดบริการในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เช่น สิงคโปร์ออกใบอนุญาตในปี 2020 จำนวน 4 ราย ส่วนเกาหลีใต้นั้นออกใบอนุญาตมาเกิน 5 ปีแล้ว
หลังจากสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้ออกมาตรการบังคับให้มีการยืนยันตัวตนก่อนฝากเงินในเครื่องรับฝากอัตโนมัติ จนกระทั่งผู้ใช้ต้องมีบัตรเดบิตของธนาคารจึงใช้งานได้ ล่าสุด ปปง. และธนาคารแห่งประเทศไทยก็ปรับมาตรการ เป็นการยืนยันตัวตนผ่าน OTP ของโทรศัพท์มือถือโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
มาตรการใหม่นี้ผู้ใช้จะต้องกรอกหมายเลขบัตรประชาชน และหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่หน้าเครื่อง จากนั้นรอรับ OTP เพื่อยืนยันตัวตนก่อนฝากเงิน โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เนื่องจากกสทช.และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ทุกรายได้การสนับสนุน
มาตรการนี้เริ่มวันที่ 1 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป
ธนาคารแห่งประเทศไทยชี้แจงถึงกรณีที่ปปง. มีคำสั่งให้ธนาคารพาณิชย์ต้องยืนยันตัวตนผู้ฝากเงิน ทำให้การใช้ตู้ฝากเงินอัตโนมัติ (CDM) ต้องใช้งานโดยมีบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตเสียก่อน โดยระบุว่ากระบวนการนี้เป็นการทำตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ซึ่งทางปปง. ก็มีข้อชี้แจงออกมาวันนี้
ธนาคารกรุงไทยเผยแพร่เอกสาร ระบุว่าต้องเปลี่ยนแนวทางการให้บริการตู้ฝากเงินสด (CDM) โดยมีการยืนยันตัวตนก่อนฝากเงิน ตามกฎเกณฑ์ของ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ภายใต้โครงการ CDM AMLO
ผู้ฝากเงินสามารถใช้บัตรเดบิตหรือบัตรเครดิตเพื่อยืนยันตัวตนของธนาคารใดก็ได้ 11 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย (ยกเว้นบัตร KTC ตามข้อมูลปัจจุบัน) ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารยูโอบี ธนาคารเกียรตินาคินภัทร ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยผู้ฝากจะไม่เสียค่าบริการยืนยันตัวตน ส่วนค่าธรรมเนียมในการฝากเงินไปยังบัญชีปลายทางต่างธนาคารขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละธนาคาร
วันนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยแถลงข่าวถึงแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงินฉบับที่ 5 สำหรับปี 2022-2024 โดยมี 3 แนวทางสำคัญ คือ Openness ระบบเปิดให้มีการเชื่อมโยงกัน, Inclusivity ขยายการใช้บริการชำระดิจิทัลให้มากขึ้น, Resiliency กำกับดูแลโดยเท่าทันต่อความเสี่ยงยุคดิจิทัล โดยโครงการหนึ่งในการแถลงข่าวครั้งนี้คือจะเปิดบริการ PromptBiz สำหรับธุรกิจ
นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศ (ธปท.) ชี้แจงแนวทางของ ธปท. ต่อเหตุการณ์ระบบแอพมือถือ ttb touch ของธนาคารทีเอ็มบีธนชาตล่มระหว่างวันที่ 1-3 กันยายน 2022
ธปท. ได้สั่งการ 3 ข้อดังนี้
เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเตรียมเริ่มทดสอบเงินบาทดิจิทัล (Retail CBDC) ในวงจำกัดกับประชาชนราวหนึ่งหมื่นคน นับเป็นครั้งแรกที่คนไทยทั่วไปจะได้สัมผัสเงินบาทดิจิทัลกันจริงๆ ผมพูดคุยกับคุณกษิดิศ ตันสงวน ผู้อำนวยการ กลุ่มงานยุทธศาสตร์องค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย ถึงการทดสอบในครั้งนี้ ว่าเรากำลังทดสอบอะไร และเทคโนโลยีต่างๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเลือกใช้งานจะเป็นอย่างไรหากมีการใช้งาน CBDC เป็นการทั่วไปจริงๆ
ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศเชื่อมต่อระบบ QRIS เข้ากับ Thai QR และ NETS QR เปิดทางให้ผู้ใช้สามชาติสามารถจ่ายเงินตามร้านค้าด้วยการสแกนเหมือนกับการจ่ายเงินในประเทศทุกวันนี้
การเชื่อมต่อระหว่างไทยและอินโดนีเซียนั้นเริ่มทดสอบมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2021 ตอนนี้จะเข้าสู้ช่วงอิมพลีเมนต์จริงโดยมีผู้ให้บริการถึง 76 รายจากทั้งสองประเทศเข้าร่วมโครงการ ทำให้สามารถโอนจ่ายเงินค่าบริการต่างๆ ผ่าน QR ได้ทันที และทั้งสองชาติจะร่วมมือกันเพื่อการโอนเงินข้ามประเทศที่รวดเร็วขึ้นเพิ่มความสะดวกให้กับการทำธุรกิจและแรงงานข้ามชาติต่อไป
ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศแผนการทดสอบสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency หรือ CBDC) สำหรับการทำธุรกรรมรายย่อยของประชาชนทั่วไป (Retail CBDC) ถัดจากที่เคยทดสอบ CBDC ในกลุ่มสถาบันการเงินมาช่วงก่อนหน้านี้ (Wholesale CBDC หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อโครงการอินทนนท์ ใครที่สับสนว่ามันคืออะไร ใช่เงินคริปโตหรือไม่ แนะนำให้อ่าน FAQ)
สรุปสถิติข้อมูลแอปพลิเคชั่นของธนาคารขัดข้องหรือล่มที่รวบรวมจากรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในช่วง 6 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2565 มีธนาคารทีเอ็มบีธนชาตครองอันดับหนึ่ง โดยล่มมากถึง 12 ครั้ง รวมเวลา 38 ชั่วโมง ตามมาด้วยธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงเทพ
วันนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีงานแถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินประจำเดือนพฤษภาคม โดยภาพรวมเป็นการติดตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยหลังจากเหตุ COVID-19 ที่การส่งออกฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่ในแถลงมีประเด็นชิปขาดแคลน ทำให้ดัชนีการผลิตสำหรับฮาร์ดิสก์ในประเทศไทยตกต่ำลงอย่างหนัก
นอกจากประเด็นการผลิตฮาร์ดดิสก์ ทางธนาคารแห่งประเทศไทยก็ยังติดตามสถิติจาก Google Mobility ที่แสดงความพื้นตัวของเศรษฐกิจ มีการเดินทางมากขึ้น
ประเด็นชิ้นส่วนขาดแคลนเป็นประเด็นที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่าต้องติดตามสถาณการณ์ ไปพร้อมๆ กับปัญหาเงินเฟ้อ และการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและบริการ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เปิดลงทะเบียนนักศึกษาใหม่ ทำให้กระบวนการลงทะเบียนนักศึกษาใหม่ในปีนี้สามารถทำผ่านระบบออนไลน์ได้ทั้งหมด ตั้งแต่การสร้างบัญชีผู้ใช้, การกรอกประวัติและส่งเอกสาร โดยไม่ต้องเดินทางไปลงทะเบียนที่จุดให้บริการของมหาวิทยาลัยเหมือนเดิม และการยืนยันตัวตนผ่าน NDID เช่นนี้ทำให้นักศึกษาสามารถยืนยันตัวตนได้หากเคยยืนยันตัวตนบนแอปพลิเคชั่นธนาคารใดก็ได้ใน 10 ธนาคารที่ให้บริการยืนยันตัวตนผ่าน NDID
หลังจากทางก.ล.ต. ออกประกาศห้ามไม่ให้ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไปให้บริการชำระค่าสินค้าและบริการ วันนี้ก็มีการแถลงข่าวกับสื่อมวลชนเพิ่มเติมโดยคุณสุรศักดิ์ ฤทธิ์ทองพิทักษ์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายกำกับตลาด ก.ล.ต. และคุณพงศ์ธวัช โพธิกิจ ผู้อำนวยการ ฝ่ายนโยบายระบบการชำระเงิน ธปท. ระบุว่าหากไม่ได้ใช้ตัวกลางเป็นธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลภายใต้กำกับดูแลก็ยังคงเป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่จะทำได้
ทั้งสององค์กรระบุถึงความกังวลว่าจะมีการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อชำระค่าสินค้าหรือบริการเป็นวงกว้าง เช่น การที่ผู้ให้บริการต่างๆ นำระบบไปวางเพื่ออำนวยความสะดวกในการรับชำระค่าสินค้าและบริการ
ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเตรียมออกเกณฑ์การลงทุนของธนาคารพาณิชย์ โดยมีสองประเด็นคือการอนุญาตให้ลงทุนในบริษัทกลุ่มฟินเทคได้ไม่มีเพดาน และกำหนดการลงทุนธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลได้ไม่เกิน 3% ของเงินกองทุน
ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศถึงการกล่าวโทษผู้ให้บริการทางการเงินสองราย คือ บริษัท แมคคาเล กรุ๊พ ฐานไม่ออกใบแจ้งหนี้ และบริษัทอิออน ธนสินทรัพย์ (AEON) ฐานเปิดเผยข้อมูลลูกค้าให้บุคคลอื่นนำไปเสนอขายประกันโดยไม่ได้รับความยินยอม และเมื่อลูกค้าแจ้งไม่รับการติดต่อเพื่อเสนอขายประกันก็ไม่ดำเนินการโดยเร็ว
ไม่ชัดเจนว่าเหตุการณ์ AEON นำข้อมูลลูกค้าไปเสนอขายประกันนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใด และบุคคลอื่นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยพูดถึงนั้นเป็นใคร แต่ปีที่ผ่านมา บริษัท อิออน อินชัวรันส์ เซอร์วิส ที่ให้บริการนายหน้าประกันวินาศภัยและประกันชีวิตก็ได้ประกาศยุติดำเนินกิจการไปตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา
จากข่าวก่อนหน้านี้ที่ คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง สถาบันการเงินและตลาดการเงิน เชิญธนาคารแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มาประชุมเพื่อแก้ปัญหาเรื่อง PayPal
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ลงข่าวอย่างเป็นทางการบนหน้าเว็บไซต์ ว่า PayPal จะเลื่อนกำหนดการปิดระบบวอลเล็ทในไทย 7 มีนาคม ตามแผนเดิม ออกไปก่อน เพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้ใช้งานในระยะสั้น
จากกรณี PayPal จะเปิดรับผู้ใช้ใหม่ในไทยและผู้ใช้งานเก่าต้องยืนยันตัวตนภายใน 18 ก.พ. 65 แต่กลับลำเลื่อนเปิดรับบัญชีใหม่ไม่มีกำหนด และจะปิดระบบวอลเล็ตในไทยจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง ทางแบงก์ชาติไม่นิ่งนอนใจร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งหารือและหาทางช่วยเหลือผู้ใช้งานกรณีที่ PayPal ประเทศไทยหยุดให้บริการชั่วคราว
ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข่าว ธปท. ฉบับที่ 8/2565 แสดงถึงความกังวลและเร่งหารือร่วมกันระหว่างสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ ปปง. และ PayPal ประเทศไทย เพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือผู้ใช้งานและรายย่อยในประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบในช่วงเปลี่ยนผ่าน
ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดรับฟังความเห็นต่อแนวนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีแนวนโยบายที่เสนอไว้ 3 ด้านคือ เทคโนโลยี, ความยั่งยืน, และการกำกับดูแล จุดน่าสนใจคือในหมวดเทคโนโลยีนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยเสนอหลายประเด็น เช่น