เกิดผู้เสียชีวิตจาก Pokemon Go ขึ้นแล้วในญี่ปุ่น โดยตำรวจญี่ปุ่นรายงานว่า Keiji Goo ชายวัย 39 ปีในเมือง Tokushima เล่นเกม Pokemon Go ระหว่างขับรถ และชนเข้ากับผู้หญิง 2 คน ผลคือผู้หญิงวัย 72 ปีเสียชีวิต และอีกคนวัย 60 ปีบาดเจ็บสาหัส
ก่อนหน้านี้ หน่วยงาน National Center of Incident Readiness and Strategy for Cybersecurity (NISC) ของญี่ปุ่น เคยออกคำแนะนำเล่น Pokemon Go อย่างไรให้ปลอดภัย มาแล้วช่วงเกมออกใหม่ๆ
ที่มา - Japan Times
จากเมื่อวานนี้ข่าวระบบเอทีเอ็มของธนาคารออมสินถูกแฮกทำให้เงินถูกขโมยไปกว่า 12 ล้านบาท วันนี้ก็มีข้อมูลเพิ่มเติมจากทางมติชน ระบุว่ามีรายงานว่าธนาคารออมสินได้แจ้งความกับบก.ปอท. ตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา และคนร้ายเริ่มก่อเหตุจากจังหวัดภูเก็ต และขยายไปยังจังหวัดอื่นๆ
ทางด้านพล.ต.อ.ปัญญา มาเม่น จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระบุว่าคนร้ายมี 2-3 ทีมรวมประมาณ 25 คน ปล่อยมัลแวร์โดยใช้ "บัตรอิเล็กทรอนิกส์" (ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงสมาร์ตการ์ดหรือไดร์ฟ USB) เพื่อส่งมัลแวร์เข้าไปในตู้
ระหว่างนี้ธนาคารออมสินยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบมัลแวร์ในตู้อื่นๆ ที่อาจจะเจอมัลแวร์อีกกว่า 200 ตู้ จากที่ยืนยันก่อนหน้านี้แล้วว่าเงินหายไปจากตู้ 21 ตู้
ธนาคารออมสินประกาศปิดบริการเอทีเอ็มบางส่วน หลังเงินหายไปจากตู้เอทีเอ็ม 21 เครื่อง มูลค่า 12,291,000 บาท โดยพบมัลแวร์ในตู้เอทีเอ็มเหล่านั้น
ทางธนาคารยืนยันว่าเงินที่หายไปไม่เกี่ยวข้องกับเงินในบัญชีของลูกค้าแต่อย่างใด
ข้อมูลที่ออกมายังมีไม่มากนัก แต่รูปแบบการโจรกรรมดูจะคล้ายกับการติดตั้งมัลแวร์ในไต้หวันที่อาชญากรขโมยเงินไปได้ถึง 80 ล้านบาท
ที่มา - eFinance
ความคืบหน้าคดีการขโมยเงินของนายพันธ์สุธี มีลือกิจ ฝั่งของธนาคารกสิกรไทย ช่วยเหลือเงินให้นายพันธุ์สุธีเต็มจำนวน 9.8 แสนบาท และเมื่อวานนี้ กสทช. เชิญผู้เสียหายและตัวแทนจาก True เข้าหารือ
ทางบริษัท TrueMove H ยอมรับว่า "การอนุญาตให้เปลี่ยนซิมการ์ดโทรศัพท์ เกิดจากการประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส" โดยจะเพิ่มความเข้มงวดของการตรวจเอกสาร และอบรมพนักงานให้มากขึ้น
นอกจากนี้ TrueMove H ยังเยียวยาผู้เสียหาย โดยให้โทรฟรีเป็นเวลา 1 ปี และมอบโทรศัพท์มือถือให้ 1 เครื่อง
คดีการปลอมแปลงเอกสารของนายนายพันธ์สุธี มีลือกิจ เพื่อนำไปออกซิมการ์ดและรีเซ็ตรหัสผ่านธนาคารออนไลน์จนกระทั่งสามารถโอนเงินออกไปได้ 986,700 บาทมีความคืบหน้าอีกครั้ง เมื่อทางธนาคารกสิกรไทยประกาศช่วยเหลือนายพันธ์สุธีด้วยการรับความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด
ทางธนาคารระบุว่าการโจรกรรมครั้งนี้ไม่ใช่การแฮกระบบไอที แต่เป็นการใช้ช่องทางภายนอก แต่ทางธนาคารก็มีหน้าที่รับผิดชอบส่วนหนึ่งในการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้กับลูกค้ารายอื่น
คดีการขโมยเงินของนายพันธ์สุธี มีลือกิจ ที่ถูกปลอมแปลงข้อมูลเพื่อออกซิมใหม่และรีเซ็ตรหัสธนาคารออนไลน์ จนกระทั่งธนาคารกสิกรไทยต้องปรับนโยบายในการรีเซ็ตรหัสผ่าน ตอนนี้ทาง กสทช. ก็ออกมาระบุว่ากำลังเชิญนายพันธ์สุธี และทางทรู เข้าหารือถึงการเยียวยาในกรณีนี้
เลขาธิการ กสทช. ระบุว่าได้เชิญนายพันธ์สุธี เข้าไปยังสำนักงานกสทช. ในวันจันทร์นี้เวลา 13.30 เพื่อดำเนินการให้ความช่วยเหลือ
ที่มา - @TakornNBTC
Leo Kah Woon และ Nellie Tan Li Koon อดีตสามีภรรยาที่หย่ากันแล้วถูกตั้งข้อหาแฮกคอมพิวเตอร์ของอีกฝ่ายตั้งแต่ปี 2012
ฝ่ายชายคือ Leo Kah Woon ถูกตั้งข้อหาว่าติดตั้งซอฟต์แวร์ keylogger ลงในเครื่อง MacBook Pro เพื่อเข้าดูอีเมลและแชตเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2012 ขณะที่ฝ่ายหญิงถูกตั้งข้อหาว่าขโมยคอมพิวเตอร์ของสามีไปให้นักสืบกู้ข้อมูลออกมา เมื่อเดือนธันวามคม 2012
ทั้งสองกรณีเกิดขึ้นหลังจากฝ่ายหญิงยื่นฟ้องหย่าในเดือนตุลาคม 2012 ส่วนฝ่ายยื่นคัดค้านในเดือนมกราคม 2013 ระหว่างการฟ้องหย่า ผู้พิพากษาแจ้งไปยังอัยการว่าฝ่ายชายระบุว่าถูกภรรยาแฮกคอมพิวเตอร์
เมื่อวานนี้ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม และนายพันธ์สุธี มีลือกิจ พ่อค้าขายเครื่องประดับรถยนต์ใน Facebook เข้าแจ้งความและร้องเรียนต่อ ปอท. (กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยี) ให้ดำเนินการสอบสวนกรณีถูกมิจฉาชีพหลอกเอาข้อมูลออนไลน์สูญเงินเกือบล้านบาท โดยนายพันธ์สุธี เรียก้องให้ธนาคารกสิกรไทย และ True รับผิดชอบกรณีไม่ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง
คำเตือนจากทางองค์กร Better Business Bureau ถึง scam อีเมล์ตัวใหม่ ที่มุ่งเป้าไปที่ผู้เล่น Pokemon Go โดยเฉพาะ
ภายในอีเมล์ดังกล่าวจะมีเนื้อหาประมาณว่า “เนื่องมาจากมีผู้เล่นจำนวนมากได้เข้าใช้งานแอพ Pokemon Go ของทางเรา ทำให้ทางเราจำเป็นต้องใช้เซิร์ฟเวอร์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ส่งผลให้ทางเราไม่สามารถเปิดให้เล่นฟรีได้อีกต่อไป” ซึ่งภายในอีเมล์จะมีระบุต่อว่า account ของเราจะถูกระงับการใช้งานไว้จนกว่าจะยอมรับข้อตกลงจ่ายเงินเป็นจำนวน 12.99 ดอลลาร์ต่อเดือน พร้อมกับลิงก์ไปยังเว็บไซต์สำหรับจ่ายเงินจำนวนดังกล่าว
Tor ได้ชื่อว่าทำเครือข่ายปกปิดตัวตนเพื่อความปลอดภัยไซเบอร์ แต่ก็ไม่สามารถปกปิดการกระทำบางอย่างของผู้ทำงานของ Tor ได้ เมื่อมีข่าวว่านักพัฒนาของ Tor คือ Jacob Appelbaum ข้องเกี่ยวกับการข่มขืนกระทำชำเรา (เป็นข่าวลือมาได้ปีหนึ่งแล้ว) เป็นเหตุให้ Tor ออกนโยบายจัดการเรื่องนี้พร้อมทั้งเปลี่ยนบอร์ดใหม่ด้วย
เหตุเกิดขึ้นหลังจากที่นาย Stephen Cebula อายุ 28 ปี จากซาคราเมนโต รัฐแคลิฟอร์เนีย ได้ส่งข้อความข่มขู่ทาง Blizzard Entertainment เมื่อช่วงวันที่ 2 และ 3 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งชายดังกล่าวถูกจับกุมได้เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมานี้ โดยโทษสูงสุดที่จะได้รับคือ จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ
นาย Su Bin นักธุรกิจชาวจีนถูกศาลแขวงในลอสแอนเจลิสสั่งจำคุก 48 เดือน ปรับอีก 10,000 เหรียญสหรัฐ หลังเจ้าตัวยอมรับสารภาพว่าช่วยเหลือแฮ็กเกอร์ของกองทัพจีน ในการล้วงข้อมูลด้านความมั่นคงจากบริษัทคู่สัญญาของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ
นาย Su ที่ถูกจับเมื่อปี 2014 ในแคนาดา ก่อนถูกส่งตัวมายังสหรัฐ ยอมรับว่าร่วมกับแฮ็กเกอร์อีก 2 คนวางแผนขโมยดีไซน์เครื่องบินของกองทัพ ทั้งเครื่องบินขนส่งทางทหาร C-17 รวมถึงเครื่องบินเจ็ต F-22 และ F-35 ในช่วงปี 2008-2014 โดยรัฐบาลจีนปฏิเสธว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้
ที่มา - Venturebeat
เจ้าหน้าที่ตำรวจใน New Orleans จะมีกล้องติดตัวไว้ตลอดเวลาหรือที่เรียกว่า body camera ประมาณ 1,400 ตัว ซึ่งสามารถนำมาเป็นหลักฐานเวลาเกิดคดีความเหตุการณ์ร้ายต่างๆ แต่การตรวจสอบไฟล์วิดีโอทั้งหมดต้องใช้เวลานานมาก หน่วยงานอัยการใน New Orleans จึงเซ็นสัญญากับ Vū Digital ผู้ให้บริการโซลูชั่นสำหรับ digital content เป็นเวลา 2 ปีในการนำเอาเทคโนโลยีโซลูชั่นมาใช้กับไฟล์วิดีโอที่หน่วยงานตำรวจมี ใช้ระบบอัลกอริทึมจับข้อมูล ตรวจจับใบหน้า เสียง ข้อความเสียงได้
จากความนิยมของ Pokémon GO จนทำให้เทรนเนอร์สาวพบศพแทนที่จะพบ Pokémon ล่าสุดโจรติดอาวุธเริ่มใช้ Pokémon GO เป็นเครื่องมือล่อเทรนเนอร์เพื่อปล้นแล้ว
ผู้ต้องหา 4 ราย อายุตั้งแต่ 16-18 ปี ได้ใช้เกม Pokémon GO ค้นหาเหยื่อในเมือง O’Fallon รัฐ Missouri โดยปล้นเหยื่อไปแล้ว 8-9 ราย ก่อนทั้ง 4 ราย จะถูกจับกุมในเวลาประมาณ 2.00 น. วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม 2559 ตามเวลาท้องถิ่นในรถ BMW สีดำ ซึ่งวิธีการที่ใช้คือคอยดักปล้นเหยื่อตามตำแหน่ง PokéStop ที่คาดว่าได้รับความนิยมที่การะจายอยู่ตามตัวเมือง
หลังจากที่มีการแซวกันมาตลอดเรื่องของการเกิดแก๊งร็อคเก็ต (กลุ่มอาชญากรรมในโลกโปเกมอน) เมื่อเกม Pokemon Go ถูกปล่อยออกมาให้เล่นจริง ล่าสุดเกมนี้ถูกใช้กลายเป็นเครื่องมือของการก่ออาชญากรรมเข้าจริงแล้ว เมื่อตำรวจในรัฐมิสซูรีสามารถจับคนร้ายได้ 4 คน จากการใช้ Pokemon Go หาเหยื่อปล้น
คนร้ายทั้ง 4 คนมีอายุระหว่าง 16-18 ปีสารภาพว่าจะตระเวนหาเหยื่อบริเวณที่เป็นจุด PokeStop บน Pokemon Go ก่อนจะใช้อาวุธปืนจี้เอาทรัพย์สินไป โดยมีเหยื่อที่ถูกจี้แล้ว 8-9 ราย
ทั้ง 4 ถูกตั้งข้อหาชิงทรัพย์และก่ออาชญากรรมโดยมีอาวุธปืนในครอบครอง และทางตำรวจตั้งจำนวนเงินประกันตัวไว้ที่ 100,000 เหรียญสหรัฐ
นับว่าดุเดือดจริงๆ กรณีคลิป Facebook Live ของ Diamond Reynolds ถ่ายทอดสดเหตุการณ์หลังแฟนตัวเองถูกตำรวจยิงจนเสียชีวิต Facebook นำคลิปดังกล่าวออกชั่วคราวโดยให้เหตุผลว่าเป็นความผิดพลาดทางเทคนิค คลิปนั้นกลับมาดูได้โดยมีป้ายคาดเนื้อหามีความรุนแรง และจะไม่ play บนไทม์ไลน์อัตโนมัติจนกว่าผู้ใช้จะกด play
นอกเหนือจากประเด็นความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ กับคนผิวสีแล้ว สปอตไลต์อีกดวงก็หันมาจับจ้องที่ Facebook ทันที สังคมตั้งคำถามว่า Facebook เป็นหน่วยเซนเซอร์เนื้อหาไปตั้งแต่เมื่อไร ล่าสุด Facebook ออกมาแถลงนโยบาย และสำนักข่าว Techcrunch ได้พูดคุยเพิ่มเติมกับทีมงาน Facebook สรุปความสำคัญได้ดังนี้
ช่วงนี้กระแส Pokemon Go กำลังมาแรง ล่าสุดมีข่าวว่า Shayla Wiggins สาวชาวอเมริกันในรัฐไวโอมิง ออกไปตามล่าหาโปเกมอนในแถบแม่น้ำ Big Wind River เพื่อจับโปเกมอนธาตุน้ำ โดยเดินลัดเลาะไปตามชายฝั่ง แต่สิ่งที่เธอพบกลับเป็นศพที่จมน้ำอยู่
เธอแจ้งตำรวจท้องถิ่นและตำรวจก็มาทันที ซึ่งตำรวจสอบสวนเบื้องต้นว่าผู้เสียชีวิตน่าจะเกิดอุบัติเหตุจมน้ำ และไม่มีร่องรอยของการฆาตกรรม
จากเหตุการณ์ที่ผู้หญิงผิวสี Diamond Reynolds ใช้ Facebook Live ถ่ายทอดเหตุการณ์คู่หมั้นของเธอ Philando Castile ถูกตำรวจยิงจนเสียชีวิตบนรถ หลังจากนั้น Facebook ก็ลบคลิปดังกล่าวออก
เหตุการณ์นี้มี 3 ประเด็นใหญ่ที่ควรกล่าวถึง หนึ่งคือ เป็นอีกครั้งที่คนผิวสีถูกตำรวจยิงตาย สอง Facebook กลายเป็นที่พึ่งของคนที่รู้สึกไม่ปลอดภัย และสาม Facebook กลายเป็นด่านเซ็นเซอร์ข้อมูลก่อนออกสู่สังคมไปแล้ว
Sanford Wallace ชาวอเมริกันวัย 47 ปีที่เรียกตัวเองว่า Spam King ถูกศาลสั่งจำคุก 2 ปีครึ่งและปรับอีกหลายแสนเหรียญ ฐานปล่อยสแปมกว่า 27 ล้านครั้งไปยังผู้ใช้บนเฟซบุ๊ก หลังเจ้าตัวยอมรับความผิดต่อศาลเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว โดยศาลสั่งให้ Wallace เข้ารับการบำบัดทางจิตเวช รวมถึงห้ามครอบครองและใช้งานคอมพิวเตอร์หากไม่ได้รับอนุญาตด้วย
Wallace ยอมรับว่าในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2008 ถึงกุมภาพันธ์ 2009 เขาได้บัญชีเฟซบุ๊กกว่า 550,000 บัญชีจากการเปิดหน้าเว็บปลอมกว่า 1,500 เว็บและปล่อยสแปมไปยังบัญชีเฟซบุ๊กเหล่านั้นดังที่กล่าวไปข้างต้น รวมถึงยอมรับว่าละเมิดคำสั่งศาลที่ห้ามเขายุ่งเกี่ยวกับเฟซบุ๊กในปี 2009 ด้วย
EFF (Electronic Frontier Foundation) องค์กรไม่หวังผลกำไรที่ทำด้านสิทธิของผู้ใช้งานไอที ได้เผยข้อมูลจากการศึกษาจนทราบว่าขณะนี้ FBI กำลังร่วมกับ NIST ซึ่งเป็นหน่วยงานออกมาตรฐานอุตสาหกรรมสหรัฐอเมริกา พัฒนาปัญญาประดิษฐ์ที่จะวิเคราะห์ภาพรอยสักเพื่อช่วยในการระบุตัวตนอาชญากร
แนวคิดของโครงการนี้คือการใช้พลังการวิเคราะห์ภาพถ่ายรอยสักเพื่อนำมาทำข้อมูลเฉพาะตัวของอาชญากรแต่ละคน ขั้นตอนแรกของการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์นี้เป็นการใช้ภาพถ่ายรอยสักของผู้ต้องคดีกว่า 15,000 ภาพ มาสอนให้ระบบรู้จักจำแนกแยกแยะลักษณะเฉพาะของรอยสักเหล่านั้น หลังจากนั้นจะเพิ่มจำนวนภาพถ่ายอีกกว่า 100,000 ภาพ โดยนำมาจากฐานข้อมูลของหน่วยงานรัฐใน Florida, Michigan และ Tennessee
ProPublica เว็บไซต์ข่าวเชิงลึกของสหรัฐอเมริกา ตีพิมพ์รายงานชิ้นใหม่ที่เป็นการวิเคราะห์อัลกอริทึมของซอฟต์แวร์ประเมินความเสี่ยงด้านอาชญากรรมจากสถิติ ซึ่งผู้พิพากษาศาลต่างๆ มักจะนำข้อมูลเหล่านี้ (ที่จะออกมาเป็นคะแนนเรียกว่า risk assessment score) มาพิจารณาร่วมกับโทษที่ได้รับทำให้กำหนดโทษที่เหมาะสม โดย ProPublica ระบุว่าตัวซอฟต์แวร์มีความลำเอียงหรืออคติ (bias) ในการประเมินและให้คะแนน
ที่เมืองชิคาโก สำนักงานตำรวจประจำเมืองชิคาโก (Chicago Police Department: CPD) ได้ร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งอิลลินอยส์ (Illinois Institute of Technology: IIT) สร้างระบบอัลกอริทึมซึ่งจะทำนายความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุอาชญากรรม จากเดิมที่อาศัยกระบวนการตรวจตราอย่างเข้มงวดทั่วเมือง หลังจากที่เมื่อปีที่ผ่านมามีคนถูกยิงมากถึง 3,000 คน
เมื่อวานนี้พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ขออนุมัติหมายจับนางสาวหนึ่งนุช ชาญกิจ จากข้อหาทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาตรา 14
ข้อกล่าวหาระบุถึงการแชตระหว่างผู้ใช้เฟซบุ๊ก Burin Intin และ Nuengnuch Chakij โดยผู้ใช้ Burin ได้ลงข้อความเจ้าหน้าที่ระบุว่ามีความผิดอย่างชัดเจน พร้อมกับลงข้อความต่อมาว่า "อย่าว่าผมนะที่คุยแบบนี้" และผู้ใช้ Nuengnuch ได้ตอบกลับว่า "จ้า" เจ้าหน้าที่ระบุว่าหมายถึงการยอมรับ และถูกตีความว่ามีส่วนร่วมในการนำข้อมูลเข้าระบบคอมพิวเตอร์
พนักงานสอบสวนไม่อนุญาตให้ประกันตัวในชั้นสอบสวน
ฝ่ายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และทรัพย์สินทางปัญญา (Computer Crime and Intellectual Property Section) สังกัดกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ร่วมกับอัยการเขต Northern District of Georgia ฟ้องนาย Aaron Blake Buckley ฐานละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา จากการนำแอพพลิเคชันบน Play Store มาปล่อยบน Applanet ซึ่งเป็นสโตร์เถื่อนเป็นระยะเวลากว่า 2 ปี ซึ่งเจ้าตัวก็ยอมรับผิดต่อศาล
นอกจากนาย Buckley แล้ว นาย Gary Edwin Sharp ก็ถูกยื่นฟ้องและยอมรับผิดในข้อหาเดียวกัน ในฐานะผู้มีส่วนร่วมและนำแอพไปปล่อยบน SnappzMarket สโตร์เถื่อนอีกแห่ง โดยทั้งคู่จะถูกตัดสินความผิดในวันที่ 1 สิงหาคมนี้
ทั้งนี้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ รายงานว่ามีแอพพลิเคชันมากกว่ากว่า 4 ล้านแอพถูกดาวน์โหลดผ่าน Applanet คิดเป็นมูลค่ารวมกันกว่า 17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่บน SnappzMarket มีผู้ดาวน์โหลดแอพไปกว่า 1 ล้านรายการ คิดเป็นมูลค่ากว่า 1 ล้าน 7 แสนเหรียญสหรัฐฯ
ที่มา - DoJ via Android Central
จากกรณีพบศพพนักงานแอปเปิลเสียชีวิตในห้องประชุมใหญ่ของบริษัท และเจ้าหน้าที่สืบสวนชั้นต้นยังไม่ลงสาเหตุของการเสียชีวิต ล่าสุดเจ้าหน้าที่สืบสวนของเมืองซานตาคลาราที่เข้ามารับผิดชอบคดีนี้ เผยรายละเอียดของผู้เสียชีวิตแล้ว
ผู้เสียชีวิตคนดังกล่าวคือ Edward Thomas Mackowiak อายุ 25 ปี เป็นชาวเมืองซานตาคลารา ทำงานตำแหน่งวิศวกรซอฟต์แวร์ของแอปเปิล เจ้าหน้าที่สืบสวนได้ระบุสาเหตุหลังชันสูตรศพว่าเป็นการฆ่าตัวตาย โดยใช้อาวุธปืนที่ตกในที่เกิดเหตุยิงเข้าที่หัว แต่ยังไม่ระบุสาเหตุของการฆ่าตัวตาย
ตัวแทนของแอปเปิลเผยว่านี่เป็นเหตุการณ์ที่น่าเศร้าสำหรับบริษัท เพราะบริษัทต้องสูญเสียบุคลากรรุ่นใหม่ไฟแรง อนาคตไกล และมีความสามารถสูงไป
ที่มา - Reuters