Federal Bureau of Investigation
FBI จับกุมและตั้งข้อหากับ Nathaniel Chastian อดีตผู้บริหารของ OpenSea ในตำแหน่ง Head of Product ในมกราคมถึงกันยายน 2021 หลักจากพบว่า Chastian ดักซื้อ NFT หลายโหลก่อนที่จะเอา NFT ของครีเอเตอร์ขึ้นหน้าแรกของเว็บ OpenSea
Chastian มีหน้าที่คัดเลือก NFT ที่จะแสดงแบบเด่น (featured) ของ OpenSea ซึ่งมักทำให้ครีเอเตอร์ที่ได้รับคัดเลือกดังขึ้นอย่างมาก FBI ระบุว่าเขาใช้ข้อมูลการคัดเลือกนี้ ไปแอบกว้านซื้อ NFT อื่นๆ ของครีเอเตอร์ที่กำลังได้รับคัดเลือกไว้ล่วงหน้าด้วยบัญชีลับที่ไม่ระบุตัวตน เพราะงานชิ้นอื่นๆ ก็มักจะราคาขึ้นไปด้วยเมื่อตัวครีเอเตอร์ดังขึ้น ข้อมูลเหล่านี้ทำให้ Chastian ทำกำไร NFT แต่ละชิ้นได้ 2-5 เท่าตัว
หลังการทลายเว็บไซต์ RaidForum ตลาดมืดรายใหญ่สำหรับการขายข้อมูลหลุดและข้อมูลที่ถูกแฮกมา ทาง FBI ก็รายงานว่าทางการสหราชอาณาจักรสามารถจับกุม Diogo Santos Coelho ชาวโปรตุเกสอายุ 21 ปีและกำลังเตรียมส่งตัวไปยังสหรัฐฯ
Coelho ก่อตั้ง RaidForum เมื่อปี 2015 (เขาน่าจะอายุ 14 ปีเท่านั้น) โดยตั้งใจให้เป็นเว็บบอร์ด "ทัวร์ลง" หรือ "raiding" โดยรวมกันส่งข้อความจำนวนมากไปหาเหยื่อ และบางครั้งก็พยายามแจ้งความเท็จเพื่อให้ตำรวจบุกบ้านเหยื่อ แต่ภายหลังก็ปรับมาเป็นตลาดกลางสำหรับการซื้อขายข้อมูลเป็นหลัก แม้ว่าที่จริงแล้วจะมีตลาดมืดสำหรับบริการผิดกฎหมายอื่นๆ ด้วย
Denys Iarmak แฮกเกอร์ชาวยูเครนสมาชิกกลุ่มแฮกเกอร์ FIN7 ถูกตัดสินจำคุก 5 ปีหลักจากถูกจับในประเทศไทยช่วงปลายปี 2019 แม้จะต่อสู่คดีในศาลไทยไม่ให้ส่งตัวไปยังสหรัฐฯ แต่เมื่อเขาต้องขึ้นศาลสหรัฐฯ เมื่อกลางปี 2020 ก็รับสารภาพจนมีการตัดสินครั้งนี้
กลุ่ม FIN7 ปฎิบัติการในช่วงปี 2015 เป็นต้นมา โดยมุ่งเจาะระบบรับชำระเงินหน้าร้าน (point-of-sale) เพื่อขโมยเลขบัตรเครดิต และได้ข้อมูลบัตรไปกว่า 20 ล้านใบ สร้างความเสียหายโดยรวมถึงพันล้านดอลลาร์
FBI แถลงจับกุม Nickolas Sharp อดีตหัวหน้าทีมคลาวด์ (cloud lead) ของบริษัท Ubiquiti ที่ทำงานกับบริษัทตั้งแต่ปี 2018 ถึงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดย FBI ระบุว่า Sharp ขโมยข้อมูลออกจากบริษัทไปเมื่อเดือนธันวาคม 2020 และใช้ข้อมูลเรียกค่าไถ่จากบริษัทเอง
แถลงข่าวจับกุมไม่ได้ระบุชื่อบริษัทโดยตรง แต่เรียกเพียงว่า Company-1 ที่เป็นบริษัทเทคโนโลยีในนิวยอร์ค แต่ก็ตรงกับ Ubiquiti และประวัติของ Sharp เองก็ทำงานกับ Ubiquiti ในช่วงนั้น โดยเมื่อเดือนมกราคมทาง Ubiquiti แจ้งเตือนลูกค้าว่าเซิร์ฟเวอร์พอร์ทัลถูกแฮก
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาผู้ดูแลระบบนับพันรายได้รับอีเมลแจ้งเตือนภัยไซเบอร์โดยส่งมาจากโดเมน ic.fbi.gov ว่าระบบถูกแฮก โดยอีเมลนี้ส่งมาจากเซิร์ฟเวอร์ของ FBI จริง ทำให้ผู้รับอีเมลไม่สามารถแยกแยะได้เลยว่าเมลใดเป็นเมลหลอก
ระบบที่มีช่องโหว่นี้เป็นระบบพอร์ทัลของหน่วยงานบังคับกฎหมายของสหรัฐฯ หรือ Law Enforcement Enterprise Portal (LEEP) สำหรับหน่วยงานต่างๆ มาแชร์ข้อมูลข่าวสารกัน แต่ทาง FBI เปิดให้ใครก็ได้สมัครสมาชิก เมื่อกรอกข้อมูลครบแล้ว ระบบจะส่งอีเมลยืนยันไปยังอีเมลที่ใช้สมัครซึ่งเป็นเรื่องปกติของเว็บจำนวนมาก
FBI, U.S. Cyber Command, และหน่วยงานสอบสวนอีกหลายชาติร่วมมือกับแฮกเซิร์ฟเวอร์ของกลุ่มมัลแวร์เรียกค่าไถ่ REvil เป็นผลสำเร็จ และกำลังตามล่า 0_neday ที่น่าจะเป็นผู้นำกลุ่ม ทาง Reuters อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวระบุว่า FBI แฮกเซิร์ฟเวอร์ของ REvil ได้บางส่วนมาระยะหนึ่งแล้ว ก่อนที่กลุ่ม REvil จะปิดเซิร์ฟเวอร์ไปเมื่อกลางปีที่ผ่านมา และหลังจากนั้นกลุ่มก็เปิดเซิร์ฟเวอร์กลับขึ้นมาใหม่จากไฟล์แบ็คอัพซึ่งถูก FBI เจาะไว้ก่อนแล้ว
FBI จับกุม Jonathan Toebbe วิศวกรนิวเคลียร์ประจำกองทัพเรือสหรัฐฯ พร้อมภรรยา หลังทั้งสองถูกล่อซื้อข้อมูลความลับ โดยเจ้าหน้าที่ FBI เองปลอมตัวเป็นสายลับต่างชาติติดต่อขอซื้อข้อมูล
กระบวนการล่อซื้ออาศัยอีเมลเข้ารหัส โดยมีการติดต่อล่วงหน้าหลายเดือน และเมื่อกลางปีที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ FBI ก็โอนเงินคริปโต 10,000 ดอลลาร์ให้กับ Jonathan เป็นเงินมัดจำ แล้วนัดรับข้อมูล จากนั้นทั้ง Jonathan และภรรยาก็นำข้อมูลใส่การ์ด SD ยัดใส่ในแซนด์วิชเนยถั่ว แล้วนำไปวางที่จุดนัดหมาย ทั้งสองได้รับเงินคริปโตจากการส่งมอบอีก 20,000 ดอลลาร์ เพื่อส่งกุญแจถอดรหัสข้อมูลในการ์ด หลังจากนั้นทั้งสองก็ขายข้อมูลอีกรอบมูลค่า 70,000 ดอลลาร์โดยซ่อนในหมากฝรั่ง
เมื่อวานนี้ตำรวจออสเตรเลียแถลงถึงความสำเร็จของปฎิบัติการ Ironside ที่อาศัยข้อมูลจากโทรศัพท์แชตเข้ารหัส วันนี้เอกสารเกี่ยวกับคดีก็เปิดเผยออกมาเล่าถึงเรื่องราวของการสร้างบริการแชตครั้งนี้
ตำรวจออสเตรเลีย (Australian Federal Police - AFP) ร่วมมือกับ FBI กวาดล้างกลุ่มอาชญากรค้ายาเสพติดวันเดียวจับได้ 224 ราย และกำลังตามจับอีก 526 รายเฉพาะในออสเตรเลีย และยังมีการจับกุมที่เกี่ยวข้องอีก 18 ประเทศ โดยอาศัยการแทรกซึมเข้าไปยังแก๊งค้ายาด้วยการขายโทรศัพท์แชตเข้ารหัส ANoM ในชื่อปฎิบัติการ Ironside
Ironside เริ่มมาตั้งแต่ปี 2018 หลัง AFP ร่วมมือกับ FBI ทลายบริการแชตเข้ารหัส Phantom Secure ที่นิยมในกลุ่มค้ายาเสพติดได้สำเร็จ ทั้งสองหน่วยงานรู้ว่ากลุ่มค้ายาเสพติดจะต้องการบริการแบบเดิมอีกครั้ง เมื่อ FBI ยึดแพลตฟอร์ม ANoM ที่เป็นโทรศัพท์พิเศษที่ติดตั้งแอปแชตเฉพาะกิจได้ จึงให้บริการต่อมาเรื่อยๆ เพื่อเก็บข่าวกรองสำหรับการจับกุม
FBI ประกาศความสำเร็จในการยึดเงินค่าไถ่ข้อมูลที่บริษัท Colonial Pipeline จ่ายให้กับกลุ่มมัลแวร์ DarkSide เพื่อกู้ข้อมูล ได้บิตคอยน์กลับมา 63.7BTC จากที่จ่ายไปทั้งหมด 75BTC
ทาง Colonial Pipeline จ่ายบิตคอยน์รวม 75BTC ไปยังบัญชีที่ลงท้ายว่า jc9fr
เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคมที่ผ่านมา รวมมูลค่า 4.4 ล้านดอลลาร์หรือกว่า 130 ล้านบาท ทาง FBI ติดตามเงินก้อนนี้และพบว่าเงินถูกกระจายไปเรื่อยๆ FBI ไม่เปิดเผยว่าใช้เทคนิคอะไรจึงยึดเงินก้อนนี้ได้ แต่ระบุว่าสามารถดึงเงินเข้าบัญชีลงท้ายว่า fsegq
ที่กุญแจอยู่กับ FBI ได้สำเร็จในวันที่ 27 พฤษภาคมที่ผ่านมา
FBI ออกหมายขอข้อมูล (subpoena) เพื่อขอข้อมูลผู้เข้าอ่านข่าวเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แม้จะถอนหมายออกไปภายหลังก็ตาม
ทาง FBI ระบุว่าต้องการสอบสวนหาคนร้ายผู้ล่วงละเมิดทางเพศเด็กจึงขอข้อมูลจาก USA TODAY อย่างไรก็ดีรัฐบาลโจ ไบเดน เปลี่ยนนโยบายไม่ให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายบีบเอาข้อมูลจากสื่อมวลชน
หมายของ FBI ระบุว่าขอข้อมูลหมายเลขไอพีและข้อมูลระบุตัวตนอื่นๆ ที่เข้าอ่านข่าวที่ระบุภายในช่วงเวลา 35 นาที โดยข่าวที่ FBI ระบุเป็นรายงานถึงเหตุการเข้าจับกุม David Huber แต่เกิดเหตุยิงกันจนเจ้าหน้าที่ FBI เสียชีวิต 2 รายและบาดเจ็บ 3 ราย
USA TODAY ต่อสู้กับหมายเรียกข้อมูลนี้โดยระบุว่า FBI ใช้อำนาจเกินขอบเขตจากการเรียกข้อมูลสำหรับการสอบสวนเอาจากสื่อ
Huffington Post เปิดเผยบันทึกการจับกุม จากเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐฯ หรือ FBI กรณีจับกุม Stephen Chase Randolph ผู้ชุมนุมที่ก่อเหตุทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาสหรัฐฯ (USCP) เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2021 โดยใช้ซอฟต์แวร์ตรวจจับใบหน้า เทียบภาพจากเหตุการณ์กับภาพบนอินเทอร์เน็ต จนพบรูปเขาบน IG ของแฟนสาว ก่อนจะสืบสวนและเข้าจับกุมได้ในที่สุด
เมื่อปี 2016 แอปเปิลและเอฟบีไอมีคดีระหว่างกันจนเป็นเป้าความสนใจของคนทั่วโลก เนื่องจากเอฟบีไอต้องการให้แอปเปิลสร้างเฟิร์มแวร์พิเศษที่ช่วยให้เอฟบีไอปลดล็อกโทรศัพท์ของคนร้ายในคดีกราดยิงเมือง San Bernardino แอปเปิลต่อสู้กับเอฟบีไอทั้งในศาลและในสื่อด้วยการออกจดหมายเปิดผนึกต่อสาธารณะ แต่คดีกลับจบไปง่ายๆ เพราะเอฟบีไอหาทางปลดล็อกไอโฟนเครื่องดังกล่าวได้เองทำให้ถอนคดีไป และไม่มีใครรู้ว่าใครเป็นคนปลดล็อกไอโฟนเครื่องดังกล่าวให้เอฟบีไอ
ศาลใน Houston ได้อนุมัติให้ FBI ปฏิบัติการคัดลอกและลบ backdoor จากเซิร์ฟเวอร์ Microsoft Exchange นับร้อยในสหรัฐฯ ซึ่งเป็น backdoor ที่ติดตั้งโดยใช้ช่องโหว่ภายในซอฟต์แวร์ Exchange ที่ Microsoft เพิ่งออกแพทซ์ไป
FBI ประกาศการจับกุม Sebastien Vachon-Desjardins ชายชาวแคนาดาที่ถูกระบุว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังมัลแวร์เข้ารหัสเรียกค่าไถ่ NetWalker หลังสามารถติดตามเว็บที่ซ่อนไอพีอยู่หลังเครือข่าย Tor
NetWalker เป็นมัลแวร์ที่มีความสามารถสูง มันจะไม่เข้ารหัสเครื่องของเหยื่อทันทีแต่ค่อยๆ เจาะระบบไปเรื่อยๆ จนกว่าผู้ควบคุมจะพอใจว่าได้ข้อมูลมากพอ บางครั้งอาจจะเจาะระบบของเหยื่อไปนานหลายสัปดาห์จึงเข้ารหัสและทิ้งข้อความเรียกค่าไถ่ ตัวมัลแวร์เองเป็นบริการ Ransomware-as-a-Service ที่เปิดให้คนร้ายไปหาเหยื่อเพื่อปล่อยมัลแวร์เข้าไปในองค์กร หากได้ค่าไถ่ก็จะแบ่งกันระหว่างผู้พัฒนามัลแวร์กับคนที่หาเหยื่อมาได้
แม้ Parler แอปโซเชียลขวาจัด จะถูกเพ่งเล็งอย่างหนัก หลังม็อบบุกรัฐสภาสหรัฐฯเมื่อวันที่ 6 ม.ค. ที่ผ่านมา จน FBI ถึงขั้นมาสอบสวนแพลตฟอร์มนี้ด้วย แต่ม็อบก็คงไม่ใช้ Parler เป็นช่องทางเดียวในการพูดคุยเพื่อก่อม็อบ ล่าสุด FBI ออกมาเปิดเผยว่า ม็อบก็ใช้ Facebook Messenger เป็นช่องทางประสานงานด้วยเช่นกัน
Ticketmaster บริษัทขายตั๋วในสหรัฐฯ ยอมความกับ FBI หลังถูกดำเนินคดีเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต ด้วยการซื้อตัวพนักงานบริษัทคู่แข่ง แล้วเอารหัสผ่านระบบหลังบ้านของคู่แข่งมาให้ผู้บริหารของ Ticketmaster เข้าไปสำรวจได้ว่าคู่แข่งมีใครเป็นลูกค้าบ้าง
FBI ออกหนังสือเวียนแจ้งเตือนว่าคนร้ายกำลังไล่สแกนหา SonarQube อย่างต่อเนื่องจนสามารถเข้าถึงซอร์สโต้ดขององค์กรรัฐและเอกชนได้แล้วหลายแห่ง โดย FBI เริ่มพบคดีซอร์สโค้ดหลุดตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา และมีการนำซอร์สโค้ดมาเปิดเผยต่อสาธารณะเมื่อเดือนสิงหาคมจนทาง SonarQube ต้องออกมาแจ้งเตือน
SonarQube เป็นซอร์ฟแวร์สแกนหาช่องโหว่ความปลอดภัยแบบโอเพนซอร์สที่ได้รับความนิยมสูงขึ้นในช่วงหลัง ตัวเซิร์ฟเวอร์ SonarQube จะเก็บซอร์สโค้ดทั้งหมดของโครงการที่มันสแกนเอาไว้ หาก SonarQube ถูกเจาะจึงเท่ากับคนร้ายเห็นซอร์สโค้ดทั้งโครงการ
FBI ออกประกาศเตือนชาวอเมริกันเรื่องการใช้เครือข่ายไร้สายในโรงแรมสำหรับการทำงานระยะไกลว่า Wi-Fi โรงแรมมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการใช้งานสูงกว่า Wi-Fi ในบ้านมาก
ตั้งแต่สถานการณ์ COVID-19 ที่หลายพื้นที่ต้องล็อกดาวน์เมืองและประกาศมาตรการเว้นระยะห่างและลดความหนาแน่นของประชากรทำให้พนักงานออฟฟิศหลายคนต้องหาที่ทำงานนอกออฟฟิศ ช่วงแรกหลายคนอาจเลือกทำงานที่บ้าน แต่หลังจากหลายประเทศคลายล็อกดาวน์แล้วพนักงานออฟฟิศอาจเริ่มหาที่ทำงานใหม่ ประกอบกับช่วงนี้โรงแรมกำลังขาดนักท่องเที่ยวจึงนิยมออกแพคเกจใช้ห้องในเวลากลางวันเพื่อดึงดูดผู้ที่ต้องการหาที่ทำงานที่เงียบสงบ ทำให้เทรนด์การทำงานช่วงนี้เริ่มหันไปหาโรงแรมมากขึ้น
หลังการแฮกบัญชีคนดังบน Twitter ครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง จบลงด้วยสาเหตุที่พนักงานซัพพอร์ทถูกหลอกแบบ social engineering
ล่าสุด FBI ในซานฟรานซิสโกเปิดเผยว่าเริ่มสอบสวนกรณีนี้แล้ว โดยขอยังไม่ให้รายละเอียดหรือคอมเมนท์ใด ๆ เช่นเดียวกับผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก ที่ระบุว่าสั่งให้หน่วยงานด้านการบริการทางการเงินของมลรัฐเริ่มสอบสวนเรื่องนี้ด้วย เพราะการแฮกเพื่อหวังผลประโยชน์ทางการเงินเช่นนี้ อาจเป็นฝีมือของต่างชาติ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลปลอมและหวังผลทางการเมืองในช่วงใกล้เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐแบบนี้
สำนักงข่าวรอยเตอร์อ้างแหล่งข่าวไม่ระบุตัวตน 6 คน ระบุว่าแอปเปิลยกเลิกแผนที่จะให้บริการสำรองข้อมูลบน iCloud โดยเข้ารหัสแบบ end-to-end ที่จะทำให้แอปเปิลเองไม่สามารถอ่านข้อมูลใดๆ ได้ หลังจากที่ FBI แสดงความไม่เห็นด้วยเนื่องจาก FBI จะขอข้อมูลไม่ได้เช่นกัน
โครงการนี้แบ่งเป็นสองโครงการคือ Plesio และ KeyDrop มีผู้เชี่ยวชาญทำงานรวมกันประมาณสิบคน แหล่งข่าวระบุว่าผู้เชี่ยวชาญทั้งหมดหยุดพัฒนาโครงการนี้ไปแล้ว
ในสหรัฐฯ ผู้ต้องสงสัยมีสิทธิ์ไม่ให้การที่เป็นโทษต่อตัวเอง รวมถึงไม่ตอบคำถามของตำรวจเช่นเมื่อตำรวจขอรหัสผ่านโทรศัพท์ แต่คดีภาพอนาจารเด็กล่าสุดแสดงให้เห็นว่าการใช้ข้อมูลชีวมิติ (biometric) นั้นอาจได้รับความคุ้มครองต่างจากรหัสผ่านในสหรัฐฯ เพราะ FBI สามารถให้ผู้ต้องสงสัยมองโทรศัพท์ตัวเองเพื่อปลดล็อกโทรศัพท์ได้
คดีนี้เป็นการติดตามคดีภาพอนาจารเด็กที่ประกาศในเว็บไซต์ Craiglist โดย FBI ได้รับหมายค้นไปยังบ้านของ Grant Michalski ผู้ต้องสงสัยและพบโทรศัพท์ iPhone X ในบ้าน และให้ผู้ต้องสงสัยมองโทรศัพท์เพื่อปลดล็อก จากนั้นจึงสำรวจข้อมูลในโทรศัพท์
FBI แจ้งเตือนธนาคารเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า แก๊งทำสำเนาบัตรเครดิตเตรียมถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็มพร้อมกันทั่วโลก ในชื่อปฎิบัติการ "unlimited operation"
การแจ้งเตือนของ FBI ระบุว่าผู้ออกบัตรรายหนึ่งถูกโจมตีด้วยมัลแวร์ทำให้แฮกเกอร์สามารถขโมยข้อมูลบัตรออกไปได้ และคาดว่ากลุ่มแฮกเกอร์จะนัดแนะกันนำบัตรไปถอนเงินตามตู้เอทีเอ็มเร็วๆ นี้
การโจมตีเพื่อถอนเงินสดจากตู้เอทีเอ็มทำให้แฮกเกอร์สามารถสร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ มูลค่าความเสียหายแต่ละครั้งเริ่มตั้งแต่หลายแสนดอลลาร์ไปจนถึงหลายล้านดอลลาร์
ประกาศแจ้งเตือนของ FBI ยังระบุให้ธนาคารควรปรับมาตรการความปลอดภัยไซเบอร์ เช่น เพิ่มการล็อกอินหลายขั้นตอน, ตรวจสอบยอดเงินในบัญชีสำคัญ, และมอนิเตอร์เครือข่ายสม่ำเสมอ
ถึงแม้ประเด็นข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้เฟซบุ๊กกับ Cambridge Analytica จะเงียบลงไปแล้ว แต่ในแง่ของกระบวนการด้านกฎหมายในสหรัฐยังคงดำเนินการกันอยู่ และล่าสุดมีหน่วยงานภาครัฐได้แก่ FBI, SEC (กลต. สหรัฐ) และ FTC เข้ามาร่วมวงกับกระทรวงยุติธรรม (Department of Justice) เพื่อสอบสวนเรื่องนี้ด้วย
สิ่งที่ FBI สนใจคือประเด็นอะไรบ้างที่เฟซบุ๊กได้รับเมื่อ 3 ปีที่แล้ว (ปี 2015 ที่เฟซบุ๊กได้รับข้อมูลว่ามีข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้ถูกส่งต่อไปให้ Cambridge Analytica) และเหตุใดบริษัทถึงไม่แจ้งเรื่องนี้ให้ผู้ใช้และนักลงทุนทราบ ขณะที่ FTC เคยระบุเมื่อเดือนมีนาคมว่ากำลังสอบสวนเฟซบุ๊ก เรื่องการละเมิดความเป็นส่วนตัว ส่วนด้าน SEC ไม่มีข้อมูลว่าสอบสวนในประเด็นใด
แอปเปิลเตรียมออกอัพเดตให้ iOS 12 ปิดการใช้งานพอร์ต data ของ iPhone หลังล็อคเครื่องไปแล้ว 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการแฮ็กข้อมูลในเครื่อง
ก่อนหน้านี้เคยมีข่าว หน่วยงานภาครัฐอย่าง FBI ขอให้แอปเปิลปลดล็อค iPhone ที่เป็นของกลางในคดีอาชญากรรมอยู่หลายครั้ง ซึ่งแอปเปิลไม่ยอมเพราะชูเรื่องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ และพยายามเข้ารหัสให้หนาแน่นมากขึ้นเรื่อยๆ ทางออกของหน่วยงานด้านสืบสวนสอบสวนจึงเป็นการซื้อเครื่องมือแฮ็กระบบ iPhone จากบริษัทอื่นมาใช้งาน