เว็บอีคอมเมิร์ซ Temu ในสหรัฐอเมริกา หยุดขายสินค้าที่ส่งจากประเทศจีนเข้ามายังสหรัฐโดยตรง เหลือแต่สินค้าที่อยู่ในโกดังในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น โดยสินค้าที่ส่งจากจีนจะขึ้นว่า out of stock
การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจาก รัฐบาล Donald Trump ยกเลิกกฎ de minimis ที่เป็นการยกเว้นภาษีให้สินค้ามูลค่าต่ำ ไม่เกิน 800 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นกฎที่มีมายาวนานตั้งแต่ยุคไปรษณีย์ แต่กลับกลายเป็นช่องว่างทางกฎหมายให้ส่งสินค้าจากจีนเข้าไปขายยังประเทศต่างๆ แบบไม่ต้องเสียภาษี
เครือ CP เปิดตัว Amaze Super App (อเมซ ซูเปอร์แอป) แอปชอปปิ้งที่ทำหน้าที่เหมือนเป็นกระเป๋าพอยท์ รวมพอยท์จากหลาย ๆ บริการ เพื่อให้ผู้ใช้งานนำพอยท์ไปซื้อของบนแพลตฟอร์มได้ง่าย ๆ แทนการใช้เงินสดแบบเดิม
CP บอกว่า จุดเด่นของ Amaze คือการเป็นแพลตฟอร์มที่ให้ผู้ใช้แลกพอยท์จากบริการในเครือข้ามไปมาได้ หรือจะนำพอยท์มาแลกใน Amaze เพื่อใช้ซื้อสินค้าจากกว่า 500 ร้านค้า มากกว่า 100,000 รายการ ภายในแอปได้ โดยไม่เสียเงินแม้แต่บาทเดียว ซึ่งยังไม่มีแอปไหนในไทยที่ทำได้แบบนี้
เครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) เปิดตัวแอพช็อปปิ้งตัวใหม่ชื่อ Amaze Super App ชูจุดเด่นเรื่องการรวมคะแนนสะสมหรือ "พอยท์" จากทุกบริการในเครือ CP เช่น All Point (7-Eleven), My Lotus's, Makro Pro Point, True Point รวมถึงพอยท์จากพาร์ทเนอร์บัตรเครดิตต่างๆ เช่น KrungSri, FirstChoice, POINTX, UOB, BBL, GSB, KBank
การรวมพอยท์ของ Amaze Super App ใช้วิธีแปลงพอยท์จากบริการต่างๆ มาเป็น Amaze Point เพื่อใช้จ่ายแทนเงินสด สั่งสินค้าภายในแอพ รวมถึงใช้พอยท์สั่งสินค้าจาก 7-Eleven และ Lotus's มาส่งที่บ้านได้ด้วย
Amaze Super App ให้บริการโดย บริษัท แอสเซนด์ คอมเมิร์ซ จำกัด ในเครือเจริญโภคภัณฑ์
ที่มา - Amaze, ข่าวประชาสัมพันธ์
Shein และ Temu แพลตฟอร์มซื้อสินค้าราคาถูกจากประเทศจีน เริ่มขึ้นราคาสินค้าที่ขายในสหรัฐอเมริกาแล้ว หลังสหรัฐยกเลิก de minimis หรือข้อยกเว้นภาษีสำหรับสินค้าราคาต่ำกว่า 800 ดอลลาร์ ซึ่งกลายเป็นช่องว่างทางกฎหมายให้นำเข้าสินค้าราคาถูกจากจีนได้ โดยเป็นการขึ้นราคาล่วงหน้าก่อนข้อยกเว้น de minimis จะถูกยกเลิกจริงวันที่ 2 พฤษภาคม 2025
ทั้ง Shein และ Temu มีประกาศแจ้งลูกค้าทราบบนหน้าเว็บ ว่าสินค้าจะต้องขึ้นราคาจากเดิมจากกฎระเบียบด้านภาษีที่เปลี่ยนไป แต่ก็ไม่ได้ให้ตัวเลขว่าเป็นเท่าไร
Reverb แพลตฟอร์มซื้อขายเครื่องดนตรี ซึ่งมี Etsy เป็นเจ้าของ ประกาศว่าบริษัทจะออกมาเป็นบริษัทอิสระอีกครั้ง หลัง Etsy ตกลงขายธุรกิจนี้ให้กับกลุ่มนักลงทุนคือ Creator Partners และ Servco โดยไม่ได้เปิดเผยมูลค่าของดีลนี้
Etsy ซื้อกิจการ Reverb มาตั้งแต่ปี 2019 ที่มูลค่า 275 ล้านดอลลาร์
David Mandelbrot ซีอีโอ Reverb บอกว่าดีลนี้ทำให้แพลตฟอร์มได้เจ้าของใหม่ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจงานสร้างสรรค์และดนตรีมากขึ้น โดย Creator Partners เป็นบริษัทการลงทุนที่เน้นธุรกิจเกี่ยวกับดนตรีเช่น BMI, SoundCloud, Colors+Studios ส่วน Servco เป็นเจ้าของบริษัทกีต้าร์ Fender
ที่มา: Reverb
Amazon เปิดตัว "Interest" ฟีเจอร์ใหม่ที่แนะนำสินค้าใหม่ด้วย AI ให้ตรงกับความสนใจของลูกค้าหรืองานอดิเรกที่ทำ โดย Amazon ยกตัวอย่างว่าลูกค้าอาจต้องการ gadget สำหรับการถ่ายภาพรุ่นล่าสุด, สินค้าที่ระลึกศิลปินที่ติดตาม หรืออุปกรณ์กีฬาตัวใหม่ ทั้งหมดนี้ Interest สามารถเข้ามาแนะนำสินค้าให้ตรงใจมากขึ้น
ผู้ใช้งานสามารถกำหนดสิ่งที่สนใจ โดยการเขียน prompt ระบุรายละเอียด งบจำกัด ไปจนถึงรายละเอียดอื่น เช่น "Brewing tools and gadgets for coffee lovers" หรือ "Model building kits and accessories for hobbyist engineers and designers" จากนั้น Interest จะค้นหาและแนะนำสินค้าใหม่ให้
Interest เริ่มทดสอบกับลูกค้าในอเมริกากลุ่มจำกัดก่อน จากนั้นจะทยอยขยายไปทั่วประเทศ
ทำความรู้จักแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ สำหรับ B2B ชื่อ "แบ่งเบา" (Bangbow Platform) เตรียมเปิดตัวให้ใช้งานได้ในเดือนมีนาคมนี้ หลังทดลองระบบกับผู้ประกอบการ SMEs มาปีกว่า ด้วยการตลาดแบบไฮบริด คือการใช้ทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อเชื่อมต่อผู้ประกอบการไทย และตัวแทนทั่วประเทศ
ผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์มระบุว่าจะไม่เก็บค่า GP กับผู้ประกอบการตลอดชีพ แต่จะคิดเงินจากค่าพื้นที่สำหรับวางสินค้าบนแพลตฟอร์ม โดยจะเก็บค่าบริการเพื่อวางสินค้า 5 หน่วยขึ้นไป เดือนละ 2,500 บาท หรือปีละ 10,000 บาท
การทำงานของแพลตฟอร์มแบ่งเบา แบ่งได้ ดังนี้
รายงานจาก IDC คาดว่าตลาดอีคอมเมิร์ซในอาเซียน (อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม) จะโตขึ้นเป็นประมาณ 11.21 ล้านล้านบาท ภายในปี 2028 จากการชำระเงินดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสัดส่วนจะอยู่ที่ 94% ของการชำระเงินทั้งหมด
ส่วนสถิติสำคัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยมีดังนี้
การเปลี่ยนแปลงของส่วนแบ่งการชำระเงินสำหรับธุรกรรมอีคอมเมิร์ซ ระหว่างปี 2023-2028 เป็นดังนี้: บริการซื้อก่อน จ่ายทีหลัง (+3%), กระเป๋าเงินมือถือ (0%), ระบบชำระเงินในประเทศ (+4%), บัตร (+1%), อื่นๆ (-7%)
เมื่อวานนี้ Walmart เชนร้านค้าปลีกรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา รายงานผลประกอบการประจำไตรมาส ซึ่งตัวเลขที่ออกมากลายเป็นประเด็นเล็ก ๆ ในวงการค้าปลีกสหรัฐ
Walmart รายงานว่าบริษัทมีรายได้รวม 180,554 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 4.1% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน ตัวเลขนี้ถูกนำไปเปรียบเทียบตัวเลขผลประกอบการไตรมาสล่าสุดของ Amazon ซึ่งมีธุรกิจหลักเป็นค้าปลีกเช่นกันแต่อยู่บนออนไลน์ โดยมีรายได้รวม 187,792 ล้านดอลลาร์ กลายเป็นไตรมาสแรกในประวัติศาสตร์ของ Amazon ที่บริษัทมีรายได้มากกว่า Walmart
ในคำสั่งประธานาธิบดีของ Donald Trump ที่ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากแคนาดาและเม็กซิโก 25% และจีน 10% มีประเด็นที่น่าสนใจคือ คำสั่งนี้ครอบคลุมเรื่องสินค้ามูลค่าต่ำ (ภาษาในวงการคือ de minimis) ซึ่งเดิมทีได้รับการยกเว้นภาษีเป็นพิเศษตามข้อตกลงด้านไปรษณีย์สากลที่มีมาตั้งแต่ทศวรรษ 1930s แต่คราวนี้ Trump จะเก็บภาษีทุกกรณีแล้ว
Meta ประกาศว่าจะอนุญาตให้ eBay แสดงข้อมูลสินค้าได้บน Facebook Marketplace ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเลือกดูค้นหาและทำคำสั่งซื้อหรืออื่น ๆ ได้เลยกับ eBay ภายในแอป อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงนี้มีผลเฉพาะในยุโรปและอเมริกาเท่านั้น โดยจะทดสอบที่ฝรั่งเศส เยอรมนี และอเมริกา
เหตุผลหนึ่งที่น่าจะทำให้ Meta อนุญาตให้ eBay แสดงข้อมูลสินค้าได้บนแพลตฟอร์ม เนื่องจากสหภาพยุโรปได้สั่งปรับเงิน Meta 797 ล้านยูโร เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว จากประเด็นที่ Facebook ถูกกล่าวว่าใช้ข้อได้เปรียบบางอย่างใน Facebook Marketplace เหนือคู่แข่งที่อยู่บนมาร์เกตเพลส โดย Meta ก็ได้ยื่นอุทธรณ์
Bukalapak บริษัทอีคอมเมิร์ซของอินโดนีเซีย ประกาศแผนหยุดให้บริการมาร์เกตเพลสในการซื้อขายสินค้าจับต้องได้ (Physical Goods) และโฟกัสเฉพาะมาร์เกตเพลสของสินค้า Virtual เช่น บริการเติมเงินมือถือ, เติมค่าไฟฟ้าล่วงหน้า, เติมเงินเกม, จ่ายบิลค่าบริการ เป็นต้น
บริษัทบอกว่าจะรับคำสั่งซื้อสินค้าไปจนถึง 9 กุมภาพันธ์ 2025 ส่วนฝั่งผู้ขายต้องจัดส่งสินค้าให้เสร็จก่อนวันที่ 2 มีนาคม
TikTok Shop รายงานว่าในปี 2024 ร้านค้าและแบรนด์ไทยโตขึ้น 8 เท่าจากปีก่อน โดยยอดออเดอร์คำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นกว่า 7.8 เท่า และ 70% ของยอดขาย (GMV) มาจากครีเอเตอร์ไทยใน TikTok Shop
นอกจากนี้ TikTok บอกว่า 3 ปัจจัยหลักที่ทำให้ร้านค้าและแบรนด์ไทยโตอย่างก้าวกระโดดในปีที่ผ่านมีาดังนี้:
Alibaba Group ประกาศทำข้อตกลงขายหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่ใน Sun Art Retail Group ที่ทำธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ต RT-Mart และ Auchan เป็นเงิน 1.31 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง (1.7 พันล้านดอลลาร์) ให้กับบริษัทการลงทุน DCP Capital ของจีน โดย Alibaba จะบันทึกขาดทุนจากการขายหุ้น Sun Art 1.8 พันล้านดอลลาร์
เมื่อเดือนที่แล้ว Alibaba ได้ตกลงขายธุรกิจห้างสรรพสินค้า Intime แบบขาดทุน ซึ่งเป็นไปตามกลยุทธ์ที่ต้องการโฟกัสเฉพาะธุรกิจอีคอมเมิร์ซ จึงทยอยขายธุรกิจค้าปลีกออฟไลน์ออกไป
Alibaba Group ได้ทำข้อตกลงกับ E-Mart เชนค้าปลีกรายใหญ่ในเกาหลีใต้ เพื่อควบรวมแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ให้บริการในประเทศของสองบริษัทเข้าด้วยกัน
โดย AliExpress ที่เป็นบริษัทในเครือ Alibaba กับ Gmarket ของ E-Mart ได้ตั้งบริษัทร่วมทุน ถือหุ้นฝั่งละ 50% จากนั้นจะเปลี่ยนธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาเป็น Gmarket ทั้งหมด มูลค่ากิจการของบริษัทร่วมทุนใหม่นี้อยู่ที่ประมาณ 4 พันล้านดอลลาร์
Alibaba Group เปิดเผยว่ากลุ่มบริษัทได้ตกลงขายธุรกิจห้างสรรพสินค้าในจีน Intime โดยจะบันทึกขาดทุนจากดีลนี้ 1,300 ล้านดอลลาร์ โดยการขายธุรกิจห้างสรรพสินค้านี้ เพื่อเป็นไปตามการปรับกลยุทธ์บริษัทที่จะโฟกัสธุรกิจหลักอีคอมเมิร์ซ
Amazon เริ่มให้บริการขายรถยนต์ออนไลน์ Amazon Autos โดยเริ่มจากรถยนต์แบรนด์ Hyundai กับลูกค้าในสหรัฐอเมริกา ตามที่เคยประกาศไว้เมื่อ 1 ปีก่อน
การขายรถยนต์ออนไลน์ของ Amazon ไม่ใช่การขายตรงจากบริษัท Hyundai เอง แต่เป็นการนำรถยนต์ของดีลเลอร์ในแต่ละพื้นที่มาขึ้นระบบออนไลน์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าค้นหาตัวเลือกรุ่นรถยนต์ สี ออพชั่นที่ต้องการ การสั่งซื้อ จ่ายเงิน ไฟแนนซ์ และเลือกวิธีรับรถที่ตัวเองสะดวก กระบวนการทั้งหมดทำผ่านหน้าเว็บของ Amazon ที่ลูกค้าคุ้นเคยอยู่แล้ว และช่วยแก้ปัญหาเรื่องการต่อรองราคากับดีลเลอร์ต่างๆ เพราะเป็นราคาขายจริงบนหน้าเว็บ Amazon ที่ทุกคนเห็นเหมือนกันหมด เพิ่มความโปร่งใสให้กระบวนการซื้อรถยนต์
Amazon ประกาศเข้าสู่ธุรกิจขายรถยนต์ออนไลน์ในชื่อ Amazon Autos ให้ลูกค้าสามารถค้นหา และออกคำสั่งซื้อรถยนต์หรือรถบรรทุกได้ผ่านดีลเลอร์
ในช่วงแรก Amazon Autos ยังจำกัดเฉพาะรถยนต์ของ Hyundai ขายใน 48 เมืองทั่วสหรัฐอเมริกา ตามดีลเลอร์ของ Hyundai ที่มี โดยจะเพิ่มรถยนต์ค่ายอื่น และเพิ่มเมืองที่ให้บริการภายในปี 2025 ต่อไป
บทบาทของ Amazon จะเป็นตัวกลางให้ลูกค้าค้นหาดีลเลอร์และรถยนต์รุ่นที่ต้องการ รวมทั้งกระบวนการออกสินเชื่อ ลายเซ็นดิจิทัลสัญญาซื้อขาย ส่วนการรับรถยนต์สามารถตกลงกับดีลเลอร์ได้เมื่อขั้นตอนทำสัญญาเสร็จสิ้น นอกจากนี้ Amazon ยังรองรับการนำรถยนต์มือสองมาขายเพื่อทำส่วนลดด้วย
Perplexity ผู้พัฒนาบริการค้นหาข้อมูลด้วย AI ประกาศเพิ่มเครื่องมือ ผู้ช่วยค้นหาข้อมูลสินค้าเพื่อประกอบการเลือกซื้อ โดยมีเป้าหมายให้ผู้ใช้งานได้คำตอบที่ตรงจุด ง่าย และสนุก โดยบริการนี้มีผลเฉพาะผู้ใช้งานเสียเงินแบบ Pro ในอเมริกาเท่านั้น
ในการทำงานนั้น เมื่อผู้ใช้งานค้นหาสินค้าตามเงื่อนไขที่ต้องการ Perplexity จะแสดงรายละเอียดสินค้าที่ตรงกับความต้องการ พร้อมข้อมูลสรุปประกอบการตัดสินใจ โดยมีปุ่ม Buy with Pro เพื่อทำคำสั่งซื้อทันทีแบบไม่มีค่าส่ง ทำให้ทุกอย่างจบในที่เดียว แต่หากร้านค้านั้นยังไม่รองรับ Buy with Pro ลิงก์จะเชื่อมต่อไปที่เว็บไซต์ของร้านค้านั้น
Amazon เปิดตัวหน้าร้านใหม่ Amazon Haul ซึ่งนิยามว่าเป็นร้านขายสินค้าราคาถูกอย่างบ้าคลั่ง (Crazy Low Price) เพื่อแข่งขันกับอีคอมเมิร์ซจากจีนอย่าง Temu และ Shein ตามแผนที่บริษัทเคยบอกก่อนหน้านี้
Amazon Haul สามารถเข้าได้ผ่านทางแอปมือถือหรือเว็บไซต์บนมือถือสำหรับลูกค้าในสหรัฐอเมริกา สินค้าที่ขายมีครบทุกหมวดหมู่ไม่ว่าจะเป็น แฟชัน ของใช้ในบ้าน ไลฟ์สไตล์ อิเล็กทรอนิกส์ การันตีว่าเป็นสินค้าที่ราคาถูก ไม่เกิน 20 ดอลลาร์ต่อชิ้น เฉลี่ยต่ำกว่า 10 ดอลลาร์ พร้อมระบบรับประกันสินค้าของ Amazon โดยคืนสินค้าได้ฟรีภายใน 15 วัน หากสินค้านั้นมีราคาสูงกว่า 3 ดอลลาร์
รายงานประจำปีเศรษฐกิจดิจิทัลภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ e-Conomy SEA 2024 ประจำปีนี้ออกมาแล้ว ซึ่งจัดทำโดยความร่วมมือของกูเกิล, Temasek และ Bain & Company เพื่อนำเสนอทิศทางเศรษฐกิจดิจิทัลของหนึ่งในภูมิภาคที่มีการเติบโตสูงต่อเนื่องหลายปีในโลก โดยรายงานยังคงจัดทำเนื้อหาใน 6 ประเทศคือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม
มูลค่าเงินในธุรกิจรวมหรือ GMV ปีนี้เพิ่มขึ้น 15% จากปี 2023 เป็น 2.63 แสนล้านดอลลาร์ (ไม่รวมธุรกิจฟินเทค) คิดเป็นรายได้ของธุรกิจ 8.9 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 14% และรายงานปีนี้เริ่มวัดผลการทำกำไรของธุรกิจดิจิทัลเป็นปีแรกพบว่าเพิ่มขึ้น 2.5 เท่า ในช่วงสองปีที่ผ่านมาเป็น 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์
YouTube เปิดตัวโปรแกรมแอฟฟิลิเอต YouTube Shopping ในไทยอย่างเป็นทางการ ร่วมมือกับ Shopee ช่วยให้ครีเอเตอร์สามารถรับค่าคอมมิชชันเมื่อผู้ชมซื้อสินค้าที่แนะนำ
ไทยคือประเทศที่ 4 ของโลกที่เปิดตัวโปรแกรมแอฟฟิลิเอต YouTube Shopping และเป็นประเทศที่ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยก่อนหน้านี้ ได้เปิดตัวไปแล้วในสหรัฐอเมริกา เกาหลี และอินโดนีเซีย
กูเกิลประกาศยกเครื่องบริการค้นหาสินค้า Google Shopping ใหม่ทั้งหมด โดยนำปัญญาประดิษฐ์โมเดล Gemini มาเป็นพื้นฐานของการค้นหา เพื่อให้ผู้ใช้งานค้นหา ค้นพบ ในรูปแบบที่ปรับแต่งสำหรับแต่ละคนได้ดีขึ้น
ตัวอย่างที่กูเกิลนำเสนอ เช่น หากต้องการค้นหาเสื้อแจ็คเกตสำหรับใส่เดินทางไปที่เมืองหนึ่ง ("Men’s winter jacket for Seattle) ผลการค้นหาจะแนะนำทั้งสภาพอากาศ เสื้อผ้าที่เหมาะสม พร้อมกับตัวเลือกสินค้าที่ตรงเงื่อนไขนั้น รวมทั้งมีฟีเจอร์ Try-on ให้ทดลองดูว่าขนาดชุดกับรูปร่างจะออกมาเป็นอย่างไร เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการกดซื้อ
Amazon เปิดตัว AI Shopping Guides ฟีเจอร์ใหม่เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถค้นหาสินค้าที่ต้องการได้ โดยไม่ต้องค้นหาเปรียบเทียบ หรือดูข้อมูลเพิ่มมากเท่าอดีต
การทำงานของ AI Shopping Guides จะให้ข้อมูลเมื่อค้นหาสินค้าแต่ละประเภท เช่น สินค้าที่แนะนำเพราะได้รับความนิยมสูง จากนั้นให้ข้อมูลฟิลเตอร์ปัจจัยสำคัญที่ลูกค้าควรพิจารณา ด้วย UI แบบใหม่ ทำให้การค้นหาสินค้าตามเงื่อนไขทำได้ดีขึ้น โดยเฉพาะกับสินค้าประเภทใหม่ที่ลูกค้าคนนั้นไม่เคยซื้อมาก่อน
Amazon บอกว่าฟีเจอร์นี้รองรับเบื้องต้นมากกว่า 100 ประเภทสินค้า มีผลเฉพาะลูกค้าในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น
TikTok เปิดตัวโซลูชันสำหรับบริการจัดการโฆษณาแบบอัตโนมัติ เพื่อให้ผู้ลงโฆษณาสามารถสร้าง จัดการ และวัดผลแคมเปญได้ง่ายยิ่งขึ้น
โซลูชันแรกสำหรับการสร้างโฆษณาแบบเจาะกลุ่มเป้าหมายอัตโนมัติ Smart+ โดยผู้ลงโฆษณากำหนดกลุ่มคนดู งบประมาณ และเป้าหมาย จากนั้น Smart+ จะสร้างโฆษณา แคมเปญ กำหนดแผนให้ โดยผู้ลงโฆษณาสามารถติดตามดูผลลัพธ์ได้ รองรับทั้งการทำโฆษณาเว็บไซต์ แอป สินค้า จนถึงการสร้างกลุ่มลูกค้า (Lead Generation)
เครื่องมืออีกตัวที่ GMV Max สำหรับสร้างแคมเปญของ TikTok Shop บนเป้าหมายเพื่อเพิ่มยอดขายสินค้า (GMV) ลดเวลาในการตั้งค่าแคมเปญ พร้อมกำหนดการแสดงผลในจุดต่าง ๆ ของแอป