จากกรณีที่สำนักงาน ก.พ. ได้ทำการเปิดรับสมัครสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ประจำปี 2564 (e-Exam) ในวันนี้ (8 มกราคม) เป็นวันแรก จำนวนกว่า 40,998 ที่นั่งสอบ ซึ่งพบว่าได้รับความสนใจจากประชาชนเข้ามาสมัครสอบเป็นจำนวนมาก ทำให้ระบบขัดข้องจนต้องปิดปรับปรุงระบบชั่วคราว
ล่าสุดเพจ "สำนักงาน ก.พ." ได้ออกมาชี้แจงไทมไลน์ถึงสาเหตุของการล่มดังนี้
ธนาคารไทยพาณิชย์แจ้งลูกค้าว่าระบบมีปัญหาทั้ง SCB EASY, ตู้ ATM, และสาขาของธนาคาร โดยผมตรวจพบว่ามีการรายงานปัญหาครั้งแรกๆ เมื่อช่วงบ่ายสามโมงครึ่งที่ผ่านมา ทำให้ตอนนี้ระยะเวลารวมระบบล่มนานกว่าสองชั่วโมงแล้ว
ผมทดสอบใช้งานผ่านแอป SCB EASY พบว่าเข้าไม่ได้เลย ขณะที่เว็บ scbeasy.com นั้นยังล็อกอินได้ และตรวจสอบยอดเงินได้ แต่โอนเงินไม่สำเร็จ
เหตุล่มครั้งนี้นับเป็นครั้งที่สองของธนาคารไทยพาณิชย์ในเดือนนี้
update: @scb_thailand แจ้งว่าปัญหาแก้ไขเรียบร้อยแล้วเมื่อเวลา 3 ทุ่ม 12 นาที
ผู้ใช้แอป SCB Easy รายงานปัญหาแอปล่ม ตั้งแต่ช่วงเวลา 1 ทุ่ม 36 นาที ล่าสุดทางธนาคารออกมาตอบรับว่ารับทราบปัญหาแล้ว และแนะนำว่าให้ใช้ช่องทางอื่น ไม่ว่าจะเป็นเว็บ SCB Easy หรือตู้เอทีเอ็ม
ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดเผยรายงาน "สถิติระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขัดข้องที่กระทบต่อการให้บริการผ่านช่องทางสำคัญ" ประจำไตรมาสที่สี่ปี 2019 จากเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2019
รอบนี้ธนาคารไทยพาณิชย์ที่ไม่มีรายงานล่มเลยในรายงานครั้งก่อนๆ รายงานเหตุล่มบนบริการโทรศัพท์มือถือ 2 ครั้งนาน 4 ชั่วโมง น่าจะมาจากเหตุการย้ายไปใช้ AWS Elastic Load Balancing (ELB) แม้เหตุครั้งนั้นผมจะนับได้ว่ามีการล่ม 3 ครั้ง อย่างไรก็ดี ช่องทางเว็บของไทยพาณิชย์ก็ไม่ล่มเลยตลอดไตรมาส
แอป SCB Easy ล่มอีกครั้งตั้งแต่ช่วงเที่ยงที่ผ่านมา นับเป็นการล่ม 3 วันติดตั้งแต่วันเสาร์ที่ผ่านมา โดยล่าสุดทางธนาคารประกาศปิดระบบปรับปรุง และจะเปิดให้บริการอีกครั้งช่วงเวลาบ่ายสองวันนี้
ไตรมาสที่ผ่านมา SCB Easy ไม่มีรายการการล่มเลย แต่เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาก็มีปัญหาอยู่หลายชั่วโมง (แต่ยังใช้งานได้บางส่วน), และเมื่อวันอาทิตย์ก็มีปัญหาอีกครั้ง
ผมทดลองช่องทางเว็บ www.scbeasy.com ยังคงใช้งานได้ตามปกติ
update: กลับมาใช้งานได้แล้ว
ช่วงเวลาชั่วโมงที่ผ่านมาแอป SCBEasy ของธนาคารไทยพาณิชย์มีปัญหาไม่สามารถใช้งานได้ และทางธนาคารออกมาระบุว่ารับรู้ปัญหาแล้ว และช่องทางอื่นๆ เช่น SCB Easy Net และตู้เอทีเอ็มยังคงใช้งานได้
รายงานล่มเริ่มต้นตั้งแต่ประมาณช่วงเที่ยงที่ผ่านมา อย่างไรก็ดีผมใช้งานเองพบว่าระบบมีปัญหาบางส่วนตั้งแต่เช้า แม้ไม่ได้ล่มไป โดยส่วนที่ผมพบคือการตรวจรายการใช้จ่ายผ่านบัตรที่กดติดบ้างไม่ติดบ้าง
ธนาคารไทยพาณิชย์ไม่มีรายการการล่มเกิน 15 นาทีเลยในช่วงไตรมาสที่สามที่ผ่านมา
ที่มา - @scb_thailand
GitLab บริการฝากโค้ดคู่แข่ง GitHub ล่มเกือบทั้งระบบ โดยบริการหลักๆ เช่น API, Git, และ CI/CD ล้วนใช้งานไม่ได้ ขณะที่เว้บรอบข้างเช่น ฟอรั่มยังคงทำงานอยู่
ทาง GitLab ระบุว่าเกิดจากการคอนฟิกผิดพลาดทำให้แอปพลิเคชั่นเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลไม่ได้
ที่มา - GitLab Status
บริษัทบัตรเครดิตกรุงไทย หรือ KTC แจ้งผู้ใช้ว่าบริการออนไลน์ทั้ง KTC Online และ KTC Mobile มีปัญหานับเป็นการล่มครั้งที่สามในสัปดาห์นี้ หลังจากบริษัทรายงานว่าล่มในวันที่ 28 และ 29 ตุลาคมที่ผ่านมาเช่นกัน
เมื่อเดือนที่แล้ว KTC ก็มีประวัติล่มติดๆ กัน เช่นเดียวกัน โดยช่วงสิ้นเดือนที่แล้วระบบก็ล่มในวันที่ 29 และ 30 กันยายน
KTC ไม่ได้เป็นธนาคารที่ต้องเปิดเผยข้อมูลระบบล่มตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย
เมื่อคืนที่ผ่านมาผู้ใช้เว็บซิสโก้จำนวนมากพบว่าบริการไม่สามารถล็อกอินได้ หรือแม้แต่บล็อกซิสโก้เองก็กลายเป็นหน้าติดตั้ง WordPress และตอนนี้ได้แก้หมดแล้ว โดยระบุว่าเกิดจากการแก้ไขระบบภายใน (internal system change)
ระยะเวลาที่ระบบมีปัญหาเริ่มตั้งแต่ช่วงสี่ทุ่มที่ผ่านมาตามเวลาประเทศไทย และบางระบบเริ่มกลับมาเรื่อยๆ จนกระทั่งทางซิสโก้แจ้งผ่านทวิตเตอร์ว่าแก้ไขทั้งหมดแล้วเมื่อประมาณตีสองครึ่งที่ผ่านมา
หลายบริการไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุครั้งนี้ เช่น WebEx ที่ใช้งานได้ต่อเนื่อง
ที่มา - TechCrunch
โครงการชิมช้อปใช้ของรัฐบาลที่ดำเนินการโดยธนาคารกรุงไทยเริ่มเข้าสัปดาห์ที่สอง โดยมีคนที่ได้รับยืนยันสิทธิ์และเริ่มใช้งานแล้วจำนวนมาก สัปดาห์ที่ผ่านมาก็พบว่ามีเหตุขลุกขลักบางกรณี นับแต่ช่วงลงทะเบียน
กรณีล่าสุดคือห้างเทสโก้โลตัสที่มีเหตุคนจ่ายเงินไม่ได้จนกระทั่งต้องทิ้งรถเข็นสินค้าไว้ในห้างเป็นจำนวนมาก ทางธนาคารกรุงไทยออกแถลงชี้แจงว่าทางธนาคารจำกัดการลงทะเบียนร้านค้าไว้บริษัทละ 20 จุดต่อจังหวัด ทำให้ทางห้างเทสโก้โลตัสที่ลงทะเบียนไว้ 20 สาขา สามารถให้บริการได้เพียงสาขาละ 1 จุดเท่านั้น จนเป็นเหตุให้บริการไม่เพียงพอ
วันนี้ทาง KTC ระบุว่าแอป KTC Mobile และเว็บ KTC Online ล่ม และเจ้าหน้าที่กำลังแก้ไข โดยมีผู้ใช้บางคนเข้าไปแสดงความเห็นว่าที่จริงล่มตั้งแต่ช่วงสิบโมงที่ผ่านมา
เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา KTC เคยมีปัญหาอยู่หลายวัน ส่งผลให้บัตร Krungthai Travel Card ใช้งานไม่ได้ไปด้วย แต่รอบนี้ยังไม่มีผู้ใช้รายงานปัญหาบัตรใช้งานไม่ได้แต่อย่างใด มีรายงานเพียงตัวแอปเท่านั้น
KTC หรือบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทในเครือของบมจ. ธนาคารกรุงไทย โดยในรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทยรอบล่าสุดไม่มีรายงานของบริษัทกลุ่มที่ให้บริการบัตรแต่ไม่ได้เป็นธนาคาร เช่น KTC แต่อย่างใด
update: ผมทดสอบอีกครั้ง 23:25 กลับมาใช้งานได้แล้ว
แอป SCB Easy ของธนาคารไทยพาณิชย์ มีปัญหาอีกครั้ง โดยช่วงชั่วโมงที่ผ่านมามีผู้ใช้เริ่มรายงานบนเฟซบุ๊กของทางธนาคารว่าไม่สามารถใช้งานได้
ผมเองใช้งานได้ขณะรายงานแอป NEXT ล่ม แต่เมื่อทดสอบอีกครั้งก็พบว่าไม่สามารถใช้งานได้แล้ว โดยไม่สามารถดูข้อมูลบัญชี, เข้าหน้าที่ต้องกด PIN, และสั่งโอนเงินได้
ทางธนาคารยังไม่แจ้งปัญหานี้ผ่านช่องทางของธนาคารแต่อย่างใด อย่างไรก็ดีผมทดลองใช้งานทางเว็บ scbeasy.com ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
update 2: ทางธนาคารส่งอีเมลมาหา Blognone เพื่อชี้แจงดังนี้ โดย ณ เวลาที่แจ้งมา โพสทั้งหมดของธนาคารกรุงไทยที่แจ้งระบบมีปัญหาได้ถูกลบไปจาก Facebook และ Twitter แล้ว
เรียน ทีมงาน blognone
ตามที่ทางเพจ Blognone ได้ลงข่าว แอปกรุงไทย Next ล่ม เมื่อเวลา 22.54 ของวันเสาร์ที่ 24 ส.ค.
ต่อมาทาง Krungthai care ได้มาคอมเม้นเพื่อชี้แจงว่า แอปกรุงไทย Next สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ ตั้งแต่ 22.47 ในวันเดียวกัน ทางธนาคารจึงขอความอนุเคราะห์ให้ทางเพจฯ ลบโพสต์ หรือแก้ไขข้อมูลตามความเป็นจริงโดยเร็วที่สุด** เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อธนาคาร
จึงเรียนมาเพื่อขอความอนุเคราะห์
สนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KLIA) ออกประกาศเมื่อวานนี้ว่าระบบที่มีปัญหาสามารถแก้ไขได้แล้วด้วยการเปลี่ยนอุปกรณ์เน็ตเวิร์ค รวมเวลาที่ระบบมีปัญหา 2 วันเต็ม โดยระบบเริ่มมีปัญหาเมื่อคืนวันพุธที่ผ่านมา และเปลี่ยนอุปกรณ์เน็ตเวิร์คได้ในวันศุกร์
ทาง KLIA ไม่ระบุชัดว่าอุปกรณ์ที่มีปัญหาคืออะไร แต่อุปกรณ์ที่ทำให้มีปัญหาวงกว้างระดับนี้น่าจะเป็นคอร์สวิตช์
รายงานข่าวจาก The Star ระบุว่าคิวในสนามบินเช้านี้อยู่ในระดับที่จัดการได้แล้ว แม้จะยังคงมีเที่ยวบินจำนวนหนึ่งต้องล่าช้าออกไปก็ตาม
สนามบิน KLIA เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 1998 และนี่เป็นครั้งแรกที่มีปัญหาใหญ่ขนาดนี้
เช้าวันนี้สนามบินกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur International Airport - KLIA) ประสบปัญหาระบบไอทีล่มทั้งระบบตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา จนล่าสุดยังไม่สามารถกู้ระบบมาได้ ตอนนี้มีเที่ยวบินล่าช้าแล้ว 68 เที่ยวบิน
ระบบที่ล่มกระทบตั้งแต่ หน้าจอแสดงสถานะเที่ยวบิน, เคาน์เตอร์เช็คอิน, ระบบตรวจรับกระเป๋า, และ Wi-Fi ระบบล่าช้าทำให้เครื่องบินไม่สามารถเข้าจอดที่จุดจอดที่วางแผนไว้ได้ ทำให้ทางสนามบินต้องเปิดหลุมจอดเพิ่มอีก 38 จุดและขนผู้โดยสารด้วยรถบัส
ล่าสุดทางสนามบินประกาศระดมอาสาสมัคร มาช่วยเสริมจากพนักงานที่เพิ่มมาแล้ว 1,000 คน
บริการออนไลน์ของธนาคารกรุงไทย ไม่สามารถใช้งานได้ตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่าน แม้จะเข้าสู่ช่วงต้นเดือนไปแล้วก็ตามที โดยมีปัญหาตั้งแต่เมื่อวานที่ผ่านมา และไม่สามารถใช้งานได้ตั้งแต่เช้า
ไม่ชัดเจนนักว่าผู้ที่สามารถเข้าใช้งานได้ จะสามารถทำธุรกรรมได้ครบหรือไม่ โดยทางธนาคารระบุกับผู้ใช้บางรายว่าปิดระบบเติมเงินชั่วคราว
เดือนนี้จะเป็นเดือนแรกที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเริ่มออกรายงานเปิดเผยข้อมูลระบบขัดข้องแยกรายธนาคาร โดยเมื่อตอนที่ประกาศนั้นได้พูดถึงปัญหาของแอป Krungthai NEXT ว่าได้กำชับให้ทางธนาคารปรับปรุงโดยเร็ว
ตั้งแต่ช่วงก่อนสี่ทุ่มที่ผ่านมาบริการแชตองค์กร Slack ก็ล่มไปทั้งหมดจนไม่สามารถรับส่งข้อความได้
แอป Slack ในช่วงแรกจะมีอาการไม่ตอบสนอง ไม่โหลดข้อความใหม่แม้จะเพิ่งส่งข้อความไปในแชต แต่หลังจากนั้นระยะหนึ่งตัวแอปก็โหลดหน้าสถานะบริการแจ้งเตือนว่าตอนนี้มีปัญหา
ประวัติบริการ Slack จะมีปัญหาประมาณเดือนละครั้ง เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาก็มีปัญหาล่มยาวจน uptime เหลือเพียง 99.83% จากเดือนก่อนๆ ที่มักทำได้เกิน 99.95% มาตลอด ยังไม่แน่ชัดว่าเดือนนี้จะเหลือ uptime เท่าใด
ที่มา - แอป Slack
ตั้งแต่ช่วงบ่ายที่ผ่านมา ผู้ใช้แอป Krungthai NEXT ไม่สามารถตรวจสอบยอดเงินในบัญชีหรือทำธุรกรรมได้จำนวนมาก อย่างไรก็ตามบัญชี @Krungthai_care ยืนยันว่าระบบยังทำงานได้อยู่ แต่บางช่วงมีผู้ใช้จำนวนมากทำให้ติดขัด และระบุในชั่วโมงที่ผ่านมาว่าใช้งานได้แล้ว ให้ลองใช้งานใหม่อีกครั้ง แต่หลังจากผมทดสอบใช้งานด้วยตัวเองก็ไม่สามารถทำรายการได้แม้แต่การดูยอดเงินในบัญชี
หลังจากเดือนนี้มีบริการใหญ่ๆ ล่มต่อเนื่องกันมาเรื่อยๆ ล่าสุด GitHub ก็ล่มไปแทบทั้งหมดแล้ว เมื่อครึ่งชั่วโมงที่ผ่านมา เหลือเฉพาะบริการ GitHub Pages และบริการ Notifications ที่ยังใช้งานได้ ส่วนบริการ Git ที่เป็นหัวใจหลักนั้น ล่มทั้งหมดบางช่วงเวลา และบางช่วงก็อยู่ในระดับ degraded ที่ไม่ตอบสนองบางส่วน
GitHub ล่มครั้งใหญ่เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้วเป็นเวลาหลายชั่วโมง จากเหตุ MySQL แยกคลัสเตอร์ออกเป็นสองส่วนทำให้ข้อมูลไม่ตรงกัน แต่รอบนี้ยังอยู่ระหว่างการสอบสวน
ที่มา - GitHub Status
ระบบดาวเทียมนำทาง Galileo ของสหภาพยุโรปล่มทั้งระบบตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมาหลังจากมีปัญหากับ "โครงสร้างพื้นฐานภาคพื้นดิน"
แหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวตน ระบุกับ BBC ว่าโครงสร้างที่เป็นต้นเหตุคือ ฐานปรับเวลาความแม่นยำสูงในอิตาลี
Galileo เพิ่งยิงครบเครือข่ายเมื่อปีที่แล้ว แต่ยังเปิดใช้งานไม่ครบ โดยตอนนี้มีดาวเทียมทำงานอยู่ 22 ดวง และทั้งโครงการยังอยู่ในช่วง "ทดสอบการทำงาน" ทำให้ยังไม่มีระบบใดพึ่งพา Galileo เต็มตัว และอุปกรณ์ส่วนมากที่รองรับก็มักรองรับระบบดาวเทียมนำทางอื่นๆ เช่น GPS หรือ Glonass ไปพร้อมกัน
Twitter ล่มทั่วโลกตั้งแต่ช่วงเวลาเกือบตีสองตามเวลาประเทศไทย โดยผลตรวจสอบพบว่าการล่มนี้เป็นแทบทั้งโลก
เว็บ downdetector.com รายงานเหตุล่มพบว่ากระจายไปตามประเทศที่ใช้งานทวิตเตอร์สูงๆ เช่น สหรัฐฯ, ยุโรป, ญี่ปุ่น, อินเดีย, และบราซิล
ระหว่างล่มผมพบว่า ไม่สามารถโหลดทวีตใหม่ได้ จากนั้นบัญชีถูกล็อกเอาท์เอง และเมื่อพยายามล็อกอินกลับเข้าไปก็พบหน้ารายงานปัญหา
ตั้งแต่ต้นเดือนที่ผ่านมา บริการสำคัญๆ ล่มในเดือนนี้ ได้แก่ Cloudflare, Facebook, และ iCloud
บริการ iCloud ของแอปเปิลล่มไปบางส่วน ทำให้บริการหลัก เช่น Drive, Keychain, Mail. Notes ล้วนใช้งานไม่ได้ นอกจากนี้บริการนอกกลุ่ม iCloud บางส่วนก็ได้รับผลกระทบไปด้วย เช่น Apple Pay ไม่สามารถแก้ไขข้อมูลบัตรได้, หรือบริการ Find My ไม่สามารถหาตำแหน่งเครื่องได้เลย
บริการกลุ่มอื่น หลักๆ ยังใช้งานได้ เช่น App Store, iTunes, iMessage
นอกจากบริการส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้โดยตรงแล้ว ยังมีรายงานว่าปัญหาครั้งนี้กระทบไปถึงร้าน Apple Store ตัวร้านไม่สามารถให้บริการได้ตามปกติ ผู้ใช้รายหนึ่งไม่สามารถส่งสินค้าซ่อมได้
ที่มา - MacRumors
ช่วงค่ำที่ผ่านมาเฟซบุ๊กและเว็บในเครือ รวมถึง Messenger และ Instagram มีปัญหาภาพโหลดไม่ขึ้นเป็นวงกว้าง ตอนนี้สองบริการหลักคือเฟซบุ๊กและอินสตาแกรมก็ออกมาประกาศผ่านทวิตเตอร์ว่าทราบปัญหาแล้ว กำลังดำเนินการแก้ไข
เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ตอนที่เฟซบุ๊กล่มทั้งหมดไปช่วงหนึ่ง ทางเฟซบุ๊กก็ประกาศผ่านทวิตเตอร์เช่นเดียวกัน
เกร็ดเล็กๆ อย่างหนึ่งคือเฟซบุ๊กนั้นจะวิเคราะห์ทุกภาพที่เราอัพโหลดไว้เสมอ และใส่ไว้ในฟิลด์ alt ใน HTML ทำให้เมื่อภาพโหลดไม่ขึ้น เราจะเห็นข้อความว่าเฟซบุ๊กเห็นภาพเราเป็นอะไร เช่น ข้อความ, หน้าคน ฯลฯ
Cloudflare เขียนบล็อคชี้แจงเหตุล่มเป็นเวลา 30 นาทีเมื่อวานนี้ โดยระบุว่าไม่ได้เกิดจากการถูก DDoS อย่างที่หลายคนคาดกัน แต่เป็นเพราะคอนฟิกไฟร์วอลล์ของบริษัทเอง และบริษัทขออภัยกับความผิดพลาดนี้
โดยไฟร์วอลล์นี้ อยู่ใน Cloudflare Web Application Firewall (WAF) กฎชุดใหม่ใช้ค้นหาโค้ดจาวาคริปต์ในการโจมตี โดยเขียนด้วย regular expression แต่กลับมีบั๊กทำให้เมื่อนำโค้ดไปใช้งานจริงแล้วซีพียูเต็มร้อยตลอดเวลา
20 นาทีหลังเกิดปัญหา วิศวกรของ Cloudflare รู้ว่าปัญหาเกิดจาก WAF จึงสั่งปิดการทำงาน หลังจากนั้นใช้เวลาค้นหากฎต้นปัญหา และเปิดการทำงาน WAF ใหม่อีกครั้งในอีก 50 นาทีต่อมา
ช่วงหัวค่ำประมาณสองทุ่มตามเวลาประเทศไทย Cloudflare ล่มเป็นวงกว้างกระทบเครือข่ายในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย รวมระยะเวลา 30 นาที
ทาง Cloudflare แจ้งสาเหตุว่าระดับซีพียูในเซิร์ฟเวอร์เกิดพุ่งสูงจนเครื่องเริ่มกระบวนการ fail over
การแก้ไขในตอนนี้ทาง Cloudflare ได้ปิดโปรเซสที่กินซีพียูออกไปก่อน และมอนิเตอร์ความผิดปกติของเครื่องเพิ่มเติม
ผลกระทบจากปัญหาครั้งนี้ทำให้บริการ Cloudflare Analytics ไม่ทำงาน, Cloudflare Logs ทำงานช้ากว่าปกติทำให้ผู้ใช้ได้รับข้อมูลย้อนหลัง
ที่มา - Cloudflare