องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ JAXA ให้ข้อมูลของยานพาหนะสำรวจดวงจันทร์ ที่ส่งไปกับโครงการ Smart Lander for Investigating Moon (SLIM) ซึ่งเพิ่งปล่อยจรวด H2-A ไปเมื่อสัปดาห์ก่อน กำหนดลงสู่พื้นผิวดวงจันทร์ในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า
โครงการ SLIM มีเป้าหมายเพื่อสาธิตเทคนิคในการลงจอดดวงจันทร์ที่แม่นยำ ซึ่งติดตั้งเครื่องมือขนาดเล็กสำหรับการสำรวจพื้นผิวด้วย
หุ่นยนต์สำรวจที่ส่งไปด้วยครั้งนี้ชื่อว่า LEV-2 ย่อมาจาก Lunar Excursion Vehicle 2 มีรูปทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 8 เซนติเมตร น้ำหนัก 250 กรัม กล้อง 2 ตัว
อินเดียได้บันทึกประวัติศาสตร์ใหม่ด้านอวกาศ โดยยานสำรวจ Chandryaan-3 ได้ลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์สำเร็จในวันนี้ โดยเป็นยานสำรวจลำแรกของโลกที่ลงจอดใกล้กับบริเวณขั้วใต้ (South pole) และเป็นประเทศที่ 4 ของโลก ที่ส่งยานอวกาศไปลงจอดบนดวงจันทร์สำเร็จ ถัดจาก สหภาพโซเวียต, สหรัฐอเมริกา และจีน
ขั้วใต้ของดวงจันทร์เป็นพื้นที่เป้าหมายของการสำรวจดวงจันทร์ที่มีความท้าทาย เนื่องจากพื้นผิวส่วนใหญ่เป็นหลุมบ่อ ทำให้ยากต่อการลงจอด ขณะเดียวกันก็เป็นพื้นที่เป้าหมายที่คาดว่าจะพบแหล่งน้ำ ซึ่งหมายความว่าจะมีพลังงาน ออกซิเจน ที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีพ
Roscosmos องค์การด้านอวกาศของรัสเซียเปิดเผยว่า Luna-25 ยานสำรวจดวงจันทร์ ได้ขาดการติดต่อตั้งแต่เวลา 18:57น. เมื่อวันเสาร์ (11:57 GMT) ตามเวลาในไทย ซึ่งยานได้เคลื่อนที่ออกนอกวงโคจร และทำให้ยานตกลงสู่พื้นผิวดวงจันทร์ โดยทาง Roscosmos กำลังสอบสวนหาสาเหตุเพิ่มเติม
Luna-25 เป็นโครงการส่งยานอวกาศไปดวงจันทร์ครั้งแรกของรัสเซียในรอบ 47 ปี โดยโครงการก่อนหน้านี้คือ Luna-24 ที่เก็บตัวอย่างพื้นผิวใน Mare Crisium และนำตัวอย่างกลับมาที่โลกในปี 1976 เป้าหมายของโครงการ Luna-25 คือการสำรวจบริเวณขั้วโลกใต้ของดวงจันทร์
รัสเซียส่งยานสำรวจ Luna-25 ไปตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม โดยมีกำหนดลงจอดประมาณวันที่ 21 สิงหาคม
ความคืบหน้าของข่าว ยานสำรวจเอกชนญี่ปุ่น HAKUTO-R ขาดการติดต่อช่วงสุดท้ายก่อนลงจอดบนดวงจันทร์ หลังจากนั้นมีการยืนยันโดยกล้องของ NASA ว่า HAKUTO-R "ตก" ระหว่างลงจอด
บริษัท ispace เจ้าของยานลำนี้ได้เผยผลสอบสวนอย่างละเอียด สรุปว่าปัญหาเกิดจากซอฟต์แวร์ในการวัดค่าความสูงจากพื้นผิวดวงจันทร์
NASA ประกาศเลือกบริษัท Blue Origin ของ Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Amazon เป็นผู้พัฒนายานอวกาศลงจอดดวงจันทร์ (Human Landing System หรือ HLS) ลำใหม่ในภารกิจ Artemis V ที่มีกำหนดไปดวงจันทร์ปี 2029
เมื่อปี 2021 บริษัท Blue Origin เคยมีดราม่ากับ NASA หลังจาก NASA คัดเลือกยานลงจอดดวงจันทร์ของ SpaceX เอาชนะข้อเสนอของ Blue Origin จนเป็นผลให้ภารกิจ Artemis ต้องล่าช้าไป 1 ปีจากคดีฟ้องร้อง
ispace บริษัทเอกชนด้านอวกาศของญี่ปุ่น รายงานสถานะของภารกิจ Mission 1 ที่จะนำยานอวกาศไร้มนุษย์ HAKUTO-R ลงจอดบนดวงจันทร์ ซึ่งกำหนดแตะพื้นผิวดวงจันทร์ที่เวลา 23:40น. วันที่ 25 เมษายน 2023 ตามเวลาในประเทศไทย
Takeshi Hakamada ซีอีโอ ispace แถลงว่าเกิดปัญหาขาดการติดต่อสื่อสารกับยาน HAKUTO-R ในขณะที่ยานใกล้ลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์บริเวณ Atlas Crater ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของดวงจันทร์ ในอีกระยะ 89 เมตร แม้ถึงตอนนี้ยังไม่สามารถติดต่อกับยานได้ แต่ก็อาจสรุปได้ว่าภารกิจการนำยานลงจอดบนดวงจันทร์ไม่เสร็จสมบูรณ์ทุกขั้นตอน
NASA เปิดตัวคณะนักบินอวกาศที่จะไปวนรอบดวงจันทร์ในปี 2024 กับภารกิจ Artemis II หลังจากภารกิจ Artemis I ประสบความสำเร็จ ในการส่งจรวดเปล่าไปบินวนรอบดวงจันทร์
นักบินอวกาศคณะนี้มีจำนวน 4 คน มาจาก NASA 3 คน และมาจาก CSA หน่วยงานอวกาศของแคนาดา 1 คน ได้แก่
นักบินของ NASA ทั้ง 3 คนล้วนแต่เคยไปอวกาศมาก่อนแล้วคนละหนึ่งครั้ง ได้แก่
ยานอวกาศ Orion ที่ NASA ส่งไปวนรอบดวงจันทร์ตามภารกิจ Artemis I ตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน กลับสู่โลกเรียบร้อยแล้ว โดยเข้าสู่ชั้นบรรยากาศแล้วตกลงมาที่มหาสมุทรแปซิฟิก ใกล้กับคาบสมุทร Baja California ในเม็กซิโก
ภารกิจ Artemis I เป็นการส่งยานอวกาศที่ไร้มนุษย์ไปบินวนรอบดวงจันทร์เพื่อทดสอบระบบต่างๆ ตั้งแต่จรวด Space Launch System (SLS) ที่มีปัญหาเชื้อเพลิงรั่วบ่อยครั้ง, นำยานบนวนรอบดวงจันทร์ 2 รอบแล้วบินกลับโลก จนกระทั่งนำยาน Orion กลับสู่โลกอย่างปลอดภัย ใช้เวลาภารกิจทั้งหมด 25.5 วัน เดินทางไกลเป็นระยะทั้งหมด 1.4 ล้านไมล์ หรือ 2.1 ล้านกิโลเมตร
Yusaku Maezawa มหาเศรษฐีชาวญี่ปุ่น ซึ่งเป็นลูกค้าคนแรก และซื้อทริปแบบเช่าเหมาลำจรวดของ SpaceX ที่จะเดินทางไปดวงจันทร์ตั้งแต่ปี 2018 ล่าสุดเขาได้ประกาศรายชื่อศิลปินจากทั่วโลก ที่จะได้เดินทางไปกับเขาทั้งหมด 10 คน (มี 2 คน ที่เป็นตัวสำรอง)
โดยรายชื่อทั้ง 10 นั้น มีทั้งดีเจ Steve Aoki, T.O.P ศิลปินวง Big Bang, Tim Dodd ยูทูบเบอร์ รวมอยู่ด้วย ก่อนหน้านี้ Maezawa ประกาศแผนหาผู้ร่วมทริปหนึ่งคนในฐานะคู่แท้ ด้วยรูปแบบรายการเรียลลิตี้ แต่โครงการนี้ได้ยกเลิกไปก่อน
ในที่สุด ภารกิจ Artemis I ยิงจรวดไปวนรอบดวงจันทร์ของ NASA ที่ล่าช้ามาหลายรอบ ก็จะเกิดขึ้นแล้วจริงๆ ในวันนี้ 29 สิงหาคม 2022 มีกรอบเวลายิง 2 ช่วงโมง เริ่มตอน 19.33 น. ตามเวลาประเทศไทย (เวลาการถ่ายทอดสดจะเริ่ม 17.30 น. ผ่านทาง YouTube และเว็บไซต์ NASA)
ภารกิจ Artemis I มีความสำคัญเพราะเป็นก้าวแรกของ NASA ในการกลับสู่ดวงจันทร์ ถือเป็นการซ้อมครั้งแรกโดยยิงจรวดที่ยังไม่มีมนุษย์ (มีหุ่นนั่งไปแทนในที่นั่งมนุษย์) ก่อนส่งมนุษย์กลับไปดวงจันทร์อีกครั้งในภารกิจ Artemis III ราวปี 2025
NASA ประกาศรายชื่อ 13 ตำแหน่ง ที่มีโอกาสเป็นจุดจอดยาน Artemis III ซึ่งเป็นโครงการที่จะส่งนักบินอวกาศกลับไปสำรวจดวงจันทร์อีกครั้ง โดยครั้งนี้ประกาศว่าจะมีนักบินอวกาศหญิงและนักบินอวกาศผิวสีไปเหยียบดวงจันทร์ด้วย
ทั้ง 13 ตำแหน่ง อยู่บริเวณขั้วดวงจันทร์ใต้ (South Pole) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มนุษย์ไม่เคยไปสำรวจมาก่อน และคาดว่าจะใช้ศึกษาโอกาสในการตั้งสถานีระยะยาว (ดูรายละเอียดทั้ง 13 ตำแหน่งท้ายข่าว)
โครงการ Artemis III กำหนดส่งนักบินอวกาศไปดวงจันทร์ในปี 2025 จะใช้เวลาสำรวจบนจันทร์ 6.5 วัน ส่วน Artemis I ซึ่งเป็นจรวดลำแรกในโครงการ Artemis ที่จะไปดวงจันทร์ มีกำหนดยิงจรวดวันที่ 29 สิงหาคมนี้ ตามด้วย Artemis II ที่นำมนุษย์ไปโคจรรอบดวงจันทร์
NASA ประกาศกรอบเวลาใหม่สำหรับการยิงจรวด Space Launch System (SLS) พายานอวกาศ Orion ขึ้นไปวนรอบดวงจันทร์ หลังล่าช้ามาแล้วหลายรอบ (รอบล่าสุดจากปัญหาเชื้อเพลิงรั่วระหว่างซ้อมวางบนฐานยิงที่ Kennedy Space Center จนต้องกลับไปซ่อมมาใหม่)
กรอบเวลายิงจรวด (launch opportunity) ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ตำแหน่งของดวงจันทร์ มุมการรับแสงอาทิตย์ของแผงโซลาร์บนยาน สภาพอากาศ ฯลฯ โดย NASA ประกาศกรอบเวลายิงเบื้องต้น (potential launch opportunities) 3 ช่วงคือ
NASA ประกาศกรอบเวลาใหม่ของการยิงจรวดตามภารกิจ Artemis I ในโครงการ Artemis ที่จะส่งมนุษย์ไปลงผิวดวงจันทร์อีกครั้ง
โครงการ Artemis แบ่งออกเป็น 3 ภารกิจคือ I ซ้อมส่งจรวดที่ไม่มีมนุษย์ไปวนรอบดวงจันทร์ (2022), II ซ้อมส่งจรวดที่มีมนุษย์ไปวนรอบดวงจันทร์ (2024) และ III พามนุษย์ลงจอดบนดวงจันทร์จริงๆ
ภารกิจ Artemis I มีกำหนดต้องขึ้นอวกาศในปี 2022 นี้ แต่ถูกเลื่อนมาแล้วหลายครั้งจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะปัจจัยทางเทคนิคของจรวดใหม่ Space Launch System (SLS) ที่ยังไม่พร้อมดี
Amazon และ Cisco ประกาศแผนการส่งบริการ Alexa และ Webex ของตัวเองขึ้นยานอวกาศ Orion ของ NASA ไปดวงจันทร์ในภารกิจ Artemis I ซึ่งคาดว่าจะมีกำหนดยิงช่วงกลางปี 2022 นี้
Artemis I ถือเป็นภารกิจแรกของโครงการ Artemis ส่งมนุษย์กลับไปดวงจันทร์อีกครั้ง โดย Artemis I เป็นภารกิจทดสอบที่ไม่มีมนุษย์ขึ้นอวกาศไปด้วย ยานจะบินรอบดวงจันทร์แล้วกลับโลกโดยไม่ลงจอด, จากนั้นจะตามมาด้วย Artemis II ที่มีมนุษย์ไปด้วยแต่บินรอบเหมือนกัน และ Artemis III ที่นำมนุษย์กลับไปเหยียบดวงจันทร์ (คาดว่าเป็นปี 2024/2025 ตามลำดับ)
นาซ่าประกาศเลือก 5 บริษัทให้ออกแบบยานสำหรับลงจอดดวงจันทร์ (lunar lander) ให้เวลาออกแบบ 15 เดือน โดยเป็นการออกแบบคอนเซ็ปต์เบื้องต้นเพื่อดูประสิทธิภาพของดีไซน์ว่ามีประสิทธิภาพและความปลอดภัยเพียงใด พร้อมกับต้องทดสอบชิ้นส่วนบางชิ้นว่าเทคโนโลยีใช้งานได้จริง
บริษัทที่ชนะโครงการครั้งนี้ ตามลำดับอักษรได้แก่
Blue Origin บริษัทอวกาศของ Jeff Bezos ยื่นฟ้อง NASA แล้ว จากกรณีเลือก SpaceX เป็นผู้พัฒนายานลงจอดดวงจันทร์ LHS ในภารกิจ Artemis
บริษัทที่ส่งข้อเสนอ LHS มีทั้งหมด 3 รายคือ SpaceX, Blue Origin, Dynetics โดยตอนแรก NASA เคยมีแนวทางว่าจะเลือกข้อเสนอมากกว่า 1 ราย แต่สุดท้ายงบประมาณไม่พอ จึงเลือก SpaceX ที่เสนอราคาต่ำที่สุดเพียงรายเดียว
Blue Origin และ Dynetics เคยยื่นคัดค้านไปยังสำนักงานตรวจสอบของรัฐบาลสหรัฐ (US Government Accountability Office) และ Jeff Bezos เคยเสนอออกเงิน 2 พันล้านดอลลาร์ให้เอง แลกกับ NASA เลือกข้อเสนอของ Blue Origin เพิ่มเข้ามา แต่สุดท้าย NASA ก็ไม่ได้สนใจ
Michael Collins นักบินอวกาศประจำภารกิจ Apollo 11 ที่พามนุษย์กลุ่มแรกไปเยือนดวงจันทร์ เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 90 ปี
คนมักจดจำภารกิจ Apollo 11 ได้จากรอยเท้าของ Neil Armstrong มนุษย์คนแรกที่ลงไปเหยียบดวงจันทร์ ในภารกิจนี้ Armstrong และ Buzz Aldrin ลงไปสัมผัสดวงจันทร์ด้วยยาน Lunar Module แต่ยังมีนักบินอวกาศอีกคนคือ Michael Collins ประจำอยู่บนยาน Command Module ที่โคจรอยู่รอบดวงจันทร์ โดยที่เขาไม่ได้ลงไปเหยียบดวงจันทร์เหมือนเพื่อนอีก 2 คน
Collins ถูกเรียกว่าเป็น "มนุษย์ที่โดดเดี่ยวที่สุดในโลก" (the loneliest man in history) เพราะในจังหวะที่ยานของเขาโคจรไปอีกด้านของดวงจันทร์ เขาสร้างสถิติเป็นมนุษย์ที่อยู่ห่างจากมนุษย์คนอื่นๆ มากที่สุด
NASA ประกาศเลือก SpaceX เป็นบริษัทผู้พัฒนายานอวกาศส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ ภายใต้โครงการ Artemis ที่ตั้งเป้าส่งมนุษย์ไปเยือนดวงจันทร์อีกรอบ (เลือกตั้งชื่อ Artemis ให้สอดคล้องกับโครงการ Apollo ในอดีต)
โครงการ Artemis จะพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศใหม่หมดเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การไปดาวอังคาร ตั้งแต่ฐานยิงจรวด จรวด ยานอวกาศ ไปจนถึงชุดอวกาศ ตามแผนของ NASA จะแบ่งออกเป็น 3 เฟสคือ Artemis I ทดสอบยิงจรวดที่ไม่มีมนุษย์ ภายในปี 2021, Artemis II ยิงจรวดที่มีมนุษย์ภายในปี 2023 และ Artemis III ส่งมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์จริงๆ ในปี 2024 โดยกำหนดว่าจะมีผู้หญิงไปเหยียบดวงจันทร์เป็นครั้งแรกด้วย
NASA มอบเงินกว่า 14.1 ล้านเหรียญสหรัฐให้ Nokia ในโครงการ Tipping Point โครงการแข่งขันเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศสำหรับดวงจันทร์ ที่มอบเงินทุนให้บริษัทต่างๆ รวม 370 ล้านเหรียญ เพื่อพัฒนาโครงการ Artemis ที่จะส่งผู้หญิงคนแรกไปดวงจันทร์ในปี 2024 และเตรียมพัฒนาฐานบนดวงจันทร์ภายในปี 2028
NASA เปิดชุดข้อมูลดวงจันทร์ CGI Moon Kit ให้เข้าถึงผ่านออนไลน์ สำหรับผู้ที่สนใจนำไปสร้างเป็นแผนที่ดวงจันทร์ 3 มิติ ซึ่ง NASA บอกว่าข้อมูลภูมิประเทศของพื้นผิวละเอียดในระดับมองจากความสูง 30 เมตรจากพื้นผิว
ข้อมูลและภาพทั้งหมดได้มาจากดาวเทียม Lunar Reconnaissance Orbiter ที่โคจรรอบดวงจันทร์มานานกว่า 10 ปี โดยเก็บข้อมูล 2 ส่วนได้แก่ภาพถ่ายสเปคตรัม (multispectral) ร่วมกับเลเซอร์วัดความสูงและสภาพภูมิประเทศ รวมกันออกมาเป็นข้อมูลดิบที่ส่งกลับโลก
คนที่สนใจสามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่นี่
ที่มา - NASA
นาซ่าประกาศโครงการเตรียมนำมนุษย์เดินทางกลับไปยังดวงจันทร์ภายในปี 2024 โดยรอบนี้มีโครงการให้คนทั่วไปมีส่วนร่วม คือการเสนอเพลงให้นักบินอวกาศฟังระหว่างการเดินทาง 3 วันจากโลกถึงดวงจันทร์ (ไป-กลับอย่างละ 3 วัน) โดยเพลงชุดแรกที่ได้รับเลือกเป็นเพลงของวง BTS จากเกาหลีใต้
จีนตั้งเป้าหมายต้องการสร้างศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์บนดวงจันทร์ให้สำเร็จภายใน 10 ปีนี้ และเตรียมส่งยานไปสำรวจดาวอังคารภายในปีหน้า หลังจากที่ China National Space Administration (CNSA) องค์การอวกาศแห่งชาติของจีนเพิ่งนำยานสำรวจดวงจันทร์แบบไร้คนขับ Chang’e-4 ลงจอดบนด้านไกลของดวงจันทร์ได้สำเร็จเป็นชาติแรกเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา
Zhang Kejian ผู้อำนวยการ CNSA ได้กล่าวถึงแผนการที่ว่านี้เนื่องใน "วันอวกาศ" ของจีน
คืนวันพรุ่งนี้ (31 มกราคม 2018) จะมีปรากฏการณ์ "Super Blue Blood Moon" ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ของดวงจันทร์ 3 อย่างที่เกิดพร้อมกัน ได้แก่
รัฐบาลอินเดีย ประกาศส่งยานอวกาศไปยังดวงจันทร์อีกครั้งในช่วงต้นปี 2018 หลังจากเคยส่งมาแล้วครั้งหนึ่งในปี 2008
คราวก่อน หน่วยงานอวกาศอินเดีย (Indian Space Research Organisation หรือ ISRO) ส่งยาน Chandrayaan-1 ไปโคจรรอบดวงจันทร์ และมียานลูก Moon Impact Probe แยกออกจากยานแม่เพื่อวิ่งชนดวงจันทร์ ให้เกิดการปะทะเพื่อดูผล
รอบนี้ ยาน Chandrayaan-2 ไปไกลกว่าเดิม โดยจะมียานลงจอด (lander) และมีรถสำรวจ (rover) ไปวิ่งบนผิวดวงจันทร์ด้วย
เดิมที Chandrayaan-2 วางแผนจะให้หน่วยงานอวกาศของรัสเซียมาช่วยออกแบบ แต่ภายหลังก็เปลี่ยนแปลง เป็นการทำด้วยฝีมือคนอินเดียทั้งหมด 100%
หลายคนอาจยังไม่ทราบว่า Jeff Bezos ซีอีโอของ Amazon เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Blue Origin ด้วย โดยเป็นบริษัทเอกชนที่ให้บริการเดินทางไปอวกาศ รวมถึงผลิตจรวดเองด้วย (แบบเดียวกับ SpaceX ของ Elon Musk) ล่าสุดเขาประกาศเปิดบริการส่งของไปยังดวงจันทร์ภายในกลางปี 2020
ตามรายงานระบุว่า Blue Origin มีแผนพัฒนายานอวกาศที่สามารถลงจอดบนดวงจันทร์ได้ในชื่อ Blue Moon มีจุดประสงค์เพื่อการส่งอุปกรณ์การทดลอง, ของใช้ และสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต สำหรับการอยู่อาศัยของมนุษย์ในอนาคตภายในกลางปี 2020