หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อของคุณสมโภชน์ อาหุนัย ซีอีโอของบริษัท “พลังงานบริสุทธิ์” Energy Absolute (EA) กันมาในหลายด้าน บางคนอาจรู้จักเขาในฐานะหนึ่งในผู้บุกเบิกพลังงานทางเลือกในประเทศไทย ทั้งไบโอดีเซล แสงอาทิตย์ และพลังงานลม บางคนอาจรู้จักเขาในฐานะมหาเศรษฐีรุ่นใหม่ของไทย (ปัจจุบันอยู่อันดับ 10 ของอันดับมหาเศรษฐีไทยที่จัดโดย Forbes ประจำปี 2019 และเศรษฐีหุ้นไทยอันดับ 3 จากการจัดอันดับของวารสารการเงินการธนาคาร มูลค่าทรัพย์สินประมาณ 4.2 หมื่นล้านบาท)
แต่อีกบทบาทหนึ่งของคุณสมโภชน์คือ “วิศวกร” (จบการศึกษาปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) และเขากำลังสร้าง “รถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์ไทย” ในชื่อว่า MINE Mobility
นิตยสาร Bloomberg อาจยกย่องโปรเจคต์ของเขาว่า MINE คือ “Tesla of Thailand” แต่จริงๆ แล้วรถยนต์ไฟฟ้าของคุณสมโภชน์ มีเป้าหมายแตกต่างจาก Tesla อย่างสิ้นเชิง
ปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้าที่นำมาจำหน่ายในไทยล้วนผลิตจากต่างประเทศทั้งสิ้น (CBU) เป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาค่อนข้างสูงเพราะถูกภาษีหลายตัว
อย่างกรณีของ Nissan LEAF รุ่นที่นำเข้ามาจำหน่ายในไทยก็ถูกผลิตที่ญี่ปุ่น ซึ่งไม่เพียงแต่ต้นทุนสูงกว่าหลายๆ รุ่นที่นำรถสันดาปมาใส่เครื่องยนต์ไฟฟ้า เพราะ LEAF ถูกพัฒนาและผลิตขึ้นมาใหม่หมดในฐานะรถยนต์ไฟฟ้า และเมื่อนำเข้ามาต้องผ่านภาษีไม่ว่าจะภาษีขาเข้า, ภาษีสรรพสามิต, ภาษีมหาดไทยและภาษีมูลค่าเพิ่ม มีเพียงสิทธิพิเศษตามกรอบความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) เท่านั้นที่ช่วยให้ภาษีขาเข้าเหลือเพียง 20% จากที่ต้องเก็บ 80%
ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าที่ดุเดือดที่สุดในโลกคงหนีไม่พ้นประเทศจีน ล่าสุดยักษ์ใหญ่วงการรถยนต์ของโลกคือ Toyota และ BYD ได้จับมือกันพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าสำหรับประเทศจีนแล้ว
ทั้งสองบริษัทแถลงว่าจะร่วมมือกันพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าแบบซีดานและ SUV รวมถึงแบตเตอรี่ด้วย โดยรถยนต์ไฟฟ้าจะออกสู่ตลาดภายในปี 2020 ถึง 2025 ภายใต้แบรนด์ Toyota
นอกจากนี้เมื่อต้นสัปดาห์ Toyota ยังได้ประกาศร่วมมือกับ Contemporary Amerex Technology (CATL) จากจีนเพื่อพัฒนาและผลิตแบตเตอรี่ให้ด้วย แสดงให้เห็นว่าความต้องการแบตเตอรี่มีมากขนาดไหน ทำให้ Toyota ต้องดีลกับบริษัทอื่นๆ เพิ่มเติมนอกเหนือจาก Panasonic ที่เป็นพาร์ทเนอร์กันมานาน เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีแบตเตอรี่เพียงพอสำหรับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต
ตลาดรถยนต์ไฮเปอร์คาร์มีผู้เล่นใหม่จาก Lotus ค่ายรถหรูอังกฤษ ซึ่งเปิดตัว Evija (อี-วิ-ย่า) ที่จะผลิตจำนวนจำกัดเพียง 130 คันเท่านั้น
Lotus Evija มาพร้อมมอเตอร์ 4 ตัวแยกแต่ละล้อ กำลัง 1,972 แรงม้า ความเร็วสูงสุดมากกว่า 321 กม./ชม. เร่งจาก 0-96 กม./ชม. ได้ในเวลาน้อยกว่า 3 วินาที โดย Lotus ไม่ได้บอกความจุแบตเตอรี่แต่ระบุว่าจะวิ่งได้ไกล 430 กิโลเมตรต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง วัดตามมาตรฐาน NEDC
Mini เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่ก้าวเข้าสู่ยุคของรถยนต์ไฟฟ้ากับเขาแล้ว โดยการเปิดตัว Mini Cooper SE รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกของบริษัท หลังเคยออกรถต้นแบบมาเป็นน้ำจิ้มเมื่อปี 2017
การออกแบบภายนอกยังคงความเป็น Mini อยู่มาก แต่ใช้สีเหลืองสดใสตามชิ้นส่วนรอบรถเช่นหน้ากระจัง, กรอบกระจกมองข้าง, ขอบล้อแม็ก ฯลฯ เพื่อแสดงให้เห็นว่านี่ไม่ใช่รถ Mini ธรรมดา
สัปดาห์ที่แล้วเราเพิ่งลงข่าว Hans Zimmer กำลังออกแบบเสียงรถยนต์ไฟฟ้าให้ BMW ล่าสุดมีข่าวแนวเดียวกันออกมาเกี่ยวกับเสียงของรถยนต์ไฟฟ้า
สหภาพยุโรป (EU) ได้ออกกฎหมายใหม่ว่ารถยนต์ไฟฟ้าหรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษต่ำ ต้องปล่อยเสียงปลอมๆ ออกมาเพื่อให้คนเดินถนนหรือคนปั่นจักรยานได้ยินและทันระวังตัว โดยต้องปล่อยเสียงทั้งตอนเดินหน้าและถอยหลัง
รถยนต์ไฟฟ้านั้นขึ้นชื่อเรื่องความเงียบ ซึ่งบางทีอาจเป็นข้อเสียที่คนรอบๆ รถอาจไม่ทันระวังตัว หรือคนขับขับไม่สนุกเท่ารถยนต์สันดาปภายในเพราะไม่มีเสียงให้เร้าใจ
ประเด็นเหล่านี้อาจหมดไปในรถยนต์ไฟฟ้า BMW ยุคหน้า เพราะ Hans Zimmer นักแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์ชื่อดังได้เข้ามาออกแบบเสียงสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าให้ BMW แล้ว โดยเขาจะทำงานร่วมกับ Renzo Vitale นักเปียโน, วิศวกรเสียงและนักออกแบบเสียงชาวอิตาเลียนที่ทำงานให้ BMW อยู่ก่อนแล้ว
Zimmer ระบุว่าเขาชอบรถ BMW มาตลอด ในสมัยเด็กเขารู้ทันทีว่าแม่กลับมาถึงบ้านแล้วเมื่อได้ยินเสียงรถ BMW ขับเข้ามา ซึ่งเขารู้สึกตื่นเต้นมากที่จะได้ออกแบบเสียงของรถยนต์ไฟฟ้าในยุคหน้า
Volkswagen เปิดตัวบริการคาร์แชร์ริ่งในชื่อ WeShare โดยจะใช้รถยนต์ไฟฟ้า 100% รุ่น e-Golf มาให้บริการ เริ่มที่กรุงเบอร์ลินที่เป็นแรกด้วยรถยนต์ราว 1,500 คัน และมีแผนจะเพิ่มอีก 500 คันในปีหน้า
WeShare จะให้บริการแบบรับรถหรือส่งรถที่ไหนก็ได้ ตามที่จอดรถสาธารณะ ขณะที่เรื่องการชาร์จทาง Volkswagen จะเป็นคนรับผิดชอบเองทั้งหมด โดย Volkswagen มีแผนจะขยายบริการไปยังเมืองฮัมบูร์กและกรุงปราก ผ่านแบรนด์ Skoda ในเครือ VW-Group ในปี 2020
ที่มา - Volkswagen via Techcrunch
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา BMW จัดงาน NEXTGen ที่มิวนิค เผยแผนในอนาคตว่าจะเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า 25 รุ่นภายในปี 2023 เช่นรถซีดานไฟฟ้า BMW i4, รถ SUV ไฟฟ้า BMW iX3 ฯลฯ
อย่างไรก็ตามที่งานเดียวกันนี้ Klaus Frölich ผู้บริหารระดับสูงด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์กลับให้สัมภาษณ์กับสื่อในทิศทางตรงกันข้ามว่าไม่มีลูกค้าคนไหนอยากได้รถยนต์ไฟฟ้าล้วน หากแต่เป็นภาครัฐต่างหากที่อยากให้มี
"หากเราได้รับข้อเสนอใหญ่ๆ และสิ่งจูงใจดีๆ (เช่นเงินชดเชย) เราสามารถทำให้ยุโรปเต็มไปด้วยรถยนต์ไฟฟ้าเป็นล้านคัน แต่ชาวยุโรปคงไม่ซื้อใช้หรอก" เขากล่าวเสริม
แบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าหน้าใหม่กำลังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ในข่าวนี้จะพาไปพบกับรถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อ "Lightyear" จากประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2016 จากอดีตสมาชิกทีม Solar Team Eindhoven ที่เคยชนะเลิศการแข่งขันรถพลังแสงอาทิตย์ World Solar Challenge สามสมัย
Lightyear เพิ่งเปิดตัวต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกในชื่อ Lightyear One ที่มีความพิเศษคือมีแผงโซลาร์เซลล์อยู่บริเวณหลังคาและฝากระโปรง มีพื้นที่รับแสงรวม 5 ตารางเมตร ครอบด้วยกระจกนิรภัย หากชาร์จเต็มที่ 1 ชั่วโมงจะวิ่งได้ 12 กิโลเมตร
เมื่อต้นเดือนมีนาคม Honda ได้เปิดตัวต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้า Honda e ที่งาน Geneva Motor Show ล่าสุดมีรายละเอียดเพิ่มเติมของรถรุ่นดังกล่าวออกมานิดหน่อยแล้ว
รายงานระบุว่า Honda e จะมีการกระจายน้ำหนัก (Weight Distribution) แบบ 50/50 คือน้ำหนักลงที่ล้อหน้าและหลังเท่ากัน นั่นหมายความว่ารถรุ่นนี้จะทรงตัวได้ดีขณะเข้าโค้ง บวกกับเป็นรถขับเคลื่อนล้อหลังก็จะทำให้ขับได้สนุกยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ Honda e จะมาพร้อมแบตเตอรี่ขนาด 35.5 กิโลวัตต์ชั่วโมง ชาร์จไฟด้วยหัวชาร์จแบบ Type 2 (Mannekes) หรือหัวชาร์จด่วนแบบ CCS2 วิ่งได้ระยะทางราว 200 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง
เรียกว่าเป็นกระแสกันมานาน สำหรับ MG ZS EV ภาคต่อของ MG ZS ที่ขณะนี้ออกมาเป็นเวอร์ชันรถยนต์ไฟฟ้าล้วนแล้ว
ล่าสุด MG ประเทศไทยได้เปิดตัวรถยนต์รุ่นดังกล่าวแล้วที่ราคา 1,190,000 บาท โดยมีวางจำหน่ายรุ่นเดียว ไม่มีรุ่นย่อยใดๆ
MG ZS EV ที่จำหน่ายในประเทศไทยติดตั้งแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนขนาด 44.5 กิโลวัตต์ชั่วโมง วิ่งได้ระยะทาง 337 กิโลเมตรต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง (วัดตามมาตรฐาน NEDC) มีกำลัง 150 แรงม้า, แรงบิด 350 นิวตันเมตร
การชาร์จไฟจะมีสองโหมดคือชาร์จแบบปกติผ่านตู้ชาร์จ MG Home Charger ใช้เวลา 6.5 ชั่วโมง และชาร์จด่วนตามสถานีชาร์จสาธารณะได้ 80% ในเวลา 30 นาที ส่วนการชาร์จจากปลั๊กไฟบ้านก็สามารถทำได้แต่คาดว่าจะใช้เวลานานมาก
เราเห็นข่าวรถกระบะ Tesla มาราว 2 ปีแล้ว จากการที่ Elon Musk บอกเองว่าเขาสนใจทำรถกระบะ และอาจเปิดตัวภายในปีนี้ อย่างไรก็ตามมียูทูบเบอร์รายหนึ่งรอไม่ไหวเลยจัดการแปลงรถตัวเองเสียเลย
Simone Giertz ยูทูบเบอร์หญิงชาวอเมริกัน หรือใช้ฉายาว่า The Queen of Shitty Robots ผู้รักการประดิษฐ์หุ่นยนต์เป็นชีวิตจิตใจ ได้เริ่มโปรเจ็คแปลงรถ Tesla Model 3 ของเธอเองเป็นรถกระบะ ซึ่งเธอบอกในวิดีโอว่าอยากได้รถกระบะไฟฟ้ามาก
วันนี้ในงานประชุมผู้ถือหุ้น Tesla นั้น ซีอีโอ Elon Musk ระบุว่าบริษัท Tesla อาจต้องเข้าสู่ธุรกิจเหมืองแร่ เพื่อหาแร่มาใช้ในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าด้วยตัวเอง หากบริษัทตั้งใจจะขยายไลน์สินค้าและเพิ่มจำนวนการผลิตให้มากยิ่งขึ้น
ปัจจุบัน Tesla มีโรงงาน Gigafactory 1 อยู่ที่รัฐเนวาดาอยู่แล้ว โดยโรงงานนี้มีหน้าที่ผลิต Model 3 และแบตเตอรี่ ซึ่งตอนนี้ Tesla วางแผนจะปล่อยผลิตภัณฑ์ตามความสามารถในการผลิตของโรงงาน แต่ Tesla อาจไม่หยุดแค่นั้น เพราะแผนระยะยาวของบริษัทอาจต้องผลิตรถยนต์ไฟฟ้าอีกจำนวนมาก
Mazda เป็นผู้ผลิตรถยนต์อีกค่ายจากญี่ปุ่นที่ไม่ค่อยมีข่าวคราวความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าสักเท่าไหร่ ซึ่งที่ผ่านมาก็ประสบความสำเร็จมากกับเครื่องยนต์ SKYACTIV ที่ให้ความประหยัดเหนือเครื่องยนต์จากค่ายอื่น
ล่าสุด Akira Marumoto ซีอีโอของ Mazda ถูกสื่อยุโรปถามว่า Mazda จะรับมืออย่างไรเมื่อกฎเกณฑ์ด้านมลภาวะในยุโรปนั้นโหดขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เขาเผยออกมาว่า Mazda จะเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าล้วนรุ่นแรกภายในปีหน้า และจะตามมาด้วยรถ plug-in hybrid ราวปี 2021 ถึง 2022 แต่ในปี 2020 ก็จะมีความลำบากอยู่บ้าง
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า ตอนนี้รัฐบาลอินเดียกำลังวางแผนเพิ่มการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า โดยจะออกคำสั่งให้บริษัทเรียกรถอย่าง Uber หรือ Ola ซึ่งมีรถยนต์ให้บริการบนแพลตฟอร์มกว่าแสนคันในประเทศว่าต้องมีรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ 40% ของฟลีตทั้งหมดภายในเดือนเมษายน 2026
ภายใต้แผนการผลักดันนี้ รัฐบาลจะให้บริษัทรายงานความคืบหน้าอยู่เป็นระยะ ๆ โดยแผนจะเป็นขั้น ๆ คือ 2.5% ในปี 2021, 5% ในปี 2022 และ 10% ในปี 2023
อินเดียนั้นต้องการผลักดันรถยนต์ไฟฟ้าอย่างจริงจัง เพราะปัจจุบันยอดขายรถยนต์ไฟฟ้ายังนับว่าน้อยมาก โดยยอดทั้งปีนับจนถึงเดือนมีนาคมที่ผ่านมามีรถยนต์ไฟฟ้าขายได้เพียง 3,600 คันเท่านั้น ในขณะที่รถยนต์ใช้น้ำมันขายได้ถึง 3.3 ล้านคัน
จากที่ Tesla ได้เริ่มก่อสร้างโรงงาน Gigafactory 3 ที่เซี่ยงไฮ้ตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา เพื่อผลิตรถยนต์ Model 3 สำหรับป้อนตลาดจีน ล่าสุด Tesla ได้เปิดราคารถรุ่นดังกล่าวแล้ว
ณ ตอนนี้ Tesla Model 3 รุ่นผลิตในจีนจะมีแค่รุ่น Standard Range Plus หรือก็คือรุ่นรองต่ำสุด โดยราคาขายในจีนที่เพิ่งประกาศออกมาอยู่ที่ 328,000 หยวน (ราว 1.5 ล้านบาท) ถูกลงจากรุ่นเดียวกันที่นำเข้าจากสหรัฐอเมริกาอยู่ 49,000 หยวนหรือราว 2.2 แสนบาท ซึ่งตอนนำเข้าต้องเสียภาษีที่อัตรา 25%
Tesla เตรียมออกอัพเดตให้รถยนต์ Model X และ S ในยุโรปเพื่อลดความสามารถของระบบ Autopilot ลง หลังสหภาพยุโรปออกข้อบังคับใหม่ที่เกี่ยวข้องกับระบบช่วยขับในรถยนต์
ข้อบังคับ UN/ECE R79 ถูกประกาศออกมาเมื่อปีที่แล้ว และสหภาพยุโรปได้นำมาบังคับใช้ ทำให้รถยนต์ทุกรุ่นในยุโรปที่มีระบบช่วยขับต้องทำตาม ซึ่งฝั่ง Tesla กำลังเตรียมออกอัพเดตปรับลดองศาการหมุนของพวงมาลัยลงจากเดิม ซึ่ง Tesla ระบุว่าอาจจะทำให้ความสามารถในเข้าโค้งหักศอก (sharp turn) ลดลงได้ อีกทั้งยังกำหนดว่าผู้ขับขี่ต้องสามารถหยุดการทำงานของระบบช่วยเลี้ยวของรถด้วยแรงไม่เกิน 50 นิวตันด้วย
เมื่อปี 2017 เราเคยรายงานข่าวว่าเยอรมนีจะเริ่มสร้าง "eHighway" ที่สามารถจ่ายไฟให้รถบรรทุกวิ่งด้วยไฟฟ้าได้ ล่าสุดเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา รัฐ Hesse ได้เปิดใช้งาน eHighway แล้ว
eHighway ที่เปิดใช้งานมีความยาว 9.66 กิโลเมตร เป็นส่วนหนึ่งของ Autobahn ใกล้ๆ เมือง Frankfurt โดยติดตั้งสายไฟฟ้าที่ปล่อยไฟกระแสตรง 670 โวลต์ไว้ เพื่อให้รถบรรทุกระบบไฮบริดที่ติดตั้งอุปกรณ์ก้านรับไฟฟ้า (pantograph) ยกขึ้นไปแตะรับกระแสไฟฟ้าเพื่อนำมาชาร์จแบตเตอรี่และใช้ขับเคลื่อน ซึ่งรถบรรทุกต้องแล่นที่ความเร็วไม่เกิน 90 กม./ชม. และช่วงที่เชื่อมต่อกันรถจะใช้ไฟฟ้าล้วนๆ ในการเคลื่อนที่
นอกจากที่ถอดรถยนต์ Model 3 รุ่นราคาต่ำสุดออกจากหน้าเว็บ Tesla ยังพยายามขายของแพงให้ลูกค้าโดยประกาศใส่ฟีเจอร์ Autopilot เข้ามาเป็นฟีเจอร์มาตรฐานในรถทุกรุ่น จากที่ก่อนหน้านี้ต้องซื้อเพิ่มในราคา 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้รถ Model 3 รุ่น Standard Range Plus จากที่เคยมีราคา 37,500 กลายเป็นราคา 39,500 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งก็ถูกกว่าก่อนหน้านี้ที่หากซื้อเพิ่มจะเป็น 40,500 ดอลลาร์สหรัฐ แต่สำหรับลูกค้าที่ไม่ต้องการฟีเจอร์ดังกล่าวก็เหมือนถูกบังคับให้จ่ายแพงขึ้นถึง 2,000 ดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว
เมื่อต้นเดือนมีนาคม Tesla ได้เริ่มเปิดรับคำสั่งซื้อรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 รุ่นราคาต่ำสุด 35,000 ดอลลาร์สหรัฐที่สัญญาไว้ตั้งแต่เปิดตัวเมื่อสามปีก่อน แต่ล่าสุด Tesla ได้ถอดรถรุ่นดังกล่าวออกจากหน้าเว็บแล้ว
Tesla ระบุในบล็อก (อันเดียวกับที่เปิดตัวโครงการเช่ารถ) ว่าบริษัทต้องการทำให้ระบบการสั่งซื้อง่ายขึ้น จึงได้ตัดสินใจถอดรถ Model 3 รุ่นราคา 35,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ใช้ชื่อการตลาดว่า Standard) ออกจากหน้าเว็บ โดยอ้างว่าเพราะรุ่น Standard Range Plus ที่วิ่งได้ระยะทางไกลกว่าและประสิทธิภาพดีกว่านั้นขายดีกว่ารุ่น Standard ถึง 6 เท่า โดยหลังจากนี้รุ่น Standard จะถูกผลิตออกมาเหมือนรุ่น Standard Range Plus แต่ถูกจำกัดประสิทธิภาพและระยะทางด้วยซอฟต์แวร์แทน
หลังจากมีข่าวหลุดมาตั้งแต่เดือน 2 วันนี้ Tesla เปิดตัวโครงการเช่ารถยนต์ Model 3 แล้ว โดยมีตัวเลือก 3 ตัวเลือกตามระยะทางที่วิ่งต่อปีคือ 10,000, 12,000 และ 15,000 ไมล์
Tesla ยืนยันว่าลูกค้าที่ใช้บริการเช่าจะไม่สามารถซื้อขาดรถได้หลังหมดสัญญา เพราะ Tesla จะเอาไปใช้กับบริการ Ride-Hailing ของตัวเอง เมื่อซอฟต์แวร์ไร้คนขับมีความพร้อมสมบูรณ์ในอนาคต คล้ายๆ กับที่ Uber และ Lyft มีแผนจะทำ
ที่มา - Electrek
นอร์เวย์เป็นหนึ่งในประเทศที่ก้าวหน้าที่สุดในแง่กฎหมายและโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า (ไล่ดูข่าวเก่าได้จากแท็ก Norway) ซึ่งก็สอดคล้องกับจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าบนท้องถนนที่มากขึ้นเรื่อยๆ อย่างล่าสุดกรมการขนส่งนอร์เวย์ (Norwegian Road Federation - NRF) เปิดเผยว่า เดือนมีนาคมที่ผ่านมา รถยนต์ที่ออกใหม่เป็นรถไฟฟ้าถึง 58%
NRF ระบุด้วยว่า Tesla Model 3 เป็นรุ่นที่ได้รับความนิยมที่สุด คิดเป็น 30% ขอรถยนต์ที่ถูกซื้อเมื่อเดือนที่แล้ว ขณะที่ยี่ห้ออื่นๆ มีสัดส่วนไม่ถึง 10% ขณะที่รถยนต์ไฟฟ้าแบบ full electric มีส่วนแบ่งตลาดรถยนต์นอร์เวย์ในปี 2018 ที่ 31.2% ขึ้นจากปี 2017 ที่อยู่ที่ 20.8%
Toyota ประกาศเปิดให้ผู้ผลิตรถยนต์เจ้าอื่นเข้าถึงสิทธิบัตรด้านรถยนต์ไฟฟ้าและระบบไฮบริดของตนเกือบ 24,000 ใบ โดยมีเป้าหมายคือช่วยเร่งให้มีรถยนต์ไฟฟ้าออกสู่ตลาดมากขึ้นภายในเวลา 10 ปีข้างหน้า
สิทธิบัตรกลุ่มดังกล่าวเป็นเรื่องมอเตอร์ไฟฟ้า 2,590 ใบ, เรื่องอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้า (Power Control Unit - PCU) 2,020 ใบ, เรื่องการชาร์จไฟ 2,200 ใบ และอื่นๆ อีกหลายพันใบ
นอกจากนี้ Toyota ยังจะขายชิ้นส่วนเกี่ยวกับระบบขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้าให้ผู้ผลิตรถยนต์เจ้าอื่นด้วย เช่นมอเตอร์, แบตเตอรี่, PCU, ECU ฯลฯ และผู้ผลิตที่ซื้อชิ้นส่วนไปสามารถซื้อซัพพอร์ตด้านเทคนิคจาก Toyota เพิ่มได้ด้วย
เมื่อปี 2015 Toyota เคยเปิดสิทธิบัตรเกี่ยวกับรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) ไปแล้วจำนวน 5,680 ใบ
เมื่อปลายปีที่ผ่านมา Hyundai ได้ประกาศราคาของรถยนต์ SUV ไฟฟ้าล้วน Hyundai KONA electric ที่สหรัฐอเมริกาด้วยราคาเริ่มต้น 36,450 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1.15 ล้านบาท (ยังไม่รวมส่วนลดภาษีจากรัฐ) ล่าสุด Hyundai ประเทศไทยได้ประกาศราคารถรุ่นนี้อย่างเป็นทางการแล้ว โดยเริ่มที่ 1,849,000 บาท
Hyundai KONA electric ที่นำมาทำตลาดในประเทศไทยมีด้วยกัน 2 รุ่นย่อย คือรุ่น SEL และ SE โดยมีรายละเอียดดังนี้