เมื่อช่วงกลางปี เราเห็น Arm เปิดตัว Cortex-X1 แกนซีพียูรุ่นพิเศษที่แรงที่สุดของบริษัท ที่ขายไลเซนส์แบบคัสตอมให้ผู้ผลิตซีพียูรายอื่นซื้อไปใช้งานอีกที
รูปแบบการใช้งานคือใช้ Cortex-X1 ตัวเดียวเป็นแกนหลัก บวกด้วยแกนชนิดอื่นๆ เช่น Cortex-A78 หรือ Cortex-A55 เข้ามาเสริม (จะกลายเป็น 1+3+4 คอร์ แทนที่จะเป็น 4+4 คอร์ แบบที่นิยมใช้กัน)
พาร์ทเนอร์ที่ Arm เคยระบุชื่อไว้คือซัมซุง ทำให้ตอนนี้เริ่มมีข่าวลือออกมาว่า Exynos 2100 ตัวใหม่ของซัมซุง (น่าจะใช้กับ Galaxy S21) จะใช้ Cortex-X1 ด้วย แถมยังมีตัวเลขเบนช์มาร์คหลุดจาก Geekbench เป็นหลักฐานออกมาด้วย
ARM ประกาศในงาน ARM DevSummit ว่าซีพียูตระกูล Cortex-A ที่จะออกในปี 2022 เป็นต้นไปจะรองรับชุดคำสั่ง 64 บิตเท่านั้น
ARM ระบุว่าตอนนี้แอป (น่าจะหมายถึงที่รองรับสถาปัตยกรรม ARM) ราว 60% รองรับ 64 บิตเรียบร้อยแล้ว ขณะที่นักพัฒนาก็มีเวลาปรับปรุงแอป เพราะกว่าผลิตภัณฑ์จริงจะออกถึงผู้บริโภคก็น่าจะราวปี 2023 ขณะที่ Google ก็เริ่มบังคับให้แอปที่ส่งขึ้น Play Store ต้องรองรับ 64 บิตไปแล้ว แม้ตัวระบบปฏิบัติการเองจะยังคงรองรับ 32 บิตอยู่ ตรงกันข้ามกับ iOS ที่ประกาศแล้วว่าจะไม่รองรับแอป 32 บิตในปี 2022 เป็นต้นไป
ที่มา - XDA
อินเทลเปิดตัว Core 11th Gen "Tiger Lake" ซีพียูสำหรับโน้ตบุ๊กไปเรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปคือซีพียู 11th Gen สำหรับฝั่งเดสก์ท็อปบ้าง
ล่าสุดอินเทลยืนยันแล้วว่าจะเปิดตัว Core 11th Gen "Rocket Lake" ในช่วงไตรมาส 1 ของปีหน้า 2021 โดยระบุข้อมูลแค่ว่าจะรองรับ PCIe 4.0 เท่านั้น กลุ่มเป้าหมายหลักของซีพียูชุดนี้คือเกมเมอร์ และอินเทลก็ระบุว่าจะทำงานกับสตูดิโอเกมหลายๆ แห่งอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ประสิทธิภาพออกมาดีที่สุดด้วย
สิ่งที่น่าจับตาคือ AMD จะเปิดตัว Ryzen 4000 รุ่นเดสก์ท็อปคืนนี้ตามเวลาบ้านเรา ซึ่งจะทำให้ AMD มีแต้มต่อในฝั่งเดสก์ท็อปนำหน้าอินเทลเป็นเวลาหลายเดือน
สถาปัตยกรรมซีพียู RISC-V ที่ริเริ่มโดยมหาวิทยาลัย Berkley ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ (เช่น Western Digital หรือ Alibaba) โดยเฉพาะเมื่อ NVIDIA ซื้อ Arm ทำให้หลายคนเริ่มไม่มั่นใจในอนาคตของสถาปัตยกรรม ARM ว่าจะเปิดกว้างต่อไปหรือไม่ ตัวเลือกที่เด่นชัดจึงเป็น RISC-V ที่มีแนวทางเปิดกว้าง ไม่เก็บค่าไลเซนส์ใดๆ
เว็บไซต์ VentureBeat สัมภาษณ์ Calista Redmond ซีอีโอของ RISC-V International ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่ไม่หวังผลกำไร และตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลการพัฒนา RISC-V ในภาพรวม (ตัวองค์กรจดทะเบียนในสวิตเซอร์แลนด์)
AMD เปิดตัวซีพียู Ryzen Mobile และ Athlon Mobile แยกเฉพาะสำหรับโน้ตบุ๊กกลุ่ม Chromebook โดยใช้รหัส C ห้อยท้ายให้เห็นความแตกต่างจากรุ่นปกติ
ซีพียูที่เปิดตัวมีทั้งหมด 5 รุ่นย่อย เลขเวอร์ชันยังเป็นรหัส 3000 แปลว่ายังใช้แกน Zen 1 ชุดเดียวกับ Ryzen 3000 ที่เปิดตัวในปี 2019 (ยังไม่ใช่ Zen 2 ของปี 2020 ที่รหัส 4000) ทุกตัวมีค่า TDP 15 วัตต์เท่ากันทั้งหมด
ปกติแล้วเมื่อพูดถึงสินค้าของ Arm เรามักนึกถึงซีพียูตระกูล Cortex แต่จริงๆ แล้ว Arm ยังมีซีพียูแบรนด์อื่นๆ สำหรับงานเฉพาะทาง เช่น SecurCore สำหรับงานด้านความปลอดภัย, Ethos สำหรับงานประมวลผล AI เป็นต้น
เมื่อต้นปี 2019 Arm พยายามบุกตลาดซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์เครือข่ายด้วยแบรนด์ใหม่ Neoverse โดยเปิดตัวซีพียูมาสองรุ่นคือ Neoverse N1 และ E1
เมื่อวานนี้ Arm ประกาศแผนอัพเดตแพลตฟอร์ม Neoverse ในระยะอีก 2 ปีข้างหน้าคือ 2021-2022 โดยจะออกซีพียูใหม่อีก 2 รุ่นดังนี้
อินเทลเปิดตัวซีพียูสำหรับงานสาย IoT โดยมาพร้อมหน้าทุกระดับแบรนด์ ตั้งแต่ Core 11th Gen (Tiger Lake), Atom, Pentium, Celeron โดยใช้รหัสรุ่นห้อยท้ายตัว E ให้เห็นความแตกต่างจากรุ่นปกติ
ซีพียูทั้งสามรุ่นคือ Atom x6000E, Pentium, Celeron มีฟีเจอร์ใหม่ Programmable Services Engine (Intel PSE) มันคือไมโครคอนโทรลเลอร์ ARM Cortex-M7 ที่ช่วยแบ่งโหลดงานบางอย่าง (โดยเฉพาะงานกินพลังงานต่ำ) ออกจากซีพียูเพื่อประหยัดพลังงาน การที่มีหน่วยประมวลผลแยกอีกตัวยังรองรับการรีโมทเข้ามาจัดการ โดยไม่ต้องยุ่งกับซีพียูหลักได้ด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์หาก OS ที่รันบนซีพียูหลักค้างหรือไม่ตอบสนอง
สัปดาห์ที่แล้ว เว็บไซต์ฮาร์ดแวร์ต่างประเทศหลายรายเริ่มได้ Intel Core 11th Gen รหัส "Tiger Lake" ไปทดสอบกันแล้ว จุดที่น่าสนใจคือตัวจีพียู Iris Xe (อ่านว่า "เอ็กซ์อี") ที่อิงจากสถาปัตยกรรมใหม่ Xe-LP ให้ผลการทดสอบออกมาดี ชนะจีพียูแบบออนบอร์ดของคู่แข่งคือ Radeon Vega ใน Ryzen ซีรีส์ 4000U ได้แบบทิ้งห่าง
หน่วยประมวลผลรุ่นที่นำไปทดสอบคือ Core i7-1185G7 ซึ่งเป็นรุ่นท็อปสุดของ Tiger Lake ที่เปิดตัวมาในขณะนี้ ตัวจีพียู Iris Xe มีคอร์ (execution unit หรือ EU) จำนวน 96 คอร์ โดยโน้ตบุ๊กที่ทดสอบเป็นโน้ตบุ๊กตัวอย่าง (reference design) ของอินเทลเอง ยังไม่ใช่สินค้าที่วางขายจริง
Arm เปิดตัวชิปใหม่ Cortex-R82 สำหรับตลาดอุปกรณ์เรียลไทม์ โดยเน้นตลาดอุปกรณ์สตอเรจ เช่น SSD หรือโซลูชันสตอเรจสำหรับองค์กร ที่ต้องการใช้ชิปสมรรถนะสูงขึ้นมาควบคุมสตอเรจรุ่นใหม่ที่ประสิทธิภาพดีขึ้นเรื่อยๆ
Arm มีชิปสาย Cortex-R สำหรับงานเรียลไทม์อยู่แล้วคือ Cortex-R52 ที่ออกในปี 2016 การออก Cortex-R82 จึงถือเป็นการอัพเกรดใหญ่ในรอบ 4 ปี เพื่อให้ได้ชิปตัวใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
เมื่อปลายปี 2018 Qualcomm เปิดตัวหน่วยประมวลผล Snapdragon 8cx สำหรับพีซี ARM รันวินโดวส์ โดยชูจุดเด่นเรื่องการประหยัดแบตเตอรี่ และการเชื่อมต่อเครือข่าย LTE ตลอดเวลา (Always On, Always Connected) แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จมากนักในแง่ยอดขายหรือจำนวนสินค้าที่ใช้งาน (มีเพียง Samsung Galaxy Book S, Lenovo Yoga 5G และ Surface Pro X ที่ใช้ชิป SQ1 ซึ่งเป็น 8cx รุ่นพิเศษ)
แต่ Qualcomm ก็ยังไม่ยอมแพ้ง่ายๆ ล่าสุดวันนี้เปิดตัว Qualcomm Snapdragon 8cx Gen 2 5G ที่พัฒนาขึ้นจากเดิมในบางจุด
อินเทลเปิดตัวซีพียู Core รุ่นที่ 11 สำหรับโน้ตบุ๊กบางเบา พร้อมส่วนกราฟิกใหม่ Iris Xe หรือชื่อรหัส Tiger Lake ผลิตด้วยกระบวนการผลิต SuperFin 10 นาโนเมตร ตัวชิปรองรับการเชื่อมต่อ Thunderbolt 4 และ PCIe Gen 4 ใช้แรม LPDDR4X พร้อมระบุว่าตัวควบคุมรองรับแรมแบบอื่นในอนาคตได้
อินเทลทดสอบซีพียูรุ่นใหม่เทียบกับ AMD Ryzen 7 4800U เป็นหลักเพื่อยืนยันว่าผลการทดสอบการใช้งานประสิทธิภาพดีกว่าทุกประเภท ด้านกราฟิกอินเทลระบุว่า Iris Xe สามารถคอนฟิกจำนวนคอร์ได้สูงสุด 96 EU ประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับการเล่นเกมยุคใหม่ เช่น Borderlands 3, Far Cry New Dawn, และ Hitman 2 ที่ระดับ 1080p รองรับข้อมูลแบบ INT8 ในตัวสำหรับการประมวลผลปัญญาประดิษฐ์
MediaTek เปิดตัวชิป Helio G95 หน่วยประมวลผลสำหรับเกมมิ่งโฟนตัวใหม่ ต่อจาก Helio G90 ที่ออกมาก่อนหน้านี้
ในการแถลงทางวิดีโอ Intel Platform Advantage Virtual Briefing เมื่อวันที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา Intel พูดถึงการเลือกใช้เบนช์มาร์คต่างๆ วัดสมรรถนะของซีพียู
ปกติเบนช์มาร์คมี 2 แบบ คือแบบสังเคราะห์ จำลองงานบางอย่างมาให้ซีพียูทำ เช่น Cinebench หรือ 3DMark กับแบบที่เรียกรันแอพที่คนใช้จริงๆ เช่น Sysmark 25 หรือ MobileMark ที่รันแอพจริงบนเครื่อง เช่น Google Chrome, Microsoft Office และแอพตระกูล Adobe
อินเทลระบุว่า เบนช์มาร์คแบบรันแอพจริงสะท้อนประสิทธิภาพการใช้งานจริงได้ดีกว่าแบบสังเคราะห์ ที่ AMD ตระกูล Ryzen 4000 มีคะแนนนำอินเทลอยู่ในช่วงนี้
ไอบีเอ็มเปิดตัวซีพียู POWER10 ที่ใช้เวลาพัฒนานานกว่า 5 ปี มีประสิทธิภาพต่อพลังงานดีกว่า POWER9 สูงสุด 3 เท่าตัว และจุดน่าสนใจคือรอบนี้ไอบีเอ็มร่วมมือกับซัมซุงใช้ให้ผลิตชิปด้วยเทคโนโลยี 7nm ให้หลังจากวิจัยร่วมกันตั้งแต่ปี 2015 จุดเด่นสำคัญของ POWER10 ได้แก่
อินเทลจัดงาน Architecture Day 2020 โดยหัวหน้าทีมสถาปัตยกรรม Raja Koduri นำทีมมาเล่าแผนการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ของอินเทลในอนาคตอันใกล้นี้ สินค้าหลักที่ทุกคนให้ความสนใจย่อมหนีไม่พ้นซีพียูโค้ดเนม Tiger Lake ที่จะใช้ชื่อ Core 11th Gen ทำตลาด
อินเทลเริ่มให้ข้อมูลของ Tiger Lake มาตั้งแต่ต้นปี มันจะเป็น SoC สำหรับโน้ตบุ๊กที่มีทั้งซีพียูและจีพียูมาในตัว (อินเทลใช้คำเรียกว่า XPU)
ของใหม่ใน Tiger Lake มีทั้งซีพียูสถาปัตยกรรมใหม่ Willow Cove, จีพียูตัวใหม่ Xe-LP และการผลิตแบบใหม่ 10nm SuperFIN
ในงานแถลงผลประกอบการไตรมาส 2/2020 ของ AMD บริษัทยืนยันว่ากำหนดเปิดตัวผลิตภัณฑ์ทุกอย่างยังเป็นไปตามแผน โดยปีนี้เราจะได้เห็น ซีพียูแกน Zen 3, SoC คัสตอมสำหรับ Xbox Series X และ PS5, จีพียูสถาปัตยกรรม RDNA2
ประเด็นที่น่าสนใจในงานแถลงผลประกอบการ Q2/2020 ของอินเทลคือบริษัทยอมรับว่า กระบวนการผลิตขนาด 7 นาโนเมตรต้องช้ากว่าแผน 6 เดือน
อินเทลบอกว่าปัญหามาจากเรื่อง yield (อีกแล้ว) ที่ทำได้ช้ากว่าเป้าหมายไป 12 เดือน ตอนนี้บริษัทสามารถหาสาเหตุของปัญหาในกระบวนการผลิตได้แล้วและคาดว่าจะไม่มีอุปสรรคอะไรอีก แต่อินเทลก็เตรียมแผนสำรองไว้แล้ว ซึ่งรวมถึงการจ้างโรงงานอื่นผลิตชิปให้แทน โดยชิปกราฟิกตัวใหม่ Ponte Vecchio สำหรับตลาดศูนย์ข้อมูล ที่มีกำหนดวางขายปลายปี 2021 หรือต้นปี 2022 จะใช้โรงงานของบริษัทอื่นมาร่วมผลิตให้ด้วย (ไม่ระบุชื่อว่าที่ไหน)
AMD เปิดตัวหน่วยประมวลผล (APU) ตระกูล Ryzen 4000G สำหรับเดสก์ท็อป OEM (ไม่ได้ขายเป็นกล่องแยกมาประกอบเอง) โดยไส้ในเป็นแกน Zen 2 โค้ดเนมของ Renoir (โค้ดเนม Zen 2 บนเดสก์ท็อปคือ Mattisse) ดังนั้นใส้ในจึงเป็นตัวเดียวกับ Ryzen 4000 Mobile รองรับแรมถึง DDR4-3200 และ PCIe 3.0 8 เลน และมาพร้อมกับชิปกราฟิค Vega เหมือนกัน
จุดแตกต่างของ Ryzen 4000G และ Ryzen 4000 Mobile จึงมีแค่ความเร็วสัญญาณนาฬิกาและค่า TDP เท่านั้น มาครบทั้ง Ryzen 3/5/7 โดยแต่ละรุ่นจะมีรุ่นย่อย GE ที่ปรับค่า TDP ลงจาก 65W เหลือ 35W และปรับสัญญาณนาฬิกาลง รวมถึงมีรุ่น Pro สำหรับสายธุรกิจที่มีสเปคเหมือนกัน แต่เพิ่มฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยเข้าไป
AMD เปิดตัวซีพียูซีรีส์ใหม่ Ryzen Threadripper Pro สำหรับตลาดเวิร์คสเตชัน โดยจะไม่วางขายปลีกทั่วไป แต่ขายให้กับผู้ผลิตพีซี OEM เท่านั้น
Threadripper Pro ยังคงซีพียูแบบเดียวกับ Threadripper ซีรีส์ 3000 ที่เป็นแกน Zen 2 จุดแตกต่างสำคัญคือรุ่น Pro รองรับแรมแบบ 8 channel (รุ่นปกติ 4 channel) สูงสุด 2TB, รองรับ PCIe 4.0 มากถึง 128 เลน (รุ่นปกติสูงสุด 88 เลน) และฟีเจอร์ความปลอดภัย-การจัดการสำหรับภาคธุรกิจแบบเดียวกับ Ryzen Pro
ต่อเนื่องจากข่าว Linus Torvalds ซื้อคอมใหม่ เลือกใช้ AMD Threadripper 3970X แทนซีพียูอินเทล (สเปกคอมของ Linus อย่างละเอียด)
Linus ไปขึ้นเวทีงาน Open Source Summit 2020 และมีคนถามถึงประเด็นนี้ว่า เขาเป็นคนชอบความเงียบในออฟฟิศ มีปัญหาอะไรกับเสียงพัดลมของ Threadripper หรือเปล่า
คำตอบของ Linus คืองานของเขาต้องจัดการแพตช์เคอร์เนลจำนวน 20-30 แพตช์ต่อวัน การคอมไพล์เคอร์เนลบนเครื่องเดิมใช้เวลานานกว่า 15 นาทีต่อครั้ง ซึ่งเขาพบว่าพัดลมบนเครื่องใหม่เสียงดังจริง แต่เขาพบว่าทนได้เพราะระยะเวลาการคอมไพล์สั้นลงกว่าเดิม กลายเป็นว่าตอนนี้เขากลับรู้สึกดีที่ได้ยินเสียงพัดลมทำงานด้วยซ้ำ
ภายหลังงาน WWDC 2020 เริ่มมีนักพัฒนาได้รับชุด Developer Transition Kit (DTK) ซึ่งประกอบด้วยเครื่อง Mac Mini รุ่นพิเศษที่ใช้ชิป A12Z และสิทธิ์ในการเข้าถึงเครื่องมือในการพัฒนาแอปบน Apple Silicon และแม้ว่าข้อตกลงการยืมชุดพัฒนาจะไม่อนุญาตให้ทำการ benchmark ตัวเครื่องแต่ก็ได้มีนักพัฒนานำเครื่องไปรันโปรแกรม Geekbench ในเวอร์ชัน x86_64 ผลลัพธ์ที่ได้เป็นดังนี้
ข่าวใหญ่ของวงการไอทีสัปดาห์นี้ย่อมเป็นเรื่อง แอปเปิลย้าย Mac จากสถาปัตยกรรม x86 มาเป็น ARM โดยเปลี่ยนมาใช้ซีพียูออกแบบเองที่มีชื่อเรียกรวมๆ ว่า Apple Silicon (ยังไม่มีข้อมูลของซีพียูตัวที่จะใช้จริงๆ)
ประกาศของแอปเปิลทำให้เกิดคำถามตามมามากมาย ซึ่งแอปเปิลเองก็ตอบคำถาม (บางส่วน) ไว้ในเซสซันย่อยของงาน WWDC 2020 เราจึงรวบรวมรายละเอียดมาให้อ่านกันครับ
เมื่ออดีตอันไกลโพ้นปี 2014 AMD เคยประกาศแผน 25x20 ที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพด้านพลังงาน (energy efficiency) ให้ได้ 25 เท่าภายในปี 2020
บัดนี้ถึงปี 2020 แล้ว AMD ออกมาประกาศว่าแผนการสำเร็จลุล่วง หลัง Ryzen 4000 Mobile หรือโค้ดเนม "Renoir" หน่วยประมวลผลสำหรับโน้ตบุ๊ก (เป็น APU ที่รวม CPU+GPU) สามารถเพิ่มค่าประหยัดพลังงานได้ 31.7 เท่าเมื่อเทียบกับตัวเลขปี 2014
หนึ่งในข่าวใหญ่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วในวงการนักพัฒนาคือการย้ายสถาปัตยกรรมครั้งใหญ่ของแอปเปิลจาก x86 ไป ARM ซึ่งก็มีการคาดการณ์กันไปว่า เพราะแอปเปิลต้องการรวมแพลตฟอร์มและสถาปัตยกรรมของทั้ง iPhone/iPad และ MacBook ให้ไปในทางเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม François Piednoël อดีตวิศวกรของ Intel ให้สัมภาษณ์กับ PCGamer เผยว่าหนึ่งในสาเหตุที่แอปเปิลเปลี่ยนไปใช้ ARM เพราะปัญหาเรื่องคุณภาพที่เกิดขึ้นกับซีพียูสถาปัตยกรรม Skylake ของ Intel (Comet Lake เป็น Skylake รุ่นที่ 4) ที่แอปเปิลต้องคอยแก้ เลยเป็นเหมือนฟางที่ค่อย ๆ ขาดในมุมของแอปเปิล โดย Piednoël ใช้คำว่า Skylake นั้นแย่แบบผิดปกติ (abnormally bad) ขณะที่แอปเปิลก็เป็น OEM ที่ยื่นเรื่องว่าเจอปัญหาเยอะที่สุดด้วย
ที่มา - PCGamer
AMD เคยเป็นเจ้าแห่งโลกซูเปอร์คอมพิวเตอร์อยู่พักหนึ่ง โดยซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Cray Titan ที่ใช้ซีพียู Opteron เคยครองแชมป์ของ TOP500 ช่วงปี 2012 แต่พอ AMD เข้าสู่ "ยุคมืด" ทำให้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่นหลังๆ แทบไม่มีเครื่องที่อันดับสูงๆ ใช้ซีพียู AMD เลย
เมื่อ AMD "คัมแบ็ค" กลับมาด้วยซีพียูสถาปัตยกรรม Zen สิ่งที่ต้องจับตาคืออันดับของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียู EPYC ว่าจะไต่กลับเข้ามาเมื่อไร
ในการประกาศผล TOP500 รอบล่าสุด (กลางปี 2020) ในที่สุด AMD ก็สามารถกลับคืนสู่ TOP 10 ของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่แรงที่สุดในโลกได้แล้ว ที่น่าตื่นเต้นกว่าก็คือ คอมพิวเตอร์เครื่องนี้คือ Selene ของคู่แค้น NVIDIA ที่เลือกใช้ซีพียู EPYC จาก AMD