Tags:
Node Thumbnail

เมื่อปลายเดือนที่แล้ว AMD เปิดตัว Ryzen 3 เดสก์ท็อป 3100 และ 3300X ซึ่งเป็นซีพียูแกน Zen 2 ระดับล่างสุด (ราคา 99/129 ดอลลาร์) ล่าสุดมีผลการทดสอบเบนช์มาร์คของ Ryzen 3 3100 และ 3300X ออกมาในสื่อต่างประเทศแล้ว

เว็บไซต์ AnandTech รีวิว Ryzen 3 3100 และ 3300X โดยนำไปเทียบกับ Core i7-7700K (7th Gen) ซีพียูตัวท็อปของอินเทลในปี 2017 (เลือกเทียบกับตัวนี้เพราะเป็น 4 คอร์ 8 เธร็ดเท่ากันกับ Ryzen 3 โดยถือเป็น Core i7 รุ่นสุดท้ายที่เป็นควอดคอร์)

Tags:
Node Thumbnail

จุดเด่นอีกประการของซีพียูฝั่ง AMD คือการใช้ซ็อคเก็ต AM4 มาต่อเนื่องยาวนาน (อยู่มาตั้งแต่สถาปัตยกรรม Excavator ที่ออกในปี 2015) ล่าสุด AMD ออกมาการันตีว่า Ryzen รุ่นหน้าที่จะใช้สถาปัตยกรรม Zen 3 (น่าจะนับเป็น Ryzen ซีรีส์ 4000 บนเดสก์ท็อป) ก็จะยังใช้ AM4 ต่อไป

แต่ถึงแม้ตัวซ็อคเก็ตยังเป็น AM4 เหมือนเดิม แต่ Ryzen แกน Zen 3 จะต้องใช้กับชิปเซ็ตรุ่นใหม่คือ X570 และ B550 เท่านั้น (เท่ากับว่ามีบอร์ดเก่ากว่านั้นก็ต้องเปลี่ยนบอร์ดอยู่ดี ส่วนคนที่มีบอร์ด X570/B550 อยู่แล้วต้องอัพเดต BIOS)

AMD ระบุว่าไม่มีแผนรองรับ Ryzen แกน Zen 3 กับชิปเซ็ตที่เก่ากว่าซีรีส์ 500 ลงไป ด้วยเหตุผลว่าชิปหน่วยความจำแฟลชที่เก็บข้อมูล BIOS มีพื้นที่จำกัด และไม่สามารถหาพื้นที่มาใช้เก็บค่าคอนฟิกเหล่านี้ได้

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

AMD เปิดตัวซีพียูสำหรับโน้ตบุ๊กสายธุรกิจ AMD Ryzen PRO 4000 Series ตามหลังซีพียู Ryzen 4000 สำหรับโน้ตบุ๊กคอนซูเมอร์ที่เปิดตัวเมื่อต้นปี 2020

ซีพียูทั้งหมดที่เปิดตัวมี 3 รุ่นย่อย (Ryzen 3, 5, 7) เป็นรุ่น TDP 15 วัตต์ทั้งหมด ใช้แกน Zen 2 และการผลิตระดับ 7 นาโนเมตร เหมือนกับรุ่นคอนซูเมอร์ และมีจีพียู Radeon Graphic ในตัว สิ่งที่เพิ่มเข้ามาจากรุ่นคอนซูเมอร์คือฟีเจอร์ด้านความปลอดภัย (เช่น AMD Memory Guard ป้องกันการเข้าถึงหน่วยความจำ), ฟีเจอร์ด้านการจัดการจากระยะไกล และการันตีว่าจะมีสินค้าขายต่อเนื่อง 24 เดือน

Tags:
Node Thumbnail

ดูเหมือนว่าชิป Intel 10th Gen สถาปัตยกรรม Ice Lake 10nm ใน Macbook Pro 13 นิ้วรุ่นใหม่ จะเป็นชิปที่ไม่เคยเปิดตัวที่ไหนมาก่อน และเป็นรุ่นที่ถูกผลิตมาเพื่อให้ Apple ใช้เป็นเจ้าเดียว (อย่างน้อยก็ตอนนี้)

ก่อนหน้านี้รุ่นสูงสุดของซีพียู Intel 10th Gen ที่เป็นสถาปัตยกรรม Ice Lake ที่มีในโน้ตบุ๊กตามท้องตลาด และมีข้อมูลบนเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ Intel คือรุ่น Core i7-1065G7 (TDP 15 W ปรับได้ถึง 25 W) มีคล็อกสปีดที่ 1.3 GHZ และบูสต์ได้ถึง 2.9 GHz เท่านั้น ส่วนรุ่น Core i5 สูงสุด รหัส 1035G7 (TDP 15 W ปรับได้ถึง 25 W เช่นกัน) มีความเร็วคล็อกที่ 1.2 GHz และบูสต์ได้ถึง 3.7 GHz

Tags:
Node Thumbnail

Intel เปิดตัวซีพียู Core รุ่นใหม่ที่ก็ยังคงนับเป็นรุ่นที่ 10 ในตระกูล Comet Lake-S (14 นาโนเมตร) สำหรับเดสก์ท็อปหลังเปิดตัว Comet Lake-H สำหรับโน้ตบุ๊กไปก่อนหน้านี้

การเปลี่ยนแปลงหลัก ๆ คือการเพิ่มจำนวนคอร์และเธรด รวมถึงทุกรุ่นตั้งแต่ Core i3 จะได้เทคโนโลยี hyper-threading แล้ว ไล่ไปตั้งแต่ Core i9 ได้ 10 คอร์ 20 เธรด Core i7 ได้ 8 คอร์ 16 เธรด, Core i5 ได้ 6 คอร์ 12 เธรดและ Core i3 ได้ 4 Core 8 เธรด รหัสย่อยแบ่งเป็น F ไม่มีชิปกราฟิคและ K ที่เป็นโอเวอร์คล็อกเช่นเดิม

Tags:
Node Thumbnail

AMD เปิดตัวซีพียู Ryzen ซีรีส์ 3000 ที่ใช้แกน Zen 2 มาตั้งแต่ช่วงกลางปี 2019 โดยเริ่มจากซีพียูระดับบน Ryzen 9, Ryzen 7 และซีพียูระดับกลาง Ryzen 5

เวลาผ่านมาเกือบปี ตอนนี้จึงได้เวลาของซีพียูราคาถูก Ryzen 3 ซีรีส์ 3000 ที่ใช้แกน Zen 2 (ก่อนหน้านี้มี Ryzen 3 ซีรีส์ 3000 แต่ APU ที่ใช้เป็นแกน Zen+)

Ryzen 3 แกน Zen 2 มีด้วยกัน 2 ตัวคือ

Tags:
Node Thumbnail

XMG แบรนด์เกมมิ่งสัญชาติเยอรมนีโพสต์กระทู้บน Reddit เกี่ยวกับ XMG Apex 15 เกมมิ่งแล็บท็อปตัวใหม่ ซึ่งที่น่าสนใจคือ XMG ยืนยันว่าซีพียู Ryzen 4000 หรือ Ryzen รุ่นที่ 4 ที่ใช้แกน Zen 3 บนเดสก์ท็อป จะยังคงรองรับซ็อกเก็ต AM4 และชิปเซ็ต B450 อยู่เหมือนเดิม

ด้วยความที่ XMG Apex 15 ใช้ Ryzen 3000 บนเมนบอร์ดชิปเซ็ต B450 และสามารถเปลี่ยนซีพียูได้ XMG เลยเสริมด้วยว่าเมนบอร์ดชิปเซ็ต B450 จะรองรับ Ryzen 4000 ได้ด้วยแค่อัพเดต microcode เท่านั้น และหาก B450 รองรับ X470 และ X570 ก็น่าจะรองรับด้วยเช่นเดียวกัน

Tags:
Node Thumbnail

หลังจากที่เป็นเพียงทฤษฎีมานานกว่า 50 ปี ว่าซิลิคอนที่มีโครงสร้างผลึกแบบหกเหลี่ยมที่เปล่งแสงได้ (light-emitting silicon) จะเป็นอนาคตของวงการชิป เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่จะเชื่อมวงจรแสงเข้ากับชิปซิลิกอนแบบเดิมๆ

ชิปปัจจุบัน ที่ใช้อิเล็กตรอนเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูลระหว่างทรานซิสเตอร์จะเกิดความร้อนเมื่ออิเล็กตรอนเจอกับแรงต้านทานในตัวกลางเช่นทองแดง การใช้แสงแทนอิเล็กตรอนจะทำให้สามารถสร้างชิปที่ใช้อนุภาคของแสงหรือโฟตอนเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูลแทนอิเล็กตรอนได้ และจะไม่มีปัญหาเรื่องแรงต้านทาน เพราะโฟตอนไม่มีทั้งมวลและประจุ และจะทำการส่งข้อมูลภายในชิปหรือระหว่างชิป ได้เร็วขึ้นเป็นหลัก 1,000 เท่า

Tags:
Node Thumbnail

หลังจากปล่อยให้ AMD ทำคะแนนนำไปก่อนกับซีรีส์ Ryzen 4000 วันนี้ Intel ไม่ยอมแพ้ กลับมาท้าชนด้วยซีพียูโน้ตบุ๊ก Core 10th Gen สถาปัตยกรรม Comet Lake H (14nm) รหัส H ที่พุ่งเป้าไปที่เหล่าเกมเมอร์ และคอนเทนต์ครีเอเตอร์ มีตัวท็อป Core i9-10980HK 8 คอร์ 16 เธรด ที่บูสต์ได้สูงสุดถึง 5.3GHz โดยรวมที่เปิดตัวในซีรีส์ดังนี้

Tags:
Node Thumbnail

Asus ROG Zephyrus G14 เป็นโน้ตบุ๊กเกมมิ่งตัวแรกๆ ของท้องตลาดที่ใช้ซีพียู AMD สถาปัตยกรรม Zen 2 (7 นาโนเมตร) ตัวใหม่ คือ Ryzen 9 4900HS และเว็บไซต์ PCWorld ก็ได้นำมาทดสอบ เปรียบเทียบสมรรถนะกับซีพียูโน้ตบุ๊กตัวท็อปๆ ของ Intel ทั้ง Core i7 และ Core i9 และผลทดสอบที่ได้ ก็ดูจะทำให้ Intel ร้อนๆ หนาวๆ ได้แน่นอน

Tags:
Node Thumbnail

Ming-Chi Kuo นักวิเคราะห์ชื่อดังชาวไต้หวัน ที่วิเคราะห์ Apple อย่างแม่นยำมาแล้วหลายครั้ง และเคยทำนายว่าผู้ใช้งานจะได้เห็นเครื่อง Mac ที่ใช้ซีพียู ARM ได้อย่างเร็วที่สุด คือไตรมาสที่สี่ของปีนี้ และจะมีเครื่อง Mac รุ่นอื่นๆ เปลี่ยนมาใช้งานซีพียู ARM เพิ่มมากขึ้น นับจากปี 2021 เป็นต้นไป (ข่าวเก่า)

นอกจากนี้ Kuo ยังเชื่อว่า Apple จะสามารถลดต้นทุนในด้านซีพียูได้ 40-60% หากเปลี่ยนมาใช้ซีพียู ARM แทน Intel ซึ่งการลดต้นทุนนี้ สำคัญต่อ Apple ในการรักษาราคาของ Macbook รุ่นประหยัด เช่น Macbook Air รุ่นราคาต่ำกว่า 1,000 ดอลลาร์ (ต่ำกว่า 32,640 บาท) ให้อยู่เท่าเดิมได้

Tags:
Node Thumbnail

AMD เปิดตัว CPU สถาปัตยกรรม Zen 2 (7 นาโนเมตร) อีกสองรุ่นคือ Ryzen 9 4900H และ Ryzen 9 4900 HS เพื่อมาท้าชน Intel ในตลาดโน้ตบุ๊คเกมมิ่ง โดยพุ่งเป้าชนกับ CPU ตระกูล Core i9

Ryzen 9 4900H มี 8 แกน 16 เธร็ด คล็อคพื้นฐาน 3.3GHz เร่งสูงสุดได้ 4.4GHz กับแคช 12MB อัตรา TDP อยู่ที่ 45W และคล็อคกราฟฟิกที่ 1750MHz เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับ Ryzen รหัส 4900H อีกสองรุ่น จะเป็นดังนี้

Tags:
Node Thumbnail

George Davis ซีเอฟโอของอินเทลไปพูดที่งานประชุมของ Morgan Stanley ยอมรับว่าอินเทลล้าหลังคู่แข่งในเรื่องกระบวนการผลิต เขาคาดว่าอินเทลจะกลับมา "ตีเสมอ" ในเรื่องกระบวนการผลิต (process parity) เมื่อเริ่มผลิตชิประดับ 7 นาโนเมตรในช่วงปลายปี 2021 และจะพลิกกลับมาแซงได้ตอน 5 นาโนเมตรช่วงหลังจากนั้น (ไม่ระบุช่วงเวลา)

Davis บอกว่าตอนนี้อินเทลเข้าสู่ยุค 10 นาโนเมตรแล้ว โดยนับจาก Ice Lake (Core 10th Gen) แม้ยังมีชิปส่วนที่ใช้ 14 นาโนเมตรอยู่เยอะก็ตาม ขั้นถัดไปอินเทลจะปรับปรุงกระบวนการผลิตเป็น 10nm+ (เพิ่มตัว +) ในชิป Tiger Lake ที่จะวางขายในปี 2020 นี้

Tags:
Node Thumbnail

สถิติน่าสนใจที่ AMD เปิดเผยในงานประชุมนักวิเคราะห์การเงินเมื่อวานนี้

  • ซีพียูที่ใช้แกน Zen ทั้งหมด (Ryzen, Threadripper, Epyc) ขายได้รวมกัน 260 ล้านตัวแล้ว
  • ส่วนแบ่งตลาดพีซี (นับรวมเดสก์ท็อป-โน้ตบุ๊ก) ของ AMD เดิมมีส่วนแบ่งเพียง 9% ในปี 2017 เพิ่มเป็น 17% ในปี 2019
  • ส่วนแบ่งตลาดโน้ตบุ๊กอย่างเดียวของ AMD เดิมมีส่วนแบ่งเพียง 9% ในปี 2017 เพิ่มเป็น 16% ในปี 2019, ส่วนในปี 2020 มีโน้ตบุ๊กที่ใช้ซีพียู AMD มากกว่า 135 รุ่นเตรียมวางขาย เพิ่มจากปี 2019 ที่มี 80 รุ่น
  • ส่วนแบ่งตลาดพีซีเชิงพาณิชย์ (สำหรับตลาดองค์กร) เพิ่มจาก 7% ในปี 2017 เป็น 11% ในปี 2019
Tags:
Node Thumbnail

นอกจากจีพียู Navi 2X และซีพียู Ryzen รุ่นที่ 4 AMD ยังมีสินค้าฝั่งเซิร์ฟเวอร์คือ ซีพียูตระกูล Eypc และจีพียู Radeon Instinct ที่ประกาศแผนการออกรุ่นใหม่ดังนี้

  • Epyc รุ่นที่สาม รหัส "Milan" ที่ใช้แกน Zen 3 จะเปิดตัวช่วงปลายปี 2020 ซึ่งก็น่าจะไล่เลี่ยกับ Ryzen รุ่นที่สี่ ที่ใช้แกน Zen 3 ตัวเดียวกัน
  • Epyc รุ่นที่สาม จะทำให้ AMD มีซีพียูที่ครอบคลุมงานฝั่งเซิร์ฟเวอร์ทุกรูปแบบ 100% (เซิร์ฟเวอร์องค์กร, คลาวด์, HPC) หลังจาก Epyc รุ่นที่สองรหัส "Rome" เก็บมาได้แล้วประมาณ 80%
  • ถัดจากนั้นจะเป็น Epyc รุ่นที่สี่ โค้ดเนม "Genoa" ที่ใช้แกน Zen 4 และใช้กระบวนการผลิตระดับ 5 นาโนเมตร ออกช่วงปี 2022
Tags:
Node Thumbnail

นอกจากข้อมูลของจีพียู Navi 2X AMD ยังเผยแผนการฝั่งซีพียูด้วยเช่นกัน

  • ซีพียู Ryzen รุ่นที่ 4 ที่ใช้แกน Zen 3 (ยังเป็น 7 นาโนเมตร) จะออกสินค้าชุดแรกช่วงปลายปี 2020 นี้
  • ถัดไปจะเป็นคิวของแกน Zen 4 ที่จะวางตลาดช่วงประมาณปี 2022 โดยขยับมาใช้การผลิตแบบ 5 นาโนเมตรแล้ว
Tags:
Node Thumbnail

Cloudflare ประกาศเริ่มติดตั้งเซิร์ฟเวอร์รุ่นที่สิบ หรือ Gen X โดยจุดสำคัญคือมันจะเป็นเซิร์ฟเวอร์รุ่นแรกที่ไม่ใช้ชิ้นส่วนอินเทลเลย ไม่ว่าจะเป็นซีพียู, แรม, สตอเรจ, หรือเน็ตเวิร์ค โดยเฉพาะตัวซีพียูนั้นเลือก AMD EPYC 7642

ก่อนการตัดสินใจครั้งนี้ ทาง Cloudflare ทดสอบซีพียูหลายรุ่นโดยเน้นประสิทธิภาพของจำนวน request ที่รับได้เทียบกับอัตราการกินพลังงาน จึงเลือก AMD EPYC 7642 ที่มี 48 คอร์ 96 เธรดเท่าๆ กับ Intel Xeon Platinum 6162 ที่ใช้ในเซิร์ฟเวอร์รุ่นที่ 9 แบบสองซ็อกเก็ตและมีคอร์รวมเท่ากัน แต่ AMD มีความได้เปรียบที่แคช L3 ขนาดใหญ่มาก (256MB) ทำให้อัตรา cache miss ต่ำลง และอัตราสัญญาณนาฬิกาพื้นฐานก็สูงกว่า ทำให้การรับโหลดสูงๆ ต่อเนื่องยาวนานได้ประสิทธิภาพมากกว่า

Tags:
Node Thumbnail

AMD สร้างเสียงฮือฮาด้วย Threadripper 3990X มาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว จากทั้งคอร์ที่มี 64 คอร์ 128 เธร็ด แคชรวมอีก 288MB ล่าสุด Linus Tech Tips ช่อง YouTube สายเทคชื่อดังจับเรือธงตัวล่าสุดของ AMD มาทดสอบด้วยการใช้รันเกม Crysis แบบเดี่ยว ๆ โดยไม่พึ่งการ์ดจอ

Tags:
Node Thumbnail

HPE เคยออกมายอมรับว่าฝั่งตลาดเซิร์ฟเวอร์เองก็กำลังประสบปัญหาซีพียูขาดตลาดเช่นเดียวกับฝั่งพีซี ล่าสุด HPE ออกมาแจ้งต่อลูกค้า แนะนำให้พิจารณาทางเลือกซีพียูอื่นแทนที่ Xeon (Cascade Lake) ที่กำลังขาดตลาดอยู่

HPE คาดการณ์ว่าปัญหาซีพียูเซิร์ฟเวอร์ขาดแคลนนี้จะลากยาวไปตลอดทั้งปี 2020 กินระยะเวลาทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 18 เดือน ปัจจัยหลัก ๆ ไม่ใช่แค่อินเทลผลิตไม่ทัน แต่รวมถึงการขยายตัวของคลาวด์ ทำให้ผู้บริการคลาวด์รายใหญ่ ๆ อย่าง AWS, Google, Microsoft มีความต้องการซีพียูเซิร์ฟเวอร์เยอะขึ้น ทำให้ลูกค้าอินเทลที่มีจำนวนซื้อน้อยกว่าอย่าง HPE หรือ Dell ต้องรอคิวเข้าไปอีก

Tags:
Node Thumbnail

กลางปีที่แล้ว อินเทลเปิดตัวซีพียูแบรนด์ Core 10th Gen สถาปัตยกรรม Ice Lake/10 นาโนเมตร โดยยังมีเฉพาะซีพียูกินไฟต่ำรหัส U (15 วัตต์) และ Y (9 วัตต์) เท่านั้น

วัฏจักรของ Ice Lake ไม่น่าอยู่กับเรานานนัก เพราะอินเทลเพิ่งเปิดตัว Tiger Lake ที่เป็นภาคต่อของซีพียู 10 นาโนเมตร แต่อัพเกรดจีพียูเป็น Xe ที่คุยว่าแรงกว่าของเดิมมาก กำหนดการออก Tiger Lake ระบุคร่าวๆ ว่า "ภายในปีนี้"

Tags:
Node Thumbnail

AMD โชว์ข้อมูลของ Threadripper 3990X รุ่นท็อปสุด มาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว วันนี้ได้ฤกษ์เปิดตัวอย่างเป็นทางการในงาน CES 2020

ข้อมูลของ AMD Threadripper 3990X เป็นไปตามที่ประกาศไว้

  • 64 คอร์ 128 เธร็ด
  • คล็อคพื้นฐาน 2.9GHz เร่งสูงสุดได้ 4.3GHz
  • แคชรวม 288MB (L1 4MB + L2 32MB + L3 256MB)
  • PCIe 4.0 รวมทั้งหมด 88 เลน (ใช้ได้จริง 72 เลน)
  • ซ็อคเก็ตแบบพิเศษ sTRX4 ต้องใช้กับเมนบอร์ดที่เป็นชิปเซ็ต TRX40
  • TDP 280 วัตต์
Tags:
Node Thumbnail

อินเทลโชว์การทำงานซีพียูสำหรับโน้ตบุ๊ก Tiger Lake ในงาน CES โดยจะเป็นซีพียูตัวแรกที่ใช้ส่วนกราฟิกจาก Intel Xe พร้อมกับระบุว่าประสิทธิภาพจะอยู่ระดับเดียวกับการ์ดจอแยก (discrete-level integrated graphics)

Tiger Lake จะใช้กระบวนการผลิต 10nm+ รองรับ Thunderbolt 4 และจะเริ่มส่งมอบซีพียูในกลุ่มนี้ภายในปีนี้

ส่วนกราฟิก Intel Xe นั้นอินเทลประกาศไว้แต่แรกว่าจะมีตั้งแต่รุ่นราคาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของซีพียู ไปจนถึงการ์ดแยกสำหรับเกมเมอร์ และการ์ดสำหรับศูนย์ข้อมูล โดยตัวการ์ดแยกรุ่นแรกคือ DG1 นั้นทางอินเทลก็ยังพรีวิวให้ดูโดยไม่ได้แจ้งรายละเอียดมากนัก

ที่มา - Intel

Tags:
Node Thumbnail

ตามความคาดหมาย AMD เปิดตัวซีพียูซีรีส์ใหม่ Ryzen 4000 Mobile สำหรับโน้ตบุ๊กแล้ว (รหัสซีรีส์โน้ตบุ๊กของ Ryzen ต่างกับเดสก์ท็อป เพราะใช้ Ryzen 3000 Mobile ไปแล้ว)

การเปลี่ยนแปลงสำคัญของ Ryzen 4000 Mobile คือเปลี่ยนมาใช้แกน Zen 2 เช่นเดียวกับซีพียูฝั่งเดสก์ท็อปซีรีส์ 3000 จึงมีสมรรถนะเพิ่มขึ้นจากเดิมมาก

Tags:
Node Thumbnail

ปีที่แล้ว เราเห็นอินเทลออกซีพียู Core 10th Gen มาสองชุดคือ Ice Lake-U แบบ 10 นาโนเมตร และ Comet Lake-U แบบ 14 นาโนเมตร ทั้งสองชุดเป็นซีพียูรหัส U กินไฟต่ำ เหมาะสำหรับโน้ตบุ๊กสายบางเบา

ปีนี้ อินเทลเริ่มโชว์ข้อมูลของ Comet Lake-H ซีพียูสำหรับโน้ตบุ๊กประสิทธิภาพสูงขึ้น (อัตรา TDP ที่ 45 วัตต์) สำหรับโน้ตบุ๊กเวิร์คสเตชันและเกมมิ่งบ้าง รวมถึงพีซีแบบ NUC ตัวใหม่รหัส Ghost Canyon แล้ว

ตอนนี้ยังมีข้อมูลของ Comet Lake-H ไม่เยอะนัก บอกเพียงว่า Core i7 จะมีคล็อคแตะ 5GHz และ Core i9 จะไปไกลกว่า 5GHz ด้วย

Tags:
Node Thumbnail

Forrest Norrod ผู้บริหารฝั่งเซิร์ฟเวอร์ของ AMD ไปพูดที่งานของธนาคาร Barclays พูดถึงการแข่งขันระหว่าง AMD กับอินเทล ที่รอบปีนี้ AMD ทำผลงานได้ดีมาก

เขาบอกว่าซีพียูฝั่งเซิร์ฟเวอร์ของ AMD แพ้อินเทลมาโดยตลอด โดยเฉพาะงานประมวลผลเธร็ดเดียวหรือเธร็ดน้อยๆ ปัญหานี้ถูกแก้ไขใน EPYC Rome ที่ปรับปรุงเรื่อง instruction per clock (IPC) จนทำให้ประสิทธิภาพต่อเธร็ดของ Rome ดีกว่าแล้ว

เมื่อบวกกับแต้มต่อของ AMD ในเรื่องกระบวนการผลิตที่เริ่มเหนือกว่าอินเทล (7 นาโนเมตร vs 10 นาโนเมตร) ตอนแรก AMD มองว่าทำได้เสมอกับอินเทลก็ดีใจแล้ว แต่ไม่เคยคิดฝันเลยว่าจะสามารถแซงหน้าอินเทลได้ (We didn't dream that we would be ahead)

Pages