Amazon Web Services
หลังจาก AWS ประกาศเตรียมเปิด Local Zone ในเมืองต่างๆ ทั่วโลก รวม 32 เมือง วันนี้ทาง AWS ก็ประกาศช่วงเวลาที่ AWS Local Zone ในกรุงเทพฯ พร้อมใช้งานว่าจะต้องรออีก 2 ปี
AWS Local Zone เป็นโซนเวอร์ชั่นย่อส่วนสำหรับการรันงานที่ต้องการความหน่วงต่ำๆ โดยมีบริการจำกัดกว่า Region เต็มรูปแบบหลายอย่าง ความได้เปรียบอีกอย่างคือการที่ Local Zone นั้นตั้งอยู่ใกล้กับศูนย์ข้อมูลขององค์กรอยู่แล้ว ทำให้การเชื่อมต่อทำได้เต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ประกาศนี้ระบุเพียงช่วงเวลาเปิดใช้งาน แต่ยังไม่ระบุว่า Local Zone ในกรุงเทพฯ จะมีบริการใดบ้าง โดยในสหรัฐฯ แต่ละ Local Zone จะมีบริการไม่เท่ากัน โดยทั่วไปแล้ว จะมี ALB, EC2, EBS, EKS, ECS, และ VPC
วันนี้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับ AWS ประเทศไทยเพื่อนำบริการคลาวด์ของ AWS เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (Government Data Center and Cloud Service - GDCC) โดยกระทรวงดีอีเอสจะทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐและ AWS ในการนำระบบต่างๆ เข้ามาเริ่มรันบน AWS ภายในปีหน้า ซึ่งเบื้องต้นระบุว่าจะมีโครงการนำร่องก่อน 10 โครงการ
นอกจากนี้ AWS จะยังสนับสนุนการฝึกอบรมข้าราชการ 1,200 คนให้พร้อมกับการใช้งานคลาวด์ AWS ด้วย โดยจะมีทั้งแบบเรียนออนไลน์ด้วยตนเองไปจนถึงการจัดอบรมจริงๆ
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Microsoft Defender for Cloud (ชื่อเดิมคือ Azure Security Center) บริการสแกนความปลอดภัยบนคลาวด์ ที่ทำงานได้บนคลาวด์ 3 ค่ายใหญ่คือ Azure, AWS และล่าสุดคือ Google Cloud Platform (GCP)
แนวทางของผลิตภัณฑ์สายความปลอดภัยของไมโครซอฟท์ในช่วงหลัง (รีแบรนด์เป็น Microsoft Defender) คือเอาทุกอย่าง ทุกแพลตฟอร์ม ฝั่งไคลเอนต์รองรับสมาร์ทโฟน ลินุกซ์ IoT ส่วนฝั่งเซิร์ฟเวอร์ก็รองรับคลาวด์ทั้ง 3 ยี่ห้อหลักตามประกาศของข่าวนี้
Amazon DynamoDB ฐานข้อมูลแบบ NoSQL ของ AWS มีอายุครบรอบ 10 ปีแล้วในปีนี้ (ออกเวอร์ชัน GA ในเดือนมกราคม 2012) ในโอกาสนี้ทำให้ AWS เล่าเบื้องหลังการสร้าง DynamoDB ขึ้นมา
เรื่องเริ่มจากเทศกาลคริสต์มาสปลายปี 2004 ที่มียอดสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก ทำให้ระบบอีคอมเมิร์ซของ Amazon ที่ตอนนั้นใช้ฐานข้อมูลแบบ relational ถึงกับพัง เป็นสัญญาณบอกว่าฐานข้อมูลแบบ relational ถูกใช้จนถึงขีดจำกัดแล้ว
Elastic Inc และ AWS มีปัญหากันมานานจากความไม่พอใจที่ AWS ตั้งชื่อบริการว่า Amazon Elasticsearch Service นำไปสู่การเปลี่ยนไลเซนส์ของ Elasticsearch จนทำให้ทุกวันนี้ไม่ถือว่าเป็นโครงการโอเพนซอร์สอีกต่อไป ล่าสุดทาง Elastic ก็ยุติคดีความเรื่องเครื่องหมายการค้าชื่อ Elasticsearch กับ AWS แล้ว
ข้อตกลงนี้ทำให้บริการต่างๆ ที่ขายโดย AWS เอง และผู้ให้บริการภายนอกที่ขายบน AWS Marketplace ต้องเปลี่ยนชื่อหลบ Elasticsearch ของ Elastic Inc ทั้งหมด
AWS ประกาศเตรียมเปิดให้บริการ Local Zones เพิ่มอีก 32 เมือง 25 ประเทศ ภายในอีก 2 ปีข้างหน้า เพิ่มจากเดิมที่มีแค่ 16 เมืองในสหรัฐฯ เป็น 48 เมือง และหนึ่งในเมืองที่ประกาศใหม่ มีกรุงเทพฯ ด้วย
Local Zones คือศูนย์ข้อมูลขนาดย่อมของ AWS ในระดับเมือง ที่ AWS ดูแลเองสำหรับงานที่ต้องการเวลาหน่วงต่ำกว่า 10ms เช่น การทำวิดีโอสตรีมมิ่ง, การยิงโฆษณา บริการบน Local Zones จะมีน้อยกว่าโซนปกติ โดยทั่วไปแล้ว จะมี ALB, EC2, EBS, EKS, ECS, และ VPC เท่านั้น และเครื่อง EC2 เองก็จะมีขนาดเครื่องให้เลือกเพียงไม่กี่แบบ
วันนี้ Amazon รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่อัตราการเติบโตยังคงสูงอย่างน่าประทับใจ แต่ช่วงท้ายของการแถลง Brian Olsavsky ซีเอฟโอของบริษัทก็ระบุว่าจะเปลี่ยนนโยบายการตัดค่าเสื่อมราคาของเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์เน็ตเวิร์คให้นานขึ้น ทำให้ไตรมาสนี้ประหยัดค่าเสื่อมราคาไปประมาณพันล้านดอลลาร์ แต่ก็จะเห็นผลน้อยลงเรื่อยๆ ในไตรมาสต่อๆ ไป
นโยบายใหม่จะยืดอายุเซิร์ฟเวอร์จาก 4 ปีเป็น 5 ปี และอุปกรณ์เน็ตเวิร์คจาก 5 ปีเป็น 6 ปี โดยนับรวมฮาร์ดแวร์ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นของ AWS หรือเซิร์ฟเวอร์ภายในของ Amazon เองก็ตาม
Telenor ประกาศความร่วมมือกับ AWS เตรียมให้บริการในกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรม เช่น ภาคการผลิต, ซัพพลายเชน, ลอจิสติกส์, และยานยนต์ เพื่อให้บริการ 5G และคลาวด์แบบ Edge
ประกาศระบุเพียงกว้างๆ โดยไม่ได้บอกว่าจะให้บริการใดโดยตรง แต่ที่ผ่านมา AWS มีบริการที่ต้องอาศัยเครือข่าย 5G และเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือให้บริการจำนวนมาก เช่น บริการ AWS Private 5G ที่แบ่งช่องสัญญาณ 5G มาให้บริการกับธุรกิจต่างๆ เป็นช่องสัญญาณส่วนตัว, บริการ AWS Wavelength ที่เปิดให้ลูกค้าสามารถเช่าเซิร์ฟเวอร์ตามเสาสัญญาณ 5G มาใช้งาน เพื่อนำเซิร์ฟเวอร์ให้เข้าใกล้ลูกข่าย
AWS เพิ่มฟีเจอร์ IPv6 ให้กับบริการ Amazon EKS เปิดทางให้สามารถสร้าง pod ในคลัสเตอร์โดยมีไอพีเป็น IPv6 ทั้งหมด โดยมีความได้เปรียบ 3 ประเด็น ได้แก่
ตอนนี้ยังใช้งานกับคลัสเตอร์สร้างใหม่เท่านั้น และต้องใช้กับลินุกซ์อย่างเดียว ตอนนี้ใช้งานได้ทั่วโลกโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
ที่มา - AWS
บริการ EC2 ของ AWS ในโซน US-EAST-1 มีปัญหาอีกครั้ง โดยเกิดปัญหาไฟฟ้าในศูนย์ข้อมูล AZ4 ส่งผลให้เซิร์ฟเวอร์ลูกค้าจำนวนหนึ่งดับไป
แม้ตัวเว็บรายงานสถานะจะระบุว่าปัญหาครั้งนี้กระทบเฉพาะบริการ EC2 ใน US-EAST-1 AZ4 เท่านั้น แต่ผู้ใช้จำนวนหนึ่งรายงานว่าผลกระทบจริงกระทบทั้งโซน US-EAST-1 บริการบางตัวเช่น ElastiCache ไม่สามารถสร้างคลัสเตอร์ใหม่ได้ บางคนระบุว่า Load Balancer ไม่เสถียร
เดือนนี้นับเป็นเดือนไม่ดีของ AWS โดยต้นเดือนที่ผ่านมา US-EAST-1 ก็ล่มนานหลายชั่วโมง และเมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา US-WEST-2 ก็มีปัญหาอินเทอร์เน็ต ทำให้เดือนนี้ในสหรัฐฯ มีปัญหาถึงสามรอบแล้ว
Amazon Web Services (AWS) ประกาศเปิดเขต Asia Pacific (Jakarta) ใช้ตัวย่อว่า ap-southeast-3 โดยถือเป็นเขต (Region) ที่สามในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (1 คือสิงคโปร์, 2 คือซิดนีย์) และเขตที่ 10 ในเอเชีย
การเปิดบริการของ AWS ทำให้อินโดนีเซียมีผู้ใช้บริการคลาวด์รายใหญ่ของโลกครบ 3 รายแล้ว รายแรกคือ Google Cloud เปิดตัวช่วงกลางปี 2020 ตามด้วย Microsoft Azure ประกาศว่าจะเปิด (แต่ยังไม่เริ่มเปิด) ส่วน AWS ถึงแม้จะมาเป็นรายที่สาม ก็เปิดเลยทันทีก่อน Azure
ที่มา - AWS Blog
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา AWS มีปัญหาโดยเริ่มต้นจากโซน Northern Virginia หรือ US-EAST-1 ในวันที่ 7 ธันวาคม (เป็นช่วงรอยต่อระหว่างคืนวันที่ 7-8 ธันวาคมตามเวลาประเทศไทย) และวันนี้ Amazon ก็ได้ออกแถลงการณ์อย่างละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว
AWS เล่าแบคกราวน์ว่า เซอร์วิสส่วนใหญ่ของ AWS และเวิร์คโหลดของลูกค้าทั้งหมดจะรันบนเครือข่ายหลักของ AWS (main AWS network) แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ AWS ใช้เครือข่ายภายใน (internal network) เช่น ระบบ DNS ภายใน, ระบบมอนิเตอร์, ระบบควบคุมสิทธิ์ และ control plane บางส่วนของ EC2 ซึ่ง AWS ก็มีการสเกลเครือข่ายเหล่านี้ไปทั่วโลกเพื่อทำให้เซอร์วิสเหล่านี้มี HA มากพอ
ระบบคอนโซลของ AWS มีปัญหาทั่วโลกเนื่องจากโซน US-EAST-1 มีปัญหาทำให้ลูกค้าไม่สามารถเข้าใช้งานได้ตั้งแต่ช่วง 5 ทุ่มที่ผ่านมา ทาง AWS ระบุว่าพบสาเหตุแล้วและกำลังแก้ไข
ปัญหาสำคัญคือคอนโซลหลักบนโดเมน console.aws.amazon.com นั้นโฮสต์อยู่ที่ US-EAST-1 ทำให้ลูกค้าส่วนมากเข้าไม่ได้ แต่หากเข้าตรงผ่านโดเมนของโซนเช่น us-west-2.console.aws.amazon.com ก็ยังเข้าได้อยู่
แม้ปัญหาจะเริ่มจากคอนโซลอย่างเดียวแต่ AWS ก็รายงานว่าบริการ EC2 ในโซน US-EAST-1 มีปัญหาด้วยเช่นกัน ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดว่าปัญหาเกิดจากอะไร
ที่มา - AWS Service Health Dashboard
AWS เพิ่มภาษาที่รองรับใน AWS SDK อีก 3 ภาษา ได้แก่ Kotlin, Rust, และ Swift โดยทั้งสามภาษายังอยู่ในช่วง Developer Preview
ภาษา Kotlin นั้นมักใช้งานในแอนดรอยด์เป็นหลัก รองรับบริการ 284 ตัว รองรับฟีเจอร์ของ Kotlin เองเช่น coroutine และรันแบบ concurrent ได้
ภาษา Rust นั้นก่อนหน้านี้มีโครงการ Rusoto ทดแทน AWS SDK ทางการที่สร้างโดยนักพัฒนาภายนอกอยู่ก่อนแล้ว แต่ทาง AWS ก็เลือกพัฒนาใหม่เป็น SDK มาตรฐาน ตอนนี้เวอร์ชั่นพรีวิวรองรับบริการ 288 ตัว หากใช้งานใน AWS เช่น EC2, ECS, หรือ Lambda จะคอนฟิกอัตโนมัติ และใช้ฟีเจอร์ของภาษา Rust เต็มที่
นับจากการเปิดตัว AWS Lambda ในปี 2014 เราก็เห็น AWS ทยอยปรับบริการเดิมของตัวเองจากการเช่าเครื่องตามระยะเวลา มาเป็นการจ่ายตามการใช้งานรายครั้ง (Serverless) มากขึ้นเรื่อยๆ (ตัวก่อนหน้านี้คือฐานข้อมูล Aurora Serverless)
ปี 2021 เป็นคิวของ Amazon Redshift บริการ data warehouse ที่ออกเวอร์ชัน Serverless แล้ว ใช้ชื่อตรงไปตรงมาว่า Amazon Redshift Serverless
AWS เปิดตัว Amazon SageMaker Canvas เครื่องมือสร้างโมเดล machine learning (ML) แบบลากแล้ววาง ไม่ต้องเขียนโค้ดเอง (no-code) เพื่อให้นักวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจสามารถสร้างโมเดลการพยากรณ์ได้ง่ายขึ้น
SageMaker Canvas ใช้ฐานมาจาก Amazon SageMaker เครื่องมือสร้างโมเดล ML ที่ออกมาได้นานพอสมควร และใช้งานกันอย่างแพร่หลาย
วิธีการใช้งาน SageMaker Canvas คือนำเข้าข้อมูล (เช่น ไฟล์ CSV หรือเชื่อมต่อฐานข้อมูล) นำข้อมูลมาเชื่อมต่อกันเป็นชุดเดียว (join dataset) แล้วสร้างโมเดลจากตารางข้อมูลที่มี ก่อนเริ่มเทรนโมเดลจากข้อมูลจริง
AWS เปิดบริการ FreeRTOS Extended Maintenance Plan (EMP) บริการแพตช์ความปลอดภัยให้กับ FreeRTOS รุ่น LTS ต่อเนื่องหลังหมดอายุซัพพอร์ตไปอีก 10 ปี
ปกติแล้ว FreeRTOS รุ่น LTS มีอายุซัพพอร์ตเพียง 2 ปีเท่านั้น แต่อายุการใช้งานอุปกรณ์ IoT มักยาวนานนับสิบปี และผู้พัฒนาหลายรายก็ไม่พร้อมพอร์ตแอปพลิเคชั่นข้ามเวอร์ชั่นบ่อยๆ รวมถึงตัว API ของระบบปฎิบัติการก็อาจจะมีความเปลี่ยนแปลง
รุ่น LTS ที่มีการใช้งานอยู่ตอนนี้เช่น FreeRTOS 202012.01 LTS จะหมดอายุซัพพอร์ตปี 2023 หากซื้อบริการ EMP ก็จะใช้งานได้ถึงปี 2033 เลยทีเดียว
AWS Amplify เป็นบริการ backend สำหรับเว็บแอพและแอพมือถือ (ลักษณะเดียวกับ Firebase) ที่ช่วยจัดการระบบล็อกอิน, การเก็บข้อมูลแอพ (DataStore/Storage), การแจ้งเตือน-ส่งข้อความ (push notification/PubSub)
ในงาน AWS re:Invent 2021 รอบล่าสุด Amazon เปิดตัว AWS Amplify Studio ซึ่งเป็นอินเทอร์เฟซแบบวิชวลสำหรับจัดการ UI แบบลากแล้ววาง ไม่ต้องเขียนโค้ด เท่านั้นยังไม่พอ Amplify Studio ยังรองรับการแปลงดีไซน์จากโปรแกรมออกแบบยอดนิยม Figma มาเป็นโค้ด React UI เพื่อนำไปใช้ต่อบนเว็บ-แอพให้อัตโนมัติด้วย
Amazon CodeGuru Reviewer บริการบน AWS ที่ใช้รีวิวคุณภาพของโค้ดที่เขียน เพิ่มฟีเจอร์ Secrets Detector ช่วยตรวจหาว่าโปรแกรมเมอร์เผลอฝังรหัสผ่านหรือคีย์ API/SSH ลงไปในโค้ดหรือไม่
ฟีเจอร์นี้เชื่อมต่อกับ AWS Secrets Manager ซึ่งเป็นบริการจัดการรหัสผ่านและคีย์ของ AWS ที่สามารถช่วยหมุนสลับคีย์ (rotate) ให้เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ได้
Amazon บอกว่าฟีเจอร์สแกนคีย์ รู้จักประเภทคีย์ยอดนิยม เช่น Atlassian, GitHub, Mailchimp, Salesforce, SendGrid, Shopify, Slack, Stripe, Tableau, Telegram, Twilio รวมถึงอ่านค่าไฟล์คอนฟิกหลากหลายประเภท เช่น .json, .yml, .yaml, .conf, .ini เป็นต้น
AWS เปิดบริการ AWS Private 5G เปิดให้ลูกค้าสั่งเสาสัญญาณโทรศัพท์ไปติดตั้งในพื้นที่ที่ต้องการ พร้อมกับเซิร์ฟเวอร์ และซิมการ์ด โดยมีจุดเด่นคือไม่มีค่าแรกเข้าหรือค่าบริการตามจำนวนอุปกรณ์ แต่คิดค่าบริการตามแบนด์วิดท์เน็ตเวิร์คที่ขอไว้ และพื้นที่ที่ต้องการใช้งาน
การใช้งานสามารถเครือข่าย 5G ส่วนตัว สามารถใช้งานในงานที่ต้องการความน่าเชื่อถือสูง เช่น ระบบควบคุมการเข้าออกพื้นที่ (access control), กล้องวงจรปิด, ระบบควบคุมเครื่องจักร, หรืออุปกรณ์ IoT อื่นๆ
แม้ว่าจะเป็นเสาสัญญาณ 5G ส่วนตัว แต่คลื่นความถี่นั้นจะแชร์กับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือปกติ โดย AWS ไม่ได้ระบุว่าใช้คลื่นของผู้ให้บริการรายใดมาให้บริการนี้
AWS เปิดตัวซีพียู Graviton3 ซีพียูที่ AWS ออกแบบเพื่อใช้งานในคลาวด์ของตัวเอง ระบุว่าประสิทธิภาพสูงขึ้น 25% แต่เฉพาะการประมวลผลเลขทศนิยมและการเข้ารหัสจะมีประสิทธิภาพดีขึ้นมาก สูงสุดถึงเท่าตัว นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์เพิ่มเติม เช่น
AWS เปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ EC2 สองรุ่น คือ M6a ที่ใช้ซีพียู AMD EPYC รุ่นที่ 3 และ G5g ใช้ซีพียู Graviton2 ของ AWS เองพร้อมกับชิปกราฟิก NVIDIA T4G
เครื่อง M6a สามารถเลือกเครื่องขนาดใหญ่กว่าเดิม เครื่องใหญ่สุดคือ m6a.48xlarge ขนาดถึง 192 vCPU พร้อมแรม 768 GiB แบนด์วิดท์เน็ตเวิร์คสูงสุด 50 Gbps และเชื่อมต่อสตอเรจ EBS แบนด์วิดท์สูงสุด 40 Gbps
ตอนนี้ยังใช้งานได้เฉพาะในสหรัฐฯ ทาง AWS ระบุว่าประสิทธิภาพต่อราคาของเครื่อง M6a ดีกว่า M5a ถึง 35%
ที่มา - AWS
AWS เปิดตัว AWS IoT RoboRunner บริการจัดการฝูงหุ่นยนต์ (fleets of robots) ที่ใช้หุ่นจำนวนมากๆ ช่วยกันทำงานบางประเภท โดยถอดระบบมาจากศูนย์กระจายสินค้าของ Amazon ที่ใช้หุ่นยนต์ขนาดเล็กๆ จัดการพัสดุในคลัง
RoboRunner ทำหน้าที่เป็นแดชบอร์ดกลางสำหรับจัดการฝูงหุ่นยนต์ในโกดัง โดยมีแนวคิดของหุ่นแต่ละตัว (robot) ประกอบกันเป็นฝูง (fleet) ภายในโรงงานหรือโกดัง (facility) แล้วเขียนแอพพลิเคชันควบคุมหุ่นยนต์แต่ละฝูงอีกทีหนึ่ง ตัวระบบสามารถเชื่อมกับบริการอื่นของ AWS เช่น AWS Lambda หรือ AWS IoT Greengrass
ตอนนี้ AWS IoT RoboRunner ยังมีสถานะพรีวิว และยังไม่คิดเงินค่าใช้งาน
AWS ประกาศเพิ่มโควต้าส่งข้อมูลออกจากคลาวด์ (egress) จากเดิม 1 GB ต่อเดือนต่อภูมิภาค กลายเป็น 100 GB ต่อเดือน และหากส่งข้อมูลผ่าน CloudFront ที่เป็นบริการ CDN ของ AWS ก็จะส่งได้ฟรีถึง 1 TB ต่อเดือนจากเดิม 50GB ต่อเดือน
โควต้าฟรีนี้จะเริ่มใช้งานวันที่ 1 ธันวาคมนี้ ทำให้เดือนหน้าผู้ใช้ทุกรายยกเว้นผู้ใช้บริการในจีนและคลาวด์รัฐบาล จ่ายค่าบริการลดลง เช่น CloudFront มีค่าบริการในไทย 0.120 ดอลลาร์ต่อกิกะไบต์ หรือประมาณ 4 บาท นโยบายราคาใหม่นี้ก็จะทำให้ผู้ใช้ลดค่าใช้จ่ายลงไปได้เดือนละ 4,000 บาท
AWS ปล่อย Amazon Linux 2022 (AL2022) รุ่นพรีวิวให้ทดลองใช้งาน โดยเวอร์ชั่นนี้จะเป็นเวอร์ชั่นแรกที่ AWS หันไปใช้ Fedora เป็นจุดตั้งต้นแทนที่จะเป็น CentOS
โครงการ Amazon Linux ถูกแยกออกมาจากบริการคลาวด์ของ AWS ตั้งแต่ปี 2017 และมักใช้ CentOS/RHEL เป็นฐาน พร้อมกับปรับแต่งเองหลายอย่าง แพ็กเกจหลายตัวไม่ได้เลือกตามเวอร์ชั่นของ CentOS ไปทั้งหมด ใน AL2022 จะใช้ Fedora 34/35 เป็นฐานแทน แต่ทาง AWS ก็ปรับแต่งค่อนข้างมากเช่นเดิม ตั้งแต่เคอร์เนลที่อาจจะใช้เวอร์ชั่นไม่ตรงกับ Fedora, คอนฟิกเริ่มต้น (เปิดใช้ SELinux แบบ enforce แต่แรก), และแพ็กเกจต่างๆ