Fedora ออกเวอร์ชัน 33 มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละรุ่นย่อยดังนี้
Lenovo เริ่มวางขายโน้ตบุ๊ก ThinkPad บางรุ่นที่พรีโหลด Fedora ตามที่เคยประกาศไว้ในเดือนเมษายน
ThinkPad ที่สามารถเลือก Fedora ได้มี 3 รุ่นคือ ThinkPad P1 Gen 2, ThinkPad P53, ThinkPad X1 Gen 8 โดยสามารถสั่งได้จากหน้าเว็บ Lenovo.com
Immutable OS เป็นแนวคิดใหม่ของวงการระบบปฏิบัติการ ที่พยายามสร้าง OS แบบอัพเดตแยกส่วนไม่ได้ (ป้องกันอัพเดตบางส่วนแล้วพัง) แต่หันมาใช้ระบบอัพเดตทั้งอิมเมจแทน (แล้วสลับอิมเมจเอา) หากอัพเดตแล้วมีปัญหาก็สามารถสลับคืนไปอิมเมจเก่าได้ทันที
ตัวอย่างของ OS กลุ่มนี้คือ CoreOS ซึ่งมักใช้ในงานเซิร์ฟเวอร์-คอนเทนเนอร์ หรือ Android/Chrome OS ก็ใช้แนวทางการอัพเดตตัวระบบปฏิบัติการหลักแบบนี้เช่นกัน
Fedora ออกเวอร์ชัน 32 ของใหม่ได้แก่
เราเห็นข่าวผู้ผลิตโน้ตบุ๊กบางเจ้าออกเวอร์ชัน Ubuntu พรีโหลดมาให้ด้วย (เช่น Dell XPS คราวนี้เป็นข่าวของฝั่ง Fedora ที่ประกาศความร่วมมือกับ Lenovo ThinkPad บ้าง
Lenovo จะออก ThinkPad 3 รุ่นคือ ThinkPad P1 Gen 2, ThinkPad P53, ThinkPad X1 Gen 8 ที่เป็น Fedora Edition ใช้ระบบปฏิบัติการ Fedora 32 Workstations (ที่กำลังจะออกตัวจริงในเร็วๆ นี้)
วิธีการสั่งซื้อสามารถเลือก OS ได้จากหน้าเว็บของ Lenovo ตามปกติ รายละเอียดเพิ่มเติมจะประกาศในงาน Red Hat Summit สัปดาห์หน้า
CoreOS Container Linux (CL) ระบบปฏิบัติการลินุกซ์สำหรับคอนเทนเนอร์ ของบริษัท CoreOS เดิมที่ถูก Red Hat ซื้อกิจการเมื่อปี 2018 จะสิ้นอายุขัยในวันที่ 26 พฤษภาคม 2020
Red Hat ซื้อ CoreOS แล้วผนวกเอาดิสโทร Container Linux เข้ามารวมกับโครงการ Fedora กลายเป็น Fedora CoreOS (FCOS) ทำให้ตัว Container Linux ต้องหลีกทางให้กับดิสโทรใหม่
ตอนนี้ทีมงาน CoreOS ถอด Container Linux ออกจากหน้าอิมเมจของ AWS Marketplace แล้ว จากนั้นจะออกอัพเดตครั้งสุดท้ายให้ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2020 และปิดเซิร์ฟเวอร์อย่างถาวรในวันที่ 1 กันยายน
Red Hat ซื้อกิจการ CoreOS ในปี 2018 และประกาศรวมดิสโทรโอเพนซอร์ส CoreOS Container Linux เข้ากับโครงการ Fedora
Fedora CoreOS จะกลายเป็นดิสโทรตัวเดียวสำหรับงานรันคอนเทนเนอร์ (ก่อนหน้านี้มีทั้ง CoreOS กับ Fedora Atomic) โดยมันออกรุ่นทดสอบแรกเมื่อกลางปี 2019 และตอนนี้พร้อมใช้งานแบบ production แล้ว
Fedora CoreOS ถือเป็นอีก edition ในสังกัด Fedora โดยเวอร์ชันเสถียรตัวแรกพัฒนาต่อมาจาก Fedora 31 ที่ออกเมื่อเดือนตุลาคม 2019 ใช้เคอร์เนลเวอร์ชัน 5.4, systemd 243, Podman 1.7
Fedora เวอร์ชัน 31 ออกแล้ว ของใหม่ในเวอร์ชันนี้ ได้แก่
เมื่อไม่นานมานี้ เราเห็นข่าว Ubuntu 19.10 เตรียมเลิกซัพพอร์ตสถาปัตยกรรม x86 แบบ 32 บิต แต่สุดท้ายต้องยอมถอยบางส่วน หลังโดนเสียงวิจารณ์
ล่าสุดฝั่ง Fedora ก็ออกมาประกาศคล้ายๆ กัน โดย Fedora เวอร์ชันหน้า 31 จะไม่มีเคอร์เนล i686 แบบ 32 บิตมาให้ รวมถึงอิมเมจ Fedora 31 แบบ 32 บิตแล้ว
อย่างไรก็ตาม โครงการ Fedora จะยังออกแพ็กเกจซอฟต์แวร์บางตัวเป็น 32 บิต เช่น ไลบรารีที่จำเป็น เพื่อให้ซอฟต์แวร์อย่าง Wine หรือ Steam ยังสามารถทำงานต่อได้
หลัง Red Hat ซื้อกิจการ CoreOS ในปี 2018 ก็ประกาศยุบรวมดิสโทร CoreOS Container Linux เข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Fedora โดยจะใช้แทน Fedora Atomic Host ที่เลิกทำไปเพราะทับซ้อนกัน
เวลาผ่านมาประมาณปีครึ่ง Fedora CoreOS ทำเสร็จเรียบร้อย เข้าสถานะพรีวิวให้คนทั่วไปทดสอบได้แล้ว
Fedora CoreOS เป็นดิสโทรลินุกซ์ขนาดเบาที่ออกแบบมาเพื่อรันในคอนเทนเนอร์ และมีฟีเจอร์ด้านบริหารจัดการ คอนฟิก อัพเดต เพื่อให้ง่ายต่อการดูแล VM จำนวนมากๆ ตัวอย่างฟีเจอร์เหล่านี้คือการอัพเดตตัว OS เวอร์ชันใหม่อัตโนมัติ ติดตั้งและรีบูตเองให้เสร็จสรรพ ลดภาระการดูแลของแอดมินลง
Fedora ออกเวอร์ชัน 30 การเปลี่ยนแปลงสำคัญในเวอร์ชันนี้ได้แก่
เวอร์ชันของซอฟต์แวร์ที่อัพเดตใน Fedora 30 ได้แก่ GCC 9, Bash 5.0, PHP 7.3
ผู้ที่รัน Fedora รุ่นก่อนๆ อยู่แล้วสามารถอัพเกรดได้จากคำสั่ง
ตามเวลา 1.45 น. ของประเทศไทย ทาง official account ของ Fedora project ประกาศการเสียชีวิตของนาย Cristian Gafton อดีตหัวหน้าโครงการ Fedora (Fedora Project Leader)
ตามระบบของโครงการ Fedora มีหัวหน้าโครงการ (Project Leader) เป็นผู้รับผิดชอบ โดยหมุนเวียนตำแหน่งทุก 2 ปี ซึ่ง Cristian Gafton เคยดำรงตำแหน่งนี้ระหว่างปี 2004-2005 ในช่วงยุคแรกๆ ของ Fedora (รับผิดชอบการออก Fedora Core 2, 3, & 4)
Cristian Gafton เคยทำงานกับทั้ง Red Hat และ Canonical โดยตำแหน่งล่าสุดของเขาคือ Principal Software Engineer ของ Amazon
ขอแสดงความเสียใจและไว้อาลัยมา ณ ที่นี้
Fedora ออกเวอร์ชัน 29 ซึ่งถือเป็นเวอร์ชันแรกหลัง Red Hat ถูก IBM ซื้อกิจการ
ของใหม่ใน Fedora 29 คือการขยายแนวคิด Modularity ที่เริ่มใน Fedora 27 Server หรือการแยกส่วนเวอร์ชันของซอฟต์แวร์ ให้สามารถติดตั้งหลายเวอร์ชันพร้อมกันได้ จากเดิมที่มีเฉพาะในเวอร์ชัน Server ไปยังเวอร์ชันย่อยอื่นๆ (เช่น Workstation) ด้วย
หลัง Red Hat ซื้อกิจการ CoreOS ในเดือนมกราคม 2018 ผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ซ้อนทับกันคือดิสโทรลินุกซ์จากทั้งสองบริษัท ได้แก่ Container Linux ของ CoreOS และ Red Hat Atomic Host ที่ออกแบบมาสำหรับรันในคอนเทนเนอร์เหมือนกัน
เดือนที่แล้ว Red Hat ประกาศว่าจะยุบดิสโทรสองตัวนี้เข้าด้วยกัน โดยจะให้ Container Linux เป็นตัวหลัก และเปลี่ยนชื่อตัวดิสโทรมาเป็น CoreOS แทน
Fedora ออกเวอร์ชัน 28 ตามรอบการออกทุก 6 เดือน ของใหม่ได้แก่
แต่ฟีเจอร์สำคัญจริงๆ ไปอยู่ที่ Fedora 28 Server โดยเพิ่ม Modular Server ที่เลื่อนมาจาก Fedora 27
ก่อนหน้านี้ Fedora ประกาศแผนว่าจะออก Fedora 27 Server แนวใหม่ที่เรียกว่า Modular Server แยกส่วนการทำงานเป็นโมดูลมากขึ้น
ล่าสุดแผน Fedora 27 Modular Server ถูกพับไว้ชั่วคราว โดยทีมงานเปลี่ยนมาออก Fedora 27 Server แบบดั้งเดิม (เหมือน Fedora 26 Server) แทน การเปลี่ยนแปลงจึงเป็นแค่การอัพเดตแพ็กเกจซอฟต์แวร์ให้ทันสมัยขึ้นเท่านั้น
เหตุผลที่แผน Modular Server ถูกชะลอ เป็นเพราะการทดสอบกับรุ่นเบต้ายังให้ผลลัพธ์ไม่ดีพอ ปัจจัยมาจากตัวซอฟต์แวร์ต้นน้ำเอง ที่บางตัวไม่ได้ออกแบบมาสำหรับการแยกโมดูล ทางทีมงานจึงตัดสินใจกลับไปทำการบ้านมาใหม่ และลองออกแบบแนวทาง Modular ในทางอื่นที่ใช้ได้จริงมากขึ้น
Fedora ออกเวอร์ชัน 27 ในส่วนของรุ่นย่อย Workstation และ Atomic
ส่วน Fedora Server ยังไม่ออกพร้อมกันในรุ่นนี้ เพราะกำลังอยู่ระหว่างการปรับให้ทำงานแยกโมดูลมากขึ้น ตอนนี้ Fedora 27 Modular Server มีสถานะเป็น Beta และจะออกรุ่นจริงในอีกประมาณหนึ่งเดือนข้างหน้า
ที่มา - Fedora
Fedora 26 ออกแล้ว ยังแยกเป็น 3 รุ่นย่อยหลักคือ Workstation, Server, Atomic เช่นเดิม
ของใหม่ใน Fedora 26 Workstation เป็นการอัพเดตแพ็กเกจซอฟต์แวร์ให้ทันสมัย ได้แก่ GNOME 3.24, LibreOffice 5.3, GCC 7, Golang 1.8, Python 3.6, ปรับปรุงธีม Adwaita ของ Qt, ระบบจัดการแพ็กเกจ DNF เวอร์ชัน 2.0
ส่วนผู้ที่ต้องการใช้เดสก์ท็อปตัวอื่น ก็สามารถเลือกใช้ Fedora Spins รุ่นย่อย ที่มีทั้งรุ่น KDE, XFCE, LXQT, Mate, Cinnamon, LXDE
ที่มา - Fedora Magazine
นอกจากข่าวช็อควงการอย่าง iTunes ลง Windows Store แล้ว ไมโครซอฟท์ยังประกาศข่าวว่าลินุกซ์ 3 ค่ายดังคือ Ubuntu, SUSE, Fedora ก็ลง Windows Store ด้วย
Windows 10 มีฟีเจอร์ Linux Subsystem ที่ใช้ Ubuntu อยู่แล้ว เพียงแต่ผู้ใช้ต้องติดตั้งโค้ดส่วนนี้เพิ่มเองที่มีขั้นตอนพอสมควร การเพิ่มตัวเลือกให้กดง่ายๆ บน Windows Store จึงช่วยให้ผู้ใช้สะดวกมากขึ้น
ตัว Linux Subsystem สามารถเปลี่ยนจาก Ubuntu เป็นดิสโทรอื่นได้ (เช่น SUSE) ทำให้ไมโครซอฟท์ชักชวน SUSE และ Fedora มาเป็นตัวเลือกอีกสองตัวบน Windows Store ให้ผู้ใช้เลือกดิสโทรที่ต้องการได้เลย
หมายเหตุ: ฟีเจอร์นี้คือเฉพาะตัวแกนของลินุกซ์ที่รันบน Windows Subsystem for Linux นะครับ ไม่ใช่ดิสโทรลินุกซ์ตัวเต็ม
ผู้ใช้ลินุกซ์คงทราบกันดีว่า ดิสโทรลินุกซ์ค่ายต่างๆ ไม่สามารถเล่นไฟล์ MP3 ได้ทันทีหลังติดตั้งระบบปฏิบัติการเสร็จ แต่ต้องมาติดตั้ง codec เพิ่มเองในภายหลัง เหตุผลเป็นเพราะ MP3 มีสิทธิบัตรคุ้มครอง ถ้าระบบปฏิบัติการไหนอยากใช้งานต้องจ่ายค่าไลเซนส์ให้สถาบัน Fraunhofer เจ้าของสิทธิบัตร
แต่สิทธิบัตร MP3 หมดอายุไปแล้วในเดือนพฤศจิกายน 2016 ส่งผลให้ดิสโทรลินุกซ์บางตัวเริ่มปรับตัวกันแล้ว ฝั่งของ Fedora ก็ประกาศว่าจะเพิ่มการรองรับ MP3 (ในทางเทคนิคคือเพิ่มแพ็กเกจ gstreamer1-plugin-mpg123 เข้ามาแบบดีฟอลต์) ในอีกไม่ช้านี้ แต่ยังไม่ระบุช่วงเวลาที่แน่ชัดว่าจะเป็นเมื่อไร (น่าจะทัน Fedroa 26 ที่จะเป็นรุ่นถัดไป)
ที่มา - Fedora Magazine
Fedora 25 ออกแล้ว ของใหม่ในรุ่นนี้แยกตามรุ่นย่อย ได้แก่
ที่มา - Fedora Magazine
ปัญหาสิทธิบัตรซอฟต์แวร์ทำให้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สไม่สามารถรองรับการเล่นไฟล์เพลงหรือภาพยนต์หลายประเภท แต่ตอนนี้ทาง Red Hat ก็ประกาศจะรองรับการเล่นไฟล์ MP3 ใน Fedora Workstation 25 แล้ว
สิทธิบัตร MP3 มีจำนวนมาก โดยมีหน่วยงานกลางอย่าง MPEG-LA เป็นผู้รวบรวมสิทธิบัตรเข้ามาเก็บค่าสิทธิบัตร
Tom Callaway จาก Red Hat ผู้ประกาศเรื่องนี้ระบุว่าทางบริษัทจะไม่แสดงความเห็นว่าสิทธิบัตรตัวใดหมดอายุจึงยอมรับไฟล์ MP3 ในครั้งนี้ แต่ OSNews เคยรวบรวมสิทธิบัตรของ MP3 ระบุว่าสิทธิบัตรสุดท้ายที่มีการอ้างกันจะหมดอายุเดือนเมษายนปี 2017
โลกโอเพนซอร์สพยายามเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีการแสดงผลจาก X Window ที่เก่าคร่ำครึ มาเป็นเทคโนโลยีใหม่กว่าอย่าง Wayland แทน แต่การเปลี่ยนผ่านก็ใช้เวลานานมาก เพราะซอฟต์แวร์แต่ละตัวมีความซับซ้อนเชื่อมโยงระหว่างกันมาก กว่าซอฟต์แวร์ตัวหลักๆ จะรองรับ Wayland ก็ต้องใช้เวลานาน
Fedora 24 ออกรุ่นใหม่เรียบร้อย ทิ้งช่วงห่างจาก Fedora 23 ประมาณ 8 เดือน รูปแบบการออกรุ่นยังแยกเป็น 3 รุ่นหลักคือ Workstation, Server, Cloud
โครงการ Fedora เตรียมอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สามารถอัพเกรดเวอร์ชันของดิสโทรแบบข้ามรุ่นได้ (เช่น จาก Fedora 21 เป็น 23, ข้าม 22 ไปเลย) จากในปัจจุบันที่บังคับให้ผู้ใช้ต้องอัพเกรดไปทีละรุ่นเท่านั้น
ทางทีมงาน Fedora ระบุว่าโครงสร้างของการอัพเกรดในปัจจุบันค่อนข้างเสถียร และที่ผ่านมาทางทีมก็ลองอัพเกรดแบบข้ามรุ่นดู พบว่าส่วนใหญ่สามารถใช้งานได้ดี พอถึงคิวของ Fedora 24 ซึ่งเป็นรุ่นถัดไป ความสามารถนี้จะถูกรับรองอย่างเป็นทางการแล้ว
Fedora 24 มีกำหนดออกตัวจริงวันที่ 31 พฤษภาคม 2016