IBM Watson
IBM ประกาศขยายบริการปัญญาประดิษฐ์ Watsonx ที่เปิดตัวในปี 2023 จากเดิมมีเฉพาะ Watsonx Code Assistant for Z ตัวช่วยแปลงโค้ดภาษา COBOL บนเมนเฟรม และ Red Hat Ansible Lightspeed มาสู่บริการข้างเคียงอื่นๆ
IBM ประกาศโอเพนซอร์สโมเดลช่วยเขียนโค้ดของตัวเองชื่อ Granite โดยบอกว่ามีประสิทธิภาพเหนือกว่าโมเดลโอเพนซอร์สคู่แข่งในขนาดใกล้เคียงกัน (7B-8B) เช่น Google Gemma หรือ Meta CodeLlama
Granite เป็นโมเดลที่อยู่เบื้องหลังบริการ Watsonx Code Assistant (WCA) ที่เปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว และนำไปใช้งานกับโค้ด COBOL ในเมนเฟรม Z หรือ Ansible Lightspeed ของฝั่ง Red Hat
Red Hat เปิดตัว Lightspeed ฟีเจอร์ด้าน Generative AI สำหรับใช้จัดการระบบ OpenShift (Kubernetes) และ Red Hat Enterprise Linux
Red Hat มีบริการ Lightspeed มาตั้งแต่ปี 2023 โดยเป็นการนำเอาโมเดลเขียนโปรแกรม IBM Watson Code Assistant มาใช้กับโค้ด YAML ของ Ansible ระบบจัดการคอนฟิกอัตโนมัติ
ข่าวนี้คือการขยาย Lightspeed มาใช้กับ OpenShift และ RHEL ซึ่งเป็นสองบริการหลักของ Red Hat ด้วย ถือเป็นตัวช่วยจัดการคลัสเตอร์ใน OpenShift ให้ทำงานอัตโนมัติมากขึ้น ขยายขนาดคลัสเตอร์หรือเพิ่มคลัสเตอร์เมื่อมีปริมาณใช้งานสูง และปรับจำนวนลงมาเมื่อผู้ใช้ลดลง ฝั่งของ RHEL เน้นไปที่การจัดการแพตช์ความปลอดภัย ปิดระบบที่มีช่องโหว่ชั่วคราว เป็นต้น
IBM เตรียมนำ Generative AI มาใช้แก้ปัญหาว่าโลกเรามีโค้ดภาษา COBOL รันอยู่มาก โดยเฉพาะในแวดวงธนาคาร แต่โปรแกรมเมอร์ COBOL รุ่นเก่าๆ แก่ชรากันไปเกือบหมดแล้ว และโปรแกรมเมอร์รุ่นใหม่ๆ ก็ไม่มีใครสนใจภาษา COBOL ทำให้นักพัฒนาสายนี้ขาดแคลนอย่างหนัก
การศึกษาของ International Journal of Advanced Research in Science, Communication and Technology (IJARSCT) ประเมินว่าโค้ด 43% ในธุรกิจธนาคารยังเป็นโค้ด COBOL ดั้งเดิม
ไอบีเอ็มเปิดตัว IBM Watsonx Code Assistant for Z โซลูชัน AI สำหรับแปลโค้ดที่เขียนในภาษา COBOL ให้เป็น Java สำหรับเมนเฟรม IBM Z โดยจะเปิดให้ใช้งานทั่วไปภายในไตรมาสที่ 4 ปี 2023 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเปลี่ยนผ่านแอพพลิเคชัน COBOL ไปสู่โค้ดในภาษาปัจจุบันที่มีต้นทุนจัดการน้อยกว่า และทำได้รวดเร็วขึ้น
Watsonx Code Assistant for Z เป็นเครื่องมือที่สร้างจาก Watsonx.ai บริการสร้างโมเดลของแพลตฟอร์ม WatsonX ที่ตอนนี้มีความเข้าใจภาษาคอมพิวเตอร์ 115 ภาษา จากชุดข้อมูลมากกว่า 1.5 ล้านล้านโทเค็น
ไอบีเอ็มประกาศนำเทคโนโลยี Generative AI หรือ AI สร้างเนื้อหาอัตโนมัติจาก IBM watsonx มาใช้กับการแข่งขันเทนนิสวิมเบิลดัน ในการสร้างวิดีโอไฮไลท์การแข่งขันแต่ละแมตช์พร้อมเสียงพากย์ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในการแข่งขันเทนนิส
ในวิดีโอไฮไลท์ซึ่งสามารถรับชมได้ผ่านแอป Wimbledon หรือทางเว็บไซต์ wimbledon.com จะมีเสียงบรรยายในช่วงสำคัญของการแข่งขัน พร้อมกับตัวหนังสือคำบรรยาย ซึ่งผู้ชมสามารถเลือกปิด-เปิดส่วนนี้ได้ ทั้งนี้ส่วนไฮไลท์ที่สร้างด้วย AI จะเป็นส่วนเสริมเข้ามา โดยไฮไลท์แบบเดิมที่ใช้คนบรรยายของ Show Courts จะยังมีอยู่เหมือนเดิม
IBM ประกาศเปิดตัวแพลตฟอร์ม WatsonX ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้องค์กรเทรนและจัดการ AI ผ่านเครื่องมือ โครงสร้างพื้นฐานและบริการให้คำปรึกษา โดย WatsonX แบ่งออกเป็น 3 บริการย่อย
ไอบีเอ็มประกาศลงนามข้อตกลง เพื่อขายสินทรัพย์ของธุรกิจจัดการข้อมูลสุขภาพ และ Analytics ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มธุรกิจ Watson Health ให้กับบริษัทด้านการลงทุน Francisco Partners
มีรายงานมาตั้งแต่ปีที่แล้วว่าไอบีเอ็มพยายามหาผู้มาซื้อธุรกิจ Watson Health เนื่องจากไม่ทำกำไรอย่างที่ต้องการ และก็มีข่าวอีกครั้งเมื่อสัปดาห์ก่อน
ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในรายการสินทรัพย์ที่ขายนี้รวมทั้ง Health Insights, MarketScan, Clinical Development, Social Program Management และ Micromedex
เมื่อต้นปี 2021 เคยมีข่าวลือมารอบหนึ่งแล้วว่า IBM อยากขายธุรกิจ Watson Health ออกไป เพราะเป็นธุรกิจที่ยังไม่สามารถทำกำไรได้อย่างที่คิด
ต้นปีนี้มีข่าวลืออีกรอบจากเว็บไซต์ Axios ว่า IBM กำลังอยู่ระหว่างกระบวนการหาผู้ซื้อ โดยปิดรับข้อเสนอจากบริษัทต่างๆ ในสัปดาห์นี้ และคาดว่าจะได้ข้อสรุปช่วงสิ้นเดือนมกราคม ตามข่าวบอกว่ามีบริษัทอื่นเสนอซื้อในเชิงยุทธศาสตร์ 1 ราย ที่เหลือเป็นบริษัทลงทุน (private equity) ที่อยากซื้อกิจการไปปั้นขายหรือขายหุ้น IPO ในอนาคต
Wall Street Journal รายงานอ้างอิงคนในว่า IBM กำลังพิจารณาขายธุรกิจ Watson Health ที่นำปัญญาประดิษฐ์ไปใช้งานด้านสาธารณสุข ยาและสุขภาพ เนื่องจากตัวธุรกิจยังไม่สามารถทำกำไรได้
ความสามารถด้านสุขภาพเป็นขาหนึ่งที่ IBM พยายามผลักดันความสามารถของ Watson อย่างมาก แต่กลับไม่ค่อยประสบผลสำเร็จนัก เพราะสายการแพทย์ยังไม่เปิดรับการใช้ปัญญาประดิษฐ์มากนัก
อย่างไรก็ตามการพิจารณาขายธุรกิจยังอยู่แค่ในขั้นแรกเริ่มเท่านั้น และ IBM ก็กำลังมองหาลู่ทางอื่น ๆ เช่นควบรวม แต่ตอนนี้ยังไม่มีการตัดสินใจใด ๆ ทั้งสิ้น
ที่มา - WSJ
IBM เปิดตัว Watson AIOps แอดมินยุคใหม่ไม่ต้องใช้คน เพราะใช้ AI ช่วยอ่านไฟล์ log ของระบบไอทีองค์กร แล้ววิเคราะห์ต้นเหตุของปัญหาให้อัตโนมัติ
Watson AIOps เป็นผลงานวิจัยของ IBM Research โดยใช้เทคโนโลยี natural language processing (NLP) อ่านข้อความใน ticket ที่แจ้งปัญหาเข้ามา วิเคราะห์หาสาเหตุและวิธีแก้ไข จากนั้นจะคอยเฝ้ามอนิเตอร์ปัญหาจากช่องทาง log/alert ต่างๆ แล้วตรวจสอบว่าตรงกับแพทเทิร์นของปัญหาในอดีตหรือไม่ เพื่อนำเสนอวิธีการแก้ไขที่เหมาะสม
IBM ยังร่วมมือกับ Slack (ที่เพิ่งได้ IBM เป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุด) ทำระบบ ChatOps สำหรับแจ้งเตือนข้อมูลจาก AIOps ผ่านทาง Slack ด้วย
IBM ประกาศเตรียมปล่อยบริการ AI ภายใต้แบรนด์ Watson ให้ระบบคลาวด์อื่น ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ภาคธุรกิจมีความยืดหยุ่นในการใช้งานแพลตฟอร์ม Watson มากขึ้น
Ruchir Puri ซีทีโอและหัวหน้าฝ่ายสถาปัตยกรรมของ IBM Watson ระบุว่า ลูกค้าต่างก็ต้องการใส่ AI เข้ากับแอพพลิเคชั่นเพราะว่าข้อมูลของลูกค้านั้นกระจายอยู่หลาย ๆ ที่ ทั้งคลาวด์ส่วนตัวหรือสาธารณะ และปัจจุบันผู้ให้บริการ AI ต่างก็พยายามล็อกเข้ากับการอิมพลีเมนต์ที่เฉพาะเจาะจงและไม่เหมาะสมในการใช้งานกับไฮบริดคลาวด์
แอปเปิลประกาศความร่วมมือกับ IBM โดยเปิดให้นักพัฒนาแอปบนแพลตฟอร์มแอปเปิล สามารถสร้างโมเดลจาก Machine Learning บน Watson และแปลงโมเดลที่เทรนด์เรียบร้อยแล้วออกมาให้รันได้บนแอปผ่าน Core ML ของแอปเปิล
ทาง IBM ได้พัฒนาคอนโซลบนคลาวด์ สำหรับแปลงโมเดลที่สร้างบน Watson ให้สามารถนำไปใส่และรันในแอปของแอปเปิลให้โดยเฉพาะด้วย ขณะเดียวกันนักพัฒนาก็สามารถส่งข้อมูลต่างๆ จากแอปบนสมาร์ทโฟนกลับขึ้นไปบน Watson เพื่อเทรนด์โมเดลอัลกอริทึม Machine Learning ที่สร้างขึ้นได้ด้วยเช่นกัน
ที่มา - TechCrunch
เมื่อคืนนี้ (ตามเวลาในประเทศไทย) IBM และ Unity ประกาศความร่วมมือกัน พร้อมปล่อย IBM Watson Unity SDK ออกมาให้กับนักพัฒนาผ่าน Unity Asset Store ซึ่งจะทำให้นักพัฒนาที่ใช้แพลตฟอร์มของ Unity สามารถผนวกรวม Watson เข้ากับแอพหรือเกมที่สร้างอยู่บนแพลตฟอร์มของ Unity ได้
แถลงการณ์ระบุว่าขั้นตอนการติดตั้งทำได้โดยง่าย และจะสามารถเปิดคุณสมบัติใหม่ๆ ให้กับเกมได้ ไม่ว่าจะเป็นการสั่งการด้วยเสียง การแปลภาษา และอื่นๆ ซึ่งทำให้แอพหรือเกมที่สร้างสามารถมีคุณสมบัติใหม่ๆ ได้มากขึ้นกว่าเดิม (ดูวิดีโอตัวอย่างเกม Star Trek Bridge Crew ที่สร้างจากความสามารถนี้ได้ท้ายข่าว)
เปิดให้ดาวน์โหลดแล้วตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ในยุคสมัยที่ใครๆ ก็พูดถึง AI ว่าจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ แต่เอาเข้าจริงแล้ว งานด้านประมวลผล AI ยังเป็นเรื่องยากและต้องใช้ความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมาก ถือเป็นอุปสรรคสำคัญที่ยังขัดขวางไม่ให้ภาคธุรกิจนำ AI มาใช้งานอย่างที่ควรจะเป็น
IBM ในฐานะบริษัทไอทีผู้บุกเบิกเรื่อง AI ภายใต้แบรนด์ Watson เล็งเห็นปัญหานี้ และนำความสามารถของ Watson ออกมาให้คนทั่วไปใช้งานกันอย่างง่ายๆ โดยไม่ต้องมีเซิร์ฟเวอร์หรือซอฟต์แวร์เอง เพราะทุกอย่างสามารถเรียกใช้ได้จาก IBM Cloud โดยตรง
ในการแข่งขันกีฬาทุกประเภทมีช่วงทำคะแนนเป็นไฮไลต์เด่น แต่เป็นเปอร์เซนต์น้อยเมื่อเทียบกับระยะเวลาทำการแข่งขันทั้งหมด และเป็นหน้าที่ของคนคัดไฮไลต์ที่คัดเฉพาะช่วงเวลาสำคัญมาเผยแพร่ทำเป็นข่าว การแข่งขันเทนนิส U.S. Open ใช้ปัญญาประดิษฐ์ Watson คัดไฮไลต์แทนทั้งหมด
Watson มีเครื่องมือตัวหนึ่งชื่อว่า Cognitive Highlights ระบบมอนิเตอร์การแข่งขันทั้งหมด และจับความเคลื่อนไหวของนักกีฬามาเป็นไฮไลต์ เช่น การชูกำปั้นเหนือศรีษะของนักกีฬาเทนนิส และช่วงเวลาเชิงกลยุทธ์ในการแข่งขัน เช่นช่วงดิวซ์ เป็นต้น
IBM ประกาศร่วมกับ ลอนเทนนิสสมาคมของอังกฤษ ผู้จัดการแข่งขันเทนนิส Wimbledon ที่จะเริ่มขึ้นในสัปดาห์หน้า โดยนำระบบปัญญาประดิษฐ์ Watson มาใช้ในหลายกิจกรรมตลอดการแข่งขันนี้ มีสิ่งที่น่าสนใจได้แก่
งานฝ่ายไอทีตามองค์กรใหญ่ๆ อาจจะเป็นงานที่ที่ซ้ำกันไปมา ตั้งแต่การปลดล็อกบัญชี, เพิ่มโควต้าพื้นที่อีเมล, หรือขอสั่งคอมพิวเตอร์ใหม่ ตอนนี้ไอบีเอ็มก็เตรียมเปิดทางให้องค์กรหันมาใช้ปัญญาประดิษฐ์รับงานเหล่านี้ด้วยบริการ IBM Workplace Support Services with Watson
ผู้ใช้จะสามารถพูดคุยกับ Watson เพื่อขอความช่วยเหลือได้เหมือนการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไอทีตามปกติ หากปัญหามีทางออกเตรียมไว้ให้เช่นการปลดล็อกรหัสผ่านหมดอายุ ตัว Watson ก็สามารถแก้ปัญหาได้เอง หากไม่มีทางออกที่เตรียมไว้ก็จะส่งให้เจ้าหน้าที่รับช่วงต่อ แต่ตัว Watson สามารถเรียนรู้การตอบรับจากผู้ใช้บริการเพื่อกลับมาปรับปรุงตัววเองได้เรื่อยๆ เพื่อลดงานของเจ้าหน้าที่ที่ต้องมารับเรื่องต่อหาก Watson แก้ปัญหาเองไม่ได้
ต่อจากเมื่อวานนี้ ในวันที่สองของงาน IBM InterConnect 2017 มีการแถลงและขึ้นพูดของฝ่ายบริหารฝั่งพันธมิตรของ IBM โดยมากแล้วเป็นการเน้นย้ำถึงความร่วมมือเดิม แต่ก็มีความร่วมมือใหม่ขึ้นมาด้วยเช่นกัน คนที่นำแถลงในครั้งนี้คือ Ginni Rometty ซีอีโอของ IBM และสวมบทบาทเป็นพิธีกรบนเวทีเองด้วย
หมายเหตุ ผมมาร่วมงานนี้ตามคำเชิญของทาง IBM ประเทศไทย
ที่งาน IBM InterConnect 2017 จัดขึ้นที่เมือง Las Vegas ปีนี้ IBM ได้มีการแถลงความร่วมมือและบริการใหม่ๆ มากมาย ในวันแรกมีการแถลงความร่วมมือในงานเป็นจำนวนมาก นอกเหนือไปจากการนำ Hyperledger มาเป็นบริการบน IBM Cloud ดังต่อไปนี้
หมายเหตุ ผมมาร่วมงานนี้ตามคำเชิญของทาง IBM ประเทศไทย
เป็นเวลากว่า 6 ปีมาแล้วที่ IBM เผยโฉมปัญญาประดิษฐ์ Watson ในการแข่งขันรายการ Jeopardy จนปัจจุบัน Watson ก็มีพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเทคโนโลยี Cognitive Computing ที่ IBM พยายามชูในฐานะเทคโนโลยีเบื้องหลัง Watson ที่ IBM ระบุว่าเป็นมากกว่าปัญญาประดิษฐ์ แต่เป็นการประมวลผล วิเคราะห์และเรียนรู้ข้อมูลขนาดใหญ่
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Cognitive Computing ได้จากบทความ รู้จัก IBM Watson ระบบ Cognitive Computing แห่งยุคข้อมูลมหาศาล
IBM ประกาศความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์กับ Salesforce เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีด้าน AI ร่วมกัน ส่งผลให้ Watson ของ IBM มีโอกาสได้ร่วมงานกับ Einstein แพลตฟอร์ม AI ของ Salesforce
ภายใต้ความร่วมมือนี้ Watson จะเข้าไปวิเคราะห์ข้อมูลของ Salesforce Intelligent Customer Success Platform เพื่อหาแนวโน้มทางธุรกิจร่วมกับ Einstein ที่ทำหน้าที่นี้อยู่แล้ว กระบวนการพัฒนาให้ AI ทั้งสองระบบทำงานร่วมกันจะเสร็จในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
นับวันบทบาทปัญญาประดิษฐ์ยิ่งมีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะ Watson จากค่าย IBM ก่อนหน้านี้เป็นผู้ช่วยจัดการเอกสารภาษี ล่าสุดก็มารับบทบาทเป็นผู้ช่วยตอบคำถามเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์แก่บริษัทในอุตสาหกรรมต่างๆ
IBM ฝึกฝน Watson เรื่องความปลอดภัยไซเบอร์มาตลอดทั้งปี 2016 ป้อนข้อมูลภาษาความปลอดภัยไซเบอร์ และเอกสารกว่าล้านฉบับ โดย Watson จะทำงานผสมผสานกับแพลตฟอร์มใหม่ของ IBM คือ Cognitive SOC ในการตอบโต้กับภัยไซเบอร์ผ่านเอนด์พอยต์ คลาวด์ เครือข่าย ในแพลตฟอร์มใหม่นี้มีแอพพลิเคชั่น IBM QRadar Advisor with Watson เป็นช่องทางเข้าสู่คลังข้อมูลเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ของ Watson โดยเฉพาะ ผู้ใช้ถามคำถามโดยใช้เสียง Watson จะบอกข้อมูลมาให้ เพื่อสามารถจัดการภัยไซเบอร์ได้ทันท่วงทีมากขึ้น
เนื่องจากเวลามีปัญหาเกี่ยวกับภัยไซเบอร์ ทีมสืบสวนต้องใช้เวลาในการค้นหานานคิดเป็น 20,000 ชั่วโมง และต้องค้นหาเหตุการณ์ภัยไซเบอร์ที่เกิดขึ้นกว่า 2 แสนเหตุการณ์ต่อวัน ปัญญาประดิษฐ์จึงสามารถลดขั้นตอนและเวลาในการสืบสวนลงได้เยอะ
IBM Watson ร่วมมือกับบริษัท H&R Block ทำปัญญาประดิษฐ์จัดการเรื่องเอกสารภาษีและสิทธิลดหย่อนภาษีที่คนอาจมองข้ามไป
ข้อมูลภาษีมีมหาศาล แค่รหัสภาษีจากรัฐบาลกลางก็มีมากกว่า 74,000 หน้าแล้ว ยังไม่รวมการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายภาษีประจำปีที่ส่งผลกระทบต่อคนเสียภาษี ด้วยข้อมูลจำนวนมากและรายละเอียดขนาดนี้ คนทำภาษีมีโอกาสพลาดรายละเอียดการลดหย่อนภาษีเล็กๆ น้อยๆ ได้ง่ายมาก การทำงานตรงนี้จึงจำเป็นต้องมีผู้ช่วย
โครงการดังกล่าวยังอยู่ในเฟสแรก เริ่มจากทาง H&R Block ป้อนข้อมูลภาษี ภาษาวงการภาษี คำถามที่พบบ่อย ความรู้เรื่องภาษีทั้งหมดเข้าระบบ IBM Watson ก่อน ให้ซอฟต์แวร์เรียนรู้เนื้อหา จากนั้นซอฟต์แวร์จะเป็นโซลูชั่นให้ลูกค้าด้วยการเชื่่อมโยงข้อมูลคลาวด์กับข้อมูลลูกค้า เพื่อระบุสิทธิลดหย่อนภาษีที่ลูกค้าควรจะได้รับ
แอพทวงงานยอดนิยม Slack ประกาศความร่วมมือกับ IBM ในการนำระบบ Watson เข้ามาช่วยเพิ่มความฉลาดของบ็อตใน Slack
ในเบื้องต้น ตัวบ็อตมาตรฐานของ Slack ที่ไว้คอยช่วยเหลือผู้ใช้ (หรือที่เรียกกันว่า Slackbot) จะเปลี่ยนมาใช้เอนจิน Watson Conversation ช่วยให้การสนทนาแม่นยำมากขึ้น
ในระยะถัดไป IBM จะพัฒนาระบบบ็อตที่ช่วยงานด้านไอทีและเครือข่ายขององค์กร เพื่อให้องค์กรสามารถติดตามสถานะและแก้ปัญหาระบบไอทีได้จากบ็อตของ Slack ที่ใช้เอนจิน Watson คอยวิเคราะห์และตอบคำถามให้ งานนี้ IBM บอกว่าบ็อตจะฉลาดขึ้นเรื่อยๆ จากการเรียนรู้แบบ machine learning เมื่อเจอข้อมูลจริงจำนวนมากๆ