IBM เตรียมนำ Generative AI มาใช้แก้ปัญหาว่าโลกเรามีโค้ดภาษา COBOL รันอยู่มาก โดยเฉพาะในแวดวงธนาคาร แต่โปรแกรมเมอร์ COBOL รุ่นเก่าๆ แก่ชรากันไปเกือบหมดแล้ว และโปรแกรมเมอร์รุ่นใหม่ๆ ก็ไม่มีใครสนใจภาษา COBOL ทำให้นักพัฒนาสายนี้ขาดแคลนอย่างหนัก
การศึกษาของ International Journal of Advanced Research in Science, Communication and Technology (IJARSCT) ประเมินว่าโค้ด 43% ในธุรกิจธนาคารยังเป็นโค้ด COBOL ดั้งเดิม
ไอบีเอ็มเปิดตัว IBM Watsonx Code Assistant for Z โซลูชัน AI สำหรับแปลโค้ดที่เขียนในภาษา COBOL ให้เป็น Java สำหรับเมนเฟรม IBM Z โดยจะเปิดให้ใช้งานทั่วไปภายในไตรมาสที่ 4 ปี 2023 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเปลี่ยนผ่านแอพพลิเคชัน COBOL ไปสู่โค้ดในภาษาปัจจุบันที่มีต้นทุนจัดการน้อยกว่า และทำได้รวดเร็วขึ้น
Watsonx Code Assistant for Z เป็นเครื่องมือที่สร้างจาก Watsonx.ai บริการสร้างโมเดลของแพลตฟอร์ม WatsonX ที่ตอนนี้มีความเข้าใจภาษาคอมพิวเตอร์ 115 ภาษา จากชุดข้อมูลมากกว่า 1.5 ล้านล้านโทเค็น
ตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลีย ASX ประกาศล้มแผนการอัพเกรดระบบเทรดหุ้นมาเป็นบล็อกเชน หลังพยายามเปลี่ยนมา 7 ปี ดีเลย์มา 5 รอบแล้วยังไม่ประสบความสำเร็จ เสียเงินค่าพัฒนาไปแล้วราว 250 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 6 พันล้านบาท)
ตลาด ASX มีระบบจัดการบัญชีหุ้น (clearing & settlement) ของเดิมชื่อ CHESS ใช้งานมานาน 25 ปี เขียนด้วยภาษา COBOL ถึงแม้ว่าระบบมีเสถียรภาพมากระดับ 99.99% แต่ทาง ASX ก็อยากเปลี่ยนมาใช้ระบบ distributed ledger technology (DLT) ที่ทันสมัยขึ้น
ภาษา COBOL กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้งในช่วง COVID-19 จากกรณีรัฐนิวเจอร์ซีย์ขอโปรแกรมเมอร์ COBOL เข้าไปช่วยแก้ระบบสวัสดิการช่วง COVID-19 ทำให้โลกกลับมาสนใจโค้ดเดิมที่เขียนไว้หลายสิบปีแล้ว และสนใจว่าจะหาทางแก้ปัญหาในระยะยาวได้อย่างไร
เว็บไซต์ InfoWorld รวบรวมข้อมูลประเด็นการย้ายระบบ COBOL ว่ามีหลายแนวทาง ตั้งแต่การเขียนใหม่ทั้งหมด (rewrite) ซึ่งมีข้อเสียว่าโค้ดเก่า 30 ปี เอกสารไม่มี อาจไม่มีใครเข้าใจมันอีกแล้ว ไปจนถึงการยกโค้ดเก่ามารันบนโครงสร้างพื้นฐานยุคใหม่ (lift-and-shfit) ซึ่งมีข้อเสียว่าไม่สามารถปรับซอฟต์แวร์เพื่อสนองความต้องการของคนรุ่นนี้ได้อีก
หลังจากรัฐนิวเจอร์ซีย์พบปัญหาระบบสวัสดิการรัฐที่ใช้งานมานานไม่สามารถรองรับโหลดที่เพิ่มขึ้นได้ไหวและหาคนมาแก้ไขปัญหายากเพราะโค้ดเป็น COBOL จนกลุ่ม Open Mainframe Project ออกมาเปิดคอร์สสอนโปรแกรมเมอร์ ตอนนี้ฝั่ง Cloudflare ก็ออกมาประกาศซัพพอร์ตการรัน COBOL บนแพลตฟอร์ม Workers
กระบวนการซัพพอร์ต COBOL บน Workers นั้นอาศัยการคอมไพล์ COBOL เป็น WebAssembly ที่ Cloudflare ซัพพอร์ตอยู่แล้ว โดยใช้ GnuCOBOL คอมไพล์โค้ด COBOL เป็น C แล้วค่อยใช้ Emscripten คอมไพล์เป็น WebAssembly อีกครั้ง
Open Mainframe Project โครงการโอเพ่นซอร์สสนับสนุนเมนเฟรม ที่มีสมาชิกได้แก่ Broadcom, IBM, Phoenix Software, Rocket Software, SUSE, Vicom Infinity และ Zoss Team ประกาศแผนงานเพื่อช่วยเหลือ หลังจากเกิดกรณีของรัฐนิวเจอร์ซีย์ ที่ระบบสวัสดิการสังคมของรัฐ ไม่สามารถตอบสนองคำร้องขอได้ทัน และการแก้ไขก็ทำได้ยากเนื่องจากเป็นโปรแกรมเก่าที่พัฒนาด้วยภาษา COBOL
Phil Murphy ผู้ว่าการรัฐนิวเจอร์ซีย์แถลงการรับมือโรค COVID-19 โดยมีประเด็นหนึ่งคือระบบสวัสดิการสังคมของรัฐ ที่กำลังรับโหลดสูงกว่าปกติ 16 เท่าตัวกำลังมีปัญหารับโหลดไม่ไหว ทำให้การจ่ายเงินชดเชยตามสิทธิ์ทำได้ช้ากว่าปกติ โดยระบบสวัสดิการรัฐนี้เก่ากว่า 40 ปีและพัฒนาด้วยภาษา COBOL โดยระบุว่าทางรัฐจะเพิ่มตำแหน่งโปรแกรมเมอร์ COBOL เข้าไปในรายการอาสาสมัคร
ตัวผู้ว่ายอมรับว่าการที่ระบบเก่าที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อความต้องการยังทำงานอยู่เช่นนี้เป็นความผิดพลาด เขาระบุว่าหลังจบเหตุการณ์จะมีการหาสาเหตุว่าทำไมจึงมีระบบเก่าขนาดนี้อยู่ในระบบ
นักวิจัยจาก Temple University และ University of Texas at Austin ศึกษาปัญหาการแฮ็กระบบไอทีของหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐ และพบว่าระบบไอทีเก่าๆ (legacy IT systems) ที่เขียนด้วยภาษา Cobol หรือ Fortran เป็นจุดที่มีความเสี่ยงต่อการถูกแฮ็กมากที่สุด
ทีมนักวิจัยพบว่าหน่วยงานที่ยังรักษาระบบเก่าแก่เหล่านี้ไว้ มักถูกแฮ็กอยู่บ่อยๆ เพราะใช้สถาปัตยกรรมความปลอดภัยแบบเก่า (เช่น ไม่เข้ารหัสข้อมูล) ซึ่งขัดแย้งกับความเชื่อ (ผิดๆ) ว่าระบบเก่าแก่เหล่านี้ปลอดภัย เนื่องจากแฮ็กเกอร์ยุคปัจจุบันไม่รู้จักภาษา Cobol/Fortran
ภาษา COBOL เริ่มพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองไม่นาน และใช้เรื่อยมาจนบูมในยุคเมนเฟรมช่วงปี 1960-1980 แม้ว่าจะเสื่อมความนิยมไปนานแล้ว แต่ตอนนี้ก็ยังมีองค์กรขนาดใหญ่มากกว่า 5,000 บริษัทมีระบบสำคัญรันอยู่บนเมนเฟรมโดยไม่สามารถหยุดใช้งานได้ ตอนนี้ LzLabs สตาร์ตอัพจากสวิสเซอร์แลนด์ ออก LzLabs Software Defined Mainframe (SDM) ทำให้สามารถย้ายแอปจากเมนเฟรมขึ้นไปรันบน Red Hat Enterprise Linux ได้โดยไม่ต้องเขียนโค้ดใหม่
ปัญหาสำคัญของแอปเก่าๆ เหล่านี้คือเครื่องเมนเฟรมเหล่านี้หาผู้ดูแลระบบมาดูแลยาก SDM ทำตัวเป็นคอนเทนเนอร์สำหรับรันแอป COBOL เหล่านี้ พร้อมชุดเครื่องมือสำหรับการย้ายแอปจากเครื่องเมนเฟรม
กลุ่มทำงาน (Working Group) การพัฒนาภาษาโปรแกรมบนมาตรฐาน ISO กลุ่ม WG11 (ภาษา C) และ WG16 (C++) ตกลงกันว่าจะรวมตัวภาษากลับมาเป็นภาษาเดียวกันอีกครั้งในปี 2016
เมื่อข่าวนี้ไปถึงกลุ่มทำงานของภาษาอื่นๆ กลุ่มทำงานที่แสดงความสนใจเข้าร่วมทันทีคือ Objective-C และเมื่อส่งอีเมลภายในออกไปไม่กี่ชั่วโมง ภาษา C# ก็แสดงความสนใจเข้าร่วมกันด้วยเช่นกัน ที่น่าแปลกใจคือ WG4 (COBOL) ระบุว่าสนใจพัฒนาภาษาใหม่นี้ด้วย เพื่อเผยแพร่การตั้งชื่อเป็นตัวอักษรใหญ่ในภาษาใหม่นี้ต่อไป
มีภาษาอื่นๆ ที่สนใจเข้าร่วมแต่ถูกปฎิเสธ ได้แก่ JavaScript, Rust, และ Snobol เนื่องจากไม่มีตัวซีใหญ่ในชื่อภาษา
เมื่อปี 1959 ภาษา COBOL ได้ถูกสร้างขึ้นโดย Grace Murray Hopper นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์หญิงรุ่นบุกเบิก โดยมีแนวคิดพื้นฐานว่าคอมพิวเตอร์ต่างยี่ห้อควรทำงานได้จากโค้ดเดียวกัน และสร้างมาตรฐานที่ชื่อว่า FLOW-MATIC ขึ้น จากนั้นคณะกรรมการสร้างมาตรฐานการพัฒนาซอฟต์แวร์ของทหารเรือสหรัฐฯ จึงได้ปรับปรุงมาตรฐานนี้ขึ้นมาเป็นภาษา COBOL แต่การทำงานจริงนั้นต้องรอจนคอมไพล์เลอร์ออกมาในวันที่ 6 และ 7 ธันวาคมปี 1960 เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์สองเครื่องจาก RCA และ Remington-Rand Univac สามารถทำงานด้วยซอฟต์แวร์ชุดเดียวกันเป็นผลสำเร็จ