Internet Engineering Task Force

Tags:
Node Thumbnail

IETF ประกาศรองรับมาตรฐาน Messaging Layer Security (MLS) สำหรับการส่งข้อมูลเข้ารหัสแบบ end-to-end ที่ได้รับความนิยมกันในหมู่โปรแกรมแชตต่างๆ เช่น Signal แต่ MLS จะเปิดทางให้แอปต่างๆ ที่อาจเคยต้องพัฒนาโปรโตคอลของตัวเองสามารถใช้โปรโตคอลกลางได้ รวมถึงแอปพลิเคชั่นแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่แชตเช่นกัน

กระบวนการเชื่อมต่อแบบเข้ารหัสแบบ end-to-end นั้นมีองค์ประกอบสำคัญคือ ตัวกลางยืนยันตัวตน (Authentication Service - AS) และตัวกลางส่งข้อมูล (Delivery Service - DS) สำหรับ MLS นั้นจะถือว่า AS เชื่อถือได้ไม่ได้โดนแฮก แต่ DS นั้นไม่จำเป็นต้องน่าเชื่อถือ

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

HTTP/3 หรือ HTTP/QUIC ออกเป็นมาตรฐานจริง RFC 9114 หลังจากประกาศชื่อมาตั้งแต่ปี 2018 นับเป็นมาตรฐานตัวสำคัญที่จะทำให้การเชื่อมต่อ HTTP ผ่านโปรโตคอล QUIC มีมาตรฐานกลางเต็มรูปแบบ

นอกจาก HTTP/3 แล้ว เอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับ HTTP ที่ออกมาใกล้ๆ กันเพื่ออัพเดตเอกสารเดิมก็มีอีกหลายตัว ได้แก่

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

IETF ผ่านมาตรฐาน RFC9116 กำหนดฟอร์แมตของการแจ้งช่องโหว่ซอฟต์แวร์ หรือไฟล์ security.txt ไว้เป็นระบบเดียวกันเพื่อให้ง่ายต่อนักวิจัยในการติดต่อ

ไฟล์ security.txt แจ้งข้อมูลการเปิดเผยช่องโหว่ โดยระบุ URL สำหรับการแสดงความขอบคุณ, ช่องทางติดต่อแจ้งช่องโหว่, กุญแจเข้ารหัสก่อนแจ้งช่องโหว่, นโยบายการเปิดเผยข้อมูลช่องโหว่, ภาษาที่ใช้ติดต่อ, และ URL สำหรับการรับสมัครงาน

ตัวไฟล์ต้องวางไว้ใน /.well-known/security.txt และมาตรฐานเปิดให้มีลายเซ็นดิจิทัลกำกับ ป้องกันในกรณีที่คนร้ายแฮกเว็บได้แล้วและแก้ไขไฟล์เสีย

Tags:
Node Thumbnail

IETF ออกเอกสาร RFC9225 เตือนถึงอันตรายของบั๊กในซอฟต์แวร์และเรียกร้องให้โปรแกรมเมอร์อย่าสร้างบั๊ก พร้อมกับอธิบายถึงเหตุการณ์ที่บั๊กในซอฟต์แวร์สร้างความเสียหายได้เป็นวงกว้างหลายครั้ง เช่น จรวด ARIANE ยิงไม่สำเร็จเพราะบั๊กแปลงตัวเลขทศนิยมเป็นเลขจำนวนเต็ม หรือระบบเตือนขีปนาวุธของรัสเซียเคยจรวจจับเมฆแล้วคิดว่าเป็นขีปนาวุธ

แนวทางที่ RFC9225 แนะนำ ได้แก่

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

โปรโตคอล QUIC เป็นกระบวนการเชื่อมต่อสำหรับเว็บที่กูเกิลเสนอมาตั้งแต่ปี 2015 เพื่อเร่งความเร็วเริ่มต้น โดยเฉพาะการเชื่อมต่อแบบเข้ารหัสที่ปกติต้องส่งข้อมูลไปมาหลายครั้งก่อนจะเชื่อมต่อได้ ที่ผ่านมาโปรโตคอลมีการปรับแต่งหลายครั้งและแต่ละเวอร์ชั่นทำงานร่วมกันไม่ได้ วันนี้ทาง IETF ก็ประกาศมาตรฐานกลาง QUIC เป็นเอกสาร RFC9000

มาตรฐานของ QUIC จริงๆ จะออกเป็นชุด ตอนนี้มีเอกสาร RFC ออกมาแล้ว ได้แก่

Tags:
Node Thumbnail

IETF ประกาศ RFC8962 ก่อตั้งตำรวจโปรโตคอลตรวจจับการอิมพลีเมนต์โปรโตคอลผิดมาตรฐาน ทำให้เน็ตเวิร์คทำงานร่วมกันไม่ได้

ตำรวจโปรโตคอลจะรับแจ้งเหตุอิมพลีเมนต์ไม่ตรงมาตรฐานผ่านทาง /dev/null โดยตำรวจเหล่านี้มีอำนาจเข้าถึงเน็ตเวิร์คภายในแม้ไม่ได้เชื่อมต่อกับโลกภายนอก หรือคนในองค์กรเองอาจจะนำเบาะแสมแจ้งก็ได้

เมื่อตำรวจโปรโตคอลสอบสวนแล้วว่ามีความผิดจริง จะแจ้ง IANA ว่าไอพีใดเป็นผู้ละเมิดโปรโตคอล และทุกหน่วยงานที่ได้รับแจ้งจาก IANA จะตั้งไฟร์วอลล์ทิ้งแพ็กเก็ตจากเน็ตเวิร์คนั้นทั้งหมด กลายเป็นการจำคุกเน็ตเวิร์คไม่ให้ติดต่อกับใครในอินเทอร์เน็ตอีก

ที่มา - RFC8962

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

IETF ผู้วางมาตรฐานอินเทอร์เน็ต ออกเอกสาร RFC8996 ให้มาตรฐาน TLS 1.0/1.1 รวมถึง DTLS 1.0 หมดอายุการใช้งาน (deprecated) อย่างเป็นทางการ หลังจากมีรายงานถึงการโจมตีกระบวนการเข้ารหัสของ TLS ทั้งสองเวอร์ชั่นได้หลายครั้ง

ช่องโหว่ของ TLS 1.0 เช่น กระบวนการเข้ารหัสแบบ cipher block chaining (CBC) อาจถูกโจมตี แม้จะแก้ไขไปแล้วแต่ทั้ง TLS 1.0/1.1 ก็ยังรองรับการแฮชแบบ SHA-1 ที่ตอนนี้เหลือระดับความยุ่งเหยิงเพียง 77 บิต เปิดทางให้คนร้ายสามารถสร้างข้อความปลอมที่แฮชตรงกันได้

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

IETF รองรับร่างมาตรฐาน draft-ietf-quic-http-34.txt หรือ HTTP/3 เข้าเป็นมาตรฐานเสนอแนะ (Proposed Standard) หลังจากแก้ไขมาหลายสิบครั้งตั้งแต่ปี 2016

มาตรฐาน HTTP/3 ปรับปรุงการทำงานหลายส่วน โดยเปลี่ยนไปใช้ UDP และบังคับเข้ารหัสการเชื่อมต่อด้วย TLS 1.3 รองรับการบีบอัดส่วนหัวของการเชื่อมต่อ (HTTP header) และรองรับการส่งข้อมูลหลายสตรีมในการเชื่อมต่อเดียวกัน

Tags:
Node Thumbnail

เฟซบุ๊กรายงานถึงการย้ายโปรโตคอลไปยัง HTTP/3 หรือ QUIC ระบุว่าตอนนี้ทราฟิกของเฟซบุ๊กที่เชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ตเป็น HTTP/3 มากกว่า 75% แล้ว หลังจากเฟซบุ๊กย้ายแอปให้เชื่อมต่อผ่าน HTTP/3 แทน

เฟซบุ๊กระบุว่าการโยกย้ายมายัง HTTP/3 เริ่มจากเซิร์ฟเวอร์ GraphQL ก่อน ความเร็วที่เพิ่มขึ้นทำให้อัตราการโหลดไม่สำเร็จลดลง 6% ระยะเวลาหน่วง (latency) ลดลง 20%, และขนาด header ลดลง 5% เทียบกับ HTTP/2 อย่างไรก็ดีตัวแอปเฟซบุ๊กนั้นพยายามคำนวณการดาวน์โหลดรูปจากความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูล ทำให้มีช่วงหนึ่งที่แอปพยายามดาวน์โหลดรูปมากเกินไปเพราะดาวน์โหลดข้อมูลได้เร็ว แต่เซิร์ฟเวอร์ดาวน์โหลดรูปยังคงเป็น HTTP แบบ TCP อยู่ ทำให้แอปโดยรวมช้าลง

Tags:
Node Thumbnail

กูเกิลนับเป็นบริษัทที่สนับสนุนแนวทางการสร้างโปรโตคอลใหม่มาทดแทน HTTP บน TCP มายาวนาน นับแต่ SPDY ตั้งแต่ปี 2009 และ QUIC ในปี 2012 แม้ที่ผ่านมา IETF จะมีแนวทางยอมรับ QUIC ให้เป็นส่วนหนึ่งของ HTTP/3 แต่ตัวโปรโตคอลก็มีการแก้ไขหลายส่วน ทำให้ไม่สามารถใช้งานร่วมกับ Google QUIC ที่กูเกิลพัฒนาและใช้งานเองระหว่างเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิลและ Chrome ล่าสุดกูเกิลก็ประกาศจะย้ายผู้ใช้ Chrome จำนวน 25% ของทั้งหมด หันมาใช้ IETF QUIC แล้ว

Tags:
Node Thumbnail

มาตรฐาน ESNI เป็นส่วนหนึ่งของ TLS 1.3 มาตั้งแต่ปี 2018 และเริ่มมีการใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ จากฝั่งเซิร์ฟเวอร์และเบราว์เซอร์ ซึ่งจะทำให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไม่สามารถมองเห็นได้ว่าผู้ใช้กำลังเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์โดเมนอะไร และรายงานล่าสุดก็พบว่าระบบบล็อกเว็บของจีนหรือ The Great Firewall บล็อค ESNI แล้วตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

ESNI เข้ารหัสข้อมูล SNI (server name indication) ที่เปิดเผยว่าการเชื่อมต่อเข้ารหัสต้องการเชื่อมต่อกับโดเมนใด ที่ผ่านมา SNI ไม่เข้ารหัสทำให้ไฟร์วอลล์สามารถอ่านค่าโดเมนจากการเชื่อมต่อได้ ESNI ปิดช่องโหว่นี้ด้วยการเข้ารหัสชื่อโดเมนทำให้ไฟร์วอลล์มองไม่เห็นว่าการเชื่อมต่อเป็นการต่อกับโดเมนใด

Tags:
Node Thumbnail

ไมโครซอฟท์ประกาศโอเพนซอร์สไลบรารี MsQuic สำหรับการอิมพลีเมนต์โปรโตคอล HTTP/3 หรือ QUIC โดยระบุว่าเป็นไลบรารีเดียวกับที่ไมโครซอฟท์จะใช้งานเอง

MsQuic กำลังถูกใช้งานภายในไมโครซอฟท์หลายส่วน ทั้ง Microsoft 365 ที่เริ่มรองรับ HTTP/3, ไลบรารีใน .NET Core 5.0, และ SMB ในวินโดวส์ที่กำลังทดสอบการรองรับ QUIC เช่นกัน โดยการรองรับ SMB บน QUIC นับเป็นการทดสอบสำคัญเพราะจะแสดงให้เห็นว่า QUIC สามารถใช้งานทั่วไปได้ ไม่ต้องเป็นเว็บ โดย QUIC มีความได้เปรียบที่การส่งข้อมูลเริ่มได้ทันทีตั้งแต่การส่งแพ็กเก็ตแรก (0-RTT) ทำให้ระยะเวลาหน่วงในการใช้งานแอปพลิเคชั่นลดลง และสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเมื่อปริมาณข้อมูลเต็มแบนวิดท์ (congestion control) ได้ ทำให้ทดสอบและใช้งานเทคนิคใหม่ๆ ได้เร็วขึ้นเทียบกับ TCP ที่ต้องรอระบบปฎิบัติการอัพเดต

Tags:
Node Thumbnail

HTTP/3 ได้ชื่อเป็นทางการในการประชุม IETF103 ที่กรุงเทพฯ วันนี้ทาง Cloudflare ก็ประกาศรองรับโปรโตคอลใหม่แล้ว เว็บที่ใช้ Cloudflare จะเริ่มได้รับตัวเลือกเปิดใช้งานและสามารถเข้าเว็บผ่าน HTTP/3 ผ่านทาง Chrome Canary, curl รุ่นล่าสุด, หรือ http3-client ของทาง Cloudflare เอง

Tags:
Node Thumbnail

คนสายทำเว็บคงรู้จักไฟล์ robots.txt ที่ใช้บอกบ็อตของเครื่องมือค้นหาว่า เพจไหนบ้างที่ไม่ต้องอ่านข้อมูลไปทำดัชนีค้นหา

ฟอร์แมตของไฟล์ robots.txt เรียกว่า Robots Exclusion Protocol (REP) ใช้งานกันแพร่หลายมายาวนาน (de facto) แต่สถานะของมันไม่เคยถูกยกระดับขึ้นเป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ตที่มีองค์กรกลางรับรองมาตลอด 25 ปี (ถูกคิดขึ้นในปี 1994)

ล่าสุดกูเกิลประกาศผลักดัน REP ให้เป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ตภายใต้การดูแลของ Internet Engineering Task Force (IETF) ซึ่งเป็นผู้ดูแลมาตรฐานหลายๆ ตัวที่ใช้กันในปัจจุบัน เช่น OAuth สถานะตอนนี้คือกูเกิลส่งร่างมาตรฐานไปยัง IETF แล้ว และอยู่ในช่วงรับฟังความคิดเห็นตามกระบวนการออกมาตรฐานปกติ

Tags:
Node Thumbnail

กูเกิลประกาศว่า Gmail ได้เป็นผู้ให้บริการอีเมลรายใหญ่รายแรก ที่สนับสนุนมาตรฐานความปลอดภัยใหม่ 2 รายการ คือ SMTP MTA Strict Transport Security (MTA-STS) RFC 8461 และ SMTP TLS Reporting RFC 8460 ซึ่งกูเกิลร่วมกับผู้ให้บริการอีเมลรายใหญ่ ผลักดันมาตรฐานนี้ผ่านองค์กร IETF ตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว

อย่างไรก็ตามแม้ Gmail จะประกาศรองรับมาตรฐานใหม่นี้ก่อน แต่หากโดเมนอีเมลของผู้ให้บริการรายอื่นยังไม่รองรับ อีเมลที่ส่งออกไปก็ไม่มีการเข้ารหัสบนมาตรฐานใหม่นี้อยู่ดี กูเกิลจึงหวังว่าผู้ให้บริการอื่นจะรองรับมาตรฐานความปลอดภัยนี้เช่นกัน

ทั้งนี้การร่วมผลักดันมาตรฐานดังกล่าวตั้งแต่ 3 ปีก่อน นอกจากกูเกิล ก็มี ไมโครซอฟท์ และยาฮู ร่วมด้วย

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

เมื่อวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมา เป็นวันครบรอบเอกสาร RFC หรือ "เอกสารขอความคิดเห็น" ที่เริ่มฉบับแรกเมื่อวันที่ 7 เมษายน 1969 หรือ 12 ปีก่อนอินเทอร์เน็ตที่เริ่มจริงจังในยุค IPv4 (RFC791) ในปี 1981 โดยตัว RFC เกิดขึ้นในยุค ARPANET

DARPA (ชื่อ ARPA ในยุคนั้น) ต้องการสั่งซื้ออุปกรณ์เครือข่ายแบบ packet-switching โดยเรียกว่า Interface Message Processors (IMP) หลังจากนักวิจัยได้รับงานจาก DARPA ก็มาออกแบบโปรโตคอลว่าควรมีหน้าตาอย่างไร กระบวนการออกแบบมีการถกเถียงในหมู่นักวิจัยจนกลายเป็นเอกสาร RFC ออกมา

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

QUIC โปรโตคอลระดับ transport ที่กูเกิลเสนอมาตั้งแต่ปี 2015 เพื่อใช้งานแทน TCP+TLS อาจจะได้ชื่อใหม่เป็น HTTP/3 หลังข้อเสนอนี้ได้รับมติตอบรับในการประชุม IETF103 ที่กรุงเทพเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา

ก่อนหน้านี้ตัวโปรโตคอลมักเรียกกันว่า HTTP-over-QUIC หรือ HTTP/2 over QUIC แต่ตัวโปรโตคอลก็มีการดัดแปลงไปมาก ทำให้มันไม่ใช่ HTTP/2 อีกต่อไป การเสนอชื่อให้มันเป็น HTTP/3 ไปเลยจึงสมเหตุสมผลพอสมควร โดยกูเกิลเสนอ QUIC เพื่อให้การเชื่อมต่อเว็บทำได้รวดเร็ว การเชื่อมต่อแทบไม่ต้องการ round trip time ในกรณีที่เคยเชื่อมต่อมาก่อนแล้ว

Tags:
Node Thumbnail

มาตรฐาน DNS over HTTPS (DoH) ได้รับบรรจุเป็นเอกสาร rfc8484 แล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากเริ่มมีการเสนอมาตรฐานเมื่อเดือนพฤษภาคม 2017 หรือเพียงปีกว่าเท่านั้น

Tags:
Node Thumbnail

มาตรฐาน TLS 1.3 แก้ไขมานานและผ่านโหวตไปตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ตอนนี้ก็ได้เลข RFC เป็นทางการคือ RFC8446 นับเป็นเวลาสิบปีพอดีหลังจาก TLS 1.2 หรือ RFC5246

แม้ว่าตัวมาตรฐานจะเพิ่งออกเป็นทางการ แต่ในความปฎิบัติไลบรารีจำนวนมากรองรับฟีเจอร์ต่างๆ ของ TLS 1.3 อยู่ก่อนแล้ว เช่น Chrome นั้นรองรับมาตั้งแต่ Chrome 56 และเปิดใช้งานเป็นค่าเริ่มต้นมาตั้งแต่ Chrome 63

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

มาตรฐานการเชื่อมต่อแบบเข้ารหัส TLS 1.3 ผ่านโหวตเป็นที่เรียบร้อยหลังจากแก้ไขร่างมาถึง 28 รอบ รวมระยะเวลาพัฒนามาตรฐานสี่ปีเต็ม โดยมีการปรับปรุงหลายอย่าง เช่น

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

IETF ผ่านมาตรฐาน RFC 8314 กำหนดให้ผู้ให้บริการอีเมล (mail service provider - MSP) ต้องเปิดบริการเข้ารหัสสำหรับเชื่อมต่อไปยังไคลเอนต์ (mail user agent - MUA) ในทุกๆ ช่องทาง รวมถึงการเข้าถึงอีเมลผ่านเว็บ

ภายใต้มาตรฐานนี้ ผู้ให้บริการอีเมล "ต้อง" เปิดช่องทางการเชื่อมต่อเข้ามายังเซิร์ฟเวอร์แบบเข้ารหัส TLS ทั้งการเชื่อมต่อแบบ POP, IMAP, และการเชื่อมต่ออื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการส่งชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน

มาตรฐานแนะนำให้ MSP ถอดการเชื่อมต่อแบบไม่เข้ารหัสออกไปทั้งหมดให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ โดยการเชื่อมต่อควรเป็น TLS 1.2 ขึ้นไป และหากยังรองรับการเข้ารหัสที่อ่อนแอกว่านั้นก็ควรถอดออกด้วยเช่นกัน

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

กระบวนการเข้ารหัสเว็บ HTTPS ทุกวันเป็นการเข้ารหัสการเชื่อมต่อ ทำให้ตัวเว็บเซิร์ฟเวอร์จะอ่านเนื้อหาได้เสมอ หากเราต้องการส่งข้อมูลที่แม้แต่เว็บเซิร์ฟเวอร์อ่านไม่ได้ เราต้องอาศัยวิธีอื่นๆ เช่นส่งเมลเข้ารหัส PGP หรือส่งไฟล์ zip แบบมีรหัสผ่าน แต่ล่าสุด Martin Thomson จาก Mozilla ก็ผลักดันมาตรฐาน RFC 8188 ที่ทำให้การส่งข้อมูลเข้ารหัสเป็นมาตรฐานกลางแล้ว

มาตรฐานนี้กำหนดค่าสำหรับ "Content-Encoding" แบบใหม่ คือ "aes128gcm" ที่ระบุว่าข้อมูลถูกเข้ารหัสแบบ AEAD_AES_128_GCM เอาไว้ เมื่อประกาศ encoding แบบนี้แล้วข้อมูลส่วนแรกของเนื้อ HTTP จะกลายเป็นการประกาศกุญแจเข้ารหัส ตั้งแต่ค่า salt, ค่า record size สำหรับขนาดข้อมูล, ค่าหมายเลขประจำกุญแจเข้ารหัส

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

เหตุการณ์อินเทอร์เน็ตมีปัญหาที่เราได้ยินกันบ่อยๆ มักเป็นปัญหาสายเคเบิลขาดหรือเซิร์ฟเวอร์ล่ม แต่เหตุการณ์อีกประเภทที่เจอกันบ่อยๆ คือ route leak ที่ผู้ดูแลระบบคอนฟิกการประกาศ route ผ่านโปรโตคอล BGP (Border Gateway Protocol) ผิดพลาด ทำให้แพ็กเก็ตวิ่งผิดเส้นทางจนการเชื่อมต่อเกิดปัญหา ตอนนี้ IETF ก็ออกเอกสาร RFC 7908 มาจัดหมวดหมู่ปัญหา route leak เช่นนี้เพื่อให้อ้างอิงในอนาคตได้ง่ายขึ้น

Tags:
Node Thumbnail

วิศวกรจากหัวเหว่ยและ ISC เสนอ RFC7873 DNS Cookie ให้กระบวนการขอข้อมูล DNS จะต้องมีกระบวนการยืนยันตัวตนก่อน

กระบวนการนี้เมื่อไคลเอนต์ต้องการขอข้อมูล DNS จะต้องส่งค่าสุ่มเสมือน (pseudorandom) Client Cookie ไปยังเซิร์ฟเวอร์ก่อน จากนั้นเซิร์ฟเวอร์จะส่งค่า Server Cookie กลับมา และใช้ค่านี้ในการขอข้อมูล DNS ครั้งต่อๆ ไป

Tags:
Node Thumbnail

IETF ออกเอกสาร RFC7858 ระบุถึงการขอข้อมูล DNS แบบเข้ารหัสแล้ว โดยใช้การเชื่อมต่อแบบ TLS ผ่านพอร์ต 853 ที่ประกาศใหม่

โดยปกติแล้วการเข้ารหัส TLS เช่นการเชื่อมต่อเว็บ จะต้องยืนยันชื่อโดเมนของเครื่องปลายทาง (เช่นโดเมน www.blognone.com) แต่เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ DNS เอง RFC7858 จะเปิดให้เข้ารหัสการเชื่อมต่อแบบไม่ต้องยืนยันตัวตน (authenticate) ก็ได้ หรืออาจจะใช้กระบวน key-pinning เช่นเซิร์ฟเวอร์ DNS สาธารณะอาจจะเปิดเผยค่า fingerprint ของกุญแจสาธารณะให้คนทั่วไปได้คอนฟิกไว้ล่วงหน้า

Pages